โรคเท้าแสนปม สมุนไพรรักษาโรคเท้าแสนปม อาการโรคเท้าแสนปม


13,982 ผู้ชม


โรคเท้าแสนปม สมุนไพรรักษาโรคเท้าแสนปม อาการโรคเท้าแสนปม

              โรคเท้าแสนปม

  

  


      โรคท้าวแสนปม เรียกว่า neurofibromatosis (NF) เป็นโรคพันธุกรรม ชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความผิด ปกติที่กระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และผิวหนัง ความผิดปกติต่าง ๆ จะเป็น มากขึ้นเรื่อย ๆ ในรายที่ รุนแรงจะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และ อาจเกิดเป็นมะเร็งได้

      โรคท้าวแสนปมแบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ชนิด แรก เรียกว่า neurofibromatosis 1 (NF-1) เป็นชนิด ที่พบบ่อยที่สุดบางครั้งอาจเรียกว่า peripheral NF ส่วน ชนิดที่สอง เรียกว่า neurofibromatosis 2 (NF-2) หรือ central NF

            
      โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถ วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ
  

      โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ
           ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง
           พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป
           พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ
           พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา
           พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป
           พบความผิดปกติของกระดูก
           มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้

       
      ปานสีกาแฟใส่นม
          
มี ลักษณะที่เด่นชัด ขอบเขตไม่เรียบ การเปลี่ยนแปลงของสีผิวในปานเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ จะพบ ได้มากกว่า 6 ตำแหน่ง แต่ละแห่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1.5 เซนติเมตร ในเด็กเล็ก เห็นเพียง 5 ตำแหน่ง หรือขนาดมากกว่า 0.5 เซนติเมตร ก็ควรสงสัยว่าเป็นโรคนี้แล้วในกรณีที่พบ ปานสีกาแฟใส่นม มากกว่า 3 ตำแหน่ง พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ในเด็กทั่วไป แต่ถ้าพบเพียง 1 หรือ 2 ตำแหน่ง ถือว่าไม่ผิดปกติแต่อย่างใด
  


ก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง

          เรียกว่า นิวโรไฟโบรมา เป็นเนื้องอกชนิดไม่ใช่มะเร็งที่พบได้บ่อย ที่สุดอาจพบตุ่มเนื้องอกได้ถึง 9 พันตุ่ม ผู้ป่วยร้อยละ 5 อาจพบมะเร็ง ของตุ่มที่ผิวหนัง หรือมะเร็งเม็ดเลือด ตัวเนื้องอกประกอบด้วยเซลล์หลาย ชนิด ได้แก่ ชวานน์เซลล์ ไฟโบรบลาสต์ มาสต์เซลล์และส่วนที่เป็นหลอด เลือดเกิดขึ้นที่ส่วนใดของเส้นประสาทก็ได้ โดยทั่วไปจัดแบ่งออกเป็นสาม ชนิด ชนิดติดผิวหนัง ชนิดใต้ ผิวหนัง และชนิดเพล็กซิฟอร์มชนิดติด ผิวหนัง และชนิดใต้ผิวหนัง เป็นเนื้องอกที่มีขอบชัดไม่เเฉพาะ เจาะจง สำหรับ NF-1 ลักษณะก้อนมีสีน้ำตาลหรืออมชมพู เมื่อกดด้วยนิ้วจะบุ๋มลงไปส่วนเนื้องอกชนิดเพล็ก ซิฟอร์ม ขอบไม่เรียบ ค่อนข้างหนา และเป็นเนื้องอกที่มีความจำเพาะเจาะจงสำหรับ โรคนี้

  


      กระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ

             เป็นลักษณะที่สำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัย กระมักเกิดขึ้นในระยะที่ เข้าสู่วัยรุ่น และบริเวณกระจะพบก้อนเนื้องอกชนิดเพล็กซิฟอร์มได้บ่อย

  


      เนื้องอกของเส้นประสาทตา

            ส่วนใหญ่พบเนืองอก ชนิดไกลโอมา แต่ก็มีรายงานว่าเป็นแอส โตรซัยโตมา เมนิงจิโอมา อิเพ็น ไดโมมาได้เหมือนกัน บางรายก่อให้ เกิดปัญหาความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น บางรายเนื้องอกอาจ ทำให้ชัก เดินเซ พบความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง

  


           เนื้องอกของม่านตา

            พบเป็นเนื้องอกชนิดฮาร์มาโตมา ลักษณะเป็นรูปโดม พบที่ชั้นผิว ของม่านตา ตรวจพบได้จากการส่องกล้องตรวจ ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิด อาการ ผิดปกติแต่อย่างใด ลักษณะดังกล่าวช่วยในการวินิจฉัยโรค

  

           ความผิดปกติของกระดูก
            มักพบกระดูกต้นขางอก ขาโก่ง บางรายกระดูกใบหน้าผิดปกติ ทำให้เห็นตาโปน กระดูก สันหลังคดงอ ความผิดปกติของกระดูกอาจเกิดจากโรคโดยตรง หรือเกิดจากความผิดปกติของ พัฒนาการเนื้อเยื่อชนิดมีโซเดิร์ม

  


           ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้

            โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ โอกาส ที่ลูกจะเป็นโรคคิดเป็นร้อยละห้าสิบ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นประสาทเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ในกรณีของNF-I ความผิดปกติเกิดขึ้นบนโครโมโซมคู่ที่ 17 ส่วนของยีนขนาดใหญ่ เรียกว่า 17q11.2 ซึ่งควบคุมการสร้างโปรตีนชื่อ นิวโรไฟโบรมิน (neurofibromin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาด 327 ดาลตัน และเป็นชนิด tumor suppressor ส่วนกรณีของNF-2 ความผิดปกติเกิดขึ้นบน โครโมโมโซมคู่ที่ 22 ตำแหน่ง 22q11 ปัจุบันยังไม่ทราบว่ายีนดังกล่าวควบคุมการสร้างโปรตีน ชนิดใด

  
  

           การรักษา ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น และจำนวนก้อนที่มี ถ้าเป็นก้อนเดี่ยวอยู่ในบริเวณที่ผ่าตัด ได้ก็รักษาด้วยการผ่าตัด ดังนั้น อาจจะยังหลงเหลืออยู่บ้าง จึงเป็นการยากที่จะสามารถรักษาให้หาย ขาดได้ค่ะ
  
  

         ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางพันธุกรรม   สมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์   ถึงโอกาสในการถ่ายทอด ความผิดปกติสู่ลูกหลาน   การแต่งงานในเครือญาติใกล้ชิด มีส่วนทำให้เกิดการถ่ายทอดพันธุกรรม ผิดปกติมากขึ้น   ในกรณีของโรคพันธุกรรมที่ถ่ายทอดทางลักษณะเด่น เช่น โรคท้าวแสนปมหากพ่อ หรือแม่ เพียงคนใดคนหนึ่งเป็นโรคลูกก็จะมีโอกาสเป็นโรค ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรคุมกำเนิด ผู้ป่วยโรค ทางพันธุกรรมหลายราย ปฏิเสธการคุมกำเนิด และโทษว่าที่เกิดมาผิดปกตินั้น เป็นเรื่องของกรรมเก่า  ซึ่งในทางพุทธศาสนา นั้น พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)  เคยแสดงความเห็นว่าโรค พันธุกรรม นั้น ไม่ใช่เรื่องกรรมเก่าและการคุมกำเนิด ในกรณีนี้   “หากพิจารณาดูแล้วเกิดประโยชน์มากกว่า   มันก็กลายเป็นดีไป   อย่าไปทำให้คนเขาต้องรับทุกข์โดย ใช่เหตุ “
          ดังนั้น  การได้รับ คำปรึกษาทางพันธุกรรมอย่าง ถูกต้องการคุมกำเนิดในรายที่จำเป็น   ความ เข้าใจว่าโรค พันธุกรรมไม่ใช่เรื่องกรรมเก่า และความเข้าใจว่าโรค พันธุกรรมไม่ใช่โรคติดต่อ   เพราะ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ   จะช่วยให้ไม่เกิดข่าวน่าเศร้าใจ   ที่ได้เห็นเสมอๆจากสื่อ มวลชน   ดัง เช่น  พบผู้ป่วยโรคท้าวแสนปมที่ชาวบ้านรังเกียจ ,  พบสาวงูเหลือม  ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นงูเหลือมกลับชาติ มาเกิด, พบเด็กดักแด้ ที่ชาวบ้านแห่กันมาดู ร่องรอยแตกสะเก็ดของผิวหนัง เพื่อตีความเป็นตัวเลข หวย  เช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
                   Link     https://www.thaigoodview.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                 สมุนไพรรักษาโรคเท้าแสนปม

โรคท้าว แสนปม เรียกว่า neurofibromatosis (NF) เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติที่กระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และผิวหนัง ความผิดปกติต่างๆ จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายที่รุนแรงจะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และอาจเกิดเป็นมะเร็งได้
โรคท้าวแสนปมแบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ๆ ชนิดแรกเรียกว่า neurofibromatosis 1 (NF-1) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด บางครั้งอาจเรียกว่า peripheral NF ส่วนชนิดที่สอง เรียกว่า neurofibromatosis 2 (NF-2) หรือ central NF
โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ
1. ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง
2. พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป
3. พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ
4.พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา
5. พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป
6. พบความผิดปกติของกระดูก
7. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
ปานสีกาแฟใส่นม
มีลักษณะที่เด่นชัด ขอบเขตไม่เรียบ การเปลี่ยนแปลงของสีผิวในปานเท่าๆ กัน ส่วนใหญ่จะพบได้มากกว่า 6 ตำแหน่ง แต่ละแห่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1.5 เซนติเมตร ในเด็กเล็ก เห็นเพียง 5 ตำแหน่ง หรือขนาดมากกว่า 0.5 เซนติเมตร ก็ควรสงสัยว่าเป็นโรคนี้แล้ว ในกรณีที่พบปานสีกาแฟใส่นม มากกว่า 3 ตำแหน่ง พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ในเด็กทั่วไป แต่ถ้าพบเพียง 1 หรือ 2 ตำแหน่ง ถือว่าไม่ผิดปกติแต่อย่างใด
ก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง
เรียกว่า นิวโรไฟโบรมา เป็นเนื้องอกชนิดไม่ใช่มะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด อาจพบตุ่มเนื้องอกได้ถึง 9 พันตุ่ม ผู้ป่วยร้อยละ 5 อาจพบมะเร็งของตุ่มที่ผิวหนัง หรือมะเร็งเม็ดเลือด ตัวเนื้องอกประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด ได้แก่ ชวานน์เซลล์ ไฟโบรบลาสต์ มาสต์เซลล์ และส่วนที่เป็นหลอดเลือด เกิดขึ้นที่ส่วนใดของเส้นประสาทก็ได้ โดยทั่วไปจัดแบ่งออกเป็นสามชนิด ชนิดติดผิวหนัง ชนิดใต้ผิวหนัง และชนิดเพล็กซิฟอร์ม ชนิดติดผิวหนังและชนิดใต้ผิวหนัง เป็นเนื้องอกที่มีขอบชัด ไม่เฉพาะเจาะจงสำหรับ NF-1 ลักษณะก้อนมีสีน้ำตาล หรืออมชมพู เมื่อกดด้วยนิ้วจะบุ๋มลงไป ส่วนเนื้องอกชนิดเพล็กซิฟอร์มขอบไม่เรียบ ค่อนข้างหนา และเป็นเนื้องอกที่มีความจำเพาะเจาะจงสำหรับโรคนี้
กระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ
เป็นลักษณะที่สำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัย กระมักเกิดขึ้นในระยะที่เข้าสู่วัยรุ่น และบริเวณกระจะพบก้อนเนื้องอกชนิดเพล็กซิฟอร์มได้บ่อย
เนื้องอกของเส้นประสาทตา
ส่วนใหญ่พบเนื้องอกชนิดไกลโอมา แต่ก็มีรายงานว่าเป็นแอสโตรซัยโตมา เมนิงจิโอมา อิเพ็นไดโมมา ได้เหมือนกัน บางรายก่อให้เกิดปัญหาความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น บางรายเนื้องอกอาจทำให้ชัก เดินเซ พบความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง
เนื้องอกของม่านตา
พบเป็นเนื้องอกชนิดฮาร์มาโตมา ลักษณะเป็นรูปโดม พบที่ชั้นผิวของม่านตา ตรวจพบได้จากการส่องกล้องตรวจ ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติแต่อย่างใด ลักษณะดังกล่าวช่วยในการวินิจฉัยโรค
ความผิดปกติของกระดูก
มักพบกระดูกต้นขางอก ขาโก่ง บางรายกระดูกใบหน้าผิดปกติ ทำให้เห็นตาโปน กระดูกสันหลังคดงอ ความผิดปกติของกระดูกอาจเกิดจากโรคโดยตรง หรือเกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการเนื้อเยื่อชนิดมีโซเดิร์ม
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคคิดเป็นร้อยละห้าสิบ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นประสาทเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ในกรณีของ NF-I ความผิดปกติเกิดขึ้นบนโครโมโซมคู่ที่ 17 ส่วนของยีนขนาดใหญ่ เรียกว่า 17q11.2 ซึ่งควบคุมการสร้างโปรตีนชื่อ นิวโรไฟโบรมิน (neurofibromin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาด 327 ดาลตัน และเป็นชนิด tumor suppressor ส่วนกรณีของ NF-2 ความผิดปกติเกิดขึ้นบนโครโมโมโซมคู่ที่ 22 ตำแหน่ง 22q11 ปัจุบันยังไม่ทราบว่ายีนดังกล่าวควบคุมการสร้างโปรตีนชนิดใด
ข้อมูลในประเทศไทย
ที่สถาบันโรคผิวหนัง พบผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เฉลี่ย 10-15 รายต่อปี ประมาณว่าทั้งประเทศมีผู้ป่วยราว 20,000 คน ส่วนโรคท้าวแสนปมชนิดที่ 2 นั้น พบได้น้อย คือ พบราว 1 ใน 50,000 ถึง 120,000 คน จะไม่มีอาการทางผิวหนัง สามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยตรวจพบเนื้องอกของหูชั้นใน และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

                    Link  https://thaimisc.pukpik.com/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

               

โรคท้าวแสนปมถ่ายทอดทางพันธุกรรม....ไม่ควรรังเกียจผู้ป่วย

อาการ ผู้ป่วยโรคเท้าแสนปม

โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยกระทรวงสาธารณสุขให้การดูแลสาวที่เป็นโรคท้าวแสนปมมาอย่างต่อเนื่อง ชี้ โรคผิวหนังชนิดนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ติดต่อทางการสัมผัส ในประเทศไทยพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ ๖ แสนคน ในการป้องกันโรค แนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้คุมกำเนิด

จากกรณีที่มีข่าวพบหญิงวัย ๔๒ ปี ชาวตำบลบ้านครัว อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ป่วยเป็นโรคท้าวแสนปม มีก้อนขึ้นทั่วร่างกาย -xxx- ิ่งตัดออกก็ยิ่งลุกลาม และยังป่วยเป็นมะเร็งเต้านมด้วย นอกจากนี้ขาข้างซ้ายพิการตั้งแต่กำเนิด ต้องใส่ขาเทียม ทำให้การดำเนินชีวิตยากลำบาก ต้องการให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือนั้น

เกี่ยวกับความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือหญิงรายดังกล่าว นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ให้การดูแลช่วยเหลือหญิงที่ป่วยเป็นโรคเท้าแสนปม และรักษาโรคมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีการฉายแสงที่ศูนย์มะเร็งลพบุรีมาอย่างต่อเนื่อง และติดตามอาการเป็นระยะๆ โดยเป็นผู้ป่วยในโครงการรักษาฟรี ๔๘ ล้านคนใช้บัตรประชาชนใบเดียว ประเด็นที่ผู้ป่วยวิตกกังวลคือ กลัวเพื่อนบ้านรังเกียจ เนื่องจากเกรงว่าจะติดโรคท้าวแสนปม ซึ่งในวันนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีได้ส่งเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลบ้านครัว ไปทำความเข้าใจกับชาวบ้านในละแวกเดียวกันแล้ว และจะติดตามดูแลผู้ป่วยถึงบ้านเป็นระยะๆ

นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อไปว่า โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis) ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ติดต่อทางการสัมผัส หรือการหายใจ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากเซลล์เยื่อหุ้มประสาทเจริญผิดปกติกลายเป็นเนื้องอกขึ้นตามผิวหนัง ในคนไทยพบประมาณร้อยละ ๑ หรือประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คน ขณะที่ต่างประเทศพบน้อยเพียง ๑ ใน ๓,๐๐๐ คน โดยก้อนเนื้อจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ร้อยละ ๒-๕ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีเนื้องอกตะปุ่มตะป่ำทั่วตัว มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง กระจายไปเต็มตัว บางรายอาจมีไม่กี่ตุ่ม แต่ส่วนใหญ่ร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติทั่วไป

ในการรักษา เป็นการรักษาตามอาการ โดยวิธีตัดก้อนเนื้อที่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยเฉพาะก้อนใหญ่ที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ก้อนที่มีน้ำหนักมาก ถ่วง หรือปิดรูหู ปิดปาก หรือปิดตาทำให้ลืมตาไม่ขึ้น ไม่สะดวกในการรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตามหลังผ่าตัดก้อนเนื้อออกแล้ว ก้อนเนื้อก็จะงอกขึ้นมาใหม่ได้

นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันโรคท้าวแสนปม แนะนำว่า ผู้ป่วยโรคนี้สามารถแต่งงานได้ แต่ควรคุมกำเนิด ไม่ควรมีบุตร เนื่องจากโรคจะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ไปสู่ลูกหลานได้ ดังนั้น เพื่อนบ้าน บุคคลใกล้ชิดกับผู้ป่วย ไม่ควรแสดงความรังเกียจผู้ป่วย เนื่อง จากไม่ได้เป็นโรคติดต่อ ยังสามารถให้การช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกันได้เหมือนคนปกติทั่วไป(สยามรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคน พิการไทย ๒๙ ม.ค.๒๕๕๔)

                 Link   https://www.tddf.or.th/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด