โรคเท้าชามือชา โรคเท้าชาขาดวิตามีน โรคเท้าชาหมอเอ็กซเรย์กระดูกสันหลัง


12,978 ผู้ชม


โรคเท้าชามือชา โรคเท้าชาขาดวิตามีน โรคเท้าชาหมอเอ็กซเรย์กระดูกสันหลัง

            โรคเท้าชามือชา

โรค มือชา อาการนี้อาจเกิดกับคุณ?

โรค มือชา อาการนี้อาจเกิดกับคุณ?

มือชา
มือชา


โรคมือชา อาการนี้อาจเกิดกับคุณ? (กรุงเทพธุรกิจ)
        อาการชา เป็นปัญหาให้เกิดความวิตกกังวล และไม่สบายใจกับผู้ที่ประสบ เกรงว่า อาการชาจะกลายเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ บางคนเครียดจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ
        อาการของ มือชา - การกดทับเส้นประสาทที่ฝ่ามือจะทำให้มีอาการปวดมือ และปวดร้าวขึ้นไปที่แขนมักจะมีอาการชาที่นิ้วมือ โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางและบางส่วนของนิ้วนางตามแนวของเส้นประสาท 
        อาการ ปวดจะมีมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานในลักษณะการเกร็งอยู่นานๆ เช่น การจับมีด กรรไกร การทำงานช่างที่ใช้ค้อนหรือใช้เครื่องมือที่มีแรงสั่นสะเทือนตั้งแต่เครื่อง เป่าผมจนถึงเครื่องกระแทกเจาะคอนกรีต มักจะมีอาการปวดในเวลากลางคืนหรือเวลาตื่นนอนตอนเช้าบางรายที่ถูกกดทับอยู่ นานๆ จะเริ่มมีอาการอ่อนแรงของมือ เช่น จะรู้สึกว่าไม่ค่อยมีแรงเวลากำมือ โดยเฉพาะการใช้มือหยิบของเล็กๆ จะทำได้ลำบากและมีกล้ามเนื้อลีบที่ฝ่ามือ
สาเหตุและพยาธิสภาพ
        อาการ ปวดและชาเกิดเนื่องจากมีความดันสูงในช่องอุโมงค์ที่เส้นประสาทลอดผ่านที่ บริเวณฝ่ามือ เนื่องจากมีการอักเสบและการหนาตัวของเนื้อเยื่อพังผืดที่คลุมช่องอุโมงค์นี้ เกิดการกดทับเส้นประสาท ในรายที่เป็นอยู่มากๆ ก็จะเกิดเนื้อเยื่อพังผืดบางๆ รัดเส้นประสาทอีกชั้นหนึ่ง ทำให้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
การตรวจวินิจฉัยโรค มือชา
        จะมีอาการปวดแปลบๆ เวลาเคาะที่เส้นประสาทอาจพบมีกล้ามเนื้อลีบ ในบางรายอาจต้องใช้การตรวจระบบไฟฟ้าของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
ปัจจัยเสี่ยง มือชา และโรคที่เกี่ยวข้อง 
        โรคเบาหวาน

       
โรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เก๊าต์

       
โรคต่อมไทรอยด์บกพร่อง

       
ภาวะตั้งครรภ์

       
ก้อนถุงน้ำหรือเนื้องอกในช่องอุโมงค์

       
กระดูกหักบริเวณข้อมือ

       
การใช้งานมือนานๆ
         ภาวะบวมน้ำจากโรคไต โรคตับ
การรักษาโรค มือชา
        ให้หลีกเลี่ยงการใช้งานมือในลักษณะเกร็งนานๆ

       
ควบคุมหรือรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะเบาหวานให้ดี

       
การใช้ยาลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดรับประทานมักจะได้ผลดี โดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์

       
บางรายอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยดามข้อมือชั่วคราว

       
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในช่องอุโมงค์จะช่วยอักเสบและบางรายจะหายได้
การผ่าตัด 
        เป็น การรักษาในรายที่มีอาการมากหรือกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงหรือลีบลง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยการผ่าตัดทำให้โรคหายขาดได้
        การ ผ่าตัดจะเป็นการตัดและเลาะพังผืดที่รัดเส้นประสาท ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็กและผู้ป่วยสามารถใช้งานได้ภายใน 2 สัปดาห์ และจะใช้งานได้ตามปกติ ภายใน 4 - 6 สัปดาห์

 

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคเท้าชาขาดวิตามีน

 โทษของการขาดสารอาหาร

ประเทศไทยแม้จะได้ชื่อว่า  เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากมายหลายชนิด  เพราะนอกจากจะสามารถผลิตอาหารพอเลี้ยงประชากรในประเทศได้แล้ว  ยังมากพอที่จะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ปีละมาก ๆ อีกด้วย  แต่กระนั้นก็ตาม  ยังมีรายงานว่า  ประชากรบางส่วนของประเทศยังเป็นโรคขาดสารอาหารอีกจำนวนไม้น้อย  โดยเฉพาะทารกและเด็กอ่อน วัยเรียน  เด็กเหล่านี้อยู่ในสภาพที่ร่างกายไม้เจริญเติบโตเต็มที่  มีความต้านทานต่อโรคติดเชื้อต่ำ  นอกจากนี้นิสัยโดยส่วนตัวของคนไทยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารทั้งนี้เพราะคนไทยเลือกกินอาหารตามรสปาก  รีบร้อนกินเพื่อให้อิ่มท้อง  หรือกินตามทที่หามาได้  โดย ไม่คำนึงถึงว่ามีสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายครบถ้วนหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้โดยไม่รู้สึกตัว

                            นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่า  เมื่อกินอาหารเข้าสู่ร่างกายแล้วและอาหารก็จะถูกย่อยสลายโดยอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย   ให้เป็นสารอาหารเพื่อนำไปทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

                              1.ให้พลังงานและความร้อนเพื่อใช้ในการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น การหายใจ  การยืดหดของกล้ามเนื้อ  การย่อยอาหารเป็นต้น

                              2.สร้างความเจริญเติบโตสำหรับเด็ก  และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือชำรุดทรุดโทรมในผู้ใหญ่

                              3.ช่วยป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรค  ทำให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

                              4.ช่วยควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย

                             ดังนั้นถ้าร่างกายของคนเราได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนหรือปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคขาดสารอาหารได้

  โรคขาดสารอาหารที่สำคัญและพบเห็นบ่อยในประเทศไทยมีดังนÕé

1.โรคขาดโปรตีนและแคลอรี

โรคขาดโปรตีนและแคลอรีเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมันที่มีคุณภาพดีไม่เพียงพอ  เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี  โดยเฉพาะทารกและเด็กก่อนวัยเรียน  อันเนื่องมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เอาใจใส่เริ่งการกินอาหารหรือไม่มีความรู้ทางโภชนาการดีพอ  ลักษณะอาการของโรคมี 2 รูปแบบ  คือ  ควาซิออร์กอร์ ( Kwashiorkor ) และมาราสมัส ( Marasmus )

1.1.ควาชิออร์กอร์  เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการขาดสารอาหารประเภทโปรตีนอย่างมาก  มักเกิดกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมข้นหวาน  นมผงผสม  และให้อาหารเสริมประเภทข้าวหรือแป้งเป็นส่วนใหญ่  ทำให้ร่างกายขาดโปรตีนสำหรับการเจริญเติบโตและระบบต่าง ๆ บกพร่อง  ทารกจะมีอาการซีด  บวมที่หน้า  ขา  และลำตัว  เส้นผมบางเปราะและร่วงหลุดง่าย  ผิวหนังแห้งหยาบ  มีอาการซึมเศร้า  มีความต้านทานโรคต่ำ   ติดเชื้อง่าย  และสติปัญญาเสื่อม

1.2.มาราสมัส   เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการขาดสารอาหรประเภท โปรตีน  คาร์โบไฮเดรตและไขมันผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการคล้ายกับเป็นควาชิออร์กอร์แต่ไม่มีอาการบวมที่ท้อง  หน้า  และขา  นอกจากนี้ร่างกายจะผอมแห้ง  ศรีษะโตพุงโร  ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่  ลอกออกเป็นชั้นได้  และท้องเสียบ่อย

อย่างไรก็ตาม  อาจมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีลักษณะทั้งควาชิออร์กอร์  และมาราสมัสในคนเดียวกันได้

              

   รูป   ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและแคลอรี

ประเภทควาชิออร์กอร์และมาราสมัส

 จากการสำรวจพบว่า  ทารกและเด็กก่อนวัยเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโรคขาดโปรตีน  และแคลอรีมากที่สุด   นอกจากนี้จากรายงานสถานภาพโภชนาการในประเทศไทยของกองโภชนาการ  กรมอนามัย  ยังพบอีกว่าในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรโดยเฉพาะในชนบทมีภาวะโภชนาการไม่ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์   มีอาการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย   และขณะตั้งครรภ์งดกินอาหารประเภทโปรตีน    เพราะเชื้อว่าเป็นของแสลงทำให้ได้รับพลังงานเพียงร้อยละ  80  และโปรตีนร้อยละ 62 - 69  ของปริมาณที่ควรได้รับ

การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น  ด้วยเหตุนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการส่งเสริมให้เลี้ยงทารกด้วยนมมารดามากขึ้น  และส่งเสริมให้เด็กดื่มนมวัวน้ำนมถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น  เพราะน้ำนมเป็นสารอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดเนื่องจากประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ ครบทั้ง 5 ประเภท

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีหน่วยงานหลายแห่งได้ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการผลิตอาหารที่ให้คุณค่าโปรตีนแต่มีราคาไม่แพงนัก  ให้คนที่มีรายได้น้อยได้กินกันมากขึ้น  สถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร   มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ได้ค้นคว้าทดลองผลิตอาหารโปรตีนจากพืชเพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์  เช่น  ใช้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่เรียกว่า  โปรตีนเกษตร  ที่ผลิตในรูปของเนื้อเทียม  และโปรตีนจากสาหร่ายสีเขียว  เป็นต้น

 2.โรคขาดวิตามิน

นักเรียนคงได้ทราบมาแล้วว่า  นอกจากร่างกายจะต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมันแล้ว  ยังต้องการสารอาหารประเภทวิตามิน ( และแร่ธาตุ )  อีกด้วยเพื่อช่วยทำให้ร่างกายสมบูรณ์ขึ้น  คือ  ช่วยควบคุมให้อวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ได้ตามปกติถึงแม้ร่างกายจะต้องการสารอาหารประเภทนี้ในปริมาณน้อยมาก  แต่ถ้าขาดไปจะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์และเกิดโรคต่าง ๆ ได้  โรคขาดวิตามินที่พบในประเทศไทยส่วนมากเป็นโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ  วิตามินบีหนึ่ง  วิตามินบีสอง  และวิตามินซี  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

2.1.โรคขาดวิตามินเอ   เกิดจากอาหารที่มีไขมันต่ำและมีวิตามินเอน้อยคนที่ขาดวิตามินเอ  ถ้าเป็นเด็กการเจริญเติบโตหยุดชะงัก  สุขภาพอ่อนแอ  ผิวหนังหยาบแห้งมีตุ่มสาก ๆ เหมือนหนังคางคกเนื่องจากการอักเสบบริเวณก้น  แขน  ขา  ข้อศอก  เข่า  และหน้าอก  นอกจากนี้จะมีอาการอักเสบในช่องจมูก  หู  ปาก  ต่อมน้ำลาย  เยื่อบุตาและกระจกตาขาวและตาดำจะแห้ง   ตาขาวจะเป็นแผลเป็นที่เรียกว่า  เกล็ดกระดี่   ตาดำขุ่นหนาและอ่อนเหลวถ้าเป็นรุนแรงจะมีผลทำให้ตาบอดได้  ถ้าไม่ถึงกับตาบอดก็อาจจะมองไม่เห็นในที่สลัวหรือปรับตาในความมืดไม่ได้  เรียกว่า  ตาฟาง  หรือ  ตาบอดกลางคืน

 

 รูป     โรคตาเป็นเกล็ดกระดีที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ

การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินเอ   ทำได้โดยการกินอาหารที่มีไขมันและอาหารจำพวกผลไม้  ผักใบเขียว  ผักใบเหลือง  เช่น  มะละกอ  มะม่วงสุก  ผักบุ้ง  คะน้า  ตำลึง  มันเทศ  ไข่  นม  สำหรับทารกควรได้กินอาหารเสริมที่ผสมกับตับหรือไข่แดงบด

2.2.โรคขาดวิตามินบีหนึ่ง  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินบีต่ำและกินอาหารที่ไปขัดขวางการดูดซึมวิตามินบีหนึ่ง  คนที่ขาดวิตามินบีหนึ่งจะเป็นโรคเหน็บชาซึ้งจะมีอาการชาทั้งมือและเท้า   กล้ามเนื้อแขนและขาไม่มีกำลัง  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมร่วมด้วย  ถ้าเป็นมากจะมีอาการใจสั่นหัวใจโตและเต้นเร็ว  หอบ  เหนื่อย  และอาจตายได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

 

 รูป  ผู้ป่วยเป็นโรคเหน็บชาเนื่องจากการขาดวิตามินบีหนึ่ง

 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินบีหนึ่ง  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งให้เพียงพอและเป็นประจำ   เช่น  ข้าวซ้อมมือ  ตับ  ถั่วเมล็ดแห้ง  และเนื้อสัตว์  และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายวิตามินบีหนึ่ง  เช่น  ปลาร้าดิบ  หอยดิบ  หมาก เมี่ยง  ใบชา  เป็นต้น

 2.3.โรคขาดวิตามินบีสอง  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินบี สองไม่เพียงพอ  คนที่ขาดวิตามินบีสองมักจะเป็นแผลหรือรอยแตกที่มุมปากทั้งสองข้างหรือซอกจมูกมีเกล็ดใสเล็ก ๆ ลิ้นมีสีแดงกว่าปกติและเจ็บ  หรือมีแผลที่ผนังภายในปากรู้สึกคันและปวดแสบปวดร้อนที่ตา  อาการเหล่านี้เรียกว่า  เป็นโรคปากนกกระจอก  คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  และอารมณ์หงุดหงิด

 

 

 

 รูป   โรคปากนกกระจอกเนื่องจากการขาดวิตามินบีสอง

 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินบีสอง  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีสองให้เพียงพอและเป็นประจำ  เช่น  นมสด  นมปรุงแต่ง  นมถั่วเหลือง  น้ำเต้าหู้  ถั่วเมล็ดแห้งข้าวซ้อมมือ  ผัก  ผลไม้  เป็นต้น

 2.4.โรคขาดวิตามินซี  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินซีไม่เพียงพอ  คนที่ขาดวิตามินซีมักจะเจ็บป่วยบ่อย  เนื่องจากมีความต้านทานโรคต่ำ  เหงือกบวมแดง  เลือดออกง่าย  ถ้าเป็นมากฟันจะโยกรวน  และมีเลือดออกตามไรฟันง่าย  อาการเหล่านี้เรียกว่าเป็น  โรคลักปิดลักเปิด

 

 รูป   โรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากการขาดวิตามินซี

 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินซี   ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินซีให้เพียงพอและเป็นประจำ  เช่น  ส้ม  มะนาว  มะขามป้อม  มะเขือเทศ  ฝรั่ง  ผักชี  เป็นต้น

 จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  โรคขาดวิตามิน  ส่วนมากมักจะเกี่ยวกับวิตามินประเภทละลายได้ในน้ำ  เช่น  วิตามินบี  วิตามินอี  และวิตามินเค  มักจะไม่ค่อยเป็นปัญหาโภชนาการ   ทั้งนี้เพราะวิตามินเหล่านี้บางชนิดร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเเองได้  เช่น  วิตามินดี  ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งและได้รับแสงอาทิตย์เพียงพอ  รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนสารที่เป็นไขมันชนิดหนึ่งใต้ผิวหนังที่เป็นวิตามินดีได้  วิตามินเค  ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่

 3.โรคขาดแร่ธาตุ

แร่ธาตุนอกจากจะเป็นสารอาหารที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติแล้ว  ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายอีกด้วย  เช่น  เป็นส่วนประกอกบของกระดูกและฟัน  เลือด  กล้ามเนื้อ  เป็นต้น  ดังที่กล่าวแล้ว  ดังนั้น  ถ้าร่างกายขาดแร่ธาตุก็อาจจะทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะผิดปกติ  และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้  ดังนี้

                           3.1.โรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส  เกิดจากการกินอาหารที่มีแคลเซียมยมและฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ  คนที่ขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัสจะเป็นโรคกระดูกอ่อน  มักเป็นกับเด็ก  หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร  ทำให้

ข้อต่อกระดูกบวม  ขาโค้งโก่ง  กล้ามเนื้อหย่อน  กระดูกซีโครงด้านหน้ารอยต่อนูน  ทำให้หน้าอกเป็นสันที่เรียกว่าอกไก่   ในวัยเด็กจะทำให้การเจริญเติบโตช้าโรคกระดูกอ่อนนอกจากจะเกิดจากการขาดแร่ธาตุทั้งสองแล้ว  ยังเกิดจากการได้รับแสงแดดไม่เพียงพออีกด้วย

 

 รูป   โรคกระดูกอ่อน เนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส

                            การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสให้มากและเป็นประจำ  เช่น  นมสด  ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก  ผักสีเขียว  น้ำมันตับปลา เป็นต้น

                           3.2.โรคขาดธาตุเหล็ก   เกิดจากการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือเกิดจากความผิดปกติในระบบการย่อยและการดูดซึม  คนที่ขาดธาตุเหล็กจะเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายสร้างเฮโมโกลบินได้น้อยกว่าปกติ  ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร   มีความต้านทานโรคต่ำ  เปลือกตาขาวซีด  ลิ้นอักเสบ  เล็บบางเปราะ  และสมรรถภาพในการทำงานเสื่อม

  

                                    รูป    ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจางและมีลิ้นอักเสบและซีด

                             การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุเหล็ก  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนสูงเป็นประจำ   เช่น  ตับเครื่องในสัตว์  เนื้อสัตว์  ผักสีเขียว  เป็นต้น

                           3.3.โรคขาดธาตุไอโอดีน  เกิดจากการกินอาหารที่มีไอโอดีนต่ำหรืออาหารที่มีสารขัดขวางการใช้ไอโอดีนในร่างกาย  คนที่ขาดธาตุไอโอดีนจะเป็นโรคคอพอก  และต่อมไทรอยด์บวมโต  ถ้าเป็นตั้งแต่เด็กจะมีผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ  ร่างกายเจริญเติบโตช้า  เตี้ย  แคระแกร็น  สติปัญญาเสื่อม  อาจเป็นใบ้หรือหูหนวกด้วย  คนไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นโรคนี้กันมาก  บางทีเรียกโรคนี้ว่า  โรคเอ๋อ

  

      รูป     ผู้ป่วยเป็นโรคคอพอกเนื่องจากการขาดธาตุไอโอดีน

                            การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุไอโอดีน  ทำได้โดยการกินอาหารทะเลให้มาก  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  เป็นต้น  ถ้าไม่สามารถหาอาหารทะเลได้ก็ควรบริโภคเกลืออนามัย  ซึ่งเป็นเกลือสมุทรผสมไอโอดีนที่ใช้ในการประกอบอาหารแทนได้  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารขัดขวางการใช้ไอโอดีน  เช่น  พืชตระกูลกระหล่ำปลี  ซึ่งก่อนกินควรต้มเสียก่อน

                            โดยกล่าวสรุป  การขาดสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลาย ๆ ประเภท  นอกจากจะมีผลทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงและเป็นโรคต่าง  ๆ ได้แล้ว  ยังทำให้การดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก  อีกทั้งยังมีผลกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของประชากรโดยตรง  ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาของประเทศในที่สุด  ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรเลือกกินอาหารอย่างมีคุณภาพ  ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงเสมอไป  แต่ต้องการกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่พอเพียงกับร่างกายต้องการในแต่ละวัน  นั่นคือ  กินให้ดี  แล้วก็จะส่งผลถึงสุขภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย  ซึ่งก็คือ  อยู่ดี  ด้วย

                          อย่างไรก็ตาม  โรคที่เกี่ยวกับสารอาหารไม่ใช่มีเฉพาะโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารเท่านั้น  การที่ร่างกายได้รับสารอาหารบางประเภทมากเกินไปก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นเดียวกัน  โรคที่เกิดจากการได้รับสารอาหารมากเกินไปความต้องการของร่างกายมีหลายโรคที่พบเห็นบ่อย  คือ  โรคอ้วน

                            โรคอ้วน  เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย  ทำให้มีการสะสมของไขมันภายในร่างกายเกินความจำเป็น  คนที่เป็นโรคอ้วนอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา  เช่น  สภาพจิตใจไม่ปกติ  ความต้านทานโรคต่ำ  ติดโรคง่าย  เป็นโรคหัวใจ  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  เป็นต้น

 

รูป   ผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน

                            ปัจจุบันสภาวะสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา  ประกอบกับการมีค่านิยมการบริโภคอาหารแบบตะวันตก  เช่น  พิซซ่า  แซนด์วิช  มันฝรั่งทอด  ไก่ทอด  เป็นต้น  จึงทำให้ได้รับไขมันจากสัตว์ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลสูง  ดังนั้นนักเรียนควรใช้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ศึกษามาให้ประโยชน์ต่อตนเอง  โดยการเลือกกินอาหารที่มีไขมันให้พอเหมาะเพื่อป้องกันโรคอ้วน  โรคไขมันและคอเลสเทอรอลในเลือดสูง  ซึ่งจะมีผลต่อโรคอื่น ๆ ต่อไป  นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคอ้วนได้ถ้าอ้วนมาก ๆ ควรปรึกษาแพทย์  อย่าใช้ยา  สบู่  ครีม  หรือเครื่องมือลดไขมัน  ตลอดจนการกินยาลดความอ้วน  เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

              Link  https://www.kr.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

               โรคเท้าชาหมอเอ็กซเรย์กระดูกสันหลัง



อัพเดทล่าสุด