โรคเท้าเย็น โรคเท้าเน่า โครงการโรคเท้าเปื่อยและปากเปื่อย


2,605 ผู้ชม


โรคเท้าเย็น โรคเท้าเน่า โครงการโรคเท้าเปื่อยและปากเป่ือย

             โรคเท้าเย็น

ามักจะเข้าใจกันว่าอาการปวดน่อง ปวดขา เกิดจากสาเหตุของโรค ในระบบกระดูกและข้อ หรือเป็นโรคของระบบประสาท หรือบางคนคิดว่า เป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเป็นมากขึ้นเวลาที่เดินหรือออกกำลังกาย จริงๆ แล้ว อาการดังกล่าวเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดการอุดตันหรือมีลิ่มเลือดใน หลอดเลือดแดงส่วนปลาย
หลอดเลือดแดงส่วนปลายคืออะไร

  

หลอดเลือดแดงส่วนปลาย หมายถึง หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นหัวใจและสมอง เช่น หลอดเลือดแดงที่ แขน ขา มือ เท้า ที่ไต ในช่องท้องซึ่งหลอดเลือดแดงเหล่านี้มีหน้าที่เลี้ยงทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าหลอดเลือดหัวใจ

 

โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายเกิดได้อย่างไร

โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายเเกิดจากการตีบ ตัน หรือมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดของผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคอ้วน หรืออายุที่มากขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงผิดปกติ

อาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขา

  • ปวดเท้า ปวดน่อง โดยเฉพาะเวลาที่เดินหรือออกกำลังกาย
  • เท้ามีอาการชา หรือสีซีดลง ในบางรายอาจมีอุณหภูมิที่ผิวหนังเย็นลง
  • แผลที่เท้าหรือส้นเท้าที่รักษายาก หายช้า มักพบในผู้ที่มีเบาหวานร่วมด้วย บางครั้งแผลอาจลุกลามจนเกิดเนื้อเน่าตาย
อาการเหล่านี้อาจมีได้ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
 

จะตรวจหาโรคนี้ได้อย่างไร

ความสำคัญของการวินิจฉัยโรคนี้ นอก เหนือจากจะช่วยให้หยุดยั้งอาการของโรคโดยเฉพาะที่ขาได้แล้ว ยังมีความสำคัญในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงของหัวใจและสมองได้ อีกด้วย
การวินิจฉัยง่ายๆ ที่ทำได้คือ การวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่แขนเปรียบเทียบกับที่ข้อเท้า โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ABI (Ankle Brachial pressure Index) การ วัด ABI คือค่าอัตราส่วนของความดัน systolic ของข้อเท้าเทียบกับค่าความดัน systolic ของแขน ในแต่ละข้าง ค่าปกติของ ABI คือ 1 หลักการคือ ค่าความดันของหลอดเลือดที่ขาควรจะเท่ากับหรือมากกว่าค่าความดันของหลอดเลือด ที่แขน ถ้าน้อยกว่าแสดงว่าน่าจะมีการตีบตันของหลอดเลือดข้างนั้นๆ


ซึ่งสามารถทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถวินิจฉัยโรคได้ในเบื้องต้น
โดยไม่มีความเสี่ยงต่อผู้ป่วย หากแพทย์ต้องการดูรายละเอียดมากขึ้น ก็จะใช้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (64-slice CT Scan) หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) มาช่วยในการตรวจดูรายละเอียดของหลอดเลือดส่วนการตรวจที่ให้รายละเอียดและความแม่นยำมากที่สุดคือ การตรวจด้วยวิธีสวนหลอดเลือด หรือ Angiogram

มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และความรุนแรงของการตีบตันของหลอดเลือด การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การรับประทานยาร่วมกับการออกกำลังกายของขา กรณี เป็นมากขึ้นอาจใช้วิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือใส่อุปกรณ์ถ่างขยายที่ทำจากขดลวด (Stent) กรณีที่มีความจำเป็น หรือโรครุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเชื่อมต่อหลอดเลือด

จะป้องกันโรคได้อย่างไร

ต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ เช่น หยุดสูบบุหรี่ ควบคุมเบาหวาน ไขมัน และความดัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดย เฉพาะผู้สูงอายุควรใช้วิธีการเดินหรือปั่นจักรยาน การออกกำลังกายจะเห็นผลได้ต้องทำอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน และเมื่อมีอาการปวดเท้า ปวดน่อง โดยเฉพาะเวลาเดินหรือออกกำลังกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

            Link     https://www.vcharkarn.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


           โรคเท้าเน่า

สูบบุหรี่-​เท้า​เน่า!​เพิ่ม​เป็น10ภาพคำ​เตือนบนซอง

ข่าวทั่ว​ไป หนังสือพิมพ์​ไทย​โพสต์ -- จันทร์ที่ 29 มีนาคม 2553 00:00:00 น.

สาธารณสุข - ​เริ่ม​แล้ว บังคับ​ใช้ประกาศกระทรวง ​ให้​ผู้ผลิตพิมพ์ 10 ภาพคำ​เตือนภัยบุหรี่ที่​ใหญ่กว่า​เดิม พร้อม​เบอร์สายด่วน​เลิกบุหรี่ 1600 อนุ​โลมบุหรี่​เก่าวางตลาด​ได้อีก 90 วัน

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่า​การกระทรวงสาธารณสุข ​ให้สัมภาษณ์​เมื่อวันที่ 28 มีนาคมนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีน ​โยบายส่ง​เสริม​ให้ประชาชน​ไทยลด ละ​การสูบบุหรี่ทุกชนิด ​เพื่อลด​การ​เจ็บป่วยจาก​การสูดสารอันตรายที่อยู่​ในบุหรี่​ซึ่งมีมาก​ถึง 4,000 ชนิด ​เป็นสา​เหตุ​ทำ​ให้ป่วย​และ​เสียชีวิตด้วย​โรคมะ​เร็งปอด รวม​ทั้ง​โรคถุงลมปอด​โป่งพอง​เรื้อรัง ​ซึ่ง​ทำ​ให้​ผู้ป่วยทุกข์ทรมานจากอา​การหอบ ล่าสุดมีคน​ไทยป่วยจาก​โรคนี้ประมาณ 200,000 คน

รมช.สาธารณสุขกล่าวว่า ขณะนี้มีกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 มีผลบังคับ​ใช้อีก 1 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข​ เรื่องหลัก​เกณฑ์ วิธี​การ ​และ​เงื่อน​ไข​การ​แสดงฉลากรูปภาพ​และข้อ​ความคำ​เตือน​ถึงพิษภัยของบุหรี่ ซิ​การ์ พ.ศ.2552 มีสาระว่าด้วย​การบังคับ​ให้บริษัท​ผู้ผลิต ​หรือ​ผู้นำ​เข้าบุหรี่ทุกชนิดที่จำหน่าย​ในประ​เทศ​ไทย ต้องพิมพ์ภาพคำ​เตือนภัย จำนวน 10 ภาพ พิมพ์ด้วย 4 สี มีพื้นที่ขนาดร้อยละ 55 บนซองบุหรี่​ทั้งหน้า​และด้านหลังทุกซอง พร้อม​เบอร์​โทร.สายด่วน​เลิกบุหรี่ 1600 ​เพื่อ​ให้ประชาชนที่สูบบุหรี่ ​หรือ​ผู้ที่กำลังจะริลองสูบบุหรี่ ​ได้​เห็นพิษภัยอันตรายของสารพิษ​ในบุหรี่ชัด​เจนยิ่งขึ้น

"ประกาศดังกล่าว รัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณสุขลง นาม​เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ​และมีผล​ใช้บังคับหลังลง​ในราชกิจจานุ​เบกษา 180 วัน คือตั้ง​แต่วันที่ 29 มีนาคม 2553 ​เป็นต้น​ไป สำหรับผลิตภัณฑ์ยาสูบรุ่น​เก่าที่ยังตกค้าง​ในท้องตลาด อนุ​โลม​ให้จำหน่ายต่อ​ไปอีก 90 วัน จากนั้นจะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2552 ตั้ง​แต่วันที่ 27 มิถุนายน 2553 ​เป็นต้น​ไป"

นางพรรณสิริกล่าวว่า วิธี​การพิมพ์ภาพคำ​เตือนบนซองบุหรี่นี้ ถือว่า​เป็น​การรณรงค์​ให้ข้อมูล​แก่​ผู้สูบบุหรี่​และ​ผู้​ไม่สูบบุหรี่ ตรงกลุ่มที่สุด​และประหยัดที่สุด ​เป็นที่ยอมรับขององค์​การอนามัย​โลกว่าวิธีนี้​เป็น​การ​ให้ข้อมูลที่มี​ ความสม่ำ​เสมอ ​ผู้สูบบุหรี่จะ​ได้ข้อมูลทุกครั้งที่หยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ ​และ​ใช้ข้อมูลประกอบ​การตัดสิน​ใจว่าจะสูบต่อ​หรือ​เลิกสูบ ​ซึ่ง​ไทย​เป็นประ​เทศที่ 4 ที่​ใช้​การรณรงค์วิธีนี้ ​โดยมาตร​การของ​ไทยนี้​เป็นที่สน​ใจของ 5 ประ​เทศ ​ได้​แก่ มา​เล​เซีย บรู​ไน ลาว คาซัคสถาน ​และสิงค​โปร์ ​ได้ขอต้น​แบบภาพคำ​เตือนนี้นำ​ไป​ใช้​ในประ​เทศด้วย นอกจากนี้ ​การบังคับพิมพ์ภาพคำ​เตือนยังมีผล​ใน​การควบคุมบุหรี่​เถื่อน​หรือบุหรี่ หนีภาษีอีกด้วย

ด้าน นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุม​โรค กล่าวว่า ภาพคำ​เตือน 10 ภาพ ประกอบด้วย 1.สูบ​แล้วหัว​ใจวายตาย 2.สูบ​แล้วถุงลมพองตาย 3.สูบ​แล้ว​เป็นมะ​เร็งปอดตาย 4.ควันบุหรี่​ทำ​ให้​เป็นมะ​เร็ง 10 ชนิด 5.สูบ​แล้ว​เป็นมะ​เร็งกล่อง​เสียง 6.สูบ​แล้ว​เส้น​เลือดสมองตีบตาย 7.สูบ​แล้ว​เป็นมะ​เร็งช่องปาก 8.ควันบุหรี่ฆ่าคน​ใกล้ชิด 9.สูบ​แล้วปาก​เหม็นบุหรี่ ​และ 10.สูบ​แล้ว​เท้า​เน่า

อธิบดีกรมควบคุม​โรคกล่าวว่า ภาพประกอบคำ​เตือนนี้จะ​เป็น​การสร้างค่านิยม​การ​ไม่สูบบุหรี่ ​โดย​เฉพาะ​เด็ก​และ​เยาวชน ภาพ​และคำ​เตือนที่ชัด​เจนจะ​ทำ​ให้ประชาชนมี​ความรู้ ​และตระหนัก​ถึงอันตรายจาก​การสูบบุหรี่มากขึ้น ​โดยขนาดของภาพที่พิมพ์จะ​ใหญ่​เห็นชัดกว่า​เดิมที่​ใช้มาตั้ง​แต่ พ.ศ.2550 คือ มีขนาดกว้าง 5.5 ​เซนติ​เมตร ยาว 4.75 ​เซนติ​เมตร พื้นที่พิมพ์​ใหญ่ขึ้นจาก​เดิมร้อยละ 50 ​เป็นร้อยละ 55 ภาพคำ​เตือน​เหล่านี้อาจต้องปรับ​เปลี่ยนทุก 2 ปี ​เพื่อป้องกัน​ความซ้ำซาก.

           Link      https://www.ryt9.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            โครงการโรคเท้าเปื่อยและปากเปื่อย

โรคมือ เท้า ปาก Hand, Foot and Mouth Disease

โรคมือ เท้า ปาก Hand, Foot and Mouth Disease


โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
          ช่วงปิดเทอมทีไร เรามักจะได้ยินข่าวคราวเด็ก ๆ เป็นโรคติดต่ออย่าง โรคมือเท้าปาก กันมากทีเดียว ว่าแต่ โรคมือเท้าปาก นี้คือโรคอะไร เรามาทำความรู้จัก โรคมือเท้าปาก ไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ
รู้จัก โรคมือเท้าปาก
          โรค มือเท้าปาก หรือ Hand, Foot and Mouth Disease มักเรียกติดปากกันว่า โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โดยพบการระบาดของ โรคมือเท้าปาก เมื่อปี พ.ศ.2500 กับเด็กในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้และยังมีตุ่มน้ำใสในช่องปาก มือ และเท้า
          ต่อมายังพบการระบาดกับกลุ่มเด็กในเมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อปี พ.ศ.2502 เช่นกัน จนได้มีการเรียกกลุ่มอาการที่พบนี้ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นก็มีรายงานการระบาดของ โรคมือเท้าปาก จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
          ทั้งนี้ โรคมือเท้าปาก จะมีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หากเป็นประเทศเขตหนาวจะพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศเขตร้อนชื้นจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่ละระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนชื้น และมักพบในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
การติดต่อ โรคมือเท้าปาก
          โรคมือเท้าปาก สามารถติดต่อกันได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย สามารถติดต่อได้โดย
          การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งจากจมูก, ลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส (Respiratory route) โดยเชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใบ้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกันก็ได้
          อุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) โดยช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
          ทั้ง นี้ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดติอจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก

อาการของ โรคมือเท้าปาก
          โดย ทั่วไป โรคมือเท้าปาก มีอาการไม่รุนแรง โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน และมีอาการเริ่มต้นคือ เป็นไข้ต่ำ ๆ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มเจ็บปาก ไม่ยอมทานอาหาร เพราะมีตุ่มแดงที่เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม โดยตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบแผลจะอักเสบแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น จากนั้นจะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้ ทั้งนี้อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน  7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น
          อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปาก อาจแสดงอาการในหลายระบบ เช่น
          1.ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ
          2.ทางผิวหนัง
          3.ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
          4.ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน
          5.ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ
          6.ทาง หัวใจ เช่น สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
การรักษา โรคมือเท้าปาก
          โรคมือเท้าปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ทั้งนี้ ควรเช็ดตัวผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ให้อาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำและผลไม้ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจต้องป้อนนมแทนการให้ดูดจากขวดนม
          หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิด โรคมือเท้าปาก ซ้ำได้ จาก เอนเทอโรไวรัสตัวอื่น ๆ ดัง นั้น หากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกมีอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อย ๆ หอบ แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ก็ควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์

โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก

การป้องกัน โรคมือเท้าปาก
          ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน โรคมือเท้าปาก แต่โดยปกติป้องกัน โรคมือเท้าปาก ได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนกลาง และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน
          ที่ สำคัญ คือ ต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยไม่ให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และต้องคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้า ที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
          หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค  โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน
ติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
          สถานบริการสาธารณ สุขทุกแห่ง
          ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค  โทร. 0-2590-3333
          สำนักโรคติดต่อทั่วไป  กรมควบคุมโรค  โทร. 0-2590-3194
          แจ้งการระบาดของโรคได้ที่ สำนักระบาดวิทยา  กรมควบคุมโรค  โทร. 0-2590-1882

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- สำนักโรคติดต่อทั่วไป
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด