โรคเท้าช้างระบาด โรคเท้าช้างนราธิวาส โรคเท้าช้าง กับ อิสลาม


1,449 ผู้ชม


โรคเท้าช้างระบาด โรคเท้าช้างนราธิวาส โรคเท้าช้าง กับ อิสลาม 

       โรคเท้าช้างระบาด

   

โรคเท้าช้าง

   

      โรคเท้าช้าง เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง

         

สาเหตุและแหล่งระบาด

   

      โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ Brugia malayi มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี; อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก; อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่

         

      ปัจจุบันพบว่าเชื้อโรคเท้าช้างชนิด Wuchereria bancrofti สายพันธุ์ที่นำเข้าโดยผู้อพยพจากชายแดนไทยพม่า มียุงพาหะหลายชนิดรวมทั้งยุงรำคาญ (Culex) ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป

         

วงจรชีวิต

   

    เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้า ช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเคลื่อนตัวออกจากส่วนปากของยุงมาที่บริเวณผิวหนัง ไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเข้าไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์ คลิกเพื่อดูรูปวงจรชีวิตพยาธิเท้าช้างที่นี่ครับ

         

อาการของโรค

   

         คนที่มีอาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลาย ครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อ เยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมี ลักษณะขรุขระ

         
 

รูป ผู้ป่วยเป็นโรคฟิลาเรียของระบบน้ำเหลืองที่เกิดจากเชื้อ W.bancrofti จะมีอาการแสดงส่วนใหญ่ให้เห็นคือผิวหนังตรงอวัยวะเพศหยาบขรุขระ เกิด hydrocele เป็นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

         
 

รูปผู้ป่วยเป็นโรคฟิลาเรียของระบบน้ำเหลืองที่เกิดจากเชื้อ B. malayi จะ มีอาการแสดงส่วนใหญ่ให้เห็นคือขาโตและมีผิวหนังหยาบขรุขระ จึงมักเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้าช้าง

         

ลักษณะพยาธิ

         
 

รูป พยาธิ Wuchereria bancrofti ระยะตัวอ่อน (microfilaria)ขนาด 230-296 *8-10 ไมครอน ย้อมด้วยสี hematoxylin จะเห็นตัวพยาธิมีรูปโค้งเป็นวงค่อนข้างกว้าง มีปลอกหุ้มตัว ส่วนหัวมีช่องว่าง (cephalic space) ช่องว่างส่วนหัวนี้จะ มีอัตราส่วนของความกว้างต่อความยาวเท่ากับ 1:1 ต่อจากช่องว่างส่วนหัวจะมี นิวเคลียสรูปวงกลมหรือเรียงแยกห่างจากกันเห็นได้ชัด แต่เรียงไม่ถึงปลายทาง

         
 

รูปพยาธิ W.bancrofti ระยะ microfilaria แสดงให้เห็นนิวเคลียส ไปไม่ถึงปลายหาง

         
 

รูป พยาธิ Brugia malayi ระยะ microfilaria ย้อมด้วยสี hematoxylin ขนาด 200-275 * 5-6 ไมครอน มีลักษณะขดๆงอๆ มีปลอกหุ้มตัว ช่องว่างส่วนหัวมีความกว้างต่อความยาว 1:2 นิวเคลียสรูปร่างไม่แน่นอนขนาดเล็กกระจายซ้อนกัน ที่ปลายหางมีนิวเคลียส 2 อันห่างกัน เรียก terminal nuclei

         
 

รูป พยาธิ B. malayi ระยะ microfilaria แสดงให้เห็น terminal nuclei

         
 

รูปพยาธิ B.malayi ระยะ microfilaria ย้อมด้วยสี Giemsa จะเห็นปลอกหุ้มตัวติด สีชมพูเข้ม

         

การวินิจฉัย

   

       ผู้ป่วยที่มีประวัติเข้าไปอยู่ในถิ่นที่มีการระบาดของโรค ถ้ามีไข้ ท่อน้ำเหลืองอักเสบ ขา แขน หรืออัณฑะบวม ควรตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโดยการตรวจเลือด (ในประเทศไทย มักพบเชื้อนี้ในเวลากลางคืน) นอกจากนี้อาจตรวจวินิจฉัยทางน้ำเหลืองได้ด้วย

   
  • วินิจฉัยจากอาการทางคลินิกข้างต้น
  • จากประวัติการรับประทานอาหารดิบๆ สุกๆ เช่น หอยพาหะ กุ้ง และสัตว์พาหะอื่นๆ
  • ตรวจพบพยาธิในน้ำไขสันหลังหรือจากตา
  • ตรวจพบเม็ดเลือดขาวชนิดอิโอซิโนฟิลจำนวนมากในน้ำไขสันหลัง
  • ตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อพยาธิโดยวิธีอิมมิวโนวินิจฉัย
         

การป้องกันและควบคุม

   
  • ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัดโดย
    - นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด
    - ทายากันยุง
  • ควบคุมและกำจัดยุงพาหะโดย
    - พ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน
    - กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ
    - กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำในแหล่งน้ำ
  • ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้าง อาจกินยาป้องกัน ได้แก่ Diethylcarbamazine (DEC) ติดต่อขอรับยาได้ที่ หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข

             Link    https://www.tm.mahidol.ac.th/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                 โรคเท้าช้างนราธิวาส

Pic_89673

โรคเท้าช้างระบาดรุนแรงที่นราฯ 8 อำเภอแล้วพบเป็นแชมป์ของประเทศ พบมากสุดที่ อ.ยี่งอ ปัจจัยหลักคือ ปัญหาความไม่สงบ ทำให้ จนท.ไม่กล้าเสี่ยงภัยเดินทางเข้าไปรักษา และป่าพรุทำให้ยุงลายขยายพันธุ์รวดเร็ว..
เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.  ที่สนามโรงเรียนบ้านกาแร หมู่ 2 ต.ลูโบะบือซา อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส นายธนน เวชกรกานนท์ ผวจ.นราธิวาส เป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์กวาดล้างโรคเท้าช้างเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานสาธารณสุข จ.นราธิวาส เพื่อรณรงค์สกัดกั้นโรคเท้าช้างได้หยุดแพร่ระบาด หลังพบว่า จ.นราธิวาส มีสถิติผู้ป่วยเป็นโรคเท้าช้างอันดับ 1 ของประเทศ และได้ขยายวงกว้างไปแล้วกว่า 141 หมู่บ้าน 26 ตำบลในพื้นที่ 8 อำเภอ และอำเภอที่พบผู้ป่วยโรคเท้าช้างมากที่สุดคือ อ.ยี่งอ


นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุข จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว คือ สภาวะเหตุการณ์ความไม่สงบ ที่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าเสี่ยงเดินทางเข้าไปรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่รายรอบไปด้วยป่าพรุ ทำให้ยุงลายซึ่งเป็นพาหะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยสาธารณสุข จ.นราธิวาส ได้แจกจ่ายยา ดีอีซี และยาอัลเบนดาโซล ให้กับตัวแทนสาธารณสุขทั้ง 8 อำเภอที่มีการแพร่ระบาด เพื่อนำไปรับประทาน ในการป้องกันการติดเชื้อ และที่สำคัญที่สุดเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการแพร่ระบาดของโรคเท้าช้าง นี้.

            Link    https://www.thairath.co.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคเท้าช้าง กับ อิสลาม
   บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๒)  

 บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม

พ.ศ. ๒๕๔๐

___________

หลักการ

            กำหนดโรคตามมาตรา ๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี

เหตุผล

               โดยที่มาตรา ๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนดว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ต้องไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๑๗ (๑) มาตรา ๒๔ (๑) มาตรา ๓๑ (๑) และมาตรา ๓๒ (๑) บัญญัติให้นำมาตรา ๗ (๙) มาใช้กับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ด้วย จึงสมควรกำหนดโรคซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐

___________

                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

                    โรคตามมาตรา ๗ (๙) คือ

                    (๑)  โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

                    (๒)  วัณโรคในระยะติดต่อ

                    (๓)  โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

                    (๔)  โรคติดยาเสพติดให้โทษ

                    (๕)  โรคพิษสุราเรื้อรัง

 

                    ให้ไว้  ณ  วันที่  ๓  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๒

                    ชำนิ  ศักดิ์เศรษฐ์

                    รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน

                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนดว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ต้องไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๑๗ (๑) มาตรา ๒๔ (๑) มาตรา ๓๑ (๑) และมาตรา ๓๒ (๑) บัญญัติให้นำมาตรา ๗ (๙) มาใช้กับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิดด้วย จึงสมควรกำหนดโรคซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

               Link   https://www.cicot.or.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

อัพเดทล่าสุด