โรคเกี่ยวกับเท้า โรคเท้าแบน การรักษาโรคเท้าแบน
โรคเกี่ยวกับเท้า
ข้อเท้าและเท้า
ข้อเท้าและเท้าของคนเราวันหนึ่งๆ ต้องใช้งานเป็นอันมาก เวลาเดินจะต้องรับน้ำหนัก 1.5เท่า รวมเดินประมาณ 1000 ไมล์ต่อปี และ รับน้ำหนัก เวลาออกกำลังกายประมาณ 1000 ปอนด์ต่อชั่วโมง จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า และเท้าเป็นจำนวนมาก
กิจกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ข้อเท้าและเท้า
- กีฬาที่ต้องกระโดด เช่นบาสเกตบอล แบดมินตัน
- กีฬาที่ต้องวิ่งมาก
- กีฬาที่ต้องมีการกระทบกระแทกเช่น ฟุตบอล ฮอกกี้
ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดปัญหาที่เท้า
- ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
- ใส่รองเท้าที่ไม่ถูกชนิดของกีฬา
- การฝึกที่ผิดหลักการ เช่นการวิ่งขึ้นเขา วิ่งบนถนนที่ขรุขระ
ปัญหาที่มักจะเกิดที่ข้อเท้า
- ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงมักเกิดกับกีฬาที่ต้องกระโดด
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะเกิดกับกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมากเช่น บาสเกตบอล กระโดดสูงจะมีอาการปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย
- เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เนื่องจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้องผู้ป่วยจะมีอาการปวดฝ่าเท้าในตอนเช้า
การป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
- ให้มีการอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
- ต้องมีแผนการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
- ให้มีการยืดกล้ามเนื้อทุกวัน
- ให้ฟังร่างกายหากมีอาการปวดข้อเท้าหรือปวดฝ่าเท้าให้หยุดวิ่ง
- ใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสมกับกีฬา
- เลือกรองเท้าและถุงเท้าอย่างเหมาะสม
โรคหรือภาวะอื่นๆที่พบ
- นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป
- ตาปลา
- ฝ่าเท้าแบน
- หูด
- ฝ่าเท้าโค้งมาก
- เล็บขบ
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ
- ข้อเท้าแพลง
- เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
- การประเมินเท้า
Link https://www.siamhealth.net
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเท้าแบน
รู้จักกับโรคเท้าแบน
รู้จักกับโรคเท้าแบน

รู้จักกับโรคเท้าแบน (Men's Health)
โดย พ.ต.ท.นพ.ธรรมโรจน์ ปุญญโชติ
โรคเท้าแบน (Flat Feet) จัดเป็นปัญหาหนึ่งของเท้าที่พบได้บ่อย ๆ บางคนอาจจะงง หรือแปลกใจว่าคือโรคอะไร ไม่เห็นเคยได้ยิน แล้วจะร้ายแรงขนาดไหน เป็นโรคติดต่อหรือเปล่า รักษาให้หายได้ไหม ถ้าอย่างนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้ รวมทั้งวิธีการรักษา และป้องกันในอนาคตกันนะครับ
จริง ๆ แล้วโรคเท้าแบนไม่ใช่โรคครับ แต่เป็นภาวะที่ฝ่าเท้าไม่มีอุ้งเท้า ซึ่งเป็นปัญหาของเท้าที่พบได้บ่อยปัญหาหนึ่ง เกิดจากรูปร่างเท้าผิดปกติที่ส่วนโค้งด้านในของเท้าหรืออุ้งเท้า ซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนโค้งเว้าเข้าไปด้านใน แต่ในผู้ที่มีเท้าแบน ส่วนโค้งนี้จะน้อยกว่าปกติ อาจแบนราบเป็นเส้นตรงหรืออาจโค้งนูนยื่นออกมา ซึ่งสามารถแบ่งเท้าแบนได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

แยกได้ง่าย ๆ คือให้ยกเท้าขึ้นจากพื้น ถ้าเป็นแบบยืดหยุ่นจะพบว่า มีอุ้งเท้าได้เหมือนเดิม แต่เมื่อยืนลงน้ำหนัก ส่วนโค้งเว้าด้านในจะลดลงหรือหายไป ซึ่งลักษณะนี้พบบ่อยที่สุดคือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป
บางรายอาจมีอาการเจ็บบริเวณเท้า ข้อเท้าเอ็นร้อยหวาย หรือสังเกตได้ว่ารองเท้าสึกบริเวณด้านในมากกว่าด้านนอก เนื่องจากน้ำหนักของฝ่าเท้าที่ลงด้านนี้มากกว่า มักพบตอนโต และในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักตัวเพิ่ม สาเหตุที่ชัดเจนยังไม่พบ แต่พบว่าสัมพันธ์กับพันธุกรรม กล่าวคือพบในญาติพี่น้องที่มีลักษณะเท้าแบนเหมือนกันด้วย

พบได้น้อย วิธีสังเกตคือไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม เท้าก็จะแข็งแบนผิดรูปในลักษณะนั้นตลอด
วิธีการรักษา มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดการผิดรูปควบคุมน้ำหนัก ปรับกิจกรรม ใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้า ทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง

โรคเท้าแบน
การใช้อุปกรณ์เสริมและปรับรองเท้า



การ แก้ไขภาวะเท้าแบนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเห็นผลในระยะเวลาสั้น ๆ คุณอาจจะต้องขยันและอดทนในการแก้ไขภาวะนี้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหากับเท้าหรือส้นเท้า เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัยขึ้นไป
Tip
การรักษาอาการปวดส้นเท้าที่อาการไม่วิกฤตมากนัก สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น


เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikipedia
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การรักษาโรคเท้าแบน
โรคเท้าปุก คือ โรค เท้าปุกเป็นความผิดปกติของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนดประเภทหนึ่ง โดยมีลักษณะความผิดรูปแบบข้อเท้าจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึ้น ทำให้มีรูปร่างเหมือนไม้กอล์ฟ อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
สาเหตุของโรคเท้าปุก?
สาเหตุ ของโรคเท้าปุกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีองค์ประกอบของสาเหตุหลาย ๆ อย่างรวมกัน อันได้แก่ สิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดาซึ่งมีผลต่อท่าของเท้าในขณะที่อยู่ในมดลูก, กรรมพันธุ์, กระดูกเท้าถูกสร้างมาผิดรูป, กล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเท้าไม่สมดุลกัน
อุบัติการของโรคเท้าปุก?
โรค เท้าปุกเกิดขึ้นเป็น 1 ใน 1,000 ราย ของเด็กทารกที่คลอดใหม่ (สถิติในสหรัฐอเมริกา) ในประเทศไทยพบว่าบ่อยกว่านี้ เด็กผู้ชายเป็นโรคนี้น้อยกว่าเด็กผู้หญิงพบเป็นสองข้างมากพอ ๆ กับเป็นข้างเดียว
การรักษาโรคเท้าปุก
โรค นี้สามารถรักษาให้หายได้ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดี การรักษาในเด็กแรกคลอด คือ การดัดเท้าให้กลับคืนสู่รูปร่างที่ปกติและควบคุมด้วยเผือก ทำการดัดและเปลี่ยนเฝือกทุก ๆ สัปดาห์จนได้รูปร่างที่ปกติแล้วตามด้วยการใส่รองเท้าพิเศษตลอดเวลาอีก 2 เดือน และใส่เฉพาะเวลากลางคืนจนอายุ 4-5 ขวบ วิธีการนี้อาจต้องมีการดัดเอ็นร้อยหวายร่วมด้วย เพื่อให้เท้ามีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์ การรักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับการเข้าเฝือกนี้ถ้าทำตั้งแต่เด็ดคลอดใหม่จะ ได้ผลดีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรูปร่างเท้ายังไม่ปกติ (โดยทั่วไปมักจะดีขึ้นกว่าตอนแรกคลอดมาก) ก็จะต้องรับการผ่าดัดรักษาตามด้วยการเข้าเฝือกและการใส่รองเท้าพิเศษ
สรุป โรค เท้าปุก เป็นความผิดรูปของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเด็กจะเดินด้วยหลังเท้า มีขาลีบและยาวไม่เท่ากัน นำมาซึ่งความพิการที่ทุกข์ทรมาน และเป็นปมด้อยกับเด็กไปตลอดชีวิต
โรคเท้าแบน ที่จะพูดในที่นี้จะพูดเฉพาะโรคเท้าแบนที่เรียกว่าเท้าแบนแบบยืดหยุ่น (FLEXIBLE FLATOOT) คือมีลักษณะที่อุ้งเท้าจะหายไปเวลายืนลงน้ำหนัก แต่เวลานั่งและนอนจะมีอุ้งเท้ากลับคืนมา หรือถ้ามองเห็นอุ้งเท้าไม่ชัดในท่าที่นั่งหรือนอนอยู่ให้ยืนเขย่งปลายเท้าก็ จัเห็นอุ้งเท้าได้ชัดเจน โรคนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่นอน แพทย์บางท่านเชื่อว่าโรคนี้ เกิดขึ้นจากการที่เอ็นที่ยึดกระดูกฝ่าเท้าไม่แข็งแรงทำให้เท้าแบนราบเวลารับ น้ำหนัก เด็กแรกคลอดจนถึง 2 ขวบเท้าอาจจะดูแบนโดยที่ไม่ได้เป็นโรคเท้าแบน โรคเท้าแบนแบบยืดหยุ่นนี้อาจจะดีขึ้นเอง ตามการเจริญเติบโตของเท้า สำหรับในรายที่โรคเท้าแบนไม่หายไปก็ไม่เป็นไร เพราะคนที่เป็นโรคเท้าแบนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร
การรักษา
1. ไม่ต้องรักษา ส่วนใหญ่ของคนที่มีโรคเท้าแบนจะไม่มีอาการอะไร เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องการการรักษา
2. การใส่รองเท้าที่มีหมอนหนุนตรงบริเวณอุ้งเท้าทำได้ง่ายโดยดัดหมอนหนุนเข้า กับรองเท้าอะไรก็ได้ที่ผู้ป่วยชอบใส่ การใส่รองเท้าแบบนี้อาจช่วยให้คนที่มีอาการเมื่อยหรือปวดฝ่าเท้าสามารถ บรรเทาอาการลงได้
3. การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดเท้า อันมีเท้าแบนเป็นสาเหตุและมีความรุนแรงของอาการมาก และไม่ดีขึ้นด้วยวิธีอื่นๆ
Link https://www.chaophyachildrenhospital.com/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++