โรคg6pd ราคาค่าตรวจเลือดg6pd การปฏิบัตตัวเมื่อเป็นโรคg6pd


3,673 ผู้ชม


โรคg6pd   ราคาค่าตรวจเลือดg6pd    การปฏิบัตตัวเมื่อเป็นโรคg6pd

           โรคg6pd

    โรค G6PD 

G6PD หรือ Glucose-6-Phosphate
Dehydrogenase
เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์

ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขบวนการการใช้พลังงาน และสร้างสารต่าง ๆ ในเซลล์ เช่น ขบวนการ
Hexose monophosphate shunt สารสำคัญที่ได้จากขบวนการนี้คือ NADPH (Nicotinamide
Dinucleotide Phosphate) ซึ่งใช้ในขบวนการกำจัดสารที่เป็นพิษต่อเซลล์
หรือสิ่งแปลกปลอมออกไป เซลล์ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งขบวนการนี้มาก ได้แก่
เม็ดเลือดแดงเนื่องจากไม่มีนิวเคลียสและ organelles อื่นๆ
ที่ทำหน้าที่ทำลายสารพิษได้
โรคขาดเอ็นไซม์ G-6-PD หรือภาวะพร่องเอนไซม์ จีซิกพีดี
( G6PD Deficiency : Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase deficiency)


หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โรคแพ้ถั่วปากอ้า(Favism) เป็นโรคทางพันธุกรรม
มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านทางโครโมโซมเอกซ์ (X-linked recessive fashion)
ทำให้มีผลกระทบต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ผู้ชายจะเป็นโรคโดยได้รับยีนมาจากมารดาที่เป็นพาหะ พ่อที่เป็นโรค
จะถ่ายทอดพาหะให้ลูกสาวทุกคน
เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการอะไรนอกจากตัวเหลืองตอนแรกเกิด
การวินิจฉัยโรค ใช้การตรวจสอบทางพันธุกรรม
ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนที่สร้างเอ็นไซม์ดังกล่าว ทำให้สร้างเอ็นไซม์นี้ไม่ได้
สิ่งสำคัญ คือ เอ็นไซม์นี้มีความสำคัญในการสร้างสาร Glutathione ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย
oxidizing agents ต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากยา หรือภาวะการติดเชื้อต่าง ๆ ให้หมดฤทธิ์ไป
ความสำคัญของเอ็นไซม์นี้อยู่ที่เม็ดเลือดแดง ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ได้รับ
oxidizing agents เช่นยาบางชนิดหรือ การติดเชื้อในร่างกาย
จะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถทนทานได้ และเกิดเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน
เกิดซีดเฉียบพลัน ปัสสาวะดำหรือสีเข้มจากสีของฮีโมโกลบิน และอาจเกิดไตวายได้
สารหรือยาที่ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้บ่อยได้แก่ ยารักษามาเลเรียบางชนิด,
ยาซัลฟา,ยาปฏิชีวนะบางชนิดและถั่วปากอ้า เป็นต้น
นอกจากนี้การติดเชื้อต่าง ๆ เช่นเป็นไข้หวัด หลอดลมอักเสบ
ก็ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ จึงจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบ และรักษา
รวมทั้งเลี่ยงยาที่อาจทำให้เกิดอาการได้
อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเหล่านี้
ผู้ป่วยจะซีดลงทันทีเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกในหลอดเลือด
จะสังเกตเห็นปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโคล่า
เนื่องจากฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกกรองออกมากับไต ซึ่งจำเป็นต้องนำส่ง รพ.เพื่อให้การรักษาแบบประคับประคองทันที
อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) เช่นนี้คือ
ภาวะไตวาย
เนื่องจากไตขาดเลือดเฉียบพลันเพราะขาดเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนมาหล่อเสี้ยง(เม็ดเลือดแดงแตกหมด)
และยังได้รับฮีโมโกลบินปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อไตโดยตรง
การรักษา
เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง เช่น การให้เลือด,การให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อป้องกันไตวาย
ส่วนการแตกของเม็ดเลือดแดงจะหยุดได้เอง โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาดในขณะนี้
สิ่งที่ดีที่สุดคือ การให้คำปรึกษาและร่วมวางแผนระหว่างครอบครัวและแพทย์
การหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การให้คำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรค
จะทำให้โอกาสให้กำเนิดบุตรที่เกิดมาเป็นภาระต่อพ่อแม่น้อยลง
การปฏิบัติตัว
1. แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้
2. เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง
3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที
4. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่อาจทำให้เกิดอาการ
5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจาแพทย์
เรื่องการถ่ายทอดไปยังลูกเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนครอบครัว
อาหารต้องห้าม

นอกจากยาแล้วอาหารที่รับประทานก็พบว่ามีผลต่อเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยเช่นกัน นั่นคือ
ถั่วปากอ้า (Fava bean) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถั่วนั้นยังดิบอยู่ และลูกเหม็น (napthalene)
ที่ใช้อยู่ประจำตามบ้านค่ะ

* คนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ จีซิกพีดี ( G6PD Deficiency)

จึงไม่ควรรับประทานใบและเมล็ดมะรุมเพราะมีสารชนิดเดียวกับที่มีอยู่ในถ้วปากอ้า

*
* โพลีไซทีเมียเวอร่า เป็นภาวะเลือดข้น ที่เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือด
ทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ
หรือผู้ที่มีม้าม หรือฮอร์โมนผิดปกติ
ซึ่งสารในมะรุมไม่ส่งผลต่อภาวะนี้
และน่าจะมีผลดีต่อการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายได้มากขึ้น *
                  Link    https://www.mwake.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               ราคาค่าตรวจเลือดg6pd

อยู่กับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD อย่างไรให้มีสุข

                                   ภาวะพร่อง เอนไซม์ G-6-PD
     เอนไซม์ G-6-PD  ย่อมาจาก Glucose – 6 – Phosphate  Dehydrogenase เป็น เอนไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกายรวมทั้งเม็ดเลือดแดง  ถ้าขาดเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดง
แตกง่ายผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้มักมีสาเหตุจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงอาการในผู้ชาย  ผู้หญิงก็อาจพบ   มีอาการได้แต่น้อยกว่าผู้ชายมาก
     

       อาการ

เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการอะไรนอกจากตัวเหลืองตอนแรกเกิด
หากมีไข้สูง  หนาวสั่น  ซีดเหลือง  อ่อนเพลียมาก  ปัสสาวะสีคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า  จะตรวจพบภาวะซีด  ตัวเหลือง ตาเหลือง  แต่ตับม้ามมักไม่โต  ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีภาวะไตวายแทรกซ้อน อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) เช่นนี้คือ ภาวะไตวาย เนื่องจากไตขาดเลือดเฉียบพลันเพราะขาดเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง(เม็ดเลือดแดงแตกหมด) และยังได้รับฮีโมโกลบินปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อไตโดยตรง อาการมักเกิดขึ้นทันทีหลังเป็นโรคติดเชื้อ  เช่นไข้หวัดใหญ่  ปอดอักเสบ  มาลาเรีย  ไทฟอยด์  ตับอักเสบ  หรือหลังได้รับยาที่แสลงเช่น แอสไพริน ควินิน ไพรมาควีน คลอแรมเฟนิคอล  ยากลุ่มซัลฟา          ฟูราดซลิโดน  PAS  ไทอาเซตาโซน และยารักษามาลาเรียส่วนใหญ่  หรือหลังกินถั่วปากอ้าดิบๆสุกๆ   ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นๆหายๆได้บ่อย
       การรักษา
การรักษาเป็นการรักษาประคับประคอง เช่น การให้เลือด,การให้น้ำที่เพียงพอเพื่อป้องกันไตวาย ส่วนการแตกของเม็ดเลือดแดงจะหยุดได้เอง โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาดในขณะนี้ สิ่งที่ดีที่สุดคือ การให้คำปรึกษาและร่วมวางแผนระหว่างครอบครัวและแพทย์  หากมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกควรรีบส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อตรวจหาระดับเอนไซม์  G-6-PD และให้การรักษาตามอาการ  ถ้าซีดมากอาจต้องให้เลือด   ถ้าพบมีโรคอื่นๆร่วมด้วยก็ให้การรักษาพร้อมกันไปด้วย  แต่ต้องระวังยาที่อาจทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกมากขึ้น  การดูแลผู้ป่วยขั้นต้นต้องดื่มน้ำมากๆ  เพื่อป้องกันมิให้ไตวาย
    

        ข้อแนะนำ
1.โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ X – linked  resessive (ความผิดปกติอยู่บน โครโมโซม X )โดยผ่านทางโครโมโซมเพศหรือ X โครโมโซม ในผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียวต่างจากเพศหญิงที่มี 2 ตัว ดังนั้นโอกาสเกิดโรคจึงพบในเพศชายมากกว่า และเพศหญิงที่มีความผิดปรกติของโครโมโซม X เพียงตัวเดียวจะไม่แสดงอาการของโรค ยกเว้นถ้ามีความผิดปกติของ X ทั้ง 2 ตัว ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ในเพศชายประมาณ 11 %เปอร์เพศหญิงประมาณ 5.8  % ของประชากร     ผู้ชายจะเป็นโรค โดยได้รับยีนมาจากมารดาที่เป็นพาหะ พ่อที่เป็นโรค จะถ่ายทอดพาหะให้ลูกสาวทุกคน
2.โรคนี้จะเป็นติดตัวไปตลอดชีวิตโดยไม่เกิดอันตรายร้ายแรงถ้ารู้จักระวังรักษาตัว  โดยหลีกเลี่ยงยาหรือสารที่แสลง  แต่ถ้าเกิดมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเนื่องจากภาวะการติดเชื้อผู้ป่วยต้องดื่มน้ำมากๆ แล้วรีบไปพบแพทย์
3.ผู้ที่เป็นโรคควรพกบัตรประจำตัวซึ่งระบุชื่อผู้ป่วย  โรคที่เป็น  รพ.ที่มีประวัติการรักษา  และรายชื่อยาที่ควรหลีกเลี่ยง  ควรแสดงบัตรนี้ทุกครั้งที่ไปพบตรวจรักษาด้วยโรคใดๆก็ตาม  เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แสลงต่อ โรค
4.โรคนี้แยกออกจากธาลัสซีเมียโดย ธาลัสซีเมียมักจะมีอาการซีดเหลือง ตับม้ามโตมาตั้งแต่เกิด

อาหารต้องห้าม
นอกจากยาแล้วอาหารที่รับประทานก็พบว่ามีผลต่อเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยเช่นกัน นั่นคือ ถั่วปากอ้า (Fava bean) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถั่วนั้นยังดิบอยู่ และลูกเหม็น (napthalene) ที่ใช้อยู่ประจำตามบ้านค่ะ

     ถ้ารู้เท่าทันโรคเราก็สามารถปรับพฤติกรรมให้อยู่ได้อย่างเป็นสุขคะ

         มีชื่อยาเพิ่มเติมคะทั้งยาที่ห้าม และยาที่รับประทานได้แต่ต้องระมัดระวัง                                                                                                                     รายชื่อยาที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่พร่องเอนไซน์ G6PD
1.ยารักษามาเลเรีย ได้แก่ PRIMAQUINE,PAMAQUINE,PENTAQUINE,QUINAQUINEและQUININE
2.ยาลดไข้แก้ปวด ได้แก่ ACETANILID,ASPIRIN,PHENACETIN,PYRAMIDONE
3.ยาจำพวกซัลฟา ได้แก่ SULFANILAMIDE,SULFAPYRIDINE,SULFACETAMIDE, SULFISOXAZOLE,
SULFANETHOXYPYRIDAZINE
4.ยาบางอย่างเช่น FURAZOLIDONE,NITROFURANTOIN,CHLORAMPHENICOL, PARAMINOSALICYLIC,
NAPIHALINE(ลูกเหม็นที่ใช้ไล่แมลง),VITAMIN K, TRINITROTOLUENE,METHYLENE BLUE,
DIMEREAPROL,PHENYLHYDRAZINE,QUINIDINE
 

ยาที่รับประทานได้แต่ต้องอยู่ในระดับของการรักษา
 Acetaminophen(paracetamol
 hydroxyacetanilide)
 Aminopyrine
 (Pyramidon, amidopyrine)*
 Ascobic acid 9Vitamin C) *
 Chlorguanidine
 (Proguanil, Paludrine)
 Diphenhydrsmine(Benadryl)
 Menadione
 p-Aminobenzoic acid
 Probenecid (Benemid)
 Streptomycin
 Sulfaquanidine
 Fulfisoxazole(Gantrisin)
 Vitamin K*
 Tylenol
 Acetophenetidin
 (phenacetin)
 Anyazoline(Antistine)
 Benzhezol (Artane)
 Chloroquine*
 Isoniazid
 sodium bisulfite(Hykinone)
 Phenylbutazone
 Procian amide (Daraprim)
 Sulfacytine
 Sulfamerazine
 Trimethoprim
 
  Tralgon
 Acetylsalicylic acid (aspirin)*,
 Antipyrine*
 Chloramphenicol
 Colchicine
 L – Dopa
 Menapthone
 Phenytoin
 Quinidine*, Quinine*
 Sulfadiazine
 sulfamethoxypyridazine(Kynex)
 Tripelennamine
 (pyribenzamine)
 
  (หมายเหตุ * หมายถึงชื่อยาที่ปรากฏทั้งยาต้องห้ามและยาที่รับประทานได้ แต่เป็นยาที่ควรหลีกเลี่ยง หากต้องใช้จริงๆ จะต้องรับประทานในระดับของการรักษา)

(คัดลอกจาก Ernest Beutler,M.D." Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency," ใน Erythrocyte disorder: Anemias due to increased destruction of erythrocytes with enzyme deficiences, p.598)

Update and published by Associazione Italiana Favismo-Deficit di G6PD(ONLUS) https://www.favism.org/

เรียบเรียงโดย: เนตรทอง นามพรม ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ม.ค. 2548

              Link    https://www.gotoknow.org

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   การปฏิบัตตัวเมื่อเป็นโรคg6pd

โรค  G6PD deficiency 

G6PD  เป็นชื่อย่อของเอนไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ต่างๆ ของร่างกายรวมทั้งเม็ดเลือดแดงด้วย ซึ่งมีชื่อเต็มๆว่า Glucose-6-phosphate dehydrogenate เอนไซม์ตัวนี้มีบทบาทในเมตาโบลิซึ่มของกลูโคสและยังปกป้องเม็ดเลือดแดงไม่ให้ถูกทำลายได้โดยง่ายด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายขาด G6PD จึงทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปรกติทำให้ดูซีดลง ปัสสาวะสีเข้มจากสีของฮีโมโกลบิน          

              โรคนี้เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ถ่ายทอดโรคทางโครโมโซม X เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการอะไรนอกจากตัวเหลืองตอนแรกเกิดโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยผ่านทางโครโมโซมเพศหรือ X โครโมโซม ในผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียวต่างจากเพศหญิงที่มี 2 ตัว ดังนั้นโอกาสเกิดโรคจึงพบในเพศชายมากกว่า และเพศหญิงที่มีความผิดปรกติของโครโมโซม X เพียงตัวเดียวจะไม่แสดงอาการของโรค ยกเว้นถ้ามีความผิดปกติของ X ทั้ง 2 ตัว

              ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ในเพศชายประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ เพศหญิงประมาณ 5.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากร

               ยาที่ห้ามใช้และยาที่ควรหลีกเลี่ยงในG6-PD deficiency 

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง หมายถึง ยาที่พบรายงานการเป็นสาเหตุให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกอย่างแน่นอน

(definite risk of hemolysis) ดังรายการต่อไปนี้

1. ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ) - กลุ่มยา Quinolones : ciprofloxacin , moxifloxacin, nalidixic acid , norfloxacin, ofloxacin

                                               - ซัลฟา : co-trimoxazole (bactrim®), sulfacetamide, sulfacetamide, sulfadimidine, sulfamethoxazole, sulfanilamide, sulfapyridine, sulfasalazine(salazopyrin®), sulfisoxazole

                                               - Nitrofurans :  nitrofurantoin, nitrofurazone

                                               -  อื่นๆ : chloramphenicol, dapsone

2. ยากลุ่มอื่นๆ-ยารักษามาลาเรีย : primaquine

                       -ยาเคมีบำบัด : doxorubicin

                       - Genitourinary analgesic : phenazopyridine

                       - Antimethemoglobinaemic agent : methylene blue

 

 

 

ยาที่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง หมายถึง กลุ่มยาที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ (possible risk of hemolysis) โดยขึ้นอยู่กับขนาดยาและความรุนแรงของภาวะขาดเอ็นไซม์ของผู้ป่วย ดังรายการต่อไปนี้

1.ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ) - ซัลฟา : sulfadiazine ซึ่งยานี้ได้รับการทดสอบพบว่าในผู้ป่วยที่ขาดเอ็นไซม์ จี-6-พีดีบางรายไม่เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก , sulfaguanidine, sulfamerazine, sulfamethoxypyridazole

                                    -ยารักษามาลาเรีย : chloroquin, proguanil, pyrimethamine , quinine

                                               -อื่นๆ : furazolidone (disento®) , isoniazid, para-aminosalicylic acid (PAS), streptomycin

2. ยากลุ่มอื่นๆ-ยาแก้ปวด : aspirin (60-100 mg/day) , aminopyrine, dipyrone (metamizole®) , phenacetin, phenazone, phenylbutazone , triaprofenic acid

                       - ยากันชัก : phenytoin

                       -ยาเบาหวาน : glibenclamide

                       -ยาต้านพิษ : dimercaprol (BAL)

                       - Antihistamines : antazoline , diphenhydramine

                       - Anti-hypertensives : hydralazine, methyldopa

                      - Antiparkinsonism agent : trihexyphenidyl (benzhexol®)

                      - Cardiovascular drugs : dopamine , procainamide , quinidine

                      - Gout preparations : Colchicines, probenecid

                      - Hormonal contraceptive : Mestranol

                      - Vitamins : vitamin C (high dose) , vitamin K (menadione, phytomenadione)

อาหาร และ สารเคมีที่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง หมายถึง อาหารหรือสารเคมีที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ (possible risk of hemolysis) โดยขึ้นอยู่กับขนาดยาและความรุนแรงของภาวะขาดเอ็นไซม์ของผู้ป่วย ดังรายการต่อไปนี้

อาหารที่ควรเลี่ยง : ถั่วปากอ้า (Fava bean),พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก (all legumn) เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว,ไวน์แดง,บลูเบอร์รี่, Tonic water, Camphor (การบูรและพิมเสน), Berberine (สารประกอบเชิงซ้อนที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียพบในสมุนไพร goldenseal)

สารเคมีที่ควรเลี่ยง : Naphthalene (ลูกเหม็น) , Toluidine blue (diagnostic agent for cancer detection), Arsine (สารหนูชนิดอินทรีย์-organic arsenic)

               นอกจากนี้การติดเชื้อต่าง ๆ เช่นเป็นไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ก็ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ จึงจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ และรักษา รวมทั้งเลี่ยงยาที่อาจทำให้เกิดอาการได้

               การรักษาการรักษาเป็นการรักษาประคับประคอง เช่น การให้เลือด,การให้น้ำที่เพียงพอเพื่อป้องกันไตวาย ส่วนการแตกของเม็ดเลือดแดงจะหยุดได้เอง โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาด

สิ่งที่ดีที่สุดคือ การให้คำปรึกษาและร่วมวางแผนระหว่างครอบครัวและแพทย์ การหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การให้คำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรค

             การปฏิบัติตัว

1. แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้

2. เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง

3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที

4. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่อาจทำให้เกิดอาการ

5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจาแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังลูกเพื่อประโยชน์ในการ

ดัดสินใจวางแผนครอบครัว

เอกสารอ้างอิง

www.CPW.ac.th

https://www.rajavithi.go.th/

https://www.mwake.com/maroom/catalog.php?idp=22

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


อัพเดทล่าสุด