เลือดกำเดาไหล เลือดกำเดาไหลบ่อย วิธีแก้ไม่ให้เหลือดกำเดาไหล


7,556 ผู้ชม


เลือดกำเดาไหล เลือดกำเดาไหลบ่อย วิธีแก้ไม่ให้เหลือดกำเดาไหล

              เลือดกำเดาไหล

รูปที่ 1

  
รูปที่ 2

  
รูปที่ 3

 
  เลือดกำเดาไหล   รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน (Assoc. Prof. PARAYA ASSANASEN)  
 

 เลือดกำเดาไหล

ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
  ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

            เลือด กำเดาไหล คือภาวะที่มีเลือดออกทางจมูก เกิดจากเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก ทำให้มีเลือดไหลออกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจไหลจากส่วนหน้าหรือส่วนหลังของจมูก พบได้ทุกอายุทั้งเพศหญิงและชาย เลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกมักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย เลือดออกจากส่วนหลังของจมูกมักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดกำเดาไหล
            1.การ ระคายเคือง หรือบาดเจ็บต่อเยื่อบุจมูก ได้แก่ การแคะจมูก ผู้ที่มีนิสัยชอบแคะจมูกจะมีน้ำมูกแห้งกรัง เมื่อแคะออกจะเกิดแผลถลอก การสั่งน้ำมูกแรง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างเร็ว เช่น ระหว่างขึ้นเครื่องบินหรือการดำน้ำ อาจมีผลให้เกิดเลือดออกในโพรงอากาศข้างจมูกและมีเลือดกำเดาไหล นอกจากนี้ยังเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะและใบหน้า อาจโดนที่จมูกโดยตรงหรือโพรงไซนัส ทำให้มีเลือดออกได้
            2.การ อักเสบในช่องจมูก ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หรือโรคแพ้อากาศ ซึ่งมีเลือดคั่งที่เยื่อบุจมูกและเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก ถ้าสั่งน้ำมูกหรือจามรุนแรง อาจทำให้เลือดกำเดาไหล มีน้ำมูกปนเลือด ส่วนภาวะอากาศหนาว ความชื้นต่ำ จะทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง มีแนวโน้มที่จะทำให้เลือดออกได้ง่าย
            3.ผนัง กั้นช่องจมูกคด มีการโค้งงอหรือเป็นสันแหลม ผู้ป่วยมักมีเลือดกำเดาไหลข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคดหรือข้างที่แคบ เนื่องจากข้างที่แคบนั้น มีลมหายใจหรืออากาศผ่านเข้า-ออกมากและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกแห้งมากทำให้เกิดสะเก็ดและมีเลือดออกได้ง่าย 
            4.เนื้องอกในจมูกหรือโพรงอากาศข้างจมูก ทั้งชนิดร้ายและไม่ร้าย ก็อาจทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้เช่นกัน
            5.โรคทางระบบอื่น ๆ ได้แก่ โรคเลือดที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ,ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ,การได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด,โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย หรือความดันโลหิตสูง ทำให้เส้นเลือดแตกได้

การรักษา
            1.ขั้นต้นให้ผู้ป่วยเงยหน้าหรือก้มหน้าลง ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่นเป็นเวลา 5–10 นาที ให้หายใจทางปากแทน อาจวางผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งบนดั้งจมูกด้วยก็ได้  
            2.หลังเลือดกำเดาไหล ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ การแคะจมูก,การกระทบกระเทือนบริเวณจมูก,การออกแรงมาก,การเล่นกีฬาที่หักโหมหรือยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้    
            3.ถ้าเลือดหยุดแล้วควรนอนพัก ยกศีรษะสูง นำน้ำแข็งหรือ coldpack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ อมน้ำแข็งเพื่อให้เลือดหยุด การประคบหรืออมน้ำแข็งควรประคบหรืออมประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบหรืออมใหม่เป็นเวลา10 นาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ   
            4.ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที อาจต้องทำการห้ามเลือดด้วยวิธีจี้บริเวณที่เลือดออกด้วยสารเคมีหรือไฟฟ้า,การ ใส่วัสดุห้ามเลือดในจมูก หรือการผูกหลอดเลือดแดง เพื่อให้เลือดหยุด หาสาเหตุ แล้วรักษาตามสาเหตุนั้น แม้เลือดหยุดได้เองก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ.

                Link    https://www.si.mahidol.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                   เลือดกำเดาไหลบ่อย

เลือดกำเดา คือ เลือดที่ไหลออกมาจากจมูก พบได้บ่อยๆ ในเด็ก และคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะฤดูหนาว อากาศจะเย็นและแห้งกว่าปกติ เพราะ ไอน้ำในอากาศมีน้อย เยื่อบุโพรงจมูกจึงพลอยแห้งตามไปด้วย น้ำมูกที่ติดอยู่ในจมูกก็เลยแห้งกรังอยู่ภายใน ทำให้เกิดความรำคาญต้องคุ้ย แคะ แกะ ขยี้จมูกบ่อยขึ้น เมื่อรอยแตกเล็กๆ ที่พื้นผิวในโพรงจมูก เริ่มเกิดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณส่วนหน้าของผนังกั้นโพรงจมูกซึ่งเป็นที่ที่มี หลอดเลือดฝอยจำนวนมากมาบรรจบกัน ถูกขยี้หรือแคะซ้ำจะทำให้รอยแตกเกิดเป็นแผลถลอกขึ้น หลอดเลือดฝอยฉีกขาดทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลออกมาจากจมูก
ทำไมถึงเป็นเลือดกำเดา
สาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล มากกว่าร้อยละ ๙๐ มาจากหลอดเลือดฝอยที่ผนังกั้นจมูกเกิดฉีกขาด ดังกล่าวข้างต้น แต่ส่วนใหญ่เลือดมักจะหยุดได้เอง เพราะร่างกายมีการสร้างลิ่มเลือดเป็นตาข่ายมาปิดรอยฉีกขาดไว้ ถ้าแพทย์ตรวจโดยส่องไฟเข้าไปในรูจมูกจะเห็นเป็นสะเก็ดของลิ่มเลือดเล็กๆ แห้งกรังติดปากแผลอยู่ซึ่งเหมือนกับสะเก็ดแผลที่อื่นๆ ของร่างกายที่มักจะทำให้เกิดความรู้สึกคัน น่ารำคาญ อยากแกะ แถมในช่องจมูกมีน้ำมูกมาผสม โรงแห้งกรังอยู่ที่ขอบแผลด้วย ยิ่งทำให้น่าแคะเข้าไปใหญ่ ลิ่มเลือดอาจมีการติดเชื้อทำให้น้ำมูกแห้งกรังเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น การขยี้จมูกหรือแกะน้ำมูก มักกลายเป็นแผลใหม่อีก เกิดเลือดกำเดาไหลซ้ำๆ เป็นๆ หายๆ เป็นวงจรไปเรื่อยๆ การเป็นหวัดอย่างฉับพลัน การมีไข้สูง การถูกกระทบบริเวณจมูก อาจเกิดเลือดกำเดาอย่างฉับพลันได้ แต่มักมีปริมาณไม่มาก และหยุดได้เอง ยกเว้นการกระแทกที่จมูก ถ้ารุนแรงจนกระดูกจมูกหักหรือกระดูกใบหน้าแตกหักด้วย อาจทำให้เลือดกำเดาไหลออกมาก ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในขั้นต่อไป เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ (แพ้อากาศ) มักมีการอักเสบเรื้อรังของจมูกและไซนัส หากไม่ได้ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ เด็กจะขยี้จมูกและแคะน้ำมูก จนเป็นสาเหตุให้มีเลือดกำเดาไหลได้บ่อยๆ ถ้ามีผนังกั้นจมูกคดร่วมด้วย เลือดจะออกบ่อยในข้างที่มีจมูกคดเข้าหากันนั้น
เลือดกำเดาออกที่ควรระวัง
ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เกล็ดเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เด็กขณะเป็นไข้เลือดออก เมื่อมีเลือดกำเดาไหล เลือดมักไม่หยุดเองง่ายๆ ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล เลือดกำเดาที่ไหลออกครั้งละมากๆ ในผู้ที่อายุมากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป สาเหตุมักเกิดจากการมีโรคความดันเลือดสูงอยู่เดิม ถ้าเป็นในเด็กวัยรุ่นชายอาจเป็นเนื้องอกที่หลังโพรงจมูกบางชนิด ทำให้เสียเลือดมากจนหมดสติได้ ถ้าปฐมพยาบาลแล้วเลือดไม่หยุดควรรีบนำส่งโรงพยาบาลแต่เนิ่นๆ สำหรับผู้ที่เคยมีเลือด กำเดาออกครั้งละไม่มากแต่ออกบ่อย ร่วมกับการมีก้อนที่คอ หูอื้อ ชาที่ใบหน้า โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายจีนทางตอนใต้ ควรระวังโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก
การปฐมพยาบาลที่ควรทำ
เมื่อมีเลือดกำเดาออก อย่าตกใจจนทำอะไรไม่ถูก มีวิธีหยุดเลือดกำเดาที่ถูกต้อง ดังนี้
ให้ยื่นหน้าออกไปเล็กน้อย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบปีกจมูก ๒ ข้างเข้าหากันในแนวกลาง โดยหนีบบริเวณผนังกั้นจมูกเอาไว้ เพื่อกดจุดเลือดออกประมาณ ๕-๑๐ นาที ควรก้มหน้าเล็กน้อย ห้ามเงยหน้าเพราะเลือดจะไหลลงคอ ถ้าเลือดหยดลงด้านหน้าให้หาถ้วยชามขนาดใหญ่รองไว้ หรือไปยืนอยู่ที่อ่างล้างหน้า อาจใช้น้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกหรือผ้าประคบบริเวณสันจมูกและหน้าผากไว้ด้วย ถ้าทำตามขั้นตอนนี้แล้วเลือดยังไม่หยุดหรือเลือดยังไหลลงคอไม่หยุด ควรรีบไปพบแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีแพทย์ หู คอ จมูกประจำ มีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมโดยด่วน

ที่มา: หมอชาวบ้าน เลือดกำเดา นพ.สาทิตย์ ชัยประสิทธิกุล

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                     วิธีแก้ไม่ให้เหลือดกำเดาไหล

 [ NIH ]

ภาพที่ 1: ด้านในโพรงจมูกของคนเรามีเส้นเลือดแดงขนาดเล็ก ผนังบางจำนวนมาก ทำหน้าที่ปรับอากาศที่เย็นหรือแห้งจากภายนอกให้มีความอบอุ่น และความชื้นสูงขึ้น > [ NIH ]

อากาศที่แห้ง เช่น อากาศในฤดูหนาว ฯลฯ อาจทำให้เยื่อบุในโพรงจมูกแห้ง น้ำมูกหรือเสมหะแข็งเป็นคราบ ภาวะนี้ถ้ามีอะไรไปเขี่ยหรือสะกิดเข้า เช่น มีนิ้วแหย่เข้าไปในรูจมูก การถูจมูกแรงๆ ฯลฯ อาจมีการตกเลือดได้ 

...

อุบัติเหตุ การทำร้ายร่างกาย ชกมวย ภาวะเลือดออกง่าย ความดันเลือดสูง หรือเส้นเลือดเสื่อมสภาพอาจทำให้เกิดเลือดกำเดาได้

...

 [ familydoctor ]

ภาพที่ 2: เลือดกำเดาออก... อย่าเพิ่งตกใจ ให้อ้าปาก หายใจทางปาก ก้มหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือบีบจมูกไว้ดังภาพ > [ familydoctor ]

...

 [ NIH ] 

ภาพที๋ 3: วิธี ห้ามเลือดกำเดาคือ อย่าเพิ่งตกใจ ให้นั่งลง โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย (เพื่อให้เลือดตกไปทางด้านหน้า ไม่ไหลลงลำคอด้านหลัง) หายใจทางปาก แล้วบีบจมูกนาน 5-10 นาที/ครั้ง ทำซ้ำได้ถ้าเลือดยังไม่หยุดดี > [ NIH ]

ถ้าไม่โน้มตัวไปข้างหน้า... การกลืนเลือดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน, แรงเบ่งในช่วงที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอาจทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น ตกเลือดมากขึ้นได้ [ familydoctor ]

...

ภาพที่ 4: ภาพขวามือแสดงบริเวณที่มีเส้นเลือดจำนวนมากมากระจุกตัวกัน ลักษณะคล้ายร่างแห ทำให้พบเลือดกำเดาออกจากจมูกส่วนหน้าบริเวณนี้ได้บ่อย

ตำแหน่งที่ควรบีบเพื่อห้ามเลือดคือ ส่วนที่เรียกว่า พื้นที่ของอาจารย์ลิทเทิล (Little's area) ส่วนนี้จะอยู่ห่างจากปลายจมูกประมาณ 1/2 นิ้วในชาวตะวันตก (ฝรั่ง) ตัวโต

...

ภาพซ้ายแสดง ส่วนนี้ไว้ด้วยแถบกลมสีเทา (Pinch here; pinch = หยิก บีบ หนีบ; here = ที่นี่) บริเวณนี้จะอยู่เหนือปีกจมูกเล็กน้อย และอยู่ใต้ส่วนแนวสันกระดูกแข็ง (ดั้งคนเราส่วนบนเป็นกระดูกแข็ง ส่วนล่างเป็นกระดูกอ่อน)

.................................................

อ.นพ.มา ร์ติน สเคอร์ เปรียบเทียบความแข็งแรงของหลอดเลือดขนาดเล็กในโพรงจมูกไว้ว่า เปรียบคล้ายกระดาษที่เปียกน้ำมานาน ทำให้ฉีกขาดได้ง่ายเวลามีอะไรมากระทบ กระแทก เช่น การใช้นิ้วแหย่เข้าไปในโพรงจมูก ฯลฯ [ MailOnline ]

เวลาคนเราเป็นหวัด หรือคัดจมูก... เส้นเลือดในโพรงจมูกอาจบวม หรือมีเลือดคั่ง ทำให้ตกเลือดได้ง่ายเวลาสั่งน้ำมูก

...

วิธีป้องกัน คือ ใช้ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูกช่วย ไม่สั่งน้ำมูกแรง และสั่งน้ำมูกทีละข้าง (ซ้ายหรือขวา) อย่าสั่งน้ำมูก 2 ข้างพร้อมกัน (ซ้าย + ขวา)

เคล็ดไม่ลับในการห้ามเลือดกำเดาคือ [ familydoctor ], [ NIH ]

  • (1). อย่าเพิ่งตกใจ ให้หายใจช้าๆ ทางปาก
  • (2). ก้มหน้าลงเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดตกไปด้านหลังโพรงจมูก หรือตกไปในคอ ให้เลือดตกไปด้านหน้าแทน
  • (3). ใช้นิ้วมือบีบ (pinch) จมูกประมาณ 1/2 นิ้วเหนือปลายจมูก > กดไว้นาน 5-10 นาที ทำซ้ำได้ถ้าจำเป็น

... 

บริเวณ 1/2 นิ้วเหนือปลายจมูกมีบริเวณเปราะบางที่เรียกว่า "พื้นที่ของอาจารย์ลิทเทิล (Little's Area)"

บริเวณนี้มีเส้นเลือดอยู่มาก แถมยังแห้งได้ง่ายจากอากาศภายนอก เช่น อากาศในห้องแอร์ อากาศหน้าหนาว ฯลฯ

... 

ถ้าเลือดกำเดาออกมาก... อาจต้องปรึกษาหมอใกล้บ้าน เพื่อทำการแพ็ค (pack) หรือใช้ผ้าก๊อซใส่ไปในโพรงจมูกให้แน่นทิ้งไว้สักพัก

ถ้า เลือดกำเดาออกมาก หรือออกบ่อย... อาจต้องปรึกษาอาจารย์หมอหู-คอ-จมูก เพื่อพิจารณาว่าควรจี้ให้เส้นเลือดที่ผิดปกติ เช่น โป่งพอง ฯลฯ บริเวณนั้นหรือไม่ต่อไป

      Link  https://health2u.exteen.com/20090730/entry-13

++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด