โรคเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ สาเหตุโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ วิธีรักษาโรคเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อย
โรคเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กินอยู่อย่างไทย ไร้โรค ตามวิถีภูมิปัญญาไทย โดย อ.สุทธิวัสส์ คำภา
หลักการพึ่งตนเองขั้นพื้นฐาน เป็นการดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรกระทำ เพื่อไม่ต้องรอเวลาที่จะเจ็บป่วยแล้วโยนภาระไปให้หมออย่างเดียว ถ้าเริ่มต้นสนใจดูแลและใส่ใจสุขภาพ ตอนนี้ก็ยังเรียกได้ว่าไม่สายเกินไปที่จะแก้ไขปัญหาสุขภาพของเราเอง ดีกว่าจะปล่อยให้เวลาผ่านไปแต่ละวันแล้วเกิดเจ็บป่วยมากขึ้น จนยากที่จะย้อนกลับมาแก้ไขได้
ไม่ขับถ่ายตอนเช้า จะเกิดอะไรขึ้น?
..ในช่วงเวลา 5.00-7.00 น. เป็นเวลาของลำไส้ใหญ่ ถ้ายังไม่ยอมขับถ่ายอุจจาระแล้วปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึง 7.00-9.00 น. ซึ่งเป็นเวลาของกระเพาะอาหาร แล้วยังไม่ยอมกินข้าวเช้าอีก อุจจาระจากลำไส้ใหญ่ที่ไม่ขับถ่ายออก จะถูกบีบตัวขึ้นมาจากลำไส้ใหญ่ผ่านลำไส้เล็กมาที่กระเพาะอาหาร ก็จะถูกดูดซึมซ้ำอีกครั้ง
..ในอุจจาระเก่า มีแก๊สที่เสียแล้ว เกิดจากการบูดเน่าโดยอุณหภูมิของร่างกายซึ่งมีความร้อน 37 องศา C ตลอดเวลา ไม่เหมือนกับตู้เย็นที่เก็บได้นานกว่า เพราะฉะนั้นแก๊สพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด เลือดจึงไม่สะอาด ถ้าเลือดไม่สะอาดไหลไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ผ่านสมอง หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ผิวหนัง ก็จะได้รับพิษจากแก๊สพิษด้วย
..ก่อนเที่ยงถึงบ่าย ง่วงนอนเพราะเลือดไม่สะอาดไปเลี้ยงหัวใจ หัวใจก็จะอ่อนล้า ไม่สดชื่น
– มีกลิ่นตัว กลิ่นปาก เพราะเลือดไม่สะอาดไปเลี้ยงปอด ปอดก็จะขับออกทางผิวหนังและลมหายใจ ตัวเองไม่ได้กลิ่นแต่คนอื่นได้กลิ่น ก็เป็นที่น่ารังเกียจ และเสียบุคคลิกภาพ
..ถ้าปล่อยให้ไม่ขับถ่ายตามเวลาที่ควร เป็นเวลานานๆ หลายๆ ปี เลือดที่ไม่สะอาดไหลผ่านไปเลี้ยงสมองและไม่กินอาหารมื้อเช้า สมองก็จะไม่ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เมื่ออายุมากขึ้น ความจำจะเสื่อมเร็ว ปวดเข่า มีโอกาสเป็นริดสีดวงทวารได้ง่าย
วิธีแก้ไข
- พยายามขับถ่ายระหว่างเวลา 5.00-7.00 น. ถ้าทำไม่ได้ ให้กินขมิ้นชันเป็นประจำเพื่อบริหารลำไส้ใหญ่
- ควรกินข้าวเช้าทุกวันระหว่างเวลา 7.00-9.00 น. ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ ก็ควรกินสูตร โยเกิร์ต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว+และกล้วย 1 ลูก แทนก็ได้
สาเหตุที่เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อย
1. กระดูกคอ ข้อที่หนึ่งเคลื่อนไปเบียดทับเส้นประสาท หรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
2. กินอาหารผัดน้ำมันบ่อยๆ เป็นเวลานาน แล้วไขมันไปเกาะตัวเหนียวสะสมในลำไส้ ก็มีโอกาสที่เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อย เพราะระบบดูดซึมเสียไป และถุงน้ำดีข้น
3. มีพยาธิในลำไส้ พยาธิที่ผิวหนัง กัดกินเลือดในร่างกาย
4. การไม่กินอาหารเช้าก็เป็นเหตุให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง
อาการที่พอสังเกตุได้
..ผมร่วง หน้าแก่เร็ว คออักเสบง่าย นอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม ปวดไหล่ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ ปวดหัวข้างเดียวหรือสองข้าง ปวดหู ปวดกระบอกตา ไซนัส เหงือกบวม เจ็บคอ เจ็บลิ้น ปวดชายโครง ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดสะโพก ข้อเท้า หลังเท้า หรือวิตกกังวล เหล่านี้เป็นต้น
Link https://sawats.wordpress.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สาเหตุโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
สาเหตุของอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ทีมนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ไฟน์เบิร์ก มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น (Feinberg School of Medicine, Northwestern University) มลรัฐชิคาโก สหรัฐอเมริกา ศึกษาสมองหนูและคน พบว่าหากเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย อาจเนื่องจากความดันเลือดต่ำ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลและแก๊สออกซิเจนที่ไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดการสะสมของโปรตีนที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาท ซึ่งไม่ได้เกิดแบบเฉียบพลัน แต่เป็นอาการที่ค่อยๆ สั่งสมขึ้นจากการที่ความดันเลือดต่ำอย่างเรื้อรัง นอกจากนี้ยังพบอีกหลายสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น
- กระดูกคอข้อที่หนึ่งเคลื่อนไปเบียดทับเส้นประสาท หรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง
- กินอาหารที่ผัดน้ำมันเป็นเวลานาน แล้วเกิดไขมันเกาะตัวเหนียวสะสมในลำไส้ เล็ก ทำให้การดูดซึมสารอาหารได้น้อย ก็มีโอกาสที่เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อย
- มีพยาธิในลำไส้ พยาธิที่ผิวหนังจะกัดกินเลือดในร่างกาย ทำให้ปริมาณเลือดน้อยลง
- การไม่กินอาหารเช้าเป็นสาเหตุให้ในเลือดมีสารอาหารไม่เพียงพอในการเลี้ยงสมอง
อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
ผมร่วง หน้าแก่เร็ว คออักเสบง่าย นอนไม่ค่อยหลับ นอนไม่เต็มอิ่ม ฝันบ่อย ปวดไหล่ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวสองข้าง ปวดหู ปวดกระบอกตา เป็นไซนัส เหงือกบวม เจ็บคอ เจ็บลิ้น ปวดชายโครง ปวดหลัง ปวดเข่า กระดูกสะโพกจะเคลื่อนได้ง่าย ปวดสะโพก ปวดข้อเท้า หลังเท้า วิตกกังวล อาจมีอาการทีละอย่าง หรือหลายอย่างพร้อมกัน
สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนหลังอยู่กันคนละส่วน แต่มีเซลล์ประสาทกลุ่มเดียวที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดทั้งสามส่วน
เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าได้น้อย
วัน ข้างหน้าก็จะมีหินปูนเกาะที่สมองส่วนหน้า แล้วจะมีอาการนอนไม่ค่อยหลับ เป็นเหตุให้ ตาเป็นต้อ จอประสาทตาเริ่มเสื่อม ปัสสาวะบ่อย เป็นฝ้า หน้าดำ
เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้น้อย
จะ มีอาการ ง่วงนอนบ่อย หรือง่วงนอนทั้งวัน ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดสันเท้า ขี้โมโห ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ต่อไปวันข้างหน้าความจำจะเสื่อม เริ่มจำไม่ค่อยได้ แต่ความจำระยะยาว คือเรื่องเก่าๆ ยังจำได้ ส่วนความจำระยะสั้น คือเรื่องใหม่ๆในปัจจุบันจะจำไม่ค่อยได้ หลงๆ ลืมๆ พูดวกไปวนมา ความจำจะเสื่อมลงเรื่อยๆ
เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหลังได้น้อย
จะมีอาการ แขนขาไม่ค่อยมีแรง เดินไม่ค่อยไหว ตอนตื่นนอนบางครั้ง จะมีอาการแขนขาตายเหมือนผีอำ ขยับตัวไม่ค่อยได้
ที่มา : พฤติกรรมที่ทำลายการทำงานของสมอง
: เคล็ดวิธี..กินอย่างไร..ไร้โรคภัย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิธีรักษาโรคเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อย
ภาวะสมองขาดเลือด (STROKE)ภาวะสมองขาดเลือดคืออะไร
ภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่พบได้บ่อยในสังคมเรา และกลายเป็นปัญหาหนักต่อตัวผู้ป่วยเอง ต่อครอบครัวของผู้ป่วย รวมทั้งต่อสังคมโดยทั่วไปด้วย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและ/หรือการมองเห็น ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากการที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปเลี้ยง สมองได้ เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ
นอกจากนี้ ภาวะสมองขาดเลือดอาจเกิดขึ้นจากการมีเลือดออกในสมองเนื่องจากภาวะหลอดเลือดแตก ซึ่งอัตราการเกิดขึ้นของกรณีนี้มีประมาณ 12% ของภาวะสมองขาดเลือดทั้งหมด
ความรุนแรงของภาวะสมองขาดเลือดจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ของเนื้อเยื่อสมองที่ถูกทำลาย โดยธรรมชาติแล้วสมองด้านซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวาและการพูด โดยสมองด้านขวาควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
อาการของภาวะสมองขาดเลือด
ภาวะสมองขาดเลือดอาจไม่ได้ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อทุกเซลล์ทันทีหลังเกิดการอุด ตันที่เส้นเลือดในสมอง ดังนั้นถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะสามารถรักษาเซลล์ต่างๆ ให้ทำหน้าที่เหมือนเดิมได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากสามารถรักษาและป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นปัญหาเรื่องการไหล เวียนของเลือดเสียแต่เนิ่นๆ ภาวะสมองขาดเลือดก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้
สัญญาณเตือนของภาวะสมองขาดเลือด
- มีความผิดปกติทางการมองเห็นที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยมีอาการตั้งแต่การมองเห็นภาพไม่ชัดจนถึงภาวะตาบอดช่วงสั้นๆ
- อาการอ่อนแรงของนิ้วมือ มือ หรือทั้งแขนและขา หรือที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง หากเป็นขั้นรุนแรงก็อาจมีอาการอัมพาตครึ่งซีก
- มีความบกพร่องทางการพูดช่วงคราว หรือระบบการทำความเข้าใจผิดปกติ
- เกิดอาการต่อไปนี้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน ได้แก่ รู้สึกเวียนศีรษะ มองไม่ชัด คลื่นไส้อาเจียน ขาทั้งสองข้างอ่อนแรง และมองเห็นภาพซ้อน
- อาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสียหายชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมอง
- เกิดอารมณ์สับสนเป็นเวลานานโดยไม่มีอาการหมดสติ
สาเหตุสำคัญและพบได้บ่อยของการเกิดภาวะสมองขาดเลือด ก็คือการตีบหรือแตกของเส้นเลือดในสมองหรือหลอดเลือดหลักที่ลำคอซึ่งจะนำ เลือดจากหัวใจไปเลี้ยงที่สมอง ภาวะดังกล่าวมักเป็นผลจากภาวะผนังหลอดเลือดแดงหนาและมีความยืดหยุ่นน้อยลง การเป็นเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้นของโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงที่ออกจากหัวใจ ซึ่งนำไปสู่การทำลายผนังหลอดเลือด ผลที่ตามมาคือช่องว่างในหลอดเลือดจะลดน้อยลงมาก
ปัจจัยเสี่ยง
- ความดันเลือดสูง
- ระดับไขมันเลือดสูง
- เบาหวาน
- การสูบบุหรี่
- ความอ้วน
- โรคเก๊าท์
- ยาเม็ดคุมกำเนิด
ปัจจุบันนี้ ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปีจะได้รับการแนะนำจากแพทย์ให้ตรวจเพื่อหาปัจจัยของโรคนี้ ภาวะของผนังหลอดเลือดแดงหนาสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากผู้ป่วยตระหนักถึงโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมทั้งสังเกตอาการแรกเริ่มที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันและควบคุมได้ทันท่วงที
ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะผนังหลอดเลือดแดงหนา
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ
- งดสูบบุหรี่
- ตรวจความดันเลือดอยู่เสมอ ความดันโลหิตสูงต้องได้รับการตรวจและควบคุม
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะถ้าคุณต้องทำงานที่มีการเคลื่อนไหวน้อย
- ผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดควรงดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดเป็นระยะเวลานาน
ภาวะสมองขาดเลือดจะต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพของสมอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินบริเวณของสมองที่ถูกทำลายโดยดูจากอาการของผู้ ป่วยและการตรวจวินิจฉัย
เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค
มีวิธีการทดสอบและวินิจฉัยเพื่อหาถึงปัจจัยความเสี่ยงที่มี และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่า ตัดและได้รับความเจ็บปวดแต่อย่างใด วิธีต่างๆ นั้นได้แก่
- ตัวอย่างเลือดเพื่อการทดสอบค่าสารต่างๆ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
- การวัดคลื่นไฟฟ้าของสมอง (EEG)
- การวัดความเร็วของกระแสเลือด เพื่อประเมินความตีบของเส้นเลือด
- การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- เครื่องตรวจร่างกายโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง (MRI & MRA)
- ถ้ามีสัญญาเตือนเกิดขึ้น ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที การตรวจและการรักษาที่รวดเร็วจะช่วยป้องการการทำลายสมองในขอบเขตที่กว้างขึ้นได้
- หากมีอาการเส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม กรุณาติดต่อขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic drugs) ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด
เมื่อมีอาการทางสมองเกิดขึ้น วิธีการรักษาต่างๆ จะต้องนำมาใช้อย่างทันที ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือเฉพาะทาง ขอให้ตระหนักไว้ว่าภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน แม้ว่าอาการอาจดูไม่รุนแรงก็ตาม
สำหรับภาวะสมองขาดเลือดแบบสมบูรณ์นั้น การตรวจรักษาอาจต้องใช้ยา thrombolytic ซึ่งช่วยสลายลิ่มเลือดให้กระจายออก เพื่อลดการทำลายเนื้อเยื่อให้น้อยลง และในบางครั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจตรวจดูส่วนของสมองที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพื่อสันนิษฐานการจัดการหน้าที่ของสมองที่ถูกทำลายไป
โรคแทรกซ้อน
- ในช่วงอาทิตย์แรกมักจะมีโรคแทรกซ้อน ต่อไปนี้
- การเกิดซ้ำของภาวะผนังหลอดเลือดแดงหนา (Arteriosclerosis) ในหลอดเลือด
- อาการสมองบวมน้ำเนื่องจากเนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย
- มีเลือดออกจากหลอดเลือดแตก ความผิดปกติที่น้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะเนื่องจากเกิดการอุดตันในหลอดเลือด
- เมื่อผ่านอาทิตย์แรกไปแล้ว อาจมีโรคแทรกซ้อน ได้แก่
- ปอดบวม (Pneumonia)
- การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ
- อาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- การไม่สมดุลทางประจุของสารละลายอิเล็กโทรไลท์
- แผลกดทับ
การทำนายอาการของโรค
- สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดไม่ รุนแรง อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว มีอาการชามือหรือเท้า หรือเป็นอัมพาตชั่วคราว (Transient Ischemic Attacks) นั้น ผู้ป่วยหนึ่งในสามอาจมีการทำลายร่างกายอย่างถาวรได้ในอนาคตอันใกล้ และ 50% ของภาวะสมองขาดเลือดประเภทนี้อาจเกิดการทำลายร่างกายผู้ป่วยได้ในช่วง ระหว่าง 1 ปีแรกหลังพบอาการ
- อัตราการเสียชีวิต 15-30 % ของผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต เกิดจากอาการที่เกิดตามมาคือ ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะเส้นเลือดตีบอย่างรุนแรง การติดเชื้อ และอื่นๆ
- หลังจากได้รับการรักษาและมีอาการดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
การป้องกันเป็นความสำคัญลำดับแรกของเราในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด ปัจจุบันนี้มียาสองชนิดที่สามารถป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดได้
- ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) เช่น ยาแอสไพริน, ยา Ticlopidine และ ยา Clopidogrel
- ยาต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือด (Anticoagulant) เช่น ยา Warfarin
การดูแลผู้ป่วยอัมพาต
ความสำคัญอันดับหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตคือการป้องกันโรคแทรกซ้อนและไม่ให้เกิดการทำลายส่วนต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น ในการดูแลผู้ป่วยจากภาวะสมองขาดเลือด ท่านอาจใช้แนวทางดังนี้
- เนื่องจากมีความอ่อนแรงหรืออัมพาตที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ผู้ป่วยอาจช่วยเหลือตัวเอง ไม่ค่อยได้ และต้องการความช่วยเหลือเพื่อเปลี่ยนท่าทางทุกสองชั่วโมงเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการรักษาโดยให้ทำกิจกรรมเบาๆ รวมถึงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงและยากต่อการกลืนอาหาร
- การหดตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ร่วมกับความไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ เป็นอาการที่จะเกิดขึ้นหลังการเป็นอัมพาต ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
- การสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory loss) ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถรู้สึกได้ถึงความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด ในส่วนของร่างกายที่เป็นอัมพาต จึงอาจทำให้ตัวเองบาดเจ็บโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำให้ใส่ใจกับอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตนั้น
- ความวุ่นวายและสับสนทางอารมณ์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความสับสน สูญเสียความทรงจำ และคิดอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงสำคัญมากที่ครอบครัวจะมีความเข้าใจ แสดงความใส่ใจ และให้การช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
- Aphasia คือ การสูญเสียความสามารถในการพูด โดยอาจเป็นการสูญเสียความสามารถในความเข้าใจและการใช้คำศัพท์เพียงบางส่วน หรือทั้งหมด การแก้ไขด้านการพูด (Speech therapy) จึงอาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีทักษะในการสื่อสารได้บ้างภายใน 6-12 เดือน
สรุป
การหลีกเลี่ยงภาวะสมองขาดเลือดก็คือการป้องกันไม่ให้มีอาการดังกล่าวเกิด ขึ้น สามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ให้น้อยที่สุด ปัจจุบันนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วสามารถรักษาให้หายได้ และการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบจะมีผลอย่างมากต่อการลดโอกาสเกิดภาวะสมองขาด เลือด ท่านควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ ความรวดเร็วในการตรวจพบและการรักษาถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วย ภาวะสมองขาดเลือด
Link https://www.bumrungrad.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++