โรคเลือดออกตามไรฟัน วิธีรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ความรู้เรื่องโรคเลือดออกตามไรฟัน
โรคเลือดออกตามไรฟัน
เลือดออกตามไรฟัน
จุดกำเนิดของโรคในช่องปาก
โรค เลือดออกตามไรฟัน หรือเรียกว่า ลักปิดลักเปิด นั้น มักพบในเด็กเล็ก มากกว่าเด็กโต ส่วนใหญ่เป็นช่วงอายุ 6-18 เดือน เด็กมักถูกเลี้ยงด้วยนมข้นหวาน หรือน้ำข้าวใส่น้ำตาล โดยไม่มีสารอาหารเสริมพวกวิตามินซีเลย
สาเหตุ
เกิดจากการขาดวิตามินซี เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้าง คอลลาเจน(Collagen) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของผิวหนัง หลอดเลือด และกระดูก เมื่อขาดคอลลาเจน ทำให้เส้นเลือดเปราะ แตก และมีเลือดออกง่าย
อาการ
มี อาการเหงือกบวม และมีเลือดออกจากไรฟัน เนื่องจากเส้นเลือดฝอยเปราะ แตกง่าย นอกจากนี้ยังอาจมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล มีจุดแดงพรายย้ำขึ้นตามตัว เลือดออกใต้เยื่อหุ้มกระดูก ทำให้ปวดตามแขนขา ถ้าเป็นรุนแรง ก็อาจทำให้ซีดได้ เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก
การ รักษาและป้องกัน ถ้ามีอาการแล้ว ต้องให้วิตามินซี กินหรือฉีด แล้วแต่ความรุนแรง การป้องกันโรคนี้ทำได้ง่าย โดยการให้อาหารเสริม ที่มีวิตามินซี เช่น น้ำส้ม มะเขือเทศ ผักใบเขียว หรือให้วิตามินซีเสริมโดยตรง
น้ำมะกรูดแก้เลือดออกตามไรฟัน
โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารอันดับแรก ๆ ทั้งๆที่วิตามินซีนั้นมีอยู่มากมายในผลไม้ไกล้ตัว
อาการ ของโรคเลือดออกตามไรฟันนั้น จะเริ่มจากมีเลือดไหลซิบออกมาตามไรฟัน บางรายที่เป็นมากอาจมีจ้ำตามผิวหนัง ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคโลหิ ตจาง แถมอาจทำให้กระดูกอ่อนแอหรือผิดปกติได้
ตำรา ยาไทยบอกว่าใช้น้ำมะกรูดแก้เลือดออกตามไรฟันได้ เนื่องจากน้ำมะกรูดมีวิตามินซี นอกจากนั้นยังมี วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อกระดูกและฟันด้วย ลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้
- หลังแปลงฟันใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือก
- ใช้น้ำมะกรูดทำอาหารแทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาว ก็จะได้รสเปรี้ยวและความ หอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มไปด้วย
- ใช้ผลมะกรูดผ่าซีก 2 ลูก ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ใช้เวลาประมาณ 10 นาที นำน้ำที่ได้มาดื่ม
ครั้งละ 1 ถ้วยชา เช้า - เย็น
แม้จะได้ตัวช่วยที่แสนดีอย่างมะกรูดแล้ว ก็อย่าลืมกินผักผลไม้ตระกลูส้ม มะขามป้อม ที่มีวิตามินสูงเป็นประจำ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอ
เพียงรู้จักใช้สมุนไพรไทยใกล้ตัว ก็จะช่วยให้ห่างโรคได้แล้ว...!!!
ที่มา : จุดรวมแหล่งข้อมูลทางการแพทย์และยา
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิธีรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
เช้าวันหนึ่ง สมศรีตื่นนอนขึ้นมา ก็เข้าห้องน้ำเพื่อไปแปรงฟัน และส่องกระจกดูในปาก“ตายจริง เลือดออกตามไรฟัน”
“เอ เมื่อคืนนี้เราไปดูดเลือดใครมาหรือเปล่า?”
“ไม่ใช่น่า สงสัยจะดูหนังเรื่อง แดรกกูล่ามากไปแล้วกระมัง”
ท่าน ก็อาจจะเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีเลือดออกตามไรฟัน หรือถ้าท่านจะสังเกตดูยาสีฟันที่บ้วนออกมาภายหลังการแปรงฟันแล้ว ก็อาจจะเห็นเลือดปนอยู่ด้วยก็ได้ โดยเฉพาะในคนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป หลายท่านอาจจะไม่สนใจ คิดว่าขนแปรงสีฟันคงไปกระทบกระแทก เข้ากับเหงือกซึ่งอ่อนนุ่มกว่า จึงทำให้เลือดออกได้เป็นธรรมดา บางท่านเข้าใจว่ากำลังเป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือที่เขาว่าโรคขาดวิตามิน ซี คงจะต้องบำรุงด้วยผลไม้หรือผัก ให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ครบส่วนให้ได้
ท่าน ที่อายุมากขึ้นหน่อย ก็คงจะปลงว่า อายุมากขึ้น อะไร ๆ ก็แย่ไปตามอายุ เหงือกที่เคยรัดฟันแน่นหนาก็คงจะหย่อนยานไปบ้าง ถูกแปรงสีฟันนิดหน่อยเลือดก็ออกง่ายขึ้นกระมัง
แท้ที่จริงแล้ว การที่มีเลือดออกจากเหงือกในขณะที่ถูกกระทบกระแทกด้วยแรงเพียงเล็กน้อย เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอาการขั้นต้นของโรคเหงือกอักเสบ แต่ก็ไม่ร้ายแรงนัก ซึ่งถ้าท่านดูแลอย่างใกล้ชิด อาการนี้ก็อาจหาไปได้ เป็นการป้องกันไม่ให้ลุกลามมากขึ้น ทั้งนี้อาจไม่ต้องไปหาหมอรักษาให้ยุ่งยาก และเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
⇒ที่มาของโรคเหงือกอักเสบ และโรคเลือดออกตามไรฟัน
เหงือก ของคนเราเป็นอวัยวะที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากที่สุด แต่เหงือกก็เป็นเนื้อเยื่ออ่อนที่ทำหน้าที่สำคัญในการเคลือบกระดูกและฟัน โดยมีคุณสมบัติคล้ายเนื้อเยื่อที่เคลือบทางเดินอาหารอื่น เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ เพราะช่องปากเป็นส่วนต้นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ในขณะเดียวกัน เหงือกก็เปิดเผยต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย โดยเหงือกจะมีโอกาสสัมผัสกับอาหาร อากาศ และแรงกระทบกระแทกต่างๆ โดยตรง คล้ายกับที่ผิวหนังสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายอื่น ๆ
ดังนั้น ส่วนประกอบของเหงือก จึงไม่เหมือนกับเนื้อเยื่ออ่อนที่เคลือบ ระบบทางเดินอาหารอื่น โดยจะมีส่วนประกอบโปรตีนที่ให้ความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถทนทานต่อแรงกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้พอสมควร ดังจะเห็นได้ว่า เหงือกปกติที่สมบูรณ์ดีจะไม่ฉีกขาด หรือมีเลือดออกเมื่อเราขบเคี้ยวอาหารตามธรรมดา หรือแม้แต่แปรงฟันที่ไม่รุนแรงจนเกินไป
ดังนั้น การมีเลือดออกตามไรฟัน หรือตามซอกเหงือก ไม่ว่าในขณะปกติหรือภายหลังการแปรงฟัน ย่อมเป็นอาการที่บอกกล่าว หรือเตือนให้รู้ว่าเหงือกไปปกติแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นอาการเริ่มแรกของโรคเหงือกอักเสบ นั่นเอง เป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่องปากของเราเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อจุลินทรีย์มากมายหลากหลายชนิด ซึ่งเจริญเติบโตและขยายพันธุ์โดยอาศัยอาหารที่ตกค้างในช่องปาก เชื้อบางชนิดก็ไม่มีโทษ แต่หลายชนิดที่เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ โดยเฉพาะเชื้อโรคที่อาศัยอยู่บนคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) ที่เกาะแน่นอยู่บนตัวฟัน
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคเหงือก อักเสบโดยตรง ได้แก่ คราบจุลินทรีย์ที่เกาะบริเวณขอบเหงือกที่ต่อกับฟัน เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในคราบจุลินทรีย์ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับอายุหรือความแก่ของคราบจุลินทรีย์ กล่าวคือ ถ้าเป็นคราบจุลินทรีย์ใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 24-48 ชั่วโมงซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่ว่า เราจะทำความสะอาดเพียงไรก็ตาม เชื้อจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลม รี และมีความร้ายแรงไม่มากนัก
แต่ ถ้ายังเป็นคราบจุลินทรีย์ที่อายุนานวันมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการทำความสะอาดไม่ดีพอ ไม่ว่าจากการแปรงฟันที่ไม่ทั่วถึง หรือการละเลยไม่ทำความสะอาดในบางบริเวณคราบจุลินทรีย์ที่เก่านี้จะหนาตัว ขึ้น ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่พบก็เปลี่ยนชนิดไป โดยส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นเส้นยาว ยึกยือ และมีความร้าย แรงมากขึ้น สามารถปล่อยสารพิษ ออกมาระคายเคืองต่อเหงือก ร่างกายก็จะพยายามต่อต้านโดยกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อสู้สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายเช่นเดียวกับการอักเสบบริเวณอื่นของร่างกาย นั่นคือ ปวด บวม แดง ร้อน แต่ในช่องปากซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมากตลอดเวลา
ดัง นั้นในรายที่ยังไม่รุนแรง ความรู้สึกปวด ร้อน ยังไม่มากนัก อาจรู้สึกแค่เจ็บ ๆ คัน ๆ พอรำคาญ ในระยะแรกเริ่มเท่านั้น แต่ถ้าสังเกตดูเหงือกบริเวณที่อักเสบอย่างใกล้ชิด จะเห็นอาการบวมแดงได้ชัด ซึ่งเป็นอาการแรกเริ่มของโรคเหงือกอักเสบ บริเวณดังกล่าวนี้เองเป็นจุดอ่อนแอที่เมื่อได้รับแรงกระทบไม่ว่าจากการแปรง ฟัน หรืออาหารแข็งบางชนิด ก็เป็นจุดที่เลือดออกได้ง่าย เป็นที่มาของเลือดออกตามไรฟันนั่นเอง
⇒การป้องกันรักษาโรคเหงือกอักเสบด้วยตนเอง
การ ดูแลตนเอง เป็นหลักการสำคัญของงานสาธารณสุขมูลฐาน ที่เน้นการป้องกันโรคด้วยการเฝ้าระ-วังโรค การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่ประชากรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยเป็นมากที่สุด ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
โดยมีรายงานว่า ในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะเป็นโรคเหงือกอักเสบกว่าร้อยละ 80 ทั้งในเมืองและในชนบท การป้องกันและรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดอุบัติการณ์และความชุกของโรคเหงือกได้อย่างดียิ่ง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า อาการแรกเริ่มของเหงือกอักเสบ ได้แก่ อาการเหงือกบวมแดงนั้น การที่จะพิเคราะห์แยกเหงือกอักเสบจากเหงือกปกติจึงจำเป็นในการเฝ้าระวังโรค เหงือกอักเสบนี้
ลองส่องกระจกดูเหงือกของตัวเอง ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือบริเวณฟันหน้าด้านบนและล่าง แต่ควรพยายามดูให้ทั่วที่ขอบเหงือกของฟันทุกซี่ ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง โดยใช้นิ้วชี้ของมือทั้งสองข้างแหวกมุมปากให้กว้างพอที่จะดูได้ชัด ดูให้ดีที่บริเวณเหงือกที่ชิดกับฟัน จะสังเกตเห็นว่า เหงือกมีลักษณะโค้งเว้าตามรูปร่างของฟันแต่ละซี่ แยกจากกันได้ว่า เหงือกของฟันซี่ไหนเป็นซี่ไหน บริเวณดังกล่าวนี้เอง ลองดูให้ดี ๆ เปรียบเทียบสีลักษณะทั่วไปกับเหงือกที่อยู่เหนือขึ้นไปเล็กน้อยหรือเหงือก บริเวณอื่น
เหงือกปกติที่สมบูรณ์ จะมีสีชมพูสดใส มีลักษณะแน่น ถ้าสังเกตให้ใกล้ชิดอาจเห็นปุ่มน้อย ๆ บนผิวเหงือกแลดูขรุขระ และถ้ากดด้วยนิ้วมือโดยออกแรงเบา ๆ จะรู้สึกถึงความแน่นคล้ายกดที่ผิวหนังของร่างกายปกติ แต่ถ้าเหงือกอักเสบจะมีอาการที่เห็นได้ชัดคือ บวม แดง ดังนั้น จะเห็นสีแดงช้ำ ผิวเหงือกอาจเต่งตึง แบบบวมเป่ง หรือฉุ ๆ แบบบวมช้ำ ขอบเหงือกจะไม่เรียบ ไม่เห็นผิวที่มีลักษณะปุ่มขรุขระน้อย ๆ ในแบบเหงือกปกติ ในรายที่ไม่รุนแรงมาก ขอบเขตของการอักเสบจะจำกัดเฉพาะ บริเวณขอบเหงือกที่ต่อกับฟัน ดูเห็นเป็นแถบอักเสบแดง ไม่กว้างนัก ถ้ากดด้วยนิ้วแม้จะไม่แรงนัก ก็รู้สึกได้ถึงความนิ่มที่ไม่แน่นของเหงือกปกติ
นอกจากนี้ ในขณะที่กำลังอักเสบ การกดเบา ๆ ก็อาจทำให้เลือดออกตามขอบเหงือกหรือไรฟันได้ และในรายที่รุนแรงมากอาจมีของเหลวหรือหนองออกมาร่วมกับเลือดได้ ซึ่งในรายที่รุนแรงนี้ มักจะสังเกต เห็นหินปูนเกาะโดยรอบขอบฟัน และอาจมีอาการฟันโยกร่วมด้วย ในกรณีนี้อาจเป็นโรครุนแรงมาก เราเรียกว่า โรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งเป็นอาการต่อไปจากโรคเหงือกอักเสบ ต้องอาศัยทันตแพทย์ให้การรักษา ไม่สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้เพียงพอ
อย่างไรก็ดี การดูแลรักษาด้วยตนเองก็อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลงได้ เพื่อประทังอาการไว้ก่อนไปรับการรักษาต่อไป
การ ดูแลรักษาโรคเหงือกอักเสบในระยะแรกเริ่มด้วยตนเอง ที่สำคัญ ก็คือการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ ดังได้กล่าวแล้วว่า เชื้อในคราบจุลินทรีย์เก่าจะมีความรุนแรงกว่า ดังนั้น การทำความสะอาดฟัน โดยเฉพาะบริเวณของเหงือกให้ทั่วถึงทุกวันเพื่อไม่ให้มีการหมักหมมของเชื้อใน คราบจุลินทรีย์ จะช่วยลดการระคายเคืองจากสารพิษของเชื้อจุลินทรีย์ได้ นั่นก็คือ การแปรงฟันบริเวณขอบเหงือกให้สะอาดเป็นพิเศษ ใน ขณะเดียวกัน การแปรงฟันให้ปลายขนแปรงที่อ่อนนุ่มกระทบเหงือกเบา ๆ เป็นการกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยง เหงือกบริเวณที่กำลังอักเสบอยู่นั้น จะช่วยกำจัดสารพิษและสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เป็นการลดการอักเสบของเหงือกอีกทางหนึ่ง แน่นอนว่า การแปรงฟัน แปรงเหงือกในระยะที่กำลังอักเสบอยู่ จะรู้สึกเจ็บปวดบ้าง และเลือดก็คงออกในขณะที่แปรงไปกระทบเหงือกที่อักเสบอยู่นั้น แต่ถ้าอดทนแปรงต่อไปได้อีกเพียง 2-3 วัน อาการเจ็บและเลือดออกในขณะแปรงฟัน จะค่อย ๆ น้อยลงจนเป็นปกติ พร้อมกับอาการเหงือกอักเสบที่เป็นบวมแดงตามขอบเหงือกก็จะหายไปด้วย เพราะร่างกายจะสร้างเหงือกใหม่ที่แข็งแรงมาทดแทน ซึ่งต่อไปก็เป็นหน้าที่ขอองเราที่จะต้องคอยดูแลแปรงฟัน-แปรงเหงือก เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เหงือกอักเสบกลับมาใหม่ได้อีก
มาช่วยกันป้องกันและลดโรค เหงือกอักเสบ โดยการหมั่นสังเกต ตรวจดูเหงือกของตนเองและผู้ใกล้ชิด และรีบแก้ไขความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการแปรงฟัน-แปรงเหงือก ยิ่งบริเวณใดที่แปรงฟันแล้วเลือดออก ยิ่งจะต้องแปรงด้วยความระมัดระวัง แปรงให้ถูกวิธีสะอาดหมดจดอย่างทั่วถึง โดยให้ปลายขนแปรงที่อ่อนไปกระทบขอบเหงือก ด้วยความอดทนต่อไปอีก 2-3 วันจะเห็นผลในการลดอาการเลือดออกตามไรฟันในที่สุด
Link https://www.doctor.or.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความรู้เรื่องโรคเลือดออกตามไรฟัน
ข้าวโพดอ่อน' ช่วยบำรุงสายตา รักษาเลือดออกตามไรฟัน
ข้าวโพดอ่อน จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนข้าวโพด แต่มีขนาดฝักเล็กกว่า นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารมากกว่ารับประทานเล่น เช่น นำไปผัดใส่หมู ผัดใส่กุ้ง ใส่ในแกงเลียง หรือนำไปต้มน้ำซุปก็ให้รสชาติที่หวานหอม ซึ่งนอกจากจะปรุงอาหารได้รสชาติหวานกรอบอร่อยแล้ว คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าเจ้าข้าวโพดอ่อนฝักเล็ก ๆ นี้มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากมาย
ข้าวโพดอ่อนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays Linn. และมีชื่อสามัญว่า Baby corn เป็นพืชพวกหญ้ามีลำต้นแข็งแรง มีความสูงตั้งแต่ 30เซนติเมตรไปจนถึง 6เมตร ใบยาวเรียวเกาะติดกับต้น ฝักข้าวโพดจะเกิดตรงรอยข้ออยู่ตรงส่วนกลางของลำต้น มีเปลือกเป็นกลีบบาง ๆ สีเขียวห่อหุ้มหลายชั้น ปลายฝักมีเส้นเล็ก ๆ สีเขียวอ่อน หรือเรียกว่า ไหมข้าวโพด มีคุณค่าทางโภชนาการ คือข้าวโพดอ่อน 100กรัม จะให้พลังงาน 33กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 91.8กรัม โปรตีน 2.3กรัม ไขมัน 0.3กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.3กรัม แคลเซียม 4มิลลิกรัม ฟอส ฟอรัส 25มิลลิ กรัม เหล็ก 0.5มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 12ไมโครกรัม ไทอะมิน 0.13มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4มิลลิกรัม และวิตามินซี 23มิลลิกรัม
ข้าวโพดอ่อนฝักเล็ก ๆ นี้ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซียม เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส แคลเซียมที่ใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกายถ้ากินข้าวโพดอ่อนเป็น ประจำจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมน้ำ รักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และจมูกอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร
นอกจากนี้ยังเป็นผักที่มีเส้นใยสูง จึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของผนังลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้การขับถ่ายของเสียเป็นไปตามปกติทำให้ท้องไม่อืดหรือเกิดอาการท้องผูก แต่อย่างใด และมีคุณสมบัติในการขับปัสสาวะช่วยบรรเทาอาการขัดเบารวมทั้งอาการปวดปัสสาวะ มากอีกด้วย ที่สำคัญข้าวโพดอ่อนยังอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรค หวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยบำรุงสายตา ทั้งนี้ยังมีวิตามิน B2ที่ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอกอีกด้วย
เมื่อทราบคุณประโยชน์ที่มากมายมหาศาลของข้าวโพดอ่อนฝักจิ๋วแบบนี้แล้ว บอกได้เลยว่าไม่จิ๋วสมชื่อ เพราะนอกจากรสชาติที่หวานกรอบอร่อยถูกปากใคร ๆ หลายคนแล้ว ยังช่วยให้เรามีสุขภาพดีอีกด้วย หากใครยังไม่เคยรับประทานลองหามาชิมดูนะคะ เพื่อเพิ่มพลังให้แก่ร่างกาย และช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ค่ะ.
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++