โรคกระเพาะอาหารอักเสบ สมุนไพรรักษา แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ


8,835 ผู้ชม


โรคกระเพาะอาหารอักเสบ สมุนไพรรักษา แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

             โรคกระเพาะอาหารอักเสบ สมุนไพรรักษา

  • สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร

    สมุนไพรไทย 2009-08-19, 18:10:00

  • สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร

     

     

    รวบรวมข้อมูลโดย TaYanO : https://tay2014.allblogthai.com
    ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

       สำหรับใครที่เป็นทานอาหารไม่เป็นเวลา หรืออดอาหาร ก็ต้องเผชิญกับโรคกระเพาะอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะ TaYanO เองก็เป็นอยู่เป็นประจำ ก็เลยอยากจะหาความรู้เรื่องสมุนไพร ที่สามารถบรรเทาอาการของโรคกระเพาะ ค่ะ งั้นไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่า สมุนไพร ชนิดไหนบ้างน้า ที่แก้โรคกระเพาะได้อ่ะ

     โรคกระเพาะอาหาร

        โรคกระเพาะอาหาร (peptic ulce) หมายถึงอาการปวดแสบ ปวดต้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการงาน การเรียน) พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา และการรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด ยาซอง) ยาแก้ปวดข้อ ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ใส่สเตียรอยด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ที่เข้าสารคาเฟอีน เป็นต้น

    สาเหตุของ โรคดังกล่าวยังไม่ชัดเจน ปกติจะมีสารเมือก (mucin) หลั่งออกจากต่อมในส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและส่วนบนของลำไส้เล็ก เพื่อป้องกันเยื่อบุกระเพาะจากฤทธิ์กัดของน้ำย่อยที่เป็นกรดอย่างแรง แต่มีปัจจัยบางอย่างที่คาดว่าจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง เกิดการอักเสบและเป็นแผลได้ง่าย เช่น ภาวะขาดอาหาร ภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานยาหรือสารบางชนิดที่กัดกระเพาะ สูบบุหรี่จัด ดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนมากหรือเนื่องจากกรรมพันธุ์

    อาการระยะ แรก คือ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ อาจมีความรู้สึกอิ่มแน่นหรือหิวร่วมด้วย แผลในกระเพาะอาหารมักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 1-ชั่วโมงครึ่ง ส่วนแผลในลำไส้มักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 2-4 ชั่วโมง และช่วงดึกหลังเที่ยงคืนด้วย
        
    การรักษาโรคกระเพาะ โดยการรับประทานยา และดูแลสุขภาพ ของตนเอง ดังนี้
          ก. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
          ข. รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ (ถ้าปวดมากในระยะแรก ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม) อย่ารับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

    ไม่ จำเป็นต้องแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้นดังที่เคยแนะนำกันใน อดีต เพราะยิ่งรับประทานมากนอกจากจะทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว (ต้องคอยลดความอ้วนอีก) ยังอาจจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายอีกด้วยคนที่เป็นโรคกระเพาะบางครั้งอาจ รู้สึกหิวง่ายก็ควรรับประทาน ยาลด กรดแทนนมหรือข้าว

           ค. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้
           ง. ห้ามรับประทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าเตรียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้รักษาโรคอื่น ควรปรึกษาแพทย์)
           จ. คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นแอโรบิก) หรือทำสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือเจริญภาวนาตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ คนที่เป็นโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้ จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้


    สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร คือ...

    1.ขมิ้นชัน

     

          ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่าขมิ้น ไม่มีพิษเฉียบพลันและไม่มีผลในด้านก่อกลายพันธุ์ และในการวิจัยทางคลินิกของ ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์และคณะ (2529) ได้ศึกษาเคมีเลือดผู้ป่วยที่รับการ ทดลองจำนวน 30 คน ก่อนและหลังรับประทานขมิ้นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในผลเคมีเลือดที่บ่งถึงการตรวจหน้าที่ตับและไต และฮีมาโตโลยี ส่วนผลแทรกแซง พบอาการท้องผูก ราย แพ้ยามีผื่นที่ผิวหนัง 2 ราย

     วิธีการใช้ขมิ้นรักษาโรคกระเพาะ
         ขมิ้นใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการนำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

          บางคนรับประทานขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่นคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัวนอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน

     

     

    2.กล้วยน้ำว้า

     วิธีใช้กล้วยรักษาโรคกระเพาอาหาร
          นำกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และบดเป็นผง วิธีรับประทานโดยการนำผงกล้วยดิบครั้งละครึ่งถึงหนึ่งผล ชงน้ำหรือผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มหรือนำผงกล้วยดิบมาปั้นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน รับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น

     

    3.ว่านหางจระเข้

     


          
     กล้วย เป็นพืชเมืองร้อนและเป็นพืชที่คุ้นเคยกับคนไทยมาช้านาน เพราะเกือบทุกส่วนของกล้วยมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน กล้วยเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นตรง รูปร่างกลม มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ขอบใบขนานกัน ช่อดอกคือหัวปลี มีลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก มีดอกย่อยออกเป็นแผง กลายเป็นผลติดกัน เรียกว่าหวี เรียงซ้อนและติดกันที่แกนกลางเรียกว่าเครือ
    ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลกล้วยดิบหรือผลห่าม 

     


    ใช้ใบสดที่เพิ่งตัดออกจากต้น นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกส่วนที่มีสีเขียวออกให้หมดเหลือแต่วุ้นใส หากมียางสีเหลืองติดที่วุ้นให้ล้างออกก่อน หั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว ล้างให้สะอากอีกครั้ง กินวันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น

    4.กระเจี๊ยบเขียว 


           กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน

     วิธีใช้กระเจี๊ยบเขียวรักษาโรคกระเพาอาหาร
         ใช้ผักลวกกินน้ำพริกทุกวัน เมือกลื่นๆ ในผลกระเจี๊ยบเขียว ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้ 
     

     

     

    5.หัวปลี 


        
    หัว ปลี ถือเป็นอาหารบำรุงน้ำนมของผู้หญิงที่กำลังมีบุตร ดังนั้นคุณแม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกก็ควรจะกินอาหารที่มีหัวปลีเป็นส่วนประกอบ ให้มากๆ ระหว่างที่ยังให้นมลูก และนอกจากนั้นก็ยังมีแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็กอยู่มากอีกด้วย และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผลวิจัยพบว่าหัวปลีนั้นยังช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้ด้วย โดยการทดลองนั้นพบว่าการใช้สารสกัดจากหัวปลีสามารถป้องกันการเกิดแผลใน กระเพาะอาหารได้มากถึง ๔๗.๘๘-๘๗.๖๓% โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการดื่มสุราอยู่เป็นประจำ

     วิธีใช้หัวปลีเขียวรักษาโรคกระเพาอาหาร
         นำปลีกล้วยน้ำว้ามาเผา แล้วบีบเอาแต่น้ำ ได้ประมาณครึ่งแก้ว ดื่มก่อนอาหาร รสชาติฝาดเฝื่อน กินยากมาก แต่มีตนกินติดกันประมาณ 3 วัน อาการปวดกระเพาะที่อักเสบเรื้อรังมานานหายสนิท


    --แต่ยังไงก็ให้มียาสามัญประจำบ้านติดบ้านไว้มั่งก็ดีนะคะ เวลาปวดขึ้นมาจะได้ไม่ลำบาก อิอิ--

     

    ขอบคุณข้อมูลจาก : www.samoonprithai.com , www.jobpub.com , www.meeboard.com , www.teenpath.net


  •     +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                    แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร

วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารทำอย่างไร

1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

ก. กินอาหารให้เป็นเวลา
ข. งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
ค. งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
ง. งดดื่มน้ำชา กาแฟ
จ. งดสูบบุหรี่
ฉ. งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
ช. พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด

2. การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้

3.การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่

ก. เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
ข. แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
ค. กระเพาะอาหารมีการอุดตัน

ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. ยาลดกรด [ antacid] รับประทานครั้งละ 1-2 ชต.ควรรับประทานหลังอาหาร 1 ชม. หรือก่อนอาหาร 2 ชม. และมื้อสุดท้ายก่อนนอน แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้วในระยะแรก อาจจะให้ยาทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อดีขึ้นอาจให้ยาทุก 1-2 ชั่วโมง
  2. ยาลดการหลั่งกรด acid-suppressing drugs มีสองชนิด คือ
  • Histamine-2 receptor antagonists [H2-blockers] เช่น cimetidine, ranitidine, famotidine, nizatidine.ช่วยลดอาการปวดหลังได้ยาไปประมาณ หนึ่งสัปดาห์ อาจจะรับประทานวันละครั้ง เช่นก่อนนอนได้แก่ famotidine, nizatidine วันละสองครั้งได้แก่ ranitidine วันละสี่ครั้งไก้แก่ cimetidine

    ชื่อยา

    ขนาดยาที่ให้

    ผลขางเคียง

    cimetidine

     400 mg วันละ 2 ครั้ง

    800mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    คลื่นไส้อาเจียน เต้านมโต ตับอักเสบ เม็ดเลือดขาวต่ำ 

    ทำให้ยาบางชนิดถูกทำลายลดลงเกิดการคั่งของยา

    Ranitidine

    150 mg วันละ 2 ครั้ง

    300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    ผลข้างเคียงน้อย

    Famotidine

    20 mg วันละ 2 ครั้ง

    40 mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    ผลข้างเคียงน้อย

    Nizatidine

    150 mg วันละ 2 ครั้ง

    300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    ผลข้างเคียงน้อย

  • Proton pump inhibitors  เช่น omeprazole, lansoprazole.ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการปวดท้อง และช่วยให้แผลหายเร็วกว่ายากลุ่มอื่นมักจะรับประทานวันละครั้งหลังอาหาร
  1.  ยาปฏิชีวนะเช่น metronidazole, tetracycline, clarithromycin, amoxicillin ใช้รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจาก H.pylori ขนาดยาที่ให้ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง, amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง,  metronidazole 400 mg วันละ 2 ครั้ง, tetracyclin 500 mg วันละ 2 ครั้ง ยาที่นิยมรักษาแผลกระเพาะอาหารจากเชื้อโรคได้แก่การใช้ยา amoxicillin และ clarithromycin  และomeprazole
  2. ยาเคลือบกระเพาะ Stomach-lining protector เช่น bismuth subsalicylate.sucralfate ใช้เคลือบแผลกระเพาะ 

โรคกระเพาะอาหาร

แผลที่กระเพาะก่อนการรักษา

แผลในกระเพาะอาหาร

แผลหลังรักษา 2 สัปดาห์

แผลกระเพาะอาหาร

แผลหายไปหลังจาการรักษา

ปัจจุบันการรักษา H.pylori ที่ดีที่สุดประกอบด้วยยา 3 ชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกับ ยาลดการหลั่งกรด หรือยาเคลือบกระเพาะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ90 เช่น omeprazole 20 mg วันละ 2 ครั้งร่วมกับ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง และ amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง

แนวทางการรับประทานอาหารในการรักษาแผล Peptic ulcer

หลังการรักษาแพทย์อาจนัดส่องกล้องดูกระเพาะอีกครั้งว่าแผลหายหรือยัง

เคล็ดลับโรคกระเพาะ

  • โรคกระเพาะเกิดจากมีแผลที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น
  • สาเหตุที่สำคัญเกิดจากเชื้อ H. pylori มิใช่เกิดจากอาหารเผ็ดหรือความเครียด
  • H. pylori สามารถติดต่อโดยผ่านทางอาหารและน้ำดื่ม
  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่สำคัญที่สุดในการรักษา H. pylori
 

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู
3. งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4. งดการสูบบุหรี่
5. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาsteroid ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ
6. ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย
7. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก
8. ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
9. อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  1. เลือดออกทางเดินอาหาร เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารกินลึกถึงหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสด หรือสีดำเหมือนน้ำโค้ก อุจาระจะมีสีดำเหนียว บางคนหากออกมากจะมีสีแดงอิฐ หากเลือดออกมากผู้ป่วยอาจจะมีความดันโลหิตต่ำและช้อคหมดสติ
  2. กระเพาะทะลุ เนื่องจากแผลจะกินลึกจนทะลุเข้าช่องท้อง ผู้ป่วยจะปวดท้องอย่างเฉียบพลันปวดมาก หน้าท้องแข็ง เป็นภาวะรีบด่วนต้องรีบพบแพทย์
  3. ลำไส้อุดตัน เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังจะทำให้เกิดผังพืดทำให้รูของลำไส้เล็กลงอาหารไม่สามารถผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาเจียน ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจาระ อาเจียนเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป

อาการเตือนที่ทำให้ต้องระวังว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่

  1. ปวดท้องจนต้องตื่นนอนตอนกลางคืน
  2. น้ำหนักลดลงมากกว่า ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
  3. อายุมากกว่า 40 ปี
  4. ถ่ายเป็นเลือด
  5. อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  6. กลืนลำบาก
  7. มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  8. ซีด
  9. ตัวเหลืองตาเหลือง
  10. ตับม้ามโต
  11. มีก้อนในท้อง
  12. ท้องโตขึ้น
  13. มีการเปลี่ยนของระบบขับถ่าย

หากพบอาการเหล่านี้ควรส่องกล้อง หรือกลืนแป้งตรวจก่อน แต่หากไม่มีอาการอาจลองให้รักษาก่อน


                  Link        https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/pu/pu_treat.html

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastiritis)

กระเพาะอาหารอักเสบ
นพ.มงคล  หงษ์ศิรินิรชร
แผนกอายุรกรรม (โรคระบบทางเดินอาหาร) รพ.วิภาวดี


นิยาม
กระเพาะ อาหารอักเสบ(Gastiritis) คือ การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารจากกรดภายในกระเพาะ ซึ่งคนทั่วไปมักจะเรียกกันว่า"โรคกระเพาะ" พบประมาณ 10%ของประชากร เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง



สาเหตุ
กลไก ของการเกิดกระเพาะอาหารอักเสบเกิดจากการหลั่งกรดที่มากขึ้น(Hyperacidity) และคั่งค้างอยู่นานในกระเพาะ(Delay gastric emptying time) ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุกระเพาะอาหาร มีสาเหตุจาก
1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. ยาแก้ปวดข้อ เช่น Aspirin, Ibuprofen หรือยาซองแก้ปวด
3. ความเครียดรุนแรง
4. การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารคือ H. pylori



อาการ
ส่วน ใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ มักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวปวด อาการเกิดได้ทั้งเฉียบพลันหรือเรื้อรัง มักมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ส่วนน้อยของผู้ป่วยจะมาด้วยภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด อาการกระเพาะทะลุและช่องท้องอักเสบ



การวินิจฉัย
ใช้ อาการทางคลินิกเป็นสำคัญ ร่วมกับประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ กินยาซอง ยาแก้ปวดข้อ ปวดรอบเดือน ปวดไมเกรน  อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคจากแผลในกระเพาะอาหาร(Peptic ulcer) ซึ่งมักจะมีอาการปวดบิดๆเป็นพักๆร่วมกับเวลากลางคืน หรือ นิ่วในถุงน้ำดี(Gall stone) ซึ่งมักจะปวดตื้อๆบริเวณชายโครงด้านขวาเป็นเวลานาน หรือตับอ่อนอักเสบ(Pancreatitis)ซึ่งมักจะปวดทะลุหลังร่วมกับมีไข้ หรือกระเพาะเครียด(Functional dyspepsia)ซึ่งแยกกับกระเพาะอาหารอักเสบได้ยาก


ในกรณีที่อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือเกิด ขึ้นซ้ำหลังจากที่รักษาหายไปแล้ว โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือยาแก้ปวด หรือสงสัยว่าอาการเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori การตรวจเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่ดีที่สุดในขณะ นี้ คือ การใช้กล้องส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (Upper GI endoscopy) ส่วนการกลืนแป้งฉายภาพรังสี(Upper GI study หรือ GISM)นั้น ให้ประโยชน์ไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ ก่อนที่ผู้ป่วยจะส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบนนั้น จะต้องงดอาหารก่อนตรวจ 6ชม. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรงดยาเบาหวานในเช้าวันนั้น สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถรับประทานยาลดความดันโดยดื่มน้ำเปล่า เล็กน้อย หากมีฟันปลอมชนิดถอดได้ควรถอดเพื่อป้องกันฟันปลอมหลุดเข้าไปในช่องลำคอหรือ หลอดลม



การรักษา
จุดประสงค์ของการรักษากระเพาะอาหารอักเสบ คือ
1. บรรเทาอาการปวดท้อง
2. รักษาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร
3. ป้องกันการเกิดซ้ำ
4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน



1. การบรรเทาอาการปวดท้อง ใช้หลักการของด่างมาสะเทิ้นกรดภายในกระเพาะ ยาที่นิยมใช้คือยาธาตุน้ำขาว(Alum milk) หรือใช้เป็นยาเม็ดอลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ก็ได้ผลเช่นกัน  ซึ่งในกรณีของยาเม็ดควรเคี้ยวก่อนกลืนเพราะยาเม็ดบางชนิดแตกตัวในกระเพาะ อาหารช้า ยากลุ่มนี้จะรับประทานก่อนอาหาร 3เวลา หรืออาจรับประทานเพิ่มเติมเมื่อมีการปวดระหว่างมื้อ  นอกจากนี้ควรเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำอัดลม กาแฟซึ่งอาจกระตุ้นอาการปวดท้อง

2. การ รักษาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร  ใช้ยารักษานาน 14วัน นิยมใช้ยาลดการหลั่งกรด(Acid suppression) ได้แก่ ยากลุ่ม H2 receptor antagonists หรือยากลุ่ม Proton pump inhibitors เพราะหาซื้อได้สะดวกตามร้านขายยา ส่วนยากลุ่ม Cytoprotective เช่น Sucralfate หรือ Bismuth ก็สามารถใช้ได้

3. การ ป้องกันการเกิดซ้ำ คือการป้องกันสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โดยหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด หรือยาแก้ปวดข้อ การออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรค

4. การ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ส่วนใหญ่ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดจากยาแก้ปวดข้อ เนื่องจากยานี้จะลดอาการปวดได้ขณะที่ยากัดกระเพาะ ทำให้อาการปวดท้องซึ่งเป็นอาการเตือนถูกบดบัง ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะมาก่อน ผู้ป่วยที่รับประทานยาชุด-ยาลูกกลอน เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา การรักษามักจะต้องใช้การส่องกล้องรักษาหรืออาจต้องผ่าตัดถ้ามีกระเพาะอาหาร ทะลุ

                 Link   https://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=85

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด