หูรูดกระเพาะอาหารอักเสบ หูรูดกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร


20,081 ผู้ชม


หูรูดกระเพาะอาหารอักเสบ หูรูดกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร
             หูรูดกระเพาะอาหารอักเสบ 
"โรคกระเพาะ" 
"โรคกระเพาะ" เรามัก หมายถึงอาการปวดแสบ จุกเสียด ตรงบริเวณกลางยอดอกและใต้ลิ้นปี่ โดยมักจะปวดตอนหิว (ก่อนกินอาหาร) และตอนอิ่มใหม่ๆ (หลังอาหาร) และมักจะเป็นอยู่เกือบทุกมื้อหรือทุกวัน เมื่อลองกินยาต้านกรด (ยา น้ำขาวๆ ที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ยาลดกรด) ก็มักจะทุเลา เมื่อกินได้สักระยะหนึ่ง อาการก็ดูคล้ายจะหายไป แต่พอหยุดยาอีกไม่นานก็อาจกำเริบอีกเป็นๆ หายๆ เป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ 
อาการโรคกระเพาะดังกล่าวนี้ อาจเกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น
 
1.แผลเพ็ปติก หรือโรคแผลที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น สาเหตุอาจเกิดจากการกินยาแก้ปวดข้อปวดกระดูก (ภาษาหมอเรียกว่า"ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์") เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน อินโดเมทาซิน เป็นต้น หรือไม่ก็อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "เอชไพโลไร (H.pylori)" เชื้อนี้ติดต่อโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคแบบเดียวกับโรคบิด อหิวาต์ ไทฟอยด์
ถ้าสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจพิเศษ เช่น การเอกซเรย์กลืนแป้งแบเรียม หรือใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ แล้วพบว่ามีแผลชัดเจน
การรักษา
จำเป็นต้องใช้ ยารักษาแผลเพ็ปติก ในปัจจุบันแพทย์นิยมใช้ ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้กระเพาะหลั่งกรด (ยาลดการสร้างกรด) เช่น ไซเมทิดีน (cimetidine) รานิทิดีน (ranitidine) โอมีพราโซ (omeprazole) บางครั้งอาจให้ยาต้านกรด (น้ำกรด) กินควบด้วย นานอย่างน้อย 2 เดือน ถ้าเกิดจากยาแก้ปวดข้อปวดกระดูกก็จะต้องงดยานี้จึงจะได้ผล และต่อไปต้องหลีกเลี่ยงไม่กลับไปใช้ยากลุ่มนี้อีก แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อเอชโพโลไรนอกจากยารักษาแผลเพ็ปติกดังกล่าวแล้ว แพทย์จะให้กินยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด (เช่น อะม็อกซีซิลลินและเมโทรไนดาโซล) ควบด้วย เพื่อกำจัดเชื้อนี้ให้หมดไป จึงจะช่วยให้หายขาด ถ้าไม่กินยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ปล่อยให้เชื้อแฝงตัวอยู่นานเป็นสิบๆ ปี ก็อาจทำให้กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
 
2.โรคเกิร์ดหรือโรคน้ำย่อยไหลกลับ เกิดจากหูรูดที่อยู่ระหว่างปลายหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร
หย่อน สมรรถภาพ เมื่อเรากลืนอาหารหูรูดจะเปิดให้อาหารไหลลงกระเพาะอาหาร หลังจากนั้นหูรูดจะปิดสนิทไม่ให้น้ำย่อย (ซึ่งเป็นกรด) จากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร มีคนจำนวนไม่น้อยโดย เฉพาะอย่างยิ่งหลังอายุ 40 ปีขึ้นไป หูรูดจะเสื่อมสมรรถภาพไม่สามารถปิดสนิทปล่อยให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับ ขึ้นไประคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหาร ทำให้มีอาการแสบลิ้นปี่ เรอเปรี้ยวขึ้นไปที่ลำคอ เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง มักจะกำเริบเวลากินอาหารอิ่มจัด หรือนอนราบหลังกินอาหารทันทีหรือหลังกินอาหารมัน ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กินช็อกโกแลต น้ำส้มคั้น หรือน้ำผลไม้เปรี้ยว
หากปล่อยปละละเลย อาจทำ ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารอักเสบ (มีอาการเจ็บยอดอกเวลากลืนอาหาร) หลอดอาหารเป็นแผล ในที่สุดปลายหลอดอาหารตีบ (กินข้าวสวยไม่ลง) บางคนอาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหาร (กลืนลำบาก) บางคนเวลานอนตอนกลางคืน น้ำย่อยอาจไหลย้อนไปที่ลำคอ ทำให้ตื่นเช้ามีอาการเสียงแหบ เจ็บคอ หรือไอเรื้อรัง คนที่มีโรคหืดอยู่เดิมก็อาจทำให้โรคหืดกำเริบ บางคนอาจสำลักน้ำย่อยเข้าปอด ทำให้ปอดอักเสบได้
การรักษา
ควร ปรึกษาแพทย์ อาจจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษ (เช่น ส่องกล้อง) ถ้าเป็นจริงจำเป็นต้องกินยาต้านกรดควบกับยาลดการสร้างกรดนาน 2-6 เดือน เมื่อหยุดยาก็อาจกำเริบได้อีก เนื่องเพราะหูรูดที่เสื่อมมักจะไม่คืนสู่สภาพปกติ

3.กระเพาะอาหารอักเสบ เนื่องจากการใช้ยาแก้ปวด แก้ปวดข้อ ยาปฏิชีวนะบางชนิดดื่มแอลกอฮอล์ หรือเกิดจากการมีกรดมากเกิน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบโรคกระเพาะ
การรักษา


ให้ยาต้านกรด และหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นต้นเหตุของโรค เช่น งดแอลกอฮอล์ งดยา เป็นต้น
 
4.มะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อเอชโพโลไร เรื้อรัง บางคนอาจพบว่าเกิดจากนิสัย ที่ชอบกินของเค็ม (ในปัจจุบันยังบอก ม่ได้ว่าทำไมอาหารเค็มจึงอาจทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร)
อาการระยะแรก เริ่มจะมีอาการปวดท้องแบบโรคกระเพาะ เมื่อกินยารักษากระเพาะจะทุเลา แต่มักจะไม่หายขาด ต่อมาจะมีอาการอาเจียน น้ำหนักลด มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี
จากการแยกแยะสาเหตุของ "โรคกระเพาะ" ดังกล่าวข้างต้น แพทย์จึงมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว 
ของคนที่มีอาการปวดโรคกระเพาะดังนี้
 
1.ถ้ามีอายุต่ำกว่า 40 ปี และ เพิ่งปวดโรคกระเพาะเป็นครั้งแรก ให้กินยาต้านกรด (ยาลดกรดน้ำขาว) 
ควบกับยาลดการสร้างกรด (เช่น    ไซเมทิดีน) นาน 2 สัปดาห์ ถ้าดีขึ้น ควรกินยาต่อไปให้ครบ 2เดือน
นอก จากนี้ควรงดเหล้า บุหรี่ และยาที่เป็น สาเหตุของอาการปวดท้อง
 
2.ถ้า มีอายุเกิน 40 ปี หรือเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง หรือมีอาการผิดสังเกต (เช่น กลืนลำบาก อาเจียน ซีด เหลือง น้ำหนักลด) ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่นอน
      
  Link        www.oknation.net/blog/print.php?id=475169
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               
หูรูดกระเพาะอาหาร

หูรูดกระเพาะอาหาร

มีอาการปวดท้อง ช่วงกลางท้อง แน่น จุก ท้องบีบตัวอย่างแรง รู้สึกเหมือนมีกรดไหลตลอดเวลา แสบหน้าอกอย่างมาก ไปพบหมอ ช่วงแรกหมอให้ยาแก้โรคกระเพาะและกรดไหลย้อนมาทาน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จึงส่องกล้อง พบว่ากล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารทั้งด้านบนและด้านล่างหย่อน ไม่ทำงาน ทำให้ กรดในกระเพาะ ไหลย้อนขึ้นมาที่คอ และ น้ำดีในลำไส้เล็กก็ไหลย้อนขึ้นมาถึงคอเช่นกัน ส่องกล้องดูพบว่ากระเพาะเป็นสีเขียวของน้ำดีควรรักษาอย่างไรดีค่ะ ตอนนี้มีอาการปวด แน่น ตลอดเวลาอย่างรุนแรง         Link   https://thaiherbclinic.com/node/2403                       
 กระเพาะอาหารการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร        กระเพาะ อาหาร( stomach ) มีสภาพเป็นกรด อยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้องใต้กระบังลม กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนของคาร์เดีย ( cardia ) เป็นส่วนที่อยู่ติดกับหลอดอาหาร ส่วนฟันดัส ( fundus ) เป็นส่วนที่อยู่เหนือช่องที่เปิดเข้ากระเพาะอาหารอยู่ทางส่วนบน ส่วนไพลอรัส( pylorus ) จะอยู่ติดกับลำไส้เล็กตอนต้น และส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือตัวกระเพาะ ( body ) โดยปกติอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งอาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะอาหารด้วยการหดตัวและคลายตัวของกล้าม เนื้อที่แข็งแรงของกระเพาะอาหาร โครงสร้างของกระเพาะอาหาร
 

            ภายในกระเพาะอาหารจะมีผนัง  มีลักษณะเป็นคลื่น  เรียกว่ารูกี  (Rugae)  มีต่อมสร้างน้ำย่อยประมาณ  35  ล้านต่อม  เรียกว่า  Gastric Gland  สร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาหารเรียกว่า  Gastric Juice  ซึ่งเอนไซม์นี้มีองค์ประกอบหลายอย่าง  ได้แก่  กรดเกลือ  โปตัสเซียม  คลอไรด์  น้ำเมือก  (Mucus)  และเอนไซม์เปปซิน (Pepsin)  เรนนิน  (Renin)  และลิเปส  (Lipase)  เมื่อสารองค์ประกอบเหล่านี้รวมตัวกับสารอาหารจนเหลวและเข้ากันดีคล้ายซุป ข้นๆ  เรียกว่า  ไคม์  (Chyme)  การควบคุมการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะ  ต่อมและน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร จะเป็นต่อมชนิดมีท่อ ประกอบด้วย 
   
พาเรียทัลเซลล์ ( parietal cell ) ทำหน้าที่ผลิตกรดเกลือ และอินทรินซิกแฟกตอร์ ซึ่งมีความจำเป็นในการดูดซึมวิตามินบีสิบสอง ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก
  ไซโมเจนิกเซลล์ ( zymogenic cell ) ทำหน้าที่ในการผลิตเอนไซม์ที่ยังทำหน้าที่ไม่ได้ คือเอนไซม์เปปซิโนเจน ( pepsinogen ) และโปรเรนนิน ( prorennin ) 
  มิวคัสเซลล์ ( mucous cell ) มีหน้าที่หลั่งเมือกหรือสารมิวซิน ซึ่งเป็นสารพวกไกลโคโปรตีน ช่วยในการหล่อลื่นอาหารและช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร และสร้างเมือกที่มีฤทธิ์เป็นเบสไปฉาบกระเพาะอาหารไมาให้เป็น
อันตราย กล้ามเนื้อหูรูด( sphincter muscle ) ที่กระเพาะอาหารมี 2 แห่ง คือ
  1. กล้ามเนื้อหูรูดคาร์เดีย ( cardiac sphincter ) อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของอาหารจากหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร ( เปิด ) และป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารอีก( ปิด )
  2. กล้ามเนื้อหูรูดไพลอรัส ( pylorus sphincter ) อยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กทำหน้าที่ควบคุมการผ่านของอาหารลงสู่ลำไส้เล็ก         หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหาร คือ เป็นที่เก็บสะสมอาหาร เป็นอวัยวะย่อยอาหาร ลำเลียงอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กในอัตราที่พอเหมาะ ให้สารที่เรียกว่า intrinsic factor ที่จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน บี 12 สำหรับใช้ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง       
               

การย่อยในกระเพาะอาหาร
         อาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดตัว  และคลายตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงของกระเพาะ  โปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะ  โดยน้ำย่อยเพปซิน  ซึ่งย่อยพันธะบางชนิดของเพปไทค์เท่านั้น  ดังนั้นโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นพอลิเพปไทค์ที่สั้นลงส่วน เรนนินช่วยเปลี่ยนเคซีน  (Casein)  ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนมแล้วรวมกับแคลเซียมทำให้มีลักษณะเป็นลิ่มๆจากนั้นจะ ถูกเพปซินย่อยต่อไปในกระเพาะอาหาร  น้ำย่อยลิเพสไม่สามารถทำงานได้  เนื่องจากมีสภาพเป็นกรด  โดยปกติอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนาน  30  นาทีถึง 3 ชั่วโมง  ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้นๆ  กระเพาะอาหารก็มีการดูดซึมอาหารบางชนิดได้  แต่ปริมาณน้อยมาก  เช่น  น้ำ  แร่ธาตุ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  กระเพาะอาหารดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี  อาหารโปรตีน  เช่น  เนื้อวัว  ย่อยยากกว่าเนื้อปลา  ในการปรุงอาหารเพื่อให้ย่อยง่าย  อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลงไปในเนื้อสัตว์เหล่านั้น  เช่น  ยางมะละกอ  เมื่อกระเพาะ อาหารมีอาหารอยู่เต็มกระเพาะอาหารจะบีบตัวแบบลูกคลื่น ( peristalsis ) การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารมีผลในการช่วยให้อาหารรวมกันเป็นก้อนและคลุก เคล้ากับน้ำย่อยอาหารทำให้มีลักษณะเละ ๆ เรียกว่า Chyme อาหารที่ย่อยบ้างแล้ว(Chyme ) จะลงไปยังลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งมีหูรูดคั่นอยู่ ซึ่งหูรูดนี้จะเปรียบเสมือนประตูเปิดปิดอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะ ๆ ประมาณนาทีละ 7 – 12 ครั้งสำหรับให้อาหารที่ย่อยบ้างแล้วผ่านไป        การย่อยอาหารในกระเพาะอาหารจะเป็นการย่อยโปรตีนเท่านั้น ดังนั้นหากเกิดการผิดปกติกับกระเพาะอาหารอาหารที่จะได้รับความกระทบกระเทือน มากที่สุด คือ โปรตีน และการที่กระเพาะอาหารไม่ถูกเอนไซม์เปปซินและกรดไฮโดรคลอริกทำลาย เนื่องจาก สารเมือกที่เคลือบกระเพาะอาหารมีฤทธิ์เป็นเบสช่วยป้องกันได้ และเยื่อกระเพาะอาหารมีการแบ่งเซลล์ได้อย่างรวดเร็วเป็นการสร้างเซลล์ขึ้นมา ทดแทนพวกที่อาจถูกทำลายไปปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อระยะที่อาหารออกจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้ ได้แก่
 
            Link  https://www.thaigoodview.com/node/9618
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
              
   - ชนิดของอาหาร อาหารที่มีลักษณเะหลวจะผ่านได้เร็วกว่าอาหารที่มีลักษณะแข็งกว่า
   - ประเภทของอาหาร อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต จะผ่านกระเพาะอาาหารได้เร็วที่สุด รองลงมาคือโปรตีน และอาหารประเภทไขมันจะผ่านได้ช้าที่สุด
   - ภาวะการเป็นกรดเบสของอาหาร ถ้าอาหารเป็นกรด หรือมีกรดอะมิโนหรือมีผลิตภัณฑ์จากการย่อยโปรตีนและอยู่มาก จะทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนานยิ่งขึ้น
    - ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเคลื่อนตัวจองอาหารผ่านกระเพาะอาหาร     
 อาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร

อัพเดทล่าสุด