ค่าใช้จ่ายในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ภาษาอังกฤษ


46,398 ผู้ชม


ค่าใช้จ่ายในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ภาษาอังกฤษ

             ค่าใช้จ่ายในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร

แพคเกจการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินอาหารและตับ ภัยคุกคามที่ไม่ควรมองข้าม
วันนี้ คุณสามารถ สังเกตอาการที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารและตับอย่างง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง หากคุณสังเกตพบว่ามีอาการบ่งชี้ใด ๆ ดังต่อไปนี้ อย่านอนใจ
    * มีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน อาเจียนเป็นเลือด
    * ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงด้านซ้ายเหนือสะดือ เป็น ๆ หาย ๆ
    * ปวดท้องส่วนบนที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแล้วแต่ยังไม่หาย
    * เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
    * ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
    * กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
    * อาเจียนบ่อย หรืออาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ
    * ซีด มีภาวะโลหิตจาง
    * ถ่ายอุจจาระมีมูก หรืออุจจาระมีสีดำ
    * ถ่ายอุจจาระผิดปกติ บางครั้งท้องผูก บางครั้งท้องเสีย
อาการต่างๆ เหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรค
ศูนย์ โรคทาง เดินอาหารและตับ รพ.กรุงเทพจันทบุรี ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำหน้า ได้จัดทำแพ็คเกจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อคุณผู้ห่วงใยสุขภาพ โปรดพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยนำเสนอราคาแพ็คเกจ ดังนี้
แพคเกจ
   
ราคาเริ่มต้น
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscope)    
6,000
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope)    
12,000
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Nasogastroscope) ด้วยกล้องขนาดเล็ก    
6,000
หมายเหตุ
    * สิทธิดังกล่าว สำหรับการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรค ไม่รวมการทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรค ด้วยวิธีการส่องกล้อง
    * สงวนสิทธิการเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
      ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ รพ. กรุงเทพจันทบุรี
เรามารู้จักการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารกันเถอะ..
GASTROSCOPE
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารคืออะไร?
คือ การส่องกล้อง ซึ่งเป็นสายเล็กๆ นิ่มๆ เข้าทางปาก เพื่อตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะ
อาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยแสดงภาพออกทางจอโทรทัศน์ สามารถบันทึกภาพและถ่ายภาพออกมาดูได้
ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
   1. เพื่อการวินิจฉัย ดูว่ามีลักษณะผิดปกติ อะไร หรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผลอักเสบ เลือดออก เส้นเลือดแตก
   2. เพื่อส่งตรวจพิสูจน์ สามารถตัดชิ้นเนื้องอก, มะเร็งหรือตัดชิ้นเนื้อจากส่วนล่างของกระเพาะอาหาร ว่ามีเชื้อแบคทีเรีย H. pxilori ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร
   3. เพื่อการรักษา เช่น ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า จี้จุดเลือดออก เน้นให้หยุดได้ ในกรณีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายของหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง สามารถรัดเส้นเลือด ผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารได้
   4. เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดี หรือไม่
อาการที่ควรตรวจวินิจฉัยด้วย Gastroscope
ปวด จุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงซ้าย เหนือสะดือ เสียดท้อง แสบท้อง นานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ อาหารไม่ย่อย กลืนลำบาก กลืนอาหารเจ็บ น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย ซีด มีภาวะโลหิตจาง อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ
ควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนมาตรวจ
   1. ห้ามรับประทาน และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6 ช.ม. ก่อนการ ตรวจ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการสำลักอาหารและนำเข้าไปในหลอดลมขณะที่ กลืนกล้องลงสู่ลำคอ
   2. ผู้ป่วยควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวให้พร้อม
   3. ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออก
   4. ถ้ามีโรคประจำตัว หรือแพ้ยาต่าง ๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
   5. ควรนำญาติมาด้วย ถ้าผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวล
อะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับตัวท่าน ขณะได้รับการตรวจ
เจ้าหน้าที่จะนำท่านไปที่ห้องส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เปลี่ยนเป็นชุดโรงพยาบาล
ขั้น ตอนต่อมาคือทำให้คอผู้ป่วยชา โดยให้กลืนยาชาและพ่นยาชาที่คอ ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาชาต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อน เมื่อคอชาจะรู้สึกกลืนไม่ลง แพทย์จะใส่กล้องซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาว ๆ นิ่มๆ เข้าทางปาก ใช้เวลาการตรวจสั้นๆ ประมาณ 10 นาที แต่ถ้าผู้ป่วยรู้สึกกลัวหรือกังวล อาจตรวจในขณะที่ผู้ป่วยหลับ โดยการฉีดยานอนหลับให้ ภาพการส่องกล้องจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งสามารถบันทึกภาพลงในแผ่น CD ให้ผู้ป่วยนำกลับเป็นหลักฐานการตรวจได้ แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจละเอียดต่อไป
เมื่อตรวจเสร็จ ผู้ป่วยจะยังรู้สึกชาที่คอและกลืนลำบากอีกประมาณ 30 นาที เพราะฤทธิ์ยาชา ห้ามขากหรือกลืนน้ำลาย เพราะอาจทำให้สำลักได้ ให้บ้วนทิ้ง เมื่อคอหายชาจึงเริ่มดื่มน้ำและ รับประทานอาหารได้ โดยเริ่มรับประทานทีละน้อย ใช้เวลาในการตรวจรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
   1. เลือดออกหรือทะลุ พบได้น้อยกว่า 1 ใน 1,000 ราย มักพบในรายที่จี้ตัดเนื้องอก
      หรือตัดชิ้นเนื้อหลาย ๆ แห่ง
   2. การสำลัก เกิดปอดอักเสบได้ แต่พบได้น้อย
   3. การติดเชื้อ พบได้น้อยเช่นกัน
   4. อาจมีอาการเจ็บระคายคอ การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยได้
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี
โทรศัพท์ 039-319888
e-mail: [email protected]

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย 

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

  1. เชื่อโรค Helicobacter pylori
  2. เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี

  3.  สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
  • กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
  •  การกินอาหารไม่เป็นเวลา
  • ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามาก จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  1.   มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
  •  การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
  • การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
  1.  ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

            Link  https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/pu/peptic_ulcer.htm

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                  โรคกระเพาะอาหาร ภาษาอังกฤษ

บทความ โรคกระเพาะ คืออะไร

จาก https://www.oknation.net/blog/mor-maew/2 ...
พูดถึงโรคกระเพาะ บางคนนึกไปถึงการที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แล้วก็เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ... นั่นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
คำ ว่าโรคกระเพาะ เป็นภาษารวมๆ หากจะเปรียบเทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเขียนว่า Dyspepsia ซึ่งกินความอาการ จุก แน่น เสียด เจ็บ ปวดที่บริเวณลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน ... ดังนั้นคำว่าโรคกระเพาะจึงเป็นคำบอกอาการ ซึ่งทั้งนี้โรคกระเพาะสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีแผล(แผลใหญ่ๆ แผลจุดเลือดออกเล็กๆหรือแม้กระทั่งมะเร็ง) และกลุ่มที่ไม่มีแผล
อีก อย่างหนึ่ง อาการโรคกระเพาะ อาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นโรคของกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้ว อาการโรคกระเพาะ เกิดได้จากความผิดปกติของโรคตั้งแต่ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่

คลับ: ความรู้ เรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจจากฟิสิกส์ราชมงคลและเว็ปต่างๆ

Tag: โรค กระเพาะอาหาร

ภาพประกอบ
โรคกระเพาะ คืออะไร
1. โรคกระเพาะ คืออะไร
พูดถึงโรคกระเพาะ บางคนนึกไปถึงการที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แล้วก็เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ... นั่นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
คำ ว่าโรคกระเพาะ เป็นภาษารวมๆ หากจะเปรียบเทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเขียนว่า Dyspepsia ซึ่งกินความอาการ จุก แน่น เสียด เจ็บ ปวดที่บริเวณลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน ... ดังนั้นคำว่าโรคกระเพาะจึงเป็นคำบอกอาการ ซึ่งทั้งนี้โรคกระเพาะสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีแผล(แผลใหญ่ๆ แผลจุดเลือดออกเล็กๆหรือแม้กระทั่งมะเร็ง) และกลุ่มที่ไม่มีแผล
อีก อย่างหนึ่ง อาการโรคกระเพาะ อาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นโรคของกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้ว อาการโรคกระเพาะ เกิดได้จากความผิดปกติของโรคตั้งแต่ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่
2. เมื่อการแพทย์เชื่อกันผิดๆมากว่า100ปี
หาก เมื่อสัก30ปีก่อน มีแพทย์มาบอกคุณว่าจะรักษาโรคกระเพาะด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ คุณคงเปลี่ยนไปรักษากับแพทย์คนอื่นแน่ๆ แต่เรื่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
หลัง จากเมื่อปีที่ผ่านมานี้มีแพทย์ชาวออสเตรเลียสองท่านได้รับรางวัลโนเบลในสาขา สรีรศาสตร์หรือการแพทย์ก็คือ J. Robin Warren และ Barry J. Marshall ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ H. pyroli และได้หักล้างความเชื่อเดิมที่ว่าโรคกระเพาะทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นเกิดมาจาก ความเครียดและการกินอาหารไม่ตรงเวลาซึ่งเชื่อกันมากว่า100ปี
หลังจาก การประกาศความรู้ใหม่นี้ตั้งแต่เมื่อ10กว่าปีก่อน การรักษาโรคกระเพาะได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน ช่วงที่กระแสความรู้นี้ออกมาใหม่ๆ การรักษาโรคกระเพาะได้หันเหไปในทางการฆ่าเชื้อ H. Pylori ... และในที่สุด ปัจจุบันก็พบว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารที่พบมีทั้งที่เกิดจากเชื้อและที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

3. สาเหตุของโรคกระเพาะ
ช่วง ที่มีข่าวเรื่องนี้ ผู้ป่วยบางคนถึงกับหลงคิดไปเลยว่าโรคกระเพาะทั้งหมดเกิดจากเชื้อโรค แต่ความจริงโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะ ต่างมีสาเหตุได้หลายอย่าง สาเหตุต่างๆก็ได้แก่
- ยาบางชนิด ยาหลายชนิดมีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะ แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาในบ้านเรามากที่สุด เห็นจะเป็นยากลุ่มแก้ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่พบว่าใช้กันบ่อยและใช้กันผิดๆจนก่อโรคกระเพาะ
- บุหรี่ การสูบบุหรี่จะลดการสร้างสารป้องกันกระเพาะ และส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ จึงทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะและเมื่อเกิดแผลในกระเพาะก็จะหายได้ยาก
- เหล้า กาแฟ ชา เป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ
- เชื้อโรค อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ เชื้อH pylori
- โรคของอวัยวะใกล้เคียงของช่องท้อง เช่นโรคของตับ โรคของถุงน้ำดี(นิ่ว) ตับอ่อน พวกนี้อาการเริ่มแรกอาจจะเป็นอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะได้
- โรคการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ผิดปกติ เป็นโรคที่เมื่อตรวจไปเสร็จแล้วไม่พบว่ามีแผลหรือลักษณะผิดปกติแต่อย่างใด แต่การทำงานของกระเพาะลำไส้ผิดปกติไปเองเช่นเคลื่อนไหวแรงหรือบีบตัวย้อนทาง จนก่ออาการปวด โรคในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่นกลุ่ม IBS GERD
- มะเร็ง เจอไม่มากแต่เป็นสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันในค้นหาเพื่อจะได้ รักษากัน อย่างถูกต้องและไม่หลงทางไปรักษาอาการปวดแต่อย่างเดียว
บาง คนอาจจะเถียงว่า โรคในสามข้อล่างไม่ใช่โรคกระเพาะ แต่อย่าลืมนะครับว่าคนเราไปหาหมอ ไปหาด้วยอาการ ไม่ได้ไปหาด้วยชื่อโรค ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงโรคพวกนี้ไว้ด้วย
4. ส่องกล้อง จำเป็นหรือไม่ จะทำเมื่อไหร่
ถ้า ปเปิดตำราต่างประเทศ จะพบว่ามีการแนะนำให้ส่องกล้องผ่านทางปากเพื่อจะได้เห็นว่ากระเพาะและลำไส้ เป็นอย่างไร และดูว่ามีอะไรที่สงสัยมะเร็งหรือไม่ แต่นั่นก็ต่อเมื่อได้ทำการรักษาไปแล้วในช่วง1-2เดือน
ในไทยยังนับว่าเป็น ปัญหาอยู่ ทั้งที่ประเทศไทยต่างมียาแปลกใหม่ราคาแพงโอฬารตระการตา แต่การรักษายังมีแง่มุมอื่นนอกจากการใช้ยา นั่นคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการรักษาด้วยยาจะได้ผลน้อยมากหากผู้ป่วยเองไม่ได้หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น
การ ส่องกล้องที่ดี จะทำเมื่อรักษาอย่างถูกต้องแล้วเป็นเวลา1-2เดือน(ถ้ามีแผล รักษาก็น่าจะหายแล้ว)แล้วยังมีอาการอยู่ การส่องกล้องจะเข้าไปดูได้ว่ามีแผลหรือไม่ ถ้ามีแผลก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีเชื้อหรือไม่
อย่างไรก็ดีก็อาจจะส่องกล้องทันทีครับ หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
5. สัญญาณอันตราย
สัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้ จะเป็นข้อมูลที่ทำให้แพทย์ส่งส่องกล้องดูกระเพาะอาหารโดยไม่รอการรักษาด้วยยากิน
น้ำหนัก ลดผิดปกติ(มากกว่า10%ใน3เดือน) เบื่ออาหารมาก กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระดำหรือมีเลือดปน ลักษณะการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม ซีดโลหิตจาง อาการรุนแรง มีประวัติโรคมะเร็งของทางเดินอาหารในครอบครัว
6. กินยาโรคกระเพาะโดยไม่ต้องส่องกล้องดีหรือไม่
ปัญหา การรักษาอย่างหนึ่งก็คือผู้ป่วยหลายคนไม่อยากส่องกล้อง และคิดว่าแค่กินยาไปเรื่อยๆก็น่าจะพอ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าสาเหตุของโรคกระเพาะยังมีโรคจากการติดเชื้อและ มะเร็ง ซึ่งหากรักษาด้วยยาลดกรดเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีทางหาย
ข้อควรรู้คือ มะเร็งกระเพาะ กินยาลดกรดในกระเพาะ ก็หายปวดท้องได้....
ดังนั้นถ้าแพทย์บอกว่าควรส่องก็น่าจะไปส่องครับ
7. ประโยชน์ของการรักษาตามแนวทางการรักษา
ปกติแพทย์จะสั่งยาตามมาตรฐานการรักษาอยู่แล้ว หากแต่ว่าการรักษายังต้องการความร่วมมือในการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นจากผู้ป่วย
ถ้า ผู้ป่วยกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาแก้ปวดเป็นประจำและไม่ยอมหยุดยา ก็จะเกิดปัญหาตามมา ก็คือ ถึงเอาไปส่องกล้องก็จะมีโอกาสเจอแผลในกระเพาะสูง จนทำให้แพทย์หลายคนในรพ.รัฐเบื่อที่จะต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพราะผู้ป่วยบางคน ไม่ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ต้องการยาลดกรด นอกจากนี้บางคนยังมีความต้องการส่องกล้องหลายๆครั้ง กล่าวโทษผู้รักษา(ว่ารักษาไม่ดี) ต้องการยาเกินความจำเป็น ก่อความเครียดในทั้งผู้ป่วยและแพทย์
นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดความล่าช่าในการตรวจหามะเร็ง
อย่าง เช่นครั้งหนึ่งที่ผมเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารในผู้ป่วยซึ่งไม่ยอมหยุดการสูบ บุหรี่ดื่มเหล้าและใช้ยาแก้ปวด ส่องไปก็พบแผลขนาดครึ่งซม.เป็นสิบแผลกระจายกันตามตำแหน่งต่างๆ ครั้นจะตัดชิ้นเนื้อจากทุกแผล ก็ทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่ามีแผลมากมาย น่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงได้แล้ว.... (ครั้งสุดท้ายที่พบผู้ป่วยรายนี้ ก็ยังเลิกตัวกระตุ้นเหล่านี้ไม่ได้และยังปวดท้อง)
ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่ร่วมมือในการรักษาอย่างดี ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยงทุกตัว เมื่อนำมาส่องกล้องพบแผลไม่มาก ตัดไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อH pylori จากนั้นได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาลดกรด (สุดท้ายน่าจะหาย แต่ผมก็ไม่ได้เจอผู้ป่วยคนนี้อีกเลย)
ดังนั้นประโยชน์หลักก็คือสามารถตรวจและรักษาได้อย่างดี หากรักษาตามแนวทาง
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์รองก็คือ "ประหยัด"
ยา ม็ดลดกรดranitidine  ราคาประมาณ 50สต.ต่อหนึ่งเม็ด... เมื่อรักษาแล้วไม่หาย แพทย์หลายคนจะปรับเปลี่ยนเป็นยาในกลุ่มPPI เช่นOmeprazole เม็ดละ12บาท (สมัยนี้มีขององค์การเภสัชกรรม ราคาเม็ดละบาท ส่วนรพ.เอกชนปัจจุบัน ก็จะมียากลุ่มนี้อีกหลายๆตัว บางตัวเม็ดละ 50 กว่าบาท) ซึ่งเมื่อปรับเป็นกลุ่มนี้ก็มักปรับเปลี่ยนยาได้ยาก
ผู้ป่วย หลายคน เมื่ออาการไม่ดีขึ้นก็ปรับการใช้ยาเอง จากวันละ1-2เม็ด เป็นกินวันละ4-5เม็ด เสียค่าใช้จ่าย(งบประมาณรัฐ)ไปกับยาเดือนละหลายพันบาท และเสียค่าใช้จ่าย(เงินส่วนตัวผู้ป่วย)ไปกับเหล้าบุหรี่ เดือนนึงๆก็เป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกคือเสียเงินเพื่อทำร้ายตนเองแล้วไม่พอ ยังเบียดเบียนเงินที่จะไปช่วยเหลือผู้อื่นอีก
8. นิ่วในถุงน้ำดี กับโรคกระเพาะ
บาง ครั้งผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษอย่างอื่นมาก่อนในอดีต แล้วได้พบว่ามีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ... บางครั้งผู้ป่วยก็สงสัยว่าทำไมปวดท้อง มีนิ่วแต่ทำไมไม่ทำอะไรกับนิ่ว
ต้องบอก ว่า หลายๆครั้งคนเรามีนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่มีอาการ ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดนี้เป็นปวดลักษณะที่เข้าได้กับ นิ่วหรือไม่ ,และได้หาสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้หรือยัง
พบว่าบางคนการตัดถุงน้ำดีหรือนิ่วออกไปไม่ได้ทำให้หายปวดท้อง
ร้าย ไปกว่านั้น บางคนมีอาการปวดท้องที่เกิดจากการการย่อยไขมันที่ผิดปกติ เมื่อตัดถุงน้ำดีและนิ่วในนั้นไปแล้วปรากฏว่าแทนที่จะหายก็กลายเป็นปวดเสีย ยิ่งกว่าเดิม
9. อาหารของโรคกระเพาะ
ถึง แม้ว่าโรคแผลในกระเพาะจะมีเหตุจากเชื้อโรคได้ แต่ว่าโรคกระเพาะที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคก็ยังมีอีกมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ มีแผล การดูแลแบบเดิมๆที่ทุกคนรู้จักกันดีก็ยังมีประโยชน์อยู่ได้แก่
- กินอาหารให้ตรงเวลา
- ไม่กินอาหารรสจัด(เค็ม เผ็ด เปรี้ยว) อาหารหมักดอง อาหารมันๆ
- ไม่กินของที่มีแก็สหรือก่อแก็ส เช่น น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์จากถั่ว(เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง)
- กินผักผลไม้เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี
การกินอาหารที่ดี จะช่วยลดอาการของโรคกระเพาะได้ครับ
10. สมุนไพรสามารถรักษาโรคกระเพาะได้หรือไม่
เคย มีอยู่พักหนึ่งที่มีการพูดถึงเปล้าน้อยและสารเปลาโนทอลว่าสามารถเอาไปผลิต เป็นยารักษาโรคกระเพาะได้ ช่วงนั้นจำได้ว่าในตลาดค้ายาลูกกลอนมีสมุนไพรที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคกระเพาะ ที่อ้างว่าผลิตจากเปล้าน้อยออกมา....
ยาไทยๆหลายตัวรวมทั้งพืชผักในครัว หลายชนิดมีฤทธิ์สามารถลดอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อได้ดีมาก หาได้ง่าย ราคาถูกและปลอดภัย ดังนั้นถ้าถามว่าสมุนไพรรักษาอาการโรคกระเพาะได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ได้"
แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือ พวกยาที่อ้างว่าเป็นสมุนไพรที่วางขายในท้องตลาด หลายๆตัวผสมสารกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ากินอาหารได้ดีขึ้น อาการเหมือนดีขึ้น แต่ที่จริงแล้วการใช้สเตียรอยด์เป็นประจำจะทำให้กระเพาะเสี่ยงต่อการเกิดแผล และทะลุได้ง่าย
ดังนั้นการเลือกใช้สมุนไพร จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง หากเป็นไปได้ก็ควรทำเองหรือซื้อจากแหล่งที่ไว้ใจได้ครับ

             Link     https://atcloud.com/stories/68001

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด