โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร


3,259 ผู้ชม


โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

              โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

 
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อาหารอักเสบ อาการ โรคกระเพาะ การรักษา โรคกระเพาะ การป้องกัน โรคกระเพาะ
     กระเพาะอาหารอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เพียงบางส่วนหรือบางบริเวณเท่านั้น
 
แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
 
    •   โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน (Erosive gastritis)
    •   โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic-Nonerosive gastritis)
    •   โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดจำเพาะ (Specific types of gastritis)
 
โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน (Erosive gastritis)
 
     หมายถึง ภาวะที่เยื่อบุกระเพาะอาหารมีลักษณะแดงและกร่อน เป็นแผลตื้นๆ หลายแห่ง อาจมีภาวะเลือดออก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเลือดออก (Hemorrhagic gastritis) มักมีสาเหตุมาจาก
 
    •   (พบร่วมกับ) โรคตับแข็งที่มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำตับสูง (portal hypertension)
    •   ยา โดยเฉพาะยาแอสไพริน และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
    •   แอลกอฮอล์
    •   ภาวะที่ร่างกายมีอาการเครียดอย่างเฉียบพลัน เช่น การบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกรุนแรง ภาวะไตวาย ตับวาย ภาวะช็อก หรือการผ่าตัด เป็นต้น
 
โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic-Nonerosive gastritis)
 
    •   ชนิดเอ จะมีความผิดปกติตรงส่วนต้น (Fundus) ของกระเพาะอาหาร มีสาเหตุจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานตัวเอง หรือออโตอิมมูน(Autoimmune) มักมีภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 ร่วมด้วย เนื่องจากไม่สามารถดูดซึมวิตามินชนิดนี้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
    •   ชนิดบี จะมีความผิดปกติตรงส่วนปลาย (Antrum) ของกระเพาะอาหาร แต่ก็อาจลุกลามไปทั่วกระเพาะ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ชื่อ เฮลิโคแบกเตอร์ไพโลไร หรือเอชไพโลไร (Helicobacter pyroli : H.pyroli) โดยที่เชื้อนี้สามารถติดต่อได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปน เปื้อนของเชื้อ แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร

     โรคกระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อชนิดนี้ มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นหรือแผลเพ็ป ติก และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย
 

โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดจำเพาะ (Specific types of gastritis) หมายถึง โรคกระเพาะอาหารอักเสบที่พบร่วมกับโรคต่างๆ เช่น

 
    •   การติดเชื้อรา หรือเชื้อไวรัสในผู้ป่วยเอดส์
    •   การติดเชื้อวัณโรค ซิฟิลิส หรือพยาธิ การถูกสารเคมี
 
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อาหารอักเสบ อาการ โรคกระเพาะ การรักษา โรคกระเพาะ การป้องกัน โรคกระเพาะ อาการและอาการแทรกซ้อน
 
    •   โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบจะมีอาการปวดจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และในบางรายอาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
    •   ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย มักมีประวัติการรับประทานยา ดื่มเหล้า หรือมีภาวะเครียดก่อนมีเลือดออก
    •   ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดง จนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออก โลหิตจาง แล้วจึงตรวจพบจากการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร (Gastroscope)
    •   ผู้ป่วยประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์จะมีเลือดออกร่วมด้วย และจะหายไปเมื่องดยาและเหล้า มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีเลือดออกมากจนต้องให้เลือด ผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอาจจะทำให้มีโอกาสเป็นแผลเพ็ปติกหรือมะเร็ง กระเพาะอาหารต่อไป
 
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อาหารอักเสบ อาการ โรคกระเพาะ การรักษา โรคกระเพาะ การป้องกัน โรคกระเพาะ การรักษา
 
    •   หากมีอาการจุกเสียดแน่นท้องแบบอาการอาหารไม่ย่อย ให้ยาลดกรด ถ้าจุกแน่นมากหรือคลื่นไส้อาเจียน ให้เมโทโคลพราไมด์ร่วมด้วย
    •   ถ้ามีการแสบท้องหรือปวดท้องเวลากลางคืน หรือมีประวัติการรับประทานยาแอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ให้ยาลดกรดร่วมกับยาลดการสร้างกรดนาน 2 สัปดาห์ หากอาการดีขึ้นก็รับประทานต่อไปจนครบ 6-8 สัปดาห์
    •   หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ ควรนำส่งไปโรงพยาบาล หรือมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือช็อก ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที ในกรณีที่มีการเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือดและตรวจหาสาเหตุโดยใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ (Endoscope) เอกซเรย์กระเพาะลำไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม แล้วรักษาตามสาเหตุที่พบ
    •   ในกรณีของผู้ป่วยที่รับประทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือเป็นแผลเรื้อรัง หรือมีน้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมโดยการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำ ไส้ การตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะออกพิสูจน์ (Biopsy) แล้วรักษาตามสาเหตุที่พบ
 
     ในกรณีที่เป็นกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังจากเชื้อเฮลิโคแบกเตอร์ไพ โลไร (เอชไพโลไร) จะให้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อ เมื่อพบว่ามีแผลที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นร่วมด้วย
 
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อาหารอักเสบ อาการ โรคกระเพาะ การรักษา โรคกระเพาะ การป้องกัน โรคกระเพาะ การป้องกัน
 

     มีการศึกษาที่พบว่าโพรไบโอติกสามารถที่จะยับยั้งการเกาะติดของ เชื้อ H.pylori ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบกับผนังลำไส้ได้ นอกเหนือจากนั้นโพรไบโอติกยังสามารถช่วยลดผลข้างเคียงของการใช้ยาปฏิชีวนะใน ระหว่างการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อ H.pylori โดยพบว่าอัตราการฆ่าเชื้อ H.pylori (eradication rate) สูงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกร่วมด้วยเมื่อเทียบกับการได้ รับการรักษาแบบ triple therapy อย่างเดียว

              Link  https://www.interpharma.co.th/webroot/?action=menu&catid=8&subcatid=20

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    ผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร

การผ่าตัดเพื่อการลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องที่ดีจริงๆหรือไม่? ยิ่งถ้าเป็นการผ่าตัดในวุยรุ่นด้วยแล้วจะคุ้มหรือไม่?

แต่ถ้าถามสาวน้อยวัย 21 ปี เคย์ล่า   มาร์ลส ผู้ได้รับการผ่าตัดรัดกระเพาะอาหารของตน (gastric banding) ในเดือน ธ.ค. 2008 เธอก็ยังไม่มีวันลังเลที่จะเลือกการผ่าตัดเช่นเดิม

ที่น่าสนใจ คือวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินทั้งหลายเองก็พร้อมเป็นแนวร่วมที่จะผ่าตัด ส่องกล้องเพื่อรัดกระเพาะอาหารไม่ให้ขยายตัวได้เยอะเกินไป

ที่น่าสนใจคือการรัดกระเพาะนี้มีประสิทธิภาพกว่าการจำกัดอาหารและออกกำลังกายอย่างเดียว!

หากลองฟังชีวิตของมาร์ลส์นักศึกษา ชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยบัฟฟาโล เธอเป็นเด็กซนและชอบเล่นกีฬามาตั้งแต่ยังตัวน้อยแต่เมื่ออายุ 20 ปีเธอหนักถึง 113 กิโล ณ ตอนนั้น มาร์ลส์เองก็ไม่ได้มั่นใจว่าอยากจะรัดกระเพาะจริงๆ

เพราะตัวเองก็ออกกำลังกายเยอะและอายุยังน้อย แต่ท้ายที่สุดเธอก็เลือกที่จะผ่าตัด หลังจากนั้น 1 ปี เธอลดไปได้ 33 กิโล และนั่นทำให้เธอมีความสุขมาก "คือมันก็เจ็บนะแต่ไม่ได้เจ็บจนทนไม่ได้ จะว่าไปให้ทำอีกสามครั้งก็เอาค่ะ" มาร์ลส์กล่าว

แล้วมันคุ้มหรือไม่ที่จะเสี่ยง??

คำตอบคือ การรัดกระเพาะนั้น ไม่อันตรายเท่าการตัดต่อกระเพาะ หรือ การเย็บกระเพาะให้เล็กลง เพราะการรัดกระเพาะนี้เป้นการผ่าตัดด้วยกล้อง หากต้องการปรับขนาดหรือเออาออกก็ทำได้ง่ายดาย

แต่เหรียญย่อมมีสองด้าน 1ใน 3 ของกลุ่มที่รัดกระเพาะจำเป้นต้องได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมตามมา

ดร. โจนาธาน ศัลยแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าว่า "วัยรุ่นเหล่านี้ต้องการจะมียางนี้อยู่ถึงตอนจะเข้าโลง เราก็เห็นกันชัดๆว่าการผ่าตัดลดความอ้วนนั้นเป็นทางออกสุดท้ายของเหล่าเด็กที่อ้วนมากๆ แต่อย่างไรก็ตาม

หน้าที่ของแพทย์ก็คือหาวิธีที่ดีที่สุดมาใช้รักษา และนั่นเป็นงานที่พวกเรายังคงต้องทำต่อไป"

เดวิด อาเธอเบิร์น หนึ่งในทีมวิจัยเองก็กล่าวว่า "เด็กๆพวกนี้ควรจะรู้ว่าอาจจะต้องผ่าซ้ำ "

ข้อมูลใหม่ๆ สนับสนุนให้ผ่าตัด

แม้ว่า FDA จะพยายามทำให้การรัดกระเพาะนี้เป็นไปได้ในเด็กอายุ 14-17 ปี เพราะในตอนนี้การรักษาวิธีนี้ใช้ได้อย่างถูกกฎหมายในผู้ใหญ่เท่านั้น

แต่งานวิจัยล่าสุดนี้น่าจะช่วยให้วิธีการนี้แพร่หลายมากขึ้น พบว่าวิธีการรัดดกระเพาะนี้ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าการจำกัดอาหารและออกกำลังกายถึง 2 เท่าในเวลาสองปี

หากจะลงไปในรายละเอียดคือ งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน Journal of the American Medical Association

โดยแบ่งกลุ่มเด็กอ้วนวัย 14-17 ปี เป็นสองกลุ่ม

กลุ่มที่ 1    ผ่าตัดรัดกระเพาะ และฝึกการกินอาหารหลังผ่า

กลุ่มที่ 2    จำกัดอาหารและออกกำลังกายออย่างหนักหน่วง

ผ่านไปสองปี กลุ่มที่รัดกระเพาะลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 34.5 กิโล ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ลดได้เฉลี่ยเพียง 3 กิโลกรัม ที่สำคัญบางคนน้ำหนักเพิ่มด้วย

เมื่อมาดูการศึกษาของ ดร.มิทเชลล์ (ศัลยแพทย์ของ มาร์ลส์) เราอาจเปลี่ยนใจแล้วบอกว่า การผ่าตัดนี่ล่ะ ที่เหมาะกับวัยรุ่นที่สุดแล้ว

"ถ้าเราไม่ผ่าให้ เด็กๆก็จะพยายามลดอาหาร พอไม่ได้กินอะไรแล้วก็จะหิว (หรือคุณไม่หิว) พอหิวแล้วสุดท้ายก็ทนไม่ไหวแล้วก็จะกินในที่สุด

นี่ไม่ใช่เรื่องของการไม่มีกำลังใจหรือไม่รู้ว่าอะไรควรกินไม่ควรกิน ทั้งหมดนี่คือคำง่ายๆ หิว!"

 "ใครๆก็ทราบดีว่าสิ่งที่ดีที่สุดของการลดน้ำหนักคือ การไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม แต่หากว่ามันอ้วนไปแล้วเราก็จะต้องรีบจัดการทันที แต่ก็นั่นล่ะ เมื่อพวกเขาเข้ามาหาเราที่แผนกศัลยกรรม ก็หมายความว่าอดอาหารน่ะ มันไม่ได้ผลแล้ว"

มีการศึกษาที่เห็นได้ชัดว่าแม้จะมีเทรนเนอร์ส่วนตัว จำกัดอาหาร ออกกำลังกายเป็นกลุ่มใหญ่ ในเวลาสองปี มีเพียง 12% ที่ลดน้ำหนักได้ ครึ่งหนึ่งของที่ควรจะลดได้!

งานวิจัยนี้พอจะหมายรวมได้ว่ากลวิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่อ้วนมากมากเอาซะเลย

ต่างกับกลุ่มที่ใช้การผ่าตัดช่วย เด็กๆได้รับการสอนเรื่องอาหารการกินหลังผ่าตัด เมื่อเวลาผ่านไปสองปีเท่ากัน มีถึง 84% ที่ลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมาย

เพราะการผ่าตัดเป็นการไปเปลี่ยนแปลงขนาดของกระเพาะ ทำให้สมองเข้าใจไปว่าเต็มกระเพาะแล้ว อิ่มแล้วได้เร็วขึ้น เด็กๆจึงกินได้น้อยลงนั่นเอง

"คนมักคิดว่าการผ่าตัดเป็นทางออกง่ายๆสบายๆ ที่จริงน่ะมันเป็นแค่เครื่องมือที่จะทำให้ช่วยลดน้ำหนักได้ อย่างจริงจัง เท่านั้นเอง" มาร์ลสเสริม

อีกประเด็นคือ จิตใจ ในทางการแพทย์นั้นมักไม่ทำหัตถการหรือการผ่าตัดใดๆหากไม่มีข้อบ่งชี้ ดังนั้นในกรณีของเด็กๆที่อ้วนจนไม่สวย แต่ยังไม่อันตรายถึงชีวิต

การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่ต้องคุยกันยาว    ศัลยแพทย์โรสลิน กล่าวว่า "โลกนี้น่ะ โหดร้ายกับคนอ้วนมากกว่าที่พวกคุณคิด มันไม่มีข้อบ่งชี้ก็จริง แต่ความจริงแล้วเราควรมองลึกไปถึงจิตใจ

ของคนไข้มากกว่านะคะ แม้ว่าจะไม่มีเกณฑ์ประเมินความบอบช้ำ การโดนกลั่นแกล้ง การสูญเสียความมั่นใจในตนเอง แต่พวกคุณกล้าบอกได้เหรอ ว่าเด็กๆที่อ้วนน่ะมีความสุขดี เพราะฉันมั่นใจว่า

หากพวกเขาน้ำหนักตัวลดลง เขาจะมีความสุขกับชีวิตเพิ่มขึ้นแน่ๆ"

ปิดท้ายด้วย คำพูดของเด็กสาวที่เคยอ้วน  มาร์ลส์  "ฉันรู้สึกมั่นใจในตัวเองขึ้นเยอะเลย เยอะจนเพื่อนๆทักว่าฉันเปลี่ยนไป คือไม่ใช่ว่าชีวิตตอนที่อ้วนจะเศร้าไปซะหมดนะคะ แต่ในตอนนี้ฉันแค่รู้สึกเหมือนได้ชีวิตใหม่น่ะ แค่คิดก็รู้สึกดีแล้วว่าต่อไปนี้ คนอื่นๆจะมองฉันที่ตัวฉัน ไม่ได้มองฉันที่ น้ำหนักตัว ของฉันน่ะค่ะ"

แปลจาก: https://abcnews.go.com/Health/Wellness/teen-weight-loss-surgery-gastric-bands-worth-risk/story?id=9786842

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                          แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

การค้นพบ Helicobacter pylori เชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร กับ รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ปี ค.ศ.2005 ขอ

 
โดย มติชน วัน พุธ ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 04:18 น.
 
  โดย รศ.พญ.วโรชา มหาชัย ผู้อำนวยการศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ โรพยาบาลกรุงเทพ

Professor J. Robin Warren

การค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ของ Professor J. Robin Warren ได้ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1979 ได้เป็นที่ยอมรับและได้เป็นการเปิดมิติใหม่ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งถือว่าการค้นพบในครั้งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับมวลมนุษยชาติไว้ อย่างมาก ทำให้ Professor J. Robin Warren ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์เมื่อปี 2005 ร่วมกับ Professor Barry Marshall (Nobel Prize in Physiology or Medicine 2005) ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร

แผลในลำไส้เล็ก แผลในกระเพาะอาหาร

ถือเป็นโอกาสดีของแพทย์ไทยที่จะได้พบปะพูดคุยกับ Professor J. Robin Warren ที่ได้มาเยี่ยมเยียนประเทศไทย ในการประชุมวิชาการประจำปี ของศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยจะบรรยายในหัวข้อเรื่อง The Ease and Difficulty of a New Discovery ในวันที่ 25 มีนาคม 2551 เวลา 09.00-10.00 น. ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย

แต่ก่อนอื่นขอถือโอกาสนี้ในการอธิบายความเป็นมาของเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้

เชื้อ Helicobacter pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีรูปร่างเกลียว (spiral) สามารถพบเชื้อได้ในกระเพาะอาหารของประชากรทั่วโลกมากถึง 50% และจะพบได้ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก สายพันธุ์ของเชื้อจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิภาค และการย้ายถิ่นฐานก็จะทำให้เกิดการผสมระหว่างสายพันธุ์ขึ้นได้ เชื้อสามารถอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้นานหลายสิบปีและมักจะติดเชื้อตั้งแต่เด็ก

เชื้อ Helicobacter pylori

เชื้อ Helicobacter pylori

Professor J. Robin Warren เป็นผู้ที่ค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ร่วมกับ Professor Barry Marshall ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบปรากฏว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ และการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งในช่วงแรกของการค้นพบยังไม่เป็นที่ยอมรับกันมากนัก ในปี ค.ศ.1979 Professor J. Robin Warren ได้ค้นพบเชื้อในเยื่อบุกระเพาะอาหารเป็นครั้งแรกโดยการตรวจทางพยาธิสภาพ และได้ทำการทดลองร่วมกับ Professor Barry James Marshall ที่ประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ.1982 พบว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีผลทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ และสามารถเพาะเชื้อนี้จนทราบว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Helicobacter pylori

แทบไม่มีใครเชื่อว่า การค้นพบในครั้งนั้นจะส่งผลต่อการรักษาโรคเพาะอาหารเป็นอย่างมาก และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการตระหนักและให้ความสำคัญกับการค้นพบเชื้อแบคทีเรียชนิด นี้กันมากขึ้น โดยมีอุบัติการณ์การค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นจำนวนมาก

สำหรับในประเทศไทยก็พบว่ามีอุบัติการณ์การติดเชื้อสูงเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่พบผู้ป่วยที่พัฒนาเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากนัก ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม พันธุกรรม และการบริโภคอาหาร ซึ่งสายพันธุ์ของเชื้อจะแบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์ขึ้นอยู่กับภูมิภาค

ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อมีความเชื่อว่าอาจติดมาจากการปนเปื้อนอยู่ในอาหาร และอุจจาระซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปาก โดยส่วนมากจะพบอัตราการติดเชื้อตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่การแสดงออกทางอาการส่วนมากจะพบได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว และจะพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงไม่ทราบที่มาของการติดเชื้อที่แน่ชัด มีความเชื่อว่าการบริโภคผักและผลไม้สด ลดการบริโภคอาหารเค็มจัด และการรับประทานวิตามินซีจะช่วยลดการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ นั่นอาจเป็นเพราะว่าในปัจจุบันมีกรรมวิธีในการเก็บรักษาอาหารที่ดีขึ้น เช่น การเก็บรักษาอาหารในตู้เย็น เป็นต้น

จากการศึกษาวิจัยของ ผู้เขียนกับทีมผู้วิจัยในประเทศไทยพบว่า สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ในประเทศไทยมีสายพันธุ์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นในแถบเดียวกัน โดยอาจจะเป็นสายพันธุ์ South/Central Asian Genotypes ส่วนในประเทศญี่ปุ่นอาจจะเป็นสายพันธุ์ East Asian Genotype โดยเชื่อว่าการที่สายพันธุ์มีความหลากหลายอาจเกิดจากการย้ายถิ่นฐานของ มนุษย์เป็นสำคัญ วิธีการรักษาหากพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดหรือใช้ยาเคมีบำบัด

กรณีที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาอาหารก็ควรที่จะได้รับการตรวจหาเชื้อ แบคทีเรียชนิดนี้ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร วิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีส่องกล้อง ซึ่งแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อออกมา แล้วตรวจด้วยวิธี CLO-test หรือ Rapid urease test โดยดูปฏิกิริยาของเชื้อซึ่งจะทราบผลภายใน 1 ชั่วโมง หรือวิธีการเป่าลมหายใจ 13C-UBT เป็นวิธีการที่จะตรวจหาเชื้อแบคทีเรียโดยตรวจภายหลังจากการได้รับการรักษา ด้วยยาปฏิชีวนะแล้ว เพื่อติดตามว่ากำจัดเชื้อได้หมดหรือไม่

วิธีการที่ 1 และ 2 เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากกว่าวิธีอื่น นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการตรวจอื่นๆ อีก เช่น การตรวจหา Antibody ในเลือดหรือการตรวจในอุจจาระ ปัสสาวะ และวิธีการย้อมชิ้นเนื้อเพื่อดูแบคทีเรีย ซึ่งต่างก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก การตรวจพบเชื้อมีความสัมพันธ์กับแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer) มากถึง 80% และแผลในกระเพาะอาหารพบการติดเชื้อได้ถึง 50% ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการรักษาหรือป้องกัน

ถือได้ว่าการค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ทำให้พลิกโฉมแนวทางวิธีการรักษาอาการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารอย่างแท้ จริง ทำให้สามารถรักษาโรคกระเพาะให้หายขาดไม่เป็นเรื้อรัง และลดปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหารนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการ แพทย์ทั่วโลกเลยทีเดียว

หมายเหตุ : เนื่องด้วย Professor J.Robin Warren ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาด้านการแพทย์ ประจำปี ค.ศ.2005 เรื่องการค้นพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารและมะเร็งกระเพาะ อาหาร ได้ให้เกียรติเป็นแขกรับเชิญของ รศ.พญ.วโรชา มหาชัย ในการอบรมระยะสั้น สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ครั้งที่ 5 ณ ห้องประชุมเฉลิมพรมมาส ตึก อปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วันที่ 24 มีนาคม 2551 เวลา 09.10 น. และในการประชุมวิชาการประจำปี ของโรงพยาบาล วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2551 เวลา 09.10 น.

จึงขอเชิญแพทย์ พยาบาล และผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ได้ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว

       
                     Link   https://news.sanook.com/scoop/scoop_261963.php

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อัพเดทล่าสุด