เลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารทะลุ กระเพาะอาหารทะลุ


20,920 ผู้ชม


เลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารทะลุ กระเพาะอาหารทะลุ

               เลือดออกในกระเพาะอาหาร

 เลือดออกในทางเดินอาหาร 

เลือด ออกในทางเดินอาหารเกิดได้หลายสาเหตุ ซึ่งบางกรณีไม่ถึงชีวิต แต่บางกรณีจะถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุของเลือดออก โดยทั่วไปรักษาหรือควบคุมได้ เช่น ริดสีดวง สาเหตุของเลือดออกไม่ค่อยน่าหนักใจแต่การหาตำแหน่งเลือดออกเป็นสิ่งจำเป็น มากกว่า

ทาง เดินอาหารคนเราประกอบด้วย หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก, ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การมีเลือดเกิดจากตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือหลายๆ ตำแหน่งจากอวัยวะเหล่านี้ อาจเกิดจากแผลเล็กๆในกระเพาะอาหาร หรือมีการอักเสบเป็นบริเวณกว้างในลำไส้ การมีเลือดออกบางครั้งเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้สังเกต ซึ่งการตรวจต้องตรวจจากอุจจาระเพื่อหาเลือดปริมาณน้อยๆ ที่ตามองไม่เห็น

PhyathaiHospital_article_GI07

 สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในทางเดินอาหาร
กรด ในกระเพาะสามารถทำให้เกิดการอักเสบและเลือดออกที่หลอดอาหารส่วนปลาย ภาวะนี้เรียกว่าหลอดอาหารอักเสบ บางครั้งกล้ามเนื้อหูรูดตรงตำแหน่งปลายของหลอดอาหารตรงส่วนที่ต่อกับกระเพาะ อาหารไม่สามารถหดตัวได้ดี ทำให้อาหารและน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้ามาในหลอดอาหาร จะทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ การมีเส้นเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง (varices) ตรงบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งอาจมีการแตกของหลอดเลือดจะทำให้มีเลือดออกในหลอดอาหารหรืออาจเกิดจากการ ฉีกขาดของเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากการอาเจียนมากและนานรวมถึงสาเหตุจากการเพิ่มความดันในท้องจาก อาการไอ

กระเพาะ เป็นตำแหน่งที่มีเลือดออกบ่อยๆ สุรา, แอสไพริน, ยาแก้ปวดข้อและกระดูกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลและการอักเสบของกระเพาะ การมีแผลเฉียบพลันหรือการมีแผลเรื้อรัง ทำให้แผลใหญ่ขึ้นและจะเซาะไปโดนหลอดเลือดทำให้เกิดเลือดออก คนไข้ที่มีความเจ็บปวดจากการถูกไฟลวก, ภาวะช็อค, มะเร็ง, ภาวะกระทบกระเทือนทางศีรษะ หรือการได้รับการผ่าตัดใหญ่จะทำให้เกิดภาวะแผลจากความเครียด เลือดอาจจะออกจากก้อนเนื้อมะเร็งในกระเพาะ

  สาเหตุที่มีเลือดออกบ่อยที่สุดในทางเดินอาหารส่วนต้น คือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างมาจากลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ริดสีดวงทวารเป็นตำแหน่งที่มีเลือดออกมากที่สุด โดยจะเห็นเป็นเลือดแดงสด ริดสีดวงทวารเกิดจากหลอดเลือดดำตรงทวารหนักที่โตขึ้นและแตกออกจึงมีเลือดออก มาเวลาถ่ายหรือทำความสะอาด อย่างไรก็ตามควรนึกถึงสาเหตุของมะเร็งลำไส้ได้ ก้อนเนื้อนี้จะทำให้เกิดเลือดออกที่มองเห็นด้วยตาหรืออาจมองไม่เห็นด้วยตา ในคนไข้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ บางคนจะมาด้วยเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ

การ อักเสบในลำไส้ใหญ่จากหลายๆ สาเหตุ สามารถทำให้เกิดเลือดออกเป็นจำนวนมากในลำไส้ใหญ่ได้ การติดเชื้อในลำไส้ใหญ่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกเป็นจำนวนมากได้ สุดท้ายนี้ ยิ่งคนอายุมากขึ้นหลอดเลือดในลำไส้ใหญ่อาจมีความผิดปกติ ซึ่งทำให้มีเลือดออกได้

 จะรู้ได้อย่างไรว่ามีเลือดออก
อาการ ของเลือดออกในทางเดินอาหาร ขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรงของเลือดที่ออก ถ้าเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ส่วนล่างหรือแถวทวารหนัก จะเห็นเป็นเลือดสีแดงเคลือบหรือผสมกับอุจจาระที่ออกมา ถ้าตำแหน่งที่เลือดออกอยู่สูงขึ้นไปในลำไส้ใหญ่หรือส่วนปลายของลำไส้เล็ก อุจจาระที่ออกมาอาจผสมกับเลือดที่เป็นสีดำ เมื่อมีเลือดออกในหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น อุจจาระที่ออกมาจะเป็นสีดำแดงและถ้าอาเจียนออกมาอาจจะเป็นสีแดงหรือสีกาแฟ ถ้าเลือดที่ออกจำนวนไม่มาก จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ถ้ามีเลือดออกในอุจจาระเป็นจำนวนมากทันทีทันใด คนไข้จะรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม หายใจเร็ว หรืออาจมีปวดเกร็งในท้องหรือท้องเสีย ภาวะช็อคที่เกิดขึ้นเมื่อชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำลงและไม่ค่อยจะมีปัสสาวะ คนไข้จะซีดมาก ถ้าเลือดออกช้าๆ และเป็นมานาน คนไข้จะค่อยๆ อ่อนแรง ไม่ค่อยมีแรง หายใจสั่นและซีด ซึ่งเป็นภาวะซีดเกิดจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรัง

 การวินิจฉัยเลือดออกในทางเดินอาหาร
เมื่อ เวลามีเลือดออกในทางเดินอาหารต้องพยายามหาตำแหน่งของเลือดออกให้ได้ การซักประวัติและการตรวจร่างกายของแพทย์จะช่วยได้มาก อาการแสดง เช่น ลักษณะการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สีอุจจาระเปลี่ยนไป เช่น ดำหรือแดง และลักษณะอุจจาระจากแข็งเป็นเหลว รวมถึงตำแหน่งที่ปวดจะช่วยบอกถึงตำแหน่งในทางเดินอาหารแก่แพทย์ การกินอาหารที่มีธาตุเหล็กจะทำให้อุจจาระมีสีดำได้ ดังนั้นแพทย์อาจจะตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดที่ผสมอยู่ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยการตรวจความเข้มข้นของเลือดจะช่วยบอกถึงภาวะซีดที่มี สาเหตุมาจากภาวะขาดเลือดเรื้อรัง

 การส่องกล้องตรวจ (Endoscopy)
การ ส่องกล้องตรวจเป็นวิธีการที่จะเห็นตำแหน่งที่มีเลือดออกเนื่องจากการ ส่องกล้องตรวจ จะช่วยบอกถึงตำแหน่งการมีหรือไม่มีเลือดออก รวมทั้งยังสามารถห้ามเลือดที่กำลังออกได้ กล้องที่ใช้ส่องตรวจเป็นเครื่องมือที่เป็นท่อ สามารถโค้งงอไปมาได้สามารถใส่เข้าปากหรือทางทวารหนัก เครื่องมือนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Esophagoduodenoscopy), ลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy), ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy) เพื่อเก็บชิ้นเนื้อตรวจ (Biopsies) ถ่ายภาพและหยุดเลือดออก

 การตรวจวิธีอื่นๆ
  การกลืนหรือสวนแป้ง x-ray โดยทั่วไปจะบอกตำแหน่งของเลือดออกได้ไม่ดีเท่าการส่องกล้องตรวจและข้อเสีย ของการกลืนหรือสวนแป้งคือ จะไปรบกวนการตรวจโดยวิธีอื่น เนื่องจากแป้งจะค้างอยู่ในลำไส้ การ x-ray จะทำให้ไม่สามารถตรวจชิ้นเนื้อและไม่สามารถทำการรักษาเพื่อหยุดเลือดออกได้
  การฉีดสีเข้าหลอดเลือด เป็นการดูตำแหน่งที่สีรั่วออกมาจากหลอดเลือด เพื่อช่วยหาตำแหน่งที่มีเลือดออก บางกรณีวิธีนี้ยังใช้ในการรักษาโดยใส่ยาเข้าในหลอดเลือดเพื่อหยุดเลือดออก ได้
  การใช้สารกัมมันตรังสี เป็นการตรวจหาตำแหน่งของเลือดออกในกรณีที่เลือดค่อยๆ ออก

 จะรักษาภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารอย่างไร
การ ส่องกล้องตรวจจะทำให้แพทย์เห็นตำแหน่งเลือดออกและสามารถหยุดเลือดได้ดี ภาวะเลือดออกเฉียบพลันในทางเดินอาหารส่วนต้นสามารถหยุดเลือดโดยใช้เข็มใส่ ผ่านกล้อง เข้าไปตำแหน่งที่เลือดออก และฉีดสารเพื่อหยุดเลือดออก บางครั้งแพทย์จะใช้ไฟฟ้าซึ่งแปลงเป็นความร้อนในการจี้เพื่อให้เลือดหยุด จนถึงการใช้คลิป เพื่อเข้าไปหนีบหลอดเลือด เพื่อให้เลือดหยุดเมื่อเลือดหยุด การรักษาขั้นต่อไปคือการใช้ยา แพทย์จะสั่งยาให้รับประทานเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ ยาจะออกฤทธิ์ทำให้แผลหายเร็วขึ้น รวมถึงการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobacterpylori) เพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ การตัดติ่งเนื้อจากลำไส้ใหญ่ที่เป็นสาเหตุของเลือดออกจะช่วยให้หยุดเลือดออก ได้ การรักษาริดสีดวงโดยการรัด, ฉีด, จี้ จะช่วยลดการเกิดเลือดออกซ้ำ เมื่อการส่องกล้องไม่สามารถหยุดเลือดออกได้ การผ่าตัดหรือการฉีดสีเข้าหลอดเลือดจะช่วยทำให้เลือดหยุดในกรณีที่ออกมากและ รุนแรง
 

ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลพญาไท
โทร.1772

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


           โรคกระเพาะอาหารทะลุ

มาป้องกันโรคกระเพาะอาหารทะลุกันเถอะ


โรคกระเพาะอาหารทะลุ
กระเพาะ ทะลุมักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะที่ไม่ได้รับ การรักษาอย่างจริงจัง ผู้ป่วยมักมีประวัติปวดท้องแบบโรคกระเพาะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือมีประวัติชอบกินยาแก้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดข้อ (เช่น ยาแก้ปวดที่เข้าแอสไพริน, ยาชุด) ดื่มเหล้า เป็นประจำผู้ป่วยจะมีแผลที่กระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ค่อย ๆ กินลึกจนทะลุเป็นรู แล้วกลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และโลหิตเป็นพิษ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

อาการ
  1. ผู้ ป่วยจะมีอาการปวดเสียดแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดและรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อน และปวดติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง ๆ (มักเป็นนานเกิน 6 ชั่วโมง) กินยา ฉีดยาอะไรก็ไม่ได้ผล อาการปวดท้องมักลุกลามไปทั่วท้องอย่างรวดเร็ว และอาจรู้สึกปวดร้าวไปที่หัวไหล่ข้างเดียวหรือสองข้าง ผู้ป่วยมักจะนอนนิ่ง ๆ เพราะหากขยับเขยื้อนจะรู้สึกปวดมากขึ้น
  2. บางคนอาจมีการคลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม มีภาวะขาดน้ำและช็อคได้

การตรวจร่างกาย

สิ่ง ตรวจพบมีอาการกดเจ็บ (tenderness), กดปล่อยแล้วกดเจ็บ (rebound tenderness) และท้องแข็ง (guarding) ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ ใช้เครื่องฟังตรวจที่หน้าท้อง จะได้ยินเสียงโครกครากลดน้อยกว่าปกติ หรือแทบไม่ได้ยินเลย ชีพจรมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที บางคนอาจมีอาการช็อก หรือกระสับกระส่ายเหงื่อออก ตัวเย็น ความดันเลือดตกบางคนมีไข้ขึ้น


การ รักษาหากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลด่วนในรายที่อาการไม่ชัดเจน ถ้าปวดจากอาการกระเพาะเกร็งเมื่อได้รับลดปวดมักจะหายปวดได้ แต่ถ้าไม่หายปวดใน 15-30 นาที ก็น่าจะสงสัยว่าเป็นกระเพาะทะลุ ระหว่างส่งโรงพยาบาลควรให้งดน้ำและอาหารเพื่อเตรียมผ่าตัด มักจะตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์ ถ้าเป็นจริงต้องผ่าตัดทุกราย

หลักการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคกระเพาะอาหารทะลุ

  • กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
  • กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
  • กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา
  • งดสูบบุหรี่
  • งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
  • ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
  • กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
  • ถ้ามีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์
           Link    https://surgery1700.blogspot.com/2009/06/blog-post.html

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


         กระเพาะอาหารทะลุ

ชื่อ

กระเพาะอาหารทะลุ / แผลเพ็ปติกทะลุ

ลักษณะทั่วไป

กระเพาะทะลุ/แผลเพ็ปติกทะลุ มักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ (แผลเพ็ปติก) ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ผู้ป่วยมักมีประวัติปวดท้องแบบโรคกระเพาะ เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือมีประวัติชอบกินยาแก้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดข้อ (เช่น ยาแก้ปวดที่เข้าแอสไพริน, ยาชุด) ดื่มเหล้า เป็นประจำ ผู้ป่วยจะมีแผลที่กระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ค่อย ๆ กินลึกจนทะลุเป็นรู

สาเหตุ

-

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียดแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดและรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อน และปวดติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง ๆ (มักเป็นนานเกิน 6 ชั่วโมง) กินยา ฉีดยาอะไรก็ไม่ได้ผล อาการปวดมักลุกลามไปทั่วท้องอย่างรวดเร็ว และอาจรู้สึกปวดร้าวไปที่หัวไหล่ข้างเดียวหรือสองข้าง ผู้ป่วยมักจะนอนนิ่ง ๆ เพราะหากขยับเขยื้อนจะรู้สึกปวดมากขึ้น บางคนอาจมีการคลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม

สิ่งที่ตรวจพบ

มีอาการกดเจ็บ (tenderness), กดปล่อยแล้วกดเจ็บ (rebound tenderness) และท้องแข็ง (guarding) ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ ใช้เครื่องฟังตรวจที่หน้าท้อง จะได้ยินเสียงโครกครากลดน้อยกว่าปกติ หรือแทบไม่ได้ยินเลย ชีพจรมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที บางรายอาจมีอาการช็อก หรือกระสับกระส่ายเหงื่อออก ตัวเย็น ความดันตก บางรายอาจมีไข้ขึ้น

อาการแทรกซ้อน

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันการ มักทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงตายได้

การรักษา

หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลด่วน ในรายที่อาการไม่ชัดเจน ให้ลองฉีดยาแอนติสปาสโมดิก เช่น อะโทรพีน, ไฮออสซีน ดูก่อน ถ้าปวดจากอาการกระเพาะเกร็ง มักจะหายปวดได้ แต่ถ้าไม่หายปวดใน 15-30 นาที ก็น่าจะสงสัยว่าเป็นกระเพาะทะลุ ระหว่างส่งโรงพยาบาล ควรให้งดน้ำและอาหารเพื่อเตรียมผ่าตัด ถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก ควรให้น้ำเกลือไประหว่างทางด้วย มักจะวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าเป็นโรคนี้จริงต้องผ่าตัดฉุกเฉินทุกราย

คำแนะนำ

1. โรคนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรง หากสงสัย (เช่น มีอาการปวดท้องรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือปวดนานเกิน 6 ชม.) ควรส่งโรงพยาบาลด่วน การรักษาที่ถูกต้อง คือ การผ่าตัด ซึ่งมักจะช่วยให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนาน ก็ยิ่งมีอันตรายมากขึ้น 2. โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่ดื่มเหล้า หรือกินยาแก้ปวด หรือยาชุดเป็นประจำ และถ้ามีอาการของโรคกระเพาะ ควรหาทางรักษาให้หายขาด อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง

การป้องกัน

-

หมายเหตุ

อาการปวดท้องติดต่อกัน นานเกิน 6 ชั่งโมง มักมีสาเหตุร้ายแรง

             Link   https://student.nu.ac.th/bigger/Show_syn.asp?id_d=d52

อัพเดทล่าสุด