อาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร


122,245 ผู้ชม


อาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

       อาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

กระเพาะอาหารอักเสบ

โรคเรื้อรังที่เป็นๆ หายๆ

พบ 62 %ของผู้ป่วยที่ปวดท้องกว่า 3 พันราย มีสาเหตุจากแผลในกระเพาะอาหาร

คน ทั่วไปมักจะเข้าใจว่าอาการปวดท้องหรือไม่สบายในท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ ที่เป็นๆหายๆมานานนั้น เป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งมักคิดว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แท้จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ภายในช่องท้องก็เป็นได้

โรคกระเพาะอาหารเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อย ที่สำคัญได้แก่ โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร

ส่วน ใหญ่พบว่าผู้ป่วยมักไปพบแพทย์ด้วยเรื่องอาการปวดท้องเรื้อรังเป็นๆ หายๆ หรือรู้สึกไม่สบายในท้องบริเวณลิ้นปี่ บางคนอาจมีอาการอืดแน่นท้อง แสบลิ้นปี่ มีเรอแน่น คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้

เมื่อ ดูสาเหตุของโรคจะพบว่าข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราชแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยเรื่องปวดท้อง ไม่สบายในท้องบริเวณลิ้นปี่จำนวนเกือบ 3 พันราย มีสาเหตุมาจากโรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบประมาณ 62 % เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก 21 % เป็นโรคหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน 5 % มะเร็งกระเพาะอาหารประมาณ 2 % และที่เหลือเป็นโรคอื่นๆอีก 9.8 % อาทิ โรคนิ่วในถุงน้ำดี , โรคเกี่ยวกับตับอ่อน เป็นต้น

คน ไข้ในกลุ่มที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบอาจจะมีอาการปวดจุกแน่นท้อง ไม่สบายท้อง อืดแน่นท้อง เรอ ย่อยลำบาก แสบยอดอก คลื่นไส้ โดยอาการอาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหารก็ได้ โดยมีอาการเรื้อรังเป็นมานาน อาการเป็นๆ หายๆ บางรายอาจจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นเอง หรือดีขึ้นหลังได้ยาลดกรด บางรายจะมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารโดยผู้ป่วยในกลุ่ม นี้อาจมีอาการได้ดังต่อไปนี้

ปวด หรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นเวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว อาจมีอาการเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน

อาการปวดแน่นท้อง อาจจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด

อาการปวดมักจะเป็นๆ หายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น อาจปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก

ส่วนใหญ่มักจะไม่ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว

อาจ จะมีอาการสัมพันธ์กับความเครียด แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรมโรคนี้จะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม

โดยทั่วๆไป ผู้ป่วยจะมีสุขภาพดี ไม่ควรมีอาการของการเสียเลือด เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ น้ำหนักลด ปวดท้องรุนแรง หรือมีไข้

สาเหตุของโรค

ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริงเชื่อว่าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นเรื้อรัง คือ

1. การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

2. ความไวของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไป

3. มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก อาทิ อาหาร, ยา เป็นต้น

4. เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอรี่

5. สภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

เป็นการอักเสบของเยื่อบุด้านในกระเพาะอาหารทั้งหมด หรือบางบริเวณเท่านั้น แบ่งเป็น

1. โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลัน หมายถึง โรคที่เป็นในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ก็หาย อาการสำคัญคือ จะปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักเป็นเวลากินอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน ในรายที่รุนแรง จะมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำได้ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย สาเหตุที่พบบ่อย คือ จากอาหารเป็นพิษ พิษสุรา และจากยาที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น ยาแอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบ

2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการของโรคเป็นแบบเรื้อรัง เป็นๆ หาย ๆ การใช้ยาจะช่วยอาการให้ดีขึ้นในผู้ป่วยบางราย บางรายแม้ไม่ได้ใช้ยาอาการก็ดีขึ้นเอง แต่ไม่พบการเกิดโรคร้ายหรือโรคอื่นๆแตกต่างไปจากคนปกติทั่วๆไป

หลักการปฏิบัติตัว

กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย

กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ

กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ

หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา

งดสูบบุหรี่

งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด

ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ

กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหาร

ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์

พึง ระลึกไว้เสมอว่า โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาบางช่วง หรือใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ที่สำคัญจะต้องปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่ออาการจะได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 เรียบเรียงโดย : จุฑารัตน์ สมจริง Team Content www.thaihealth.or.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             โรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า โรคกระเพาะอาหาร หมวด

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า โรคกระเพาะอาหาร เกิด จากสาเหตุหลายประการ และมีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อนมาก สาเหตุมาจากกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยจะเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ร่วมกับมีความบกพร่องของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดไม่ดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด สุรา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

‘เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร’ อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปัจจุบันพบว่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหาง มีความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่ รอบๆตัวมัน  ทำให้สามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้ และยังสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงนับเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขณะที่ทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นต้นเหตุทำให้แผลหายช้า และทำให้แผลที่หายแล้วกลับเป็นซ้ำได้อีก รวมถึงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย
อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปวด หรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หรือช่องท้องช่วงบน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด มักเป็นในช่วงท้องว่างหรือหิว โดยอาการดังกล่าวมักไม่เป็นตลอดทั้งวัน
อาการปวดแน่นท้องที่บรรเทาลง ได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น
อาการปวด มักเป็นๆ หายๆ นานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์และหายไป หลายๆ เดือนจึงกลับมาปวดอีกครั้ง
ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้วจนต้องตื่นขึ้นมา
ใน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการปวดท้องแต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือกลางท้อง รอบสะดือ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารจะมีท้องอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อย และน้ำหนักลดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพทั่วไปมักไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด รวมถึงไม่มีภาวะซีดร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลใน กระเพาะอาหาร พบได้ประมาณร้อยละ 25-30 อาทิ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำ เหนียว คล้ายน้ำมันดิน หรือมีหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน รุนแรง หน้าท้องแข็ง ตึง กดเจ็บมาก กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะรับประทานได้น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

การวินิจฉัยโรค แผลในกระเพาะอาหารในปัจจุบันถือว่าการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานและดีที่สุด ในทางการแพทย์ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารและได้รับการรักษาด้วยยา ลดกรดแล้วอย่างน้อย 1 เดือนแล้วอาการไม่ทุเลาควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เนื่องจากแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันที
การรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1.การรักษาสาเหตุ
ใน กรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้การรักษาโดยมีสูตรยา 3-4 ชนิดร่วมกัน รับประทานนาน 1-2 สัปดาห์ สูตรยาส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะร่วมกับยาลดกรด เพื่อรักษาแผลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อซ้ำภายหลังจากได้รับประทานยาปฏิชีวนะครบแล้ว โดยอาจเป็นการตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหารอีกครั้งเพื่อทำการพิสูจน์ ชิ้นเนื้อซ้ำ หรือทดสอบโดยการรับประทานยาสำหรับทดสอบเชื้อแบคทีเรียโดยตรง และตรวจวัดสารที่ถูกปล่อยออกมาทางลมหายใจ ทั้ง 2 วิธีถือเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน  หลังตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรีย โอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กซ้ำจะมีน้อยกว่า 10% ภายใน 1 ปีหลังได้รับการรักษา  ส่วนการรักษาโดยยาลดกรด PPI เพียงอย่างเดียวอาจทำให้แผลหายได้เช่นกันแต่มีผลเสียคือ มีโอกาสเกิดแผลซ้ำได้สูง และทำให้มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารลุกลามมาก ขึ้นได้ จึงน่าเป็นห่วงสำหรับผู้ป่วยที่มักจะรับประทานยาลดกรดเอง แล้วมีอาการเป็นๆหายๆโดยไม่เคยได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเป็น สาเหตุของโรคที่ไม่หายขาดและส่งผลเสียต่อไปในอนาคตได้
ในกลุ่มผู้ ป่วยที่รับประทานยาที่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ควรจะหยุดยาและหลีกเลี่ยงการรับยาในกลุ่มนี้ซ้ำอีก ยกเว้นในกรณีที่ยานั้นจำเป็นต่อการรักษาโรค ผู้ป่วยควรได้รับยาลดกรดควบคู่ไปกับยาที่รับประทานอยู่เพื่อรักษาแผล ลดโอกาสการเกิดแผลขึ้นใหม่ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผล ส่วนในกรณีผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะกรดเกินจากเนื้องอกควรได้รับการผ่าตัด
2.การรักษาแผล
ผู้ป่วยจะได้รับยาลดกรดเพื่อยับยั้งการหลั่งกรดและส่งเสริมการสมานแผล โดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งผู้ป่วยควรจะงดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ควบคุมอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดดังกล่าว รวมทั้งลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งการดูแลตัวเองดังนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้โดยเร็ว

ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง?

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง อาหารแข็งย่อยยาก อาหารประเภททอด หรือมีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงสังเกตอาหารหรือผลไม้ที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น บางคนรับประทานฝรั่งหรือสับปะรดจะปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ควรรับประทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยกลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ ได้
การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง มีผลต่อการเพิ่มความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหาร กล่าวคือ ถ้ารับประทานอาหารรสจัดจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อแผลมากขึ้น มีอาการปวดมากขึ้น นอกจากนี้ ถ้ารับประทานอาหารที่ย่อยยากหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป จะยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปวดมากขึ้นเช่นกัน
โรคแผลในกระเพาะอาหารจะหายขาดได้หรือไม่?
โรคแผลในกระเพาะอาหารหายได้ แต่มีโอกาสกลับเป็นใหม่ได้อีกร้อยละ 70-80 ในระยะเวลา 1 ปีหลังให้การรักษา ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นธรรมชาติของโรค คือจะมีลักษณะเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำได้ หลังได้รับยาอาการปวดมักจะทุเลาลงในระยะ 7 วันแต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน 8-12 สัปดาห์ แผลจึงจะหาย เมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัว ให้ถูกต้อง หรือถ้ายังไม่สามารถกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรให้หมดไปได้

ข้อมูลโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี

www.vejthani.com

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                  ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ (G.I. and Liver Center) โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน ให้การดูแลรักษาระบบทางเดินอาหารแก่ผู้ใช้บริการอย่างใกล้ชิดจากคณะแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญพร้อมด้วยมาตรฐานและการบริการที่ครบวงจร ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่พร้อมให้บริการ เพื่อการรักษาที่ปลอดภัย มีมาตรฐานและประสิทธิภาพในทุกกระบวนการรักษา

โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
•    โรคลำไส้อักเสบ และแผลกระเพาะอาหาร
•    โรคนิ่วในถุงน้ำดี
•    โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
•    โรคมะเร็งลำไส้
•    โรคมะเร็งตับ
•    โรคไวรัสตับอักเสบ
•    โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

การบริการ
•    บริการให้คำปรึกษาปัญหา ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
•    บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
•    ตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยเอกซเรย์ และคลื่นเสียง
•    ตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยการส่องกล้อง (GI Endoscopy)
•    ตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารโดยการส่องกล้อง
•    ตรวจทางเดินท่อน้ำดี และท่อตับอ่อนโดยการส่องกล้อง
•    ตรวจลำไส้ใหญ่โดยการส่องกล้อง
•    ตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยการส่องกล้อง
•    วินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนแค็ปซูล (Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy)
•    รักษาด้วยการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

เครื่องมือที่พร้อมให้บริการ
1.    Ultrasonography
2.    Computerised Tomography (Spiral CT Scan)
3.    GI Endoscopy กล้องส่องระบบทางเดินอาหาร เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัย และผ่าตัด
-    Gastroscopy ส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ในกระเพาะอาหาร
-    Colonoscopy กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่
-    Sigmoidoscopy กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
-    Polypectomy การตัดชิ้นเนื้อที่ยื่นผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
-    EVS, EVL (Endoscopic Variceal Treatment) การรักษาเส้นเลือดโป่งพองในทางเดินอาหารในผู้ป่วยโรคตับ
-    PEG (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy) การใส่สายให้อาหารผ่านกล้องส่องตรวจ  โดยไม่ต้องผ่าตัด และดมยาสลบ
-    Diagnostic ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangio pancreatography) การตรวจวินิจฉัย ถุงน้ำดี  และทางเดินน้ำดีผ่านกล้องและฉีดสีทึบรังสี เพื่อตรวจหานิ่วหรือมะเร็งท่อน้ำดี
-    Therapeutic ERCP (Sphincterotomy, Stone Extraction) การตรวจรักษาโรคท่อน้ำดี เช่น มะเร็งท่อน้ำดี และนิ่วในถุงน้ำดีผ่านการส่องกล้อง
4.    GI Pathology การตรวจทางพยาธิสภาพที่แม่นยำ
5.    Intervention Radiology การใช้เทคนิคทางเอกซเรย์ในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
6.    GI Surgery การรักษาโดยการผ่าตัด และการส่องกล้องผ่าตัด (Laparoscopic Surgery) โดยทีมแพทย์ศัลยกรรมผู้เชี่ยวชาญ
7.    GI Oncology การรักษาโรคมะเร็งทางเดินอาหารและโรคตับอย่างครบวงจร โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน
โทร. 0-2279-7000 ต่อ 1210, 1207, 1589

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ
เทคโนโลยี...การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (GI Scope)

การส่องกล้องเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแม่นยำมากที่สุดในปัจจุบันสำหรับ แพทย์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการส่องกล้องทำให้แพทย์สามารถเห็นภายในของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นยังสามารถตรวจทางเดินน้ำดีได้ด้วย

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
•    การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscope, EGD)
•    การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscope)
•    การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP)

วิธีการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร
ทำได้โดยการ สอดกล้องที่มีลักษณะเป็นสายงอโค้งงอได้ตามความต้องการ ลงไปในระบบทางเดินอาหาร เพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนปลายของกล้องมีเลนส์ขยายภาพ และปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง ส่งภาพไปยังจอรับภาพ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นการตรวจได้ ซึ่งวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ประโยชน์ของการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
ส่วนกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
•    เพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผลอักเสบ เนื้องอก มะเร็ง จุดเลือดออก เส้นเลือดแตกหรือไม่
•    กรณีพบมีการตีบตัน การส่องกล้องสามารถช่วยขยายได้บางส่วน
•    กรณีพบมีเลือดออก แพทย์อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าห้ามเลือด หรือใช้ Hemoclip ช่วยหยุดเลือดได้
•    กรณีมีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายหลอดอาหาร (พบในผู้ป่วยตับแข็ง มักมีอาการอาเจียนเป็นเลือด) แพทย์สามารถรัดเส้นเลือดดำที่แตกนี้ได้ผ่านการส่องกล้อง
•    กรณีพบแผล เนื้องอก มะเร็ง แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจพิสูจน์ว่าเป็น แผลธรรมดา หรือ มีเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (H. Pylori) หรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
•    เพื่อใช้ติดตามผลการรักษาด้วยยา
ส่วนลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ส่วนปลาย
•    เพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ ว่ามีแผล ริดสีดวง เนื้องอก มะเร็ง หรือผิดปกติใดๆ บ้าง
•    กรณีผู้ป่วยอุจจาระปนเลือด การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่สามารถหาสาเหตุและจุดเลือดออกว่าอยู่ตำแหน่งใด และสามารถหยุดเลือดออกผ่านการส่องกล้องได้
สบายใจได้ว่าการตรวจด้วยวิธี การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารนั้น ไม่จำเป็นว่าท่านจะต้องเป็นโรคร้ายแรงเสมอไป แต่เพื่อทราบการทำงานของระบบทางเดินอาหารว่าปกติดีหรือไม่ เพื่อการป้องกัน บรรเทา และรักษาต่อไป

การตรวจวินิจฉัยแนวใหม่กับโรคระบบทางเดินอาหาร
การ ตรวจวินิจฉัยกรดไหลย้อน (Esophageal manometry ,PH Impedance and 24 hr. PH monitoring) เป็นการตรวจการบีบตัวของหลอดอาหารและวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเกิดกรดไหลย้อนในหลอดอาหารช่วงไหน เพื่อดูการอักเสบภายในหลอดอาหาร

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค
-    ปวดแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ
-    ความรู้สึกเปรี้ยว หรือขมในปากและคอ
-    ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง
-    เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน
-    กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
-    ฟันผุ มีกลิ่นปาก

การตรวจวินิจฉัย
-    การส่องกล้องทางเดินอาหาร (EGD : Esophagogastroduodenoscopy)
-    การตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร (24 hr. PH monitoring)
-    การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร (Esophageal manometry)

วิธีการตรวจรักษา
โดยการใส่สายขนาดเล็กคล้ายเส้นลวดทางจมูกไปที่หลอดอาหาร เพื่อวัดกรด-ด่างที่ไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร บันทึก 24 ชั่วโมง เครื่องจะสามารถระบุได้ว่ามีภาวะกรดไหลย้อนหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้แพทย์สามารถทำการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำต่อ ไป

อย่าปล่อยไว้จนเกิดอาการ เพราะอาจจะสายเกินแก้ไข เพื่อให้เข้าใจถึงโรคระบบทางเดินอาหารอย่างแท้จริง คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางพร้อมให้คำแนะนำรวมถึงการรักษาแบบค

เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
แบคทีเรีย ร้าย  ในกระเพาะอาหาร
เชื้อ แบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) หรือ เชื้อ เอช. ไพโลไร (H. pylori) เป็นเชื้อที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถสร้างด่างมาหักล้างกับกรดภายในกระเพาะอาหาร ทำให้เชื้อเอช ไพโลไรสามารถอาศัยอยู่และเจริญเติบโลในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดอย่างแรงภายใน กระเพาะอาหารได้

ความร้ายกาจของเชื้อเอช ไพโลไร คือ
เป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (ผู้ที่มีการติดเชื้อ เอช ไพโลไร มีโอกาสเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6 – 40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ)

เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
(ผู้ที่มีการติดเชื้อ เอช ไพโลไร มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เพิ่มขึ้น 2-6 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ)
เชื้อเอช ไพโลไร ติดต่อกันได้อย่างไร ?
เชื้อเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความชุกของการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เชื้อสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนผ่านทางปาก การติดต่อค่อนข้างสูงในชุมชนที่อยู่แออัด และในครอบครัวหรือสถาบันเดียวกัน

การรักษา กำจัดเชื้อ เอช ไพโลไร
o    ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร แนะนำให้ตรวจหาเชื้อ เอช ไพโลไร ทุกคน
o    หากพบว่ามีการติดเชื้อ เอช ไพโลไร ร่วมด้วยการรักษาที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิภาพสูงประกอบด้วย
o    การใช้ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิด ร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ พบว่าการกำจัดเชื้อได้ผลมากกว่า 90%
o    ข้อบ่งชี้ว่ากำจัดเชื้อได้ คือ การตรวจไม่พบเชื้อ เอช ไพโลไร เมื่อครบ 4 สัปดาห์หลังจากหยุดการรักษา

ข้อดี ของการกำจัดเชื้อ เอช ไพโลไร
o    หลังจากที่กำจัดเชื้อได้แล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำอีกลดลง จาก 80% ใน 1 ปี ลดลงเหลือไม่เกิน 10% ใน 1 ปี และมีโอกาสหายขาด
o    ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร
o    ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา เนื่องจากไม่ต้องรักษาอยู่เรื่อย ๆ
o    ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

Virtual Colonoscopy
การตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง CT 64 slice

เป็นการตรวจหาติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ที่มีการเติบโตผิดปกติ สามารถตรวจพบได้ง่ายและรวดเร็วแม้ติ่งเนื้อมีขนาดเล็ก การตรวจคล้ายกับการส่องกล้องโดยเครื่องจะสร้างภาพ 2-3 มิติ เพื่อดูผิวภายในของลำไส้ ซึ่งทางการแพทย์พบว่าติ่งเนื้อเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ นอกจากนี้การตรวจด้วยเครื่อง CT สามารถดูผนังด้านนอกของลำไส้ใหญ่และอวัยวะภายในช่องท้องที่ไม่สามารถ ส่องกล้องได้ ซึ่งแพทย์สามารถใช้เพื่อประเมินการลุกลามของมะเร็งได้อีกด้วย

ตรวจด้วยเครื่อง CT 64 slice ดีอย่างไร
•    วิธีการตรวจง่าย ไม่ซับซ้อน ตรวจได้รวดเร็ว
•    สามารถเห็นภาพเสมือนอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องตามตำแหน่งที่ตรวจ
•    ไม่ต้องใช้ยานอนหลับ

ข้อจำกัดการตรวจด้วยเครื่อง CT 64 slice
•    จำเป็นต้องเตรียมลำไส้ให้สะอาดก่อนการตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่ไม่มีกากเป็นเวลา 2 วัน ก่อนการตรวจ (งดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ผัก ผลไม้ และข้าวกล้อง) และทานยาระบายประมาณ 1 วัน ก่อนการตรวจ
•    กรณีที่พบติ่งเนื้อแพทย์จะพิจารณาให้ทำการตัดติ่งเนื้อด้วยการส่องกล้อง ระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง เพื่อป้องกันติ่งเนื้อนั้นอาจพัฒนาเป็นมะเร็งต่อไป
อันตราย...ติ่งเนื้อของลำไส้ใหญ่
Colonic Polyp
ติ่งเนื้อ (Polyp)
เกิดขึ้นอย่างไร ? มีความสำคัญอย่างไร ? ทำไมจึงต้องตรวจค้นหา ?
ติ่ง เนื้อของลำไส้ใหญ่ (Polyp) เป็นขั้นตอนของขบวนการกลไกการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ยังอยู่ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือเกือบเป็นมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะไม่ลุกลาม

โดยที่เยื่อบุผนังภายในลำไส้ใหญ่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารพิษที่อยู่ใน อาหารโดยเฉพาะอาหารมัน ซึ่งมักจะป็นผลมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นเวลานานหลายสิบปี ประกอบกับมีความผิดปกติที่ยีน (Gene) หรือสารพันธุกรรมจนเกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ เรียกว่า การกลายพันธุ์ (mutation) เกิดเป็นเนื้องอกเล็ก ๆ ขึ้น ซึ่งเนื้องอกนี้ยังไม่ใช่มะเร็ง เป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous)

ต่อมาเนื้องอกเล็ก ๆ นี้มีการกลายพันธุ์และแบ่งตัวหลาย ๆ ครั้งขึ้นจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ความผิดปกติของลักษณะเซลล์มีมากขึ้นจนถึงระยะเกือบเป็นมะเร็ง (severe dysplasia) ยิ่งมีขนาดใหญ่โอกาสเป็นมะเร็งก็มีสูงขึ้น โดยการเป็นมะเร็งระยะแรกจะเกิดที่ผิวของก้อนเนื้องอกเท่านั้นยังไม่ลุกลาม ถึงเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ และเส้นน้ำเหลือง จึงเรียกมะเร็งระยะนี้ว่า ระยะไม่ลุกลาม และค่อย ๆ พัฒนาจนกลายเป็นมะเร็งชนิดลุกลาม (Invesive carcinoma) ในที่สุด

ติ่งเนื้อ หรือ เนื้องอกเล็ก ๆ
เนื้องอกเล็ก ๆ นี้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมาจากผนังลำไส้ เรียกว่า Polyp ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีก้าน (Pedunculated type) และชนิดไม่มีก้าน (Sessile type) ซึ่งติ่งเนื้อชนิดมีก้านขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ก่อนที่จะพัฒนาตนเองจนกลายเป็นมะเร็ง ดังนั้นถ้าสามารถตรวจพบติ่งเนื้อก่อนตั้งแต่ขนาดเล็ก และตัดออกให้หมดก็จะสามารถกลายเป็นมะเร็งได้

การตรวจหาติ่งเนื้อ (Polyp)
การตรวจหาติ่งเนื้อที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตรให้แม่นยำนั้น ปัจจุบันมี 2 วิธี
1.    การส่องกล้องตลอดความยาวของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
การตรวจด้วยวิธีนี้เมื่อตรวจพบติ่งเนื้อ (Polyp) สามารถใช้เครื่องมือส่องกล้องตัดออกมาตรวจผลทางพยาธิวิทยาได้
•    หาผลตรวจทางพยาธิวิทยาแสดงว่ายังไม่เป็นมะเร็ง จะแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกทุก 3 ปี แล้วแต่ชนิดและขนาดของติ่งเนื้อ
•    แต่ถ้าผลตรวจทางพยาธิวิทยาของติ่งเนื้อเป็นมะเร็งชนิดลุกลาม มีโอกาสสูงที่มะเร็งจะกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ภายนอกลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนนั้นออกโดยวิธีการผ่าตัดแบบ หวังผลหายขาด (Surgery with curative Treatment) ซึ่งถ้าผลการตรวจหลังการผ่าตัดเป็นมะเร็ง ระยะที่ 1 ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดถึง 95% โดยไม่ต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม
2.    การตรวจหาติ่งเนื้อขนาดเล็กโดยการใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Colonography)
การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติใด ๆ ต้องการมาตรวจคัดกรองโรค
จุดเด่น ของการตรวจคือ เห็นทั้งภายในและภายนอกลำไส้ใหญ่ รวมทั้งอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมดด้วย อีกทั้งยังไม่ต้องถูกส่องกล้องทางทวารหนัก แต่การตรวจจะใช้การเป่าลมเข้าไปทางทวารหนักแทน


ข้อด้อย คือ หากบังเอิญพบติ่งเนื้อต้องมาส่องกล้องอีกครั้งหนึ่งเพื่อตัดติ่งเนื้อออก

ฉะนั้น การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุด คือ  การตรวจคัดกรองโรค (Screening) ทุก 5 ปี ด้วย
•    การตรวจส่องกล้อง (Colonoscopy) หรือ
•    การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT colonography หรือ Virtual colonoscopy)
เพราะหากพบติ่งเนื้อจะได้ทำการตัดออก ไม่ปล่อยทิ้งไว้จนติ่งเนื้อกลายเป็นมะเร็ง

นอกจากการเปลี่ยนแปลงแนวการดำเนินชีวิต ร่วมกับ การคัดกรองมะเร็งอย่างสม่ำเสมอสามารถป้องกันโรค แต่ถ้าบังเอิญเป็นโรคมะเร็งนี้ขึ้นมาแพทย์สามารถช่วยท่านได้ ซึ่งมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวนมากที่รักษาหายขาดและมีชีวิตอยู่เป็นสิบ ปี อย่าสิ้นหวังหรือท้อแท้รีบปรึกษาแพทย์

               Link https://www.paolohealthcare.com/phaholyothin/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด