ส่องกล้องกระเพาะอาหาร การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (อีกหน)
วันนี้หมอนัดส่องกล้องกระเพาะอาหาร (เป็นครั้งที่สามในรอบสี่เดือน เห้อ อ อ ) งดน้ำ อาหารหลังเที่ยงคืนและเช้าวันตรวจ
เชียงใหม่เป็นพื้นที่ตาม พรก.ฉุกเฉิน มีเคอร์ฟิวส์ ที่ทำงานและโรงเรียนหลายแห่งหยุดทำการ แต่ รพ.เปิดทำการตามปรกติ
ไป ถึง รพ.ก็ติดต่อการเงิน แล้วไปห้องเจาะเลือด ขึ้นไปห้องส่องกล้อง ตึกนี้จะมีแปลนที่ต่างจากตึกอื่นคือมีลักษณะเป็นสามแฉกเว้า เราไปแรก ๆ มักจะหลงทิศ วันนี้ก็หลงอีกตามเคย ต้องแวะถามไถ่รายทางไปตลอด
ถึง ห้องก็ยื่นใบนัด รอผลเลือด รอเรียกเข้าห้อง ที่นี่เป็นส่วนปลายของแฉก มีพื้นที่ว่างหน้าห้องไม่มาก มีเก้าอี้ให้นั่งได้เกือบสิบคน ตอนที่ไปเก้าอี้ไม่ว่างแล้ว มีคนยืนรอ นั่งล้อเข็นรอ นอนเปลรออีกหลายคน เราไม่อยากยืนเพราะเพลียที่อดข้าวอดน้ำมา เลยถอดรองเท้ารองนั่งกับพื้น รู้สึกหิวนิดหน่อย
รอถึง ๑๐.๑๕ น. จนท.เรียกเข้าห้องตรวจ ก่อนตรวจก็สเปรย์ยาชาเข้าปาก ให้กลืนลงไป สเปรย์ซ้ำอีกหลายหน วันนี้ จนท.บอกให้กลั้นหายใจขณะสเปรย์ เลยไม่สำลักมาก
แล้วก็ให้นอนตะแคง ซ้าย พอล้มตัวนอนก็สำลักอีกต้องลุกนั่งแล้วไอ ๆ ๆ แล้วนอนต่อ จนท. เอาผ้าปิดหน้า ตา เหลือแต่ช่องปาก เอากล้องสอดเข้าไป บอกให้หายใจลึก ๆ ไม่ต้องกลืน แต่เราก็กลืนไปหลายหน เพราะมันจุกคอ ตอนกล้องลงไปกระเพาะก็รู้ตลอด ช่วงนั้นอยากอาเจียนด้วยก็เลยกลายเป็นสำลักอึกอัก ๆ เขาก็ถามว่าเป็นอะไร ทำไม อยากอาเจียนหรือ เราก็พยักหน้า
สุดท้ายการส่องกล้องก็เสร็จสิ้น เราดูนาฬิกา ระยะเวลาส่องกล้องใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที แต่มันดูเหมือนนานแสนนาน
แล้ว อาจารย์หมอที่ส่องกล้องก็บอกว่าที่เคยส่องกล้องไปสองครั้งและเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์อีกหนึ่งครั้ง ไม่สามารถดูได้ว่าขนาดติ่งเนื้อในกระเพาะมีขนาดเท่าไร เพราะตำแหน่งที่มีติ่งเนื้อมันดูยาก เป็นส่วนบนของกระเพาะ วันนี้แต่แรกคิดว่าจะตัดชิ้นเนื้อกระเพาะออกมาตรวจ แต่เป็นตำแหน่งที่ตัดยาก ขณะส่องกล้องได้ปรึกษากับอาจารย์หมออีกคนสรุปวิธีการรักษาว่า
๑. ยังไม่รักษา แต่ส่องกล้องเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามดูว่าติ่งเนื้อมีขนาดโตกว่าเดิม ถ้าเห็นว่าจะเป็นอันตรายก็รักษาต่อไป
๒. หรือสอดเครื่องมือลงไปตัด เหมือนกับที่ทำวันนี้ แต่วิธีนี้มีความเสี่ยงคือไม่รู้ว่าติ่งเนื้อมีขนาดเท่าไร และการตัดชิ้นเนื้ออาจทำให้กระเพาะทะลุได้
เราเลยบอกหมอว่าขอ ส่องกล้องเป็นระยะ ๆ ไปก่อน เพราะไม่อยากรักษาอย่างอื่นซึ่งเสี่ยงเกินไป การส่องกล้องแม้จะทรมานแต่ก็ยังดีกว่ากระเพาะทะลุ
หมอก็บอกว่าจะส่องกล้องทุกหกเดือน นัดดูอาการครั้งต่อไปเดือนสิงหาคม แต่ถ้ามีอาการผิดปรกติให้รีบมาหาหมอทันที
หลังจากตรวจก็รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ท้องอืด หายหิวไปเลย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
การส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการส่องกล้องเข้าไปทางปากนั้นเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นวิธีที่จำเป็นต้องทำในโรงพยาบาล ดังนั้นแต่ละท่านอาจจะตื่นเต้นหรือหวาดกลัวต่อการตรวจนี้ ก่อนส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่โดยการให้กลืนยาชาแล้วตามด้วยการพ่นยาชาเข้าในลำคอ
การเตรียมตัวเพื่อรับการตรวจหลอดอาหารกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการส่องกล้องเข้าทางปาก
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น คืออะไร
คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการสอดใส่สายยางเล็กที่มีเลนส์และแสงไฟ ส่องกล้องเข้าทางปาก ทำให้แพทย์สามารถมองเข้าไปตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนตัวได้ โดยอาจจะดูผ่านจอทีวีหรือผ่านทางกล้อง เพื่อดูว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารเป็นท่อเล็กบางที่สามารถงอได้ มีให้กล้องขยาย แสงสว่างที่ปลายท่อ ซึ่งสามารถใส่ผ่านจากปากเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้
ทำไมต้องส่องกล้องตรวจลำไส้เล็กส่วนต้น
แพทย์จะใช้การส่องกล้องเพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคต่อไปนี้
- ปวดด้านบนของท้อง
- อาเจียนโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
- กลืนอาหารลำบาก
- เลือดออกทางเดินอาหาร
การใช้กล่องส่องจะทำให้เห็นเยื่อบุกระเพาะเพื่อดูการอักเสบ ดูแผล ดูเนื้องอก นอกจากนั้นยังสามารถตัดเนื้อเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นยังใช้การส่องกล้องเพื่อรักษาเลือดออกทางเดินอาหาร
ควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนมาตรวจ
- ใหนอนพักผ่อนให้เพียงในคืนก่อนมารับการตรวจ
- ห้ามรับประทานอาหาร และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนการตรวจทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการสำลักอาหาร และน้ำเข้าไปในหลอดลมขณะที่กลืนกล้องลงสู่ลำคอ
- ผู้ป่วยควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที่เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวให้พร้อม
- ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออก หรือมีฟันโยกต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ถ้ามีโรคประจำตัว หรือแพ้ยาต่างๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการส่องกล้องต้องบอกแพทย์
- ควรนำญาติมาด้วย ถ้าผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวล
- ถ้าต้องการใบรับรองแพทย์ หรือ ใบเบิกใดๆต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ไม่ใส่เครื่องประดับติดตัวมา
- แต่งกายให้หลวมสบายๆสะดวกในการผลัดเปลี่ยน
อะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับตัวท่าน ขณะได้รับการตรวจ
- เมื่อถึงห้องตรวจผู้ป่วยจะได้พบกับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่จะดูแลท่านตลอดเวลาที่ท่านได้รับการตรวจ
- ในห้องตรวจ ท่านจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ลงในลำคอ เพื่อให้ยาชาบริเวณด้านหลังของคอ สำหรับยาชาที่พ่นนี้สามารถกลืนลงไปได้โดยไม่เป็นอันตราย บางรายอาจจะให้ยาคลายเครียดเพื่อลดความกังวลของผู้ป่วย
- ท่านจะต้องให้นอนตะแคงซ้าย หลังจากนั้นแพทย์จะใส่ท่อเพื่อกันการกัดในปาก ซึ่งจะมีรูเปิดไว้สำหรับให้กล้องผ่านลงไปได้
- หลังจากนั้นแพทย์จะทำการส่องกล้อง โดยจะผ่านจากปากเข้าไปในลำคอ กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยไม่เจ็บ ซึ่งปกติจะใช้เวลาในการตรวจ ประมาณ 10-20 นาที ในระหว่างทำการตรวจ แพทย์ผู้ตรวจจะใส่ลมเล็กน้อย เข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อให้กระเพาะขยาย และสามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติภายในได้ ซึ่งจะไม่เจ็บเพียงแต่บางท่านอาจจะรู้สึกรำคาญบ้าง และบางท่านอาจมีน้ำลายมาก ควรปล่อยให้นำลายไหลออกมา ไม่ต้องกลัวเปื้อน เนื่องจากจะมีผ้ารองน้ำลายปูไว้ให้ กั้นเปื้อน กรุณาอย่ากลืนนำลายลงไป เพราะจะทำให้สำลักและอึดอัดได้ตลอดเวลาที่แพทย์ทำการส่องกล้องตรวจนี้ผู้ป่วยหายใจทาง จมูกไม่ควรหายใจทางปาก
หมายเหตุ
- ในรายที่กลัวและวิตกกังวล แพทย์อาจจะให้ฉีดยาคลายกังวลให้ หลังจากตรวจไม่ควรขับรถด้วยตัวเอง
- การปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ จะช่วยให้การตรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และปลอดภัย
การปฏิบัติตนหลังได้รับการตรวจ
- ท่านจะรู้สึกเหมือนมีเสมหะติดยู่ในลำคอ หรือรู้สึกหนาๆ เหมือนมีอะไรติดอยู่ในลำคอ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาชา ความรู้สึกเช่นนี้จะยังอยู่ประมาณ 10-15 นาที หลังจากหมดฤทธิ์ยาชาแล้ว อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไป เป็นปกติเช่นเดิม
- ระหว่างที่คอยังชาอยู่ ให้บ้วนน้ำล้างปากได้ เพียงแต่อย่ารีบร้อนดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารเพื่อป้องกันอาการสำลัก
- หลังจากคอหายชาแล้วให้เริ่มจิบน้ำก่อน เพื่อทดสอบระบบการกลืน ว่าเป็นปกติหรือยังจึงให้รับประทานอาหารได้ ควรจะเริ่มรับประทานอาหารก่อน จนสามารถกลืนได้ง่ายขึ้น
- สำหรับผู้ป่วยบางท่านที่ได้รับยาฉีดให้นอนหลับเพื่อคลายกังวล อาจจะยังมีอาการง่วงนอนอยู่จำเป็นต้องนอนพักให้ฟื้น และรู้สึกตัวดีก่อน จึงกลับบ้านได้
- ผู้ป่วยบางท่านที่นอนพักใน ร.พ. อาจจะต้องงดน้ำ และอาหารต่อตามแผนการรักษาของแพทย์
- สำหรับผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ เมื่อกลับบ้านแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานอาหารและยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
- เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง
โรคแทรกซ้อน
- เลือดออกโดยเฉพาะบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อ มักจะหายได้เอง
- แพ้ยานอนหลับ
- กระเพาะอาหารทะลุ
หลังการตรวจหากมีไข้ เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก เจ็บหน้าอก หรือเจ็บท้องต้องรีบแจ้งแพทย์
Link https://www.siamhealth.net/public_html/investigation/gi/endoscope.htm
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เนื้องอกในกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร | |||||
| |||||
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหารพบมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยพบร้อยละ 8.7 ของโรคมะเร็งทั้งหมด คิดเป็น 876.3 คนต่อประชากร 100,000 คน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากถึง 646.6 คน ต่อประชากร 100,000 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเกิดโรคและอัตราตายใกล้เคียงกัน แสดงว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงและยังไม่มีวิธี ปัจจัยเสี่ยง
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่ 1 มีอัตรารอดชีวิตที่ 5 หลังการผ่าตัดร้อยละ 70 |