สัญญาณ โรคปัสสาวะอักเสบ รักษาโรคปัสสาวะอักเสบ โรคปัสสาวะไวเกิน


2,253 ผู้ชม


สัญญาณ โรคปัสสาวะอักเสบ รักษาโรคปัสสาวะอักเสบ โรคปัสสาวะไวเกิน

             สัญญาณ โรคปัสสาวะอักเสบ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หมายถึงเกิดการอักเสบของระบขับปัสสาวะซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection [UTI]

 

ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra)

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis

เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระ นอกจากนั้นยังพบเชื้อ Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่

ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต
  • ผู้ที่คาสายปัสสาวะ
  • ผู้ป่วยที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียเช่นโรคเบาหวานประสาทไขสันหลังอักเสบ
  • ผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายและตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย

ผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยที่มีท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วจะปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกง
  • ผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการ ปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดออก
  • ผู้ป่วยที่มีกรวยไตอักเสบ pyelonephritis  จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

 

การวินิจฉัย

หากท่านอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจโดยก่อนการเก็บปัสสาวะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้องเก็บปัสสาวะโดยการสวนสาย เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนำไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ

แพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือด ขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ

ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปั สสาวะบ่อยหรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดย การฉีดสีเข้าเส้นเลือดและให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษา

  1. ผู้ป่วยที่เป็นมาไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจเลือกใช้ยาดังต่อไปนี้ trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยา 7 วันเพื่อให้แน่นใจว่าหายขาด การรักษาด้วยยาโดยให้ยา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต่อมลูกหมากโต
  2. ผู้ป่วยที่เป็นมาก มีไข้สูง ปวดเอวควรรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาเข้าทางเส้น
  3. ผู้ป่วยผู้หญิงที่เป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4 ใน 5 คนจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือนดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย
  • รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazole เป็นเวลา 6 เดือน
  • รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อเกิดอาการ

วิธีป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ

  • ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้
  • ห้ามอั้นปัสสาวะ
  • ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
  • ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
  • งดใช้ spray และการสวนล้างช่องคลอด
  • ควรอาบน้ำจากฝากบัว
  • การคลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่สามารถติดต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง
  1. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักจะพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากคาสายสวนปัสสาวะ 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ | กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง | ท่อปัสสาวะอักเสบ | กรวยไตอักเสบ |  กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการคาท่อปัสสาวะ | การป้องกัน

               Link   https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/uti/UTI.htm

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                       รักษาโรคปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

พญ.ลลิตา ธีระสิริ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดขึ้นกับผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่า

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบคือปัสสาวะบ่อย ออกน้อย ปัสสาวะไปแล้วแต่ก็ยังปวดปัสสาวะอีก เวลาปัสสาวะจะแสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนปัสสาวะจะสุด จะปวดมาก หากอาการอักเสบเป็นมากจะมีปัสสาวะออกมาเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ซึ่งแสดงว่ามีเลือดปนออกมา หรือถ้าเป็นมาก ๆ ก็จะปัสสาวะออกมาเป็นเลือดสด ๆ เลย

ที่จริงอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบรักษาให้หายขาดได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะแต่ต้องกินติดต่อกันนานประมาณ 7 วันเป็นอย่างต่ำ

ถ้าใครกินยาไม่ครบ เชื้อแบคทีเรียมักจะดื้อยา และกลับเป็นขึ้นมาใหม่ กลายเป็นโรคเรื้อรัง แต่บางครั้งบางคนเป็นโรคนี้เรื้อรังเพราะนิสัยส่วนตัว กล่าวคือ

สาเหตุใหญ่ของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การกลั้นปัสสาวะ ความเป็นจริงมีอยู่ว่า ในน้ำปัสสาวะบางครั้งมักจะมีแบคทีเรียอยู่ปะปนด้วย แต่ปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการอักเสบ หากปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะถูกระบายออกไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่เกิดอะไรขึ้น

ในทางตรงข้าม หากกลั้นปัสสาวะเอาไว้ แบคทีเรียที่อยู่ในน้ำปัสสาวะก็จะมีเวลาแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมา ยิ่งกลั้นปัสสาวะนานแบคทีเรียก็ยิ่งมาก โอกาสติดเชื้อก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นใครที่ชอบกลั้นปัสสาวะจึงมักจะมีอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

บางครั้งแม้ว่ารักษาไปแล้ว แต่นิสัยการกลั้นปัสสาวะยังไม่ได้แก้ เดี๋ยวก็จะติดเชื้อกลับขึ้นมาอีก ทำให้เกิดอาการปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวเป็น ไม่หายสักที

วิธี รักษาอาการนี้ทำได้ด้วยตนเอง ประการแรกคือ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว ทำเช่นนี้นาน 10-14 วัน เมื่อดื่มน้ำมากก็จะปัสสาวะมาก เป็นการล้างเอาแบคทีเรียออกมา ลดอัตราเสี่ยงของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่อาการอักเสบก็จะหายไปได้เอง สมัยก่อนองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังด้วย การดื่มน้ำมาก ๆ แบบนี้แหละ

สำหรับ สมุนไพรไทยที่สามารถนำมารักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังได้แก่ สมุนไพรขับปัสสาวะ ซึ่งใช้หลักการเอาน้ำไปล้างกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอย่างเดียวกับที่ องค์การอนามัยโลกเคยแนะนำ สมุนไพรไทยรอบตัวที่ใช้ได้ ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง เหง้าสับปะรด ต้นและรากเตยหอม รากหญ้าคา ต้นขึ้นฉ่าย เป็นต้น ทั้งหมดนี้ให้เอามา 1 กำมือจะเลือกอย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้ใส่น้ำต้มให้เดือด แล้วต้มเคี่ยวให้ตัวยาออกมานาน 10 นาที แล้วดื่มต่างน้ำ ยกเว้นต้นขึ้นฉ่าย ให้เอาต้นสดมา 1กำมือ แล้วคั้นน้ำดื่ม

การดื่มน้ำต้มสมุนไพร ได้ประโยชน์สองทางคือได้ดื่มน้ำมากขึ้นใช้น้ำไปขับปัสสาวะ อีกทั้งยังได้ตัวยาไปขับปัสสาวะ ล้างระบบทางเดินปัสสาวะทั้งหมดด้วย

สำหรับหญ้าหนวดแมวมีรายงานว่าใช้ได้ดีขนาดสามารถขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ผล วิธีการคือใช้ใบแห้งหนัก 4 กรัมชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวันจนกว่านิ่วจะหลุดออกมา

แต่หญ้าหนวดแมวมีจุดอ่อนคือ มีเกลือโปตัสเซียมสูงมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายและผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้สมุนไพรตัวนี้เอง

อย่างไรก็ตามกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นคนละเรื่องกันกับโรคไต ใครก็ตามที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคไตร่วมด้วย แต่ถ้ามีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำซาก การติดเชื้อลามขึ้นไปถึงไต โอกาสที่ไตจะเสียหายก็มี ทางที่ดี หากใครอยากจะดื่มชาหญ้าหนวดแมวเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

สำหรับยาจีนก็มีอาหารซึ่งใช้เป็นยาขับปัสสาวะที่หมอจีนแนะนำให้กับคนที่ปัสสาวะไม่สะดวก ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้แก่ หัวผักกาด ผักปลัง หนวดข้าวโพด ฟักเขียว แตงโม แตงกวา เป็นต้น

วันนี้จะเสนอเมนูอร่อย ๆ ที่จะช่วยขับปัสสาวะ ใช้บรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 Link  https://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00117.asp

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               โรคปัสสาวะไวเกิน

โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
 
 


 เป็นได้อย่างไร
เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน รวมทั้งต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ ตอนกลางคืนบ่อยๆ จนรบกวนการนอนหลับปกติ) เวลาปวดปัสสาวะ จะรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง และต้องรีบเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วน เพราะทนกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และน้อยครั้งที่จะกลั้นอยู่ อาจมีปัสสาวะ เล็ดราด เนื่องจากไม่สามารถทนกลั้นปัสสาวะได้ จากการรีบด่วนนั้น ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญ ไม่กล้าเข้าสังคม มีผลต่อความสะอาดของบริเวณช่องคลอด และขาหนีบ ผู้ป่วยจะไม่อยาก ไปไหน เนื่องจากไม่มั่นใจว่า จะมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่จะไปหรือไม่

อะไรคือสาเหตุ
สาเหตุ ส่วนใหญ่ของสภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกินยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากระบบประสาทที่บริเวณกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและไวกว่ากำหนด โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะไม่มากพอที่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง คือ พบร่วมกับภาวะการอักเสบ ติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะหมดประจำเดือนและโรคทางระบบประสาทบางชนิด

สตรีวัยไหน

อาจพบได้ในสตรีทุกช่วงอายุ แต่อุบัติการจะพบมากในช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โรคนี้ไม่ได้เกิดเนื่องจากการที่มีอายุเพิ่มขึ้น ทางการแพทย์ถือว่าเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งและเป็นภาวะที่รักษาได้


รักษาได้อย่างไร

 
1.
การควบคุมปริมาณน้ำที่รับประทาน ให้ รับประทานน้ำตามปกติ ไม่ให้ทานมากเกินไป เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ในกรณีที่ผู้ป่วยทานยาขับปัสสาวะอยู่นั้น อาจให้ปรับเวลาทานยาขับปัสสาวะใหม่ให้เหมาะสม รวมทั้งควบคุมอาหารปริมาณน้ำ และสารบางอย่าง ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะด้วย เช่น ชา, กาแฟ
     
 
2.
ใช้ยาควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ยาที่เป็นยาหลักในการรักษาคือ ยาในกลุ่ม Anticholinergic จะออกฤทธิ์คลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ลดการบีบตัวที่ไวเกินปกติ ของกระเพาะปัสสาวะ การใช้ยาจะต้องมีการปรับขนาดยา ให้เหมาะต่อผู้ป่วยแต่ละราย  ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ต่างกันที่ราคา และผลข้างเคียงของยา
     
 
3.
การฝึกกระเพาะปัสสาวะ โดยการฝึกควบคุมระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัว ของกระเพาะปัสสาวะ   เป็นการฝึกเพิ่มช่วงระยะเวลา ของการเข้าห้องน้ำให้ห่างออกไป เช่น จากเดิมต้องเข้าทุกๆ 1 ชั่วโมงให้เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงครึ่งและ เพิ่มเป็น 2 ชั่วโมงตามลำดับ เป็นการฝึกให้กระเพาะปัสสาวะ เก็บปัสสาวะให้มากพอ โดยไม่มีอาการบีบตัวไวกว่าปกติ เป็นการฝึกกกลั้นปัสสาวะ โดยฝึกที่ระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) ซึ่งส่งสัญญาณควบคุม ความรู้สึกปวดปัสสาวะ ให้ยืดยาวออกไป ผู้ป่วยควรขมิบช่องคลอดร่วมด้วย ซึ่งจะลดอาการอยากถ่ายปัสสาวะลง
     
 
4.
การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (Sacral nerve stimulation)  การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น ที่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ จะช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ลงการรักษาโดดยวิธีนี้ ต้องมีการผ่าตัดฝังตัว กระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าที่หน้าท้อง และกระดูกก้นกบด้วย (Sacral bone) และต้องมีการทดสอบในช่วงแรกว่าได้ผล จึงผ่าตัดฝังเครื่องชนิดถาวร (อยู่ได้ 5 ปี) การรักษาวิธีนี้ มีราคาแพง และยังอยู่ในระหว่างการวิจัย
     
 
5.
การผ่าตัด มีการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ บางส่วน หรืออาจนำลำไส้เล็กบางส่วน มาเย็บต่อกับกระเพาะปัสสาวะ เพื่อทำให้การบีบตัวไม่มีผลทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย การผ่าตัดมีผลแทรกซ้อนมาก และนิยมทำในรายที่รักษา โดยการใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
       
 
6.
วิธีการอื่นๆ เช่นการใช้ยาหรือสารบางชนิด เช่น Capsaicin ใส่ไปในกระเพาะปัสสาวะซึ่งยัง อยู่ในระหว่างทดลอง  
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 77 พฤศจิกายน 2549  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ปรับชีวิตให้สมดุลทุก 10 ปี
 
หาหมอสูติที่ถูกใจ...ได้อย่างไร
 
การปวดประจำเดือน
 
โรคกระดูกพรุน

อัพเดทล่าสุด