โรคเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ อาการของโรคปัสสาวะอักเสบ การรักษาโรคปัสสาวะอักเสบ


7,262 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ อาการของโรคปัสสาวะอักเสบ การรักษาโรคปัสสาวะอักเสบ

                 โรคเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
         โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) พบมากกว่าร้อยละ 70 ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในเพศหญิงในช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุที่โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า...
ทำไมโรคระบบทางเดินปัสสาวะ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 70 จะกลับเป็นซ้ำอีกภายใน 6 เดือน ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อย ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสวะ หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ
สาเหตุ ส่วนใหญ่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการกลั้นปัสสาวะมากไป รับประทานน้ำไม่พอเพียง การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่สำคัญที่สุด ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าเป็นบ่อยๆ เนื่องจากมีความผิดปกติทางกายวิภาคของของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรืออาจพบว่าเป็นโรคนิ่วร่วมด้วย ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในช่วงระยะหลังการแต่งงานใหม่ๆ อาจเกิดการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะขึ้น เรียกภาวะดังกล่าวว่า Honeymoon Cystitis
อาการ ปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด ครั้งละไม่มาก รู้สึกถ่ายไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เจ็บมากตอนปลายของปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกมาด้วย ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน อาการอาจเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือหลังมีเพศสัมพันธุ์ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน การตรวจร่างกายมักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจพบการกดเจ็บเล็กน้อยตรงบริเวณกลางท้องน้อย
การวินิจฉัย โรค กระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถให้การวินิจฉัยได้จากอาการทางปัสสาวะดังกล่าว ข้างต้น ร่วมกับการตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรีย เม็ดเลือดขาวที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 5-10 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง โดยเป็นการตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น แบคทีเรียที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 1 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง เมื่อตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น หรือพบแบคทีเรียตั้งแต่ 1ตัวจากการย้อมสีแกรม การเพาะเชื้อปัสสาวะมีความจำเป็นในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการเกิน 7 วัน ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นหลายๆ ครั้ง และผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังอื่น เช่น เบาหวาน โรคตับ โรคไต การตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ วิธีนี้เป็นการตรวจปัสสาวะที่สะดวกและรวดเร็ว กระทำได้ทั่วไป สามารถตรวจได้หลายอย่าง ถ้าตรวจเม็ดเลือดขาว พบว่าความไวของแถบตรวจสูงกว่าร้อยละ 80 และความจำเพาะสูงกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าตรวจเชื้อแบคทีเรีย พบว่าความไวของแถบตรวจไม่ดีเท่าที่ควร บางรายแพทย์อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจภาพรังสี หรือการส่องกล้อง
การรักษา พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกยาที่มีความไวสูงตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลความไวของเชื้อต่อยาในชุมชนของผู้ป่วย เชื้อก่อเหตุในผู้ป่วยไทยมีอัตราการดื้อยา amoxicillin และ co-trimoxazole สูง ดังนั้นยาตัวแรกที่เลือกใช้ควรเป็น norfloxacin สำหรับสตรีตั้งครรภ์และเด็ก เลือกใช้เป็นเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 3 ชนิดกิน เช่น cefdinir, cefixime, ceftibuten ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย หรือมีประวัติได้รับยาปฏิชีวนะมาภายในหนึ่งเดือน ควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่มควิโนโลนรุ่นที่ 2 ได้แก่ ofloxacin, lomefloxacin, ciprofloxacin

              Link     https://www.108health.com/108health/category.php?sub_id=59&ref_main_id=15

โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ

            โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ หมายรวมถึงโรคที่จะเกิดกับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะทั้งในเพศชายและหญิง ต่อไปนี้ ไตและกรวยไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อทางเดินปัสสาวะ ในเพศชายได้แก่ องคชาติ อัณฑะ ท่ออสุจิ ต่อมลูกหมาก และถุงน้ำกาม ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม การอักเสบติดเชื้อ เนื้องอก นิ่ว การทำงานที่ผิดปกติหรือเกิดจากผลกระทบจากโรคอื่นๆ โรคของระบบทางเดินปัสสาวะที่พบมากได้แก่ การอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกส่วนเช่นท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ เป็นต้น พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยได้แก่
• มีเลือดออกในปัสสาวะ (Hematuria)
• มีหนองปนมากับปัสสาวะ (Pyuria)
• ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปวดเมื่อถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะไม่สุด (Dysuria)
• ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน (Nocturia)
• ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ (Oliguria or Anuria)
• ปัสสาวะบ่อย (Frequency of urine)
• กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urgency of urine)
• มีอาการปวดหลังส่วนล่างบริเวณข้างลำตัว อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
• มีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
• อาการของโรคระบบทางเดินปัสสวะอาจมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงระบบหายใจ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง บวม และหายใจสั้น
โรคที่ วินิจฉัยพบส่วนใหญ่
• โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis)
• นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
• โรคมะเร็งของทางเดินปัสสาวะ เช่นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งไต มะเร็งต่อมลูกหมาก
• อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดลาด
• ต่อมลูกหมากโต
• รวมถึงอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

              Link     https://www.learners.in.th/blogs/posts/334218

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                 อาการของโรคปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะขัด urinary frequency or dysuria
เชื่อว่าหลายท่านโดยเฉพาะคุณผู้หญิงคงเคยมี อาการปัสสาวะขัด หรือบางคนอาจจะเรียกว่าปวดปัสสาวะกันมาแล้วเนื่องจากผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ ส่วนผู้ชายพบไม่บ่อย การที่มีอาการเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุอยู่รอบๆท่อปัสสาวะเมื่อมีการได้รับบาดเจ็บของท่อ ปัสสาวะเช่น การขี่ม้า การขี่จักรยาน การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง การคุมกำเนิดโดยใช้ diaphragm หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน ก็เป็นสาเหตุของปัสสาวะขัด ผู้ที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีประวัติและความเจ็บป่วยดังนี้อาการ
  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกครั้งละไม่มาก
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดหน่วงบริเวณบริเวณหัวเหน่า
  • ปวดแสบเมื่อปัสสาวะจะสุด
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อย
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ถ้าเป็นกรวยไตอักเสบจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง คลื่นไส้อาเจียน
  • สำหรับผู้ชายสูงอายุอาจจะมีอาการปัสสาวะไม่พุง ปัสสาวะลำบากเป็นมาก่อน
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะเคยคาสายสวนปัสสาวะหรือส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ
หากท่านมีอาการดังกล่าวท่านต้องสังเกตอาการและเตรียมตอบคำถามของแพทย์
  1. ระยะเวลาที่ปวด
  • ปวดทุกครั้งหรือไม่ที่ปัสสาวะ
  • ปวดปัสสาวะกี่วันมาแล้ว
  • อาการปวดเกิดทันทีหรือไม่
  1. ลักษณะอาการปวด
  • อาการปวดจะเกิดเริ่มเมื่อปัสสาวะ
  • อาการปวดจะหายไปเมื่อปัสสาวะเสร็จ
  • ลักษณะอาการปวด แสบๆ ปวดบิดๆ 
  1. ตำแหน่งที่ปวด
  • ปวดที่หลัง 
  • ปวดที่หัวเหน่า
  • ปวดที่ท่อปัสสาวะ
  1. ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น เช่น
  • ปวดมากขณะยืน นั่ง หรือนอน
  • ปวดเวลากลางวัน กลางคืน
  • อุจาระแล้ปวดหรือไม่
  1. อาการอื่นที่สำคัญ
  • ไข้ หนาวสั่น
  • หนองติดกางเกงในหรือไม่
  • สีและกลิ่นของปัสสาวะ
  • ปริมาณของปัสสาวะ
  • มีเลือดร่วมด้วยหรือไม่ 
หากท่านมีอาการดังกล่าวควรรีบรักษาด้วยตัวเองทันทีสามารถทำได้โดย
  • หากมีอาการปวดปัสสาวะให้รีบไปปัสสาวะทันที
  • รีบรับประทานยารักษาทันที
  • ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณหัวเหน่าหรือเปิดน้ำอุ่นประคบ 20 นาทีทุก 2 ชั่วโมงใน สองวันแรกระวังอย่าให้น้ำร้อนจนผิวหนังได้รับอันตราย
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ
สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

                         Link   https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/uti/uti_symtom.htm

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              การรักษาโรคปัสสาวะอักเสบ
การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ยาปฏิชีวนะเป็นยาหลักที่รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นอกจากยาปฏิชีวนะแล้วยังต้องใช้ยาบรรเทาอาการเช่น ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาลดอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ
ยาปฏิชีวนะ
  1. Co-trimoxazole ซึ่งประกอบด้วยยา trimethoprim 80 mg ,sulfamethoxazole 400 mg สามารถรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบจากเชื้อต่างๆได้ยกเว้นเชื้อ pseudomonase ขนาดทีใช้คือ 2 เม็ดวันละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นทางเดินกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนใช้เวลารักษา 3 วันแต่ถ้าเป็นกรวยไตอักเสบใช้เวลารักษา 10-14 วัน ข้อห้ามใช้คือผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา sulfa ข้อควรระวังไม่ควรใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยา warfarin, dapsone ,diuretics ,phenytoin , methotrexate, sulfonylureas, zidovudineซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา ควรหยุดยาเมื่อ มีผื่น ซีด น้ำตาลในเลือดต่ำ 
  2. Ciprofloxacin รักษาเชื้อได้หลายชนิดโดยเฉพาะ pseudomonase ขนาดที่ใช้ 200-500 mg วันละ 2 ครั้ง กระเพาะปัสสาวะใช้เวลารักษา 3 วัน กรวยไตอักเสบใช้เวลา 10-14 วันการกินยาโรคกระเพาะอาหาร ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี จะลดการดูดซึมของยาทำให้รักษาไม่ได้ผล เมื่อใช้ร่วมกับยา theophyllin,digoxin จะทำให้ยาสองตัวออกฤทธิ์เพิ่มมากขึ้น
  3. Cephalexin ใช้ขนาด 250-1000มิลิกรัมวันละ 4 ครั้ง ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยา cephalosporin
  4. Co-amoxiclav ขนาดที่ใช้ 625 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้งหรือ 375 มิลิกรัม วันละ 3 ครั้งห้ามใช้ในคนที่แพ้ยา
  5. Nitrofurantoin (Macrodantin, Furadantin, Macrobid)ขนาดที่ใช้ 50-100 มิลิกรัมวันละ 4 ครั้งห้ามใช้ในคนที่ไตวาย หรือแพ้ยา 
  6. ยาฉีดที่นิยมใช้ได้แก่ Aminoglycoside และ ceftriazone
ยาที่รักษาอาการ
Phenazopyridine เป็นยาลดอาการปวดแสบ อาการปัสสาวะบ่อยขนาดที่ใช้ 200 มิลิกรัมวันละ 3 ครั้ง ไม่เกิน 2 วัน
ผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบที่แข็งแรงและไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลผู้ป่วยต่อไปนี้ควรที่จะรับไว้ในโรงพยาบาลได้แก่
  • ผู้ป่วยที่มีโครงสร้างผิดปกติเช่น นิ่วในไต ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะตีบ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น โรคมะเร็ง เอดส์ ผู้ป่วยที่ได้ยากดภูมิ
  • ผู้ป่วยที่สัญญาณชีพไม่คงที่
  • ผู้ป่วยที่ปวดมาก
  • ผู้ป่วยที่มีสภาพขาดน้ำอย่างมาก
  • ผู้ป่วยที่ไม่มีคนดูแล

                                    Link  https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/uti/uti_medication.htm

อัพเดทล่าสุด