อาการของโรคคอดอกในนก การรักษาโรคคอดอกในไก่ชน วิธีการรักษาโรคคอดอกในไก่ชน
อาการของโรคคอดอกในนก
โรคคอดอกโรคคอดอก
โดย หมอแก้ว (ผศ. น. สพ. สมโภชน์ วีระกุล)
โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไม่ยากนัก
โรคคอดอก จะหมายถึงโรคที่ทำให้เกิดดอก หรือตุ่มสีขาวบริเวณหลอดอาหาร บางรายเป็นก้อนขนาดใหญ่คล้ายฝี ที่คนเลี้ยงไก่สามารถมองเห็นได้ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas gallinae (ทริโคโมนาส กัลลิแน)
เป็น โรคติดต่อโดยการปนเปื้อนเชื้อในน้ำกิน จะพบรอยโรคเป็นตุ่มคล้ายดอกกระดุมสีขาว สามารถขูดออกได้ พบในปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไก่จะทำท่ากลืนบ่อยๆ คนเลี้ยงไก่มักจะบอกว่าขูดออกแล้วหาย พอไม่นานก็เป็นอีกครั้ง เหมือนโรคจะไม่ค่อยรุนแรง แต่บางรายเกิดเป็นก้อนเนื้อฝีขนาดใหญ่อยู่ที่เพดานปาก และคอได้ทีเดียว
แต่ สิ่งที่ผู้เลี้ยงกังวล คือ ไก่ขันเสียงเปลี่ยน และการติดต่อไปยังตัวอื่น ซึ่งแน่นอนเป็นหนึ่ง มักจะพบตัวอื่นๆ เป็น คงต้องแก้ไขกันจริงๆ เสียที
เมื่อมาถึงมือหมอแล้ว หมอก็อย่าชะล่าใจคิดว่าเป็นเพียงโรคคอดอกที่จะพบดอกสีขาวแบบนั้น
ลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกับโรคขาดไวตามินเอ ซึ่งจะเป็นฝ้าสีขาว และโรคติดเชื้อแคนดิเดีย (Candidiasis) รวมทั้งฝีดาษ แต่ฝีดาษจะมีอาการอื่นร่วมเพื่อแยกโรค
การวินิจฉัยโดยการขูดแล้วป้ายลงบนสไลด์ (wet smear) ตรวจลักษณะของเชื้อโปรโตซัวจากกล้องจุลทรรศน์ โดยจะเห็นการเคลื่อนไหวของเชื้ออย่างชัดเจนภายใต้กำลังขยายวัตถุ 40 เท่า
การรักษา
โดยการให้ยา dimetridazole ในอาหาร ในอเมริกาห้ามใช้ยาชนิดนี้ เพราะมีพิษต่อตับ หรือ
carnidazole ให้กินครั้งเดียว หรือ
metronidazole ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้งติดต่อกัน 2 วัน หากเจ้าของไม่สะดวกมักจะให้ยาในรูปกิน นาน 5-7 วัน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ควรแยกไก่ป่วย จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค จนกว่าจะหายขาด
ก็ คงไม่เห็นว่าเป็นโรคที่ยากเย็นนัก เห็นโพสถามกันมากมายหลายเว็บ จนคิดว่าโรคนี้มันกลายพันธุ์เป็นโรคปัญหาไปแล้วหรือ การรักษาต้องรักษาให้หายขาด และควรนำไก่มาตรวจอยู่เสมอ เพื่อลดการติดต่อไปสู่ตัวอื่น
Suggested Reading
Altman, R.B., Clubb, S.L., Doressestein, G.M. and Quesenberry, K. 1997. Avian Medicne and Surgery. W.B.Saunders Company, U.S.A. 1070 p.
Carpenter, J.W., Mashima, T.Y. and Rupiper, D.J. 2005. Exotic Animal Formulary 3rd. W.B.Saunders Company, U.S.A. 564 p.
Harrison, G.J. and Harrison, L.R. 1986. Clinical Avian Medicine and Surgery. W.B.Saunders Company, U.S.A. 717 p.
John Barnes, H., Beard, C.W., Mcdougald, L.R. and Saif, Y.M. 1997. Diseases of Poultry 10th edition. Iowa State University Press., U.S.A. 1080 p.
Rupley, A.E. 1997. Manual of Avian Practice. W.B.Saunders Company, U.S.A. 556 p
สำหรับ www.epofclinic.com -- คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การรักษาโรคคอดอกในไก่ชน วิธีการรักษาโรคคอดอกในไก่ชน
วิธีการรักษาโรคคอดอกครับ
สาเหตุ ของการเกิดโรคคอดอก จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายสิบปี ของการเกิดโรคคอดอกจะต้องเกิดจากสาเหตุหลักๆ คือพยาธิที่ลำใส้ อพยบขึ้นมาที่ตาไก่ผ่านที่ลำคอพยาธิจะจิกบริเวณภายในลำคอ เกิดการระคายเคืองเหมือนคนไต่เขาต้องมีเหล็กเป็นขอเกี่ยวเหมือนขอควาญช้าง ทำให้เกิดเป็นแผล เรียกว่าฝีดาษเปียก ถ้ายุงกัดภายนอก จะเป็นตุ่มเรียกว่าฝีดาษแห้ง อาจแกะตุ่มแล้วใช้ทินเจอร์แต้มแผลก็หาย แต่ฝีดาษเปียกที่รักษาหายยาก เพราะ เราไม่ได้ปลิ้นเอาหลอดลมไก่ออกมานอกปากแล้วเช็ดทำความสะอาดหยดยาที่แผลก็จะ ช่วยให้หายได้มากกว่าเราจะเป่ายาคอดอกอย่างเดียว เพราะภายในมีความอบอุ่น ความชื้น มีเสลด เสมหะซึ่งเชื้อโรคจะชอบ เปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีน้ำ ปุ๋ยเลี้ยงดีก็จะไม่มีทางตายได้ ถ้าขาดน้ำเมื่อไหร่ต้นไม้ต้องแห้งตายได้อย่างแน่นอนครับ วิธีการป้องกันโรคคอดอก คือ Link www.zeankaichon.com
|
Link https://www.phuyaisan.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++