โรคคอเอียง การรักษาโรคคอเอียง ปัญหาโรคคอเอียงในเด็กเล็ก


16,188 ผู้ชม


โรคคอเอียง การรักษาโรคคอเอียง ปัญหาโรคคอเอียงในเด็กเล็ก

            โรคคอเอียง

โรคคอเอียงแต่กำเนิด (Congenital Muscular Torticollis )

เมษายน 5, 2012
โรคคอเอียงแต่กำเนิด (Congenital Muscular Torticollis )

มีปัญหาเกี่ยวกับทั้งคุณแม่และลูกรัก ต้องการคำปรึกษาดีๆ คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

Congenital Muscular Torticollis

Congenital Muscular Torticollis

โรคคอเอียงแต่กำเนิด (Congenital Muscular Torticollis )

คอเอียงเป็นลักษณะที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลาง ไปด้านใดด้านหนึ่ง สาเหตุส่วนใหญ่เป็นจากกล้ามเนื้อด้านข้างคอหดสั้นลง สาเหตุอื่ นพบได้น้อย เช่ น ผิดปกติที่ระบบ สมอง ตา กระดูกคอ และการอักเสบบริเวณคอ โรคคอเอียงแต่กำเนิดสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นโรคคอเอียงในเด็กที่พบบ่อยที่สุด จากกล้ามเนื้อด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่เกาะยึดระหว่างกระดูกด้านหลังหู กับส่ วนหน้าของกระดูกไหปลาร้า หดสั้นลง ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ใบหน้าจะบิดหันไปด้านตรงข้าม อาจเริ่ มสังเกตเห็นได้ขณะอายุน้อย สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อนี้หดสั้นลง เชื่อว่าอาจมาจากเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอดหรือทารกอยู่ในตำแหน่งที่ ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้ใยกล้ามเนื้อข้างคอเสียหาย กลายเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหดสั้นลง โรคที่

อาจพบร่วมกับคอเอียงได้แก่ ข้อสะโพกผิดปกติ เท้าผิดปกติอาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือนหลังคลอด โดยเกือบครึ่ งของผู้ป่ วยมีก้อนคลำได้ที่กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่ เอียง และก้อนจะค่ อยๆ ยุบไป อาการคอเอียงนี้ถ้าเป็นไม่มากอาจสังเกตเห็นยากจึงไม่ได้

Congenital Muscular Torticollis

Congenital Muscular Torticollis Congenital Muscular Torticollis

Congenital Muscular Torticollis

เฉพาะการยืดด้วยวิธีดัด (passive stretch) ควรหยุดทำถ้าเด็กดิ้นหรือฝืน การทำโดยจัดศีรษะผู้ป่ วยอยู่ ในท่าเงยหน้าเล็กน้อย เช่ นนอนหงายบนตัก จัดให้หูข้างตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหดสั้นมาสัมผัสที่ ไหล่ ข้างเดียวกัน และอีกวิธีโดยหันหน้าจัดให้คางสัมผัสกับไหล่ ข้างที่ มีกล้ามเนื้อหดสั้น แต่ ละท่ ายืดค้างนานประมาณนับเลข 1-10 ต่ อครั้ง ติดต่ อกัน 15-20 ครั้งเป็น 1 รอบ ทำประมาณ 4-6 รอบในแต่ละวัน การยืดแบบที่ให้เด็กหันศีรษะเอง (active stretch) วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่า โดยต้องหาวิธีการที่จะล่อให้เด็กหันหน้ามาด้านที่ มีคอเอียงที่ มีกล้ามเนื้อหดสั้น วิธีการที่นิยมใช้ได้ผลดี เช่นการให้นม หรือล่อให้มองตามพามาพบแพทย์ตั้งแต่แรก การปล่อยให้มีคอเอียงอยู่นานอาจทำให้กระโหลกศีรษะ หรือใบหน้าด้านที่กดกับพื้นที่นอนแบนกว่ าอีกด้าน ศีรษะบิดเบี้ยวไม่ สมดุล อย่ างไรก็ตามอาการคอเอียงอาจดีขึ้นได้เองในบางราย การวินิจฉัยโรคคอเอียง ถ้าระบุสาเหตุไม่ ได้ชัด จำเป็นต้องตรวจเพิ่ มเติม เช่ นภาพรังสีกระดูกคอ หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่นจักษุแพทย์

Congenital Muscular Torticollis

Congenital Muscular Torticollis

การรักษา

  1. การยืดกล้ามเนื้อข้างคอที่หดสั้น ส่ วนใหญ่ ได้ผลดีเมื่อทำในเด็กอายุน้อยกว่ า 1 ปี ผู้ดูแลควรเรียนรู้ ถึงวิธีการยืดที่ ถูกต้อง เช่ นจากนักกายภาพบำบัด เพื่ อไม่ ให้เกิดอันตรายต่ อเด็กโดยฉพาะการยืดด้วยวิธีดัด (passive stretch) ควรหยุดทำถ้าเด็กดิ้นหรือฝืน การทำโดยจัดศีรษะผู้ป่ วยอยู่ ในท่ าเงยหน้าเล็กน้อย เช่ นนอนหงายบนตัก จัดให้หูข้างตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหดสั้นมาสัมผัสที่ ไหล่ ข้างเดียวกัน และอีกวิธีโดยหันหน้าจัดให้คางสัมผัสกับไหล่ ข้างที่ มีกล้ามเนื้อหดสั้น แต่ ละท่ ายืดค้างนานประมาณนับเลข 1-10 ต่ อครั้ง ติดต่ อกัน 15-20 ครั้งเป็น 1 รอบ ทำประมาณ 4-6 รอบในแต่ละวันการยืดแบบที่ให้เด็กหันศีรษะเอง (active stretch) วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่า โดยต้องหาวิธีการที่จะล่อให้เด็กหันหน้ามาด้านที่ มีคอเอียงที่ มีกล้ามเนื้อหดสั้น วิธีการที่นิยมใช้ได้ผลดี เช่นการให้นม หรือล่อให้มองตามในสิ่ งที่สนใจเช่ นของเล่ นต่ างๆ การจัดตำแหน่ งศีรษะขณะนอนหลับ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นการยืดกล้ามเนื้อ ก็เป็นอีกแนวทางที่ มีการใช้กัน แต่ ควรได้รับการแนะนำถึงข้อควรระวังก่อนนำมาใช้ การใช้อุปกรณ์พยุง (Orthosis) ปรับตำแหน่ งศีรษะ ยังไม่ใช้กันแพร่หลายนัก เนื่ องจากปัญหาในการจัดหาอุปกรณ์ และต้องใช้ในเด็กที่โตพอสมควรแล้ว
  2. การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดสั้น ถ้ายืดกล้ามเนื้อหดสั้นไม่ ได้ผลหลังอายุ 1 ปีควรรักษาด้วยการผ่ า  ตัด เพื่อให้มีสมดุ ลของศีรษะและใบหน้าดีขึ้น การผ่ าตัดมักได้ผลดีพอสมควร อายุ ที่เหมาะสมที่ สุ ดคือ 1-4 ปี ในผู้ป่ วยที่ มีอายุ มากขึ้น การผ่ าตัดอาจได้ผลไม่ เต็มที่ การผ่ าตัดทำได้หลายวิธี วิธีที่ นิยมและได้ผลดีคือการตัดปลายยึดเกาะของกล้ามเนื้อด้านข้างคอ ทั้งสองปลาย (bipolar release)หลังผ่ าตัด ผู้ป่ วยบางรายอาจต้องอุปกรณ์พยุงต่ างๆ ร่วมด้วย และมักต้องการการยืดกล้ามเนื้อต่ออีกเพื่อให้คอตรงมากขึ้น และป้องกันการเป็นซ้ำ

                       Link   https://www.baby2talk.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   การรักษาโรคคอเอียง

โรคคอเอียง "  หรือ " โรคคอเกร็ง "     มีอาการอย่างไร
บ่อยครั้ง ประชาชนคนไทยมาพบแพทย์ ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก และบางครั้งมีคอเอียงร่วมด้วย การกระตุกของใบหน้าอาจกระตุกเพียงบางส่วน เช่น กระตุกที่หนังตา มุมปาก บางคนกระตุกทั้งซีกหนึ่งของใบหน้า
โรคคอ เอียงนั้น ในทางการแพทย์เรียกว่า spasmodic torticollis (โรคคอบิดเกร็ง), ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติกลุ่มดีสโทเนีย (Dystonia) ชนิดหนึ่ง, ซึ่งยังไม่ทราบต้นเหตุแน่นอน ในอดีตเคยเชื่อกันว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดมาจากปัญหาทางด้านจิตใจเป็นหลัก โรคคอเอียงหรือโรคคอบิดเกร็งนี้ มักเป็นเรื้อรังและรักษาไม่หาย, ไม่ว่าจะให้ยาชนิดใดๆ หรือแม้แต่การผ่าตัด โดยการตัดรากเส้นประสาทก็ตาม
ผู้ ป่วยโรคที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวนั้นในอดีตไม่มีการรักษาวิธีใดที่ ถือว่า ได้ผลดี, จนกระทั่งได้เริ่มมีการนำเอาสารโบทูลินัม เอ ทอกซิน (botulinum A toxin) มา ทดลองใช้ในลิงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521, โดยนายแพทย์ Allan B Scott, จักษุแพทย์แห่ง Smith-Kettlewell Eye Research Institute แห่งนครซานฟรานซิสโก หลังจากนั้นก็ได้เริ่มทดลองนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาสาสมัครที่ เป็นโรคตาเหล่ (strabismus) และตากะพริบค้าง, ซึ่งพบว่าได้ผลตอบสนองดีมาก ต่อมาจึงได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยนำสารนี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรคทางระบบ ประสาท กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติชนิดต่าง ๆ, ซึ่งก็พบว่าได้ผลตอบสนองดีราว 70-75%, ซึ่งในอดีตการรักษาโดยวิธีต่างๆ นั้นมักได้ผลเพียงราว 20-30% เท่านั้น ภาวะต่างๆ ของโรคทางระบบประสาท ที่ใช้สารโบทูลินัมทอกซินรักษาได้ผลดีในปัจจุบัน.
ข้อมูลโดย :  โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อ้างถึง : https://www.elib-online.com/doctors45/med_dystonia001.html
>>>  เคสของคนที่เป็นโรคคอเกร็ง   และพึ่งได้รับการรักษาเมื่อโตขึ้น  
รพ.จุฬาฯ เจ๋งผ่าตัด “โรคคอเกร็ง” สำเร็จแห่งเดียวในไทย   ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรายดังกล่าว คือ น.ส.ฮาลิเมาะ นิมะ อายุ 21 ปี ชาว อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นคนไข้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คอเกร็งตั้งแต่อายุ 14 ปี อาการเริ่มแรกเพียงปวดต้นคอ และคอเอียงเล็กน้อย ภายใน 6 เดือน ก็มีอาการรุนแรงจนคางติดไหล่ไม่สามารถนั่งหรือประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ที่ผ่านมารักษากับสถานพยาบาลในพื้นที่ด้วยการรับประทานยาแต่อาการไม่ดีขึ้น จนได้เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลจุฬาฯเมื่ออายุ 20 ปี แพทย์ลงความเห็นให้ผ่าตัดด้วยวิธีการดังกล่าว ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยสามารถนั่งได้ด้วยตนเอง คอไม่เกร็ง และกลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ทั้งเรียนหนังสือ ช่วยเหลืองานบ้านได้ตามปกติ
อ่านต่อ   >>  https://www.healthcorners.com/2007/news/Read.php?id=1985
ทั้ง นี้ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ทางศูนย์การรักษาโรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีฐานะ ยากจนให้ได้รับการรักษา และได้รับยาที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง จำนวน 80 ราย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ผู้ป่วยและผู้มีจิตศรัทธาสนใจเข้าร่วมโครงการหรือร่วมบริจาค สามารถติดต่อได้ที่ โทร.02-256-4630 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
>>>  ทางเลือกของการรักษาแผนไทย ในกรณีที่ไม่ได้มีอาการคอเอียงมากนัก   มีการรักษาที่เรียกว่า " ดุลย์ภาพบำบัด "  มีขั้นตอนการบำบัด ดังนี้
•  สอนดัดข้อและบริหารกาย  
•  จัดปรับโครงสร้างด้วยมือ
•  ฝังเข็มแนวใหม่
•  ประคบสมุนไพร
•  นวด อบความร้อนด้วยเคร

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                 ปัญหาโรคคอเอียงในเด็กเล็ก

เจ้าหนู...คอเอียง?

เจ้าหนู...คอเอียง?

 


เจ้าหนู...คอเอียง? (รักลูก)


           เจ้าตัวเล็กนอนคอเอียงอยู่หรือเปล่าคะ? แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นอาการปกติของเด็กที่คอยังไม่แข็ง หรือมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกแล้ว!


ทำไมคอเอียง


        
โดยทั่วไปเด็กที่คอเอียงสามารถแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ


        คอ เอียงแต่กำเนิด ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่เด็กอยู่ในท่าผิดปกติระหว่างอยู่ในครรภ์ หรือเกิดภาวะครรภ์มีน้ำน้อยหรืออาจจะเกิดจากสาเหตุที่ตาของเด็ก บางคนไม่เท่ากัน ทำให้เวลาเด็กมองต้องเอียงคอตามไปด้วย รวมทั้งจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เกิดจากเนื้องอกที่กล้ามเนื้อบริเวณคอไปกระตุ้นให้คอเอียง ปัญหากระดูกคอติดเชื้อ และต่อมน้ำเหลืองโต


        คอเอียงหลังคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้กระดูกล็อกและเกิดคอเอียงในที่สุด เช่น จากการเล่นกีฬาหรือหกล้ม เป็นต้น

ความแตกต่างแบบไหนไม่ปกติ


         ระหว่างลูกคอไม่แข็งและภาวะคอเอียงสามารถสังเกตได้ดังนี้ค่ะ


        เด็กที่คอยังไม่แข็ง แม้คอจะเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะสามารถนอนหันหน้าได้ทั้ง 2 ด้าน


        ภาวะ คอเอียง ลักษณะที่คอเอียงไปทางซ้าย แต่เด็กจะหันหน้าไปทางขวาหรือถ้าคอเอียงไปทางขวาก็จะหันหน้าไปทางซ้าย เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณคอยึดตึงเด็กจึงคอเอียงและหันหน้าไปด้านตรงข้ามใน เด็กเล็กที่อาการคอเอียงยังไม่มาก วิธีสังเกตที่ชัดเจน คือ เด็กจะนอนหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา ถ้าคลำบริเวณหลังหูหรือใต้หูของด้านที่เอียงจะพบว่ามีก้อนเนื้อ ถ้าได้รับการดูแลและบริหารกล้ามเนื้อคอสม่ำเสมอ อาการคอเอียงก็จะหายได้เองและไม่เป็นอันตราย


คอเอียง...ภาวะที่ต้องรักษา


         เด็กที่คอเอียงแล้วไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น เมื่อโตขึ้นจะส่งผลต่อโครงสร้างใบหน้าและกะโหลก เช่น มีใบหน้าไม่สมดุล (หน้าเบี้ยว) ซึ่งถ้าเกิดกรณีแบบนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่กลุ่มนี้จะพบในต่างประเทศมากกว่าในประเทศไทยค่ะ


          ภาวะคอเอียงจะไม่ส่งผลต่อพัฒนาการของลูก แต่จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกัน และไม่ส่งผลต่อการใช้สายตาของเด็ก เพราะดวงตาของเด็กไม่ได้เอียงตามไปด้วย นอกจากเด็กมีดวงตาที่เขมากจนทำให้คอเอียง ซึ่งกรณีนี้ต้องได้รับการรักษาที่ดวงตาค่ะ
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ


        หมั่น สังเกตอาการ ถ้าลูกหันคอไปด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา ไม่สามารถหันได้ทั้ง 2 ด้าน ควรพาลูกไปตรวจหาสาเหตุ ถ้าลูกมีปัญหาคอเอียงผิดปกติ คุณหมอจะช่วยจัดท่าในขั้นแรก เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้ไปทำต่อให้ลูกอย่างถูกต้อง และทราบว่าควรบริหารกล้ามเนื้อมากน้อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับลูก เพราะหากบริหารมากเกินไป กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอาจบวมช้ำได้


        จัดท่านอนและบริหารกล้ามเนื้อคอ ควรทำให้ลูกเป็นประจำ เช่น ถ้าลูกนอนเอียงคอไปด้านใด ก็จัดให้นอนหันไปในด้านตรงกันข้าม


        ให้ใช้ของเล่นที่ลูกชอบจับ ชอบเล่นเป็นประจำ สำหรับหลอกล่อลูกเพื่อฝึกให้ลูกหันคอทั้ง 2 ด้าน


        เปลี่ยนท่าให้นม เพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอของลูกได้ขยับและยืดหยุ่น จนคอทั้ง 2 ด้านสมดุลกัน


คุณหมอแนะนำ


        จัด ท่านอนและบริหารกล้ามเนื้อคอวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที แต่ถ้าลูกมีอาการคอเอียงมากจนกล้ามเนื้อคอเป็นพังผืด เมื่อบริหารคอตามเวลาที่คุณหมอแนะนำ ลูกอาจจะร้องเพราะเจ็บ จึงควรจัดท่านอนให้เหมาะสมกับการบริหาร เพื่อให้กล้ามเนื้อคอของลูกยืดหยุ่นได้ง่าย


        หากบริหาร คอมาระยะหนึ่ง แต่ยังไม่หายเป็นปกติ ควรกลับไปพบคุณหมอ เพื่อทำกายภาพบำบัดหรือใส่ที่พยุงคอและวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดกล้ามเนื้อ เพื่อรักษาอาการคอเอียงค่ะ


         แม้ว่าภาวะคอเอียงจะเป็นปัญหาที่ไม่หนักจนน่าห่วง แต่ก็ไม่ควรละเลย เพราะยิ่งรู้เร็ว รักษาเร็ว ลูกก็จะหายเป็นปกติค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ฉบับที่ 327 เมษายน 2553

อัพเดทล่าสุด