โรคคอหอยพอก โรคคอหอยพอก อาการ โรคเกี่ยวกับคอ


22,654 ผู้ชม


โรคคอหอยพอก โรคคอหอยพอก อาการ โรคเกี่ยวกับคอ

          โรคคอหอยพอก

 

คอพอก

คอพอก (Goiter) หมายถึง ภาวะที่มีการโตขึ้นของต่อมธัยรอยด์ สามารถแบ่งได้ดังนี้

แบ่งตามลักษณะการโต

ต่อมธัยรอยด์โตทั่วๆไป
  • ต่อมธัยรอยด์โตทั่วๆไป (Diffuse goiter) : หมายถึง ภาวะที่มีต่อมธัยรอยด์โตทั่วๆไป
  • ก้อนเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์ (Solitary thyroid nodule) : หมายถึง ภาวะที่มีการโตของต่อมธัยรอยด์เฉพาะที่ มองเห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ โดยที่ส่วนอื่นๆ ของต่อมธัยรอยด์ดูปกติ
  • ก้อนตะปุ่มตะป่ำของต่อมธัยรอยด์ (Multinodular goiter) : มีก้อนหลายๆ ก้อน ทำให้เห็นธัยรอยด์เป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ

แบ่งตามอาการ

  • คอพอกแบบเป็นพิษ (Toxic goiter) : ต่อมธัยรอยด์มีการสังเคราะห์และหลั่งธัยรอยด์ฮอร์โมนมากเกิน จนเกิดอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย มือสั่น น้ำหนักลด และอื่นๆ
  • คอพอกธรรมดา (Simple goiter) : คอพอก โดยที่ไม่มีอาการของต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

ต่อมธัยรอยด์คืออะไร

ต่อมธัยรอยด์ คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย อยู่บริเวณคอด้านหน้า, วางอยู่หน้าต่อหลอดลม, มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม, แบ่งออกเป็น 2 กลีบ ซ้ายกับขวา เชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนคอดที่เรียกว่า isthmus แต่ละกลีบมีขนาดประมาณ 5x2x2 ซม., ต่อมธัยรอยด์มีกล้ามเนื้อปกคลุมอยู่ ทำให้ในภาวะปกติที่ไม่มีธัยรอยด์โต หรือโตน้อย ก็จะมองไม่เห็น ต่อมธัยรอยด์มีหน้าที่สร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ ธาตุไอโอดีน เป็นส่วนประกอบหนึ่ง จากนั้น ก็จะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด, ฮอร์โมนเหล่านี้ มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ของเซลล์ ทั่วร่างกาย และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย

สาเหตุ

คอพอกธรรมดา ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน,อาจพบได้ในขณะที่ร่างกาย ต้องการธัยรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงวัยรุ่น ขณะตั้งครรภ์, ได้รับสารบางชนิด หรือยาบางอย่าง (ในระยะแรก ต่อมธัยรอยด์จะโตทั่วๆ ไป แต่ต่อมาจะกลายเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ หรืออาจคลำได้เป็นก้อนเดี่ยวๆ ก็ได้) ก้อนเดี่ยวและก้อนตะปุ่มตะป่ำของต่อมธัยรอยด์ อาจเกิดจาก การขาดไอโอดีน, ถุงน้ำ, ต่อมธัยรอยด์อักเสบ, เนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็ง ก็ได้

ภาวะพิษของต่อมธัยรอยด์ อาจเกิดจาก คอพอกเป็นพิษที่เรียกว่า Graves’ disease, เนื้องอกธรรมดาที่ทำงานมากเกิน (Toxic adenoma) หรือคอพอกตะปุ่มตะป่ำที่เป็นมานาน (Toxic multinodular goiter)

อาการและอาการแสดง

ไม่มีอาการอะไร นอกจากพบว่า มีต่อมธัยรอยด์โตขึ้น อาการที่เกี่ยวเนื่องกับต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ คือมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น กินจุแต่ผอมลง เหงื่อออกมาก ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจมีประจำเดือนลดลง ท้องเดิน และอาจพบการเปลี่ยนแปลงที่ตา เช่น ลูกตาโปน อาการเจ็บที่ก้อน มักพบในคอพอกที่เกิดจากการอักเสบของต่อมธัยรอยด์ หรือมีเลือดออกในก้อน อาการจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง พบในกรณีที่ก้อนโตมาก อาจมีอาการกลืนลำบาก (กดหลอดอาหาร), หายใจลำบาก (มีการกดเบียดของหลอดลม) อาการจากการลุกลามของก้อน อาจมีอาการเสียงแหบ จากการลุกลามไปที่เส้นประสาทเลี้ยงสาย เสียง, ถ้ามีอาการนี้ มักเป็นมะเร็ง อาการของการกระจายของมะเร็ง อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตขึ้น หรือมีอาการปวดกระดูก

ความสำคัญ

ต่อมธัยรอยด์โต เป็นภาวะที่พบบ่อย พบว่า ประมาณ 4-7% ของประชากร จะมีก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ (ประมาณ ครึ่งหนึ่ง จะคลำพบเป็นก้อนเดี่ยวๆ) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ก้อนเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง ประมาณ 5-10 % ส่วนภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า คือ ประมาณ 1 %

โดยมีโอกาสเป็นมะเร็งในกลุ่มที่

  • มีประวัติเคยได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอในวัยเด็ก (ถ้ามีก้อนจะพบมะเร็งประมาณ 30-40%)
  • มีประวัติมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในครอบครัว
  • ก้อนของต่อมธัยรอยด์ในเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบ่อยกว่าเพศหญิง (แต่พบก้อนของต่อมธัยรอยด์ในเพศหญิงได้บ่อยกว่า)
  • อายุ น้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 60 ปี
  • ก้อนโตเร็ว หรือมีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนลำบาก
  • ก้อนแข็ง ติดกับอวัยวะข้างเคียง
  • มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง

การสืบค้นเพิ่มเติม

  1. การตรวจเลือดดูระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid function test) ช่วยบอกว่า มีภาวะพิษของต่อมธัยรอยด์หรือไม่
  2. การเจาะดูดด้วยเข็มเพื่อดูลักษณะเซลล์ FNA (Fine needle aspiration biopsy) มีความสำคัญที่สุด ในการวินิจฉัยแยกว่า ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์นั้น เป็นมะเร็งหรือไม่
  3. การตรวจอุลตร้าซาวน์ (Ultrasound) ช่วยบอกขนาด และขอบเขตของก้อน, แยกถุงน้ำจากก้อนเนื้องอก โดยถ้าเป็นถุงน้ำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า
  4. การตรวจธัยรอยด์สแกน (Radioisotope scan) ช่วยบอกว่า ก้อนของต่อมธัยรอยด์ ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ (เรียกว่า hot nodule และ cold nodule ตามลำดับ) โดยที่มะเร็งส่วนใหญ่ จะทำงานน้อยกว่าปกติ
  5. การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ใช้ในกรณีที่ก้อนใหญ่ หรือมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง

เมื่อไปพบแพทย์แพทย์จะทำอะไรให้

  1. ประวัติ แพทย์จะสอบถาม อายุและเพศ, ระยะเวลาที่เริ่มเป็น, การเปลี่ยนแปลงของก้อน (โตเร็วหรือช้า), อาการเจ็บที่ก้อน, อาการเหนื่อยง่ายใจสั่น, ประวัติที่ชวนให้สงสัยมะเร็งดังกล่าวแล้ว (ประวัติครอบครัว, ประวัติการฉายแสง), อาการเสียงแหบ, หายใจลำบาก, กลืนลำบาก
  2. การตรวจร่างกาย นอกจากการตรวจร่างกายทั่วๆ ไปแล้ว แพทย์จะให้กลืนน้ำลาย แล้วดูลักษณะของก้อน (เนื่องจากต่อมธัยรอยด์จะเคลื่อนขึ้นลงตามการกลืน) แล้วคลำดูขนาด, ขอบเขตของก้อน, ความอ่อนแข็ง, การมีต่อมน้ำเหลืองโต, อาการและอาการแสดงทางตา ของธัยรอยด์เป็นพิษ
  3. การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกว่า มีอาการของธัยรอยด์เป็นพิษหรือไม่, เป็นมะเร็งหรือไม่ใช่มะเร็ง
  4. การรักษา เมื่อได้การวินิจฉัยแล้ว แพทย์ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุต่อไป

แนวทางในการรักษา

การรักษาก้อนเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์

  1. การผ่าตัด
    - ตรวจพบว่า ก้อนนั้นเป็นมะเร็ง หรือสงสัยว่า จะเป็นมะเร็ง
    - ก้อนมีขนาดใหญ่ กดเบียดอวัยวะข้างเคียง, ยื่นลงไปในทรวงอก
    - เพื่อความสวยงาม
  2. การสังเกตอาการ
    - ในกรณี ที่ตรวจยืนยันว่า ไม่ใช่มะเร็ง ก็ไม่ต้องผ่าตัด สังเกตอาการต่อไปได้ หรืออาจให้ฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์กิน เป็นระยะเวลาหนึ่ง
    - กรณีที่ก้อนโตขึ้น อาจพิจารณาผ่าตัด

การรักษาต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

  1. การรักษาด้วยยา ใช้ยาต้านธัยรอยด์ เพื่อควบคุมอาการของการเป็นพิษ ระยะเวลาในการให้ยา ประมาณ 1-2 ปี หากไม่หายต้องพิจารณาการรักษาวิธีอื่นต่อไป
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด ใช้ในรายที่ก้อนโตมาก มีข้อห้ามต่อการให้สารรังสี
  3. การให้สารไอโอดีนรังสี สารรังสีจะไปทำลายต่อมธัยรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ทำให้หายจากภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
โดย นพ.นพวัชร์ สมานคติวัฒน์ ศัลยแพทย์
https://www.thaiclinic.com/Goiter.htm

การรักษาโรคทัยรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis)

มี 3 อย่างใหญ่ๆคือ
  1. ใช้ยา จะมียา 2 ประเภท คือ ยาต้านทัยรอยด์ (anti thyroid drug) ก็คือ PTU และ methimazole กับยารักษาอาการใจสั่น ก็คือ propanolol ครับ ปกติการกินยาอาการจะไม่หายทันที ต้องใช้เวลา 3-6 สัปดาห์กว่าจะดูปกติ
  2. การผ่าตัด จะใช้ในกรณีมีก้อนที่คอร่วมด้วย
  3. น้ำแร่กัมมันตรังสี ใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาไม่ได้ผลครับ ออกฤทธิ์ช้า แต่เดิมจะไม่ใช้ในคนอายุน้อยหรือยังไม่มีบุตร แต่ปัจจุบันมี low dose radioactive ซึ่งใช้ในคนอายุน้อยได้ แต่ก็ยังไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้รักษาเริ่มแรกครับ และหลังจากใช้กัมมันตรังสีมักจะลงท้ายด้วยฮอร์โมนต่ำเกิน ซึ่งต้องทานยาทดแทนฮอร์โมน(Eltroxin) ตลอดไปครับ

โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์
https://www.thaiclinic.com/hyperthyroid.html

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคคอหอยพอก อาการ

โรคคอพอก

 

โรคคอพอก (Graves' disease)

    โรคคอพอกต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตั้งอยู่บริเวณลำคอด้านหน้า รูปร่างคล้ายเกือกม้า ขนาดใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนธัยรอยด์ หรือธัยร็อกซิน โดยใช้สารไอโอดีน จากอาหารที่กินเข้าไปเป็นวัตถุดิบ และมีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Thyroid Stimulating Hormone : TSH) เป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมธัยรอยด์ ฮอร์โมนธัยรอยด์จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายทำงานตามปกติ

คอพอก หรือ คอหอยพอก หมายถึง อาการที่ต่อมธัยรอยด์บวมโตผิดปกติ ทำให้คอโป่งเป็นลูกออกมา เห็นได้อย่างชัดเจน คลำได้เป็นก้อน โดยเฉพาะเวลากลืนน้ำลาย ก้อนนี้จะขยับขึ้นลงตามจังหวะการกลืน

คอพอก แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ คอพอกธรรมดา และ คอพอกเป็นพิษ

 ภาพจาก : https://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/hormone(9)/chapter4/goiter.htm

คอพอกธรรมดา (Simple goiter)

สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่
1. การขาดสารไอโอดีน ซึ่งมีมากในเกลือทะเล อาหารทะเล เมื่อร่างกายขาดสารไอโอดีน ก็จะเกิดการขาดฮอร์โมนธัยรอยด์ตามมา ทำให้ต่อมธัยรอยด์ถูกฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ดังนั้น ต่อมธัยรอยด์จึงมีขนาดโตขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงปกติของร่างกาย (Physiologic goiter) มักพบในผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น หรือผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการฮอร์โมนธัยรอยด์มากขึ้น ต่อมธัยรอยด์จึงทำงานมากกว่าธรรมดา ทำให้เกิดคอพอกขึ้น โดยที่ไม่ได้ขาดสารไอโอดีนแต่อย่างใด
3. ความผิดปกติของเอนไซม์ ในการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นตั้งแต่กำเนิด
4. ได้รับสารบางชนิด (Goitrogen) พบมากในดอกกะหล่ำ
5. ไม่ทราบสาเหตุ (พบร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด)

ภาพจาก : https://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/hormone(9)/chapter4/goiter.htm

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการคอโต (คอพอก) กว่าปกติ โดยไม่มีอาการผิดปกติของร่างกายอื่นๆ หากคอพอกก้อนโตมากๆ อาจทำให้หายใจลำบาก หรือกลืนอาหารลำบากได้

การรักษา
1. คอพอกเนื่องจากขาดสารไอโอดีน
ให้กินอาหารที่มีสารไอโอดีน เช่น อาหารทะเล เกลือไอโอดีน (เกลืออนามัย) ในการปรุงอาหารเป็นประจำ หรือแพทย์อาจให้กินยาไอโอไดด์ ในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรที่มีคอพอก ควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกมีภาวะขาดสารไอโอดีน ซึ่งจะกลายเป็นโรคเอ๋อ คือ เป็นใบ้ หูหนวก สติปัญญาต่ำ ตัวเตี้ยแคระแกร็น เจริญเติบโตช้า
2. คอพอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
โดยทั่วไปคอจะโตไม่มาก แทบจะสังเกตไม่เห็น ไม่ต้องรักษาอย่างไร เพราะจะยุบหายไปได้เอง เมื่อพ้นระยะวัยรุ่น หรือหลังคลอดแล้ว
3. คอพอกชนิดไม่ทราบสาเหตุ
จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด นอกจากมีปัญหาความสวยงาม แพทย์อาจพิจารณาให้ธัยรอยด์ฮอร์โมน เพื่อกดการเจริญเติบโตของต่อมธัยรอยด์ แต่ผลการรักษามักไม่ดี หากคอโตมากๆ มีอาการหายใจลำบากหรือกลืนอาหารลำบาก แพทย์อาจให้การรักษาโดยการผ่าตัด

 

 

คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter หรือ Hyper thyroidism)
เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงอายุ 20 - 40 ปี พบว่าเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า

สาเหตุ
เกิดจากต่อยธัยรอยด์ทำงาน มากกว่าปกติ โดยอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนธัยรอยด์ออกมาในกระแสเลือดมาก จึงไปกระตุ้นให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานมากผิดปกติ จนเกิดอาการต่างๆ ขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ต่อยธัยรอยด์ เสียหน้าที่ในการทำงานนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่า เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune) โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ กรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่นหวิว ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติและอาจไม่สม่ำเสมอ ขี้ร้อน(ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่หิวบ่อย หรืออาจกินจุกว่าเดิม เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก แต่ในคนแก่บางคนกลับกินได้น้อยลง ผู้ป่วยมักมีลักษณะลุกลี้ลุกลน หรืออาจหงุดหงิดโมโหง่าย บางคนถ่ายเหลวบ่อย อาจพบประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติได้

การวินิจฉัย
แพทย์จะให้การวินิจฉัยโดยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนธัยร็อกซิน หรืออาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆ

การรักษา
พทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยา ต้านธัยรอยด์ในขนาดสูง เพื่อกดการทำงานของต่อมธัยรอยด์ จนกว่าอาการจะดีขึ้น คือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นปกติ เหนื่อยน้อยลง ชีพจรเต้นช้าลง แล้วจึงค่อยๆ ลดปริมาณยาลงทีละ 1 - 2 เม็ด จนเหลือการกินยาวันละ 1 - 3 เม็ด แล้วคงกินยาขนาดนี้ไปเรื่อยๆ นานประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปีขึ้นไป แพทย์จึงจะพิจารณาหยุดยา ซึ่งในระหว่างการรักษานี้ แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการ หรือดูระดับฮอร์โมนธัยร็อกซินเป็นระยะๆ ผลการรักษาบางรายจะหายขาด แต่บางรายอาจมีอาการกำเริบใหม่ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วย
1. โรคคอพอกเป็นพิษอาจมีอาการต่างๆ ได้ ในบางคนอาจมีอาการคล้ายโรคกังวล เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ใจสั่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกต้อง
2. โรคคอพอกเป็นพิษสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด เพื่อติดตามการรักษาและปรับขนาดยาตามภาวะของโรคที่เป็นอยู่ ไม่ควรหยุดยาเองเพราะจะทำให้โรคกำเริบได้
3. หากรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล เช่น ได้รับยามากกว่า 2 ปีแล้ว ยังลดขนาดยาลงไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่นตามความเหมาะสม ได้แก่ การผ่าตัด การกลืนรังสีไอโอดีน 131 เป็นต้น
4. ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษที่รักษาหายแล้ว มีโอกาสกำเริบซ้ำได้ ส่วนรายที่ได้รับรังสีไอโอดีน 131 หรือผ่าตัด อาจมีโอกาสเป็นโรคต่อยธัยรอยด์ทำงานต่ำ ดังนั้น หากมีปัญหาผู้ป่วยควรกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้ที่ให้การรักษาเดิม
5. ผู้ป่วยหญิงในวัยเจริญพันธุ์ ควรคุมกำเนิดให้ดีในช่วงที่ยังรักษาอยู่ และถ้าต้องการจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อผลดีต่อผู้ป่วยและทารกในครรภ์

การแยกโรค
1. อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่นๆ เช่น
 เบาหวาน มักมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อยร่วมด้วย
 เอดส์ มักมีไข้เรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ร่วมด้วย
 มะเร็ง มักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอาการจำเพาะของมะเร็งแต่ละชนิดร่วมด้วย เช่น    จุกเสียดลิ้นปี่ (มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร) เจ็บหน้าอก ไอ (มะเร็งปอด) ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องเดิน เรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเดิน (มะเร็งลำไส้ใหญ่) เป็นต้น
2. อาการใจสั่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ อาจมีสาเหตุจากโรควิตกกังวล แต่มักจะไม่มีอาการคอพอก และชีพจรเต้นเร็วแบบคอพอกเป็นพิษ
3. อาการคอพอก อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น คอพอกจากภาวะขาดไอโอดีน ภาวะพร่องฮอร์โมน ไทรอยด์ เป็นต้น ซึ่งมักจะไม่มีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดแบบคอพอกเป็นพิษร่วมด้วย
4. อาการใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก อาจมีสาเหตุจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

      
การวินิจฉัย
แพทย์ จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการแสดงของโรค ได้แก่ ใจสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด มือสั่น ชีพจรเต้นเร็ว คอพอก และตาโปน และยืนยันโดยการตรวจเลือดพบระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทร็อกซีน) สูงกว่าปกติ ถ้าจำเป็น อาจทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น สแกนไทรอยด์ ตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์ปอด เป็นต้น
      
การดูแลตนเอง

เมื่อมีอาการคอโต (คอพอก) ใจสั่น เหนื่อยง่าย   น้ำหนักลด มือสั่น ชีพจรเต้นเร็ว หรือตาโปน ควรรีบปรึกษาแพทย์
หากตรวจพบว่าเป็นคอพอกเป็นพิษ ก็ควรปฏิบัติดังนี้
• ติดตามรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
• กินยาตามคำแนะนำของแพทย์ อย่าหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง ยาที่ให้อาจเป็นยาต้านไทรอยด์  ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษ ซึ่งต้องกินนานเป็นแรมปี ในรายที่แพทย์ทำการรักษาด้วยน้ำแร่หรือผ่าตัด อาจมี ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แทรกซ้อน แพทย์ก็จะให้    ยาฮอร์โมนไทรอยด์กินทดแทนทุกวันไปจนชั่วชีวิต
• เมื่อได้รับการรักษาจนอาการทุเลาดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่างๆ เช่น คนปกติ สามารถออกกำลังกายหรือทำงานที่ต้องใช้แรงกายได้เป็นปกติ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาทางผ่อนคลายความเครียด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย (มีอาการเหนื่อยหอบ เท้าบวม) โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (มีอาการใจเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ)
บางรายอาจมีอาการแขนขาเป็นอัมพาตเป็นครั้งคราว

ในรายที่มีอาการตาโปนมากๆ อาจทำให้ปิดตาไม่มิด เกิดแผลที่กระจกตาดำ สายตาพิการได้
ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจมีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย ผู้ชายอาจมีอาการนมโต จำนวนเชื้ออสุจิลดลง (อาจเป็นหมัน) รวมทั้งความรู้สึกทางเพศลดลง
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจเกิดอาการร้ายแรง เรียกว่าภาวะไทรอยด์วิกฤติ (thyroid crisis) มีอาการไข้สูง หัวใจเต้นเร็วมาก อาเจียน ท้องเดิน ร่างกายขาดน้ำ และอาจเกิดภาวะช็อก ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ภาวะร้ายแรงนี้มักเกิดเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด เช่น เป็นโรคติดเชื้อ เข้ารับการผ่าตัด เป็นต้น

      
การดำเนินโรค

หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน    ดังกล่าว
หากได้รับการรักษา อาการต่างๆ มักจะทุเลาได้ภายหลังการรักษาประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ แต่ต้องอาศัย ยาต้านไทรอยด์ควบคุมไปเป็นระยะยาวนาน
ในรายที่รักษาด้วยน้ำแร่หรือการผ่าตัด มักจะมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แทรกซ้อน ซึ่งต้องกินยาฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนตลอดไป

      
การป้องกัน
เนื่อง จากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จึงไม่มีวิธีป้องกันโดยตรง ส่วนผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วควรหลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ
      
ความชุก
โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ๕-๑๐ เท่า อายุที่เริ่มเป็นส่วนมากอยู่ในช่วง ๒๐-๔๐ ปี 

อ้างอิง
- สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไปเล่ม 2. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน กรุงเทพ ฯ : 2531. น. 483 - 486
- สุภาพ สุทธิสันต์ชาญชัย, แพทย์ประจำกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลลำปาง

สะท้อนความคิดเห็น:

    เนื่องจากเด็กในปัจจุบันขาดไอโอดีนมาก จึงทำให้ข้าพเจ้าอยากจะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทาง ป้องกันสำหรับคนที่เป็นโรคนี้ 

คิดอย่างไรกับโรคนี้

    เนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักใจด้านการบริโภค ข้าวของราคาแพง จึงทำให้หมู่คนจนขาดสารอาหาร ทำให้เป็น   โรคคอพอก 

แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้คนพบโรคนี้

ที่มา :

https://www.herblpg.com/thai/node/202

https://dekmor.cmu.ac.th/img_data/4741.jpg

https://www.doctor.or.th/node/1083 

 https://guru.sanook.com/picfront/main/30122008021008.jpg

 https://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/hormone(9)/chapter4/goiter.htm



+++++++++++++++++++++++++++++++++++

        โรคเกี่ยวกับคอ



           Link   https://www.dmc.tv

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





โรคเกี่ยวกับคอและอวัยวะในคอ-หมวดโรคภัยไข้เจ็บ

โรคเกี่ยวกับคอและ อวัยวะในคอ ประกอบด้วย ตัดต่อมทอนซิล ต่อมทอนซิลอักเสบ มีอาการแน่นที่คอคอตีบ เจาะคอ ผ่าตัดคอหอย คอบวม ประสบอุบัติเหตุกระดูกคอหัก ปวดต้นคอรักษาไม่หาย สายรกพันคอจนหน้าเขียว เสมหะพันคอ และไทรอยด์เป็นพิษ



 

 

ฆ่าโดยแทงที่คอ

                                        

 

บีบคอสัตว์
ฆ่าโดยแทงที่คอ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ด่าว่าพ่อแม่
   โรคเกี่ยวกับคอ และอวัยวะในคอ
บีบคอสัตว์
ผูกโกรธ
 ด่าว่าพ่อแม่

โรคเกี่ยวกับคอ
และอวัยวะในคอ
 
 

ผูกโกรธ

แผนผังแสดงกรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคเกี่ยวกับคอและอวัยวะในคอ
  
วิบาก
รายละเอียด
ตัดต่อมทอนซิลทอนซิลอักเสบ
 
1.อดีตชาติ เถียงพ่อแม่
2.อดีตชาติ วิจารณ์เพื่อนสหธรรมิกในทางไม่ดี
3.อดีตชาติ เถียง ต่อว่าผู้ใหญ่ที่อบรมสั่งสอน
4.อดีตชาติ ฆ่าสัตว์โดยทุบหัว/เชือดคอ
 
มีอาการแน่นที่คอ
1.อดีตชาติ เอาสัตว์อายุมากมาใช้งาน
2.อดีตชาติ เล่นแรงๆกับลูกหมาลูกแมว
คอตีบ
1.อดีตชาติ บีบคอลูกแมวด้วยความโกรธ
2.อดีตชาติ ทรมานข้าศึกโดยจับกดน้ำ บีบคอเพื่อรีดข่าว
เจาะคอ
1.อดีตชาติ ฆ่าสัตว์โดยแทงสัตว์ที่คอ
2.อดีตชาติ ยุแฟนให้ฆ่าภรรยาเก่า
3.อดีตชาติ สูบบุหรี่
ผ่าตัดคอหอย
1.อดีตชาติ เถียงพ่อ/แม่
คอบวม
1.อดีตชาติ เถียงพ่อ/แม่ต่อหน้าคนอื่น
ประสบอุบัติเหตุกระดูกคอหัก
1.อดีตชาติ เตะก้านคอผู้ต่อสู้จนบาดเจ็บ
2.อดีตชาติ จ้างนักเลงไปทำร้ายคู่อริ
ปวดต้นคอรักษาไม่หาย
1.อดีตชาติ ล่ามสัตว์ที่คอเอาวัวเทียมแอกให้ขนของหนัก
สายรกพันคอจนหน้าเขียว
อดีตชาติ ทรมานข้าศึกด้วยวิธีการต่างๆ
เสมหะพันคอ
อดีตชาติ เถียงพ่อแม่
ไทรอยด์ / ไทรอยด์เป็นพิษ
1.อดีตชาติ ฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยหลายๆคราวหลายๆชาติ
2.ปัจจุบันเมาแล้วอาละวาด
3.อดีตชาติ เก็บความโกรธเอาไว้นาน
4.อดีตชาติ ทุบตีทำร้ายทาส
5.อดีตชาติ ผูกโกรธ มักโกรธ
อดีตชาติ ใช้แรงงานคน/สัตว์หนักเกินไปและไม่เลี้ยงดูให้ดี
 
 
โรคเกี่ยวกับคอและอวัยวะในคอ
ประกอบ ด้วย ตัดต่อมทอนซิล ต่อมทอนซิลอักเสบ มีอาการแน่นที่คอคอตีบ เจาะคอ ผ่าตัดคอหอย คอบวม ประสบอุบัติเหตุกระดูกคอหัก ปวดต้นคอรักษาไม่หาย สายรกพันคอจนหน้าเขียว เสมหะพันคอ และไทรอยด์เป็นพิษ
 
 
สรุปกรรมที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับคอและอวัยวะในคอ
  
 
 
1.ฆ่าสัตว์โดยเชือดคอ แทงที่คอ
2.ทรมานสัตว์ ล่ามสัตว์ที่ บีบคอ
3.ด่าว่า วิจารณ์ เถียงพ่อแม่ ผู้หลักผู้ใหญ่
4.เอาสัตว์อายุมากมาใช้งานสัตว์หนักเกินไป
5.เฉพาะ โรคไทรอยด์ เกิดจากกรรมผูกโกรธ มักโกรธ เก็บความโกรธไว้นาน ไม่ยอมให้อภัย ถ้ามีกรรมใช้แรงงานคน / สัตว์หนักด้วยทำให้เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ

อัพเดทล่าสุด