แผนผังความคิดระบบต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลรามาธิบดี ต่อมไร้ท่อ แบบทดสอบระบบต่อมไร้ท่อ


19,249 ผู้ชม


แผนผังความคิดระบบต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลรามาธิบดี ต่อมไร้ท่อ แบบทดสอบระบบต่อมไร้ท่อ

แผนผังความคิดระบบต่อมไร้ท่อ

 Link  https://www.thaigoodview.com

ต่อมใต้สมอง ( Pituitary gland )

ต่อมใต้สมอง ( pituitary gland ) :ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior pituitary ) , ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( interior pituitary ) และต่อมใต้สมอง ส่วนหลัง ( posterior pituitary )

  • ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง : มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันที่เรียกว่า Adenohypophysis ซึ่งสามารถสร้าง ฮอร์โมนได้เองดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกันซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง
  • ต่อมใต้สมองส่วนหลัง : เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่เรียกว่าNeurohypophysis

ภาพแสดงตำแหน่งของต่อมใต้สมอง


ภาพแสดงลักษณะของต่อมใต้สมอง

การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
  • ต่อมใต้สมองส่วนหน้า : เซลล์ของต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะสร้างฮอร์โมนได้ต้องถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนประสาทหรือ
    รีลีสซิ่งฮอร์โมน ( releasing hormone ) ที่สร้างจากนิวโรซีครีทอรีเซลล์ ( neurosecretory cell ) ที่มีตัวเซลล์อยู่ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสเสียก่อน

ภาพแสดงการสร้างฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

  • ต่อมใต้สมองส่วนหลัง : ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ จากสมองส่วนไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด
    และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือดเข้าสู่เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อม ใต้สมองส่วนหลังดังนั้นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง
    ส่วนหลังก็คือ ฮอร์โมนประสาทนั่นเอง

ภาพแสดงการสร้างฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

 
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
 

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าหรืออะดิโนไฮโปไฟซีส (anterior pituitary gland หรือ adenohypophysis) เป็นฮอร์โมนพวก
โปรตีน ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ประเภทคือ

  • กลุ่มแรกเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายสร้างฮอร์โมนออกมาเรียกฮอร์โมนพวกนี้ว่าฮอร์โมนกระตุ้นซึ่งจะมีคำต่อท้าย
    ว่า " trophic hormone, trophin หรือ stimulating hormone " ได้แก่
    • อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟริกฮอร์โมน ( adrenocortico trophic hormone )เรียกย่อว่า ACTH
    • ไทรอยด์ สติมูเลติงฮอร์โมน ( thyroid stimulating hormone ) เรียกย่อว่า TSH
    • ลูทิไนซิง ฮอร์โมน ( luteinizing hormone ) เรียกย่อว่า LH หรือ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ สติมิวเลติงฮอร์โมน
      ( interstitial cell stimulating hormone) เรียกย่อว่า ICSH
    • ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน ( follicle stimulating hormone )เรียกย่อว่า FSH
  • กลุ่มสองเป็นฮอร์โมนที่ไปมีผลต่ออวัยวะเป้าหมายโดยตรงไม่ได้กระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายสร้างฮอร์โมน ได้แก่
    • โกรทฮอร์โมน ( growth hormone ) เรียกย่อว่า GH หรือ โซมาโตโทรฟริน ( somatotrophin ) เรียกย่อว่า STH
    • โพรแลกทิน (prolactin ) เรียกย่อว่า PRL

ภาพแสดงฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

 
1.โกรทฮอร์โมน ( growth hormone )
 
  • อวัยวะเป้าหมาย : อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายทั้งหมดโดยฮอร์โมนจะมีผลทำให้เซลล์เพิ่ม
    การนำกรดอะมิโนเข้าสู่เซลล์และเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์
  • หน้าที่ : ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายทั่วๆไป

ความผิดปกติ :

  • ฮอร์โมนมากเกินไป
    • เด็ก : ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายสูงผิดปกติเรียกว่า ไจแกนทิซึม( gigantism) พบในวัยรุ่น ไม่ค่อยพบในวัยเด็ก อาจเกิดจากการที่มีเนื้องอกของเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน หรือของไฮโพทาลามัสทำให้มีการสร้าง ฮอร์โมนมากกว่าปกติ < <ดูภาพ >>
    • ผู้ใหญ่ : ร่างกายจะไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนักแต่ส่วนที่เป็นกระดูกตาม แขน ขา คาง กระดูกขากรรไกรและกระดูกแก้ม
      ยังตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้อยู่ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า เรียกอาการดังกล่าวนี้ว่า
      อะโครเมกาลี ( acromegaly ) < <ดูภาพ >>
 
  • ฮอร์โมนน้อยเกินไป
    • เด็ก : ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายน้อยผิดปกติเกิดลักษณะเตี้ยแคระเรียกว่า Dwarfism < <ดูภาพ >>
    • ผู้ใหญ่ : จะไม่มีอาการปรากฏเด่นชัดแต่พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจะต่ำกว่าคนปกติทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียด
      ต่างๆทางอารมณ์ได้ และสมองอาจได้รับอันตรายจากการขาดน้ำตาลกลูโคสไปเลี้ยงหากเป็นมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
2. ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน ( follicle stimulating hormone = FSH )
 

ในผู้ชาย

  • อวัยวะเป้าหมาย : อัณฑะ และ หลอดสร้างอสุจิ < <ดูภาพ >>
  • หน้าที่ : กระตุ้นการเจริญของ อัณฑะและ หลอดสร้างอสุจิให้สร้างอสุจิ

ในผู้หญิง

  • อวัยวะเป้าหมาย : ฟอลลิเคิล ( follicle ) ที่อยู่ในรังไข< <ดูภาพ >>
  • หน้าที่ : กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิลและเพื่อให้ฟอลลิเคิลสร้างฮอร์โมนอีสโทรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระุ้ตุุ้นการแสดงออกลักษณะของเพศหญิง
 
3. ลูทิไนซิง ฮอร์โมน ( luteinizing hormone = LH )
 

ในผู้ชาย

  • อวัยวะเป้าหมาย : กลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล ( interstitial cell ) หรือ เซลล์เลย์ดิก ( leydig cell ) ที่แทรกอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจ< <ดูภาพ >>
  • หน้าที่ : กระตุ้นให้ กลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล หรือ เซลล์เลย์ดิกสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือเทสโทสเทอโรน

ในผู้หญิง

  • อวัยวะเป้าหมาย : ฟอลลิเคิล ( follicle ) ในรังไข่< <ดูภาพ >>
  • หน้าที่ : กระตุ้นการตกไข่จากฟอลลิเคิลและกระตุ้นให้เกิดคอปัสลูเทียมและสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนอีสโทรเจน
    ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และมดลูกเพื่อรอรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ
 
โพรแลกทิน (Prolactin = PRL )
 
  • อวัยวะเป้าหมาย : เซลล์ต่อมน้ำนม
  • หน้าที่ : กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงทารกและพบว่าขณะที่ทารกดูดนมแม่จะมีการกระตุ้นให้หลั่ง
    ฮอร์โมนนี้เพิ่มมากขึ้นทำให้มีน้ำนมเลี้ยงทารกตลอดเวลาแต่ถ้ามารดาที่ไม่ให้ นมทารกการหลั่งฮอร์โมนนี้จะน้อยลงมีผลทำให้ต่อม
    น้ำนมหยุดสร้างน้ำนม
 
อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิก ฮอร์โมน ( adrenocortico trophic hormone = ACTH )
 
  • อวัยวะเป้าหมาย : ต่อมหมวกไตส่วนนอก< <ดูภาพ >>
  • หน้าที่ : กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนตามปกติ
 
ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน ( thyroid stimulating hormone = TSH )
 
  • อวัยวะเป้าหมาย : ต่อมไทรอยด์< <ดูภาพ >>
  • หน้าที่ : กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนตามปกติ
 
เอนดอร์ฟิน ( Endorphin )
 

.......... เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนพบว่ามีแหล่งสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆอีกด้วย เป็นสารที่ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดและเชื่อกันว่าเอนดอร์ฟีนยังเป็นสารที่ ทำให้เรามีความคิดในทางสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มความ
ตื่นตัวมีชีวิตชีวาและความสุข ซึ่งสารนี้จะหลั่งเมื่อเราออกกำลังกายหรือเมื่อเรามีอารมณ์แจ่มใส จึงเรียกสารที่หลั่งมานี้ว่า สารแห่งความสุข

แผนภาพสรุปการสร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง
 

...........จะมีความสำคัญและหน้าที่เด่นชัดเฉพาะในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเท่านั้น โดยทำหน้าที่ผลิตและหลั่งเมลาโนไซต์สติมิวเลติงฮอร์โมน
(melanocyte-stimulating hormone = MSH ) จะทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เมลาโนไซต์ (melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่าง
หนังกำพร้า (epidermis) และหนังแท้ (dermis) ให้สังเคราะห์รงควัตถุสีน้ำตาล-ดำที่เรียกว่า เมลานิน (melanin) นอกจากนั้น MSH ยังทำหน้าที่กระุตุ้นให้เมลานินภายในเมลาโนไซต์กระจายตัวออกไปทั่วเซลล์ เป็นให้สีผิวเข้มขึ้น
............ในสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีผิวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อการพรางตัวได้
อย่างรวดเร็วการเปลี่ยนสีผิวดังกล่าวเกิดจากการกระจายตัวของเมลานินภายในเม ลาโนไซต์ซึ่งได้รับการกระตุ้นจาก MSH นั่นเอง
............ในคนต่อมใต้สมองส่วนกลางจะมีขนาดเล็กมาก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ผลิตและหลั่ง MSH
ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ ACTH มาก แต่ไม่มีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน

 
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง
 

ใใใใใใต่อมใต้สมองส่วนหลัง : เจริญมาจากเนื้อเยื่อประสาท ต่อมใต้สมองส่วนหลังเป็นที่เก็บฮอร์โมนสองชนิดที่หลั่งจากของใยประสาทแอกซอน (axon)ของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ที่ตัวเซลล์อยู่ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสฮอร์โมนจะเคลื่อนที่ตามเส้นประสาทแอกซอนและมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
เมื่อเซลล์ประสาทได้รับการกระตุ้น ฮอร์โมนที่เก็บไว้จะถูกหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมายเป็นพวก โปรตีนฮอร์โมน ฮอร์โมนสองชนิดที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหลังคือ

  • วาโซเพรสซินหรือแอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน ( vasopressin หรือ antidiuretic hormone) ADH
  • ออกซิโทซิน ( oxytocin )

ภาพแสดงฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

วาโซเพรสซินหรือแอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน

( antidiuretic hormone = ADH )

 
  • อวัยวะเป้าหมาย : ท่อหน่วยไตและหลอดเลือดแดง
  • หน้าที่ : กระตุ้นการดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อหน่วยไตเมื่อปริมาณน้ำในเลือดลดลงจึงควบคุมการเกิดน้ำปัสสาวะ
  • ความผิดปกติ : ถ้าขาดจะเป็นโรคเบาจืด จะปัสสาวะบ่อยเนื่องจาก ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อได้น้อย
ออกซิโทซิน ( oxytocin )
 
  • อวัยวะเป้าหมาย : กล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนม
  • หน้าที่ : กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้บีบหรือหดตัวเป็นระยะๆเพื่อให้ทารกคลอด
ใใใใใใใใใใใกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมทำให้มีการหลั่งน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก การดูดนมของทารกช่วย
ใใใใใใใใใใใ กระตุ้นให้มีการหลั่งออกซิโทซิน มากขึ้นทำใหกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมมีการบีบตัวขับน้ำนมออกมามากขึ้น

สรุปการสร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

ฮอร์โมนที่สร้าง
อวัยวะเป้าหมาย
ผลที่เกิดขึ้น
GH : โกรทฮอร์โมน
กระดูก และ กล้ามเนื้อ
ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายทั่วๆไป

GN : โกนาโดโทรฟิน

อัณฑะ , รังไข่ กระตุ้นให้อัณฑะและรังไข่เจริญและสร้างฮอร์โมนเพศ
  • FSH : ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน
ชาย : อัณฑะและหลอดสร้างอสุจิ ิกระตุ้นการเจริญของอัณฑะและการสร้างอสุจิ
  หญิง : ฟอลลิเคิล ฟอลลิเคิลเจริญและสร้างฮอร์โมนอีสโทรเจน
  • LH : ลูทิไนซิงฮอร์โมน
ชาย : เซลล์อินเตอร์สติเชียลหรือเซลล์เลย์ดิก สร้างฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเทอโรน
  หญิง : ฟอลลิเคิลที่เจริญเต็มที่แล้ว กระตุ้นการตกไข่จากฟอลลิเคิล
    กระตุ้นให้เกิดคอปัสลูเทียมและสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน

PRL : โพรแลกทิน

ต่อมน้ำนม สร้างน้ำนม

ACTH : อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิก ฮอร์โมน

ต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ

TSH : ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน

ต่อมไทรอยด์ ให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ

Endorphin : เอนดอร์ฟิน

สมองที่ควบคุมอารมณ์ความรู้ึสึก ระงับความเจ็บปวด , มีชีวิตชีวา , ความสุข
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ฮอร์โมน
อวัยวะเป้าหมาย
ผลที่เกิดขึ้น
วาโซเพรสซิน หรือ แอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน
(antidiuretic hormone)ADH
ท่อหน่วยไตและหลอดเลือดแดง ดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อหน่วยไตจึงควบคุมการเกิดน้ำปัสสาวะถ้าขาด
จะเป็นโรคเบาจืด (ปัสสาวะบ่อย)
ออกซิโทซิน ( oxytocin ) กล้ามเนื้อมดลูก กล้ามเนื้อมดลูกบีบหรือหดตัวเพื่อให้ทารกคลอด
  กล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนม ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนม

           Link  https://www.pibul.ac.th/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรงพยาบาลรามาธิบดี ต่อมไร้ท่อ

สรีระวิทยาของต่อมลูกหมาก

Fri-Jun-2012:04:27
 

นายแพทย์ ศุภณัฐ ศิริกุลชยานนท์

 
 

     ต่อม ลูกหมาก เป็น อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ซึ่งมีกลไกทางชีววิทยาที่ซับซ้อน หลั่งสารที่มีลักษณะเฉพาะตัว เวลาฉีดน้ำอสุจิ (Ejaculation)
     การเจริญเติบโต และหน้าที่ของต่อมลูกหมาก จะถูกควบคุมด้วยทั้งกลไกภายนอก (ต่อมไร้ท่อ) และกลไกภายใน (Growth factor, steroid, protein/peptide)      การทำงานของอัณฑะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนา การเจริญ หน้าที่ของลูกหมาก รวมถึงส่งผลต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต ( BPH) และ มะเร็งต่อมลูกหมาก (CA prostate)
     โดยปกติลูกอัณฑะจะสร้างฮอร์โมน  Testosterone ประมาณ 95% ของปริมาณในกระแสเลือดทั้งหมด นอกจาก ฮอร์โมน testosterone แล้ว ฮอร์โมน estrogen ก็อาจมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของลูกหมาก  เช่นกัน Leydig cell สร้างฮอร์โมน testosterone เป็นส่วนใหญ่ สร้าง androgenic และ estrogenic steroid ปริมาณเล็กน้อย โดยอิทธิพลของ LH จากต่อม pituitary ฮอร์โมนTestosterone จะถูกเปลี่ยนเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) โดย type2 isozyme 5a-reductase ซึ่ง DHT นั้นเป็นตัวหลักในการกระตุ้นการเจริญของลูกหมาก เนื่องจาก DHT มีประสิทธิภาพในการจับกับ Androgen receptor ได้ดีกว่า testosterone 10 เท่า
     การที่ DHT จับกับ Androgen receptor ก่อให้เกิด DHT-AR complex ซึ่งจะไปเกาะกับจุดจำเพาะบน DNA ซึ่งมีผลต่อการสร้าง regulatory และ secretory protein ส่งผลทำให้ cellular proliferation, apoptotic activity, secretory activity เปลี่ยนไป
     Androgen ตัวอื่นซึ่งมีผลต่อการเจริญของต่อมลูกหมาก ส่วนใหญ่มาจาก adrenal gland (เช่น androstanedione, dehydroepiandrosterone) หรือเป็น metabolite ตัวอื่นของฮอร์โมน testosterone ตัวอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการเจริญของต่อมลูกหมาก เช่น prolactin, insulin, growth hormone, thyroid hormone
     นอกจากกลไกต่างๆ ที่กล่าวมา กลไกของ paracrine, autocrine, กลไกของ type1 isozyme 5a-reductase ก็อาจมีผลต่อการเจริญของ prostate
     สารคัดหลั่ง (secretion) จากต่อมลูกหมาก มาจาก epithelial cell ส่วนใหญ่เป็น สารคัดหลั่งที่เป็นส่วนประกอบของ semen และอาจผลิตสารที่ป้องการการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะด้วย  โดยเริ่มสร้างในช่วง postpubertal ปกติคนเราหลั่งอสุจิประมาณ 3.5 cc (2-6 cc) โดยเป็นสารคัดหลั่ง จาก ต่อมลูกหมาก ประมาณ 0.5 cc และจาก seminal vesicle ประมาณ 2 cc ซึ่ง 15% ของ seminal vesicle สารคัดหลั่ง สร้างมาจากต่อมลูกหมาก
     กลไกการหลั่งสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมาก อยู่ภายใต้การควบคุมทาง neuroendocrine (ผ่านทาง pelvic plexus, postganglionic lumbar sympathetic nerves) สารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมาก เป็นส่วนผสมของ organic และ inorganic compound

 
 

ส่วนประกอบของสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมาก
zinc, magnesium, calcium, citrate, nitrogenous compound phosphorylcholine, polyamines spermine, spermidine, Prostatic specific antigen (PSA), protate-secreted acid phosphatase (PAP)


  Link  โรงพยาบาลรามาธิบดี

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แบบทดสอบระบบต่อมไร้ท่อ

แบบฝึกหัด เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ 

 

1. ฮอร์โมนที่ทีส่วนควบคุมระดับน้ำในเลือดคือ

    1. insulin                                                            2. insulin & glocagon

    3. insulin & adrenalin                                            4. insulin, glocagon & adrenalin

2. Acromegaly เป็นโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมนใดมากเมื่อตอนเป็นผู้ใหญ่
   
    1. Growth hormone จาก posterior pituitary

    2. Growth hormone จาก anterior pituitary

    3. Gonadotrophins จาก  posterior pituitary

    4. Thyroxine จาก thyroid

3.  การที่ไก่ตัวผู้มีหงอนและขนยาวกว่าตัวเมีย เป็นเพราะการทำงานของฮอร์โมนใด
    
     1.  cortisone                                                      2.  Estrogen

     3.  testosterone                                                 4.  Glucagon

4.  ต่อมไร้ท่อใดที่มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนได้น้อยมากในระหว่างที่ร่างกายเติบโต 
    
     1.  adrenal glands                                               2.  Gonads

     3.  pituitary                                                       4.   Thyroid

5.  ถ้าต่อมใต้สมองถูกทำลายการทำงานของต่อมไม่มีท่อส่วนใหญ่จะผิดปกติยกเว้นข้อใด
    
     1.  Testis, adrenal medulla                                   2.  Thyroid, adrenal cortex, ovary

     3.  ovary, testis, placenta                                    4.  Adrenal, medulla, parathyroid, thymus

6.  อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เนื่องจากเมารถหรือเมาเรือนั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญ คืออะไร
    
     1.  มีกาหลั่ง adrenalin มากกว่าปกติ                          2.  เลือดดีไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

     3.  ประสาทรับความรู้สึกในหูชั้นในถูกกระตุ้น                  4.  ข้อ 1. 2. และ 3. รวมกัน


7.  ฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดตร ได้แก่
    
     1.  cortisol, insulin, melatonin                              2.  Glucagon, calcitonin, adrenalin

     3.  adrenalin, cortisol, glucagon                           4.  Insulin, adrenalin, oxytocin

8.  หากร่างกายไม่ได้รับไอโอดีนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ โรคที่น่าจะเป็นได้ง่ายที่สุดควรจะเป็น

    1.  คอหอยพอกและตาโปน                                      2.  myxedema

    3.  คอหอยพอกและ myxedema                               4.  Grave’s disease

9.  ไทรอกซินในเด็กทำหน้าที่ควบคุม

    1.  การเจริญเติบโตของร่างกาย                                2.  การพัฒนาทางจิตใจ

    3.  เมแทบอลิซึมของร่างกาย                                   4.  การสะสมไขมันของร่างกาย

10. เมื่อตั้งกระถางต้นไม้ไว้ริมหน้าต่างต้นไม้จะเบนเข้าหาแสงท่านคิดว่าฮอร์โมน IAA ที่เกี่ยวข้องกับการ   เบนของต้นไม้นี้

      ควรจะอยู่ทางด้านใดของต้น

      1.  ด้านที่ได้รับแสง                                             2.  ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านที่ได้รับแสง

      3. อยู่เท่ากันทั้งสองด้าน                                       4.  IAA จะถูกแสงทำลายทั้งหมด

11. การชักนำให้กบตัวเมียสร้างและผลิตไข่ในห้องปฏิบัติการโดยการฉีดสารที่สกัดจากกบตัวอื่น เข้าที่หน้าท้องกบตัวเมียตัว

      นั้น สารดังกล่าวสกัดได้จากส่วนใด
    
     1.  ต่อมใต้สมอง                                                  2.  ต่อมไทรอยด์

     3.  ไข่กบ                                                          4.  อัณฑะ(testis)

12. ถ้า 1 = estrogen, 2 = progesterone, 3 = lutinizing hormone ระดับฮอร์โมนหลังการตกไข่จะเป็นอย่างไร

     1.  1 ลดลง, 2 เพิ่มขึ้น, 3 ลดลง                               2.  1 ลดลง, 2 เพิ่มขึ้น, 3 เพิ่มขึ้น

     3.  1 ลดลง, 2 ลดลง, 3 ลดลง                                4.  1 เพิ่มขึ้น, 2 เพิ่มขึ้น, 3 ลดลง

13. ถ้านำต้นพืชกำลังงอกรากจุ่มลงในสารละลายออกซินที่เข้มข้นโดยเฉพาะส่วนที่เป็นรากสัมผัสกับสารละลาย แล้วทิ้งไว้

      พบว่ารากจะ
      
     1.  งอขึ้น                                                    2.  หยุดการเจริญเติบโต

     3.  ยืดยาวออกมากกว่าปกติ                              4.  เน่าตาย

14. ชื่อในข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันน้อยสุด
      
      1.  ไอโอดีน ไทรอกซิน ต่อมใต้สมอง                   2.  ตับ น้ำดี อินซูลิน

      3.  พาราไทรอยด์ วิตามินดี แคลซิโทนิน               4.  อออกซิโทนิน ไฮโพทาลามัส มดลูก

 15. ปัจจัยใดจำเป็นที่สุดสำหรับการเปลี่ยนสภาพจากลูกอ๊อดมาเป็นกบตัวน้อยๆ
      
      1.  แคลเซียม                                              2.  ไอโอดีน

      3.  วิตามินดี                                                4.  แคลเซียมและฟอสฟอรัส

16. นอกเหนือจากฮอร์โมน อวัยวะใดที่มีความสำคัญในการรักษาระดับของแคลเซียมในเลือด
     
      ก.  ตับ                             ข.  กระดูก                            ค.  ลำไส้

      ง.  ไต                              จ.  ตับอ่อน

      1.  ข, ค, ง                                                 2.  ก, ข, จ

      3  ก, ค, ง                                                  4.  ข, ง, จ

17. หากตัดต่อมใต้สมองพูหน้าออก จะมีผลกระทบต่อสิ่งใดน้อยที่สุด
      
     1.  การสร้างฮอร์โมน thyroxine                         2.  การสร้างน้ำนมเลี้ยงลูกอ่อน

     3.  เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดตร                     4.  การสงวนน้ำของหน่วยเนฟรอน


18. หน้าที่ของออกซินเทียบได้กับการทำงานของฮอร์โมนที่สร้างต่อมใด
       
     1.  ต่อมไทรอยด์                                            2.  ต่อมพาราไทรอยด์

     3.  ต่อมใต้สมองส่วนหลัง                                  4.  ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

19. เมื่อน้ำตาลในเลือดลดต่ำกว่าปกติเซลล์ของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานที่ถูกกระตุ้นและฮอร์โมนที่หลั่งออกมา คือข้อใด

     1.  เบตาเซลล์และกลูคากอน                              2. เบตาเซลล์และอินซูลิน

     3.  แอลฟาเซลล์และกลูคากอน                            4.  แอลฟาเซลล์และอินซูลิน

20. คนที่ดื่มเบียร์มาก จะปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก เป็นเพราะเหตุใด
     
     1.  สร้าง aldosterone เพิ่มขึ้น                           2.  เพิ่มแรงดันเลือด

     3.  ลดปริมาณ antidiuretic hormone                 4.  Proximal tubule ดูดน้ำกลับมากขึ้น

เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ 

1. ข้อ 4 เหตุผล glucagon และ adrenalin เพิ่มน้ำตาลกลูโคสในเลือด ส่วน insulin ลดกลูโคสในเลือดโดยการเร่งการสร้าง

    ไกลโคเจนและการนำกลูโคสเข้าเซลล์ 
2. ข้อ 2 เหตุผล acromegaly เป็นโรคที่มี GH จาก anterior pituitary มากมีอาการคางยื่น ฟันห่าง กระดูกแขนขายาวเก้งก้าง อวัยวะ

    ภายในขยายโตขึ้น
3. ข้อ 3 เหตุผล testosterone เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากอัณฑะควบคุมลักษณะที่เรียกว่า male secondary characteristic

4. ข้อ 2 เหตุผล gonads ในขณะเจริญเติบโตจะหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยมากแต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการหลั่งเพิ่มมากขึ้น

5. ข้อ 4 เหตุผล  Adrenal, medulla, parathyroid, thymus  ซึ่งทำงานได้ด้วยตนเอง ไม่มีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมาควบคุมอย่าง

    ต่อมอื่นๆส่วนใหญ่

6. ข้อ 3 เหตุผล ประสาทรับความรู้สึกในหูชั้นในถูกกระตุ้น

7. ข้อ 3 เหตุผล ฮอร์โมนที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต คือ

    - Adrenalin  สลายไกลโคเจนเพิ่มกลูโคสในเลือด
 
    - Cortisol  มีการสร้างไกลโคเจนแต่สลายโปรตีนและไขมัน

    -  Glucagon  สลายไกลโคเจนเพิ่มกลูโคสในเลือด

8. ข้อ 3 เหตุผล เมื่อร่างกายขาดไอโอดีนจะทำให้เกิดโรคคอหอยพอกและ myxedema มีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำ หายใจช้า ตัวเย็น

    และมีอาการบวม

9. ข้อ 3 เหตุผล ฮอร์โมน thyroxine มีหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกายถ้าหากมีมากเกินหรือมีน้อยเกินทำให้เกิดโรคได้หลาย

    ชนิด

10. ข้อ 2 เหตุผล ฮอร์โมน IAA หรือ auxin ที่ยอดจะอยู่ด้านตรงข้ามกับแสงสว่างทำให้ด้านนั้นแบ่งเซลล์ได้มากพืชจึงมียอดที่เอนเข้า

      หาแสงเสมอ

11. ข้อ 1 เหตุผล เพราะต่อมใต้สมองมีฮอร์โมน FSH และ LH ซึ่งมีผลในการกระตุ้นให้กบตัวเมียสร้างไข่และผลิตไข่ได้

12. ข้อ 1 เหตุผล หลังจากไข่ตกแล้ว ฮอร์โมนอีสโทรเจนจะลดลง ส่วนโพรเจสเทอโรนจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการสร้าง คอร์พัสลูเทียม

      ส่วน LH ก็ลดลงหลังจากที่เพิ่มสูงมากตอนไข่ตก

13. ข้อ 2 เหตุผล ออกซินในปริมาณสูงหรือเข้มข้นจะมีผลในการยับยั้งการแบ่งเซลล์และการเจริญทำให้รากพืชส่วนนั้นหยุดการเจริญ

14. ข้อ 2 เหตุผล ตับสร้างน้ำดี ส่วนอินซูลินเร่งการใช้กลูโคสและสร้างเป็นไกลโคเจนของตับซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

15. ข้อ 2 เหตุผล ไอโอดีนจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอกซินซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนสภาพของลูกอ๊อด เป็นกบตัวน้อยๆ

16. ข้อ 1 เหตุผล แคลเซียมอยู่ในกระดูก(ข) ดูดซึมโดยลำไส้(ค) ขับออกทางไต(ง)

17. ข้อ 4 เหตุผล การดูดน้ำกลับที่หน่วยไต เกิดจากฮอร์โมน ADH จากต่อมใต้สมองส่วนหลังและไฮโพทาลามัส

18. ข้อ 4 เหตุผล auxin ควบคุมการเจริญเติบโตในพืชส่วน GH สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าควบคุมการเจริญเติบโตของคน

19. ข้อ 3 เหตุผล เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำแอลฟาเซลล์จะหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

20. ข้อ 3 เหตุผล ปริมาณ ADH ลดลง เป็นผลให้ดูดน้ำกลับน้อยลงปัสสาวะจึงมากขึ้น

ขอบคุณที่มา

    ประสงค์ หลำสะอาด, คู่มือสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ม.5 เล่ม 3-4,  

    กรุงเทพฯ, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรืองแสงการพิมพ์, 2548

อัพเดทล่าสุด