ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ คำถามเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ
โรคในระบบต่อมไร้ท่อ |
ลักษณะทั่วไป
โครงงานนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการศึกษาถึงโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ว่ามีลักษณะของโรค
อย่างไร เกิดจากความผิดปกติของต่อมชนิดใด เนื่องมาจากฮอร์โมนใด เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุของการเกิด
โรคว่าสืบเนื่องมาจากสาเหตุใด มีวิธีการดูแลรักษาโรคเหล่านั้นได้อย่างไร ด้วยเหตุนี่จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า
และได้คำตอบออกมาว่าโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อส่วนใหญ่นั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจากฮอร์โมนใน
ต่อมไร้ท่อ แต่ละชนิดทำงานผิดปกติ อาจผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ทำให้เกิดความ
บกพร่องของกระบวนการทำงานใน ร่างกายจนเป็นสาเกตุให้เกิดโรคต่างๆขึ้นมา
ซึ่งโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อนี้อาจจะสืบเนื่องมาจากการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม
หรือเพิ่งเป็นขึ้นมาภายหลัง จะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ โรคเหล่านี้ก็เป็นผลเสียแก่ร่างกายด้วยกันทั้งสิ้น
จากการศึกษาโรคในระบบต่อมไร้ท่อ มีผลต่อสุขภาพมากมาย โรคในระบบต่อมไร้ท่อมีสาเหตุแตกต่างกัน
ออกไป เบาหวานเกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินน้อยเกินไป พบได้กับทุกเพศทุกวัย
คอพอกธรรมดา เกิดจากการขาดธาตุไอโอดิน การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มักพบในหญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น
เป็นกันมากในแถบภาคเหนือและภาคอีสาน
คอพอกเป็นพิษ เพราะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไป
ต่อมธัยรอยด์อักเสบ อาจเกิดจากภูมิแพ้
มะเร็งต่อมธัยรอยด์พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรักษาที่คอตอนเด็ก
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง โรคคุชชิง เกิดจากฮอร์โมน
สเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ
โรคแอดดิสัน เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย
โรคซีแฮน เกิดจากต่อมใต้สมองทำงานน้อย ส่งผลให้ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไตและรังไข่ไม่ทำงานไปด้วย
ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคที่เกิดจากระบบต่อมไร้ท่อส่วนใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในต่อมไร้ท่อต่างๆ
ถึงแม้ว่าบางโรคจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่เราก็ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรไป
ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรไปตรวจเช็คร่างกายของตนเป็นประจำ
เพื่อเป็นการป้องกันรักษาตนเอง ให้ห่างไกลไปจากโรคเหล่านี้
ความเป็นมาความสำคัญของปัญหา
จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปัจจุบันประชาชนป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบต่อมไร้ท่อ
เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทลต่อวงการแพทย์ในการดูแลป้องกันรักษา อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการ
พัฒนาประเทศชาติอีกทางหนึ่ง การศึกษารายละเอียดของโรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อนี้ จึงมีความสำคัญและ
จำเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะดูแลป้องกันรักษาต่อไป
ความจริงแล้วโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อนั้น ส่วนใหญ่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่ถึงกระนั้นก็มีบางโรคเช่นกัน
ที่พบเป็นส่วนมาก และประชาชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคคอพอก จะเห็นได้ว่า
โรค 2 โรคนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ของประชาชนทุกคนโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ที่กำลังทวีความรุนแรง
และเพิ่มจำนวนขึ้นมาทุกขณะ อาจจะโดยการถ่ายทอดมาทาง พันธุกรรม เป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นสืบเนื่อง
จากความผิดปกติของสภาพร่างกายอาจจะโดยสาเหตุจากอุปนิสัยในการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
กินอาหารที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย อยู่ในภาวะอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และ
อีกโรคที่พบบ่อยมากโดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนืออยู่ห่างไกลจากทะเล จึงไม่ค่อยได้รับประทาน
อาหารทะเล เป็นผลให้เกิดโรคคอพอกขึ้นมา แต่ในปัจจุบันนี้โรคนี้ได้ลดจำนวนลง เพราะได้มีการผลิตเกลือ
ที่มีธาตุไอโอดีนผสมอยู่ให้ได้ใช้กันอย่างทั่วถึง แต่ก็มีประชาชนอีกหลายคนเช่นกันที่ยังคงเป็นโรคเหล่านี้กันอยู่
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรค
เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ลักษณะอาการของโรค พร้อมทั้งจะได้ทราบวิธีการป้องกันรักษาต่อไป ซึ่งข้อมูล
ที่จัดทำขึ้นนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจศึกษา และประชาชนทุกคนต่อไปได้ในอนาคต จะได้เป็นผู้ที่มี
สุขภาพร่างกายดี ปราศจากโรคภัยต่างๆ
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ต่างๆคือ
A Tour of the Endocrine System
|
นิยามศัพท์เฉพาะ
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland ) เป็นต่อมไร้ท่อรูปร่างคล้ายผลองุ่น อยู่ตรงส่วนบนของไต (คล้าย
หมวดที่ครอบอยู่เหนือยอดไต) ทั้งสองข้าง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแกน (medulla) กับส่วนนอก
(cortex)
ต่อมหมวกไตส่วนแกน มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน แอดรีนาลีน (Adrenal) กับ นอร์แอดรีนาลีน (nor- Adrenal)
ซึ่งจะช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต การสร้างฮอร์โมนทั้งสองชนิดจะถูกกระตุ้นโดยสมอง
ส่วนต่อมหมวกไตส่วนนอก จะสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ แอลโดสเตอโรน (aldosterone) มีหน้าที่ควบคุมระดับเกลือแร่ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม
ให้อยู่ในภาวะสมดุล
กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มสเตอรอยด์ ที่มีฮอร์โมนไฮโดรคอร์ติโซนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญๆหลายอย่าง
รวมทั้งการเปลี่ยนคาร์โปไฮเดรตให้เป็นไกลโคเจน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน เก็บไว้ในตับ
กลุ่มที่สาม ประกอบด้วยฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ แอนโดรเจน (androgen) และฮอร์โมนเพศหญิงได้แก่ เอสโตรเจน (estrogen) กับ โพรเจสเตอโรน (progesterone) การสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ทุกชนิด (ยกเว้นแอลโดสเตอโรน ซึ่งกระตุ้นโดยสารเรนินที่หลั่งจากไต) อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง
ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (ต่อมเอนโดไครน์) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่
ลำคอด้านหน้า ต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย มีรูปร่างเหมือนเกือกม้า ประกอบด้วยปีกซ้ายและปีกขวา เชื่อมต่อ
กันด้วยคอคอด ปกติจะมีขนาดใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย และมองเห็นได้ไม่ชัดเจน
ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน เรียกว่า ฮอร์โมนธัยรอยด์ (Thyroid hormone) หรือ ไทร็อกซีน
(Thtroxine) โดยใช้ไอโอดีน จากอาหารที่เรากินเข้าไปเป็นวัตถุดิบ และมีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ทีเรียกว่า ฮอร์โมนกระตุ้นธัยรอยด์ (Thyroid stimulating hormone หรือ TSH) เป็นตัวควบคุม
การทำงานของต่อมธัยรอยด์
ฮอร์โมนธัยรอยด์จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างการทำงานเป็นปกติ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานจนทนไม่ไหว เกิดเป็นโรคคอพอกเป็นพิษ ตรงกันข้าม ถ้ามีฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป ร่างกายก็จะเฉื่อยชา เกิดโรคที่เรียกว่า ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
ถ้าขาดฮอร์โมนนี้มาตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กเจริญเติบโตไม่ดี ตัวเตี้ยแคระ ปัญญาอ่อน เรียกว่า เด็กเครติน (Cretin)
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5% ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศทุกอายุ แต่จะพบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปี
ขึ้นไป และคนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มีลูกดก มีโอกาสเป็นโรค
นี้ได้มากขึ้น
สาเหต : โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย
ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกาย
ไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในลือดและอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ
ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า เบาหวาน
ผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไต จะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย
จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมากก็จะทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ
เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน
ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ จึงทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะ
แทรกซ้อนมากมาย
โรคนี้มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ กล่าวคือ มักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอย่างอื่นเช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆจนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง , มะเร็งของตับอ่อน , ตับแข็งระยะสุดท้าย , คอพอกเป็นพิษ , โรคคุชชิง เป็นต้น
ประเภทของเบาหวาน
เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆที่มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรงและการรักษาต่างกัน ได้แก่
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและ
อันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้
จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านทำลายตับอ่อนของ
ตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune)
ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิกปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก
ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ
มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร
คีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้
ผู้ป่วยหมดสติถึงตายๆได้รวดเร็ว เรียกว่า ภาวะคั่งสารคีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulindependent diabetes) เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอ
กับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็น
พวกที่อ้วนมากๆ กับพวกที่ไม่อ้วน (รูปร่างปกติหรือผอม) สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไป มีลูกดก จาก
การใช้ยา หรือพบร่วมกับโรคอื่นๆ ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิสเช่นที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร
หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน ก็มักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้า
ระดับน้ำตาลสูงมากๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้อง
พึ่งอินซูลิน
โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น
1.ตา อาจเป็นต้อกระจก ก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (Viteous
hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดใด้
2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจ
ทำให้แผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตก
ในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน
3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วย
เบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง ,อัมพาต ,โรคหัวใจขาดเลือด
ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ
หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ , กรวยไต
อักเสบ , ช่องคลอดอักเสบ , เป็นฝีพุพองบ่อย , เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ
ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง
(ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จน
กระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้ การรักษาโรคเบาหวาน Diabetes
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เกี่ยวกับโรคภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับน้ำตาลหรือกลูโคส (glucose ) ในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุ
ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบหลังดื่มเหล้าจัด อดข้าว มีไข้สูง หรือออกกำลังมากไป
2. ผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังได้รับยาเบาหวาน บางครั้งกินอาหารน้อยไป หรือออกกำลังมากไปกว่าที่เคยทำอยู่
ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ผู้ป่วยที่กินยาเม็ดรักษาเบาหวานในตอนเช้ามักจะมีอาการตอนเช้ามืด
ของวันรุ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินตอนเช้า มักจะมีอาการตอนบ่ายๆ
3. พบในทารกแรกคลอดที่แม่เป็นเบาหวาน หรือทารกมีน้ำหนักน้อย
4. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ บางคนก็อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นครั้งคราวได้ เนื่องจากร่างกายมีการใช้น้ำตาล
มากขึ้น
5. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระเพาะออกไปแล้ว อาจเกิดภาวะนี้ได้บ่อยๆ โดยมากจะเกิดหลังกินอาหาร 2-4 ชั่วโมง
เนื่องจากลำไส้มีการดูดซึมน้ำตาลเร็วเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกเป็นจำนวนมากทำให้
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เรียกว่า dumping syndrome
6. ถ้าเป็นอยู่บ่อยๆ อาจมีสาเหตุจากเบาหวานระยะเริ่มแรก , โรคตับเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน , มะเร็งต่างๆ ,
โรคแอดิสัน เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจหวิว ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก รู้สึกหิว บางคนอาจมี
อาการปวดศีรษะ ซึม กระสับกระส่าย พูดอ้อแอ้ แขนขาอ่อนแรง ปากชา มือชา พูดเพ้อ เอะอะ โวยวาย ก้าวร้าว
ลืมตัว หรือทำอะไรแปลกๆ (คล้ายคนเมาเหล้า) ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการชัก หมดสติ
ในรายที่เกิดจากการดื่มเหล้า ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเย็นชืด แขนขาเกร็ง ขากรรไกรแข็ง
การตรวจร่างกาย นอกจากพบอาการดังกล่าวแล้ว ชีพจรพามักเบา เร็ว และความดันเลือดต่ำ (แต่ก็อาจพบว่า
ปกติก็ได้) รูม่านตามักจะมีขนาดปกติ และหดลงเมื่อถูกแสง
อาการแทรกซ้อน
หากปล่อยให้หมดสติอยู่นาน หรือเป็นอยู่ซ้ำ ๆ จะทำให้สมองพิการ ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
จากเดิม วิกลจริต บางคนอาจหลับไม่ตื่น เนื่องจากสมองพิการอย่างถาวร
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเกี่ยวกับโรคภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (ค่าปกติประมาณ 8.5-10.5 มิลลิกรัม
ต่อเลือด 100 มล. )
เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก อาจพบได้ทั้งในทารกและผู้ใหญ่ได้
สาเหตุ
1. ในผู้ใหญ่ส่วนมาก มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ (เช่นผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมธัยรอยด์
โตมาก) แล้วตัดเอาต่อมพาราธัยรอยด์ออกไปด้วย จึงทำให้เกิดภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ ทำงานน้อย
( Hypoparahtyroidism) ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนช่วยรักษาระดับของแคลเซียมในเลือดให้อยู่ใน
สมดุล เมื่อต่อมนี้ทำงานได้น้อยก็ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจแสดงอาการภายหลังผ่าตัดแล้วเป็น
ปีๆ ก็ได้ และอาจเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ , ภาวะไตวายเรื้อรัง , การใช้ยา
ขับปัสสาวะนานๆ , ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ , ภาวะขาดวิตามินดี , ลำไส้ดูดซึมธาตุแคลเซียมได้น้อย เป็นต้น
2. ในทารกแรกเกิด ถ้ามีอาการภายใน 2-3 วัน หลังคลอด อาจมีสาเหตุจากการให้ทารกกินนมวัวระเหย , ทารก
ที่มีแม่เป็นเบาหวานแบะมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ , ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย
ถ้ามีอาการหลังคลอดเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนอาจมีสาเหตุจากแม่เป็นโรคต่อมพาราธัยรอยด์ ทำงานมากเกิน
(Hyperparathyroidism) , ทารกเป็นโรคต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย , ภาวะขาดวิตามินเอ , ภาวะ
แมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) เป็นต้น
อาการ
ที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการมือจีบเกร็งทั้งสองข้อง แบบเดียวกับที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบจากอารมณ์
นอกจากนี้อาจเป็นตะคริวที่ขา ใบหน้า หรือปวดบิดในท้อง บางคนอาจมีความรู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้นและปลายมือ
ปลายเท้า ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชัก
ในทารก อาจมีอาการชัก หายใจลำบาก ตัวเขียว บางคนมีอาการอาเจียน (ซึ่งอาจรุนแรงจนเข้าใจผิดว่ามีภาวะ
กระเพาะลำไส้อุดตัน)
อาการแทรกซ้อน
ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำมากๆ อาจทำให้หัวใจวาย , กล่องเสียงเกร็งตัวจนหานใจไม่ได้
ถ้าเกิดจากภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย หากปล่อยได้เรื้อรัง อาจทำให้เป็น
ต้อกระจก บุคลิกเปลี่ยนแปลงซึมเศร้า ถ้าหากเป็นตั้งแต่เล็กๆหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ ฟันเสีย ร่างกายไม่เจริญเติบโต และปัญญาอ่อนได้
การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล ในรายที่มีประวัติการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ (สังเกตเห็นรอยแผลที่คอ) อาจให้การ
รักษาเบื้องต้น ด้วยการฉีดแคลเซียมกลูโคเนต 10 มล. เข้าเส้นเลือดช้าๆซึ่งจะช่วยให้หายชักเกร็งทันที
ควรจะเจาะเลือดตรวจดูระดับแคลเซียม (มักจะต่ำกว่า 7.5 มิลลิกรัมต่อเลือด 100มล.) และทำการตรวจหา
สาเหตุ อาจต้องให้ผู้ป่วยกินเกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมกลูโคเนต เป็นประจำทุกวัน
ในรายที่มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ บางคนอาจมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำชั่วระยะหนึ่ง และอาจ
หายได้เอง แต่บางคนก็อาจเป็นถาวะ ซึ่งต้องคอยกินยารักษาตลอดไป
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่เกี่ยวกับโรคคอพอกธรรมดา
คอพอก (คอหอยพอกก็เรียก) หมายถึง อาการที่ต่อมธัยรอยด์ ตรงบริเวณคอหอยเกิดบวมโตผิดปกติ ทำให้คอ
โป่งเป็นลูกออกมาให้เห็นชัดเจน และสามารถคลำได้เป็นก้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาผู้ป่วยทำท่ากลืนน้ำลาย
ก้อนนี้จะขยับขึ้นลงตามจังหวะการกลืน
คอพอกสามารถแบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ คอพอกธรรมดา และคอพอกเป็นพิษ คอพอกธรรมดา มีสาเหตุ
ที่สำคัญ ได้แก่
1. การขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งมีมากในเกลือทะเลและอาหารทะเล จึงพบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
ในแถบที่เป็นที่ราบสูงหรือใกล้เขตภูเขา เมื่อร่างกายขาดธาตุไอโอดีน ก็เกิดการขาดฮอร์โมนธัยรอยด์ตามมา
ทำให้ต่อมธัยรอยด์ถูกฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (ที่คอยกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงาน) กระตุ้นจนมีขนาด
โตขึ้น จนกลายเป็นคอพอก
2. การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มักพบในหญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น หรือกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายต้องการ
ฮอร์โมนธัยรอยด์ (ไทร็อกซิน) มากขึ้น ต่อมธัยรอยด์จึงต้องทำงานมากกว่าธรรมดา ทำให้เกิดเป็นคอพอก
โดยที่ไม่ได้มีการขาดธาตุไอโอดีนแต่อย่างไร เรียกว่า คอพอกสรีระ (Physiologic goiter)
3. จากผลของยา เช่น พีเอเอส , เอทิโอนาไมด์ ที่ใช้รักษาวัณโรค , เฟนิลบิวตาโซน เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการคอโต (คอพอก) กว่าปกติ โดยไม่มีความผิดปกติอื่นๆ (เช่น ไม่อ่อนเพลีย น้ำหนักไม่ลด
ไม่เหนื่อยง่าย เป็นต้น) แต่ถ้าก้อนโตมากๆ อาจทำให้หายใจลำบาก หรือกลืนลำบาก
การรักษา
คอพอกประจำถิ่น ให้กินเกลือไอโอดิน (เกลืออนามัย) หรือยาไอโอไดดด์ (อาจเป็น ชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ)
เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
เพื่อป้องกันมิให้ลูกที่เกิดมามีภาวะขาดไอโอดิน กลายเป็นเด็กโง่ เป็นใบ้ หูหนวก ตัวเตี้ยแคระ ดังที่เรียกว่า
เด็กเครติน (cretin) ถ้าคอโตมากๆหรือมีอาการหายใจหรือกลืนลำบากอาจตัองรักษาด้วยการผ่าตัดเอาออก
2. คอพอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งพบในสาววัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ โดยทั่วไปคอจะโต
ไม่มาก หรือ แทบสังเกตไม่เห็น ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร จะยุบหายได้เองเมื่อพ้นระยะวัยรุ่นหรือ
หลังคลอด แต่ถ้าคอโตมาก ควรให้ยาสกัดธัยรอยด์ (Thyroid extract) หรือเอลทร็อกซิน (Eltroxin)
กินวันละครั้งๆละ 1-2 เม็ด ซึ่งอาจต้องกินนานเป็นปีๆ อาจช่วยในคอยุบได้แต่ถ้าคอโตมากๆอาจต้องรักษาด้วย
การผ่าตัด
3. ในรายสงสัยเกิดจากยา ควรหยุดยาที่กิน หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน ก็จะช่วยให้คอยุบหายไปได้เอง
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเกี่ยวกับโรคคอพอกเป็นพิษ
คอพอกเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ทุกวัย แต่จะพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี
พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 5 เท่า
โรคนี้มักมีอาการเรื้อรังนานเป็นปีๆ บางคนอาจหายได้เอง แต่ก็อาจกำเริบได้อีก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจ
เป็นอันตรายร้ายแรงได้ บางรายอาจพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
สาเหตุ
ปกติ ต่อมธัยรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมธัยรอยด์ทำงาน
ได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมธัยรอยด์ทำงาน
ได้มากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ ทำให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยลง
(สู่ระดับปกติ)
ในคนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมธัยรอยด์ทำงานมากเกิน โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อม
ใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนธัยรอยด์ (ไทร็อกซีน) ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้น
ให้เซลล์ต่างๆของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบายต่างๆ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมธัยรอยด์เสียสมดุลในการทำงานนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา
ภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune ) เช่น เดียวกับโรคเอสเอลอี
โรคนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย) ทางกรรมพันธุ์ (พบมีญาติพี่น้อง
เป็นร่วมด้วย) และความเครียดทางจิตใจ
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียน
หนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น
มักมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มคอตลอดเวลา)
น้ำหนักตัวจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติหรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกาย
มีการเผาผลาญอาหารมาก
ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรือ อาจมีอาการ
หงุดหงิด โมโหง่าย
บางคนอาจมีอาการกล้าเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือภาวะอัมพาตครั้งคราว จากโพแทสเซียม
ในเลือดต่ำ ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนน้อยหรือขาดประจำเดือน
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อต่อมธัยรอยด์อักเสบ
1. ต่อมธัยรอยด์อักเสบจากไวรัส มีอาการเฉียบพลัน เจ็บคอ ธัยรอยด์โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
การรักษา ให้แอสไพริน 2 เม็ด ทุก4 ชม.
2. ต่อมธัยรอยด์อักเสบจากออโตอิมมิน เกิดจากภูมิแพ้ต่อตนเอง
การรักษา อาจให้กินฮอร์โมน ไทรอกซิน
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อมะเร็งต่อมธัยรอยด์
สาเหตุ พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรักษา ที่คอเมื่อตอนเด็ก อาการ คอโต ไม่เจ็บปวด ให้กินฮอร์โมน
การรักษา กินฮอร์โมนธัยรอยด์ทดแทนไปจนตลอดชีวิต ผ่าตัด ใช้รังสีรักษา
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
สาเหตุ
1. ผลแทรกซ้อน จากการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ
2. หรือเป็นโรค แทรกของต่อมธัยรอยด์อักเสบเรื้อรัง
3. เกิดจากการฉายแสง
4. เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ขาดไอโอดิน
การรักษา ให้กินฮอร์โมนธัยรอยด์ ต้องกินตลอดชีวิต
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโรคคุชชิง
เกิดจาก มีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์นานๆ
อาการ หน้ากลมเหมือนพระจันทร์ ก้อนไขมัน เกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง รูปร่างอ้วนตรงเอว พุงป่อง อ่อนเพลีย
ปวดหลัง
การรักษา ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอก ของต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง มักรักษาด้วยการผ่าตัด
แล้วให้กินยาสเตอรอยด์ทดแทนไปชั่วชีวิต
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโรคแอดดิสัน
เกิดจาก หมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย
อาการ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ท้องเสีย หรือผูก คลื่นไส้
การรักษา ให้กินยาสเตอรอยด์ ควรกินตลอดชีวิต ควรกินอาหารให้เค็มจัด เพราะต้องการโซเดียม
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโรคซีแฮน
เกิดจาก พบในหญิงที่มีประวัติตกเลือด ต่อมใต้สมองทำงานน้อย ก็เลยทำให้ต่อมธัยรอยด์ หมวกไต และรังไข่
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมนี้ไม่ทำงานไปด้วย
อาการ อ่อนเพลีย คิดช้า ขี้หนาว ความดันเลือดต่ำ เบื่ออาหาร ซูบผอม
การรักษา ให้ฮอร์โมนธัยรอยด์ กินตลอดชีวิต ในรายที่ต้องการมีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่
จากการศึกษาโรคในระบบต่อมไร้ท่อ มีผลต่อสุขภาพมากมาย โรคในระบบต่อมไร้ท่อมีสาเหตุแตกต่างกัน
ออกไป
เบาหวาน เกิดจาก ตับอ่อนสร้างอินซูลินน้อยเกินไป
คอพอกธรรมดา เกิดจาก การขาดไอโอดิน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายมักพบในหญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น
คอพอกเป็นพิษ เกิดจาก ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไป
ต่อมธัยรอยด์อักเสบ อาจเกิดจากภูมิแพ้
มะเร็งต่อมธัยรอยด์ พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรั้กษาที่คอตอนเด็ก
ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
โรคคุชชิง มีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ
โรคแอดดิสัน หมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย
โรคซีแฮน ต่อมใต้สมองทำงานน้อย ส่งผลให้ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ไม่ทำงานด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโรคที่เกิดจากระบบต่อมไร้ท่อ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในต่อมไร้ท่อ
ต่างๆ แม้บางโรคจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่เราควรดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควร
ไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้
ดัชนีเอกสารอ้างอิง
ธนะชัย ทองศรีนุช. ชีววิทยา ม.4-5-6. กรุงเทพฯ : โรงเพิมพ์ประสานมิตร, 2533.
พัชรี พิพัฒวรรณกุล. ชีววิทยา ม.6 .กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซนเตอร์, 2538.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 . กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2531.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คำถามเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
คำถามเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ
1. ต่อมไร้ท่อที่มีบทบาทสำคัญควบคุมการเติบโตได้แก่ชนิดใด
ก. ต่อมใต้สมองพูหน้า
ข. ไทรอยด์ ต่อมใต้สมองพูหลัง
ค. ต่อมใต้สมองพูหน้า ไทรอยด์
ง. ไทรอยด์ รังไข่
2. ต่อมไร้ท่อชนิดใดที่มีขนาดเล็ก
ก. หมู่เกาะแลงเกอร์ฮานส์
ข. พาราไทรอยด์
ค. คอร์ปัสลูเทียม
ง. ไพเนียล
3. อิทธิพลที่มีต่อการหลั่งออร์โมนภายในร่างกายของเราได้แก่
ก. อารมณ์
ข. อุณหภูมิ
ค. แสงสว่าง
ง. ถูกทุกข้อ
4. ต่อมไร้ท่อที่มีวิวัฒนาการมาจากตาที่สาม คือต่อมในข้อใด
ก. ไธมัส
ข. ใต้สมอง
ค. ไทรอยด์
ง. ไพเรียล
5. ส่วนใดของไข่ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ
ก. Theca interna
ข. Corpus albicans
ค. Follicular cell
ง. Corpus luteum
6. ต่อมไร้ท่อที่สำคัญที่สุดในร่างกายคือ
ก. ต่อมพาราไทรอยด์
ข. ต่อมไทรอยด์
ค. ต่อมใต้สมอง
ง. ต่อมหมวกไต
7. ต่อมไร้ท่อชนิดใดมีหน้าที่การทำงานสัมพันธ์กับวิตามินDมากที่สุด
ก. ต่อมหมวกไต
ข. ต่อมไทรอยด์
ค. ต่อมไธมัส
ง. ต่อมพาราไทรอยด์
8. ฮอร์โมนในข้อใดที่เป็นโปรตีน
ก. กลูคากอนและคอร์ติซอล
ข. GHและอินซูลิน
ค. อะดรีนาลินและเทสโทสเตอรอล
ง. เอสโตรเจนและคอร์ติซอล
9. อวัยวะที่ทำหน้าที่หลั่งทั้งเอมไซม์และฮอร์โมน
ก. ต่อมน้ำลาย
ข. ตับอ่อน
ค. ต่อมหมวกไต
ง. ตับ
10. ต่อไร้ท่อในข้อใดที่สร้างฮอร์โมนมากที่สุด
ก. รังไข่
ข. ต่อมใต้สมอง
ค. ต่อมหมวกไต
ง. ต่อมไทรอยด์
11. สิ่งใดต่อไปนี้มีบทบาทควบคุมการใช้แคลเซียมในร่างกายน้อยที่สุด
ก. วิตามินดี
ข. ต่อมไทรอยด์
ค. ต่อมพาราไทรอยด์
ง. ต่อมใต้สมอง
12. ฮอร์โมนส่วนใหญ่ผลิตจากอะไร
ก.เนื้อเยื่อหรือต่อมมีท่อ
ข. เนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ .
ค. ต่อมมีท่อหรือต่อมไร้ท่อ
ง. ถูกทุกข้อ
13. ต่อมไร้ท่อประกอบด้วยเซลล์กี่เซลล์
ก. เซลล์เดียว
ข.สองเซลล์
ค. หลายเซลล์
ง. ถูกทั้ง ก และ ค
14. ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทใด
ก. โปรตีน เอมีน สเตรอยด์
ข. คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามีน
ค. เอมีน ไขมัน วิตามิน
ง. เอมีน โปรตีน เกลือแร่
15. ข้อใดเป็นฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อ
ก. Thyroxin
ข. Gastrin
ค. Vasopressin
ง. Oxytocin
16. ข้อใดจัดเป็นสเตรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีเป็นวง
ก. Adrenal Cortex
ข. Ovary
ค. Testis
ง. ถูกทุกข้อ
17. ข้อใดเป็นฮอร์โมนประสาท
ก. Oxytocin Vasopressin
ข. Htpothalamus Thyroxin
ค. Progesterone Noradrenalin
ง. Gastrin Prolactin
18. ข้อใดจัดเป็นสารประเภทอนุพันธ์ของกรดอะมิโน
ก. Adrenalin, Insulin
ข. GH, THS
ค. Adrenalin, Noradrenalin
ง. GH, Noradrenalin
19.อวัยวะในข้อใดเป็นได้ทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อ
ก. ตับอ่อน
ข.ไต
ค. กระเพาะ
ง. ต่อมไทรอยด์
20. ต่อมในร่างกายมีกี่ชนิด
ก. 1
ข. 2
ค.3
ง.4
เฉลย
1. ค
2. ค
3. ง
4. ง
5. ข
6. ค
7. ง
8. ข
9. ข
10. ค
11. ง
12. ข
13. ง
14. ก
15. ข
16. ง
17. ก
18. ง
19. ก
20. ข
Link https://www.thaigoodview.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
สาระสำคัญ
อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ด้วย เราจึงควรรู้จักป้องกัน บำรุงรักษาอวัยวะต่าง ๆ ในทุกระบบ ให้สมบูรณ์แข็งแรง ทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอ จะช่วยให้เรามีสุขภาพดี ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ ต่างก็มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยระบบประสาทช่วยควบคุมการทำงานและรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามที่ต้องการ ระบบสืบพันธุ์ช่วยในการสืบทอดเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป และระบบต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ
แผนภาพแสดงการจัดลำดับกลุ่มเซลล์ที่ประกอบเป็นระบบร่างกาย
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมากนับล้าน ๆ เซลล์ กลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เมื่อร่วมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลาย ๆ อวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ เป็นต้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำหน้าที่แตกต่าง แต่ต้องทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กับร่างกายจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติ ดังนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายเพื่อให้อวัยวะแต่ละระบบทำหน้าที่ได้ตามปกติจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี
1.1 ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
เมื่อกล่าวถึงความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การแบ่งส่วนประกอบของร่างกายออกเป็นระบบต่าง ๆ จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้องง่ายขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น ระบบย่อยอาหารต้องมีน้ำย่อย ซึ่งหลั่งออกมาภายใต้การควบคุมของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตเพื่อนำไปเก็บสะสมหรือส่งต่อไปยังเซลล์ต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นระบบทุกระบบในร่างกายต้องทำงานสัมพันธ์กัน หากมีอวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เช่น ความเครียดในระบบประสาทส่งผลให้การทำงานของระบบย่อยอาหารผิดปกติไปด้วย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ
ดังนั้น แนวความคิดเดิมที่ว่า การดูแลสุขภาพ คือการเยียวยารักษา เมื่อร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วย หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น จึงเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการรอให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้นแล้วค่อยดูแลสุขภาพ อาจทำให้สายเกินกว่าที่จะรักษาความเจ็บป่วย หรือการเกิดโรคให้หายได้อย่างทันท่วงทีในปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนมาเน้นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคก่อนที่จะเจ็บป่วย โดยถือว่าเป็นการป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขทีหลังนั่นเอง ซึ่งหลักการสร้างเสริมสุขภาพจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป อย่างไรก็ตาม คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดีเป็นที่ปรารถนาของทุกคน ดังนั้นนักเรียนจึงควรบำรุงสุขภาพร่างกายของตนให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆในร่างกาย มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
- รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดไม่อับชื้น ซึ่งการรักษาความสะอาดนอกจากช่วยป้องกันโรคภัยแล้ว ยังช่วยเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้นอีกด้วย
- บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาด ปลอดภัย เช่นรับประทานให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและของหมักดอง ดื่มน้ำให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า จิตใจเบิกบานแจ่มใส เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค จึงควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดและลดความเมื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น วัยรุ่นควรนอนหลับวันละ 8-10 ชั่วโมง เป็นต้น นอกจากนี้ การพักผ่อนยังปฏิบัติได้หลายวิธี เช่นการปลูกต้นไม้ การฟังดนตรี การชมภาพยนตร์ ฯลฯ แล้วแต่จะเลือกตามความพึงพอใจของแต่ละบุคคล
- ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลอีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ดังนั้นเมื่อมีปัญหาไม่สบายใจควรหาทางผ่อนคลาย โดยปรึกษาผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ หรือหาสิ่งบันเทิงใจ เช่นฟังเพลง เล่นกีฬา เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนบั่นทอดสุขภาพและนำมาสู่โรคต่าง ๆ นอกจากนี้ไม่ควรสำส่อนทางเพศ และรู้จักการป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจเช็คร่างกาย เช่น ชั่งน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
นอกจากนี้ เราควรดูแลเอาใจใส่การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น ตา หู จมูก
ผิวหนัง ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และทำงานได้ตามปกติ เพราะหากอวัยวะสำคัญเหล่านี้ทำงานผิดปกติ จะส่งผลเสียหายร้ายแรงตามมา และหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ร่างกายของคนเราประกอบด้วย ระบบอวัยวะหลายระบบ ซึ่งนักเรียนได้ศึกษาไปบ้างแล้วในระดับชั้นที่ผ่านมา และในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นี้ นักเรียนจะได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
1.2 ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน รวมถึงความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่าง ๆ สมองและไขสันหลังจะเป็นศูนย์กลางคอยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกาย แล้วส่งกระแสคำสั่งผ่านเส้นประสาทที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานตามที่ต้องการ
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
ระบบประสาทของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system)
ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card)ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ ของระบบประสาท บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือ 3 ปอนด์ สมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาท และแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท
สมองของสัตว์ชั้นสูงจะเป็นที่รวมของใยประสาทควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ที่บริเวณศีรษะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ ความฉลาด นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมระบบประสาททั้งหมด
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
ส่วนประกอบของสมอง | การทำหน้าที่ |
1.สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย - ซีรีบรัม (cerebrum) | -เป็นสมองส่วนหน้าสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความนึกคิด ไหวพริบ และความรู้สึกผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับสัมผัส การพูด การมองเห็น เป็นต้น |
- ทาลามัส (thalamus) | -เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางหรืออยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่อยทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก ก่อนที่จะส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น |
- ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) 2.สมองส่วนกลาง (Midbrain) | -สมองส่วนนี้อยู่ใต้ส่วนทาลามัส ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ ความดันเลือด ความหิว ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น -เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา เช่น ทำให้ลูกตากลอกไปมาได้ ปิดเปิดม่านตาขณะที่มีแสงเข้ามามากหรือน้อย |
3. สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วย -ซีรีเบลลัม (cerebellum) | -อยู่ใต้ส่วนล่างของซีรีบรัม ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและราบรื่น อีกทั้งยังเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน และจากข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ซีรีเบลลัมจึงเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย |
-พอนส์ (pons) | -เป็นส่วนของก้านสมองที่อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ควบคุมการหายใจ การฟัง |
-เมดัลลา ออบลองกาตา | -เป็นสมองส่วนท้ายสุด ซึ่งตอนปลายของสมองส่วนนี้ต่อกับไขสันหลัง จึงเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง นอกจากนี้เมดัลลา ออบลองกาตายังทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด การกลืน การไอ การจาม เป็นต้น |
สมองส่วนกลาง พอนส์ และ เมดัลลา ออบลองกาตา สมองทั้ง 3 ส่วนนี้รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem) |
ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวของกระดูกสันหลัง และมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นเมื่อมีการเจาะน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังหรือการฉีดเข้าเส้นสันหลัง แพทย์จะฉีดต่ำกว่ากระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ลงไปเพราะบริเวณที่ต่อลงไปจะเป็นมัดของเส้นประสาทไขสันหลัง จะไม่มีไขสันหลังปรากฏอยู่โอกาสที่จะเกิดอันตรายกับไขสันหลังมีน้อยกว่าการฉีดเข้าไปบริเวณอื่น นอกจากนี้ หากมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสหลุดเข้าไปในเยื่อหุ้มไขสันหลัง เชื่อโรคจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังอย่างรุนแรงได้
ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflax action) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง เช่น เมื่อมือบังเอิญถูกไฟหรือของร้อนจะรีบกระตุกมือหนีทันที ซึ่งปฏิกิริยารีเฟลกซ์นี้เป็นปฏิกิริยาที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพยาธิสภาพของร่างกายเกี่ยวกับระบบประสาท และแพทย์สามารถนำมาวินิจฉัยโรคบางชนิดได้
2.ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system)
ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ ระบบประสาทส่วนปลายจะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน
1) เส้นประสาทสมอง มีอยู่ 12 คู่ ทอดมาจากสมองผ่านรูต่าง ๆ ของกะโหลกศีรษะไป
เลี้ยงบริเวณศีรษะและลำคอเป็นส่วนใหญ่
2) เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู่ 31 คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วง ๆ ผ่านรูระหว่างกระดูก
สันหลังไปสู่ร่างกาย แขน และขา
โดยปกติแล้วเส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลังจะประกอบด้วยใย
ประสาท 2 จำพวก คือ ใยประสาทรับ ซึ่งจะนำสัญญาณจากหน่วยรับความรู้สึกไปยังสมองหรือไขสันหลังพวกหนึ่ง อีกพวกจะนำคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลายต่าง ๆ ที่ยึดติดกับกระดูกให้ทำงาน ซึ่งทำให้เราแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ได้
3) ประสาทระบบอัตโนมัติ (autonomic nervous system) ประสาทระบบอัตโนมัติ เป็น
ระบบประสามที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่ภายนอกอำนาจของจิตใจโดยไม่รู้สึกตัว เช่น การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน ผนังของหลอดเลือด และต่อมต่าง ๆ ศูนย์กลางการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติจะอยู่ในก้านสมอง และส่วนที่อยู่ลึกลงไปในสมองที่เรียกว่า ไฮโพทาลามัส ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานโดยการประสานของเส้นประสาทคู่หนึ่งซึ่งมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฮอร์โมนจากระบบต่อมไร้ท่อ
1.2.2 การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น ขณะที่นักเรียนอ่านเนื้อหาของบทเรียนนี้อยู่นั้น ระบบประสาทในร่างกายของนักเรียนกำลังแยกการทำงานอย่างหลากหลาย โดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที เริ่มจากการควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กลอกไปมา ซ้าย-ขวา จอภาพของตาก็จะส่งข้อมูลไปเรียบเรียงที่สมองและเก็บบางส่วนไว้ในหน่วยความจำ พร้อมทั้งสมองยังสามารถเรียกความทรงจำเก่า ๆ ออกมาใช้ เพื่อให้รับรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันระบบประสาทจะส่งคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อลายที่ยึดกระดูกให้เรานั่งตัวตรงหรือยกหนังสือขึ้นอ่านได้ และยังควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กะพริบราว 25 ครั้งต่อนาทีด้วย นอกจากนั้นระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในต่าง ๆ และส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ อุณหภูมิในร่างกาย การย่อยอาหาร และระบบอื่น ๆ ให้ทำงานตามปกติ การที่นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้นั้น เพราะมีการประสานงานกันอย่างดีระหว่างกล้ามเนื้อกับประสาทที่เกี่ยวข้อง
1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท
แนวทางการบำรุงรักษาประสาท มีดังนี้
- ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เพราะว่าหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ความจำเสื่อม หรือไม่สามารถจำสิ่งที่พบเห็นใหม่ ๆ ได้ และหากบริเวณที่ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นบริเวณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้ส่วนนั้นเป็นอัมพาตได้
- ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็กตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมอง
- หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ อาจทำให้เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้
- พยายามผ่อนคลายความเครียด หากปล่อยให้ความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จึงควรหาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ทำตัวให้ร่าเริงแจ่มใส พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ เพราะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายที่ดี โดยขณะที่เรานอนหลับ ประสาททุกส่วนที่อยู่ในอำนาจของจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจก็จะทำงานน้อยลง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูง ได้แก่อาหารพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง เครื่องในสัตว์ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น เพราะวิตามินบี 1 จะช่วยให้ระบบประสาทแขน ขา และศีรษะทำงานปกติ ช่วยป้องกันโรคเหน็บ ชาป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันอาการเหนื่อยง่าย
1.3 ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป เพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ต้องอาศัยอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง
1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ภาพแสดงอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย
- อัณฑะ (testis) เป็นต่อมที่มีคุณลักษณะคล้ายรูปไข่ อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ เพศชายที่มีร่างกายปกติจะมีอยู่ 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน (testosterone) เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น การมีหนวด มีขนขึ้นที่รักแร้ เสียงแตกห้าว เป็นต้น ภายในอัณฑะจะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ (seminiferous tubules) เป็นหลอดเล็ก ๆ ขดไปมาอยู่ภายใน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ
- ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum) เป็นถุงของผิวหนังอยู่นอกช่องท้อง ซึ่งสีของผิวหนังส่วนนี้มักจะเข้มกว่าส่วนอื่นของร่างกายทั่วไป ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งตัวอสุจิจะเจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
- หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขดทบไปมา รูปร่างคล้ายลูกน้ำตัวเต็มวัย ส่วนบนโต ส่วนล่างแคบ อยู่ด้านบนของอัณฑะ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
- หลอดนำตัวอสุจิ (vas deferens) เป็นท่ออยู่ถัดจากส่วนล่างของหลอดเก็บตัวอสุจิ มีอยู่ 2 ท่อ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
- ต่อมน้ำสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) เป็นต่อมรูปร่างคล้ายถุงยาว ๆ ผนังไม่เรียบอยู่ด้านหลังต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น และสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ
- ต่อมลูกหมาก (prostate gland) เป็นต่อมที่มีขนาดใกล้เคียงกับต่อมลูกหมาก อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
- ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands) เป็นต่อมที่มีรูปร่างกลมขนาดเท่าเม็ดถั่ว อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไป ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็ว และยังทำหน้าที่ชำระล้างกรดของน้ำปัสสาวะที่เคลือบท่อปัสสาวะ ทำให้ตัวอสุจิไม่ตายเสียก่อนในขณะเคลื่อนที่ออกมา
โดยทั่วไปเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี และจะ
สร้างไปจรตลอดชีวิต การหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งจะมีของเหลวประมาณ 3-4 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350-500 ล้านตัว ปริมาณน้ำอสุจิและตัวอสุจิแตกต่างกันไปตามความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย เชื้อชาติ และสภาพแวดล้อม ผู้ที่มีตัวอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 จะมีโอกาสเป็นหมันได้
น้ำอสุจิจะถูกขับออกทางปัสสาวะและออกจากร่างกายตรงปลายสุดของอวัยวะเพศชายตัว
อสุจิจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 1-3 มิลลิเมตรต่อนาที ตัวอสุจิเมื่อออกสู่ภายนอกจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในมดลูกของผู้หญิงจะอยู่ได้นานประมาณ 24-48 ชั่วโมง ตัวอสุจิมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อด มีขนาดเล็กมาร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว เป็นส่วนที่มีนิวเคลียสอยู่ และถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการสืบพันธุ์ ส่วนร่างกาย มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยาว และส่วนหาง เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ตัวอสุจิจะมีค่า pH ประมาณ 7.35-7.50 มีสภาวะค่อนข้างเป็นด่าง ในน้ำอสุจินอกจากจะมีตัวอสุจิแล้วยังมีส่วนผสมของสารอื่น ๆ ด้วย
1.3.2 อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ภาพแสดงอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
1. รังไข่ (ovary) มีลักษณะรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม และมี 2 อัน อยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างโดยด้านในยึดติดกับมดลูกโดยเส้นเอ็น ส่วนด้านนอกยึดติดกับลำตัว ทำหน้าที่ดังนี้
1) ผลิตไข่ (ovum) โดยปกติไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงจะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากรังไข่ทุกรอบเดือน(โดยประมาณ 28 วัน) เรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือ เริ่มตั้งแต่อายุ 11-14 ปี ไปจนถึงอายุประมาณ 45-50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง
2) สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่
(1) เอสโทรเจน (estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก สะโพกผาย การขยายขนาดของหน้าอกและอวัยวะเพศที่ใหญ่ขึ้น เป็นต้น
(2) โพรเจสเทอโรน (progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมกลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว
2. ท่อนำไข่ (oviduct) หรือปีกมดลูก (fallopian tube) เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก มีกล้ามเนื้อซึ่งบีบรัดตัวเสมอ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลายข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ เรียกว่า ปากแตร (funnel) บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้น ๆ ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกมาจากรังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่
3.มดลูก (uterus) มีรูปร่างคล้ายชมพู่ กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกราน ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ภายในเป็นโพรง ผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบหนา ยืดหดได้มากเป็นพิเศษ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ชั้น คือ ชั้นนอกเป็นเยื่อบาง ๆ ปกคลุมด้านนอกมดลูก ชั้นกลางประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่หนาและขยายตัวได้มากในเวลาตั้งครรภ์ และชั้นในสุดเรียกว่า เยื่อบุมดลูก มีลักษณะบาง เป็นที่ฝั่งตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว มดลูกทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4. ช่องคลอด (vagina) เป็นท่อยาวจากปากช่องคลอดไปจนถึงปากมดลูก อยู่ระหว่างท่อปัสสาวะและทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด และยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาสู่ภายนอก ที่ปากช่องคลอดมีเยื่อพรหมจารีปิดอยู่ ด้านบนของช่องคลอดยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และด้านล่างยาวประมาณ 9 เซนติเมตร
การตกไข่ (ovukation) คือการที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน ถ้านับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 ของการตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 13-15
การมีประจำเดือน (menstruation) เกิดจากผนังมดลูกกลอกตัวเมื่อไข่ไม่ได้รับการผสม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่แสดงให้ทราบว่าเด็กหญิงนั้นได้เจริญเต็มที่พร้อมที่จะมีลูกได้
1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบหนึ่งในโครงสร้างของร่างกายที่ทำงานประสานสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่และสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ เราจึงควรบำรุงรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ให้สามารถทำงานได้ตามปกติ ดังนี้
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนทั้ง 5 หมู่ลดอาหารจำพวกที่มีไขมันสูง และเพิ่มอาหารที่มีกากใยสูงโดยรับประทานผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้งและในเพศหญิงซึ่งมีการสูญเสียเลือด และมีการผลิตเลือดใหม่ในทุกรอบเดือน ควรรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงเซลล์เม็ดเลือด เช่น อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง คลายความเครียด ทำให้นอนหลับ และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
- งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะว่าแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะในเพศชาย แอลกอฮอล์จะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องทางเพศ และทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียด และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
- ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และอย่าให้รัดแน่นจนเกิดไป
- ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจติดเชื้อบางชนิดได้
- ไม่สำส่อนทางเพศ งดเว้นการเปลี่ยนคู่นอน เพราะอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอดส์
- เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรรับปรึกษาแพทย์
1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณฮอร์โมนมีมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคคอพอก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น
1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
ต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรา มีดังนี้
- ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กรูปร่างกลม อยู่ใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมไปถึงควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของคนเรา
- ต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างค่อนข้างแบนคล้ายหมวดครอบอยู่ส่วนบนของไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุฯสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนทชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร(cortisol) ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเหลือที่ไต (aldosterone)
- ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นพู เชื่อมต่อกัน เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม
- ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็ก มี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับได้
- รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม เป็นต้น ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าว ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้น บริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะ เป็นต้น
- ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง มี 2 กลีบขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุ มีขนาดใหญ่ในทารกแรกเกิด และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของรางกาย
การควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบ
ต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มีทางขนส่งสำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่างกายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆ จะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก ขบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เป็นต้น
1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
ความเจริญเติบโตและกิจกรรมอื่น ๆ ภายในร่างกายของเรา อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปกติสุขของร่างกายและจิตใจมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้การทำงายของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบประสาทดำเนินไปได้ตามปกติ เราจึงควรบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ลดอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือที่มีธาตุไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก
- ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
- ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมให้ด้วยประสิทธิภาพลง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่และอัณฑะด้วย
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมยาอุตสาหกรรมหลอมโลหะ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมาก ๆ จะส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิตดี
Link www.vimanloy.com