โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ องค์ประกอบของระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ


22,649 ผู้ชม


โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ องค์ประกอบของระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบประสาท (Nervous System)


     ระบบประสาทเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะสัมผัสกับอวัยวะมอเตอร์ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งเป็นศูนย์ของความรู้สึกนึกคิดสติปัญญา การเรียนรู้ ความจำ ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
   ระบบประสาทประกอบด้วย
     1. สมอง (Brain)
     2. ไขสันหลัง (Spinal cord) และ
     3. เส้นประสาท (Nerve)
     เส้นประสาทแต่ละเส้นจะมีเซลส์ประสาท (Neuron) หลาย ๆ เซลส์เรียงต่อกัน เซลส์ประสาทกระจายไปเลี้ยงทั้งร่างกาย มีประมาณ 12,000 ล้านเซลส์ ในไขสันหลังและสมองมีเซลส์ประสาทมากที่สุด


     โครงสร้างเบื้องต้นของระบบประสาท ประกอบด้วย เซลส์ประสาท (neuron) และเส้นประสาท (nerve fiber)

 

เซลล์ประสาท (neuron)
  เซลล์ประสาทเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลส์ประสาทหนึ่งเซลล์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
   1. ตัวเซลส์ (Cell body) เป็นจุดศูนย์กลางของเซลล์ประสาท ประกอบด้วย นิวเคลียส (nucleus) อยู่ตรงกลางเซลล์ ล้อมรอบด้วยของเหลวที่เรียกว่า ไซโตพลาส (cytoplast) มีผนังเซลล์ (cellmembrane) ทำหน้าที่เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์
   2. เดนไดรท์ (dendrite) เป็นเส้นใยที่ยื่นออกจากตัวเซลล์มีหน้าที่รับความรู้สึกมีกิ่งก้านสาขาเป็นแขนงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายรากแขนงของต้นไม้
   3. แอกซอน (axon) เป็นเส้นใยเดี่ยว ๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ส่งความรู้สึกของเซลล์นั้นไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ แอกซอนมีเปลือกหุ้มเรียกว่า ไมอิลินชีท (myelin sheath) ปลายสุดของแอกซอนเป็นพุ่มต่อกับอวัยวะเรียกเอนด์บลาส (end brust) ใยแอกซอนจะมีความยาวมากเป็นพิเศษ แต่ละเซลล์จะมีเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ปลายแขนงย่อยของแอกซอน ทุกแขนงจะมีตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่าตุ่มปลายประสาท (terminal buttons) การทำงานของแอกซอนจะเกิดขึ้น เมื่อตัวเซลล์ได้รับกระแสประสาทความรู้สึกจากเดนไดรท์จากนั้นจะส่งกระแสความรู้สึกนั้นไปยังแอกซอน แล้วแอกซอนจะส่งกระแสประสาทความรู้สึกนั้น ต่อไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ หรือส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดความรู้สึก หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
เซลล์ประสาทในร่างกายอาจแบ่งหน้าที่การทำงานได้ 3 ประเภท ดังนี้
     3.1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัส เข้าสู่สมองและไขสันหลัง
     3.2. เซลล์ประสาทมอเตอร์ ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่กล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
     3.3. เซลล์ประสาทเชื่อมโยง เป็นเซลล์ประสาทที่เชื่อมอยู่ระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทมอเตอร์
   4. ซิแนปส์ (Synaps) เป็นจุดต่อระหว่างใยแยกซอนของเซลล์ประสาทตัวหนึ่งกับเดนไดรท์ของเซลล์ประสาท อีกตัวหนึ่ง โดยที่เมื่อเซลล์ประสาทตัวหนึ่งส่งกระแสประสาทความรู้สึกเข้าสู่ แอกซอนจนถึงปลายตุ่มประสาทแล้ว กระแสความรู้สึกนั้นจะถูกส่งเข้าสู่บริเวณซิแนปส์ จากนั้นซิแนปส์จะรับกระแสประสาทและส่งต่อไปยังเดนไดรท์ เพื่อเข้าสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งทันที ซิแนปส์จึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมสัญญาณกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทตัว หนึ่งกับเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งนั่นเอง

 

เส้นประสาท (Nerve Fiber)
       เป็นกลุ่มของเส้นใยบาง ๆ จำนวนมากซึ่งเกิดจากเซลล์ประสาทหลายตัว รวมกันเข้าเป็นมัด เส้นประสาทอาจเป็นมัดของแอกซอน หรือมัดของเดนไดรท์ หรือทั้งสองชนิดรวมกันก็ได้
เส้นประสาทในร่างกายสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
   1. เส้นประสาทที่ออกจากสมอง เส้นประสาทประเภทนี้ มีทั้งสิ้น 12 คู่มีศูนย์กลางอยู่ที่สมอง บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการสัมผัส บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหว หรือเส้นประสาทมอเตอร์
   2. เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่แยกออกมาจากบริเวณไขสันหลัง มีหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการเคลื่อนไหวมีทั้งสิ้น 31 คู่ โดยจะแยกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นเส้นประสาทส่วนของการรับความรู้สึก เข้าสู่ไขสันหลังทางด้านหลัง ส่วนอีกชุดหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เข้าสู่ไขสันหลังบริเวณช่วงท้อง


ประเภทของระบบประสาทแบ่งตามการทำงานออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system)
2. ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system)
3. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)
 

ระบบประสาทส่วนกลาง(Central nervous system)
     ประกอบด้วย สมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal cord)

 

     ก. สมอง (Brain)
     เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างเป็นก้อนรูปไข่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย จำนวนประมาณพันล้านเซลล์อยู่ในกะโหลกศรีษะ เซลล์ประสาทในสมองแผ่กระจายกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง สมองมีน้ำหนักเพียง 2% ของร่างกาย ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยง 20% ของออกซิเจนที่สูดเข้าไปใช้ในร่างกาย สมองของเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 300 – 400 กรัม แล้วเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 15 ปี มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์โลกที่มีสมองใหญ่และมีคุณภาพมากที่สุด มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,300 – 1,400 กรัม มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีความหนาและแข็งแกร่ง ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้สมองได้รับความกระทบกระเทือน


     สมองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 9 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
          1. ซีรีบรัม (Cerebrum)
               เป็นส่วนของสมองที่อยู่บนสุดของศีรษะ มีรูปร่างเป็นพูย้อย ตั้งแต่หน้าผากไปตามรูปของกะโหลกศีรษะจนถึงบริเวณท้ายทอย มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 80% ของสมองทั้งหมด บริเวณเปลือกนอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยัก ยับย่นจีบ เป็นร่องลึก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (Cortex) ซึ่งจัดว่าเป็นบริเวณที่สำคัญมาก ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าคนที่มีความฉลาดมากและอัจฉริยะมักจะมีคอร์เทกซ์หรือรอยหยักส่วนนี้มากกว่าปกติ เนื่องจากจะทำให้มีพื้นที่ในการใช้งานของสมองมากตามไปด้วย
               สมองแท้จะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล เป็นต้น ในส่วนของสมองแท้เองยังแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนย่อย ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
                  - พูสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ในบริเวณนี้จะแบ่งออกได้อีก 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (left themisphere) และซีกขวา (right themisphere) โดยมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หรือเรียกส่วนนี้ว่าเขตมอเตอร์ (motor area) แต่การสั่งงานจะกลับด้านกัน คือสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านขวาของร่างกาย ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของอารมณ์ การพูด ความคิด การจำ การเรียนรู้ และการใช้ภาษาอีกด้วย
                  - พูสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) เป็นส่วนที่ค่อนมาทางด้านหลังส่วนบนใกล้กับเขตมอเตอร์ เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่าง ๆ ทั่วไปของร่างกาย เช่น ร้อน หนาว เจ็บปวด เป็นต้น หรือเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตรับสัมผัส (sensory area)
                  - พูสมองส่วนข้าง (temporal lobe) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณด้านข้างของสมองตรงขมับ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรู้ในด้านรส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา หรืออาจเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตการฟัง (auditory)
                  - พูสมองส่วนหลัง (occipital lobe) เป็นบริเวณที่อยู่ท้ายสุดของสมองแท้ตรงท้ายทอย มีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่าง ๆ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน หรืออาจเรียกบริเวณส่วนนี้ว่า เขตการเห็น (visual area)
          2. สมองเล็ก (cerebellum)
               
เป็นสมองส่วนที่อยู่บริเวณท้ายทอยใต้สมองแท้ลงมา รูปร่างเหมือนใบไม้มีลักษณะเป็นรอยหยักย่นเช่นกันแต่น้อยกว่าสมองแท้ ชั้นนอกเป็นสีเทา (gray matter) ส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสมองสามารถทำงานประสานกันได้เป็นจังหวะเดียวกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การเล่นเทนนิสจะตีลูกให้ถูกได้ อวัยวะหลายส่วนจะต้องทำงานประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ตา หู แขน ขา มือ ฯลฯ หน้าที่อีกประการหนึ่งคือควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เนื่องจากสมองเล็กเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสที่ใช้ควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นใน ทำให้เกิดความสมดุลในขณะที่ร่างกายกำลังอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ขณะยืน เดิน หมุนตัว กระโดด เป็นต้น นอกจากนี้ยังควบคุมการเกร็งตัวของร่างกายอีกด้วย
          3. ทาลามัส (thalamus)
               
เป็นส่วน ที่อยู่ต่อจากสมองแท้ลงมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ไขสันหลัง ผ่านก้านสมอง (medulla oblongata) พอนส์ และสมองส่วนกลาง (midbrain) ตามลำดับ จนถึงทาลามัส จากนั้นทาลามัสจะจัดการแยกกระแสประสาทเหล่านั้นเพื่อเข้าสู่สมองเขตต่าง ๆ อีกทอดหนึ่ง และเมื่อสมองสั่งการเช่นใด ทาลามัสจะรับคำสั่งนั้นส่งเข้าสู่สมองส่วนกลาง พอนส์ ก้านสมอง และสู่ไขสันหลัง เพื่อส่งคำสั่งนั้นให้ไปมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เท่ากับว่าทาลามัสเป็นสถานีสุดท้ายในการจ่ายกระแสประสาทให้กับสมอง และเป็นสถานีแรกที่รับคำสั่งจากสมองเพื่อจ่ายไปสู่อวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ทาลามัสยังทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดในขณะ ที่สมองแท้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่อีกด้วย
          4. ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
               
อยู่ใต้ทาลามัสลงมาใกล้กับต่อมไร้ท่อพิทูอิทารี (pituitary gland) เป็นกลุ่มของเซลล์สมองที่มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา ไฮโปทาลามัสถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบลิมบิก (limbic system) และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมพิทูอิทารี รักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย การหายใจ การหลับ การตื่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมแรงขับ (drive) ต่าง ๆ เช่น ความหิว ความกระหายความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความสำคัญของไฮโปทาลามัสนี้เองบางครั้งจึงได้รับสมญาว่าผู้พิทักษ์ร่างกาย (guardian of body)
          5. ระบบลิมบิก (limbic system)
               
เป็นเซลล์ประสาทที่กระจายอยู่โดยรอบทาลามัสและไฮโปทาลามัส ระบบนี้ประกอบด้วย ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และอะมิกดาลา (amygdala) ทำหน้าที่ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของมนุษย์และสัตว์
          6. สมองส่วนกลาง (midbrain)
               เป็นส่วนที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ตั้งอยู่ใต้ทาลามัส โดยมีเซลล์ประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อกัน
          7. พอนส์ (pons)
               
เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากสมองส่วนกลาง ด้านขวาของพอนส์จะอยู่ติดกับสมองเล็ก (cerebellum) โดยมีใยประสาทเป็นตัวเชื่อม จึงทำให้พอนส์เป็นทางผ่านของกระแสประสาทที่มาจากส่วนล่างเข้าสู่สมองแท้และสมองเล็ก เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างสมองทั้งสองชนิด เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้พร้อมกับการทรงตัวที่ดี เป็นต้น
          8. ก้านสมอง (medulla oblongata)
               
เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพอนส์ลงมา และเป็นส่วนสุดท้ายของสมอง โดยก้านสมองจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง ภายในก้านสมองหรือ เมดูลลาประกอบด้วยเส้นประสาทเป็นมัด เพื่อส่งกระแสประสาทที่ได้รับจากสมองผ่านส่วนต่าง ๆ ลงมาตามลำดับเพื่อส่งเข้าสู่ไขสันหลังและรับกระแสประสาทที่ส่งขึ้นมาจากไขสันหลังส่งต่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองตามลำดับเช่นกัน เท่ากับว่าก้านสมองเป็นสถานีรับส่งกระแสประสาทสุดท้ายที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง แต่เนื่องจากมัดของเส้นประสาทที่อยู่ภายในก้านสมองนั้นมีลักษณะไขว้กันเป็นรูปกากบาท จึงทำให้เส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกขวาจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกซ้าย และเส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกซ้ายจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกขวา จึงมีผลทำให้สมองซีกขวาควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกซ้ายและสมองซีกซ้ายจึงควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา นอกจากนี้ก้านสมองยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิดอีกด้วย เช่น การเต้นของหัวใจ การขยายและหดตัวของปอด การย่อยอาหาร การยืดและหดตัวของเส้นเลือด เป็นต้น
          9. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation)
               
เป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุมสภาวะตื่นตัวของร่างกาย การแสดงอาการงุนงง เป็นต้น

 

     ข. ไขสันหลัง (spinal cord)
     เป็นส่วนที่สองของระบบประสาทส่วนกลาง อยู่ต่อจากก้านสมองลงมา มีความยาวตั้งแต่ต้นคอจนเกือบตลอดหลัง เฉลี่ยประมาณ 18 นิ้ว ไขสันหลังจะบรรจุอยู่ในโพรงของกระดูกสันหลังซึ่งมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ รวมทั้งสิ้น 31 ปล้อง แต่ละปล้องจะเป็นอิสระต่อกัน แบ่งเป็นบริเวณต้นคอ 8 ปล้อง อก 12 ปล้อง สะโพก 5 ปล้อง กระเบนเหน็บ 5 ปล้อง และก้นกบ 1 ปล้อง ถ้าตัดกระดูกสันหลังตามขวางจะพบไขสันหลังมีลักษณะเป็นรูปวงรี ตรงกลางของไขสันหลังมีตัวเซลล์ประสาทมากมาย รูปร่างคล้ายตัว H ในภาษาอังกฤษ ปลายด้านหลังของตัว H จะเชื่อมต่อกับเส้นประสาทรับความรู้สึก ส่วนปลายด้านหน้านั้นเชื่อมต่อกับเส้นประสาทมอเตอร์ เซลล์รูปตัว H นี้จะมีสองชั้น ชั้นในเป็นสีเทา (gray matter) ส่วนชั้นนอกจะมีสีขาว (white matter) เส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลังจะแทรกตัวออกมาทางช่วงรอยต่อระหว่างปล้องของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 31 คู่ กระจายจากจุดกึ่งกลางของลำตัวแยกไปซีกซ้ายและขวาเพื่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย นอกจากนี้ไขสันหลังยังเป็นศูนย์กลางของระบบปฏิกิริยาสะท้อน (reflex action) ของร่างกายตั้งแต่ลำคอลงมาอีกด้วย


     ปฏิกิริยาสะท้อน (reflex action)
          เป็น ปฏิกิริยาของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นในขณะร่างกายอยู่ใน สภาวะฉุกเฉินทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยคำสั่งเพื่อให้ร่างกายแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นจะสั่งการ จากบริเวณไขสันหลังแทนการสั่งการจากสมอง ทั้งนี้เพื่อต้องการความรวดเร็วฉับไวในการหลบหลีกอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับ ร่างกาย ตัวอย่างของปฏิกิริยาสะท้อน ได้แก่ อาการกระตุก สะดุ้ง ผวา กะพริบตา แม้กระทั่งน้ำลายไหลเมื่อเห็นของเปรี้ยวก็ตาม ดังนั้นอาจสรุปหน้าที่ของไขสันหลัง ได้ดังนี้
             1. นำกระแสประสาทรับความรู้สึก (sensory neurons) เข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองจนถึงสมองแท้ (cerebrum) เพื่อแปลความหมายและสั่งการ นอกจากนี้ยังนำกระแสประสาทมอเตอร์ (motor neurons) จากเขตต่าง ๆ ในสมอง ผ่านแต่ละส่วนของสมองลงมา จากนั้นจึงแยกไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงาน เท่ากับว่าไขสันหลังเป็นเส้นทางขึ้นลงของกระแสประสาทรับความรู้สึกและกระแสประสาทมอเตอร์นั่นเอง
             2. นำกระแสประสาทจากระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) ผ่านไขสันหลัง เพื่อไปยังศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ
             3. เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อน (reflex action) ของร่างกาย
 

ระบบประสาทส่วนปลายหรือระบบประสาทส่วนนอก (Peripheral Nervous System)
     หมาย ถึง ระบบการทำงานของเส้นประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่สมอง สามารถสั่งงานได้โดยตรง หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสำหรับควบคุมอวัยวะที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary) ระบบประสาทส่วนปลายหรือระบบประสาทส่วนนอกนี้ประกอบไปด้วยเส้นประสาทสองชนิด ได้แก่ เส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) และเส้นประสาทมอเตอร์ เส้นประสาทเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการส่งกระแสประสาทไปยังสมองและรับคำสั่งจาก สมองไปยังอวัยวะที่สมองสั่งการได้ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดไปแล้วในตอนต้น
      สำหรับระบบประสาทส่วนปลายหรือส่วนนอก ประกอบด้วยเส้นประสาทที่มาจากสมอง 12 คู่ แยกเป็นทางซีกซ้ายและซีกขวา เพื่อรับส่งความรู้สึกและคำสั่งตั้งแต่ลำคอขึ้นไป เรียกว่าเส้นประสาทจากสมอง (brainal nerve) ส่วนอีกชุดหนึ่งประกอบด้วยเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง มีทั้งสิ้น 31 คู่ จากกึ่งกลางลำตัวแยกกระจายออกไปทางซีกซ้ายขวาของร่างกาย เรียกว่าเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง (spinal nerve) ทำหน้าที่รับส่งความรู้สึกและคำสั่งตั้งแต่บริเวณลำคอลงไปตลอดทั้งร่างกายจนถึงปลายเท้า

 

ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)
     เป็นระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก แต่เซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (involuntary) หรือการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นการทำงานของเซลล์ประสาทอัตโนมัติจึงทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง เส้นประสาทจากระบบประสาทอัตโนมัติจะกระจายอยู่ตามบริเวณกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในทุกชนิด รวมทั้งต่อมต่าง ๆ ทั้งหลายในร่างกายอีกด้วย
      ระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อยคือ
          ก. ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous System) ศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง (Spinal cord) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่ออกจากบริเวณไขสันหลังตั้งแต่อกจนถึงเอว ระบบนี้จะทำงานในกรณีที่บุคคลตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากสถานการณ์เหล่านั้น ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทซิมพาเธติกทำงาน ได้แก่ ขนลุกตั้งชัน ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วและรัว ต่อมอะดรีนัล (adrenal gland) หรือต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (adrenalin) เพื่อเพิ่มพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย เป็นต้น

ระบบพาราซิมพาเธติก

ม่านตาหรี่ลง
ต่อมน้ำตาหยุดการทำงาน
น้ำลายไหลปกติ
หัวใจเต้นปกติ
ปอดหด / ขยายปกติ
ตับและกระเพาะอาหารทำงานมากขึ้น
ลำไส้ทำงานมากขึ้น
กระเพาะปัสสาวะหดตัว
อวัยวะเพศแข็งตัว

ระบบซิมพาเธติก

ม่านตาขยาย
ต่อมน้ำตาทำงาน
น้ำลายและเหงื่อถูกผลิตออกมามาก
หัวใจเต้นเร็ว
ปอดหด / ขยายเพิ่มขึ้น
ตับและกระเพาะทำงานน้อยลง
ฮอร์โมนอะดรีนาลีนถูกหลั่งออกมา
ลำไส้ทำงานน้อยลง
กระเพาะปัสสาวะขยายตัว
ถุงอัณฑะขยายตัวทันที

          ข. ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (parasympathetic nervous system) มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมอง (medulla) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยระบบนี้จะทำงานควบคู่กับระบบซิมพาเธติก กล่าวคือ เมื่อระบบซิมพาเธติกทำงานสิ้นสุดลง ร่างกายพ้นจากสภาวะฉุกเฉินไปแล้ว ระบบพาราซิมพาเธติกจะช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น เส้นขนจะราบลง ชีพจรหัวใจและความดันโลหิตจะกลับคืนสภาพเดิม เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ต่อมอะดรีนัลหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดีนาลีน (noradrenalin) เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง
     จากที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาทแล้วนั้น จะเห็นว่าการทำงานของทั้งสามระบบมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรง อย่างไรก็ตาม ระบบทั้งสามนั้นจะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ การที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยระบบกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว แต่การที่ร่างกายจะรับรู้ถึงสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระตุ้นแล้วเกิดการสั่งการให้กล้ามเนื้อหดและคลายตัวเพื่อแสดง ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบประสาทเป็นตัวสั่ง การ นอกจากนี้ฮอร์โมนที่ถูกผลิตจากต่อมไร้ท่อทั้งหลายจะช่วยให้การทำงานของร่าง กายเป็นไปตามปกติอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหลายจะเป็นเช่นไร ส่วนหนึ่งจึงมาจากความสมบูรณ์หรือความบกพร่องในการทำงานของระบบทั้งหลาย เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายโดยเฉพาะการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ รวมทั้งระบบประสาทดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะช่วยให้ผู้ศึกษาทางจิตวิทยาเข้าใจพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม ของมนุษย์ได้ดีขึ้น

     ประสาทรับความรู้สึก
   การได้ยิน คลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่หูชั้นนอกผ่านเข้าสู่หูชั้นกลางและชั้นใน และจะถูกเปลี่ยนเป็นแรงสั่นสะเทือนโดยกระดูกหูซึ่งวางเรียงตัวกันอยู่ แรงสะเทือนจะผ่านของเหลวภายในหูชั้นในและจะถูกแปรเป็นสัญญาณประสาทไฟฟ้าก่อน ที่จะถูกส่งไปแปลความหมายในสมอง
   การรับรส ผิวของลิ้นปกคลุมด้วยตุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกว่าพาพิลลา (Papillae) จำนวนนับล้านซึ่งยื่นออกมาเหมือนนิ้วทำให้ผิวไม่เรียบเหมือนปุยขนพาพิลลามี 4 ชนิด ใน 3 ชนิดจะมีปุ่มรับรส ซึ่งถึงแม้จะสามารถรับรสมาตรฐานได้ 4 รสเท่านั้นคือ เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม แต่ด้วยเส้นประสาทที่ประสานกันอย่างซับซ้อนและประสาทรับกลิ่นทำให้เราสามารถแยกรสต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด
   การมอง แสงเข้าสู่ตาทางแก้วตาและถูกปรับให้ภาคคมชัดบนจอรับภาพที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ที่ซึ่งเซลล์ไวต่อแสงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปลความหมายของภาพ
   การดมกลิ่น ประสาทสัมผัสกลิ่นของคนเรามีศูนย์กลางอยู่ที่แผ่นเยื่อรับกลิ่นที่เพดานของ ช่องจมูก ขณะอากาศผ่านเข้าสู่ช่องจมูกจะกระตุ้นเซลล์ที่แผ่นเยื่อรับกลิ่นให้ส่ง สัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองเพื่อแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ
   การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราเกือบทั้งหมด ได้ข้อมูลมาจากประสาทรับความรู้สึกพื้นฐาน 5 ทางด้วยกัน คือ การเห็น ได้ยินเสียง รู้รส ได้กลิ่น และสัมผัส ในจำนวนนี้การเห็นและการได้ยินจัดว่าเป็นประสาทที่สำคัญที่สุดอย่างไรก็ดีในความเป็นจริง การรับรู้ทุกชนิดจะทำงานประสานกันเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ตัวอย่างที่แสดงถึงการทำงานร่วมกันนั้นเห็นได้ชัดขณะรับประทานอาหาร กลิ่นเป็นสิ่งสำคัญในการใช้แยกแยะความแตกต่างของอาหารที่มีรสและลักษณะเหมือนกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงรู้สึกเหมือนไม่รู้รสอาหารขณะเป็นหวัด อย่างไรก็ตามเมื่อความรู้สึกชนิดหนึ่งเสียไป ความรู้สึกชนิดอื่นอาจช่วยทดแทนกันได้ ตัวอย่างเช่น เราอาจใช้การสัมผัสและฟังเสียงหาทิศทางได้ขณะอยู่ในที่มืด
   อวัยะรับความรู้สึกทุกชนิดเป็นส่วนประกอบที่ชับซ่อนของระบบประสาทส่วนกลาง (ดูหน้า 13) ซึ่งมีทางติดต่อโดยตรงไปยังสมองเพื่อให้เกิดการแปรข้อมูลอย่างรวดเร็ว (เส้นประสาทตาแท้ที่จริงเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ยื่นออกมา) ทันทีที่สัมผัสวัตถุสิ่งของ เราจะรู้ได้ในทันทีเช่นกันว่าสิ่งนั้นมีผิวสัมผัสอย่างไร อ่อนนุ่มหรือแข็ง ร้อนหรือเย็น เรียบหรือขรุขระ เพราะการแปรข้อมูลเป็นไปอย่างเร็วจนเราแทบไม่เคยคำนึงถึงขั้นตอนซับซ้อนที่เกิดขึ้น เสียงที่ผ่านหูหรือแสงที่ผ่านตาจะถูกถอดรหัสแล้วเรียบเรียงใหม่ในสมอง เช่นเดียวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในการแยกแยะกลิ่น ความรู้สึกสัมผัสและการรับรู้รสชาติต่าง ๆ

         Link    https://office.bangkok.go.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

องค์ประกอบของระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland)

  

ต่อม (gland) หมายถึง กลุ่มเซลล์หรือกลุ่มของเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อผลิตสารเคมีให้ กับร่างกาย สารที่ผลิตออกมาอาจขับออกมาเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เรียกการขับสาร ดังกล่าวว่า secretion และสารบางอย่างถูกขับออกมา เพื่อเป็นของเสียที่ต้องกำจัดทิ้ง เรียกการขับสารดังกล่าวนี้ว่า excretion

 

ประเภทของต่อมในร่างกายคน

1. ต่อมมีท่อ ( exocrine gland ) หมายถึง ต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วมีท่อลำเลียง

ออกมาภายนอกได้ เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย

2. ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) หมาย ถึง ต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วไม่มีท่อลำเลียงออกมาภายนอก ต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ( hormone ) ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะเฉพาะอย่าง เรียกอวัยวะ ที่ฮอร์โมนไปมีผลว่า "อวัยวะเป้าหมาย"

 

ลักษณะของต่อมไร้ท่อ

1. ไม่มีท่อลำเลียงสารที่ผลิตได้ออกภายนอกต่อม

2. มีเส้นเลือดจำนวนมาก ทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมผลิต ไปยังอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

3. Cell ที่เป็นองค์ประกอบของต่อมรูปร่างพิเศษ สังเกตได้ว่าแตกต่างจาก Cell อื่นๆ

4. สารที่ผลิตได้จะมีลักษณะเฉพาะไม่สามารถถูกสร้างได้จากต่อมอื่น

5. สารที่ผลิตได้มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเองในลักษณะจำเพาะ

การประสานงานภายในร่างกายต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม ของระบบต่างๆ แบ่งได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) การทำงานประสานงานอย่างใกล้ชิดของระบบทั้งสอง เรียกว่า ระบบประสานงาน (coordination) การ ทำงานของระบบกล้ามเนื้อ การรับรู้การตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ เป็นหน้าที่ของระบบประสาท ส่วนการควบคุมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบค่อยเป็น ค่อยไป ของวัยหนุ่มสาวที่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การควบคุมปริมาณสารบางอย่างในร่างกาย เป็นหน้าที่ของ ระบบต่อมไร้ท่อ ที่สร้างสารเคมี ที่เรียกว่า ฮอร์โมน (มาจากภาษากรีก hormon แปล ว่า กระตุ้น) ซึ่งฮอร์โมนที่สร้างออกมาแล้วออกสู่ของเหลวภายในร่างกายและจะถูกขนส่งไปสู่ อวัยวะทั่วร่างกาย มีผลต่อเซลล์ที่อยู่ข้างเคียงเป็น paracrine signaling เช่น พวกพรอสตาแกลนดิน ไนตริกออกไซด์ growth factor และ neurotransmitter ที่บริเวณ ไซแนปซ์ ดังนั้นการทำงานของร่างกายที่ควบคุมโดยสารเคมีซึ่งรวมถึงฮอร์โมนด้วย จึงเรียกว่า chemical control และเรียกกลุ่มสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมดังกล่าวว่า “chemical messenger” ฮอร์โมนนั้นจะออกฤทธิ์หรือมีผลควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย (target organ) เท่านั้น

 ต่อมไร้ท่อ 

ปี พ.ศ. 2391 นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ อาร์โนล เอ เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold) ได้ ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลูกไก่เพศผู้ไปเป็นไก่ เพศผู้ที่โตเต็มวัย โดยจัดการทดลองเป็น 3 ชุด

รูปที่ 3-1 แสดงผลการทดลองเพื่อศึกษาการเจริญของหงอนและเหนียงคอไก่เพศผู้

ชุดที่ 1 ก. ไก่ตัวผู้ปกติ ชุดที่ 2 ข. ไก่ตัวผู้ที่ถูกตัดอัณฑะออก

ชุดที่ 3 ค. ไก่ตัวผู้ที่ได้รับการปลูกอัณฑะใหม่ทดแทนที่ถูกตัดออกไป

ที่มา : สสวท.ชีววิทยา เล่ม 3, 2547 : 68

1. ชุดแรกให้ไก่เจริญตามปกติ

2. ชุดที่สอง เบอร์โทลด์ ตัดอัณฑะของลูกไก่ออก แล้วเฝ้าสังเกตลักษณะของลูกไก่ จนเจริญเป็นไก่ที่โตเต็มวัย พบว่า เมื่อโตเต็มวัยไก่ตัวนี้จะมีลักษณะคล้ายไก่เพศเมีย คือ มีหงอนและเหนียงคอสั้นขนหางสั้น และมีนิสัยไม่ค่อยต่อสู้กับไก่ตัวอื่นๆ ดังภาพชุดที่ 2-ข

3. ชุดที่สาม เบอร์โทลด์ ตัด อัณฑะของลูกไก่ทดลองออก จากนั้นนำอัณฑะของลูกไก่ อีกตัวหนึ่ง มาปลูกถ่ายลงในบริเวณช่องท้องตรงตำแหน่งที่ต่ำกว่าตำแหน่งอัณฑะเดิม จากการตรวจสอบ พบว่าอัณฑะใหม่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงและสามารถทำงานได้ เมื่อติดตามสังเกตลักษณะของลูกไก่ทดลอง จนเป็นไก่ที่โตเต็มวัย ปรากฏว่าไก่ทดลองตัวนี้ จะมีลักษณะของไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัยปกติทั่วๆ ไป คือ มีหงอน เหนียงคอยาว ขนหางยาว และมีนิสัยรักการต่อสู้ ปราดเปรียว

การศึกษาต่อมาทำให้ทราบว่า อัณฑะ ของ ไก่จะผลิตสารเคมีซึ่งลำเลียงไปตามระบบ หมุนเวียนเลือด สารเคมีนี้ที่เชื่อกันว่ามีบทบาทควบคุมการเจริญของหงอน เหนียงคอ และลักษณะอื่น ๆ ของไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัย นอกจากนี้ยังพบว่าในร่างกายของคน สัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด มีอวัยวะที่สร้างสารเคมีและลำเลียงสารเหล่านี้ไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะ เป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การทำงานของระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่าย กระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เรียกสารเคมีกลุ่มนี้ว่า ฮอร์โมน (hormone) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน เอมีนและสเตรอยด์ที่ผลิตจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ ( endocrine tissue หรือ endocrine gland) ซึ่งแตกต่างจากต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตาและต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ซึ่งต่อมเหล่านี้มีท่อลำเลียงสารที่สร้าง เรียกต่อมเหล่านี้ว่า ต่อมมีท่อ (exocrine gland)

ก. ต่อมมีท่อ ข. ต่อมไม่มีท่อ

 

ที่มา : สมาน แก้วไวยุทธ, ม.ป.ป. : 68

รูปที่ 3-2 เปรียบเทียบโครงสร้างของต่อมมีท่อ กับ ต่อมไม่มีท่อ

โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ

ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ
 9.2.1 ต่อมไพเนียล

           ต่อมไพเนียล (pineal gland) ของสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลาปากกลมสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดไม่สร้างฮอร์โมน แต่เป็นกลุ่มของ เซลล์รับแสง( photoreceptor ) ที่มีลักษณะคล้ายเซลล์รับแสงในชั้นเรตินาของนัยน์ตา

           อย่างไรก็ตามต่อมชนิดนี้ในสัตว์เลือดอุ่นจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมี วิวัฒนาการมาเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนได้ จากการศึกษาพบว่า การทำงานของต่อมนี้มีความสัมพันธ์อย่าใกล้ชิดกับแสงสว่างและภาพมาก ทั้งนี้เพราะมีเส้นประสาทซิมพาเทติกมาติดต่อกับต่อมชนิดนี้เพื่อทำหน้าที่ ควบคุมการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไพเนียน เมื่อศึกษาสัตว์ที่ตาบอด หรือนำมาขังในที่มืดจะพบว่าต่อมไพเนียลสร้างฮอร์โมนออกมามาก ในทางตรงกันข้ามถ้าจับสัตว์มาอยู่ในที่สว่างตลอดเวลา จะมีผลให้ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนได้น้อยลง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าแสงสว่างมีบทบาทต่อการทำงานของต่อมไพเนียลของสัตว์

          ต่อมไพเนียลของคน อยู่ระหว่างเซรีบรัมซีกซ้ายและซีกขวาทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน  เมลาโทนิน( melatonin ) มีหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์ไม่ให้เติบโตเร็วเกินไป ดังนั้นถ้าต่อมนี้ผิดปกติ สร้างฮอร์โมนมากเกินไปจะทำให้หนุ่มสาวช้ากว่าปกติ จากการศึกษาพบว่าเด็กผู้ชายที่มีเนื้องอกที่สมองและมีการทำลายของต่อมไพ เนียลเด็กคนนี้จะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ

 ภาพที่ 9.5 ต่อมใต้สมอง

 

9.2.2 ต่อมใต้สมอง

 


          ต่อมใต้สมอง ( pituitary gland ) เป็นต่อมที่อยู่ติดต่อกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโพทาลามัส แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังภาพที่ 9-5 คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลางและส่วนหลัง เนื่องจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาทที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมน ได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ ( neurosecretory cell ) จากไฮโพรทาลามัสมาสิ้นสุดและหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด

 ภาพที่ 9-6  ความสัมพันธ์ระหว่างไฮโพทาลามัสกับต่อมใต้สมองในการสร้างและหลั่งฮอร์โมน 

          ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 1-1.5  เซนติเมตร  น่าอัศจรรย์ที่ต่อมเล็กพียงนี้   แต่มีหน้าที่ต่อร่างกายอย่างมากมาย    ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป


         ต่อม ใต้สมองส่วนนี้ผลิตฮอร์โมนต่างๆ   ดังภาพที่ 9-7 การหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนนี้    ส่วนหนึ่งถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนประสาทจากไฮโพทาลามัส

            โกรทฮอร์โมน (growth hormone) เรียกย่อว่า GH   มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตทั่วๆไปของร่างกาย  อาจเรียกฮอร์โมนชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า       โซมาโตโทรฟิน  (somatotrophin)  เรียกย่อว่า  STH  หากมีมากเกินไปในวัยเด็กจะทำให้     ร่างกายสูงผิดปกติ (gigantism) บุคคลที่มีร่างกายขนาดใหญ่โตตามโรงละครสัตว์หรือนักบาสเกตบอลระดับโลกหลายคน มักมีลักษณะดังกล่าว  หากร่างกายขาดฮอร์โมนประเภทนี้ในวัยเด็กจะมีลักษณะ   เตี้ยแคระ  (dwarfism) ดังภาพที่  9-8 ก.

     ภาพที่  9-8  คนที่มีร่างกายสูงและเตี้ยผิดปกติ  (ก.)อาการผู้ป่วยอะโครเมกาลี (ข.)

(เอื้อเฟื้อภาพโดย  : รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 

           ผู้ใหญ่ที่ขาดฮอร์โมน   GH    แม้ไม่มีอาการที่ปรากฏอย่างเด่นชัด   แต่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ     ทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียดต่างๆ ทางอารมณ์ได้   ถ้าเครียดมากๆอาจทำให้สมองได้รบอันตรายได้ง่าย    เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ    อย่างไรก็ตามอาจเป็นอันตรายมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับฮอร์โมนที่ควบคุม น้ำตาลในเลือดชนิดอื่นด้วย

           โกนาโดโทรฟิน  (Gonadotrophin)  เรียกย่อว่า Gn   ประกอบด้วย    ฟอลลอเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน   (folic stimulating   hormone) เรียกย่อว่า FSH และลูทิไนซิงฮอร์โมน (luteinzing hormone)   เรียกย่อว่า    LH

            เพศชาย  FSH   กระต้นการเจริญเติบโตของอัณฒะ   และหลอดสร้างอสุจิให้สร้างอสุจิ   ส่วน   LH   กระตุ้นกลุ่ม  เซลล์อินเตอร์สตเชียล (interstitial cell) หรือ  เซลล์เลย์ดิก (Leading cell)    ที่สร้างอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิในอัณฒะให้หลั่งฮอร์โมนเพศชาย   คือ  ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone)

            เพศหญิง  FSH กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิล (follicle) ในรังไข่ขณะฟอลลิเคิลเจริญจะสร้างฮอร์โมน     อีสโทรเจน   (estrogen) ส่วน LH จะกระต้นการตกไข่และเกิดคอร์ปัสลูเทียม   คอร์ปัสลูเทียมจะสร้าง   ฮอร์โมน          โพรเจสเทอโรน   (progesterone)  ทำห้าที่รวมกับอีสโทรเจน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และมดลูกเพื่อรอรับการฝังตัวของเซลล์ที่ถูกผสม

ภาพที่ 9-9ตำแหน่งของเซลล์อินเตอร์สติเชียลระหว่างหลอดสร้างอสุจิ

          โพรแลกทิน  (Prelactin)  กระต้นให้ต่อน้ำนมเพื่อสร้างน้ำนมเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด

          อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน  (Adrnocorticotrophin   หรือ   adrenocotictrophic) เรียกว่า   ACTH   ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้หลั่งฮอร์โมนปกติ

          ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน  (Thyroid stimulation hormone) เรียกย่อว่า TSH หน้าที่หลัก คือ กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนเป็นปกติ

          เอนดอร์ฟิน  (endorphin)  เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนพบว่ามีแหล่งสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า    และอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนต่างๆอีกด้วย   เป็นสารที่ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดและเชื่อกันว่าเอนดอร์ฟินยังเป็นสารที่ ทำให้เรามีความคิดในทางสร้างสรรค์   ช่วยเพิ่มความตื่นตัวและความมีชีวิตชีวาและความสุข   ซึ่งสารนี้จะหลั่งเมื่อเราออกกำลังกายหรือเมื่อเราอารมณ์แจ่มใส   จึงเรียกสารที่หลั่งมานี้ว่า   สารแห่งความสุข

          ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

      นักเรียนทาบมาแล้วว่าต่อมใต้สมองส่วนหลัง     เป็นส่วนที่ปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์จากสมองส่วนไฮโพรทาลามัสมาสิ้น สุดเป็นจำนานมาก  เซลล์เหล่านี้จะสร้างฮอร์โมนประสาทมาปล่อยที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง   ก่อนหลั่งสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด  ฮอร์โมนประสาทดังกล่าวได้แก่

           วาโซเพรสซิน  (Vasopressin)  หรือ แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic)    เรียกย่อว่า   ADH   ทำหน้าที่ควบคุมการดูด้ำกลับของท่อหน่วยไต   และกระตุ้นให้หลอดเลือดแดงหดตัว  นักเรียนคิดว่าถ้าร่างกายขาดฮอร์โมน    ADH   จะมีผลอย่างไร 

          ออกซิโทซิน (Oxytocin)   ทำให้กล้ามเนื้อเรียบมีมดลูกบีบตัวจึงเป็นฮอร์โมนที่แพทย์ฉีดเพื่อช่วยในการ คลอดของมารดาที่มีฮอร์โมนชนิดนี้น้อยกว่าปกติ    นอกจากนี้ฮอร์โมนยังกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมให้หดตัวเพื่อขับน้ำนม ออกมาเลี้ยงลูกอ่อน

ภาพที่ 9-10 การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

  9.2.3 ต่อมไทรอยด์

        ต่อมไทรอยด์  (Thyroid gland) ของคนจัดได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด    อยู่ติดกับบริเวณกล่องเสียงมีลักษณะเป็น 2 พู และมีส่วนบางๆ ของเนื้อเยื่อของต่อมพาราไทรอยด์ติดต่ออยู่ด้วยข้างละ   2    ต่อมดังภาพที่   9-11

 ภาพที่  9-11 ต่อมไทรอยด์และต่อมพาราไทรอยด์

            ปี พ.ศ. 2426 ศัลยแพทย์ชาวสวิส ชื่ออี  คอกเคอร์ (E.Kocher)  พิมพ์ผลงานที่ได้จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ของคนไข้จำนวนหนึ่งออก หลังผ่าตัดคนไข้มีอากรผิดปกติคืออ่อนเพลีย   ไม่มีแรงเริ่มบวมที่หน้า มือและเท้า ในที่สุดก็บวมทั้งตัว ผิวหนังของคนไข้แห้ง และแข็งเป็นสะเก็ด สมองเสื่อม จากนั้นจึงมีผู้สนใจศึกษาผลของการตัดต่อมไทรอยด์    พบว่าถ้าตัดต่อมไทรอยด์ของสัตว์ทดลองในวัยที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะทำให้ ลักษณะของสัตว์เตี้ยแคระ     ต่อมไทรอยด์ เกี่ยวข้องกับการเจริญของสัตว์อย่างไร

            ปี พ.ศ. 2438 นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ  แมกนัส เลวี   (Magnus Levy) นำ ต่อมไทรอยด์ของแกะมาทำให้แห้งแล้วบดละเอียด ให้คนปกติกินปรากฏว่าทำให้อัตราเมแทบอลิซึมของร่างกายสูงขึ้น และในปลายศตวรรษนั้น แพทย์ก็ได้สามารถรักษาคนไข้ที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ได้ สำเร็จ   โดยให้คนไข้กินต่อมไทรอยด์ของแกะที่บดละเอียด   

            -จากการทดลองของแมกนัส เลวี  นักเรียนจะตั้งสมมติฐานว่าต่อมไทรอยด์มีความสำคัญ อย่างไร           

                ปี  พ.ศ. 2439     โบมานน์  (C.Z. Boumann)   วิเคราะห์เนื้อเยื่อต่างๆของคน พบว่า เซลล์ในต่อมไทรอยด์มีไอโอดีนสูงกว่าเซลล์ในส่วนอื่นถึง 100 เท่า และยังพบว่าคนที่อยู่ใกล้ทะเลมีไอโอดีนในต่อมไทรอยด์เข้มข้นกว่าคนอื่นที่ อยู่ห่างไกลทะเล 

                  -จากข้อมูลของโบมานน์  นักเรียนจะตั้งสมมติฐานอย่างไร

                    เมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2448   เดวิด  มารีน  (David Marine)  พบว่าคนที่อยู่ริมทะเลเป็น     โรคคอพอก (simple goiter) น้อย กว่าคนที่อยู่ห่างทะเล มารีนได้ทำการทดลองให้อาหารที่ไม่มีไอโอดีนแก่สัตว์ ปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นโรคคอพอก และเมื่อให้อาหารที่มีไอโอดีนบ้างเล็กน้อย สัตว์เหล่านั้นก็หายจากโรคคอพอก มารีนจึงเสนอให้มีการเติมไอโอดีนลงไนน้ำดื่มเพื่อป้องกันการขาดไอโอดีน

                    -จากการทดลองของมารีน นักเรียนจะสรุปผลการทดลองว่าอย่างไร

                      ต้นศตวรรษที่  20  มีผู้สกัดสารเคมีจากต่อมไทรอยด์และเรียกสาสกัดได้นี้ว่า ไทรอกซิน (Thyroxin)  ซึ่งมีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยและพบว่าแหล่งที่สร้างฮอร์โมนไทรอกซิ นในต่อมไทรอยด์คือเซลล์จำนวนมาก แต่ละกลุ่มเซลล์ประกอบด้วยเซลล์ที่มีความหนาเพียงชั้นเดียว และมีช่องตรงกลาง เรียกกุ่มเซลล์นี้ว่า     ไทรอยด์ฟอลลิเคิล  (thyroid follicle) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอกซินแล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด

                     หน้าที่สำคัญของไทรอกซินคน คือ ทำหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอริซึมของร่างกาย     นักเรียนอธิบายได้หรือไม่ว่าการขาดฮอร์โมนนี้ ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่มีผลต่อร่างกายอย่าไร 

    ภาพที่ 9-12 ภาพตักขวางของต่อมไทรอยด์แสดงไทรอยด์ฟอลลิเคิล

                                                           ก.  ภาพถ่ายจากก้องจุลทรรศน์

                                                           ข.  ภาพวาด

                     วงการแพทย์ตรวจพบว่า ต่อมไทรอยด์ของบางคนสร้างไทรอกซินได้น้อยกว่าคนปกติทั้งๆที่ร่างกายมี ไอโอดีนอยู่มากและพบว่าอาการที่ร่างกายผลิตไทรอกซินได้น้อย จะแสดงออกในผู้ป่วยที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกัน คือ ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีผลให้พัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองด้อยลง     ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ   แขน  ขาสั้น  ผิวหยาบแห้ง  ผมบาง   การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ   และปัญญาอ่อน  กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า   เครทินิซึม (Cretinism) ดังภาพที่ 9-13 ก.       

               สำหรับวันผู้ใหญ่ การขาดฮอร์โมนไทรอกซินจะทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย  น้ำหนักเพิ่ม  ทนความหนาวไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรงผมและผิวหนังแห้ง หัวใจโต ซึมเฉื่อยชา และความจำเสื่อม กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า  มิกซีดีมา  (Myxedema) ดังภาพที่ 9-13 ข.

 ภาพที่ 9-13

  ก. ผู้ป่วยโรคเครทินิซึม

  ข. ใบหน้าและมือของหญิงอายุ 69 ปี ป่วยเป็นโรคมิกซิดีมา เพราะขาดไทรอกซินในวัยผู้ใหญ่

(เอื้อเฟื้อภาพโดย  :  รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

            สำหรับ คอพอกที่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน เนื่องมาจากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างไทรอกซินได้  จะมีอาการเหมือนมิกซีดีมาแต่มีคอโตด้วย ดังภาพที่ 9-14 ก.

 

 ภาพที่ 9-14 ผู้ป่วยโรคคอพอกชนิดธรรมดา (ก.) และโรคคอพอกชนิดเป็นพิษ (ข.)

(เอื้อเฟื้อภาพโดย  :  รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 

                    เนื่องจากเมื่อต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง  TSH มากระตุ้นต่อมไทรอยด์มากเกินไป โดยที่ต่อมนี้ไม่สามารถสร้างไทรอกซินออกไปยับยั้งการหลั่ง TSH จากต่อมใต้สมองได้ จะทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายขนาดผิดปกติ

                   คอพอกอีกชนิดหนึ่งคือ โรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic toiter) เนื่องจากต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ผู้ที่เป็นโรคนี้คอหอยไม่โตมากนัก บางคนอาจมีอาการตาโปนด้วยดังภาพที่ 9-14 ข. สาเหตุเนื่องจากเกิดผิดปกติบางอย่างในรางกายเป็นเหตุให้ต่อมไทรอยด์ ถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักตลอดเวลา ต่อมจึงขยายโตขึ้น การสร้างฮอร์โมนไทรอกซินออกมามากกว่าปกติมีอาการตรงข้ามกับมิกซีดีมา อาจรักษาได้โดยให้คนไข้กินยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน หรือการผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออกหรือให้กินสารไอโอดีนซึ่งเป็นกัมมันตภาพ รังสี เพื่อทำลายเนื้อบางส่วนของต่อม

                    นอกจากนี้ไทรอกซินยังสามารถกระตุ้นเมทามอร์โฟซิสของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยมีผู้ศึกษาผลของฮอร์โมนไทรอกซินกับการเกิดเมทามอร์โฟซิสของลูกออดดังภาพ ที่ 9-15

ภาพที่  9-15  ผลของไทรอกซินต่อเมทามอร์โฟซิสของกบ

-ถ้าลูกออดได้รับไทรอซินมาก การเจริญจะแตกต่างจากลูกออดที่ได้รับไทรอกซินปกติ     อย่างไร

-ถ้าลูกออดขาดไทรอกซินจะมีผลต่อการเจริญอย่างไร

                แคลซิโทนิน (calcitonine) เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ แต่สร้างจากกลุ่มเซลล์ที่มีต้นกำเนิดต่างจากไทรอยด์ฟอลลิเคิล เรียกเซลล์เหล่านี้ว่า     เซลล์ซี (C-cell) หรือ    เซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์ (parafollicular cell) หน้าที่ของแคลซิโทนิน คือ กระตุ้นการสะสมแคลเซียมที่กระดูก ลดการดูดกลับของแคลเซียม  ที่ไตและลดอัตราการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ฮอร์โมนนี้ทำงานร่วมกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์และวิตามินดี

  9.2.4 ต่อมพาราไทรอยด์

     ฮอร์โมนที่สร้าง ต่อมพาราไทรอยด์   (parathyroid gland) คือ     พาราทอร์โมน (parathormone) หรือพาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone) เรียกย่อว่า  PTH  ต่อมนี้มีความสำคัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้น   เนื่องจาถ้าตัดต่อมพาราไทรอยด์ของ  กบ  คางคก และสัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์เหล่านี้ยังรอดชีวิตอยู่ได้   ฮอร์โมนจากต่อมนี้มีหน้าที่สำคัญคือ  ควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเลือดให้คงที่  โดยมีผลสำคัญต่ออวัยวะ  3แห่ง  คือ  ผลต่อทางเดินอาหารช่วยเร่งอัตราดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ลำไส้เล็ก  ผลต่อกระดูกช่วยเร่งอัตราการสลายแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก   ผลต่อไตช่วยเพิ่มการดูดกลับแคลเซียม   แต่กระตุ้นการขับฟอสฟอรัสออกทางปัสสาวะ  การทำงานของ   PTH   จะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับวิตามินดี

           ถ้าต่อนี้สร้างพาราทอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ  ทำให้การดูดกลับของแคลเซียมที่ท่อหน่วยไตและการสลายแคลเซียมจากกระดูกน้อย ลง   ระดับแคลเซียมต่ำทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก ปอดไม่ทำงาน การบีบตัวของหัวใจน้อยลงอาจทำให้ตายได้  อาการดังกล่าวสามารถรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนชนิดนี้ และให้วิตามินดีเข้าไปด้วย ถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนมากเกินไปจะมีการสลายแคลเซียมจากฟันและกระดูกมายัง กระแสเลือด ทำให้แคลเซียมในเลือดสูง กระดูกบาง  ฟันหักและผุง่าย

ในการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ในการควบคุมสมดุลของแคลเซียมจะทำงานร่วมกับต่อมไทรอยด์  ดังภาพที่ 9-16

   ภาพที่ 9-16 การควบคุมสมดุลของแคลเซียม ( (-) หมายถึงยับยั้ง)

                                                            ก.  ควบคุมโดยแคลซิโทนิน

                                                            ข.  ควบคุมดดยพาราทอร์โมน

 9.2.5ตับอ่อน

              เมื่อกล่าวถึงตับอ่อน  (pancreas) นักเรียนคงจำได้ว่าเป็นอวัยวะที่สร้างเอนไซม์หลายชนิดส่งไปย่อยอาหารที่ลำ ไส้เล็กเพราะตับอ่อนประกอบด้วยต่อมสร้างเอนไซม์  ซึ่งเป็นต่อมมีท่อจึงสามารถลำเลียงเอนไซม์ดังกล่าวมายังลำไส้เล็กได้

              มีผู้ศึกษาปริมาณน้ำตาลในเลือดและนำข้อมูลมาแสดงเป็นกราฟได้ดังนี้

  ภาพที่ 9-17 กราฟแสดงระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติหลังจากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  (ก.)ขณะออกกำลังกาย (ข) 

               -นักเรียนจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจากกราฟได้อย่างไร

               จะเห็นว่าขณะที่ออกกำลังกายอย่างหนัก  เช่น  ว่ายน้ำ  วิ่งแข่ง  เซลล์จะต้องใช้พลังงานมาก   นั่นหมายถึง   ต้องใช้กลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญเป็นจำนวนมากด้วย   แต่ระดับน้ำตาลไม่ต่างจากระดับปกติมากนัก  ดังกราฟ  ข.  ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่าขณะที่ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก   ไกลโคเจนที่เก็บไว้ใต้ตับและกล้ามเนื้อถูกสลายเป็นกลูโคสส่งเข้าในกระแส เลือด   ทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ    แต่เมื่อศึกษาปริมาณน้ำตาลในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติ   และหลังรับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต   ผู้ป่วยจะมีช่วงเวลาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานกว่าคนไข้ปกติด้วย  ดังภาพที่ 9-18

 ภาพที่ 9-18 กราฟแสดงระดับน้ำตาลนเลือดหลังจากรับประทานอาหารของคนปกติเทียบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

-จากกราฟนักเรียนสรุปได้อย่างไร

                สิ่งที่หน้าสนใจคือ    ร่างกายมีกลไกอะไรที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้</b>

              โรคเบาหวานเป็นที่รู้จักกันมานาน    แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด   สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครงสร้างบางส่วนขอตับอ่อน

               ปี พ.ศ. 2411       พอล  แลงเกอร์ฮานส์   (Paul Langerhans) แห่งมหาวิทยาลัยไฟร์เบิร์ก   ประเทศเยอรมันนี สังเกตเห็นกลุ่มเซลล์ที่ตกต่างจากเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของตับอ่อน กลุ่มเซลล์นี้จะกระจายอยู่เป็นหย่อมๆมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง ต่อมานี้เรียกกลุ่มเซลล์นี้เพื่อเกียรติแก่ผู้ค้นพบว่า ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans)

               ปี พ.ศ. 2432 โยฮันน์ วอน เมอริง (Johann Von Mering) และออสการ์ มินคอฟสกิ (Oscar Minkovski) แสดงให้เห็นว่าการตัดตับอ่อนของสุนัขมีผลต่อการย่อยอาหารประเภทไขมัน ผลการทดลองที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ มีมดขึ้นปัสสวะของสุนัขที่ถูกตัดตับอ่อนซึ่งแตกต่างจากสุนัขปกติ ต่อมาอีก 2 สัปดาห์ สุนัขที่ถูกตัดตับอ่อนตาย

               -นักเรียนจะอธิบายผลการทดลองของวอน เมอริง และมินคอฟสกิ อย่างไร

                ปี พ.ศ. 2455 มีผู้ทดลองที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ผลิตสารบางอย่างมาทางกระแสเลือด และให้ชื่อว่า   อินซูริน (Insulin)

                ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 ศัลยแพทย์ชาวแคนาดา ชื่อ  แบนติง ( F.G. Banting) และนิสิตแพทย์ชื่อ  เบสต์ (C.H. Best) แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโตได้พบหลังฐานบางประการที่ทำให้ทราบว่า ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ผลิตสารควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แบนติงและเบสต์ จึงทำการทดลองโดยมัดท่อตับอ่อนของสุนัขผลปรากฏว่าตับอ่อนมาสารถเอมไซม์ได้ อีกต่อไป แต่ไอส์เลตออฟแลนเกอร์ฮานส์ออกมา แบนติงและเบสจึงสามารถสกัดอินซูรินออกมาได้ เมื่อนำสารนี้ไอฉีดให้กับสุนัขที่เป็นโรคเบาหวาน ภายหลังจากการถูกตัดตับอ่อนออกแล้ว ปรากฏว่าสุนัขสามารถมีชีวิตเป็นปกติ และสามารถลดระดับน้ำตาลลงได้

               -  เพราะเหตุใด เมื่อมัดท่อของตับอ่อน ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ยังคงทำงานได้อีก

               - นักเรียนจะอธิบายผลการทดลองนี้ว่าอย่างไร

                จากผลการทดลองนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางช่วยชีวิตคนที่เป็นเบา หวานไว้ได้จำนวนมาก จากผลงานนี้เองทำให้แบนติงได้รับรางวัลโนเบล ในปี พ.ศ.2466  

               หลังจากนั้นมีการศึกษาพบว่าไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิดคือ อินซูริน และ กลูคากอน(Glucagons)

                     อินซูริน

                เป็นฮอร์โมนสร้างจากกลุ่ม     เบตาเซลล์ (     - cell ) ที่บริเวณส่วนกลางของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ หน้าที่สำคัญ คือ ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ เมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง อินซูรินจะหลั่งออกมามากเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามดเนื้อนำ กลูโคสเข้าไปในเซลล์มากขึ้น และเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจนเพื่อเก็บสะสมไว้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติ ถ้ากลุ่มเซลล์ที่สร้างอินซูรินถูกทำลาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติทำให้เป็นโรคเบาหวาน

                 -ในสภาพร่างกายปกตินักเรียนคิดว่าอินซูรินควรหลั่งออกมามากเท่าใด เพราะเหตุใด

        กลูคากอน

        เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก  แอลฟาเซลล์  (  - cell) ซึ่งเป็นเซลล์อีกประเภทหนึ่งของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์    กลูคากอนทำหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลิน   คือเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ  กลูคากอนจะไปกระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อเป็นน้ำตาล กลูโคสแล้วปล่อยออกมาทำให้เลือดมีระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น

       -นักเรียนคิดว่าปัจจัยที่กระตุ้นให้เซลล์ในไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์  หลั่งฮอร์โมนกลูคากอนคืออะไร

       - อะไรคือปัจจัยที่ควบคุมความสัมพันธ์ของการหลั่งอินซูลินและกลูคากอน

          การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลจะเป็นสัญญาณยับยั้ง และกระตุ้นการหลั่งอินซูลินและกลูคากอนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์และผลจาก การทำงานของฮอร์โมนทั้งสองจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในสภาวะปกติเสมอ ดังภาพที่ 9-20

 ภาพที่ 9-20 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยอินซูลินและกลูคากอน

            ความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ที่พบบ่อยมากคือ การเป็นโรคเบาหวาน อาการของคนที่เป็นโรคนี้ทั่วไปคือ ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยมากและบ่อยครั้งทำให้กระหายน้ำมากผิดปกติ น้ำหนังตัวลดลงอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เซื่องซึม เมื้อยล้า มีอาการคับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และผิวหนัง นัยน์ตาฟาง มองภาพไม่ชัด ผิวหนังผุผอง เป็นตุ่มฝีและติดเชื้อง่าย

             อาการที่เกิดจากโรคเบาหวานดังกล่าวเกิดจากเซลล์ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไป ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประสิทธิภาพของตับในการเก็บกลูโคสไว้ในรูปไกลโคเจนลดลง ทำให้หลังรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงมากและอยู่นานจนร่างกายต้องกำจัดน้ำตาลส่วนเกิน เหล่านี้ออกทางปัสสาวะ เมื่อร่างกายนำคาร์โบไฮเดรตจากอาหารมาใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่จึงต้องใช้ โปรตีนและไขมันในร่างกายสลายเป็นพลังงาน แต่การสลายโมเลกุลของสารทั้งสองมีผลล้างเคียงคือ ทำให้ความเป็นกรดขอเลือดสูง กลไกการหายใจจึงผิดปกติแลมักส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติขั้นรุนแรงจนถึง เสียชีวิต

          โรคเบาหวานอาจแบ่งได้ 2 แบบ แบบแรกเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ในการรักษาผู้ป่วยจึงต้องรับการฉีดอินซูลินทุกวัน เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาล และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนสภาพช็อกเพราะขาดน้ำตาล

            โรคเบาหวานแบบที่ 2 เป็นแบบที่พบมากถึงร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และพบได้ในบุคลทุกเพศทุกวัยโดยสาเหตุมาจากตับอ่อนของผู้ป่วยสร้างอินซูลิน ได้ตามปกติ แต่ตัวรับอินซูลินผิดปกติ อินซูลินจึงทำงานได้ ปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยจึงสูงและแสดงอาการของโรคเบาหวนออกมา นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ตาพร่ามัว ระบบหมุนเวียนเลือดผิดปกติ ระบบการทำงานของไตบกพร่อง

            9.2.6 ต่อมหมวกไต

               ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมนี้ประกอบด้วยเนื้อเยื้อชั้นนอก เรียกว่า  ต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) และเนื้อเยื้อชั้นในเรียกว่า  ต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla) ดังภาพที่ 9-21

    ภาพที่ 9-21 ตำแหน่งและต่อมโครงสร้างของต่อมหมวกไต

-  การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนอะไร และฮอร์โมนนี้สร้างจากอวัยวะส่วนใด

         ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก

       เนื้อเยื้อของต่อมหมวกไตส่วนนอกะสร้างฮอร์โมนมากกว่า 50 ชนิด และฮอร์โมนนี้สร้างจากอวัยวะใด

           ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ทำหน้าที่หลักในการควบคุมเมแทบอริซึมของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างของฮอร์โมนกลุ่มนี้ คือ คอร์ติซอล (cortisol) มีหน้าที่สำคัญในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนอะมิโนและกรดไขมันเป็นคาร์โบไฮเดรตและเก็บสะสม ไว้ในรูปของไกลโคเจนทำให้ตับมีไกลโคเจนสะสมสำหรับเปลี่ยนเป็นกลูโคสส่งเข้า สู่กระแสเลือด นอกจากนี้ยังมีหน้า ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุได้เล็กน้อยอีกด้วย

ภาพที่ 9-22 ผู้ป่วยเป็นโรคคูชชิง

(เอื้อเฟื้อภาพโดย : รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพยทศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)</b>

          การมีฮอร์โมนกลูคอร์ติคอยด์มากเกินไป ทำให้โรค   คูชชิง (Cushing’s syndrome) ดังภาพที่ 9-2 คนไข้จะมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมแทบอริซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ระดับน้ำตาในเลือดสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากมีสารละลายโปรตีนและไขมันบริเวณแขนและขา ขณะที่มีการสะสมไขมันที่บริเวณแกนกลางของลำตัว เช่น ใบหน้า ทำให้หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ บริเวณต้นคอมีหนอกยื่นออกมา อาการเช่นนี้พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตรอยด์เป็น ส่วนผสมเพื่อป้องกันอาการแพ้หรืออักเสบติดต่อกับเป็นระยะเวลานาน    

           ฮอร์โมนมิเนราโลคอร์ตาคอยด์ (Mineral corticoids) มีหน้าที่หลบักในการควบคุมของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ แอลโตสเตอโรน (aldosterone) ซึ่งควบคุมการทำงานของไตในการดูดน้ำและโซเดียมเข้าสู่หลอดเลือด และขับโพแทสเซียมออกจากท่อหน่วยไตให้สมดุลกับความต้องการของร่างกายอีกด้วย การขาดแอลโดสเตอโรนจะมีผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมปัสสาวะ จำนวนมาก และส่งผลให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความดันเลือดต่ำ

    รู้หรือเปล่า?

          ความเครียดมีผลกระตุ้นศูนย์ประสาทในสมองส่วนไฮโพทาลามัส   ทำให้หลั่งฮอร์โมนประสาทไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง ACYH มากระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก

               ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) ในสภาวะปกติ ฮอร์โมนเพศที่สร้างจากต่อมหมวกไตส่วนนอกมีเพียงเล็กน้อยนั้นเมื่อเทียบกับ ฮอร์โมนเพศที่สร้างจากอวัยวะเพศ  จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก   ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาบทบาทและหน้าที่ของฮอร์โมนเพศในหัวข้อฮอร์โมนที่ สร้างจากอวัยวะเพศ  อย่างไรก็ดีถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนเพศมากเกินปกติ  ย่อมทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศได้  โดยเด็กจะแสดงอาการเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น  อวัยวะมีการเจริญเพิ่มขนาดขึ้น  มีขนขึ้นตามร่างกายมากกว่าปกติ เสียงห้าว ในเพศหญิงโตเป็นสาว  ถ้าฮอร์โมนจากต่อมนี้มากจะทำให้มีหนวดเคราเกิดขึ้น

              ถ้าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทำลายจนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะทำให้เป็นโรคแอดดิสัน  (Addison’s disease) ดังภาพที่ 9-23 คนไข้จะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายมาสามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้

           ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน

              ต่อมหมวกไตส่วนในสร้างฮอร์โมนได้  2  ชนิด   ได้แก่  เอพิเนฟริน  (Epinephrine)  หรือ    อะดีนาลีน (adrenaline) และ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) หรือดอร์อะดีนาลีน (noradrenaline) 

           เอพิเนฟริน  มี ผลทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น  ความดันสูง  ทำให้หลอดเลือดอาร์เตอรีมีขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะต่างๆ  ขยายตัว ส่วนหลอดเลือดอาร์เตอรีมีขนาดเล็กบริเวณผิวหนังและช่องท้องหดตัว

           นอร์เอพิเนฟริน ฮอร์โมน ชนิดนี้หลั่งออกมาจากปลายเซลล์ประสาทซิมพาเทติกได้ด้วย  ผลของฮอร์โมนชนิดนี้คล้ายกับเอพิเนฟรินมาก คือ ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น แต่แตกต่างกันที่นอร์เอพิเนฟรินทำให้หลอดเลือดอาร์เตอรีที่ไปเลี้ยงอวัยวะ ภายในต่างๆบีบตัว

    ภาพที่ 9-23 ผู้ป่วยโรคแอดติสัน(เอื้อเฟื้อภาพโดย : รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพยทศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

              การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนในจะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท อัตโนวัติ    ในภาวะปกติจะหลั่ง ฮอร์โมนทั้ง  2 ชนิดนี้อย่างเหมาะสมกับร่างกาย  แต่นักเรียนหลายคนคงเคยเห็นเหตุการณ์พิเศษบางอย่างที่เกิดขึ้น  เช่น คนขนของหนีไฟไหม้สามารถยกหรือแบกของหนักๆได้ ทั้งในสภาวะปกติไม่สามารถทำได้ภาวะที่ร่างกายอยู่ในเหตุการณ์เช่นนี้  ต่อมหมวกไตส่วนในจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนเอพิเนฟรินออกมามากกว่าปกติทำ ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  เมแทบอลิซึมเพิ่มมากขึ้น  ร่างกายจึงมีพลังงานมากกว่าปกติ

           - นักเรียนสามารถบอกได้หรือไม่ว่า สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้ต่อหมวกไตส่วนในหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินระดับปกติคืออะไร

             9.2.7 อวัยวะเพศ

            อวัยวะเพศ ได้แก่  อัณฑะ (Testis) และ รังไข่ (ovary) มีต่อมไร้ท่อสามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้หลายชนิด ซึงฮอร์โมนประเภทสเตรอยด์   ฮอร์โมนพวกนี้ควบคุมการทำงานของอวัยวะเพศอย่างไร

            นักเรียนทราบมาแล้วว่าต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมน  FSH และ LH มาควบคุมการเจริญเติบโต

          ของอวัยวะเพศ ในระยะก่อนวัยหนุ่มสาวอัณฑะและรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศน้อย เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH เพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและรังไข่ ทำให้สร้างเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศได้ตามปกติ ในเพศชายจะหลั่งฮอร์โมน FSH และLH ใน อัตราค่อนข้างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื้ออัณฑะมากมายเหมือนในเนื้อ เยื้อรังไข่ ขณะที่เพศหญิงต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมน FSH และ LHเพิ่มขึ้นสูงมากในระยะก่อนตกไข่

           เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม เซลล์เลย์ดิกจะได้รับการกระตุ้นโดยฮอร์โมน  LH จาดต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างฮอร์โมนเพศชายซึ่งเรียกว่า แอนโดรเจน (androgens) ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสเทอโรน มีหน้าที่ทำให้ผู้ชายมีความสามารถในการสืบพันธุ์ และมีลักษณะการแตกเนื้อหนุ่ม เช่น มีลูกกระเดือกเห็นได้ชัด มีขนตามร่างกาย รักแร้ แขนขา อวัยวะเพศ ไหล่กว้างและสะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตเป็นมัด

              รังไข่  นอกจากผลิตเซลล์ไข่แล้วยังผลิตฮอร์โมนเพศได้รังไข่มีแหล่งฮอร์โมนอยู่ 2 แห่งคือ ฟอลลิเคิลและคอร์ปัสลูเทียม


ภาพที่ 9-24 การหลั่งฮอร์โมนเพศในเพศหญิง

        เมื่อรังไข่ได้รับ  FSH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะมีการสร้างเซลล์ฟอลลิเคิลล้อมรบไอโอไซต์หลายชั้น ในระยะที่รังไข่ใกล้สุกก่อนที่จะหลุดออกจากรังไข่จะมีช่องกลวงตรงกลาง

         ในระยะก่อนการตกไข่ เซลล์ฟอลลิเคิลที่ล้อมรอบไข่จะสร้างฮอร์โมนอิสโทรเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดลักษณะของผู้หญิง เช่น แตกเนื้อสาว คือมีเสียงเล็ก สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมมีขาดโตขึ้น มีขึ้นตามบริเวณรักแร้ และอวัยวะเพศ อิสโทรเจนยังมีส่วนในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และเยื่อบุมดลูก โดยอิสโทรเจนในปริมาณที่สูงกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า ให้หลั่ง LH มากระตุ้นไอโอไซต์ระยะที่ 2 หลุดออกจากฟอลลิเคิล ซึ่งเรียกว่า กาตกไข่ หลังจากนั้นฟอลลอเคิลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นคอร์ปัสลูเทียม

         คอร์ปัสลูเทียม จะสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน ซึ่งทำงานร่วมกับอิสโทรเจน เพื่อช่วยการเจริญเติบโตของเยื้อบุชั้นในของผนังมดลกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ผสม นอกจากนี้ยังมีส่วนกระตุ้นต่อมน้ำนมเติบโต แต่ไม่กระตุ้นการสร้างน้ำนม

           ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกไม่ได้รับการผสมจากอสุจิ คอร์ปัสลูเทียมจะเปลี่ยนแปลงและหยุดสร้างโพรเจสเทอโรน ทำให้เยื้อบุผนังมดลูกสลายตัวถูกขับออกมาจากมดลูก เรียกว่า  ประจำเดือน  (menstruation) และมีการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลชุดใหม่ โดยการควบคุมจากฮอร์โมน FSH> และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า        เมื่อรังไข่ได้รับ  FSH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะมีการสร้างเซลล์ฟอลลิเคิลล้อมรบไอโอไซต์หลายชั้น ในระยะที่รังไข่ใกล้สุกก่อนที่จะหลุดออกจากรังไข่จะมีช่องกลวงตรงกลาง

          ในระยะก่อนการตกไข่ เซลล์ฟอลลิเคิลที่ล้อมรอบไข่จะสร้างฮอร์โมนอิสโทรเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดลักษณะของผู้หญิง เช่น แตกเนื้อสาว คือมีเสียงเล็ก สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมมีขาดโตขึ้น มีขึ้นตามบริเวณรักแร้ และอวัยวะเพศ อิสโทรเจนยังมีส่วนในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และเยื่อบุมดลูก โดยอิสโทรเจนในปริมาณที่สูงกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า ให้หลั่ง LH มากระตุ้นไอโอไซต์ระยะที่ 2 หลุดออกจากฟอลลิเคิล ซึ่งเรียกว่า กาตกไข่ หลังจากนั้นฟอลลอเคิลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นคอร์ปัสลูเทียม

          คอร์ปัสลูเทียม จะสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน ซึ่งทำงานร่วมกับอิสโทรเจน เพื่อช่วยการเจริญเติบโตของเยื้อบุชั้นในของผนังมดลกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ผสม นอกจากนี้ยังมีส่วนกระตุ้นต่อมน้ำนมเติบโต แต่ไม่กระตุ้นการสร้างน้ำนม

          ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกไม่ได้รับการผสมจากอสุจิ คอร์ปัสลูเทียมจะเปลี่ยนแปลงและหยุดสร้างโพรเจสเทอโรน ทำให้เยื้อบุผนังมดลูกสลายตัวถูกขับออกมาจากมดลูก เรียกว่า ประจำเดือน (menstruation) และมีการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลชุดใหม่ โดยการควบคุมจากฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

ภาพที่ 9-25 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฟอลลิเคิล และผนังมดลูกในช่วงต่างๆ ของรอบประจำเดือน

             9.2.8 รก

          หลังจากเอ็มบริโอฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว เซลล์ของรก  (Placenta) จะเริ่มหลั่งฮอร์โมน ฮิวแมน คอริกโอนิก โกนาโดโทรฟิน  (Human Chorionic Gonadotrophin: HCG) เพื่อกระคุ้นคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ให้เจริญต่อไปและสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเพิ่มขึ้น

            9.2.9 ต่อมไทมัส

           ต่อมไทมัส  (Thymus gland) มีลักษณะเป็นพู มีตำแหน่งอยู่ระหว่างกระดูกอกกับหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ มรหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิด ที หรือเซลล์ ที การแบ่งเซลล์และพัฒนาการของลิมโฟไซต์ชนิด ที อาศัยฮอร์โมน<b>ไทโมซิน</b> (thymosin) ซึ่งสร้างจากเซลล์บางส่วนของเซลล์ไทมัส ดังนั้นไทโมซินจึงเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าภูมิคุ้มกันของร่างกาย

             9.2.10 กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

            เมื่อกล่าวถึงกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก นักเรียนคงถึงการสร้างเอนไซม์ชนิดต่างๆ แต่แท้ที่จริงแล้วอวัยวะทั้งสองนี้ยังสามารถหลั่งฮอร์โมนด้วย

                แกสติน (Gastrin) สร้างจากกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่กระตุ้นการหลั่งเอนไซม์และกรดไฮโดรคลอริก

- ถ้ากระเพาะอาหารผลิตแกสตรินน้อยลงจะมีผลต่อระบบย่อยอาหารหรือไม่อย่างไร

                 ซีครีทิน ( Secretin) สร้างจากบริเวณดูโอดีนัมของลำไส้เล็กกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งเอนไซม์ และโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตตลอดจนกระตุ้นการบีบตัวของท่อน้ำดี ขณะที่อาหารจากกระเพาะอาหารผ่านเข้าไปในลำไส้เล็ก

                   ในทางการแพทย์ คนไข้ที่มีตับอ่อนสร้างเอนไซม์ออกมาน้อย หรือแผลบริเวณดูโอดีนัม อาจรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนซีครีทินเข้าทางหลอดเลือด

 Link            https://www.vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด