การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ความหมายของต่อมไร้ท่อ ระบบต่อมไร้ท่อของมนุษย์


25,413 ผู้ชม


การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ความหมายของต่อมไร้ท่อ ระบบต่อมไร้ท่อของมนุษย์

การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อ (Endocring gland) หมายถึง ต่อมไม่มีท่อที่อยู่ในร่างกาย จะทำหน้าที่ผลิตสารเคมี ซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมนต่าง ๆ เข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนโดยตรง ไม่ต้องผ่านท่อไปยังอวัยวะ ดังนั้นเซลล์ของต่อมไร้ท่อ จะสัมผัสกับหลอดเลือดฝอยภายในต่อมอย่างใกล้ชิด ต่อมเหล่านี้จึงมีเลือดมาเลี้ยงอย่างมากมาย ต่อมไร้ท่อควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ ของอวัยวะอื่นๆ จึงทำให้เกิดการกระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ต่อมไร้ท่อมีบทบาทในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นมีดังนี้

  1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
  2. ต่อมไทรอยด์
  3. ต่อมหมวกไต
img105_6

ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland) มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ตั้งอยู่บริเวณใต้สมอง เป็นเนื้อเยื่อส่วนที่ใหญ่ที่สุดของต่อมนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำ หน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนที่สำคัญที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามี ดังนี้

1. โกรทฮอร์โมน (growth hormone) เรียกย่อว่า GH มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตทั่วๆไปของร่างกายให้เป็นปกติ โดยเฉพาะการแบ่งเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีน และการสร้างกระดูก ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ จะทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกแขนขาถูกยับยั้งกลายเป็น คนเตี้ยแคะ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไปตั้งแต่ในวัยเด็กก็จะมีผลในทางตรงกันข้าม คือ ไปกระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายมีขนาดใหญ่โตมากผิดปกติ

2. โกนาโทรฟิน (gonadotrophi) ประกอบ ด้วยฮอร์โมนสำคัญ 2 ชนิด คือ ฟอลลิเคิล สติมิวเลติฮอร์โมน (follicle stimuating hormone) เรียกย่อ ๆ FSH และ ลูทิไนซิงฮฮร์โมน (luteinizing hormone) เรียนย่อ ๆ ว่า LH ในผู้หญิง FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะทำให้รังไข่เจริญเติบโต FSH จะกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมน อีสโทรเจน (estrogen) ส่วน LH จะมีผลทำให้เกิดการตกไข่ สำหรับในเพศชาย FSH ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและการสร้างอสุจิ ส่วน LH กระตุ้นกลุ่มอินเตอร์สติเชียลเซลล์ (interstitial) ในอัณฑะ ให้หลั่งฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน (testosterone)

img106_6
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่าง เหมือนเกือกม้า ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม ขนาดของต่อมไทรอยด์ แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ต่อมมีสีแดงแกมเหลืองและนุ่ม มองเห็นได้ชัดเจน มีหน้าที่สร้าง และหลั่ง ฮอร์โมนเรียกว่า ไทร็อกซิน (thyroxin) ออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ต่อมไทรอยด์สร้างเองโดยอาศัย ไอโอดีน จากอาหาร ที่กินเข้าไปเป็นวัตถุดิบ ซึ่งมีความสำคัญที่สุด สำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างเหมาะสม ยังออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็น ปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือ หัวใจ กับประสาท
img107_6

ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) มี 2 ต่อม รูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยม หรือรูปพระจันทร์เสี้ยวครอบอยู่บนไตทั้ง 2 ข้าง ต่อมนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนเปลือก (cortex)  ค่อนข้างหนาสีเหลือง และส่วนใน (medulla) สีแดงคล้ำ ส่วนเปลือก มีบทบาทมากในร่างกาย   ถ้าหน้าที่ของต่อมนี้เสียไป จะมีผลต่อคาร์โบไฮเดรตเมแทบอลิซึม (carbohydrate metabolism) และอิเล็กโทรไลต์ (electrolytes) และน้ำของร่างกาย ส่วนนี้หลั่งฮอร์โมนซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับฮอร์โมนเพศ และสารพวกสเตอรอยด์ (steroids) ส่วนใน สร้างฮอร์โมนแอดรีนาลิน (adrenalin)และ นอร์แอดรีนาลิน(noradrenalin)ทำให้หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดัน โลหิตสูงขึ้น แอดรีนาลินทำให้เกิดคาร์โบไฮเดรตเมแทบอลิซึม แม้จะทำให้หลอดเลือด ที่ผิวหนังหดตัว แต่ก็ทำให้หลอดเลือดที่กล้ามเนื้อขยายตัวด้วย

                         Link   https://lms.thaicyberu.go.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความหมายของต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท้อ

ต่อมในร่างกายคน
ต่อม (gland) หมายถึง กลุ่มเซลล์หรือกลุ่มของเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อผลิตสารเคมีให้ กับ ร่างกาย สารบางชนิดขับออกมาเพื่อใช้ในการ ดำรงชีวิต และสารบางอย่างถูก

ขับออกมาเพื่อเป็นของเสียที่ต้องกำจัดทิ้ง

ประเภทต่อมในร่างกายคน
1) ต่อมมีท่อ ( exocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วมีท่อลำเลียงออกมาภายนอกได้ เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย
2) ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วไม่มีท่อลำเลียงออกมาภายนอก ต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ( hormone ) ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเฉพาะอย่าง เรียกอวัยวะที่ฮอร์โมนไปมีผลเรียกว่า "อวัยวะเป้าหมาย"

การสังเกตว่าต่อมใดเป็นไร้ท่อจะสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้
1.ไม่มีท่อลำเลียงสารที่ผลิตได้ออกภายนอกต่อม
2.มีเส้นเลือดจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมผลิตได้ไปยังอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
3.cell ที่เป็นองค์ประกอบของต่อรูปร่างพิเศษ สังเกตได้ว่าแตกต่างจาก cell อื่นๆ
4.สารที่ผลิตได้จะมีลักษณะเฉพาะไม่สามารถถูกสร้างได้จากต่อมอื่น
5.สารที่ผลิตได้มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเองในลักษณะจำเพาะ

การจำแนกต่อมไร้ท่อตามความสำคัญต่อชีวิต
1. Essential endocrine gland เป็นต่อมไร้ท่อที่จำเป็นมากและมีความสำคัญ ถ้าขาดแล้วทำให้ตายได้ ได้แก่ต่อมดังต่อไปนี้
        1.1) ต่อมพาราไทรอยด์ ( parathyroid )
        1.2) ต่อมหมวกไตชั้นนอก ( adrenal cortex )
        1.3) ต่อมตับอ่อน ( islets of Langerhans )
2.  Non - Essential endocrine gland เป็นต่อมทีมีจำเป็นหรือจำเป็นน้อยมากต่อร่างกาย ถ้าผิดปกติอาจทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหรือของระบบต่างๆ  ได้แก่ต่อมดัง

ต่อไปนี้
        2.1) ต่อมใต้สมอง ( pituitary )
        2.2) ต่อมไทรรอยด์ ( thyroid )
        2.3) ต่อมหมวกไตชั้นใน ( adrenal medulla )
        2.4) ต่อมไพเนียล ( pineal )
        2.5) ต่อมไทมัส ( thymus )
        2.6) ต่อมเพศ ( gonads )

จุดกำเนิดของต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงฮอร์โมน และปล่อยสู่กระแสเลือด เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากต่อมไร้ท่อ จึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวนำ

ฮอร์โมนจากต่อม

1.ต่อมใต้สมอง ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
       1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
       2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
       3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
       4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
       5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น

2. ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
       1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
       2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
       3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย

3. ต่อมพาราไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุม

บทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา

4. ต่อมไทมัส สร้างฮอร์โมน ไทโมซิน ไปอวัยวะเป้าหมาย คือ เนื้อเยื่อของต่อมไทมัส ไปกระตุ้นการสร้าง ภูมิคุ้มกัน  ต่อมไทมัส เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาและจะ

เสื่อมสภาพและฝอไปเรื่อยๆตามอายุตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น

5. ตับอ่อนส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
       1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ใน

ระดับ ปกติ
       2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น

6.ต่อมหมวกไต ( adrenal gland ) เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม
       1) Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส
       2) Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่
       3) Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
       4) Adrenalin hormone  ควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ

7. ต่อมเพศ ในเพศชายคือ อัณฑะ ในเพศหญิงคือรังไข่ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน ดังนี้
       1) ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสทอสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ควบคุมการ เจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของเพศชาย
       2) ฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะ สืบพันธุ์ และลักษณะต่างๆ ของความเป็นเพศหญิง       ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะทำ

หน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของมดลูก  ระงับ ไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์

ที่มา : https://www.skr.ac.th/elearning/suk/4.htm

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ระบบต่อมไร้ท่อของมนุษย์

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
               ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณฮอร์โมนมีมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคคอพอก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น
 
  1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
ต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรา มีดังนี้
 
 
                   1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ป็นต่อมที่มีขนาดเล็กรูปร่างกลม อยู่ใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมไปถึงควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของคนเรา
                 2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland)ป็นต่อมที่มีรูปร่างค่อนข้างแบนคล้ายหมวดครอบอยู่ส่วนบนของไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุฯสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร(cortisol) ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเหลือที่ไต (aldosterone)
                 3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นพู เชื่อมต่อกัน เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม
                 4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)ป็น ต่อมขนาดเล็ก มี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและ รักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
                 5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) ป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับได้
                 6. รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม เป็นต้น ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าว ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้น บริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะ เป็นต้น
                 7. ต่อมไทมัส (thymus gland)ป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง มี 2 กลีบขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุ มีขนาดใหญ่ในทารกแรกเกิด และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของรางกาย

                การควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบ
ต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มีทางขนส่งสำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่างกายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆ จะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก ขบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เป็นต้น

 
  1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
ความเจริญเติบโตและกิจกรรมอื่น ๆ ภายในร่างกายของเรา อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปกติสุขของร่างกายและจิตใจมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้การทำงายของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบประสาทดำเนินไปได้ตามปกติ เราจึงควรบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้
 
 

                 1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ลดอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือที่มีธาตุไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก
                 2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
                 3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
                 4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมให้ด้วยประสิทธิภาพลง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่และอัณฑะด้วย
                 5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมยาอุตสาหกรรมหลอมโลหะ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น
                 6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมาก ๆ จะส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิต ดี

      Link      https://www.vimanloy.com/

อัพเดทล่าสุด