ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ความสําคัญของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ระบบต่อมไร้ท่อเป็นอีกระบบหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานประสานงานกันซึ่งระบบนี้จะทำหน้าที่นอกเหนือไปจากการทำงานของระบบประสาท เพราะการกระทำของต่อมไร้ท่อให้ผลช้าแต่ทำงานนานกว่าระบบประสาทโดยอาศัยสารเคมีที่ต่อมไร้ท่อผลิตขึ้นมาที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone)ฮอร์โมนเกือบทั่งหมดจะถูกขนส่งไปสู่อวัยวะทั่วร่างกายโดยทางระบบไหลเวียนโลหิตแต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะหรือเซล บางตัวเท่านั้น ต่อมไร้ท่อในร่างกายมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 9 ต่อม คือ
1.ไฮโปธาลามัส(Hypothalamus) มีการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาท somatic ระบบประสาทอัตโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ โดยมีศูนย์ควบคุมต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ศูนย์ควบคุมสมดุลน้ำ ศูนย์ควบคุมการกิน พฤติกรรมและการแสดงออก ระดับความรู้สึกตัว และสร้างฮอร์โมน 2 ชนิด
ศูนย์ประสานงานในไฮโปธาลามัสควบคุมการทำงานของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ โดยมีกลไกที่ต่างกัน 3 ประการ คือ
1.ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1.1Antidiuretic hormone(ADH) ผลิตโดย Supraoptic nucleus ควบคุมจำนวนน้ำ โดยการดูดกลับที่ท่อไต กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหดตัว
1.2Oxytocin ผลิตโดย Paraventricular nucleus ในเพศหญิงกระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและต่อมน้ำนม ในเพศชายจะช่วยในการหลั่งอสุจิและช่วยในการเคลื่อนที่ของ sperm
2. เป็นศูนย์ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนใน
3. สร้างและหลั่งฮอร์โมนที่ไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า มี 2 ชนิด คือ
3.1 Releasing hormone (RH) กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน
3.2 Inhibiting hormone (IH) ยับยั้งการสร้างและหลั่งฮฮร์โมน
2. ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ คือ
- Hormone ควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ
- Hormone กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น
- Hormone กระตุ้นการสร้างเซลสืบพันธ์
- Hormone กระตุ้นการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
- Hormone กระตุ้นต่อมหมวกไต ส่วนเปลือกให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น
- Hormone กระตุ้นการขยายเต้านมสำหรับหญิงที่มีครรภ์
- Hormone ช่วยในการดูดน้ำกลับจากท่อของหน่วยไตเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกาย ถ้ามี Hormone น้อย จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า เบาจืด คือ ปัสสาวะมากและจาง
- Hormoneที่ช่วยทำให้มดลูกหดตัวในการคลอดกระตุ้นการหลั่งน้ำนมและช่วยในการหลั่งน้ำกามและเร่งการเคลื่อนของตัวอสุจิในเพศชายเพื่อการผสมพันธ์
- Hormone กระตุ้นให้เซลเม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น
3. ต่อมเหนือสมอง (Pineal Gland)
พบในเด็กเล็กจนถึงอายุ 7 ปี แล้วจะค่อย ๆ เล็กลงจนหายไปก่อนเด็กจะเข้าสู่ระยะวัยรุ่น ต่อมนี้ยังไม่ทราบหน้าที่แน่นอน
4. ต่อมไทมัส (Thymus Gland)
พบในเด็กเล็กจนถึงอายุ 12 - 14 ปี ก็จะฝ่อหายไปในที่สุด ยังไม่ทราบหน้าที่แน่นอนเช่นเดียวกัน แต่เข้าใจว่าจะทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดขาว และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย
5. ต่อมไทรอยด์(ThyroidGland)ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือไทร็อกซิน(Thyroxin)โดยอาศัยไอโอดีนเป็นวัตถุดิบ(ร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณสัปดาห์ละ 1 มิลลิกรัม) ไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือ
- ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมองและระบบประสาท ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตถ้าขาดจะทำให้สมองเสื่อม ในผู้ใหญ่ถ้าขาดจะทำให้การรับรู้และสั่งงานของระบบประสาทช้าลง
- ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อเป็นผู้ใหญ่
- ควบคุมอัตราเมตาบอลิสึม (BMR) ในร่างกายความผิดปกติอันเนื่องมาจากไทร็อกซิน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1) มีไทร็อกซินน้อยไป (Hypothyroxin)
1.1) ในทารก ทำให้เกิดร่างกายแคระแกรน เจริญเติบโตช้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง ลิ้นใหญ่และอาจห้อยออกมานอกปาก ปัญญาเสื่อม
1.2) ในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังแลดูคล้ายเทียนไขกล้ามเนื้อไม่มีแรง ผิวหนังแห้ง ซีด โลหิตจาง สติปัญญาเชื่องช้าลง
1.3) เกิดโรคคอพอกชนิดธรรมดา
2) มีไทร็อกซินมากเกินไป (Hyperthyroxin)
2.1) ร่างกายผอม น้ำหนักลด กินจุ อ่อนแอ ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากและไวขึ้น
2.2) เกิดโรคคอพอกชนิดเป็นพิษ
6. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland)
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน(Parathormone)ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมเมตาบอลิสึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาทของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะร่วมกับพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมาความผิดปกติอันเนื่องมาจากการสร้างและปล่อยพาราธอร์โมน มี 2 ชนิด คือ
1) ถูกสร้างและปล่อยออกมาน้อย
- ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง ทำให้เกิดอาการชัก ถ้าเป็นในเด็กอาจถึงตายได้
2) ถูกสร้างและปล่อยออกมามาก
- ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงจะทำให้แคลเซียมจากกระดูกถูกละลายออกมาอยู่ในพลาสมามากขึ้น ผลก็คือจะทำให้กระดูกอ่อนหักได้ง่าย และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแออีกด้วย
7. ตับอ่อน (Pancrease)
ตับอ่อนเป็นต่อมที่มีท่อและไร้ท่อ ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อจะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ตัว คือ
1) อินซูลิน (Insulin)
- เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่านเข้าเซลและเปลี่ยนกลูโคสส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ (ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติคือ 90 - 100 มก. ต่อ 100 มล. ของเลือด)
2) กลูคากอน (Glucagon)
-เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นโดยทำงานตรงข้ามกับฮอร์โมนอินซูลินความผิดปกติอันเนื่องมาจากระดับของน้ำตาลในเลือด อาจมีอาการดังนี้
1) มีระดับกลูโคสในเลือดน้อยกว่าปกติ ถ้ามีน้อยกว่า 50 มก. จะมีอาการทางประสาท คือ วิงเวียน งง ตื้อ ชักและตายได้
2) มีระดับกลูโคสในเลือดมากกว่าปกติ คือ ประมาณ 200 - 300 มก. จะมีอาการปรากฏเด่นชัด คือ มีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะและจะปัสสาวะมาก ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
8. ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมครอบอยู่บนส่วนบนของไตทั้งสองข้าง ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนในภาวะฉุกเฉิน จะมีมากเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ตกใจกลัว ตื่นเต้น หรือออกกำลังกาย
9.ต่อมเพศ(Gonad)ในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ2อย่างคือสร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมนฮอร์โมนเพศชาย
- ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ
1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
- ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1) ในเด็ก - ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
- ไม่มี Secondary sexual characteristic
- มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
- เป็นหมัน
2) ในผู้ใหญ่ - เป็นหมัน
- ไม่มีความรู้สึกทางเพศ มีลักษณะไปทางเพศหญิง
ฮอร์โมนเพศหญิง
- ที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์และลักษณะต่างๆของความเป็นเพศหญิงส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์ป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นในเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม และกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญเติบโต
- ถ้าตัดรังไข่ออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1) ในเด็ก - อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
- ไม่มี Secondary sexual characteristic
- ไม่มีเลือดประจำเดือน
- มีลักษณะคล้ายชาย
2) ในผู้ใหญ่ - ประจำเดือนหยุด
- ไม่มีความรู้สึกทางเพศ
- มีลักษณะคล้ายชาย
ฮอร์โมนจากรก (Placenta Hormone)ภายใน 10 วันหลังจากไข่ถูกผสม เซลของรกจะเริ่มหลั่งฮอร์โมนออกมาคือ Human chorionic gonadotropin (HCG) เนื่องจากฮอร์โมนนี้จะพบในเลือดและในปัสสาวะของหญิงที่ตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงใช้เป็นตัวทดสอบการตั้งครรภ์ของหญิงได้ ฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างออกมาสูงสุดประมาณสัปดาห์ที่ 7 - 10 ของการตั้งครรภ์ จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง
Link www.papat888.files.wordpress.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความสําคัญของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
ความสำคัญของระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ
ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีผลต่อสุขภาพวัยรุ่น การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของคนเรามีคความสัมพันธุ์กัน ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ และการดำรงชีวิตของมนูษย์ ก็ขึ้อยู่กับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหากระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายๆระบบทำงานได้ไม่ดี ย่อมส่งผลให้สภาวะสุขภาพโดยรวมเกิดปัญหาขึ้นได้
ระบบทุกระบบในร่างกาย ล้วนแต่มีความสำคัญต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น แต่ระบบที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์โดยเฉพาะในช่วง วัยรุ่นมากที่สุดนั่นก็คือ ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบประสาท ( Nervous System ) ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธุ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous System ) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ้งเป็นศูนย์กลางในการประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1 สมอง ( Brain ) เป็นอวัยวะที่สำคัญและสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อที่มีที่มีความอ่อนนุ่ม บรรจุอยู่ในกะโหลกศรีษะ มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลาง สมองจะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา พอช่วงอายุ 1- 9 ปี สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 18 - 20 ปี โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีมีหน้าที่แตกต่างกัน
1.2 ไขสันหลัง ( Spinal Cord ) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง อยู่ภายในช่องกระดูกสันหลังตลอดความยาวของลำตัว ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นตัวเชื่อมระหว่างอวัยวะความรู้สึกไปยังสมอง และส่งความรู้สึกจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและส่วนต่างๆ ที่มีเส้นประสาทไขสันหลังต่อสมอง
2 . ระบบประสาทส่วนปลาย ( Peripheral Nervous System ) เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลัง ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งประกอบด้วย
2.1 ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง
1. เส้นประสาทสมอง มี 12 คู่ ทอดออกจากพื้นล่างของสมอง ผ่านไปยังรูต่างๆ ที่พื้นของกะโหลกศรีษะ โดยเส้นประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และบางคู่จะทำหน้าที่รวม คือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
2. เส้นประสาทไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสันหลัง มีจำนวนทั้งหมด 31 คู่ ทุกคู่จะทำหน้าที่รวมคือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
2.2 ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Automomic Nerve System ) เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจการบังคับ และควบคุมของจิตใจ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้เป็นปกติ เช่น ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การหายใจ การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งเป็น 2 ส่วน
1. ระบบประสาทซิมพาเทติก ( Sympathetic Nerve System ) เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ในขณะตื่นเต้น ประสบภาวะฉุกเฉิน หรือในระยะเจ็บป่วย โดยจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว รูม่านตาขยาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆ
2. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ( Parasympathetic Nerve System ) เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ก้นกบ และเมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เส้นเลือดและต่อมต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น ทำให้หัวใจเต้นชช้าลง เส้นเลือดคลายตัว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
ระบบประสาทอัตโนมัติท้ัง 2 ส่วนนี้ จะทำหน้าที่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามเสมอ เช่น ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว แต่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ให้หัวใจเต้นช้าลง ทั้งนี้เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
Link https://www.thaigoodview.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)
โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ
1. Parenchyma (เนื้อต่อม)ประกอบ ด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ห่างไกล
ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่
I ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis)
1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
II ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย
III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ผลิต ฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา
2. พวกเซลล์ต่อมไร้ท่อที่กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่ม
ที่มา : www.lks.ac.th/bioweb/about/unit9.html
www.phyathai.com/.../popup_cms_article_detail.php
th.wikipedia.org/wiki/ระบบต่อมไร้ท่อ