โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อต่อวัยรุ่น
โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ และ อวัยวะที่สำคัญ
............................................................ ..........................
.............. ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่สำคัญระบบหนึ่งของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายใน ร่างกายให้ทำงานประสานกัน โดยอาศัยสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนจะถูกขนส่งไปสู่ อวัยวะทั่วร่างกาย แต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะและเซลล์
บางตัวเท่านั้น ซึ่งต่อมไร้ท่อใน มนุษย์มีทั้งหมด 9 ต่อม ดังนี้
1. ต่อมใต้สมอง ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
2. ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย
3. ต่อมพาราไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา
...........................................................................
4. ตับอ่อนส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ
2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น
5.ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )
.............. เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
1. Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
2. Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความ ดันเลือด ต่ำ
3. Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
4. อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
6. ต่อมเพศ ในเพศชายคือ อัณฑะ ในเพศหญิงคือรังไข่ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน ดังนี้
1) ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสทอสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ควบคุมการ เจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของเพศชาย
2) ฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะ สืบพันธุ์ และลักษณะต่างๆ ของความเป็นเพศหญิง แล้วฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะทำหน้าที่ระงับ ไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์
7. ฮอร์โมนจากรก หลังจากตั้งไข่ประมาณ 10 วัน เซลล์ของรกจะเริ่มหลั่งฮอร์โมน ชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะพบในเลือดและในปัสสาวะของผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงใช้เป็นตัว ทดสอบการตั้งครรภ์ของผู้หญิงได้
8. ต่อมเหนือสมอง
1. ฮอร์โมนประสาท ( ..RH , ...IH ) กระตุ้นและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า , ส่วนกลาง
2. Oxytocin กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้หดตัวเพื่อช่วยลดในการคลอด และ ให้ตัวอสุจิเคลื่อนภายในมดลูก , กระตุ้นการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนม
เพื่อหลั่งน้ำนม
3. ADH ( Antidiuratic Hormone ) หรือ Vasopressin กระตุ้นให้เส้นเลือดแดงเล็กๆ หดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น , กระตุ้นให้ท่อของหน่วยไต
ส่วนท้ายและส่วนรวมมีการดูดน้ำกลับคืน ถ้าร่างกายขาด ADH จะปัสสาวะมาก ทำให้เกิดโรคเบาจืด ( Diabetes inspidus : DS )
9. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
สรุปได้ดังนี้
1. glucagon สร้างจากแอลฟาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่อยู่ภายนอก ทำหน้าที่เปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นglucose ในเลือด
2. insulin สร้างจากเบตาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดเล็กอยู่ภายใน ทำหน้าที่เปลี่ยน glucose ในเลือดให้เป็น glycogen ในตับ ถ้า ขาด insulin ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
.............................................................................
10. ต่อมไทมัส
.............. สร้างฮอร์โมน ไทโมซิน ไปอวัยวะเป้าหมาย คือ เนื้อเยื่อของต่อไทมัส ไปกระตุ้นการสร้าง T-lymphocyte ของต่อมไทมัส เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยัง
อยู่ในครรภ์มารดาและจะเสื่อมสภาพและฝอไปเรื่อยๆตามอายุตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น ( สร้าง เม็ดเลือดขาว แอนติบอดี )
โรคในระบบต่อมไร้ท่อ |
ลักษณะทั่วไป
โครงงานนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการศึกษาถึงโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ว่ามีลักษณะของโรค
อย่างไร เกิดจากความผิดปกติของต่อมชนิดใด เนื่องมาจากฮอร์โมนใด เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุของการเกิด
โรคว่าสืบเนื่องมาจากสาเหตุใด มีวิธีการดูแลรักษาโรคเหล่านั้นได้อย่างไร ด้วยเหตุนี่จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า
และได้คำตอบออกมาว่าโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อส่วนใหญ่นั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจากฮอร์โมนใน
ต่อมไร้ท่อ แต่ละชนิดทำงานผิดปกติ อาจผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ทำให้เกิดความ
บกพร่องของกระบวนการทำงานใน ร่างกายจนเป็นสาเกตุให้เกิดโรคต่างๆขึ้นมา
ซึ่งโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อนี้อาจจะสืบเนื่องมาจากการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม
หรือเพิ่งเป็นขึ้นมาภายหลัง จะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ โรคเหล่านี้ก็เป็นผลเสียแก่ร่างกายด้วยกันทั้งสิ้น
จากการศึกษาโรคในระบบต่อมไร้ท่อ มีผลต่อสุขภาพมากมาย โรคในระบบต่อมไร้ท่อมีสาเหตุแตกต่างกัน
ออกไป เบาหวานเกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินน้อยเกินไป พบได้กับทุกเพศทุกวัย
คอพอกธรรมดา เกิดจากการขาดธาตุไอโอดิน การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มักพบในหญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น
เป็นกันมากในแถบภาคเหนือและภาคอีสาน
คอพอกเป็นพิษ เพราะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไป
ต่อมธัยรอยด์อักเสบ อาจเกิดจากภูมิแพ้
มะเร็งต่อมธัยรอยด์พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรักษาที่คอตอนเด็ก
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง โรคคุชชิง เกิดจากฮอร์โมน
สเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ
โรคแอดดิสัน เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย
โรคซีแฮน เกิดจากต่อมใต้สมองทำงานน้อย ส่งผลให้ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไตและรังไข่ไม่ทำงานไปด้วย
ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคที่เกิดจากระบบต่อมไร้ท่อส่วนใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในต่อมไร้ท่อต่างๆ
ถึงแม้ว่าบางโรคจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่เราก็ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรไป
ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรไปตรวจเช็คร่างกายของตนเป็นประจำ
เพื่อเป็นการป้องกันรักษาตนเอง ให้ห่างไกลไปจากโรคเหล่านี้
ความเป็นมาความสำคัญของปัญหา
จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปัจจุบันประชาชนป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบต่อมไร้ท่อ
เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทลต่อวงการแพทย์ในการดูแลป้องกันรักษา อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการ
พัฒนาประเทศชาติอีกทางหนึ่ง การศึกษารายละเอียดของโรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อนี้ จึงมีความสำคัญและ
จำเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะดูแลป้องกันรักษาต่อไป
ความจริงแล้วโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อนั้น ส่วนใหญ่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่ถึงกระนั้นก็มีบางโรคเช่นกัน
ที่พบเป็นส่วนมาก และประชาชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคคอพอก จะเห็นได้ว่า
โรค 2 โรคนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ของประชาชนทุกคนโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ที่กำลังทวีความรุนแรง
และเพิ่มจำนวนขึ้นมาทุกขณะ อาจจะโดยการถ่ายทอดมาทาง พันธุกรรม เป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นสืบเนื่อง
จากความผิดปกติของสภาพร่างกายอาจจะโดยสาเหตุจากอุปนิสัยในการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
กินอาหารที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย อยู่ในภาวะอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และ
อีกโรคที่พบบ่อยมากโดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนืออยู่ห่างไกลจากทะเล จึงไม่ค่อยได้รับประทาน
อาหารทะเล เป็นผลให้เกิดโรคคอพอกขึ้นมา แต่ในปัจจุบันนี้โรคนี้ได้ลดจำนวนลง เพราะได้มีการผลิตเกลือ
ที่มีธาตุไอโอดีนผสมอยู่ให้ได้ใช้กันอย่างทั่วถึง แต่ก็มีประชาชนอีกหลายคนเช่นกันที่ยังคงเป็นโรคเหล่านี้กันอยู่
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรค
เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ลักษณะอาการของโรค พร้อมทั้งจะได้ทราบวิธีการป้องกันรักษาต่อไป ซึ่งข้อมูล
ที่จัดทำขึ้นนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจศึกษา และประชาชนทุกคนต่อไปได้ในอนาคต จะได้เป็นผู้ที่มี
สุขภาพร่างกายดี ปราศจากโรคภัยต่างๆ
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ต่างๆคือ
A Tour of the Endocrine System
|
นิยามศัพท์เฉพาะ
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland ) เป็นต่อมไร้ท่อรูปร่างคล้ายผลองุ่น อยู่ตรงส่วนบนของไต (คล้าย
หมวดที่ครอบอยู่เหนือยอดไต) ทั้งสองข้าง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแกน (medulla) กับส่วนนอก
(cortex)
ต่อมหมวกไตส่วนแกน มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน แอดรีนาลีน (Adrenal) กับ นอร์แอดรีนาลีน (nor- Adrenal)
ซึ่งจะช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต การสร้างฮอร์โมนทั้งสองชนิดจะถูกกระตุ้นโดยสมอง
ส่วนต่อมหมวกไตส่วนนอก จะสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ แอลโดสเตอโรน (aldosterone) มีหน้าที่ควบคุมระดับเกลือแร่ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม
ให้อยู่ในภาวะสมดุล
กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มสเตอรอยด์ ที่มีฮอร์โมนไฮโดรคอร์ติโซนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญๆหลายอย่าง
รวมทั้งการเปลี่ยนคาร์โปไฮเดรตให้เป็นไกลโคเจน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน เก็บไว้ในตับ
กลุ่มที่สาม ประกอบด้วยฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ แอนโดรเจน (androgen) และฮอร์โมนเพศหญิงได้แก่ เอสโตรเจน (estrogen) กับ โพรเจสเตอโรน (progesterone) การสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ทุกชนิด (ยกเว้นแอลโดสเตอโรน ซึ่งกระตุ้นโดยสารเรนินที่หลั่งจากไต) อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง
ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (ต่อมเอนโดไครน์) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่
ลำคอด้านหน้า ต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย มีรูปร่างเหมือนเกือกม้า ประกอบด้วยปีกซ้ายและปีกขวา เชื่อมต่อ
กันด้วยคอคอด ปกติจะมีขนาดใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย และมองเห็นได้ไม่ชัดเจน
ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน เรียกว่า ฮอร์โมนธัยรอยด์ (Thyroid hormone) หรือ ไทร็อกซีน
(Thtroxine) โดยใช้ไอโอดีน จากอาหารที่เรากินเข้าไปเป็นวัตถุดิบ และมีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ทีเรียกว่า ฮอร์โมนกระตุ้นธัยรอยด์ (Thyroid stimulating hormone หรือ TSH) เป็นตัวควบคุม
การทำงานของต่อมธัยรอยด์
ฮอร์โมนธัยรอยด์จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างการทำงานเป็นปกติ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานจนทนไม่ไหว เกิดเป็นโรคคอพอกเป็นพิษ ตรงกันข้าม ถ้ามีฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป ร่างกายก็จะเฉื่อยชา เกิดโรคที่เรียกว่า ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
ถ้าขาดฮอร์โมนนี้มาตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กเจริญเติบโตไม่ดี ตัวเตี้ยแคระ ปัญญาอ่อน เรียกว่า เด็กเครติน (Cretin)
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5% ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศทุกอายุ แต่จะพบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปี
ขึ้นไป และคนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มีลูกดก มีโอกาสเป็นโรค
นี้ได้มากขึ้น
สาเหต : โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย
ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกาย
ไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในลือดและอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ
ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า เบาหวาน
ผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไต จะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย
จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมากก็จะทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ
เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน
ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ จึงทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะ
แทรกซ้อนมากมาย
โรคนี้มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ กล่าวคือ มักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอย่างอื่นเช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆจนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง , มะเร็งของตับอ่อน , ตับแข็งระยะสุดท้าย , คอพอกเป็นพิษ , โรคคุชชิง เป็นต้น
ประเภทของเบาหวาน
เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆที่มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรงและการรักษาต่างกัน ได้แก่
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและ
อันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้
จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านทำลายตับอ่อนของ
ตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune)
ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิกปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก
ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ
มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร
คีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้
ผู้ป่วยหมดสติถึงตายๆได้รวดเร็ว เรียกว่า ภาวะคั่งสารคีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulindependent diabetes) เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอ
กับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็น
พวกที่อ้วนมากๆ กับพวกที่ไม่อ้วน (รูปร่างปกติหรือผอม) สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไป มีลูกดก จาก
การใช้ยา หรือพบร่วมกับโรคอื่นๆ ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิสเช่นที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร
หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน ก็มักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้า
ระดับน้ำตาลสูงมากๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้อง
พึ่งอินซูลิน
โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น
1.ตา อาจเป็นต้อกระจก ก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (Viteous
hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดใด้
2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจ
ทำให้แผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตก
ในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน
3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วย
เบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง ,อัมพาต ,โรคหัวใจขาดเลือด
ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ
หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ , กรวยไต
อักเสบ , ช่องคลอดอักเสบ , เป็นฝีพุพองบ่อย , เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ
ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง
(ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จน
กระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้ การรักษาโรคเบาหวาน Diabetes
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เกี่ยวกับโรคภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับน้ำตาลหรือกลูโคส (glucose ) ในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุ
ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบหลังดื่มเหล้าจัด อดข้าว มีไข้สูง หรือออกกำลังมากไป
2. ผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังได้รับยาเบาหวาน บางครั้งกินอาหารน้อยไป หรือออกกำลังมากไปกว่าที่เคยทำอยู่
ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ผู้ป่วยที่กินยาเม็ดรักษาเบาหวานในตอนเช้ามักจะมีอาการตอนเช้ามืด
ของวันรุ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินตอนเช้า มักจะมีอาการตอนบ่ายๆ
3. พบในทารกแรกคลอดที่แม่เป็นเบาหวาน หรือทารกมีน้ำหนักน้อย
4. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ บางคนก็อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นครั้งคราวได้ เนื่องจากร่างกายมีการใช้น้ำตาล
มากขึ้น
5. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระเพาะออกไปแล้ว อาจเกิดภาวะนี้ได้บ่อยๆ โดยมากจะเกิดหลังกินอาหาร 2-4 ชั่วโมง
เนื่องจากลำไส้มีการดูดซึมน้ำตาลเร็วเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกเป็นจำนวนมากทำให้
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เรียกว่า dumping syndrome
6. ถ้าเป็นอยู่บ่อยๆ อาจมีสาเหตุจากเบาหวานระยะเริ่มแรก , โรคตับเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน , มะเร็งต่างๆ ,
โรคแอดิสัน เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจหวิว ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก รู้สึกหิว บางคนอาจมี
อาการปวดศีรษะ ซึม กระสับกระส่าย พูดอ้อแอ้ แขนขาอ่อนแรง ปากชา มือชา พูดเพ้อ เอะอะ โวยวาย ก้าวร้าว
ลืมตัว หรือทำอะไรแปลกๆ (คล้ายคนเมาเหล้า) ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการชัก หมดสติ
ในรายที่เกิดจากการดื่มเหล้า ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเย็นชืด แขนขาเกร็ง ขากรรไกรแข็ง
การตรวจร่างกาย นอกจากพบอาการดังกล่าวแล้ว ชีพจรพามักเบา เร็ว และความดันเลือดต่ำ (แต่ก็อาจพบว่า
ปกติก็ได้) รูม่านตามักจะมีขนาดปกติ และหดลงเมื่อถูกแสง
อาการแทรกซ้อน
หากปล่อยให้หมดสติอยู่นาน หรือเป็นอยู่ซ้ำ ๆ จะทำให้สมองพิการ ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
จากเดิม วิกลจริต บางคนอาจหลับไม่ตื่น เนื่องจากสมองพิการอย่างถาวร
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเกี่ยวกับโรคภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (ค่าปกติประมาณ 8.5-10.5 มิลลิกรัม
ต่อเลือด 100 มล. )
เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก อาจพบได้ทั้งในทารกและผู้ใหญ่ได้
สาเหตุ
1. ในผู้ใหญ่ส่วนมาก มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ (เช่นผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมธัยรอยด์
โตมาก) แล้วตัดเอาต่อมพาราธัยรอยด์ออกไปด้วย จึงทำให้เกิดภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ ทำงานน้อย
( Hypoparahtyroidism) ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนช่วยรักษาระดับของแคลเซียมในเลือดให้อยู่ใน
สมดุล เมื่อต่อมนี้ทำงานได้น้อยก็ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจแสดงอาการภายหลังผ่าตัดแล้วเป็น
ปีๆ ก็ได้ และอาจเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ , ภาวะไตวายเรื้อรัง , การใช้ยา
ขับปัสสาวะนานๆ , ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ , ภาวะขาดวิตามินดี , ลำไส้ดูดซึมธาตุแคลเซียมได้น้อย เป็นต้น
2. ในทารกแรกเกิด ถ้ามีอาการภายใน 2-3 วัน หลังคลอด อาจมีสาเหตุจากการให้ทารกกินนมวัวระเหย , ทารก
ที่มีแม่เป็นเบาหวานแบะมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ , ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย
ถ้ามีอาการหลังคลอดเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนอาจมีสาเหตุจากแม่เป็นโรคต่อมพาราธัยรอยด์ ทำงานมากเกิน
(Hyperparathyroidism) , ทารกเป็นโรคต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย , ภาวะขาดวิตามินเอ , ภาวะ
แมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) เป็นต้น
อาการ
ที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการมือจีบเกร็งทั้งสองข้อง แบบเดียวกับที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบจากอารมณ์
นอกจากนี้อาจเป็นตะคริวที่ขา ใบหน้า หรือปวดบิดในท้อง บางคนอาจมีความรู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้นและปลายมือ
ปลายเท้า ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชัก
ในทารก อาจมีอาการชัก หายใจลำบาก ตัวเขียว บางคนมีอาการอาเจียน (ซึ่งอาจรุนแรงจนเข้าใจผิดว่ามีภาวะ
กระเพาะลำไส้อุดตัน)
อาการแทรกซ้อน
ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำมากๆ อาจทำให้หัวใจวาย , กล่องเสียงเกร็งตัวจนหานใจไม่ได้
ถ้าเกิดจากภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย หากปล่อยได้เรื้อรัง อาจทำให้เป็น
ต้อกระจก บุคลิกเปลี่ยนแปลงซึมเศร้า ถ้าหากเป็นตั้งแต่เล็กๆหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ ฟันเสีย ร่างกายไม่เจริญเติบโต และปัญญาอ่อนได้
การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล ในรายที่มีประวัติการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ (สังเกตเห็นรอยแผลที่คอ) อาจให้การ
รักษาเบื้องต้น ด้วยการฉีดแคลเซียมกลูโคเนต 10 มล. เข้าเส้นเลือดช้าๆซึ่งจะช่วยให้หายชักเกร็งทันที
ควรจะเจาะเลือดตรวจดูระดับแคลเซียม (มักจะต่ำกว่า 7.5 มิลลิกรัมต่อเลือด 100มล.) และทำการตรวจหา
สาเหตุ อาจต้องให้ผู้ป่วยกินเกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมกลูโคเนต เป็นประจำทุกวัน
ในรายที่มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ บางคนอาจมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำชั่วระยะหนึ่ง และอาจ
หายได้เอง แต่บางคนก็อาจเป็นถาวะ ซึ่งต้องคอยกินยารักษาตลอดไป
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่เกี่ยวกับโรคคอพอกธรรมดา
คอพอก (คอหอยพอกก็เรียก) หมายถึง อาการที่ต่อมธัยรอยด์ ตรงบริเวณคอหอยเกิดบวมโตผิดปกติ ทำให้คอ
โป่งเป็นลูกออกมาให้เห็นชัดเจน และสามารถคลำได้เป็นก้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาผู้ป่วยทำท่ากลืนน้ำลาย
ก้อนนี้จะขยับขึ้นลงตามจังหวะการกลืน
คอพอกสามารถแบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ คอพอกธรรมดา และคอพอกเป็นพิษ คอพอกธรรมดา มีสาเหตุ
ที่สำคัญ ได้แก่
1. การขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งมีมากในเกลือทะเลและอาหารทะเล จึงพบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
ในแถบที่เป็นที่ราบสูงหรือใกล้เขตภูเขา เมื่อร่างกายขาดธาตุไอโอดีน ก็เกิดการขาดฮอร์โมนธัยรอยด์ตามมา
ทำให้ต่อมธัยรอยด์ถูกฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (ที่คอยกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงาน) กระตุ้นจนมีขนาด
โตขึ้น จนกลายเป็นคอพอก
2. การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มักพบในหญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น หรือกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายต้องการ
ฮอร์โมนธัยรอยด์ (ไทร็อกซิน) มากขึ้น ต่อมธัยรอยด์จึงต้องทำงานมากกว่าธรรมดา ทำให้เกิดเป็นคอพอก
โดยที่ไม่ได้มีการขาดธาตุไอโอดีนแต่อย่างไร เรียกว่า คอพอกสรีระ (Physiologic goiter)
3. จากผลของยา เช่น พีเอเอส , เอทิโอนาไมด์ ที่ใช้รักษาวัณโรค , เฟนิลบิวตาโซน เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการคอโต (คอพอก) กว่าปกติ โดยไม่มีความผิดปกติอื่นๆ (เช่น ไม่อ่อนเพลีย น้ำหนักไม่ลด
ไม่เหนื่อยง่าย เป็นต้น) แต่ถ้าก้อนโตมากๆ อาจทำให้หายใจลำบาก หรือกลืนลำบาก
การรักษา
คอพอกประจำถิ่น ให้กินเกลือไอโอดิน (เกลืออนามัย) หรือยาไอโอไดดด์ (อาจเป็น ชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ)
เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
เพื่อป้องกันมิให้ลูกที่เกิดมามีภาวะขาดไอโอดิน กลายเป็นเด็กโง่ เป็นใบ้ หูหนวก ตัวเตี้ยแคระ ดังที่เรียกว่า
เด็กเครติน (cretin) ถ้าคอโตมากๆหรือมีอาการหายใจหรือกลืนลำบากอาจตัองรักษาด้วยการผ่าตัดเอาออก
2. คอพอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งพบในสาววัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ โดยทั่วไปคอจะโต
ไม่มาก หรือ แทบสังเกตไม่เห็น ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร จะยุบหายได้เองเมื่อพ้นระยะวัยรุ่นหรือ
หลังคลอด แต่ถ้าคอโตมาก ควรให้ยาสกัดธัยรอยด์ (Thyroid extract) หรือเอลทร็อกซิน (Eltroxin)
กินวันละครั้งๆละ 1-2 เม็ด ซึ่งอาจต้องกินนานเป็นปีๆ อาจช่วยในคอยุบได้แต่ถ้าคอโตมากๆอาจต้องรักษาด้วย
การผ่าตัด
3. ในรายสงสัยเกิดจากยา ควรหยุดยาที่กิน หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน ก็จะช่วยให้คอยุบหายไปได้เอง
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเกี่ยวกับโรคคอพอกเป็นพิษ
คอพอกเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ทุกวัย แต่จะพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี
พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 5 เท่า
โรคนี้มักมีอาการเรื้อรังนานเป็นปีๆ บางคนอาจหายได้เอง แต่ก็อาจกำเริบได้อีก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจ
เป็นอันตรายร้ายแรงได้ บางรายอาจพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
สาเหตุ
ปกติ ต่อมธัยรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมธัยรอยด์ทำงาน
ได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมธัยรอยด์ทำงาน
ได้มากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ ทำให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยลง
(สู่ระดับปกติ)
ในคนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมธัยรอยด์ทำงานมากเกิน โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อม
ใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนธัยรอยด์ (ไทร็อกซีน) ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้น
ให้เซลล์ต่างๆของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบายต่างๆ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมธัยรอยด์เสียสมดุลในการทำงานนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา
ภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune ) เช่น เดียวกับโรคเอสเอลอี
โรคนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย) ทางกรรมพันธุ์ (พบมีญาติพี่น้อง
เป็นร่วมด้วย) และความเครียดทางจิตใจ
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียน
หนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น
มักมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มคอตลอดเวลา)
น้ำหนักตัวจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติหรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกาย
มีการเผาผลาญอาหารมาก
ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรือ อาจมีอาการ
หงุดหงิด โมโหง่าย
บางคนอาจมีอาการกล้าเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือภาวะอัมพาตครั้งคราว จากโพแทสเซียม
ในเลือดต่ำ ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนน้อยหรือขาดประจำเดือน
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อต่อมธัยรอยด์อักเสบ
1. ต่อมธัยรอยด์อักเสบจากไวรัส มีอาการเฉียบพลัน เจ็บคอ ธัยรอยด์โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
การรักษา ให้แอสไพริน 2 เม็ด ทุก4 ชม.
2. ต่อมธัยรอยด์อักเสบจากออโตอิมมิน เกิดจากภูมิแพ้ต่อตนเอง
การรักษา อาจให้กินฮอร์โมน ไทรอกซิน
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อมะเร็งต่อมธัยรอยด์
สาเหตุ พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรักษา ที่คอเมื่อตอนเด็ก อาการ คอโต ไม่เจ็บปวด ให้กินฮอร์โมน
การรักษา กินฮอร์โมนธัยรอยด์ทดแทนไปจนตลอดชีวิต ผ่าตัด ใช้รังสีรักษา
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
สาเหตุ
1. ผลแทรกซ้อน จากการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ
2. หรือเป็นโรค แทรกของต่อมธัยรอยด์อักเสบเรื้อรัง
3. เกิดจากการฉายแสง
4. เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ขาดไอโอดิน
การรักษา ให้กินฮอร์โมนธัยรอยด์ ต้องกินตลอดชีวิต
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโรคคุชชิง
เกิดจาก มีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์นานๆ
อาการ หน้ากลมเหมือนพระจันทร์ ก้อนไขมัน เกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง รูปร่างอ้วนตรงเอว พุงป่อง อ่อนเพลีย
ปวดหลัง
การรักษา ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอก ของต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง มักรักษาด้วยการผ่าตัด
แล้วให้กินยาสเตอรอยด์ทดแทนไปชั่วชีวิต
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโรคแอดดิสัน
เกิดจาก หมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย
อาการ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ท้องเสีย หรือผูก คลื่นไส้
การรักษา ให้กินยาสเตอรอยด์ ควรกินตลอดชีวิต ควรกินอาหารให้เค็มจัด เพราะต้องการโซเดียม
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโรคซีแฮน
เกิดจาก พบในหญิงที่มีประวัติตกเลือด ต่อมใต้สมองทำงานน้อย ก็เลยทำให้ต่อมธัยรอยด์ หมวกไต และรังไข่
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมนี้ไม่ทำงานไปด้วย
อาการ อ่อนเพลีย คิดช้า ขี้หนาว ความดันเลือดต่ำ เบื่ออาหาร ซูบผอม
การรักษา ให้ฮอร์โมนธัยรอยด์ กินตลอดชีวิต ในรายที่ต้องการมีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่
จากการศึกษาโรคในระบบต่อมไร้ท่อ มีผลต่อสุขภาพมากมาย โรคในระบบต่อมไร้ท่อมีสาเหตุแตกต่างกัน
ออกไป
เบาหวาน เกิดจาก ตับอ่อนสร้างอินซูลินน้อยเกินไป
คอพอกธรรมดา เกิดจาก การขาดไอโอดิน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายมักพบในหญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น
คอพอกเป็นพิษ เกิดจาก ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไป
ต่อมธัยรอยด์อักเสบ อาจเกิดจากภูมิแพ้
มะเร็งต่อมธัยรอยด์ พบมากในคนที่เคยได้รับรังสีรั้กษาที่คอตอนเด็ก
ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
โรคคุชชิง มีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ
โรคแอดดิสัน หมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อย
โรคซีแฮน ต่อมใต้สมองทำงานน้อย ส่งผลให้ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ไม่ทำงานด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโรคที่เกิดจากระบบต่อมไร้ท่อ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในต่อมไร้ท่อ
ต่างๆ แม้บางโรคจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่เราควรดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควร
ไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้
ดัชนีเอกสารอ้างอิง
ธนะชัย ทองศรีนุช. ชีววิทยา ม.4-5-6. กรุงเทพฯ : โรงเพิมพ์ประสานมิตร, 2533.
พัชรี พิพัฒวรรณกุล. ชีววิทยา ม.6 .กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซนเตอร์, 2538.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 . กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2531.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อต่อวัยรุ่น
ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีผลต่อสุขภาพวัยรุ่น การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของคนเรามีคความสัมพันธุ์กัน ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ และการดำรงชีวิตของมนูษย์ ก็ขึ้อยู่กับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหากระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายๆระบบทำงานได้ไม่ดี ย่อมส่งผลให้สภาวะสุขภาพโดยรวมเกิดปัญหาขึ้นได้
ระบบทุกระบบในร่างกาย ล้วนแต่มีความสำคัญต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น แต่ระบบที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์โดยเฉพาะในช่วง วัยรุ่นมากที่สุดนั่นก็คือ ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบประสาท ( Nervous System ) ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธุ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous System ) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ้งเป็นศูนย์กลางในการประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1 สมอง ( Brain ) เป็นอวัยวะที่สำคัญและสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อที่มีที่มีความอ่อนนุ่ม บรรจุอยู่ในกะโหลกศรีษะ มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลาง สมองจะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา พอช่วงอายุ 1- 9 ปี สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 18 - 20 ปี โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีมีหน้าที่แตกต่างกัน
1.2 ไขสันหลัง ( Spinal Cord ) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง อยู่ภายในช่องกระดูกสันหลังตลอดความยาวของลำตัว ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นตัวเชื่อมระหว่างอวัยวะความรู้สึกไปยังสมอง และส่งความรู้สึกจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและส่วนต่างๆ ที่มีเส้นประสาทไขสันหลังต่อสมอง
2 . ระบบประสาทส่วนปลาย ( Peripheral Nervous System ) เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลัง ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งประกอบด้วย
2.1 ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง
1. เส้นประสาทสมอง มี 12 คู่ ทอดออกจากพื้นล่างของสมอง ผ่านไปยังรูต่างๆ ที่พื้นของกะโหลกศรีษะ โดยเส้นประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และบางคู่จะทำหน้าที่รวม คือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
2. เส้นประสาทไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสันหลัง มีจำนวนทั้งหมด 31 คู่ ทุกคู่จะทำหน้าที่รวมคือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
2.2 ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Automomic Nerve System ) เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจการบังคับ และควบคุมของจิตใจ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้เป็นปกติ เช่น ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การหายใจ การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งเป็น 2 ส่วน
1. ระบบประสาทซิมพาเทติก ( Sympathetic Nerve System ) เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ในขณะตื่นเต้น ประสบภาวะฉุกเฉิน หรือในระยะเจ็บป่วย โดยจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว รูม่านตาขยาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆ
2. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ( Parasympathetic Nerve System ) เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ก้นกบ และเมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เส้นเลือดและต่อมต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น ทำให้หัวใจเต้นชช้าลง เส้นเลือดคลายตัว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
ระบบประสาทอัตโนมัติท้ัง 2 ส่วนนี้ จะทำหน้าที่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามเสมอ เช่น ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว แต่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ให้หัวใจเต้นช้าลง ทั้งนี้เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ