โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
หมายถึงเกิดการอักเสบของระบขับปัสสาวะซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ
โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection [UTI]ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra)
ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ
ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis
เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระ นอกจากนั้นยังพบเชื้อ Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่
ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต
- ผู้ที่คาสายปัสสาวะ
- ผู้ป่วยที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียเช่นโรคเบาหวานประสาทไขสันหลังอักเสบ
- ผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายและตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
ผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยที่มีท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วจะปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกง
- ผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการ ปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดออก
- ผู้ป่วยที่มีกรวยไตอักเสบ pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น
การวินิจฉัย
หากท่านอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจโดยก่อนการเก็บปัสสาวะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้องเก็บปัสสาวะโดยการสวนสาย เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนำไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ
แพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือด ขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ
ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปั สสาวะบ่อยหรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดย การฉีดสีเข้าเส้นเลือดและให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าในกระเพาะปัสสาวะ
การรักษา
- ผู้ป่วยที่เป็นมาไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจเลือกใช้ยาดังต่อไปนี้ trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยา 7 วันเพื่อให้แน่นใจว่าหายขาด การรักษาด้วยยาโดยให้ยา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต่อมลูกหมากโต
- ผู้ป่วยที่เป็นมาก มีไข้สูง ปวดเอวควรรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาเข้าทางเส้น
- ผู้ป่วยผู้หญิงที่เป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4 ใน 5 คนจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือนดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย
- รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazole เป็นเวลา 6 เดือน
- รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์
- ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อเกิดอาการ
วิธีป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ
- ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้
- ห้ามอั้นปัสสาวะ
- ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
- ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
- งดใช้ spray และการสวนล้างช่องคลอด
- ควรอาบน้ำจากฝากบัว
- การคลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่สามารถติดต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง
4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักจะพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากคาสายสวนปัสสาวะ
Link https://www.siamhealth.net
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ
สุขภาพผู้หญิง ปัสสาวะขัด แสบ
ปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้หญิงเวลาปัสสาวะบ่อย จะมีอาการฉี่ขัด แสบ อย่าได้ปล่อยเฉยเพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก มีโอกาศเสี่ยงปกติร่างกายเราควบคุมให้เรากลั้นปัสสาวะไว้ได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม โดยส่วนของบริเวณกระเพาะปัสสาวะที่ต่อกับท่อปัสสาวะจะมีหูรูดบีบไว้ไม่ให้ ปัสสาวะเล็ดออกมา เมื่อปริมาณของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเต็ม กระเพาะปัสสาวะก็จะเริ่มบีบตัว เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ...
ภพร้อมกันนั้นหูรูดจะขยายตัวออกให้ปัสสาวะขับออกมา หากมีความผิดปกติของหูรูด เช่นภหูรูดไม่ทำงาน ก็ไม่สามารถจะเก็บปัสสาวะไว้ในกระเพาะปัสสาวะได้ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดราด ซึ่งพบได้บ่อยในสุภาพสตรีภโดยเฉพาะสตรีที่คลอดบุตรหลายคน ทำให้เกิดการหย่อนยานของมดลูกที่เรียกว่ากระบังลมหย่อน หรือมดลูกหย่อนภนอกจากนั้นเกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกของอวัยวะที่อยู่ใกล้กับหูรูดกระเพาะปัสสาวะ
ปัญหา ปัสสาวะเล็ดราด กลั้นไม่อยู่ หรือควบคุมไม่ได้ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ในต่างประเทศพบได้ประมาณร้อยละ 6 ของประชากร อาการดังกล่าวพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ปัสสาวะเล็ดราดอาจจะเป็นแค่เพียงหยดซึมเป็นช่วงๆ หรือตลอดเวลา หรือราดจนเปื้อนเสื้อผ้าภายใน โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถจะควบคุม หรือกลั้นเอาไว้ได้ บางท่านต้องใช้แผ่นรองซับปัสสาวะ หรือสวมใส่ถุงเก็บปัสสาวะ สภาพดังกล่าวยังผลทำให้เสียสุขภาพพลานามัยต้องเฝ้าระวังดูแลรักษาตนเอง รวมทั้งเสียสุขภาพจิตที่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามความต้องการ
กลไกการกลั้นปัสสาวะในสตรี
เกิด จากผลรวมของความตึงตัวของเนื้อเยื่อบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะส่วนต้นและส่วนกลาง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะหดรัดตัว และปิดตลอดเวลา ทำให้น้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถเล็ดออกมาได้ถ้าตัวเรายังไม่ต้อง การให้ปัสสาวะไหลออกมา แต่ถ้าต้องการขับปัสสาวะจะเกิดสัญญาณประสาทไปยังกระเพาะปัสสาวะให้มีการหด ตัวและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้หย่อนตัวทำให้แรงดันในท่อปัสสาวะลดลง น้ำปัสสาวะจึงไหลออกมาได้
สาเหตุ
- ปัสสาวะเล็ดราดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ภอาจจะมีปัญหาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบ เล็ดราด หรือขัดกระปริบกระปรอยภเนื่อง มาจากการอักเสบติดเชื้อซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนหรืออั้นปัสสาวะไว้มากจนเกินไป เช่น เมื่อต้องเดินทางไกล การอักเสบนี้รักษา และป้องกันได้โดยพยายามถ่ายปัสสาวะทิ้งทันที่ เมื่อมีโอกาสเสี่ยงต่อการอักเสบดังที่กล่าวข้างต้นภควรจะดื่มน้ำ 1-2 แก้ว เพื่อให้ปัสสาวะมากขึ้นแต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
- สำหรับสตรี 30-40 ปีขึ้นไป หลังคลอดบุตรแล้ว 2-3 คนภพ บว่าประมาณ 4-6% มีอาการปัสสาวะบ่อย และเล็ดราดขณะที่ไอ จาม ยกของ หรือเดินขึ้นบันได อาการปัสสาวะเล็ดแบบนี้ สาเหตุเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะเสื่อมสมรรถภาพในการปิดกั้น ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากกล้ามเนื้อกระบังลมช่องเชิงกรานหย่อนตัวลง แพทย์จะสามารถตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อพิจารณาความรุนแรงของอาการ และให้การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดเพื่อให้หายเป็นปกติได้ภการรักษาด้วยวิธีการฝึกหัดกล้ามเนื้อหูรูดช่องเชิงกรานภซึ่ง เรียกว่าการฝึกหัด พี.ซี. หรือกล้ามเนื้อช่องเชิงกราน ด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน จะช่วยรักษาอาการที่ไม่รุนแรงมากนักให้หายขาดได้ การฝึกหัดดังกล่าวมีประโยชน์ในการป้องกันเหมาะสมที่จะใช้กับสตรีหลังคลอด บุตร เพื่อลดปัญหาดังกล่าวตั้งแต่แรก
- ปัสสาวะเล็ดราดในกลุ่มผู้สูงอายุภส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากภาวะความเคยชินที่ผิดปกติภความเสื่อมสมรรถภาพของกระเพาะปัสสาวะรวมทั้งระบบประสาทในสมองภจึงทำให้อาการปัสสาวะผิดปกติพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
ภาวะ กระเพาะปัสสาวะไวเกิน เป็นกลุ่มอาการของความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตมากนัก แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมาก จึงจำเป็นที่แพทย์ในสาขาต่างๆ ที่อาจมีส่วนดูแลผู้ป่วย เช่น สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ อายุรแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ให้ความสำคัญ และให้การรักษาอย่างจริงจัง เพื่อให้หายหรือบรรเทาจากภาวะดังกล่าว และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การรักษา
- เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น การรักษาจึงใช้แนวทางรักษาหลายชนิดมาผสมผสานกัน
- รักษาภาวะที่ก่อให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะไวเกิน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
- การใช้ยาที่มีฤทธิ์คลายการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดดื่มน้ำก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงยา หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุนการขับปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ น้ำชา กาแฟ
- การจัดที่นอนใหม่ให้เข้าห้องน้ำได้สะดวกขึ้น
- การฝึกกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมบำบัด โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้สมองส่วนกลางส่งสัญญาณมายับยั้งวงจรการปัสสาวะ โดยการฝึกปัสสาวะให้เป็นเวลา และเพิ่มช่วงเวลาการถ่ายปัสสาวะให้มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งหลักการเบี่ยงเบนความสนใจ
การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การ ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดส่วนนอกของท่อปัสสาวะหนาตัว และแข็งแรงขึ้น โดยปกติการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะใช้ในการรักษาภาวะไอ-จามจนปัสสาวะเล็ด แต่พบว่าสามารถนำมาใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ด้วย
การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานภโดย วิธีการออกกำลังแบบคีเกล (Kegel exercise) ซึ่งทำได้โดยการ เกร็งขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้ ประมาณ 2-3 วินาที แล้วผ่อนคลายสลับกันไปเมื่อทำได้ดี ขึ้นให้เกร็งค้างไว้ นานประมาณ 10 วินาที โดยทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ได้ ประมาณ 100 ครั้งต่อวันภการออกกำลังกายแบบคีเกลนี้สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
โรคนิ่ว
โรค นิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคนิ่วไตในคนไทยพบว่ามีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วย และภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง
โรคนิ่วมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะภซึ่ง นิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์ ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุ
- เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการบริโภคอาหาร
- สารก่อนิ่วที่มีอยู่ในปัสสาวะ ตามปกติ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสเฟต ออกซาเลต ยูเรต ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสารเหล่านี้สามารถรวมตัวกัน จนกลายเป็นก้อนผลึกแข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นนิ่วอุดตันที่บริเวณต่างๆของทางเดินปัสสาวะ
- องค์ประกอบส่วนใหญ่ในก้อนนิ่วเป็นผลึกแร่ธาตุ เช่น แคลเซียมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต เป็นต้น
- นิ่วที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ นิ่วแคลเซียมฟอสเฟตประมาณร้อยละ 80 รองลงมาคือ นิ่วกรดยูริกพบประมาณร้อยละ 10-20
- สารที่ป้องกันการก่อผลึกใน ปัสสาวะ เรียกว่า สารยับยั้งนิ่ว ที่สำคัญได้แก่ ซิเทรต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนิ่วไตไทย คือ การมีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะต่ำ ได้แก่ ภาวะซิเทรตในปัสสาวะต่ำ พบประมาณร้อยละ 70-90 และภาวะโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 40-60
- ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนิ่วอาจแบ่ง ได้เป็นปัจจัยภายใน เช่น กายวิภาคของไต พันธุกรรม เชื้อชาติ และปัจจัยภายนอก เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ อากาศ และฤดูกาล ปริมาณน้ำที่ดื่ม พฤติกรรมการกิน อาชีพ ยาบางชนิด
กลไกการเกิดโรค
- สาเหตุของการเกิดนิ่วไต คือ การมีสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว ร่วมกับปัจจัยเสริมคือ ปริมาตรของปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น เช่น แคลเซียมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต และยูเรต
- ผลึกนิ่วที่เกิดขึ้นจะกระตุ้น ให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เซลล์บุภายในไตถูกทำลาย ตำแหน่งถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึด และรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด
- ในคนปกติที่มีสารยับยั้งนิ่วใน ปัสสาวะสูงเพียงพอจะสามารถยับยั้งการก่อตัวของผลึกนิ่วได้ โดยสารเหล่านี้จะไปแย่งจับกับสารก่อนิ่ว เช่น ซิเทรตจับกับแคลเซียม หรือแมกนีเซียมจับกับออกซาเลต ทำให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และขับออกไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปริมาณสารก่อนิ่วในปัสสาวะลดลง และไม่สามารถรวมตัวกันเป็นผลึกนิ่วได้
- โปรตีนในปัสสาวะหลายชนิดยังทำ หน้าที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะ และเมื่อเคลือบที่ผิวผลึก จะช่วยขับผลึกออกไปพร้อมกับปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
- ความผิดปกติของการสังเคราะห์ และการทำงานของโปรตีนยับยั้งนิ่วหลายชนิด เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคนิ่วไต
นิ่วที่พบได้บ่อยในประเทศไทย
ก้อน นิ่วสามารถจำแนกชนิดคร่าวๆ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นิ่วชนิดเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว และนิ่วชนิดเนื้อผสมที่มีหลากหลายองค์ประกอบรวมกัน นิ่วส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นนิ่วเนื้อผสม นอกจากนั้นเราสามารถแบ่งชนิดนิ่วได้จากองค์ประกอบหลักที่สำคัญในก้อนนิ่ว ได้แก่ นิ่วแคลเซียมออกซาเลต นิ่วแคลเซียมฟอสเฟต นิ่วยูเรตหรือนิ่วกรดยูริก นิ่วสตูไวท์หรือนิ่วติดเชื้อ นิ่วซีสทีน นิ่วชนิดอื่นๆ
อาการ
- ปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งอาจจะมีลักษณะของปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วหลุดออกมาด้วยเหมือนเศษทราย เล็ก ๆ แต่บางคนอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากนิ่วได้ เช่น กรวยไตอักเสบจากการติดเชื้อ ท่อไต หรือท่อปัสสาวะอุดตันจากนิ่ว อุดตันนาน ๆ เข้าจะทำให้เกิดไตวายได้
- อาการจะเป็นมาก หรือเป็นน้อยขึ้นกับระยะเวลา และขนาดของนิ่วที่เป็น
- นิ่วในไต มีอาการปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต เวลาที่ก้อนนิ่วมันหลุดมาอยู่ในท่อไต จะปวดชนิดที่รุนแรงเหลือเกิน เหงื่อตก เกิดเป็นพักๆ ปัสสาวะอาจมีเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วยได้
- อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะจะขัด ถ่ายเจ็บ ไม่สะดวก บางทีออกกะปริดกะปรอย หรือออกเป็นหยดขุ่นหรือขาวเหมือนมีผงแป้งอยู่ บางครั้งมีเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ อาจมีสิ่งที่คล้ายกรวดทรายปนออกมากับปัสสาวะ ถ้านิ่วไปอุดท่อทางเดินปัสสาวะก็จะทำให้เกิดการอยากถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ แต่ก็ถ่ายไม่ออก
- นิ่วเป็นก้อนแข็ง ซึ่งเหมือนหิน มีทั้งเล็ก และใหญ่ หากเกิดไปสีหรือรบกวนผนังของไตหรือกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ จนเป็นแผลขึ้นมาก็ได้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
- อาการปัสสาวะไม่ออกไม่ได้เกิด จากโรคนิ่วเสมอไป อาจเป็นโรคที่ไตไม่ทำงานหรือทำไม่ปกติ ผลิตน้ำปัสสาวะน้อย หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีก เช่น บางครั้งบางคราวเกิดจากการตีบของท่อปัสสาวะก็ได้
นิ่วไต
- นิ่วในไต เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี ในบ้านเราพบมากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน นิ่วอาจมีขนาดต่างๆ กัน อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ ส่วนมากมักเป็นที่ไตเพียงข้างเดียว ที่เป็นทั้งสองข้างอาจพบได้บ้างบางรายอาจเป็นซ้ำๆ หลายครั้งก็ได้
- ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตประกอบ ด้วยหินปูนแคลเซียม กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต, กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมากๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไปซึ่งทำให้แคลเซียมในเลือดสูง นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
- กลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าคงมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียม, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต เป็นต้น คนที่ชอบกินอาหารที่มีสารซาเลตสูง หรือกินวิตามินซีขนาดสูงๆ ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลตสูง ก็มีโอกาสเป็นนิ่วมากกว่าคนปกติ
- ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเอวปวด หลังข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะปวดแบบเสียดๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรือมีเม็ดทราย ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทำให้เกิดอาการปวดบิดในท้องรุนแรง บางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้ ในขณะที่บางรายพบอาการแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยไว้นานๆ มีการติดเชื้อบ่อยๆ ก็ทำให้เนื้อไตเสีย กลายเป็นไตวายเรื้อรังได้
- หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ จะพบมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี และอาจตรวจพิเศษอื่นๆ ถ้าจำเป็น
- ถ้านิ่วก้อนเล็กอาจหลุดออกมา ได้เอง แต้ถ้าก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว หรือสลายนิ่วโดยการใช้เสียงความถี่สูงทำให้นิ่วระเบิดเป็นผงโดยไม่ต้องผ่า ตัด
โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่แล้วเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วในกระเพาะ ปัสสาวะอาจมีอาการปัสสาวะขัด เจ็บเวลาถ่ายปัสสาวะ น้ำปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่น บางรายมีลักษณะเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือเป็นเลือด บางรายถ่ายออกมามีก้อนนิ่วเล็กๆ หรือกรวดทรายปนกับน้ำปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นอยู่นานจนก้อนนิ่วโตแล้ว ก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนนิ่วออก
- โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเกิด จากการได้อาหารที่ขาดฟอสฟอรัส และขาดโปรตีน โดยเด็กที่เกิดมาในชนบทของภาคอีสานมักได้ข้าวย้ำภายในอายุ 4 สัปดาห์แรกหลังคลอด ทำให้เด็กได้น้ำนมแม่ซึ่งเป็นแหล่งให้ฟอสฟอรัส และโปรตีนน้อยลงการกินอาหารซึ่งให้ผลึกออกซาเลตมาก เช่น ผักโขม ผักแพว ผักกระโดน ร่วมกับการขาดฟอสฟอรัส และโปรตีนที่กล่าวแล้ว ยิ่งทำให้ผลึกอ
Link https://www.108health.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++