โรคเกี่ยวกับอวัยเพศ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศหญิง


2,933 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับอวัยเพศ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศหญิง

โรคเกี่ยวกับอวัยเพศ

โรคหงอนไก่

โรคหงอนไก่เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อ HPV มักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเป็นผื่นยื่นออกมา การรักษาจะทำได้โดยการจี้ด้วยยา

โรคหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)


ตำแหน่งที่พบโรคหูด

โรคหูดที่อวัยวะเพศตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ลักษณะของหูดเป็นอย่างไร

หูดจะมีลักษณะแบน สีออกชมภูหรือดำ มักจะไม่เป็นติ่ง มักจะเกิดได้หลายๆแห่ง

โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน

  • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม
  • ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่นโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกว้อน
  • โรคนี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดมีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
หูดที่อวัยวะเพศหญิง หูดที่ทวาร หูดที่อวัยวะเพศ หูดที่ปลายอวัยวะเพศ
 

อาการของโรคเป็นอย่างไร

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
  • ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
  • อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดคือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
  • ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

แพทย์จะตรวจหาหูดได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับผู้ชาย

  • พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
  • ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
  • หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
  • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะก้อนบริเวณรอบทวารหนัก

สำหรับผู้หญิง

  • ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
  • แคมใหญ่ แคมเล็ก
  • ช่องคลอด
  • ทวานหนัก

แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ

  • หนองในแท้ หนองในเทียม
  • โรคเอดส์
  • โรคซิฟิลิส
  • ตรวจภายในทำ PAP Smear
  • ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษา

หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดออกจะลดการติดต่อลง

  • การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
    • ใช้ความเย็น(nitrogen เหลว) จี้บริเวณเนื้องอก 10-15 วินาที และสามารถทำซ้ำได้ ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณที่ดี
    • การใช้ความเย็นจี้เป็นวิธีการรักษาสำหรับหูดโดยเฉพาะที่รอบทวารหนัก
    • การตอบสนองต่อการรักาาดี และมีแทรกซ้อนน้อย
    • โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เกิดผล ปวดขณะทำ สีผิวซีดลง
    • สามารถทำในคนท้องได้
  • การใช้ไฟฟ้าจี้ ไม่แนะนำเพราะควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
  • การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
    • การผ่าตัดจะให้ผลดี และมีโรคแทรกซ้อนต่ำ และอัตราการเป็นซ้ำต่ำ
    • อัตราการหาย 63-91%.
  • การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
    • ใช้ Laserในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือเป็นซ้ำ
    • ข้อระวังควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
    • ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ทา
  • การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
    • Podophyllin เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกที่ตัวหูด ให้ทาสัปดาห์ละครั้ง ข้อระวังของการใช้ยานเพื่อป้องกันมิให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายี้ได้แก่
      • การใช้ยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน <0.5 mL
      • ขนาดของหูดไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่เกิน 10 cm2
      • บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผล เพราะยาอาจจะถูกดูดซึม
      • หลังทาปล่อยให้แห้ง และล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 1-4 ชม
    • TCA (trichloracetic acid)เป็นยาที่ใช้ทาภายนอก ห้ามถูกผิวหนังที่ดี
  • การให้ผู้ป่วยทายาเอง
    • Podofilox 0.5% solution or gel. ให้ทาที่ตัวหูดวันละสองครั้งเป็นเวลาสามวัน และหยุดทาสี่วันให้ทำซ้ำได้สี่ครั้ง ยานี้ไม่ควรใช้ในคนท้อง และไม่ควรใช้ยาปริมาณมากเกินไป
    • Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วันเป็นเวลา 16 สัปดาห์

การป้องกันการติดเชื้อโรคหูด

หญิงหรือชายวัยเจริญพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหูดโดย

  • งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่น้อยคนที่ทำได้
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
  • หากผู้ที่มีหูดควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
  • ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
  • การฉีดวัคซีนป้องกัน

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

โรคที่เกี่ยวข้อง

               Link  https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทมีอะไรบ้าง

              -โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis)
              -โรคมัลติเพิลสเคอโรซิส(Multiple   sclerosis;MS)  
              -โรคไมแอสทีเนียกราวิส(Myasthenia     Gravis)
              -โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อประสาท (Neuroblastoma)
              -โรคพาร์กินสัน(Parkimson's   disease;PD)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก (Eosinophilic meningoencephalitis)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก (Eosinophilic meningoencephalitis )   หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซิส แคนโทเนนซิส เกิดจากพยาธิตัวกลม  Angiostrongylus cantonensis ซึ่งปกติแล้วพยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู  ผู้ป่วยจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบ น้ำไขสันหลังจะมีจำนวนเซลล์สูง ตรวจพบในน้ำไขสันหลัง มีเซลล์เพิ่มขึ้น เท่ากับหรือมากกว่า 20%  โดยมีจำนวนเซลล์อีโอซิโนฟิลมากกว่า 10% จึงเรียกว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก ติดต่อโดย คนกินหอยโข่ง หอยทากยักษ์ สัตว์น้ำหรือพืช ที่มี ตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิชนิดนี้เข้าไป   เข้าสู่และก่อโรคของระบบประสาทกลาง คือ สมอง ไขสันหลัง และเยื่อหุ้มสมอง  
แหล่งปรากฎโรค

สำหรับประเทศไทย ได้มีการพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบและมีเซลล์อีโอซิโนฟิล ประปรายกระจายอยู่ทั่วไป เท่าที่พบแล้วมีมากทางภาคอิสาน กรุงเทพ อยุธยา ปราจีนบุรี สระบุรี  โดยพบพยาธิจากการตรวจศพ    พบว่า หอยโข่ง (Pila snail)  เป็นโฮสต์ กึ่งกลาง นำโรคที่สำคัญในประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีประวัติอาการหลังจากกินหอยโข่ง และยังตรวจพบพยาธิตัวอ่อน A. cantonensis ในหอยโข่งที่จับเอามาตรวจ จากแหล่งที่ผู้ป่วยนำมาทำอาหารด้วย นอกจากนี้ พิพัฒน์ ชุติชูเดช ได้ตรวจพบพยาธิตัวแก่จากหนู ในปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นที่ทราบว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซีสมีอยู่ในประเทศไทย และน่าจะเป็นโรคประจำถิ่นเช่นเดียวกับที่พบในหมู่เกาะทะเลใต้
รูปร่างลักษณะ

ลักษณะสำคัญทั่วไปของพยาธิตัวกลม Angiostrongylus cantonensis หรือพยาธิในปอดของหนู มีลำตัวเรียว เล็ก ขณะมีชีวิตจะสีใส ผิวหนังเรียบมีรอยบั้งขวาง ส่วนหัวประกอบด้วย ริมฝีปาก 3 อัน ไม่มีกระพุ้งลำคอ จากปากเปิดตรงสู่ หลอดคอซึ่งจะขยายกว้างตรงส่วนต่อกับลำไส้

  •  ตัวผู้มีขนาดยาว 15.9 - 19 มม. กว้าง 0.25 มม. ปลายหางเจริญแผ่เป็นอวัยวะรูปไตสำหรับจับระหว่างสืบพันธุ์
  • ตัวเมีย มีขนาดยาว 21 - 25 มม. กว้าง 0.03 - 0.36 มม. ปลายหางมีลักษณะมนทู่ แต่ไม่มีปุ่มเล็กๆยื่นออกมา ตรงปลายสุด ในสภาพมีชีวิต พยาธิตัวเมียจะมีลักษณะพิเศษจำเพาะ เรียกว่า บาร์เบอร์โพล (barber’pole) เกิดจากท่อรังไข่ที่มีสี ขาวขุ่นพันรอบลำไส้ที่มีสีเข้ม ท่อรังไข่เหล่านี้จะรวมตัวและเปิดออกสู่ช่องเปิดอวัยวะสืบพันธุ์ (vulva opening) อยู่หน้าช่องเปิดอวัยวะขับถ่าย (anus)

ตัวเมียจะออกไข่ได้วันละ 15,000 ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี เปลือกบางใส ขนาดเฉลี่ย 47 x 70 microns ไข่ที่ ออกมาใหม่ยังไม่มีตัวอ่อน ต่อมาภายหลังจึงเจริญเป็นตัวอ่อนขดตัวอยู่ภายในไข่ แต่จะตรวจไม่พบในอุจจาระ เนื่องจากพยาธินี้ ออกไข่และฟักเป็นตัวในเนื้อปอด ดังนั้น การตรวจอุจจาระของหนูพบแต่เพียงพยาธิตัวอ่อนระยะแรกเท่านั้น

วงจรชีวิตของพยาธิ

Life Cycle of Angiostrongylus
 

หอยที่เป็นโฮสต์กลาง

พยาธิตัวกลม Angiostrongylus cantonensis โดยธรรมชาติเป็นพยาธิของหนู ตัวแก่ของพยาธิอาศัยอยู่ใน หลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ย์ของหนูและสัตว์ฟันแทะเมื่อพยาธิออกไข่ (ไข่มีลักษณะคล้ายไข่ของพยาธิปากขอ) ก็ไปตามกระแสเลือดเข้าไปติด อยู่ที่หลอดเลือดฝอยของปอด ขณะที่อยู่ในปอดพยาธิตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ เป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 (first stage larva) แล้วไช ทะลุถุงลมปอด และเดินทางขึ้นไปตามหลอดลมจนกระทั่งถึงคอหอย แล้วถูกกลืนลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้ หนูถ่าย ออกมาพร้อมกับอุจจาระ

ตัวอ่อนระยะที่ 1 จะไชเข้าหอยซึ่งเป็นโฮสต์กลาง ได้แก่ หอยโข่ง หอยปัง หอยทาก ตัวทากและกุ้ง พยาธิตัวอ่อนจะไชเข้าไปอยู่และเจริญต่อไปในโฮสต์ดังกล่าว จนเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ( third stage larva) ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เมื่อหนูกินโฮสต์ที่มีตัวอ่อนระยะที่ 3 ก็จะได้พยาธิตัวอ่อนเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ตัวอ่อนของพยาธิจะไชผ่านกระแสโลหิต ไปเจริญในสมองและเยื่อหุ้มสมอง เป็นตัวอ่อนระยะที่ 4 และระยะที่ 5 และสุดท้ายเจริญเติบโตเป็นตัวแก่จึงเข้ากระแสโลหิตใหม่ แล้วเดินทางมาอาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ย์ของหนู
 

อาการสำคัญ
ระยะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจจะมีอาการหลังจากรับประทานหอยโข่งไป 24 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยกินหอยโข่ง หรือหอยทากยักษ์ จะมีอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ในช่วง 1 – 2 ชั่วโมง หลังกิน ปวดศีรษะน้อยๆ ในช่วง 2 – 3 วันแรก และปวดมากขึ้นอย่างเฉียบพลัน บางคนปวดตุบๆ บางคนปวดมากคล้ายศีรษะจะระเบิด สายตาเสื่อม หลังและคอแข็ง ฟันดัสผิดปกติ Kerning’s sign ให้ผลบวก ซึม หมดสติ ผิวหนังชา แขนขาอ่อนแรง ใบหน้าและกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ชักกระตุก
 

ระบาดวิทยา
เขตปรากฏโรค พบได้ในหมู่เกาะแปซิฟิคและประเทศบริเวณเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฮาวาย ตาฮิติ ไต้หวัน เกาหลี อินโดนีเซีย เวียตนาม นอกจากนี้มีรายงานพบที่ นิวคาเลโดเนีย มาดากัสการ์ อียิปต์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เปอร์โตริโก สำหรับประเทศไทย เริ่มมีรายงานผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2498 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521- 2530 พบผู้ป่วย 8,334 ราย เสียชีวิต 32 ราย พบว่า มีการระบาดทุกภาคของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบผู้ป่วยสูงสุด รอง ลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งโรคนี้พบว่า อยู่ในแถบภูมิภาคเขตร้อนที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม เช่น ฝน ตกชุก อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโฮสต์กลาง คือ หอย และสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งโฮสต์สุดท้ายคือ หนู ซึ่งมีพยาธิ เติบโตอยู่ ในประเทศไทยซึ่งมีความเหมาะสมทุกด้านทั้งสภาพภูมิศาสตร์ อากาศ ตลอดจนอุปนิสัยการกินของคนไทยซึ่ง น่าจะเชื่อได้ว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซิสนี้ มีอยู่ในประเทศมานานแล้ว เพราะมีหลักฐานเชื่อว่าหอยทากยักษ์แอฟริกันแพร่ เข้ามาสู่ประเทศไทยจากแอฟริกาตะวันออก ตั้งแต่พ.ศ. 2480 แต่เนื่องจากขาดความสนใจ และแพทย์ไม่รู้จักโรคนี้ดีพอหรือ อาการที่เกิดในคนไข้ส่วนมากมีน้อย หายเองได้ และมีอัตราการเสียชีวิตตลอดจนความผิดปกติทางประสาทน้อย ก็เป็นได้

  • เพศ พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • อายุ พบทุกกลุ่มอายุ มากที่สุดกลุ่มอายุ 20 - 39 ปี
  • ฤดูกาล อัตราการป่วยมักพบสูงภายหลังฝนตกชุกแล้ว 1 - 2 เดือน ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็น ระยะที่หอยโข่ง หรือหอยทากโตพอกินได้
  • อาชีพ พบได้ทุกอาชีพ พบมากในอาชีพเกษตรกร
  • ระยะฟักตัว 3 - 36วัน เฉลี่ย 16 วัน ในรายที่มีอาการน้อย 1 - 20 วัน เฉลี่ย 8 วัน ในรายที่เป็นรุนแรง

ถ้าคนกินหอยโข่ง กุ้ง ดิบๆ หรือสุกๆดิบๆ เช่น ทำเป็นยำและพล่า ซึ่งมีพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 3 อยู่ พยาธิตัวอ่อนจะเดินทางไปที่สมองและเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดการอักเสบของสมองและเยื่อหุ้มสมองชนิดมีจำนวนอีโอซิโนฟิลมาก (eosinophilic meningoencephalitis) โดยธรรมชาติคนไม่ใช่โฮสต์ของพยาธินี้ ฉะนั้นพยาธิตัวอ่อนจะเจริญได้ไม่ดี และจะมีชีวิตอยู่ได้ระยะหนึ่งเพียง 1 - 2 เดือนเท่านั้น พยาธิก็จะตายไป
การวินิจฉัย
1. จากประวัติ การรับประทานหอยโข่ง หอยทากยักษ์ สัตว์น้ำดิบ หรือสุกๆดิบๆ เช่น ยำ พล่า และผู้ที่ร่วมรับประทานด้วยกันมักมีอาการคล้ายๆกัน ที่สำคัญ คือ อาการปวดศีรษะ

2. จากการตรวจร่างกาย มีอาการแสดงของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น คอแข็ง อัมพาต ตาเหล่ และตรวจพบ Kerning’s sign เป็นต้น

3. จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • ตรวจ น้ำไขสันหลัง ทุกรายที่สงสัย ดูว่ามีเซลล์สูงขึ้นเท่ากับหรือมากกว่า20 % และมี eosinophil สูงเท่ากับหรือมากกว่า 10% หรือไม่
  • ตรวจเลือด พบจำนวนเม็ดเลือดขาวค่อนข้างสูง และ eosinophil สูงด้วย
 
  • การตรวจหาตัวพยาธิ โดยตรวจพบในน้ำไขสันหลัง จากการตรวจศพ และในหอยโข่ง หอยทากยักษ์ หรือ กุ้ง จากบริเวณที่ผู้ป่วยไปจับมารับประทาน

4. การตรวจทางปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน

  • การทดสอบทางผิวหนัง โดยใช้แอนติเจน ที่เตรียมจากพยาธิ แต่ไม่ให้ผลที่แน่นอน
  • การตรวจ ซีรั่ม และ น้ำไขสันหลัง ด้วยวิธี คอมพลีเม้นท์ฟิคเซชั่น และวิธี แม็กกลูติเนชั่น ได้ผลบ้างและยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
  • การตรวจวิธี ELISA โดยใช้ แอนติเจน เตรียมจากพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 4 ที่อยู่ในสมองหนู ผลบวก ไตเตอร์เท่ากับหรือมากกว่า 1:64 มีรายงานผลว่าดี และเป็นที่น่าพอใจ

5. การตรวจทางเคมีคลินิกของน้ำไขสันหลัง ส่วนมากมีโปรตีนสูงกว่า 50 มิลลิกรัม น้ำตาลและคลอไรด์ปกติ

6. การตรวจเลือดและตรวจทางเอ๊กซเรย์ และคลื่นสมอง ยังไม่ได้ผลที่น่าเชื่อถือนัก
การรักษา

ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การเจาะน้ำไขสันหลัง ออกบ่อยๆ ครั้งละ 3 - 10 มิลลิลิตรและการใช้สเตียรอยด์ชนิดกิน เช่น เพรดนิโซโลน 30 - 60 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมกับยาแก้ปวด พบว่า อาการของโรคดีขึ้น
การป้องกันและควบคุม

1. ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน โดยเฉพาะในเขตชนบท ทราบถึงการติดต่อและการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นโรคหลายๆทาง เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอาสาสมัครในด้านสุขศึกษา

2. ต้องไม่รับประทานหอยหรือสัตว์น้ำอื่นๆ โดยไม่ทำให้สุกเสียก่อน

3. น้ำดื่มควรต้มให้สะอาด เพราะอาจมีระยะติดต่ออยู่ในน้ำ

4. พืชผักที่จะรับประทานสดๆ ควรล้างให้สะอาด

5. ผู้ที่ใช้มือทำงานบริเวณที่มีหอยนำโรค ควรล้างมือให้สะอาดหลังเลิกงาน

6. รณรงค์กำจัดหนูนา นอกจากลดความเสียหายทางผลผลิตการเกษตรแล้ว ยังเป็นการช่วยกำจัดโฮสต์ที่สำคัญต่อวงจรชีวิตของพยาธิ และการกำจัดหอยด้วยวิธีใส่สารเคมี แต่ทำได้ยากในประเทศไทย
ปัญหาและแนวโน้มของโรค

เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศเหมาะสมในการเจริญเติบโตขยายพันธุ์ของหอยและหนู ดังนั้น พยาธิ Angiostrongylus cantonensis และพยาธิอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน จึงพบมากขึ้นและแพร่กระจายอยู่ทั่วๆไป ขณะเดียวกันการรายงานโรคจึงมีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประชาชนชอบรับประทานอาหารดิบ เช่น ลาบ ก้อย ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก การแพร่กระจายของหอยทากยักษ์ (Achatina fulica) ซึ่งเป็นตัวกลางนำโรคนี้อยู่ในประเทศ แพร่กระจายไปได้เร็วมาก และพบได้ทั่วประเทศ ดังนั้นโรคนี้จะพบได้ทั่วประเทศเช่นกัน เพราะหอยเป็นอาหารที่ดีของหนู แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หอยทากยักษ์กลายเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ดี ทำให้หอยทากยักษ์ลดลงอย่างรวดเร็ว และวิธีการเตรียมหอยทากยักษ์ได้ผ่านกรรมวิธีใช้ความร้อนสูง พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อในหอยจะตายหมด ไม่แพร่กระจายโรคต่อไป

  

โรคมัลติเพิลสเคลอโรซีส Multiple Sclerosis
ร่วมส่งเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ คลิกที่นี่ บทความของท่านมีประโยชน์กับผู้ไม่รู้อีกมากมาย
 

โรคมัลติเพิลสเคลอโรซิส (Multiple sclerosis) หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าโรคเอ็มเอส (MS) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่พบได้บ่อยที่สุดในคนที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี พบได้น้อยมากในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 12 ปีหรือมากกว่า 55 ปีและพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึงครึ่งเท่าตัว กล่าวคือ พบผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงจำนานสามคนต่อผู้ชายจำนานสองคน ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคเอ็มเอสทั่วโลกประมาณ 2,500,000 คน เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการเกิดโรคนี้พบได้น้อยในประเทศแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรรวมทั้งประเทศไทย แต่พบมากในประเทศที่ห่างเส้นศูนย์สูตรออกไป เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เป็นต้น

รูปนี้แสดงการกระจายตัวของจำนานผู้ป่วยโรคเอ็มเอสทั่วโลกจะเห็นว่าประเทศในเขตเส้นศูนย์สูตรรวมทั้งประเทศไทยของเรามีจำนวนผู้ป่วยไม่มากนักเมื่อเที่ยบกับประเทศที่ไกลออกไป

ที่มา https://library.med.utah.edu/kw/ms/mml/ms_worldmap.html

ชื่อโรคเอ็มเอสนี้มาจากอาการของโรค มาจากรากศัพท์ภาษากรีก “skleros” แปลว่าแข็ง หมายถึงเห็นรอยโรคเป็นแผ่นหรือแผลเป็น ส่วนคำว่า “multiple” หมายความว่าแผลเป็นเหล่านี้เกิดได้หลายตำแหน่งในระบบประสาทส่วนกลาง โรคเอ็มเอสนี้เกิดจากการทำลายเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ซึ่งพันอยู่รอบๆ เส้นใยแอกซอนของเซลล์ประสาทที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง (ระบบประสาทส่วนกลาง หมายถึง สมองและไขสันหลัง เซลล์ที่สร้างเยื่อไมอีลินในระบบประสาทส่วนกลาง คือ เซลล์ที่ชื่อว่าโอลิโกเดนโดรไซต์ (oligodendrocyte)) เมื่อเยื่อไมอีลินถูกทำลายสลายตัว (Demyelination) จะทำให้การนำส่งข้อมูลหรือสัญญาณประสาทของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ เช่น เกิดความล่าช้าในการนำส่งสัญญาณ หรือ อาจเกิดการปิดกั้นสัญญาญาณประสาทก็เป็นได้ การสูญเสียเยื่อไมอีลินนี้จึงถือเป็นรากเหง้าของปัญหาที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของการนำสัญญาณประสาทไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

รูปนี้แสดงโครงสร้างของระบบประสาทซึ่งแบ่งออกเป็น ระบบประสาทส่วนกลางที่ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลายที่ประกอบด้วยเส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลังที่ไปเลี้ยงร่างกาย

ที่มา https://www.mssociety.org.uk/

 

รูปนี้แสดงโครงสร้างของเซลล์ประสาทและความสำคัญของเยื่อไมอีลินที่ช่อห่อหุ้มแอกซอนทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้าจึงทำให้การนำกระแสประสาทเกิดได้เร็ว

ที่มา https://www.mssociety.org.uk/

รูปนี้แสดงภาวะที่เกิดการทำลายเยื่อไมอีลินเป็นผลให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทและกับอวัยวะของร่างกายเกิดความล่าช้าและแปรปรวน

ที่มา https://www.mssociety.org.uk/

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลักสองส่วน คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย บางกลุ่มเชื่อว่าไวรัสที่เกิดการติดเชื้อตอนวัยเด็กอาจไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่ายกายผิดปกติจนระบบดังกล่าวมาทำลายเยื่อไมอีลินของร่างกายเอง ที่สำคัญคือ หากเราอพยพไปอยู่ในประเทศที่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หลังจากอายุปี 15 แล้ว โอกาสที่เราจะเป็นโรคนี้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ได้รับในประเทศที่เราอาศัยอยู่ก่อนหน้านั้นมากกว่าปัจจัยที่เราจะได้รับจากกลุ่มประเทศที่เราย้ายไป

                อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสมีหลายลักษณะ เช่น มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว เส้นประสาทตาอักเสบ แขนขาเมื่อยล้าไม่มีแรง รู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยล้า ร่างกายไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งที่สมดุล พูดช้าผิดปกติ พฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ สมรรถภาพทางเพศลดลง รวมทั้งสูญเสียความจำระยะสั้น เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามโรคเอ็มเอสนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยแต่ละคนมีภาวะของโรคแตกต่างกัน บางรายอาจแสดงอาการเป็นครั้งคราว ในขณะที่บางรายมีอาการหนักขึ้นตามเวลา แต่ที่สำคัญคือผู้ป่วยทุกคนไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าจะเกิดอาการเมื่อใด ลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้การใช้ชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง ผู้ป่วยบางรายที่มีอายุน้อยอาจถึงขั้นทุพพลภาพ

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอสของแพทย์เฉพาะทางอาจประกอบด้วยหลายเทคนิควิธี

1.       การทดสอบทางประสาทวิทยา (Neurological examination) เช่น สอบถามประวัติอาการในอดีต ตรวจการทำงานของตา การทรงตัว การรับสัมผัส และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex action) เป็นต้น

2.       การใช้เครื่องตรวจสแกนที่เรียกว่า เครื่องเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging; MRI) ซึ่งสามารถเห็นภาพของสมองหรือไขสันหลังตำแหน่งที่เยื่อไมอีลินถูกทำลายและมีการสลายตัวเห็นเป็นรอยแผลเป็นในภาพ

3.       การทดสอบทางสรีรวิทยาไฟฟ้าของสมองที่เรียกว่า “Evoked potentials” คือ การตรวจสอบความเร็วจากสิ่งกระตุ้น เป็นต้นว่า เสียงหรือภาพที่ส่งไปยังสมอง หรือความเร็วของการสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะอื่นๆว่ามีความล่าช้ากว่าปกติหรือไม่อย่างไร

4.       การเจาะไขสันหลังที่เรียกว่า ”Lumbar puncture” เพื่อดูดเอาน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ไปตรวจ เพื่อพิสูจน์ว่าเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีจำนวนมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ามันทำงานมากขึ้นเกิดปฏิริยาเล่นงานโจมตีประสาทส่วนกลาง

 

รูปนี้แสดงปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่เกิดบริเวณแผ่นกั้นระหว่างเลือดกับสมองที่เรียกว่า Blood Braain Barier  และกลไกการทำงานของยา Daclizumab และ Natalizumab ที่ใช้รักษาโรคนี้

ที่มา https://www-ermm.cbcu.cam.ac.uk/05008926h.htm

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ มีเพียงยาบรรเทาอาการในระยะที่มีการอักเสบเท่านั้น เรียกว่า Disease modifying medicines นอกจากนี้ยังมีการแพทย์ทางเลือกที่ช่วยทุเลาอาการเช่น การฝังเข็ม (acupuncture), ไคโรแพรกติก (chiropractic), ยาสมุนไพร (herbal medicine), แนวการรักษาแบบโอมิโอพาธี (homeopathy) และแนวการรักษาแบบออสทีโอพาธี (osteopathy) เป็นต้น

                สารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษา วิทยาการที่เป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรคเอ็มเอสแต่ยังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยคือ การใช้เซลล์ต้นกำเนิดของระบบประสาท (neural stem cell) ที่สามารถเจริญพัฒนาไปเป็น oligodendrocyte precursor cells ซึ่งโอลิโกเดนโดรไซต์นี้อาจช่วยสร้างไมอีลินไปหุ้มแอกซอนเพื่อทดแทนส่วนที่ถูกทำลายในระบบประสาทส่วนกลางได้

รูปนี้แสดงกลไกการนำส่งเซลล์ต้นกำเนิด neural precursor cell จากระบบไหลเวียนโลหิต ผ่าน Blood Brain Barier เข้าไปยังสมองซึ่งจากนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์โอลิโกเดนโดรไซต์เพื่อสร้างเยื่อไมอีลินทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไป

ที่มา https://www.rsna.org/rsna/media/pr2004/pr_stemcells_may_hold_promise2.html

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

1. https://www.freewebs.com/neuroscience/diseases.htm

2. the National Multiple Sclerosis Society, USA

3. the Multiple Sclerosis Society, UK

4. Multiple Sclerosis International Federation

              Link   https://www.eduzones.com

          ดาราสาว โอ๋ ภัคจีรา ออกมาเปิดเผยว่า เธอกำลังทนทุกข์กับ โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี ซึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภทหนึ่งก็ทำให้คนทั่วไปสงสัยกันมากขึ้นว่า โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี นี้คือโรคอะไรกันแน่ แล้วมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง รักษาได้หรือไม่ healthytipstodayมีคำตอบมาบอกกันค่ะ

   โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส

           โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส (myasthenia gravis) หรือเรียกว่า 'โรคเอ็มจี'เป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเล็กๆ บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมีอาการหนังตาตก ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั้วตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงทั่วๆ ไป กลืนลำบาก สำลักอาหาร ถ้าเป็นมากอาจถึงกับหายใจไม่ได้ ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ เป็นโรคเรื้อรัง อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นๆ หายๆ

           ชนิดที่พบบ่อยที่สุดเกิดในผู้ใหญ่ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ถ้าอาการเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี จะพบในเพศชายมากกว่าหญิง โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด Dr.Thomas Willis บรรยายลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคนี้ไว้ตั้งแต่ 300 กว่าปีที่แล้ว ชื่อโรค myasthenia gravis มาจากคำภาษากรีก และลาติน มีความหมายว่า 'grave muscular weakness'

           โรคนี้พบร่วมกับโรคลูปัส (โรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง)ได้บ่อย เช่น เดียวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เดิมทีเดียวโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ถือเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมากตั้งแต่ร้อยละ 30-70 แต่หลังจากการค้นพบยาซึ่งสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ รวมทั้งพบว่าผลการรักษาโดยการผ่าตัดต่อมไธมัสได้ผลดี จึงทำให้อัตราตายของผู้ป่วยโรคนี้ลดลงเรื่อยๆ

สาเหตุโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส

     มีสาเหตุ 4 ประการที่ทำให้เกิดโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ได้ คือ

     1. ร่างกายผู้ป่วยสร้างแอนติบอดี้ต่อโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับสารอะซิติลโคลีน ทั้งนี้พบว่าโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีนในผู้ป่วย โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส น้อยกว่าคนปกติถึงหนึ่งในสาม
     2. เกิดจากสารอะซิติลโคลีนไม่สามารถทำงานได้ สารอะซิติลโคลีนเป็นสารเคมีที่มีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อในผู้ ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย  กราวิส ร่างกายหลั่งสารอะซิติลโคลีนออกมาในปริมาณปกติ แต่สารอะซิติลโคลีนไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากโปรตีนตัวรับถูกทำลายโดยแอนติบอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้น
     3. ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยปกติโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส เกิดขึ้นในภายหลัง โดยเกิดจากความปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ในบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ บางครั้งพบว่าพี่น้องของผู้ป่วยก็เป็นโรคนี้เช่นกัน
     4. ความผิดปกติของต่อมไธมัสเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส โดยพบว่าเกิดจากเนื้องอก ร้อย ละ 10 และเกิดจากต่อมไธมัสโตผิดปกติมากถึงร้อยละ 70 ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีน ผู้ป่วยที่พบเนื้องอกของต่อมไธมัส จะมีอาการที่รุนแรง ตรวจพบแอนติบอดี้ต่อโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีนในปริมาณสูง และตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่รุนแรง พบว่าร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ที่ปรากฏอาการระหว่างอายุ 30-60 ปี จะมีเนื้องอกของต่อมไธมัสร่วมด้วย

อาการโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส

          โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จัดเป็นโรคเรื้อรัง อาการต่าง ๆ มักเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ตลอดเวลา และอาการจะดีขึ้นเองหลังจากหยุดพักใช้งาน  แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อาการโรคนี้รุนแรงขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ เป็นไข้ ร้อนหรือเย็นเกินไป เครียด ออกแรงมากเกินไป มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ และการทานยาบางชนิด

          โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะ มีอาการชนิดค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือน ในบางรายอาจมาด้วยอาการรุนแรงแบบฉับพลัน โดยเฉพาะกรณีที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้มากในช่วง 4 ปีแรก ถ้าได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น โดยที่ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงที่สุดภายในระยะเวลา 3 ปี หลังจากเริ่มมีอาการจากนั้นโรคจะเข้าสู่ระยะคงที่ และอาจค่อยๆดีขึ้นใช้เวลาเป็นปี
          ผู้ป่วยบางรายที่อาการดีขึ้นเองมักจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีแรก ในผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไธมัสร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส บางรายซึ่งอาการไม่มากอาจไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มาก่อนแต่มีปัญหาภายหลังการผ่าตัด โดยไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้เต็มที่หลัง การผ่าตัดและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
          ในบางครั้งผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและอ่อนเพลียหรืออาจมีอาการที่เปลี่ยนแปลง ระหว่างวันโดยที่การตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติมากนักร่วมกับการที่ผู้ป่วย มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่ายคล้ายอาการที่เกิดจากโรคทางจิตใจ และไม่ได้รับการวินิจฉัยในเบื้องต้น เป็นผลทำให้มีอาการมากขึ้นได้ และยาบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการของโรคหรือทำให้โรคเลวลงได้เช่นกัน
          เด็กบางคนมีอาการของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ตั้งแต่ แรกเกิด มารดามักจะสังเกตว่าเด็กมีอาการแขนขาอ่อนแรงและขยับได้น้อย ส่วน เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ร้อยละสิบ จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วไปตั้งแต่แรกคลอด และเป็นอยู่นานสองสัปดาห์ก็จะหายได้เอง

การวินิจฉัยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
          โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการโดยละเอียด การตรวจร่างกายระบบต่างๆการตรวจทางระบบประสาท แพทย์จะพิจารณาทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ได้แก่
   1. การตรวจแอนติบอดี้ต่อตัวรับของอะซิติลโคลีน เรียกว่า acetylcholine receptor antibody เป็น การตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี้ที่ผิดปกติ ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะตรวจพบแอนติบอดี้ดังกล่าวในเลือดจึงเป็นการทดสอบที่ช่วยในการวินิจฉัย อย่างมาก
   2. การตรวจแอนติบอดี้ชนิด anti-MuSK เป็น การตรวจเลือดเช่นกัน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 15 ที่ตรวจไม่พบแอนติบอดี้ต่อตัวรับของอะซิติลโคลีนจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด anti-MuSK มากถึงร้อยละ 40-70
   3. การทดสอบเทนซิลอน Tensilon test โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
   4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG) อาจพิจารณาตรวจเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยบางราย
   5. ทำการตัดชิ้นกล้ามเนื้อมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

การรักษาโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
   1. ยาต้านฤทธิ์ของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ทำให้สารอะซิทิลโคลีนไม่ถูกทำลาย และการที่มีสารนี้อยู่นานขึ้นก็สามารถจับกับตัวรับได้มากขึ้นช่วยให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
   2. ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยให้อาการดีขึ้นหรืออาการหายขาดได้มากถึงร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด
   3. ยากดภูมิคุ้มกัน
   4. ยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
   5. การผ่าตัดต่อมไทมัส
   6. การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา
   7. การรักษาทางกายภาพบำบัดในการป้องกันปัญหาข้อติดและช่วยฝึกการหายใจ

      โดยสรุปแล้ว โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส เป็นโรคที่เกิดการความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเราคงไม่สามารถป้องกันได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากใครเป็นโรคนี้แล้ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าได้รับคำแนะนำ และการรักษาจากแพทย์อย่างถูกวิธี

ที่มา....bangkokhealth.com / physicalagency.com / youtube.com/ ราตรีสโมสร

 

โรคพาร์กินสัน Parkinson

โรคพาร์กินสันเป็นที่รู้จักกันมานานระยะหลังคนดัง ระดับโลกก็เป็นโรคนี้กันหลายคน เช่นประธานาธิบดีเรแกน มูอะมัดอาลี และดารา โรคนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยแพทย์ชาวอังกฤษชื่อJame Parkinson ในปี ค.ศ.. 1817ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือ และการเคลื่อนไหวน้อย ต่อมาปี ค.ศ..1960 ได้มีการค้นพบว่าเซลล์ของสมองไม่สามารถสร้างสารdopamine ได้อย่างเพียงพอ

สมองของคนประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้

  1. forebrain หรือสมองส่วนควบคุมการเดิน
  2. brain stemหรือก้านสมอง ,cerebellum หรือสมองน้อย
  3. caudate nucleus
  4. putamen
  5. amygdaloid body
  6. substantia nigra

การทำงานของสมอง

  • สมองส่วนหน้าหรือforebrain ส่วนนี้จะทำหน้าที่คิด จำ การควบคุมการเดิน อารมณ์ ความรู้สึก ทั้งหมดจะอยู่ที่สมองส่วนหน้า
  • สมองน้อยหรือcerebellum จะทำหน้าที่ประสานงานให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
  • เนื้อสมองส่วน 3,4 เป็นส่วนที่ทำกล้ามเนื้อทำงานประสานกัน เช่นเมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งหดตัว กลุ่มตรงข้ามก็จะคลายตัว

โรคพาร์กินสันจะมีปัญหาการเสื่อมของสมองส่วนนี้ทำให้การสร้างสารdopamine น้อยลงคพาร์กินสันคืออะไร

โรคพาร์กินสันเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วย

  • อาการสั่นTremor โดยมากสั่นที่มือ แขน ขา กราม หน้า
  • อาการเกร็งRigidity จะมีอาการเกร็งของแขนและลำตัว
  • การเคลื่อนไหวช้าหรือที่เรียกว่าBradykinesia ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลง
  • การทรงตัวเสียPostural instability
  • ผู้ป่วยมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติ เช่นการยิ้ม การกระพริบตา การแกว่งแขน
  • พูดลำบาก พูดช้าพูดลำบาก เสียงเบาไม่มีเสียงสูงหรือต่ำ
  • กลืนลำบาก

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเดินลำบาก พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ 

 

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

เซลล์สมอง[ neurone ]ในส่วนที่เรียกว่าsubstantia nigra จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่าdopamine สารนี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า corpus striatum ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้อย่างดี หากเซลล์สมองส่วนนี้ไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้อย่างเพียงพอการทำงาน ของกล้ามเนื้อจะไม่ประสานงานกัน มือจะกระตุก ไม่สามารถทำงานที่ต้องประสานงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด สำสาเหตุที่ทำให้เซลล์เหล่านี้ตายก่อนวัยอันควรยังไม่ทราบ แต่เท่าที่สันนิฐานได้คือ

  • พันธุ์กรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นจะมีความเสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า หกมีสองคนความเสี่ยงเพิ่มเป็น 10 เท่า

     

  • อนุมูลอิสระFree radicle จะทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้

     

  • มีสารพิษหรือToxin ซึ่งอาจจะได้รับจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมเช่น ยาฆ่าแมลง ทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้ carbon monoxide, alcohol, and mercury

     

  • พันธุกรรมโดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ15-20 มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการกลายพันธ์(mutation )ของโครโมโซมคู่ที่ 4 และ6ก็ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

     

  • เซลล์แก่ไวเกินไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

     

นักวิจัยเชื่อการเกิดโรคนี้ต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกันเริ่มแรกของโรคพาร์กินสันเป็นอย่างไร

เนื่องจากโรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบ บางคนอาจจะมีอาการปวดตามตัว เพลีย สั่นหรือลุกยาก ส่วนใหญ่มักจะวินิจฉัยได้จากการสังเกตของคนใกล้ชิดว่ามีอาการผิดปกติเช่น ใบหน้าไม่ยิ้ม มือสั่น เคลื่อนไหวของมือหรือแขนน้อย

อาการของโรคพาร์กินสัน

เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยก็จะเกิดอาการชัดเจนขึ้น อาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันอาการที่สำคัญได้แก่

  • อาการสั่นTremor อาการสั่นของผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะมีการสั่นไปมาไของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นประมาณ 3 ครั้งต่อวินาที คนที่ช่างสังเกตบอกอาการสั่นเหมือนกับคนกำลังปั้นเม็ดยาpill rolling โดยมากอาการสันมักจะเกิดที่มือ แต่ก็มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดที่เท้า หรือกราม อาการสั่นจะเป็นขณะพัก จะเป็นมากเมื่อเกิดอาการเครียด อาการสั่นจะหายไปเมื่อเวลานอนหลับ หรือเมื่อเรากำลังใช้งาน อาการสั่นจะเป็นข้างหนึ่งก่อน เมื่อโรคเป็นมากจึงจะเป็นทั้งตัว

     

  • อาการเกร็งRigidity คนปกติเมื่อเวลาเคลื่อนไหวจะมีกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง และกล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะมีการคลายตัว โรคพาร์กินสันกล้ามเนื้อไม่มีการคลายตัวจึงทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วย ความลำบาก หากเราจับมือผู้ป่วยเคลื่อนไหวจะมีแรงต้านเป็นระยะเหมือนกับมีด สปริงcogwheel rigidity

     

  • อาการเคลื่อนไหวช้าBradykinesia ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวช้าและลำบาก งานประจำที่สามารถทำเองได้แต่ต้องใช้เวลามาก

     

  • สูญเสียการทรงตัวPostural instability ผู้ป่วยจะเดินหน้าถอยหลัง เวลาเดินจะเดินก้าวเล็กซอยถี่ๆ ทำให้หกล้มได้ง่าย

     

อาการอื่นของโรคพาร์กินสัน

  • ซึมเศร้าDepression

     

  • อารมณ์แปรปรวนเนื่องจาก

     

  • เคียวอาหารและกลืนอาหารลำบาก เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนทำงานไม่ประสานงานกัน

     

  • มีปัญหาในการพูด พูดเสียงจะเบาไม่ค่อยมีเสียงสูงหรือต่ำ พูดติดอ่าง บางที่ก็พูดเร็ว

     

  • มีปัญหาเรื่องท้องผูก

     

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

     

  • เนื่องจากผู้ป่วยไม่ค่อยได้ล้างหน้า ผิวหน้าจะมันและมีรังแค

     

  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หลับยาก ฝันร้าย

     

โรคพาร์กินสันชนิดอื่นๆ

  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากยาเช่นยารักษาทางจิตเวช Chlorpromazine,haloperidol,metoclopamide ,reserpine เมื่อหยุดยาอาการจะกลับปกติ

     

  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากสารพิษ เช่น manganese dust, carbon disulfide, carbon monoxide

     

  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากเส้นเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยจะมีความจำเสื่อม ไม่ค่อยมีมือสั่น ใช้ยามักจะไม่ได้ผล

     

  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากสมองอักเสบ

     

    ัยเสี่ยงของการเกิดโรค
  • อายุ หากมีอายุมากก็เสี่ยงที่จะเกิดโรค

     

  • กรรมพันธุ์ หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ 2 คนคุณมีโอกาสเป็นโรคนี้เพิ่ม 10 เท่า

     

  • ผู้ที่ต้องสัมผัสยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืช โดยพบโรคนี้มากในชาวนาชาวไร่ที่ดื่มน้ำจากบ่อ

     

  • ผู้ที่มีระดับestrogen ต่ำ เช่นผู้ที่ตัดรังไข่และมดลูก ผู้ที่วัยทองก่อนกำหนด จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง หากได้รับฮอร์โมนจะช่วยลดการเกิดโรคนี้
  • มีรายงานว่าการขาดกรดโฟลิกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้

     

    วินิจฉัย

ในระยะเริ่มแรกทำได้ยาก การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายเท่านั้น การเจาะเลือดหรือการx-ray ไม่ช่วยในการวินิจฉัยนอกจากนั้นอาการเดินลำบาก อาการสั่นมักจะเกิดในผู้สูงอายุ ที่สำคัญอย่าแจ้งชื่อยาที่รับประทานให้แพทย์ทราบ

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้เป็นการเสื่อมของสมองดังนั้น การรักษาทำได้โดยการรักษาอาการเท่านั้น ยังไม่มียาใดหรือการรักษาอื่นใดที่ทำให้หายขาด ผู้ป่วยแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน ยาที่ใช้รักษาได้แก่

 

 

Levodopa

สารเคมีนี้พบในพืชและสัตว์ ยานี้จะออกฤทธิ์ในเซลล์ประสาททำให้สร้างdopamineเพิ่ม แต่เราไม่สามารถให้dopamine ได้โดยตรงเนื่องจาก dopamine ไม่สามารถซึมเข้าสมองได้ ยาตัวนี้เป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วย เมื่อผสมกับยาcarbidopa จะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้นเนื่องจากลดอัตราการถูกทำลาย ยานี้สามารถลดอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ โดยเฉพาะอาการเคลื่อนไหวช้า Bradykinesia และอาการเกร็งrigidity แต่อาการสั่นลดลงเพียงเล็กน้อย สำหรับเรื่องการทรงตัวและอาการอื่นๆยานี้ไม่สามารถลดอาการได้ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดอาหารโปรตีนเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่

ผลข้างเคียงของยา ยานี้เมื่อใช้อาจจะต้องเพิ่มยาเพื่อควบคุมอาการ แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาได้เช่น คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คือมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก สั่นๆทางการแพทย์เรียกDyskinesia  สับสน หลังจากที่ใช้ยาระยะยาวและมีขนาดสูงจะเกิดอาการที่เรียกว่า on-off phenomenon คือก่อนกินยาจะมีอาการเกร็งมาก เมื่อรับประทานยาอาการจะดีขึ้น ระยะเวลาที่ดีขึ้นจะสั้นลง สั้นลง การแก้ไขภาวะนี้ให้รับประทานยาถี่ขึ้นแต่มีขนาดยาน้อยลง

ยาอื่นๆที่นำมาใช้ได้ได้แก่

  • Bromocriptine, pergolide, pramipexole and ropinirole ยาตัวนี้จะออกฤทธิ์เหมือนdopamine ในสมอง อาจจะใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับlevodopa หากใช้ในระยะเริ่มต้นของโรค ยานี้ลดอาการเกร็งหรือเคลื่อนไหวช้าได้น้อย ผลข้างเคียงของยาได้แก่ วิตกกังวล paranoid จิตหลอนhallucination สับสนconfusion ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้Dyskinesia ผันร้าย คลื่นไส้อาเจียน
  • Selegiline ยาตัวนี้เมื่อให้ร่วมกับlevodopa จะช่วยลดผลข้างเคียงของยาได้ยานี้จะลดการทำลายของ levodopa ในสมอง
  • Anticholinergics เช่นartane ,congentin ยานี้จะลดอาการสั่นและเกร็งได้ดี ยานี้จะใช้ได้ผลดีหากเป็นโรคพาร์กินสันที่เกิดจากยา ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ ปากแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะไม่ออก ความจำเสื่อม

     

  • Amantadime ยานี้จะเร่งให้เซลล์ประสาทหลั่งdopamine ออกมาเพิ่มขึ้น ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นโรค

โดยการผ่าตัด

นิยมน้อย จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจะทำลายสมองที่เรียกว่าthalamus เรียกthallamotomy การผ่าตัดนี้จะลดอาการสั่นเท่านั้น ผลเสียของการผ่าตัดจะทำให้พูดช้า และอาจจะทำให้การทำงานของร่างกายไม่ประสานงาน ดังนั้นจึงไม่นิยมในการรักษา

ส่วนการผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า Pallidotomy โดยการใช้ไฟฟ้าเข้าไปทำลายสมองส่วนที่เรียกว่าglobus pallidus ซึ่งจะลดอาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า

การรักษาอีกวิธีหนึ่งเรียกDeep brain stimulation โดยการใส่ลวดเล็กๆเข้าไปยังสมองส่วนsubthallamic nucleus แล้วปล่อยไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้น

การรักษาโดยใช้อาหาร

เท่าที่ทราบยังไม่มีอาหารหรือวิตามินที่จะช่วยในการรักษาคนไข้แต่มีหลักการดังนี้

  • รับประทานอาหารสุขภาพ ให้ครบทุกกลุ่มโดยแบ่งเป็นสามมื้อ
  • ชั่งน้ำหนักอาทิตย์ละครั้งเพื่อตรวจสอบว่าไม่ขาดสารอาหาร
  • ให้รับประทานผักหรืออาหารที่มีใยมากๆ และให้ดื่มน้ำมากๆ 6-8 แก้วเพื่อป้องกันท้องผูก

     

  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆหรืออาหารที่มีcholesterolสูง
  • รับประทาน Levodopa ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
  • อย่ารับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

การรักษาโดยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อารมณ์ดีขึ้น การเดินดีขึ้

โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยไก้แก่

  • ซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนทั่วไป
  • Dementia คือสมองเสื่อม ประมาณหนึ่งในสามจะมีความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยน การตัดสินใจเสียไป
  • ภาวะแทรกซ้อนจากยา เช่นDyskinesia ความดันต่ำ
  • มีปัญหาเกี่ยงกับการกลืน การเคี้ยว อาการนี้จะเกิดในระยะของโรค
  • ท้องผูกเนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวน้อย
  • ปัสสาวะคั่งอันเป็นผลข้างเคียงของยา
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนเนื่องจากซึมเศร้า
  • ความต้องการทางเพศลดลง

การประเมินความรุนแรงของโรค

การประเมินความรุนแรงของโรคพาร์กินสันเพื่อจะได้เป็นเครื่องติดตามการดำเนิน ของโรค และการปรับยา การประเมินมีด้วยกันหลายวิธี เช่นประเมินแบบ Activity of diary living ซึ่งจะประเมินหัวข้อ 14 อย่าง

โดยในแต่ละข้อให้คะแนน 0-4,

  • 0 หมายถึงปกติช่วยตัวองได้เหมือคนปกติ

     

  • 1 หมายถึงทำได้แต่ช้า ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น

     

  • 2 ทำได้แต่ช้าและไม่สมบูรณ์ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น

     

  • 3 ทำไม่ค่อยได้ ต้องการความช่วยเหลือ

     

  • 4 ทำไม่ได้เลย

     

คะแนนมีตั้งแต่ 0-56 ยิ่งคะแนนมากหมายถึงโรคเป็นมาก ต้องการความช่วยเหลือมาก

การดูแลตัวเอง

การรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก และยังมีใยอาหารมากป้องกันอาการท้องผูก บางคนไปซื้อสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ท่านต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วเพราะหากดื่มน้ำน้อยอาจจะทำให้อาการท้องผูกแย่ลง

ต้องหลีกเลียง ชา กาแฟ อาหารมันๆโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวเช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ ไอศกรีม

การเคี้ยวและการกลืน

เนื่องจากผู้ป่วยในระยะท้ายจะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีการที่จะลดปัญหาได้แก่

  • ตักอาหารพอคำแล้วเคี้ยวให้ละเอียด
  • กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป
  • ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น
  • ควรเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยอย่างมากเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน การว่ายน้ำ การทำสวน การเต้นรำ การยกน้ำหนัก แต่ก่อนกำลังกายทุกครั้งต้องมีการยืดเส้นก่อนทุกครั้ง อย่าลืมการออกกำลังใบหน้า กราม และฝึกพูดบ่อยๆ และอาจจะต้องฝึกหายใจโดยการหายใจเข้าออกแรงๆหลายๆครั้ง

การเดิน

เนื่องผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเดิน ผู้ป่วยต้องเรียนรู้การเดิน

  • เมื่อรู้สึกว่าเดินเท้าลาก ให้เดินช้าลงแล้วสำรวจท่ายืนของตัวเอง ท่ายืนที่ถูกต้องต้องยืนตัวตรง ศีรษะไหล่และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เท้าห่างกัน 8-10 นิ้ว

     

  • ให้ใส่รองเท้าสำหรับการเดิน

     

  • การเดินที่ถูกต้องให้ก้าวยาวๆ ยกเท้าสูง และแกว่งแขน

     

การป้องกันการหกล้ม

เนื่องจากในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยมักจะเสียการทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย การป้องกันทำได้โดย

  • ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านว่าสามารถไปรำมวยไทเก็กได้หรือไม่ เพราะการรำมวยไทเก็กจะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อ การทรงตัว

     

  • เลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเป็นยางเพราะไม่ลื่น

     

  • ทางเดินในบ้านไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งของ หรือเปื้อนน้ำ

     

  • ติดราวไว้ในห้องน้ำ ทางเดิน บันได

     

  • เก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ให้พ้นทางเดิน

     

  • โทรศัพท์ให้ใช้แบบไร้สายและวางไว้บนหัวเตียง

     

การแก้ไขเรื่องตะคริว

กล้ามเนื้อของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะมีอาการเกร็งอยู่ตลอดเวลา บางครั้งอาจจะเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อของเท้า ท้อง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด การดูแลจะช่วยลดอาการเหล่านี้

  • หากเป็นตะคริวที่เท้าให้ใช้วิธีนวด

     

  • หากมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อให้ใช้น้ำอุ่น หรือขวดบรรจุน้ำอุ่นประคบ

     

  • กำลูกบอลเพื่อป้องกันมือสั่น

     

การเลือกเสื้อผ้า

เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำงายที่มีความละเอียดต้องใช้การประสานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด การเลือกเสื้อผ้าต้องสะดวกในการใส่

  • ให้ใจเย็นเพราะผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการใส่เสื้อผ้า

     

  • วางเรียงเสื้อผ้าให้ใกล้มือ

     

  • เลือกเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย เช่นชุดที่สวมคลุม ไม่ควรจะมีกระดุม
  • เลือกซื้อรองเท้าหรือเสื้อที่ไม่มีกระดุม ควรเป็นแบบยางยืด

     

  • เวลาจะสวมเสื้อผ้า หรือรองเท้าให้นั่งบนเก้าอี้ทุกครั้ง

     

การนอนหลับ

ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับประมาณร้อยละ70ของผู้ป่วย ปัญหาเรื่องการนอนจะส่งผลเสียทั้งทางด้านอารมณ์ คุณภาพชิตทั้งของผู้ป่วยและคนที่ดูแลปัญหาเรื่องการนอนหลับพบได้หลายรูปแบบดังนี้

  • ผู้เข้าหลับง่ายแต่จะมีปัญหาเรื่องตื่นตอนเช้ามืด จะรู้สึกนอนไม่หลับ ขยับตัวยาก บางรายอาจจะเกิดอาการสั่น หรือบางรายหลังจากลุกขึ้นมาปัสสาวะแล้วจะเกิดอาการนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากขนาดของยาไม่สามารถคุมอาการในตอนกลางคืน แพทย์ต้องปรับยาเพื่อให้ยาคุมอาการตอนกลางคืน

     

  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะหลับในตอนกลางวันมาก บางคนอาจจะหลับขณะรับประทานอาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือาจจะเกิดฝันร้าย สาเหตุมักจะเกิดจากยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันมีขนาดมากไป แพทย์ต้องปรับขนาดของยาหรืออาจจะต้องเปลี่ยนชนิดของยา

     

  • ชนิดที่สามอากรนอนผิดปกติจากตัวโรคเอง ปกติเมื่อคนธรรมดาฝันมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว แต่ผู้ป่วยพาร์กินสันกล้ามเนื้อมีการเกร็งออยู่ตลอดเวลา เมื่อเวลาฝันอาจจะมีอาการแตะหรือถีบ ซึ่งอาจจะทำให้คนดูแลตกใจหรือได้รับบาดเจ็บกรณีที่นอนเตียงเดียวกัน ที่สำคัญต้องระวังมิให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ

     

  • ประสาทหลอน อาจจะหลอนเห็นผี เห็นสัตว์ทั้งใหญ่และเล็กเป็นต้น สาเหตุเกิดจากยาที่ใช้รักษาพาร์กินสัน การรักษาให้ปรับขนาดของยา

     

การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

ห้องน้ำ

เนื่องจากห้องน้ำจะเล็กไม่สะดวกต่อการเคลื่อนไหว และลื่นการปรับสภาพแวดล้อมในห้องน้ำจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และยังป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น

  • พื้นห้องน้ำหรือพื้นอ่างน้ำควรใช้วัสดุที่ไม่ลื่น หรืออาจจะจะใช้พื้นยางรอง

     

  • ติดตั้งราวไว้ในห้องน้ำเพื่อสำหรับผู้ป่วยประคองตัว

     

  • ติดตั้งก๊อกน้ำสำหรับนั่งอาบ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ

     

  • ติดตั้งราวยึดเหนี่ยวไว้ข้างโถส้วม สำหรับพยุงตัวเวลานั่งหรือยืน

     

  • พื้นห้องน้ำควรจะแห้งอยู่ตลอดเวลา และไม่ควรลงwax

     

  • ให้ใช้สบู่เหลว ให้ผูกเชือกกับขวดใส่สบู่เข้ากับราว เพื่อไม่ให้สบู่หล่นใส่พื้น

     

ห้องนอน

การจัดเตียงนอนให้สะอาดไม่รกรุงรังจะทำให้ป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้ม ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  • จัดเตียงให้มีความสูงระดับเข่า หากเตียงสูงไปให้ช่างไม้ตัดขาเตียง หากเตี้ยเกินไปก็เสริมด้วยผ้า

     

  • ให้หาไม้เสริมขาเตียงส่วนศีรษะเพื่อผู้ป่วยจะได้ลุกได้สะดวก

     

  • ติดราวไว้ข้างกำแพงเหนือเตียง 10 นิ้วเพื่อสำหรับประคองตัว

     

การจัดห้องนั่งเล่น

  • ทางเดินต้องโล่ง และระหว่าทางเดินควรจะมีเครื่องสำหรับยึดเหนี่ยวเพื่อกันล้ม

     

  • เก้าอี้ควรจะมีพนักพิงหลังและ มีที่วางแขน อาจจะเสริมเบาะเพื่อให้ความสูงพอดี

     

  • ติดราวบันไดไว้สำหรับยึดเหนี่ยว

     

การจัดห้องครัว

  • พื้นควรจะแห้งและไม่ลื่น

     

  • ซื้อไม้สำหรับทำความสะอาดที่มีด้ามยาว

     

  • เก็บของที่ใช้บ่อยๆไว้ในที่หยิบฉวยได้ง่าย

     

  • ให้ใช้โทรศัพท์ไร้สาย สำหรับติดต่อสื่อสาร


              Link    https://www.siamhealth.net

  •  

อัพเดทล่าสุด