โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
โรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal Reflux Disease: GERD เป็น ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้ โรคนี้มีความสำคัญคือ ผู้ป่วยจะมีอาการแสบยอดอกและ/หรือร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว(รู้สึกเหมือนมี กรดซึ่งมีความรู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก) ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเกิดแผลที่รุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหารตียหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการทางด้านของ โรคหู คอ จมูก อาทิ ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือมีกลิ่นปาก เป็นต้น สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน อาการ สำคัญ คือ อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก หรือการนอนหงาย อาการสำคัญอีกประการก็คือ อาการเรอเปรี้ยวคือ มีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยคนไข้อาจมีทั้ง 2 อาการ หรืออาการใดอาการหนึ่งก็ได้ ในคนไทยที่เป็นโรคนี้บางครั้งอาจพบอาการนี้ไม่ชัดเจน อย่างคนไข้ในแถบตะวันตกหรือในอเมริกา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ อาทิ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียนหรือกลืนลำบาก ในรายที่เป็นมากบางรายอาจมาด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการของหลอดอาหาร อาทิ เจ็บหน้าอก จุดที่คอเรื้อรัง หอบหืด หรือมีกลิ่นปากโดยหาสาเหตุไม่ได้ จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร โดย ปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้จากอาการดังที่กล่าวมา โดยผู้ป่วยที่มีอาการทั้งแสบยอดอกและ/หรือ เรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำหรือถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัยได้เลยว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้การรักษาเบื้อง ต้นได้เลย โดยจะติดตามดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจค้นพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นยำและดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นต้น จะปฏิบัติตัวอย่างไรถ้าเป็นโรคนี้ โดย ทั่วไปเป้าหมายของการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้นให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น รักษาอาการอักเสบของแผลในหลอดอาหารและป้องกันผลแทรกซ้อน การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิต การให้ยา การส่งกล้องรักษาและการผ่าตัด โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
เมื่อปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร ถ้า การปฏิบัติเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วย โดย ยาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือยาลดกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPI) ซึ่งได้ผลดีกว่า ยาในกลุ่ม H2 blocker receptor antagonist และดีกว่ากลุ่มยาที่กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยที่แพทย์จะให้รับประทานยาในกลุ่มนี้เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ ในบางรายที่เป็นมาก อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งอาจจะมีการปรับการรับประทานยาเป็นแบบช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือไม่กี่วันตาม อาการที่มี หรือกินติดต่อกันตลอดเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดีการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในรายที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา สำหรับ ยาในกลุ่มที่มีผลต่อการคลายตัวของหูรูดนั้นยังมีอยู่จำนวนไม่มากและยังมีผล ข้างเคียงอยู่พอสมควรการรักษาด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด ขอขอบคุณ รศ.นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์ อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลธนบุรี ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา | |||||
เช่น ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร และปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษ ส่วนอาการปวดท้องบางกรณีจะยากในการวินิจฉัยเบื้องต้น หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน ได้แก่ อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกระทันหัน และรุนแรง อาการปวดท้องที่คงอยู่นานกว่า 4 ชั่วโมง โดยไม่ทุเลาเลย อาการปวดท้องที่มีอาการอาเจียนหลายครั้ง และอาการปวดท้องที่รักษาด้วยตนเองแล้วไม่ทุเลา
รายละเอียดอาการปวดท้องที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
- ตำแหน่ง หรือบริเวณที่เริ่มปวด เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดเปลี่ยนหรือ ย้ายที่หรือไม่
- ปวดท้องมานานเท่าไร ภายในไม่กี่ชั่วโมง 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน
- ลักษณะของอาการปวดเป็นแบบใด ปวดเป็นพักๆ เดี๋ยวปวดมากเดี๋ยวเบาลง หรือปวดตลอดเวลา ไม่มีหยุดพักเลย และปวดแบบแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแทง ปวดตื้อๆ หรือปวดถ่วงๆ เป็นต้น
- อาการปวดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทันทีทันใด หรือค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ได้จึงมาพบแพทย์
- มีอาการปวดร้าวไปที่อื่นหรือไม่ เช่น ปวดร้าวไปที่หัวไหล่ขวาหรือซ้าย ร้าวไปหลัง ไปเอว ไปขาหนีบ หรือร้าวไปที่ลูกอัณฑะ
- มีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม
- สาเหตุที่ทำให้ปวดมากขึ้น เช่น อาหาร การถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ การหายใจแรงๆ ไอหรือจาม การเคลื่อนไหว ท่านั่งหรือท่านอน
- สาเหตุที่ทำให้ปวดน้อยลง เช่น อาเจียนแล้วดีขึ้น การอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวท่านั่งหรือท่านอน การงอตัว อาหาร หรือยาบางชนิดเช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- ประวัติการเจ็บป่วย และโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ โรคแผล ในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี เคยได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ท้อง
- ประวัติส่วนตัว ประวัติประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย งานประจำ และงานอดิเรกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย
อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร
- มักเกิดขึ้นขณะที่กำลังรับ ประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารอิ่มแล้วไม่นานนัก โดยทั่วไปมักเกิดเมื่อรับประทานอาหารมากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารห่างจากมื้อก่อนนานกว่าปกติ เรียกว่าหิวอยู่นาน
- ตำแหน่งที่ปวดอยู่บริเวณสูงกว่าสะดือ
- บางคนจำได้ว่า เคยมีอาการเช่นเดียวกันนี้เป็นครั้งคราว ภายใต้สภานการณ์เดียวกัน และหายได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง วันต่อมาก็สบายดี รับประทานอาหารได้ตามปกติ
- บางคนอาการไม่รุนแรงพอที่จะเรียกว่าปวดท้อง ก็เรียกว่า ท้องอืด หรือท้องเฟ้อ อาการ เหล่านี้หากเกิดเป็นครั้งคราว ถือว่าเป็นความผิดปกติชั่วคราว เกิดจากกระเพาะอาหารบีบตัวรุนแรงกว่าธรรมดา ต่างจากโรคกระเพาะอาหารจริงๆ ซึ่งคนไข้จะปวดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานหลายวัน เป็นสัปดาห์ หรือนานกว่านั้นหากไม่ได้รับการรักษา
- กรณีหลังนี้น่าจะสงสัยในเบื้อง ต้นว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป เช่น พิจารณาส่องกล้องตรวจเยื่อบุกระเพาะ และทางเดินอาหารส่วนต้น หรือพิจารณาส่งตรวจด้วยการกลืนแป้งแล้วฉายภาพรังสีเพื่อดูว่ามีความผิดปกติ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
- การรักษาเบื้องต้นในกรณีปวด ท้องจากโรคกระเพาะอาหาร หากเป็นขณะกำลังรับประทานอาหาร ต้องหยุดรับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ให้ลุกจากโต๊ะอาหารไปเดินเล่น อาการจะค่อยๆ หายไป หากเกิดภายหลังอิ่มอาหาร และดื่มน้ำแล้ว การลุกไปเดินก็จะทำให้ทุเลาลงได้เช่นกัน ยาที่จะช่วยให้อาการทุเลาเร็วขึ้น ได้แก่ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์เร็วเช่น โซดามินต์ เพื่อให้หายเร็วควรรับประทานครั้งแรก 4 เม็ด หากไม่หายภายใน 5 นาทีให้รับประทานอีก 2 เม็ด ถ้าหาย ต่อไปอาจป้องกันการเกิดอาการนี้ได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงสาเหตุ ถ้าทำไม่ได้ ขณะหิวมากก่อนรับประทานอาหาร ควรรับประทานยาลดกรด เช่น โซดามินต์ 2 เม็ดเสียก่อนที่จะเกิดอาการ หรือถ้าต้องการใช้ยาที่ออกฤทธิ์นานอาจใช้รานิติดีน ranitidine ในกรณีที่อาการไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไปเพราะสาเหตุอาจจะเป็นจากโรคแผล ในกระเพาะอาหารชนิดรุนแรง หรืออาจเป็นโรคนิ่วถุงน้ำดีหรือโรคหัวใจก็ได้
- เชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" (Helicobacter pyroli) เข้า สู่กระเพาะได้โดยการกลืนเข้าไป หรือขย้อนเชื้อจากลำไส้มาอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยปกติในกระเพาะอาหาร จะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะใช้หนวดของมันว่ายเข้าไปฝังตัวในเยื่อเมือกบุผนังกระเพาะ และปล่อยน้ำย่อย เอ็นซัยม์ และสารพิษมาทำลาย และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกนี้ร่วมกับกรดที่หลั่งออกมาจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะ จะช่วยกันทำลายผนังกระเพาะให้มีการอักเสบ และเกิดเป็นแผลได้ในที่สุด
โรคอาหารเป็นพิษ
- โรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ทำให้มีอาการปวดท้องร่วมกับอาการอาเจียน และอาการท้องเดิน สาเหตุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือสารพิษจากแบคทีเรีย อาการปวดท้องมักจะอยู่บริเวณกลางท้องรอบๆ สะดือ หรือสูงกว่าเล็กน้อย ถ้าอาการปวดท้องเกิดขึ้นร่วมกับอาการอาเจียน การอาเจียนจะมีผลทำให้อาการปวดท้องทุเลาอย่างชัดเจน ถ้าอาการปวดท้องเกิดร่วมกับอาการท้องเดิน การถ่ายอุจจาระจะทำให้อาการปวดท้องทุเลาเช่นกัน
- การรักษา อาการ ปวดท้องในกรณีนี้ ถ้ายังมีอาการอาเจียนอยู่ อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางที่ท้อง ถ้าไม่อาเจียน หรือหายอาเจียนแล้ว ให้รับประทานยาบุสโคพาน buscopan ร่วมกับพอนสแตน ponstan แม้ว่าอาการปวดท้องจะทุเลาแล้ว ควรป้องกัน การเกิดอาการปวดท้อง โดยรับประทานเฉพาะบุสโคพานทุก 4 ชั่วโมง ประมาณ 3 ครั้ง ถ้ารับประทานอาหารได้ ควรรับประทานยาประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนอาหาร ปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษต้องหายภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- ฤดูร้อนเป็น ฤดูที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ในบางพื้นที่ของประเทศที่ประสบกับภาวะภัยแล้ง ในช่วงฤดูร้อนนี้อาจจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ เป็น ต้น จึงควรระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในการใส่อาหาร ตลอดจนให้มีการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และควรทราบในเบื้องต้นถึงอาการสำคัญและวิธีการป้องกันโรคติดต่อที่มักจะเกิด ในฤดูร้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อย
- โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซัลโมเนลล่า แคมไพโรแบคเตอร์ เชื้อรา เห็ดบางชนิด หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวม ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอ ก่อนรับประทานก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้
ปวดท้องจากไส้ติ่งอักเสบ
- ไส้ติ่งอยู่บริเวณท้องด้านขวา ล่าง เมื่อเกิดการอักเสบ มีอาการปวดท้องเป็นสำคัญ ในระยะเริ่มแรกอาการปวดไม่รุนแรงนัก และรู้สึกปวดที่บริเวณกลางท้อง เมื่อการอักเสบรุนแรงขึ้น อาการปวดจะชัดเจนมากขึ้น และย้ายมาปวดที่บริเวณท้องด้านขวาล่าง การไอ จาม ขยับตัว หรือการกดบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บ หลังจากนั้นจะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้
- อาการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในวันเดียว ควรจะไปตรวจที่โรงพยาบาล เพราะหากใช่ไส้ติ่งอักเสบจะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
- ไส้ติ่งมีส่วนช่วยดักจับเชื้อ โรคที่ผ่านเข้ามาในบริเวณลำไส้ ทำหน้าที่คล้ายกับต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์ ที่มีต่อมน้ำเหลืองไว้คอยดักจับเชื้อโรค
ขนาดของ ไส้ติ่งยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร ตำแหน่งไส้ติ่งอยู่ตรงลำไส้ใหญ่ส่วนต้นบริเวณท้องน้อยข้างขวา มีลักษณะคล้ายหาง ปลายปิด ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อกับปลายลำไส้ใหญ่ - ไส้ติ่งอยู่บริเวณท้องน้อยข้าง ขวา หากมีอาการปวดหรือกดเจ็บบริเวณท้องน้อยข้างขวา จึงควรนึกถึงไส้ติ่งอักเสบไว้ก่อน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์
ปวดท้องจากนิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ
- คนจำนวนไม่น้อยมีนิ่วในถุงน้ำดี (gall stone) โดย ไม่เกิดอาการใดๆ ส่วนมากประมาณร้อยละ 85 จะไม่มีอาการใดๆเลยจากนิ่วเหล่านี้ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อนิ่วเคลื่อนตัวไปอุดท่อน้ำดี ทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือแน่นท้องอย่างรุนแรง บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคงอยู่นานไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง จนถึง 2-3 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ทุเลาเมื่อนิ่วที่อุดอยู่หลุดไป ในที่สุดก็หายเป็นปกติ แต่ก็จะเกิดอาการทำนองเดียวกันอีกภายหลังอีกหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนต่อมา ไม่มีการปวดแบบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันหลายวัน
- ในกรณีที่นิ่วที่อุดอยู่ไม่หลุดไป ถุง น้ำดีจะเกิดการอักเสบ อาการปวดท้องไม่หายไป และจะย้ายตำแหน่งไปปวดที่บริเวณท้องด้านขวาบน กดเจ็บในบริเวณนั้น และมีไข้ รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางกรณีมีดีซ่านด้วย
- นิ่วในถุงน้ำดี (gallstone) พบในเพศ
Link https://www.108health.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
-โรคกระเพาะ -โรคมะเร็งทางเดินอาหาร -ความผิดปกติของถุงน้ำดี -ตับอ่อนอักเสบ -กรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารโรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี
เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร อาการของโรคกระเพาะ วิธีการรักษา อาหารสำหรับโรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร Link https://www.siamhealth.net
โรคมะเร็งทางเดินอาหารGastrointestinal Stromal Tumors (GIST)โรคมะเร็งทางเดินอาหาร เกิดจากมีเชื้อมะเร็งเจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณทางเดินอาหาร ใกล้ๆ กับช่องท้อง เหตุปัจจัยที่ส่งเสริมคือ การบริโภคอาหาร เครื่องดื่มที่มากเกินควร และมีรูปร่างอ้วนเกินไป คน ที่รับประทานอาหารที่มาก และเร็วจะมีอาการเรอ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคได้ง่าย เมื่อรับประทานอาหารเร็วก็จะมีอากาศเข้าไปพร้อมๆ กับอาหารที่มากเกินควร ก็ทำให้น้ำย่อยต้องหลั่งออกมาในปริมาณที่มากขึ้นด้วย ในขณะที่เรอ น้ำย่อยก็จะไหลย้อนกลับมาทางเดินอาหาร อีก ประการที่สำคัญ คือรูปร่างที่อ้วนไขมันที่สะสมอยู่บริเวณรอบๆ ช่องท้อง เป้นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยดันน้ำย่อยจากช่องท้องไหลย้อนกลับขึ้นไปทางเดิน อาหาร โดยเฉพาะการที่ต้องนั่งยองๆ หรือเวลาที่ต้องรัดเข็มขัดแน่นๆ ก็ล้วนเป็นตัวช่วยผลักเอาไขมัน และน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปทางเดินอาหาร และการที่เผลอหลับไปทันทีหลังจากบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งจะทำให้น้ำย่อยหลั่งย้อนกลับขึ้นมาที่ทางเดินอาหาร และในขณะที่นอนอยู่ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ประสบกับโรคร้ายที่น่ากลัว Backward flowed Gullet Flame เนื่องจากการที่มีน้ำย่อยไหลย้อนกลับไปที่ทางเดินอาหาร ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ เป็นเหตุให้รู้สึกว่าหน้าอกร้อนผ่าว
|
Link https://www.thaitravelhealth.com
ความผิดปกติของถุงน้ำดี
ความผิดปกติของถุงน้ำดี ถุง น้ำดี (gall bladder) ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยอยู่ใต้ตับบริเวณชายโครงด้านขวา ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ถุงน้ำดีจะเป็นที่เก็บน้ำดีซึ่งสร้างจากตับ และจะมีท่อน้ำดีไปเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยน้ำดีมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทไขมัน
ความผิดปกติของถุงน้ำดีที่พบบ่อย คือ นิ่วในถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ
นิ่วในถุงน้ำดี
-
มักพบผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน และอยู่ในวัยกลางคนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจไม่มีอาการใดๆ เลย หรือบางรายอาจมีอาการแน่นอึดอัด เหมือนอาหารไม่ย่อยภายหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารที่มีไขมันสูง จะยิ่งมีอาการมากขึ้น
-
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย มักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง อาหารไม่ย่อย แน่น อึดอัด จุก เสียด อาจ มีอาการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน หรือเป็นสาเหตุในตับอ่อนอักเสบ ซึ่งถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว พบว่าการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะได้ผลดีที่สุด และผู้ป่วยมักจะหายขาดจากอาการดังกล่าว
-
ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการผ่าตัดถุงน้ำดี จากการผ่าตัดทางหน้าท้องทั่วๆ ไปมาเป็นการเจาะผนังหน้าท้อง โดยใช้กล้องวิดิทัศน์ และเครื่องมือสอดผ่านเข้าไปตัดเอาถุงน้ำดีออก ผลดีจากการใช้เทคนิคใหม่นี้คือ สามารถลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดหน้าท้องทั่วไป ได้อย่างมาก ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหว และรับประทานอาหารได้ในวันแรกหลังผ่าตัด ลดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล หลังผ่าตัดเหลือเพียงประมาณ 2 - 3 วัน เทียบกับ 6 - 7 วัน จากการผ่าตัดหน้าท้อง สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณร้อยละ 30 ผู้ป่วยสามารถกลับไปประกอบอาชีพได้เร็วกว่ามาก
-
ข้อจำกัดในการใช้เทคนิคใหม่ พบว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนมาผ่าตัดทางหน้าท้องแทน หลังจากได้พยายามทำโดยการเจาะแล้วประมาณร้อยละ 3-5 ซึ่งมักจะเป็นเหตุผลทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ผู้ให้การรักษา เป็นข้อสำคัญที่สุดในการที่จะบอกได้ว่าผลทางการรักษาจะดีหรือไม่ เป็นที่ยอมรับกันว่า ศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญในการทำน้อยกว่า 25 ราย อาจจะเกิดปัญหาแทรกซ้อนได้ถึงร้อยละ 67 เทียบกับผู้ที่ทำ 50 รายขึ้นไป จะเกิดปัญหาแทรกซ้อนได้เพียงร้อยละ 14-19 ปัจจุบันการรักษานิ่วในถุงน้ำดีโดยใช้กล้องวิดิทัศน์ นับเป็นการรักษาแบบมาตรฐาน ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องกังวลกับผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากแผลผ่าตัดใหญ่ ๆ อีกต่อไป
ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) |
---|
|
ชนิดของตับอ่อนอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute pancreatitis) เกิดจากตับอ่อนถูกทำลายด้วยน้ำย่อยของตับอ่อนเอง สาเหตุการเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย
สาเหตุที่พบน้อยและสาเหตุอื่นๆ
อาการ
การรักษาพยาบาล
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis) สาเหตุ Link https://www.yourhealthyguide.com อาการ
การรักษาพยาบาล
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|