โรคเกี่ยวกับฟัน โรคเกี่ยวกับลิ้น โรคเกี่ยวกับเหงือก
โรคเกี่ยวกับฟัน
โรคฟันผุ
โรค ฟันผุ เป็นโรคท๊อปฮิตของคนไข้ที่มาพบทันตแพทย์ โรคฟันผุเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรค คือแบคทีเรียชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งติดต่อได้ทางน้ำลาย โดยโรคฟันผุนี้เกิดจากการที่แบคทีเรียที่ย่อยสลายอาหารประเภทน้ำตาลทำให้ เกิดกรดแลคติก ที่มีฤทธิ์ในการการสลายแร่ธาตุเคลือบฟันและเนื้อฟันส่วนที่โผล่ขึ้นมาในช่อง ปากได้แก่แร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ให้ออกจากตัวฟันจึงทำให้เคลือบฟัน ตัวฟัน และรากฟันที่โผล่พ้นออกมาจากเหงือกถูกทำลายจนเกิดเป็นโพรง หรือเป็นรูตามฟันได้โดยง่าย ในสภาวะปกติภายในช่องปากมีกระบวนการเปลี่ยนแร่ธาตุแคลเซียมและ ฟอสฟอรัสในระหว่างชั้นผิวเคลือบฟัน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำลายตลอดเวลาอย่างสมดุล ทำให้ไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน แต่ในภาวะที่จุลินทรีย์มีการย่อยสลายอาหารแป้งและน้ำตาล จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของน้ำลายเป็นกรด ทำให้สูญเสียแร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสออกจากตัวฟันมากกว่าการได้รับกลับคืน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบ่อยจะทำให้เกิดฟันผุ
ปัยจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ได้แก่
1. ตัวเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดฟันผุ คือ Streptococcus mutans
2. พื้นผิวของตัวฟัน ถ้าฟันมีความขรุขระมาก ก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย
3. อาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่เป็นน้ำตาลและ ค่อนข้างเหนียวจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้มาก
4. ระยะเวลาที่แบคทีเรียสามารถเกาะอยู่บนผิวฟัน โดยปกติน้ำลายจะคอย ชะล้างสิ่งสกปรกในช่องปาก ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันฟันผุทางหนึ่ง แต่เนื่องจากในเวลากลางคืนน้ำลายจะหลั่งออกมาได้น้อยจึงทำให้สามารถชะล้าง แบคทีเรียออกไปได้น้อย ดังนั้นการรับประทานอาหารในช่วงเวลากลางคืนโดยไม่แปรงฟันก่อนนอน จะทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้มากกว่าการรับประทานอาหารในช่วงเวลากลางวันโดย ไม่แปรงฟัน
ฟันแต่ละซี่มีโอกาสผุไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
+ ฟันที่มีรูปร่างเป็นหลุมและมีร่องลึก ฟันที่อยู่ลึก หรือฟันเก จะมีโอกาสผุได้ง่ายกว่าฟันที่รูปร่างปกติ เนื่องจากทำความสะอาดยาก
+ ด้านของฟันที่สัมผัสฟันข้างเคียง เช่น ด้านประชิดก็จะเป็นบริเวณที่ฟันมีการผุได้ง่าย
+ ฟันที่มีสารฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ จะมีความแข็งแกร่งและต้านทานต่อการเป็นโรคฟันผุได้มากกว่าฟันทั่วไป
อาการของโรคฟันผุ
ระยะเริ่มแรก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ชั้นเคลือบฟัน โดยกรดจะเริ่มทำลายชั้นเคลือบฟันเปลี่ยนจากสีขาวใสมันวาว เป็นสีขุ่นขาวบริเวณที่เป็นผิวเรียบของฟัน หรือหลุมร่องฟัน จุดสีน้ำตาล หรือสีเทาดำ ระยะนี้ยังไม่มีอาการใดๆ จึงมักถูกละเลยปล่อยทิ้งไว้ แต่ถ้าหมั่นแปรงฟันให้สะอาดและใช้ฟลูออไรด์ทาเฉพาะที่จะสามารถช่วยยับยั้ง การลุกลามได้ แต่ถาปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งการผุลุกลามถึงเนื้อฟันจนเนื้อฟันเปื่อยยุ่ยมอง เห็นเป็นรูชัดเจน จะเริ่มมีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน เมื่อถูกของร้อน เย็น หรือหวานจัด ระยะนี้ต้องพบทันตแพทย์เพื่อรีบทำการรักษาด้วยการอุดฟัน และหากไม่ได้รับการดูแลรักษา การผุก็จะเข้าสู่ขั้นรุนแรงลุกลามเข้าทำลายลึกถึงโพรงประสาทฟันทำให้เกิด การอักเสบของเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ซึ่งระยะนี้จะมีอาการปวดรุนแรงมาก การรักษาก็ทำได้ค่อนข้างยากและถ้ามีการติดเชื้อร่วมด้วยก็จะเกิดการอับเส บบวมรอบๆบริเวณเหงือกและฟันด้วย
การรักษาและดูแลโรคฟันผุ
1. ฟันผุในระยะเริ่มแรกที่มีสีขุ่นขาว เพียงทำให้ช่องปากได้รับฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือใช้ฟลูออไรด์ทาเฉพาะที่ก็จะสามารถช่วยยับยั้งการลุกลาม และทำให้การผุนี้กลับคือสู่สภาพปกติได้
2. กรณีที่ชั้นเคลือบฟันมีการเปลี่ยนเป็นสีดำแต่ยังไม่เป็นรูนั้น การแปรงฟันให้สะอาดอย่าสม่ำเสมอ สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เป็นฟันผุเป็นรูผุได้
3. หมั่นตรวจดูว่ามีการลุกลามของโรคเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากการผุลุกลามจนเป็นรูแต่ไม่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ต้องพบทันตแพทย์เพื่อรีบทำการรักษาด้วยการอุดฟัน
4. ถ้าฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์จะตรวจดูเนื้อฟันที่มีเหลือ หากมีพอเพียงที่จะบูรณะได้ก็จะรักษาโพรงประสาทฟันและบูรณะฟันให้อยู่ในสภาพ ดีดังเดิมโดยการอุดฟันหรือครอบฟัน แต่หากเนื้อฟันมีเหลืออยู่น้อยเกินไปก็จะรักษาโดยการถอนฟัน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหาร และเชื้อโรค อันจะก่อให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
5. กรณีที่วัสดุอุดฟันแตก ควรรีบรับการอุดฟันใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุต่อ
วิธีการป้องกันฟันผุด้วยตนเอง
- ควรรักษาช่องปากให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอด้วยการแปรงฟันทุกวันในตอนเช้า ก่อนนอน และหรือทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
- หลังการแปรงฟันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟันด้วยอย่างสม่ำเสมอ
- ควรปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน ด้วยการลดความถี่ในการบริโภคน้ำตาล ไม่กินจุบกินจิบ และหลีกเลี่ยงขนมหวานเหนียวหนึบติดฟัน หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆให้ลองใช้วิธีนี้ คือ หาอาหารชนิดอื่นโดยเฉพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่างมาละลายฤทธิ์กรด เช่นโปรตีน ยกตัวอย่างเช่น ทานช็อกโกแลตที่มีถั่วหรืออัลมอนด์ด้วยดีกว่าการทานช็อกโกแลตอย่างเดียว หรือทานก๋วยเตี๋ยวใส่น้ำตาล 1 ช้อน ในก๋วยเตี๋ยวจะ มีหมู ไก่ หรือปลา ซึ่งเป็นด่างช่วยลดความเป็นกรด มีถั่วงอก ผักบุ้งช่วยขัดฟัน และยังมีน้ำช่วยเจือจางกรดอีกด้วย
- ใช้น้ำบ้วนปากทันทีหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
- ควรใช้ฟลูออไรด์เสริมเพื่อป้องกันโรคฟันผุด้วยการเลือกใช้ยาสีฟันผสม ฟลูออไรด์ด้วย
Link https://www.learners.in.th
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับลิ้น
ลิ้น เป็นอวัยวะพิเศษพิสดารชนิดหนึ่ง คล้ายถุงที่บรรจุกล้ามเนื้อพิสดารหลายมัด กล้ามเนื้อเหล่านี้เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างของลิ้น ตามความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ
ตัวถุงหรือเปลือกที่ห่อหุ้มลิ้นอยู่ ก็พิเศษ เพราะมีขนอยู่ด้านหลัง ซึ่งก็คือ ด้านที่หันเข้าหาเพดานปากนั่นเอง ขนลิ้นมีหลายแบบ แต่จะไม่เหมือนขนตามผิวหนังของร่างกาย ลักษณะคล้ายๆขนของแปรงๆผมที่สตรีใช้กัน แต่นิ่มอ่อนมาก ระหว่างขนเหล่านี้แทรกอยู่ด้วยต่อมรับรส ตัวต่อมรับรสแทรกตัวอยู่ในตำแหน่งต่างๆของลิ่น ทั้งบนหลังลิ้น โคนลิ้น ปลายลิ้นหรือด้านข้างของลิ้น
ถุงลิ้นทั้งถุงดังกล่าว มีกล้ามเนื้อภายนอกโยงยึดไว้กับกระดูกขากรรไกร กระดูกคอหน้ากล่องเสียง และส่วนท้ายของกระดูกใบหน้าส่วนกลาง ทำให้ลิ้นลอยตัวได้อย่างมั่นคงและประกอบเป็นส่วนสำคัญของพื้นช่องปาก
โดยตำแหน่ง โดยองค์ประกอบของลิ้นและหน้าที่ของลิ้น ทำให้ลิ้นมีโรคหรือความผิดปกติได้มากมาย พอสรุปได้ดังนี้
1.กลุ่มโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด และโรคลิ้นจากพัฒนาการการเจริญเติบโต
3.กลุ่มโรคลิ้นที่สัมพันธ์กับโรคของช่องปากอื่นๆ
4.กลุ่มโรคของลิ้นที่สัมพันธ์กับโรคในส่วนอื่นๆของร่างกาย
5.กลุ่มโรคของลิ้นที่สัมพันธ์กับระบบประสาท
8.รอยโรคของลิ้นที่อาจแปรเป็นมะเร็งลิ้น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับเหงือก
ปริทันตวิทยา Peadodontics | |||||||||||||||
โรคปริทันต์ โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์ มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน | |||||||||||||||
สาเหตุของโรคปริทันต์ สาเหตุเบื้องต้น คือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นในสภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟัน ที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรดและสารพิษออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ล่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็อาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับขากรรไกร
| |||||||||||||||
การรักษาโรคเหงือกควรจะรีบทำการรักษาในทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น หากพบอาการของโรคเหงือก ควรจะเข้าพบทันตแพทย์ หรือทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อที่จะทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้ โรคเหงือก จะทำให้สูญเสียฟันได้ | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สรุปขั้นตอนการรักษา หากในคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ ก็อาจจำเป็นต้องพบทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการเกลารากฟัน เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่บริเวณตัวฟัน และผิวรากฟัน การขูดเหงือกเป็นการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อที่ช่องเหงือก การขูดหินปูน และการขูดเหงือกเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างจริง ก็จะเพียงพอต่อการควบคุมโรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ การขูดหินปูนและการขูดเหงือก อาจจะไม่ได้ผล ซึ่งในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งระหว่างการผ่าตัดนี้ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะทำการยกเหงือกเพื่อที่จะดูการลุกลามไปที่รากหรือกระดูก คราบจุลินทรีย์และหินปูนที่ได้ทำการขจัดออกจากบริเวณและจากกระดูกฟัน จากนั้นนำเหงือกกลับสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมที่เหมาะแก่การทำความสะอาดหลังการรักษา เมื่อมีการเปิดเหงือก และกระดูกมีการสูญเสียไป บางครั้งคนไข้ต้องรักษาโดยการปลูกกระดูก ซึ่งการปลูกกระดูกนี้เป็นการสร้างกระดูกจากไขกระดูกในปากของเราเอง หรือจากกระดูกเทียม ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะทำการนัดคนไข้ ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ในบางกรรีก็สามารถเสร็จได้ภายในครั้งเดียว ในโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีอุปกรณ์ครบครัน
| |||||||||||||||
| |||||||||||||||
การรักษาโรคเหงือกควรจะรีบทำการรักษาในทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น หากพบอาการของโรคเหงือกควรเข้าพบทันตแพทย์ หรือทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อที่จะทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้ โรคเหงือกอาจทำให้สูญเสียฟันได้ |