โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับจมูก โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง
โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง
เมื่อมลภาวะมีมากขึ้นโรคหอบหืดก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ท่านจะทราบถึงกลไกการเกิดโรคหอบหืด ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด อาการของโรคหอบหืด การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด แนวทางการรักษา เนื้อหาครบถ้วนครับคลิกที่นี่ |
เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เชื้อที่เป็นสาเหตุก็มีมากมายลองเลือกอ่านดูครับ |
กำลังระบาดโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเอดส์ ความน่ากลัวอยู่ที่เชื้อวัณโรคดื้อยาพบมากขึ้น |
เป็นกันบ่อยโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้ใหญ่มักจะเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง รักษาไม่ยาก |
กาใช้หน้ากากอนามัย โรคระบาดที่ ติดต่อกันได้อย่างง่ายดายมันจะติดต่อโดยทางลมหายใจ การดูแลตัวเองโดยห่างไกลจากคนเจ็บป่วย การล้างมือบ่อยๆ และการใช้หน้ากากอนามัยจะช่วยลดการติดต่อของโรค อ่านที่นี่ |
หลอดลมอักเสบ
หลอดลมอักเสบ
เมื่อคุณเป็นหวัดจะเริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปคุณจะรู้สึกแน่นหน้าอกมีเสมหะในคอและคุณเริ่มเกิดอาการ ไอแสดงว่าคุณเริ่มเป็นโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบคือโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมากทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด
หากคุณเป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง
ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด เสมหะจะมีสีเหลืองหรือเขียวแต่ท่านอาจจะไม่ได้เห็นเสมหะในเด็กหรือผู้ใหญ่ บางคนที่กลืนเสมหะลงไปกระเพาะ นอกจากไอแล้วยังมีอาการอื่นคือ
- แสบคอ เจ็บคอบางคนมีอาการแสบหน้าอก
- หายใจลำบาก
- หายใจเสียงดังหวีด
- ครั่นเนื้อครั่นตัว
- ไข้ไม่สูง
สาเหตุ
- ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนไข้หวัด เชื้ออื่นที่เป็นสาเหตุคือเชื้อ Mycoplasma pneumoniae.,Chlamydia pneumoniae
- หลอดอักเสบจากสิ่งแวดล้อมเช่น ควันบุหรี่ กลิ่นสี สารเคมี ฝุ่น
- จากกรดในกระเพาะที่ไหลย้อน gastroesophageal reflux disease (GERD)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ
- สูบบุหรี่หรืออยู่กับคนที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีโรคประจำที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเช่น โรคเบาหวาน โรคตับ เป็นต้น
- ผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease (GERD)
- ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี
ควรพบแพทย์เมื่อใด
โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 50หายใน 3 สัปดาห์ ร้อยละ 25 หายใช้เวลาเป็นเดือนจึงจะหาย การดูแลให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ คุณควรจะพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- ไข้สูงกว่า 38.5 องศา
- หายใจลำบากหรือเหนื่อยหอบ
- เสมหะมีเลือดปน
- เสมหะเป็นหนอง
- เมื่อคุณมีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคปอด
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคนี้มักจะทำได้โดยการซักประวัติและ การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายโดยการใช้หูฟังปอดว่ามีลักษณะหลอดลมตีบหรือไม่ เพราะโรคหลอดลมอักเสบจะตรวจได้เพียงว่ามีการตีบของหลอดลม ส่วนการตรวจเสมหะหรือเพาะเชื้อจากเสมหะมักไม่ช่วยในการวินิจฉัยเพราะทางเดิน หายใจของเราจะมีเชื้อโรคอยู่ ในการวินิจฉัยเราต้องคำนึงถึงโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการไอ โรคต่างๆเหล่านี้ได้แก่
- โรคเกี่ยวกับภูมิแพ้
- โรคหอบหืด
- โรคแพ้ฝุ่น
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
-
โรคติดเชื้อ
- ไขหวัด
- ไซนัดอักเสบ
- ปอดบวม
-
สาเหตุอื่น
- หัวใจวาย
- มะเร็งปอด
- ภาวะกรดไหลย้อน
โรคแทรกซ้อน
การเป็นโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่ไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับที่เป็นบ่อยอาจจะกลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
การรักษา
เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
- ให้พักผ่อนอย่างพอเพียง
- ดื่มน้ำมากๆ
- ถ้าไอมากก็รับยาแก้ไอ
- หลีกเลี่ยง ควัน กลิ่น ควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลม
- ห้องให้อุ่นและชื้นซึ่งจะช่วยชะลออาการไอ
- ที่มาของภาพ www.suksara.net/.../desease_50_8.jpg
- ที่มาของเนื้อหา https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/Respiratory/bronchitis/bronchitis.htm
- ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับจมูก
- ริดสีดวงจมูกและไซนัสอักเสบ
ขนานที่ 1
( 1.) หัวจุกกระเทียมนำมาหั่นให้ละเอียดตากให้แห้งสัก 1 กำมือ
( 2.)เปลือกมะเดื่อปล้อง หั่นเป็นฝอยๆ ตากให้แห้งสัก 1 กำมือ
( 3.) ใช้มีดไปขูดผิวไม้ไผ่สีสุกที่สดๆ มาตากให้แห้ง 1 กำมือ
( 4.) ยาเส้นพอประมาณ ถ้าใครไม่ชอบฉุน
( 5.) การบูร 1 ตลับยาหม่องขนาดเล็ก ให้เอาตัวยาจากข้อ 1-4 มาคลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำตัวยาไปมวนด้วยกระดาษขาวหรือกระดาษสมุดที่เด็กๆ ใช้เขียนบทเรียนได้ วิธีมวนให้เอากระดาษที่จะใช้มวน นำมามวนใส่ปลาย ดินสอให้เป็นรูปทรงกระบอกมีลักษณะโคนเล็กและส่วนปลายใหญ่ ถอดดินสอออกติดกาวให้เรียบร้อย เอาตัวยาที่ผสมกันแล้วยัดเข้าไป โดยใช้ไม้หรือดินสอยัดเข้าไปให้แน่น แล้วจึงนำมาจุดสูบได้ตามต้องการ เวลาสูบให้พ่นควันออกทางจมูก โดยใช้มือปิดจมูกข้างหนึ่งไว้ สับเปลี่ยนกันทีละข้าง สูบวันละ 3 ครั้งทุกวัน เวลาสูบจะรู้สึกเมาบ้างเล็กน้อย มีอาการแสบจมูก น้ำมูกไหลบ้าง แต่เมื่อได้สูบไปสัก 8-10 วัน อาการจะค่อยดีขึ้นให้สูบไปเรื่อยๆ จนหาย ถ้าเจ็บคอและไอเอาข้อ 5 คือการบูร ผสมไปด้วย เวลาสูบจะได้รู้สึกเย็นสบายในลำคอและจมูก ตัวยาที่ผสมการบูรแล้วต้องใส่ขวดโหล ปิดฝาให้สนิท กันการบูรระเหย เมื่อสูบแล้ว ควรใช้น้ำมะนาวผสมเกลือ พริกขี้หนูสัก 5 เม็ด ตำให้ ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้กินไปด้วย จะช่วยให้หายเร็วขึ้น
ขนานที่ 2
เอาดอกบัวหลวง 3 ดอก ใช้บูชาพระ 3 วัน เอาลงมาตากแดด ใช้ก้านบัวสูบแทนบุหรี่
ขนานที่ 3
เอาเนื้อของต้นเครือซูด (ภาษาอีสาน) ตากแห้งแล้วสูบหรือเผาสูบดมควัน
ขนานที่ 4
ใช้ดอกลำโพง ดอกปีบ หัวหอมแดง อย่างละเท่ากันตากให้แห้ง หั่นผสมเข้าด้วยกันมวนสูบ เวลามวนเอาการบูรใส่เล็กน้อยสูบให้ควันออกจมูก
ขนานที่ 5
เป็นยาชุดมีทั้งยากิน ยาสูบ ยานัตถ์ และยาพอกกระหม่อม
* ยากิน
หัว ขิงแห้ง หัวดองดึง หัวอุตพิด หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว หัวบุกรอ หัวกลอย ลูกกระวาน หนักอย่างละ 2 บาท เม็ดพริกไทยหนัก 16 บาท ยาทั้งหมดบดเป็นผงให้ละเอียดละลาย น้ำร้อนกินครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ให้กินขณะที่น้ำยังร้อนๆ อยู่ อย่าให้น้ำอุ่นหรือเย็น กินก่อนหรือหลัง อาหารก็ได้ 1 ชั่วโมง
*ยาสูบ
เอาใบ มะนาว ใบหนาด ใบมะตูม ใบมะกรูด ใบส้มป่อย ใบส้มโอ ใบผักกระโฉม นวลผิวข่อย นวลผิวไม้ไผ่สีสุก ดอกคำฝอย เอาอย่างละเท่าๆ กัน หั่นเป็นเส้นฝอยๆ ผสมให้เข้ากันดี เวลาจะสูบ แทรกการบูรนิดหน่อย ใช้ใบตองกล้วยหรือใบบัวแห้งมวนสูบ
*ยานัตถ์
เอา หัวหญ้าแห้วหมู รากเจตพังคี เอาเท่ากันบดเป็นผงให้ละเอียด แล้วเคล้าด้วยน้ำนมแมว(น้ำหอมใช้ปรุงขนม) ตากแดดให้แห้งเก็บใส่ขวด ใช้กล้องเป่านัตถ์เข้าจมูก
*ยาพอกกระหม่อม
ให้ เอาใบลำโพง กระเทียม สารส้ม ดีจระเข้ ตำให้แหลกเคล้ากับน้ำมะนาวแล้วทาหรือพอกที่กระหม่อม ปกติใช้ยากินและยาสูบเพียง 2 อย่างก็หายแล้ว ตำรานี้คุณคำพันธ์ ดีเวิน ให้มาบอกว่าเป็นตำราของปู่ ใช้ได้ผลดีมาก ปัจจุบันยังใช้อยู่
คัดจมูก
ขนานที่ 1
คัด จมูกเกิดจากน้ำมูกข้น น้ำจะไปละลายน้ำมูกที่ข้นให้ใส สั่งออกได้ง่าย วิธีทำให้สูดน้ำเข้าทางจมูก โดยค่อยๆ สูดเข้าช้าๆ พอน้ำเข้าไปถึงคอให้หยุดไว้ แล้วค่อยๆ สั่งออกมา ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้ง น้ำมูกจะค่อยๆ ใสจนสั่งออกมาเป็นก้อนได้ หากจมูกข้างใดตัน ให้ใช้นิ้วอุดจมูกข้างที่โล่งเอาไว้แล้วจึงใช้จมูกข้างที่ตันสูดน้ำเข้าไป ทั้งนี้เพราะถ้าไม่อุดจมูกน้ำจะเข้าทางจมูกที่โล่งข้างเดียว ในตอนแรกจมูกข้างที่ตันจะสูดน้ำได้น้อย แต่ถ้าทำบ่อยๆ จะสูดน้ำได้มากขึ้น
ข้อควรระวัง เวลาสั่งน้ำออกมาอย่าสั่งแรงๆ เพราะจะทำให้จมูกอักเสบ เกิดเป็นริดสีดวงจมูกได้
ขนานที่ 2
เอา หัวหอมทุบพอแตกเอามาดม ถ้ายังไม่หาย เอาน้ำใส่ในหม้อต้มให้เดือด แล้วยกหม้อน้ำลง เอาหัวหอมพอประมาณทุบพอแตกใส่ลงไป เอาผ้าคลุมหัวและหม้อน้ำเอาไว้ สูดเอาไอน้ำกับไอหัวหอมเข้าไป สักพักหนึ่งจมูกจะโล่ง หรือกินหัวหอมขนาดเท่าหัวแม่มือสัก 2-3 หัว จะหายคัดจมูกได้
ขนานที่ 3
ให้แช่เท้าจนถึงตาตุ่มในน้ำอุ่นจัดๆ จนหายร้อน
ขนานที่ 4
ให้นอนยกขาทั้งสองขึ้นสูงจากพื้นเตียงประมาณ 1-2 ฟุต
คัดจมูกในเด็ก
ขนานที่ 1
เอา หัวหอม หัวเปราะหอม ขมิ้นสดอย่างละเท่าๆ กัน นำมาโขลกให้แหลก อย่าให้แหลกมากจนมีน้ำมากไป ปั้นเป็นรูปวงแหวนขนาดเท่ากระหม่อมเด็ก โปะไว้กลางกระหม่อมตอนเช้าๆ ขณะที่มีไข้รุมๆ หรือมีไข้สูงอยู่ โปะหรือสุมไว้จนกว่าไอของความร้อนในตัวเด็กจะออกไปสู่ตัวยาไม่เกิน 3 ชั่วโมง เอาผ้าพันจากศีรษะถึงใต้คางเพื่อกันหลุดด้วย
ขนานที่ 2
เอา หัวหอมปอกเปลือกทุบพอแตก วางไว้ข้างศีรษะเด็ก (ต้องระวังไม่ให้ไอหัวหอมเข้าตา เพราะจะทำให้แสบตา) หรือโปะไว้ที่กระหม่อมใกล้หน้าผากในเวลาที่เด็กนอน
น้ำมูกไหลมากจากหวัด
เอา ขิงแก่มาหั่นเป็นแว่นบางๆ ใส่น้ำต้มให้ข้นที่สุดเท่าที่จะทนรสเผ็ดของขิงได้ เอาน้ำขิง ร้อนๆ มาชงน้ำตาลกินอย่างชาหรือกาแฟกินต่างน้ำชา กินไป 2-3 ถ้วย อาการจะดีขึ้น
น้ำมูกไหลจากหวัดแพ้อากาศ
มักเกิดจากขาดการออกกำลังกาย ต้องแก้ที่สาเหตุนี้ด้วย ส่วนยาช่วยมีดังนี้
ขนานที่ 1
ใช้ใบหนุมานประสานกายสด 5-10 ช่อ ต้มกับน้ำ 7-10 แก้ว ต้มเดือดนานประมาณ 10 นาที แบ่งกินให้หมดตลอดวัน
ขนานที่ 2
เอาใบฟ้าทะลายโจรในระยะที่เริ่มออกดอก ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำเชื่อมปั้นเม็ด ขนาดเท่าไข่จิ้งจก กินครั้งละ 5 เม็ด ในตอนเช้า
ขนานที่ 3
กินหัวหอมครั้งละ 1-2 หัว หรือกินต้นหอมครั้งละ 1-2 ต้น พร้อมอาหารทุกวันเป็นประจำ จะ ช่วยป้องกันหวัดแพ้อากาศ
ขนานที่ 4
กินหัวกระเทียมครั้งละ 7 กลีบ พร้อมอาหารทุกวัน
ขนานที่ 5
ใช้ ต้นเหงือกปลาหมอแห้งหนัก 2 ส่วน พริกไทยหนัก 1 ส่วน บดเข้าด้วยกันเป็นผง ปั้น น้ำผึ้งขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย กินวันละ 2 ครั้งๆ ละ 1-2 เม็ด เช้า-เย็น
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
ขนานที่ 1
เคี้ยว ใบพลู ทุกเช้าและก่อนนอน ค่อยๆ เคี้ยว ค่อยๆ กลืนใบพลู เริ่มเคี้ยวทีละนิด เพราะถ้าคนไม่เคยจะทำให้ปากชาและรู้สึกเผ็ดขม วันต่อๆ ไปค่อยเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆ
ขนานที่ 2
เอาใบฝรั่งสดๆ ย่างไฟพอหอม ชงน้ำร้อนกินต่างน้ำชาหรือเคี้ยวใบฝรั่งอ่อนๆ เคี้ยวกินได้เลยทุกวัน
เลือดกำเดาไหล
ขนานที่ 1
ให้ ผู้ป่วยนั่งหรือนอน เงยหน้าขึ้น ใช้มือบีบจมูกทั้ง 2 ข้าง หายใจลึกยาวทางปาก เอาน้ำแข็ง ห่อผ้าวางบริเวณหน้าผาก คอ สันจมูก ถ้าหาน้ำแข็งไม่ได้ควรใช้ผ้าชุบน้ำเย็นบีบพอหมาดวางบนสันจมูก
ขนานที่ 2
เอา ใบพลู 1 ใบ ม้วนเหมือนมวนบุหรี่ขยี้ปลายข้างหนึ่งให้ช้ำ จากนั้นสอดปลายข้างที่ช้ำนั้นอุดเข้าไปในรู้จมูกข้างที่มีเลือดไหล ถ้ามีน้ำแข็งให้ใช้น้ำแข็งช่วยด้วย
ขนานที่ 3
ใช้กระดาษนิ่มๆ หรือสำลี ม้วนอุดรู้จมูกยัดไว้ให้แน่นจนเลือดคั่ง จะคัดเลือดมิให้ไหล ใช้น้ำแข็งช่วยเช่นกัน
เด็กที่เลือดกำเดาไหลบ่อย
ขนานที่ 1
ทุกเช้าให้เด็กกินน้ำมะนาว 1-2 ผล เติมน้ำเกลือ น้ำตาล น้ำแข็งให้ได้รสตามต้องการ
ขนานที่ 2
เอา รากข้าวที่เกี่ยวแล้ว 1 กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ใส่หมู 1 ชิ้น ต้มให้เหลือน้ำครึ่งหนึ่ง รินไว้จนเย็นจึงกินให้หมด กินครั้งเดียวก็หาย
ขนานที่ 3
ใช้รากต้นฝรั่ง 1 กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มพอให้ยาสุกกินวันละ 3-4 ครั้งๆ ละ 1 แก้ว
สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
วิธีที่ 1
บีบรูจมูกข้างหนึ่งแล้วสั่งน้ำมูกอย่างแรง ของนั้นอาจออกเองได้ อย่าพยายามใช้นิ้วแคะ เพราะของอาจถูกดันลึกเข้าไป
วิธีที่ 2
ให้ใช้ของอ่อนๆ ล้างให้สะอาด เช่น ก้านมะยม ค่อยๆ ดันให้เข้าไปในจมูกลึกจนถึงช่วงคอก็จะหลุดลงคอกลืนลงไป (ถ้าไม่ใช่วัตถุอันตราย
นอนกรน
เกิดจากนอนหงาย หายใจเข้าลำบาก จึงต้องใช้ปากช่วยหายใจ วิธีแก้คือจับให้นอนตะแคง
- ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง
โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
โรคหอบหืด
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
โรคปอดบวม
โรคปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen ทำให้ร่างกายขาด oxygen และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุของปอดบวม มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้ดังนี้
- Bacteria
- Viruses
- Mycoplasma
- เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา
- สารเคมี
เชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย เหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม ปกติเชื้อโรคอยู่ในคอ เมื่อร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรค ภาวะต่างๆดังกล่าวได้แก่
- ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่นอายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- การอักเสบติดเชื้อไวรัสของระบบการหายใจ
- การอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม
- การสำลัก น้ำลาย เศษอาหาร หรือสิ่งติดเชื้อในปอด
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
เมื่อคุณเป็นหวัดจะเริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปคุณจะรู้สึกแน่นหน้าอกมีเสมหะในคอและคุณเริ่มเกิดอาการไอแสดงว่าคุณเริ่มเป็นโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบคือโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมากทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด
หากคุณเป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง
ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด เสมหะจะมีสีเหลืองหรือเขียวแต่ท่านอาจจะไม่ได้เห็นเสมหะในเด็กหรือผู้ใหญ่บางคนที่กลืนเสมหะลงไปกระเพาะ นอกจากไอแล้วยังมีอาการอื่นคือ
- แสบคอ เจ็บคอบางคนมีอาการแสบหน้าอก
- หายใจลำบาก
- หายใจเสียงดังหวีด
- ครั่นเนื้อครั่นตัว
- ไข้ไม่สูง
โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 50หายใน 3 สัปดาห์ ร้อยละ 25 หายใช้เวลาเป็นเดือนจึงจะหาย การดูแลให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ คุณควรจะพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- ไข้สูงกว่า 38.5 องศา
- หายใจลำบากหรือเหนื่อยหอบ
- เสมหะมีเลือดปน
- เสมหะเป็นหนอง
- เมื่อคุณมีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคปอด
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคนี้มักจะทำได้โดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายโดยการใช้หูฟังปอดว่ามีลักษณะหลอดลมตีบหรือไม่ เพราะโรคหลอดลมอักเสบจะตรวจได้เพียงว่ามีการตีบของหลอดลม ส่วนการตรวจเสมหะหรือเพาะเชื้อจากเสมหะมักไม่ช่วยในการวินิจฉัยเพราะทางเดินหายใจของเราจะมีเชื้อโรคอยู่ ในการวินิจฉัยเราต้องคำนึงถึงโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการไอ โรคต่างๆเหล่านี้ได้แก่
- โรคเกี่ยวกับภูมิแพ้
- โรคหอบหืด
- โรคแพ้ฝุ่น
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
2. โรคติดเชื้อ
- ไขหวัด
- ไซนัดอักเสบ
- ปอดบวม
3. สาเหตุอื่น
- หัวใจวาย
- มะเร็งปอด
- ภาวะกรดไหลย้อน
โรคแทรกซ้อน
การเป็นโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่ไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับที่เป็นบ่อยอาจจะกลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
การรักษา
เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
- ให้พักผ่อนอย่างพอเพียง
- ดื่มน้ำมากๆ
- ถ้าไอมากก็รับยาแก้ไอ
- หลีกเลี่ยง ควัน กลิ่น ควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลม
- ห้องให้อุ่นและชื้นซึ่งจะช่วยชะลออาการไอ
โรควัณโรค
- วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อโดยการสูดเอาอากาศที่มีตัวเชื้อวัณดรคเข้าไป เมื่อ 20 ปีก่อน
- วัณโรคเป็นหนึ่งในสิบสาเหตุของการตายที่สำคัญสุด แต่เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ปัจจุบันวัณโรคจึงไม่จัดอยู่ในสิบสาเหตุการตายที่สำคัญ
- เชื้อวัณโรคจัดเป็นเชื้อโรคในกลุ่มเป็นแท่ง (Bacilli) มีความคงทนต่อความแห้งได้ และสามารถแขวนอยู่กับฝุ่นละอองได้นานเชื้อวัฒโรคออกจากร่างกายของผู้ป่วย โดยทางเสมหะ และละอองเสมหะ หรือน้ำลายจากการไอ หรือจาม หรือาจออกมากับน้ำหนองในกรณีป่วยเป็นวัณโรคของต่อมน้ำเหลือง หรือผิวหนัง การติดต่อจะติดต่อทางลมหายใจสูดดมเอาฝุ่นละอองหรือละอองเสมหะ ที่มีตัวเชื้อโรคแขวนอยู่เมื่อพูดถึงวัณโรค ชาวบ้านทั่วไปมักจะนึกถึงโรคปอด คือวัณโรคปอด แต่ความจริงวัณโรคอาจเป็นได้ในทุก ๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนังและเยื่อหุ้มสมองเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าจะต้องเริ่มต้นจากปอดก่อนเสมอ ที่ไม่พบในปอดก็เพราะซ่อนเร้นอยู่ โดยการฉายเอ็กซเรย์ปอดตรวจไม่พบ หรือการตรวจเสมหะเพื่อหาตัวเชื้อแล้วตรวจไม่พบเท่านั้นอาการแสดงของวัณโรค ระยะแรกจะมีการไอแห้ง ๆ อย่างเดียว อาการจะมากขึ้นเมื่อเนื้อปอดเป็นโรคมากขึ้น ระยะต่อมาไอจะมีเสมหะติดออกมาด้วย และมักจะมีอาการไข้ต่ำๆ โดยเฉพาะในเวลาเย็น และกลางคืน ในระยะที่เป็นกรดมากแล้วอาจมีอาการหายใจหอบ และไอมีเสมหะติดเลือดปนด้วย จนถึงขั้นไอเป็นลิ่มเลือดได้ ถ้าเชื้อลามไปติดที่เยื่อหุ้มหลอดอาจมีน้ำเกิดเกิดขึ้นในช่องปอด และมีอาการเจ็บอก น้ำที่เกิดในช่องปอดนี้จะทำให้อาการหอบเกิดมากขึ้นอาการแสดงของวัณโรคที่อวัยวะอื่น เช่น ถ้าเป็นที่ต่อมน้ำเหลือง มักมีไข้ และมีก้อน (ต่อมน้ำเหลือง) ที่พบบ่อยมักจะเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ต่อมจะโตมากขึ้นจนกลายเป็นฝี และแตกมีน้ำเหลืองซึมออกมาได้ ถ้าเป็นที่เยื่อหุ้มสมองจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง และมีอาการทางสมองเกิดขึ้นด้วยการรักษาจะต้องรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น ด้วยการปรึกาาแพทย์ที่ศูนย์วัณโรคปอดโรงพยาบาลหรือคลีนิกแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่รักษาหายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลานานเป็นปี หรือ 2 ปี ผู้ป่วยจึงต้องมีความอดทนต้องปฏิบัติตัวตามสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดการรักษาโดยแพทย์ไม่ได้สั่งการป้องกัน1.ทารกที่คลอดจากโรงพยาบาลทุกแห่งและสถานีผดุงครรภ์ทุกแห่ง
- 1.จะได้รับการฉีดยา BCG เพื่อป้องกันโรคตั้งแต่หลังคลอดใหม่
2.สำหรับผู้ใหญ่นั้นอาจขอฉีด BCGได้ตามโรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชนทุกแห่ง
3.การไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยวัณโรค
4.การแนะนำผู้ป่วยให้ปิดจมูกเวลาจะไอ หรือจามตลอดจนไม่ควรถ่มน้ำลายเสมหะเรี่ยราดตามพื้น
5.ควรตรวจเอ็กซเรย์ปอดเป็นประจำทุกหนึ่งหรือสองปี
การรักษาวัณโรค
ปัจจัยสำคัญในการรักษาวัณโรคประกอบด้วย1.การเลือกใช้ยารักษาวัณโรคที่เหมาะสมและถูกต้อง2.ความร่วมมือของผู้ป่วยการเลือกยา
ที่เหมาะสมโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่รับการรักษาเป็นครั้งแรกจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้ผลดีถึงร้อยละ 85 หรือมากกว่า แพทย์ผู้รักษาจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเป็นไปของวัณโรค ควรรับยาสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลาปีครึ่งถึงสองปี ผลร้ายของการรับยาไม่สม่ำเสมอ อาการแพ้ยาและผลข้าเคียงที่อาจพบได้
หลักการเลือกยา
-
- 1.ควรพิจารณาใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกในการใช้
2.มีการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงน้อย
3.ราคาถูก
- 1.ควรพิจารณาใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกในการใช้
โรควัณโรค
· วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อโดยการสูดเอาอากาศที่มีตัวเชื้อวัณดรคเข้าไป เมื่อ 20 ปีก่อน
· วัณโรคเป็นหนึ่งในสิบสาเหตุของการตายที่สำคัญสุด แต่เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ปัจจุบันวัณโรคจึงไม่จัดอยู่ในสิบสาเหตุการตายที่สำคัญ
- เชื้อวัณโรคจัดเป็นเชื้อโรคในกลุ่มเป็นแท่ง (Bacilli) มีความคงทนต่อความแห้งได้ และสามารถแขวนอยู่กับฝุ่นละอองได้นานเชื้อวัฒโรคออกจากร่างกายของผู้ป่วย โดยทางเสมหะ และละอองเสมหะ หรือน้ำลายจากการไอ หรือจาม หรือาจออกมากับน้ำหนองในกรณีป่วยเป็นวัณโรคของต่อมน้ำเหลือง หรือผิวหนัง การติดต่อจะติดต่อทางลมหายใจสูดดมเอาฝุ่นละอองหรือละอองเสมหะ ที่มีตัวเชื้อโรคแขวนอยู่เมื่อพูดถึงวัณโรค ชาวบ้านทั่วไปมักจะนึกถึงโรคปอด คือวัณโรคปอด แต่ความจริงวัณโรคอาจเป็นได้ในทุก ๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนังและเยื่อหุ้มสมองเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าจะต้องเริ่มต้นจากปอดก่อนเสมอ ที่ไม่พบในปอดก็เพราะซ่อนเร้นอยู่ โดยการฉายเอ็กซเรย์ปอดตรวจไม่พบ หรือการตรวจเสมหะเพื่อหาตัวเชื้อแล้วตรวจไม่พบเท่านั้นอาการแสดงของวัณโรค ระยะแรกจะมีการไอแห้ง ๆ อย่างเดียว อาการจะมากขึ้นเมื่อเนื้อปอดเป็นโรคมากขึ้น ระยะต่อมาไอจะมีเสมหะติดออกมาด้วย และมักจะมีอาการไข้ต่ำๆ โดยเฉพาะในเวลาเย็น และกลางคืน ในระยะที่เป็นกรดมากแล้วอาจมีอาการหายใจหอบ และไอมีเสมหะติดเลือดปนด้วย จนถึงขั้นไอเป็นลิ่มเลือดได้ ถ้าเชื้อลามไปติดที่เยื่อหุ้มหลอดอาจมีน้ำเกิดเกิดขึ้นในช่องปอด และมีอาการเจ็บอก น้ำที่เกิดในช่องปอดนี้จะทำให้อาการหอบเกิดมากขึ้นอาการแสดงของวัณโรคที่อวัยวะอื่น เช่น ถ้าเป็นที่ต่อมน้ำเหลือง มักมีไข้ และมีก้อน (ต่อมน้ำเหลือง) ที่พบบ่อยมักจะเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ต่อมจะโตมากขึ้นจนกลายเป็นฝี และแตกมีน้ำเหลืองซึมออกมาได้ ถ้าเป็นที่เยื่อหุ้มสมองจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง และมีอาการทางสมองเกิดขึ้นด้วยการรักษาจะต้องรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น ด้วยการปรึกาาแพทย์ที่ศูนย์วัณโรคปอดโรงพยาบาลหรือคลีนิกแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่รักษาหายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลานานเป็นปี หรือ 2 ปี ผู้ป่วยจึงต้องมีความอดทนต้องปฏิบัติตัวตามสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดการรักษาโดยแพทย์ไม่ได้สั่งการป้องกัน1.ทารกที่คลอดจากโรงพยาบาลทุกแห่งและสถานีผดุงครรภ์ทุกแห่ง
- 1.จะได้รับการฉีดยา BCG เพื่อป้องกันโรคตั้งแต่หลังคลอดใหม่
2.สำหรับผู้ใหญ่นั้นอาจขอฉีด BCGได้ตามโรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชนทุกแห่ง
3.การไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยวัณโรค
4.การแนะนำผู้ป่วยให้ปิดจมูกเวลาจะไอ หรือจามตลอดจนไม่ควรถ่มน้ำลายเสมหะเรี่ยราดตามพื้น
5.ควรตรวจเอ็กซเรย์ปอดเป็นประจำทุกหนึ่งหรือสองปี
การรักษาวัณโรค
ปัจจัยสำคัญในการรักษาวัณโรคประกอบด้วย1.การเลือกใช้ยารักษาวัณโรคที่เหมาะสมและถูกต้อง2.ความร่วมมือของผู้ป่วยการเลือกยา
ที่เหมาะสมโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่รับการรักษาเป็นครั้งแรกจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้ผลดีถึงร้อยละ 85 หรือมากกว่า แพทย์ผู้รักษาจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเป็นไปของวัณโรค ควรรับยาสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลาปีครึ่งถึงสองปี ผลร้ายของการรับยาไม่สม่ำเสมอ อาการแพ้ยาและผลข้าเคียงที่อาจพบได้
หลักการเลือกยา
-
- 1.ควรพิจารณาใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกในการใช้
2.มีการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงน้อย
3.ราคาถูก
- 1.ควรพิจารณาใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกในการใช้
รายละเอียดเกี่ยวกับยารักษาวัณโรคชนิดต่าง ๆ ที่ใช้บ่อย
Link classnet.nkk.ac.th