โรคเกี่ยวกับสมอง โรคเกี่ยวกับสมองมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับระบบประสาท สมอง


10,672 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับสมอง  โรคเกี่ยวกับสมองมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับระบบประสาท สมอง

โรคเกี่ยวกับสมอง

ภาวะสมองเสื่อม หรือ Dementia เป็นคำที่แพทย์ใช้อธิบายกลุ่มอาการของโรคทางสมองหลายโรค โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์ซึ่งถือเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบมากที่สุดคือร้อยละ 50 - 703 ส่วนภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ ที่พบรองลงมา ได้แก่
  • ภาวะสมองเสื่อมจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ
  • ภาวะสมองเสื่อมจากการพัฒนาของโปรตีนที่ผิดปกติภายในเซลล์สมอง (Lewy Body Dementia)
  • ภาวะสมองเสื่อมแบบ Frontotemporal ซึ่งเป็นความปกติที่เกิดขึ้นด้านหน้าและด้านข้างของสมอง
  • ภาวะสมองเสื่อมแบบผสมซึ่งเกิxดจากสาเหตุมากกว่าหนึ่งสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ร่วมกับภาวะสมองเสื่อมจากความผิดปกติของหลอด เลือดสมอง
นอกจากนี้แล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน โรค Creutzfeldt-Jakob การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง การได้รับสารพิษ สมองขาดออกซิเจน มีเนื้องอกในสมอง สมองติดเชื้อ สมองกระทบกระเทือน สมองฝ่อ และการติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น
ภาวะสมองเสื่อมอาจพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะเป็นภาวะที่ไม่ได้มาพร้อมกับความชราเสมอไป ทั้งนี้อาการทั่วไปของผู้ป่วยมักเริ่มจากการไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น พูดไม่เป็นประโยค ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือแต่งตัวได้เอง วางสิ่งของผิดที่ วางแผนล่วงหน้าไม่ได้ จำเวลาและสถานที่ไม่ได้ จดจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่ออาการมากขึ้นจะเกิดพฤติกรรมแปรปรวน หวาดระแวง รวมถึงเห็นภาพหลอน
นพ. ศิริชัย นิรมานสกุล ผู้เชี่ยวชาญโรคทางระบบประสาท กล่าวถึงข้อบ่งชี้ของภาวะสมองเสื่อมไว้ว่า “ผู้ป่วยจะต้องมีอาการบกพร่องทางสมองสองอย่างขึ้นไป เช่น สูญเสียความทรงจำร่วมกับสูญเสียความสามารถในการใช้ภาษา ดังนั้นผู้ป่วยที่สูญเสียความทรงจำเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม ที่มีภาวะสมองเสื่อมก็ได้”
แม้ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะสมองเสื่อมหรือซ่อมแซมสมองที่เสียหาย แต่การทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคทำให้แพทย์สามารถให้ยารักษาตามอาการและชะลอ อาการของโรคไม่ให้แย่ลงอย่างรวดเร็วและที่ละเลยไม่ได้คือ ผู้ป่วยต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยและปลอดภัย

โรคอัลไซเมอร์

26.6 ล้านคน4 คือจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อมทั่วโลก จากการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2006 ขณะที่ในประเทศไทยตัวเลขผู้ป่วยรายงานโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเมื่อต้น ปี 2009 อยู่ที่กว่า 1 ล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ว่ากันว่า เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับโอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ราวร้อยละ 10 - 155 ซึ่งโอกาสนี้จะเพิ่มมากขึ้นพร้อม ๆ กับวัยที่มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป และความจริงที่น่าเศร้าก็คือ อัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งยากจะป้องกัน ปัจจุบันยังไม่อาจรักษาให้หายได้ และเป็นอันตรายถึงชีวิต
“โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลายโดยไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ ขึ้นทดแทน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางสมองในส่วนของสติปัญญา เช่น ความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ในขณะที่สมองส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยังใช้การได้ดี” นพ. ศิริชัย กล่าว
สำหรับอาการของอัลไซเมอร์นั้นอาจแบ่งตามระยะของโรคได้คร่าว ๆ เป็น 3 ระยะคือ ระยะแรกเริ่ม ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียความทรงจำระยะสั้น ไม่สามารถจำอะไรใหม่ ๆ ได้ และจะเริ่มจำเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ ในที่สุดก็จะจำไม่ได้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้าคืออะไร
   
 ส่วนระยะกลาง ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว มีพฤติกรรมก้าวร้าว ถ้าถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว ก็อาจเดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ได้เลย และในระยะสุดท้าย สมองจะถูกทำลายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาจกินเวลา 3 - 20 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยตรง แต่เราสามารถรักษาอาการของโรคและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ด้วยการให้ยาบางชนิดที่ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง และฟื้นฟูการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง อาจใช้ร่วมกับยานอนหลับ ยาลดอาการซึมเศร้า การทำจิตบำบัด ทำสมาธิ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคพาร์กินสัน

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซ เมอร์ จากสถิติแล้ว ประชากรโลกทุก ๆ 1,000 คนจะมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 1 - 2 คน6 โดยพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพศชายมากกว่าหญิง และส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปและอเมริกาเหนือ
โรคพาร์กินสันเป็นผลมาจากการตายของเซลล์สมองซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารเคมีที่ เรียกว่า โดปามีน (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อระดับของโดปามีนลดลง การควบคุมกล้ามเนื้อก็ยากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการสั่นบริเวณมือ แขน ขา ขากรรไกร เคลื่อนไหวช้า ขยับแขนขา แสดงท่าทางและเดินลำบาก
นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล สูญเสียความทรงจำ นอนไม่หลับ พูดช้า เคี้ยวหรือกลืนยาก ท้องผูก ควบคุมปัสสาวะไม่อยู่ มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
“แม้พาร์กินสันจะเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ แต่การที่เราทราบสาเหตุของโรค ทำให้มีทางเลือกในการรักษามากกว่าโรคทางสมองและระบบประสาทอื่น ๆ โดยเฉพาะการให้ยาเพิ่มปริมาณโดปามีน และเสริมโดปามีนร่วมกับยารักษาอาการร่วม เช่น ซึมเศร้า นอกจากนี้การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและควบคุมการเคลื่อนไหว ได้ดีขึ้น” นพ. ศิริชัย อธิบาย
อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือ Deep Brain Stimulation (DBS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่ที่ยังไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะเป็นผู้แนะนำแนวทางในการรักษาเฉพาะบุคคลต่อไป

โรคลมชัก

โรคทางสมองและระบบประสาทที่พบมากอีกโรคหนึ่งคือ โรคลมชัก ซึ่งมีผู้ป่วยทั่วโลกมากถึง 50 ล้านคน7 ขณะที่ในประเทศไทยพบราวร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 6 - 7 แสนคน8 โดยพบได้ทั้งเพศหญิงและชายทุกช่วงอายุ
โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ พันธุกรรม สมองพิการแต่กำเนิด พยาธิในสมอง เส้นเลือดสมองผิดปกติ สมองได้รับความกระทบกระเทือน มีเนื้องอกสมอง และการได้รับสารพิษสะสมอย่างสารตะกั่ว ทั้งนี้ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคลมชักยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้
“เมื่อระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมองที่ผิดปกติไปรบกวนการทำงานของสมองส่วนอื่น ๆ ก็ส่งผลให้เกิดการชักขึ้นได้ แต่การชักเพียงครั้งเดียวยังไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ต้องมากกว่าสองครั้งขึ้นไป และถ้าจำเป็นต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ด้วยการสแกนสมองและตรวจ คลื่นไฟฟ้าสมอง” นพ. ศิริชัย อธิบาย
ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นทุกส่วนของสมอง เราเรียกว่า การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะหมดสติ ล้มลง ตาเหลือก ส่งเสียงดัง กัดฟัน และหยุดหายใจชั่วคราว แล้วจึงค่อยชักกระตุกซึ่งกินเวลาเพียงไม่กี่นาที เมื่อหยุดชักจะเกิดอาการเพลีย บาดเจ็บกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ
แต่หากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเฉพาะเพียงส่วนหนึ่งของสมอง อาการชักจะเกิดที่ใบหน้า แขนหรือขา ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการชักกระตุกให้เห็น แต่จะดูเหมือนคนเหม่อลอยหรือหมดสติชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหายชักแล้วจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ ทั้งนี้การชักบางส่วนอาจนำไปสู่การชักทั้งตัวได้ หากความผิดปกตินั้นกระจายไปทั่วสมอง
 
การช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคลมชัก
ข้อแนะนำในกรณีที่พบผู้ป่วยชักคือ ไม่ควรสอดช้อนหรือของแข็งเข้าไปในปากของผู้ป่วย แต่ให้ใช้ผ้านุ่มแทนเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บ และควรให้ผู้ป่วยอยู่ในที่หายใจได้สะดวก โดยปกติอาการชักกินเวลา 3 - 5 นาที แต่ถ้าการชักทั้งตัวเกิดขึ้นนานกว่า 20 นาที หรือ ชักติดต่อกันโดยผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวเต็มที่ ถือว่าอันตรายและควรนำส่งโรงพยาบาลทันที
ถึงแม้ว่าโรคลมชักจะไม่ทำให้สมองเสียหาย แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ได้ การรักษาทำได้หลายวิธี และได้้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมีโอกาสหายได้ด้วยการใช้ยา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่่ตอบสนองต่อยา แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดโดยพิจารณาถึงความถี่และความรุนแรงของ การชัก รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อสมองและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
 
ข้อมูล:
  1. www.ninds.nih.gov/disorders/brain_basics/know_your_brain.htm
  2. pni.go.th/pnigoth/?page_id=527
  3. www.alz.org/alzheimers_disease_what_is_alzheimers.asp#
  4. en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer's_disease#cite_note-Brookmeyer2007-2
  5. www.intelihealth.com/IH/ihtIH/WS/32193/35421.html   และ      https://www.connecttoresearch.org/publications/4
  6. www.connecttoresearch.org/publications/10
  7. en.wikipedia.org/wiki/Epilepsy#Seizure_types
  8. www.thaiepilepsy.org/

ฝึกสมองให้แข็งแรง คุณก็ทำได้

  • หมั่นออกกำลังสมองด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น เรียนดนตรี เล่นเกมลับสมอง•ออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด
  • รับประทานอาหารบำรุงสมอง โดยเฉพาะอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 วิตามินเอ ซี อี เซเลเนียม และผลิตภัณฑ์จากใบแปะก๊วย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ข้องแวะยาเสพติด
  • หมั่นตรวจความดันโลหิต เบาหวาน อัตราการเต้นของหัวใจ และคอเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ปกป้องสมองด้วยการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อนั่งมอเตอร์ไซค์
  • และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนศีรษะ

           Link    https://www.bumrungrad.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับสมองมีอะไรบ้าง

โรคไข้สมองอักเสบ

 
 

1. โรคไข้สมองอักเสบมีอาการอย่างไร
ตอบ โรคไข้สมองอักเสบจัดเป็นโรคติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เนื้อสมองอักเสบก็มีมากมาย อาทิ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย แต่วันนี้เราจะพูดถึงการอักเสบของเนื้อสมองจากเชื้อไวรัสที่เกิดจากยุงกัด

2. สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง
ตอบ เนื้อสมองอักเสบอาจเกิดขึ้นจากเชื้อหลายชนิด เชื้อไวรัสเองก็มีหลายตัว เช่น พิษสุนัขบ้า คางทูม ความผิดปกติของทางเดินอาหาร เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิดเนื้อสมองอักเสบได้ แต่ไข้สมองอักเสบที่อันตรายร้ายแรงที่อาจจะเสียชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัสแจแปนิส เอ็นเซป โฟโรติน ซึ่งเชื้อเองตามธรรมชาติก็จะอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุกร ยุงจะเป็นพาหะนำมาสู่คน ในตัวสุกรเองถ้าเป็นสัตว์ที่มีอายุ ตัวสัตว์เองก็จะมีภูมิต้านทานพอสมควร เพราะฉะนั้น ถ้ามีไวรัสอยู่ในตัวก็จะโดนควบคุมไม่ให้มีปริมาณมาก ส่วนสุกรที่เป็นลูกสุกร ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี เมื่อโดนยุงกัด แล้วมีเชื้อไวรัส ไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่ยุงและไปสู่คน ในลำดับต่อไป ที่สำคัญ ในตัวมนุษย์เองหลังจากที่โดนยุงกัดมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวมีอาการเจ็บป่วย ปริมาณไวรัสในเลือดน้อยมากไม่สามารถเพาะเชื้อได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อก็จะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เป็นโรคที่ต้องมีพาหะ เชื้อจะต้องมาจากสัตว์

3.ส่วนใหญ่มักจะระบาดในช่วงใดมากที่สุด
ตอบ เนื่องจากเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ จึงมักพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ปริมาณ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่จริงๆแล้วโรคไข้สมองอักเสบสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน


4. ในปัจจุบันพบผู้ป่วยบ่อยมากเพียงใด
ตอบ เนื่องจากผู้ป่วยที่โดนยุงกัดแล้วมีเชื้อไข้สมองอักเสบเข้าไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่า จะป่วยทุกคน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของคนที่ถูกยุงกัด ด้วย คนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการของโรค ก็คือ เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานน้อย ส่วนผู้ที่มีอายุมากขึ้น มักจะเคยเจอเชื้อมาแล้วจากการโดนยุงกัดในอดีตแล้วร่างกายกำจัดเชื้อไปได้ มีภูมิต้านทานเพราะฉะนั้นคนที่มีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยน้อยลง และอาการของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปก็มีความแตกต่างกันตั้งแต่ ได้รับเชื้อแล้วไม่มีอาการเลย จนถึงมีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวแยกยากกว่าการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ จนมีอาการรุนแรง เช่น ซึมลง ไม่รู้สึกตัว หรือ เสียชีวิต เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ป่วยการรายงานจากกระทรวง ถ้าเป็นผู้ป่วยทีมีอาการมาก ประมาณเดือนละ 20-50 ราย ซึ่งจะเห็นว่ามีจำนวนไม่มาก

5. วิธีสังเกตลักษณะอาการเบื้องต้น
ตอบ อาการระยะแรกหลังจากรับเชื้อ สำหรับผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่ค่อยดี อาการแรกที่เจอ ก็มักจะมีไข้ ปวดศีรษะในรายที่ได้รับเชื้อเข้าไปในปริมาณมาก รับเชื้อเข้าไปในเด็กเล็ก โอกาสที่จะมีอาการทางสมองก็มากขึ้น เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ลุกลี้ลุกลน สับสน ถ้ามีอาการอักเสบของเนื้อสมองมากขึ้น การทำงานของสมอง อาจจะมีอาการชักได้ และอาจจะมีอาการซึมลงหรือไม่รู้สติ บางรายอาจจะมีความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่พอ

6. วิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นอย่างไร
ตอบ ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ มีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดศีรษะ มีสติดี แพทย์ก็จะให้การรักษาตามอาการ เนื่องจากไวรัสตัวนี้ ยังไม่มียาที่จะรักษษโดยเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ เพื่อลดอาการเจ็บป่วย อาการทุกข์ทรมานให้คนไข้ แต่ในรายที่มีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะมีภาวะการรู้สติผิดปกติไป ซึ่งอาจจะมีโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายๆกัน และเป็นโรคที่ให้การรักษาแทบทุกวัน เช่นมีอาการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรีย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจกันเพิ่มเติม การเอาตรวจจากคนไข้ คนไข้ที่มีอาการทางสมอง ก็คือ การเจาะเอาน้ำช่วงเยื่อหุ้มสมองมาตรวจ

7. โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ อย่างที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถหายขาดได้ แต่เป็นส่วนน้อย ถ้ามีอาการรุนแรงแล้ว โดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มนี้จะกำจัดได้ด้วยภูมิต้านทานของตัวเอง การรักษาในโรงพยาบาล ถ้าเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ลดอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการมากต้องเข้าห้อง ICU พวกนี้อาจจะต้องใช้เครื่องหายใจ มีการใส่ท่อ/สายยางในตัวผูป่วยหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแทรกซ้อนระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะฉะนั้น การรักษาของแพทย์ก็คือ การประคับประคองให้ผู้ป่วยมีการหายใจที่เพียงพอ เมื่อสมองฟื้นกลับคืนมา หายใจได้เองก็จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก และป้องกัน.โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล การให้ยากันชัก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยชัก เพราะการชักแต่ละครั้งก็จะยิ่งทำให้เซลล์สมองตายเพิ่มขึ้น

8. เนื่องจากโรคนี้มักพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก จะมีผลต่อสมองและการรับรู้ของเด็กด้วยหรือไม่
ตอบ ถ้าในรายที่เป็นมากแล้วมีความพิการหลงเหลือก็จะทำให้ระดับสติปัญญาลดลง เช่น ระดับ IQ อาจจะลดลง เพราะฉะนั้น ถ้าป้องกันไม่ให้เป็นได้จะดีที่สุด

9. วิธีการป้องกันควรทำอย่างไร
ตอบ เนื่องจากเป็นโรคติดต่อสู่คน โดยมีพาหะ คือยุง ถ้าไม่โดนยุงกัดก็จะไม่เป็นโรคนี้ เพราะฉะนั้น ต้องตัดวงจรไม่ให้เชื้อมาสู่ตัวเราได้ ก็คือ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้มากที่สุด เช่น อย่าให้มีน้ำท่วมขัง ป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในที่ที่เรานอน เพราะยุงมักจะกัดในเวลากลางคืน ก็ควรนอนในที่มีมุ้งกาง มีมุ้งลวด นอกจากนั้นก็อาจจะมีสเปรย์ฉีดฆ่ายุง ก็จะเป็นวิธีป้องกันพาหะไม่ให้น้ำเชื้อเข้ามาสู่ตัวเรา ส่วนการป้องกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ การเพิ่มภูมิต้านทานในตัวเราเอง อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคไข้สมองอักเสบก็คือในเด็ก เล็ก ซึ่งในปัจจุบันถึงแม้อาจจะไม่มียารักษาโรค แต่เราก็มีวัคซีนที่จะฉีดป้องกัน ซึ่งวัคซีนปัจจุบันจะต้องฉีด 3 เข็ม ปัจจุบันจะมีอยู่ในตารางหรือสมุดการฉีดวัคซีนของเด็ก

10. ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ
ตอบ ถึงแม้โรคไข้สมองอักเสบ จะไม่มียาที่จะใช้รักษาในปัจจุบัน แต่เป็นโรคที่ป้องกันได้ วิธีป้องกัน คือ
1. พยายามทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
2. นอนในสถานที่มิดชิดป้องกันยุงกัด
3. ในเด็กเล็กก็ควรจะต้องฉีดวัคซีนตามกำหนด

  

 

โรคสมองเสื่อม | โรคอัลไซเมอร์

ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่จะรู้จักมากน้อยแค่ไหน สงสัยว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้สักหน่อยดีไหม

อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด  ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี

แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษา ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยโดยการศึกษาโรคนี้และช่วยผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

สาเหตุของโรค 

  1. จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ

  2. การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง

  3. กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2)

อาการเด่นของโรคอัลไซเมอร์ ก็คือ ความจำเสื่อมหรือ หลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา  หรือใครมาพบวันนี้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา คือจะคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ เพราะอาการดังกล่าว

การดำเนินโรค

อาการจะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปี แต่บางรายเป็นเร็วกว่านั้นอาจจะเริ่มตอนอายุ 40 ปีอาการเริ่มเป็นใหม่ๆจะมีอาการขี้ลืม และสูญเสียสมาธิ ซึ่งอาการแรกๆอาจจะวินิจฉัยยากเพราะอาการนี้ก็เป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วน ใหญ่ การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไป เป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม งดงานอดิเรกที่เคยทำ เช่น เก็บกวาดต้นไม้ หรือดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนหนึ่งเพราะดูและอ่านไม่ค่อยเข้าใจ คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก เมื่อเวลาผ่านไปอีก 2-3 ปี อาการยิ่งทรุดหนัก ความจำเลวลงมาก จำญาติไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยยอมเดิน หรือเดินก็เหมือนก้าวขาไม่ออก ลังเล ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่นอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารไม่ได้ พูดน้อยลง ไม่เป็นประโยค ที่สุดก็ไม่พูดเลย กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวม หรือแผลกดทับ

โรค Alzheimer สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะได้แก่

  1. ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ

  2. ระยะที่สองผู้ป่วยจะสูญเสียความจำโดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆโดยอาจจะจำเรื่องราวในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์จะผันผวน

  3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วันรู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง

อันที่จริงโรคนี้มีมานานแล้วโดย Dr. Alois Alzheimer เป็นแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้บรรยายไว้ตั้งแต่ปี คศ.1906 ที่นำมากล่าวขานกันระยะหลังนี้มากขึ้น ด้วยเหตุมีผู้ที่เคยเป็นผู้นำประเทศอย่าง Ronald Reagan ป่วยเป็นโรคนี้ และ วงการแพทย์ค้นพบปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถผลิตยาที่ช่วยทำให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงคือ 

  1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้

  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น

  3.  เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์

ยากับโรคอัลไซเมอร์

การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เริ่มมีความสำคัญ ในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนมี โอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้

ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดอุบัติการณ์ของโรค เนื่องจากพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ยาหรือสารต้านอ๊อกซิแดนท์ต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย (gingo bibloa) ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะช่วยหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปริมาณเซลล์สมองลดลง และสารสื่อประสาท อะเซติลโคลีนลดลงด้วย สารสื่อประสาทนี้เป็นตัวเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ควบคุมด้านความจำ ความคิดอ่านและพฤติกรรมต่างๆ เมื่อสารอะเซติลโคลีนลดลง จึงทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมียาที่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง โดยออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสที่ย่อยสลายอะเซติลโคลีน ยานี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการดีขึ้นได้ และชลอการทรุดลงของโรคถ้าได้ใช้ในระยะเริ่มแรก แต่จะไม่ทำให้โรคหายขาด

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจ ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด เช่น ถ้าคุยอะไรแล้วผู้ป่วยนึกไม่ค่อยออกหรือจำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเรื่อง เอาเรื่องที่คุยแล้วมีความสุข ผู้ป่วยไม่สามารถคิดเลขได้ ไม่สามารถเล่นดนตรีแต่สามารถร้องเพลงพร้อมกับวิทยุ เล่นหมากรุกไม่ได้ แต่สามารถเล่นเทนนีสได้ หรือถ้ามีความคิดอะไรผิดๆ ไม่ควรเถียงตรงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องอธิบายมาก เนื่องจากจะทำให้หงุดหงิด และหมดความมั่นใจ

ควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ สดใส ใช้สีสว่างๆ ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจใช้การพาดเสื้อผ้า ไว้ที่ลูกบิดประตูเพื่อไม่ให้เห็นลูกบิด ต้องเก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาวล์เตาแก๊สไว้เสมอ เป็นต้น

ในรายที่มีอาการที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าวมาก เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือ เดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดอาการดังกล่าว

การดูแลผู้ป่วยตามระยะของโรค

ผู้ป่วยในระยะแรก 

  • บอกการวินิจฉัยให้แก่ผู้ป่วยเพื่อที่แพทย์จะสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ ผู้ที่ดูแล และผู้ป่วยจะต้องมาปรึกษาว่าจะเกิดภาวะอะไรกับผู้ป่วย เช่นความจำ อารมณ์เป็นต้น

  • อารมณ์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว อาจจะกร้าวและโกรธจัด พฤติกรรมนี้เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง และเกิดจากที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้และไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัว และไม่สามารถใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสมจึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่แปรปรวน ผู้ให้การดูแลต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบง่าย ให้เงียบ เวลาพูดกับผู้ป่วยต้องช้าๆ และให้ชัดเจน ไม่ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยมากไปเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง เช่นให้ผู้ป่วยเลือกเสื้อผ้าเอง ผู้ป่วยไม่สามารถเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโกรธ เมื่อผู้ป่วยโกรธ หรือตะโกนอาจจะหาของว่างให้รับประทาน หรือขับรถให้ผู้ป่วยเที่ยวซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสงบ ผู้ให้การบริการจะต้องมีอารมณ์ทีสงบ อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว

  • ความสะอาด ผู้ป่วยมักจะไม่อยากอาบน้ำ ผู้ป่วยอาจจะเลือกเสื้อผ้าไม่เหมาะสมผู้ดูแลอย่าโกรธ ต้องแสดงความเห็นใจ

  • การขับรถ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ห้ามขับรถ ต้องป้องกันผู้ป่วยออกนอกบ้านโดยการ lock ประตูและอาจจะติดสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่นเดินครั้งละ 30 นาทีวันละ 3 ครั้งจะทำให้ผู้ป่วยเพลียและหลับง่าย

  • การนอนหลับ มีคำแนะนำให้เปิดไฟให้สว่างในเวลากลางวัน จะทำให้ผู้ป่วยหลับในเวลากลางคืน

  • โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

    "ตาพร่ามัว ปวดศรีษะ แขนขาอ่อนแรง" คนกรุงน่าห่วง ทำงานเร่งรีบ เครียด บริโภคอาหารฟาสต์ฟูด อ้วน ขาดการออกกำลังกาย เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ส่วนใหญ่มักมีอาการเฉียบพลันหากถึงมือแพทย์ช้าอาจเป็นอัมพฤษ์อัมพาตตลอด ชีวิต

    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือ Stroke เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ อาการเบื้องต้นที่พบบ่อย เช่น ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งซีก อ่อนแรงและหน้าเบี้ยว หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย พูดลำบาก หรือฟังไม่เข้าใจ เวียนศีรษะ การทรงตัวไม่ดี เดินเซ กลืนลำบาก ปวดศีรษะ (บางครั้งจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง) ซึ่งอาจจะแสดงอาการออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างพร้อมกัน

    ส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังสร้างสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาและวินิจฉัยโดยด่วน ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาและสามารถกลับคืนมาเป็นปกติใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า TIA (Transient Ischemic Attack) หรือ Mini stroke

    สาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เกิดจากการมีไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดด้านในหลอดเลือดสมอง  หรือมีลิ่มเลือดขนาดเล็กที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ  หลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ  หัวใจโต  ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ผนังหัวใจรั่ว หรือเกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านในทำให้เส้นเลือดอุดตัน  รวมถึงการแข็งตัวของเลือดที่เร็วเกินไป หรือเกร็ดเลือดมากเกินไป ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้

    ผู้ที่เข้าข่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  โรคอ้วน โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำให้มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดเส้นเลือดสมอง  ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ  ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เร็วกว่าปกติ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก ละเลยการออกกำลังกาย นอกจากนี้ฮอร์โมนบางอย่างโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงจะทำให้หลอดเลือดดำในสมอง อักเสบได้

    การป้องกันที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    • งดสูบบุหรี่
    • ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
    • ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    การจะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธี อาทิ การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

    ข้อมูลศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี www.vejthani.com

    ข้อมูล : ไทยรัฐ

  •  

    โรคสมองขาดเลือด (STROKE) เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสาม รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นโรคที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ เส้นเลือดที่ตีบเกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเลือด มาสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าเป็นมาก ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง และเกิดความเสียหายต่อเซลสมองบริเวณนั้นๆ

    โรคสมองขาดเลือดอาจแบ่งเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ ซึ่งมีความรุนแรง และวิธีการรักษาที่ต่างกัน ดังนี้

    1. หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) พบมากในคนสูงอายุ เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อมทำให้มีโอกาส ตีบตันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,  ภาวะไขมันในเลือดสูง, คนที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด หรือคนอ้วนก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีการเสื่อมและตีบของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น คนที่มีญาติพี่น้องเป็นอัมพาตครึ่งซีก ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าปกติสาเหตุนี้พบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ และไม่ค่อยมีอันตรายร้ายแรง
    2. หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) เนื่องจากมีลิ่มเลือดเล็ก ๆ (embolus) ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่นโรคหัวใจรูมาติก, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

    อาการแสดง 

    เนื่องจากสมองมีหลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับบริเวณของสมองที่มีเส้นเลือดตีบ อาการที่พบได้แก่

    • แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก)
    • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก
    • พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา)
    • เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
    • มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง

    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน Stroke


     

    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
     


    ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง (ไทยรัฐ)

    โดย :  ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี
              ไลฟ์สไตล์คนกรุงน่าห่วง ทำงานเร่งรีบ เครียด บริโภคอาหารฟาสต์ฟูด อ้วน ขาดการออกกำลังกาย เสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ส่วนใหญ่มักมีอาการเฉียบพลัน หากถึงมือแพทย์ช้า อาจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ตลอดชีวิต
              โรค หลอดเลือดสมองตีบตัน หรือ Stroke เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ กลายเป็น โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยของ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เช่น ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งซีก อ่อนแรงและหน้าเบี้ยว หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย พูดลำบาก หรือฟังไม่เข้าใจ เวียนศีรษะ การทรงตัวไม่ดี เดินเซ กลืนลำบาก ปวดศีรษะ (บางครั้งจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง) ซึ่งอาจจะแสดงอาการออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างพร้อมกัน ส่วนใหญ่ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน มักเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังสร้างสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาและวินิจฉัยโดยด่วน ถ้าผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้รับการรักษาและสามารถกลับคืนมาเป็นปกติใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า TIA (Transient Ischemic Attack) หรือ Mini stroke
              สาเหตุ สำคัญของ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เกิดจากการมีไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดด้านในหลอดเลือดสมอง หรือมีลิ่มเลือดขนาดเล็กที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ หลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ผนังหัวใจรั่ว หรือเกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน รวมถึงการแข็งตัวของเลือดที่เร็วเกินไป หรือเกล็ดเลือดมากเกินไป ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
     

    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
     
    โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน


              ผู้ ที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้แก่ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำให้มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดเส้นเลือดสมอง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเร็วกว่าปกติ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก ละเลยการออกกำลังกาย นอกจากนี้ฮอร์โมนบางอย่างโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง จะทำให้หลอดเลือดดำในสมองอักเสบได้
    การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

              งดสูบบุหรี่
              ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
              ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
              ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
              ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
              หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
              ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
              หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
              ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    โรคไมเกรน (MIGRAINE) คืออะไร?
    และทำไมจึงเรียกไมเกรน (MIGRAINE)?

           โรคไมเกรน คือ โรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัว ของหลอดเลือดแดงในสมอง มากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย

           โรคไมเกรนนี้ รู้จักกันมานานตั้งแต่สมัย GALEN คือ ราวสองพันปีมาแล้ว คำว่าไมเกรน (Migraine) นี้มาจากคำสองคำคือ HEMI + CRANIUM คำ HEMI แปลว่า ครึ่งซีก ส่วน RANIUM แปลว่า ศีรษะหรือหัว เมื่อคำสองคำมาผสมกันเป็น HEMICRANIUM แต่ยาวเกินไป จึงตัด "HE" ส่วนหน้าออกและ "IUM" ส่วนหลังทิ้ง จึงเหลือ "MICRAN" ในภาษาลาติน

           ภาษาอังกฤษมาแปลงใหม่เป็น MIGRANE ในภาษาไทยมีคำแปลว่า "โรคตะกัง" แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแต่อย่างใด, จึงมักเรียกทับศัพท์กันว่า "โรคไมเกรน (MIGRAINE)"

    ๒.โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน?

           เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อาการปวดหัวหรือปวดศีรษะนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในประชาชนทั่วๆ ไป จนเรียกได้ว่าไม่มีใครที่จะไม่เคยปวดหัวเลย อาการปวดหัวนั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆมากมาย เช่น โรคที่พบบ่อยได้แก่ ตัวร้อนหรือเป็นไข้ เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดฟัน ตาแดง หูอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ตลอดจนโรคที่พบน้อยแต่มีอันตราย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมองและเลือดออกในสมอง เป็นต้น

           ในทางการแพทย์แบ่งอาการปวดศีรษะออกเป็น ๒ ชนิดคือ :

           ๑.ปวดศีรษะชนิดเฉียบพลัน, ซึ่งมักจะมีสาเหตุจากการอักเสบ หรือติดเชื้อในบริเวณโพรงจมูก คอ ปาก หูและตาดังกล่าวแล้ว

           ๒.ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งมักมีสาเหตุใหญ่ๆ เพียง ๒ ชนิดคือ

           ก.โรคไมเกรน

           ข.โรคปวดศีรษะจากความเครียด

           ส่วนภาวะเนื้องอกในสมอง หรือการตกเลือดในสมองนั้น พบได้น้อยมากไม่ถึง ๐.๐๑ % ของผู้ที่มีอาการปวดหัวทั้งหมด ดังนั้น ถ้าใครปวดหัวและกังวลว่าตัวเองจะมีเนื้องอกในสมอง หรือมีเลือดออกในสมองนั้นมีโอกาสเป็นจริงน้อยมาก แต่มักจะปวดศีษะจากความเครียด หรือโรคไมเกรน มากกว่า

           มีคนถามว่า โรคไมเกรน กับ โรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้น อย่างไหนจะพบมากกว่ากัน

    โรคความดันโลหิตสูง

    ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

    เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

    โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มี อาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

     ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

    เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่

    เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

    ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
    ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำอะไร
    ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
    ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertensionl 130-139 85-89 ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
    ความดันโลหิตสูง
    ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140-159 90-99 ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
    ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) >160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน

    สาเหตุของความดันโลหิตสูง

    ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

     

    โรคความเครียด

    ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจาก สาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย

    ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี มันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย

    ชนิดของความเครียด

    1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด
    • เสียง
    • อากาศเย็นหรือร้อน
    • ชุมชนที่คนมากๆ
    • ความกลัว
    • ตกใจ
    • หิวข้าว
    • อันตราย
    1. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
    • ความเครียดที่ทำงาน
    • ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
    • ความเครียดของแม่บ้าน
    • ความเหงา

    ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

    เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดันหรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ

อัพเดทล่าสุด