โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โรคเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ โรคเกี่ยวกับอวัยเพศหญิง
ภาพที่ 1: ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (female reproductive system) อยู่ในอุ้งเชิงกราน หรือช่องท้องส่วนล่าง เส้นสีดำในภาพแสดงกระดูกจากบนลงล่างได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และกระดูกขาท่อนบนตามลำดับ
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงแสดงเป็นภาพเล็ก แต้มสีม่วง ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถชมภาพเคลื่อนไหวจริงได้ที่เว็บไซต์ 'kidshealth.org' > Thank [ kidshealth ]
...
ภาพที่ 2: อวัยวะ สืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก มองในท่าผู้หญิงนอนหงาย งอเข่า (ชันเข่า) เท้าตั้งอยู่บนพื้น หรือขาหยั่งเตียงตรวจ ต่อไปจะแสดงตำแหน่งกายวิภาคจากบนลงล่าง > Thank [ kidshealth ]
- clitoris = คลิทอริส ปุ่มกระสัน เม็ดละมุด เป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึกสัมผัสสูงมาก
- urethra = ท่อปัสสาวะ
- labia majora = แคมนอก หรือขอบอวัยวะเพศส่วนนอก
- labia minora = แคมใน หรือขอบอวัยวะเพศส่วนใน
- vagina = ช่องคลอด
- anus = ทวารหนัก
...
ภาพที่ 3: ช่อง คลอด (vagina) เป็นอวัยวะกลวง แต้มด้วยแถบสีเขียว ช่องคลอดเป็นส่วนที่ต่อลงมาจากมดลูก (uterus) โดยผ่านทางปากมดลูก (cervix) > Thank [ kidshealth ]
ช่องคลอดทำหน้าที่เป็นทางผ่าน เปรียบคล้ายอุโมงค์หรือถ้ำที่มีความยืดหยุ่น-ขยายตัวได้ สำหรับ 2 สถานการณ์ได้แก่
- (1). เวลาร่วมเพศ... อวัยวะเพศชายจะสอดเข้าไปในช่องนี้
- (2). เวลาคลอด... เด็กจะคลอดออกมาทางนี้เช่นกัน
...
ภาพที่ 4: มดลูก (uterus = womb) แต้มด้วยแถบสีเขียว เป็นอวัยวะกลวง ผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ขยายตัวหรือหนาตัวเพื่อรองรับเด็กในครรภ์ รก และถุงน้ำคร่ำระหว่างการตั้งครรภ์ได้ > Thank [ kidshealth ]
...
ภาพที่ 5: ท่อนำไข่ (fallopian tubes) แต้มด้วยแถบสีเขียว เป็นอวัยวะกลวง เป็นท่อคล้ายหลอดดูดน้ำ ผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบ > Thank [ kidshealth ]
ท่อนำไข่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้อสุจิ (sperm) ของผู้ชายวิ่งจากโพรงมดลูกผ่านท่อนำไข่ ไปผสมกับไข่ (ovum) ของผู้หญิงได้ การผสมระหว่างไข่กับอสุจิส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในท่อนำไข่
...
ภาพที่ 6: รังไข่ (ovary = รังไข่ข้างเดียว; ovaries = รังไข่ 2 ข้าง) แต้มด้วยแถบสีเขียว > Thank [ kidshealth ]
รังไข่มี 2 ข้าง (ซ้าย-ขวา) และจะทำหน้าที่สลับกัน เดือนละ 1 ข้าง... ไข่ที่สะสมไว้ในรังไข่จะโตขึ้นเพียงบางฟอง และฟองที่โตที่สุดจะแตก หรือ "ระเบิด" ออกจากผนังรังไข่ และเข้าไปในท่อรังไข่ เพื่อรอการผสมจากอสุจิ (sperm) ต่อไป
...
ภาพที่ 7: อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง > Thank [ kidshealth ]
- vagina = ช่องคลอด
- cervix = ปากมดลูก
- uterus = มดลูก ( = womb)
- fallopian tube = ท่อนำไข่
- ovary = รังไข่ (ovaries = รังไข่ 2 ข้าง)
...
ภาพที่ 8: วงจรประจำเดือน > Thank [ kidshealth ]
วงจรประจำเดือนมีรอบตามพระจันทร์ หรือประมาณ 28 วัน แบ่งเป็นครึ่งแรกกับครึ่งหลังคล้ายๆ ฟุตบอล ครึ่งแรกเป็นช่วงเตรียมการตกไข่ ตรงกลางหรือประมาณวันที่ 14 เป็นช่วงตกไข่ (ไข่ในรังไข่ แสดงไว้ด้วยลูกศร)
...
การเปลี่ยนแปลงในครึ่งแรกของรอบเดือนที่สำคัญ คือ เยื่อบุมดลูกจะหนาตัวขึ้น แสดงไว้ด้วยแถบสีแดง ด้านในโพรงมดลูก
ตัวเลขในภาพแสดงวันที่ของรอบเดือน ความหนาของเยื่อบุมดลูกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของไข่ (ovum) ถ้าได้รับการผสมจากอสุจิ (sperm) ของผู้ชาย
...
ภาพที่ 9: อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง > Thank [ kidshealth ]
ช่วงใกล้กลางรอบเดือน... ไข่บางฟองจะโตขึ้นเรื่อยๆ แต่เกือบทั้งหมดจะมีการตกไข่เพียง 1 ฟอง/เดือน สลับกันระหว่างรังไข่ข้างซ้าย-ขวา
...
ถ้าไม่มีการตกไข่... จะไม่มีการตั้งครรภ์, ถ้ามีการตกไข่มากกว่า 1 ฟอง และได้รับการผสมจากอสุจิ (sperm) ของผู้ชาย อาจเกิดเด็กแฝดขึ้นได้
...
ภาพที่ 10: อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง > Thank [ kidshealth ]
ภาพนี้แสดงการตกไข่ (ovulation) หรือการแตกของไข่ (ovum) ออกจากรังไข่ เข้าไปในท่อรังไข่ (fallopian tube)
...
ภาพที่ 11: อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง > Thank [ kidshealth ]
ท่อรังไข่ (fallopian tubes) มีเซลล์ขน ช่วยพัดโบกไข่ให้เคลื่อนไปสู่โพรงมดลูกทีละน้อยๆ และมีการหดตัวของท่อรังไข่ช่วย
...
ถ้ามีการร่วมเพศกับผู้ชายช่วงนี้พอดี... จะเกิดการผสมระหว่างอสุจิ (sperm) ของผู้ชายกับไข่ (ovum) ของผู้หญิง ทำให้เกิดการตั้งครรภ์
ไข่ที่ผสมแล้วจะเกิดเป็นชีวิตใหม่ และฝังตัวในเยื่อบุมดลูก เพื่อเติบโตไปเป็นเด็ก หรือแท้งออกต่อไป (ไข่ที่ผสมแล้วส่วนใหญ่ ประมาณ 80% จะแท้ง ส่วนน้อย 20% จะโตไปเป็นเด็ก "การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก" จริงๆ)
...
ภาพที่ 12: อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง > Thank [ kidshealth ]
ถ้าไข่ (ovum) ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ (sperm), ไม่มีการตกไข่ หรือการฝังตัวที่ผนังเยื่อบุมดลูกไม่สำเร็จด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง... เยื่อบุมดลูกจะหมดหน้าที่ มีการหดตัวของเส้นเลือด และตกออกมาเป็นประจำเดือน
...................................................................................
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงมีจุดที่สำคัญได้แก่
(1). ท่อนำไข่
- มีโอกาสตีบตันได้ ถ้าติดเชื้อ เช่น หนองในเทียม ฯลฯ ซึ่งมักจะติดจากการสำส่อนทางเพศ ทำให้ท่อนำไข่อักเสบ และตีบตัน;
...
- ถ้าตีบตันอย่างเดียว... อสุจิอาจผสมกับไข่ได้ แต่ไข่มีขนาดใหญ่ ผ่านลงด้านล่างไม่ได้ ทำให้เสี่ยงการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ส่วนใหญ่เกิดในท่อนำไข่) ซึ่งอาจตกเลือดถึงตายได้
- ถ้าตีบตันมาก... อสุจิหรือไข่อาจผ่านไปไม่ได้เลย ทำให้ไม่มีโอกาสผสมพันธุ์ และเป็นหมัน
(2). เยื่อบุมดลูก
- อาจกลายเป็นมะเร็งได้ ซึ่งพบบ่อยหลังหมดประจำเดือน เพราะฉะนั้นถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือน จำเป็นต้องรีบไปตรวจดูว่า เป็นผลจากเยื่อบุมดลูกแบ่งตัวผิดปกติ หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูก เพื่อจะได้รีบรักษา และผลการรักษามักจะดี
(3). ปากมดลูก
- ปากมดลูกเป็นส่วนที่พบมะเร็งมากที่สุดในผู้หญิง (รองลงไปคือ เต้านม)... มะเร็งนี้มีความสัมพันธ์กับไวรัสหูด (human papillomavirus / HPV)
...
- การไม่สำส่อนทางเพศ หรือฉีดวัคซีนมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้
- ทุกวันนี้เทคโนโลยีในการตรวจหามะเร็งปากมดลูก... ตรวจหามะเร็งได้ตั้งแต่ยังไม่เป็น และพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง (เนื้อกลาย) ทำให้โอกาสหายขาดสูงมาก
...
- ผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปี หรือร่วมเพศก่อนอายุ 20 ปี ควรปรึกษาหมอใกล้บ้านว่า ควรตรวจมะเร็งปากมดลูกเมื่อไร และตรวจได้ที่ไหน (เมืองไทยตรวจได้ที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน และโรงพยาบาล)
...
(4). ท่อปัสสาวะ
- ผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย ติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะอักเสบ-กรวยไตอักเสบจากการติดเชื้อได้ง่าย จึงควรดื่มน้ำให้พอ สังเกตได้จากสีปัสสาวะควรจะใส-ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองจางๆ ไม่ใช่เหลืองเข้ม,
...
- ถ้าปัสสาวะน้อยกว่า 2 ชั่วโมง/ครั้งในช่วงกลางวันอาจเป็นผลจากการดื่มน้ำไม่พอ, ถ้าปัสสาวะเกิน 1 ครั้ง/ขั่วโมงอาจเป็นผลจากการดื่มน้ำมากเกินไป
- วิธีป้องกันกระเพาะปัสสาวะ หรือกรวยไตอักเสบที่สำคัญ คือ ดื่มน้ำให้พอ ไม่กลั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกนอกบ้าน หรือเดินทางไกล
Link https://health2u.exteen.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์
- สัมพันธ์สามารถติดต่อโดยที่ไม่รู้ตัว แพทย์บางประเทศจึงแนะนำให้มีการตรวจค้นหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับคนที่สำส่อน
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมาก
- โรคอาจจะลุกลามไปยังมดลูกหรือท่อรังไข่ทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง Pelvic inflammatory disease ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่นการติดเชื้อ human papillomavirus infection (HPV) ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรค
- การมีเพศสัมพันธ์กับชายหรือหญิงบริการใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- การมีคู่นอนมากกว่า 1 คนใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- การมีเพศสัมพันธ์กับคู่คนใหม่ใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- การที่มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 1 ปีที่ผ่านมา
- การที่สามีหรือภรรยามีคู่นอนมากกว่า 1 คนใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- การที่คู่ครองอยู่กันคนละที่
อาการของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ปัสสาวะขัด
- มีผื่น แผลหรือตุ่มน้ำที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก
- มีหนองหรือน้ำหลั่งจากช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ
- มีอาการคันหรือปวดบริเวณทวาร
- มีอาการแดงและปวดบริเวณอวัยวะเพศ
- ปวดท้องหรือปวดช่องเชิงกราน
- ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
- ตกขาวบ่อย
- การรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจะทำให้รักษาหายขาด การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะทำให้ติดโรคเดอส์ง่ายขึ้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
>>>>>>โรคเอดส์<<<<<<<<
เป็นโรคที่เริ่มมีรายงานเมื่อปี 1981 เกิดจากเชื้อ human immunodeficiency virus (HIV), ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อพวกฉวยโอกาสและมะเร็ง
>>>>>การติดเชื้อ clamydia<<<<<<
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุด ทำให้เกิดอาการมีหนองไหลและมีอาการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้รักษาอาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องเชิงกรานเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก
>>>>>การติดเชื้อ HPV<<<<<<<<<<
เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดหูดขึ้น อ่านที่นี่
>>>>>>>>> หูดที่อวัยวะเพศ condloma<<<<<<<<<<<<<<
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ หูดขึ้นได้ทั้งแคมใหญ่ ช่องคลอด และปากมดลูก เชื้อบางชนิดทำให้เกิดมะเร็ง
>>>>>เริมที่อวัยวะเพศ<<<<<
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดเชื้อไวรัส herpes simplex virus ทำให้เกิดอาการปวดแสบบริเวณขา ก้นหรืออวัยวะเพศ และตามด้วยผื่นเป็นตุ่มน้ำใส แผลหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์แต่เชื้อยังอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกลับเป็นใหม่
>>>>>หนองในแท้ <<<<<
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ มีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา
>>>>> หูด<<<<<
เกิดจากเชื้อไวรัส human papillomavirus ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศลักษณะเป็นผื่นนูน ไม่เจ็บ ผื่นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น หากไม่รักษาผื่นจะโตเป็นลักษณะหงอนไก่ Molluscum
>>>>>ซิฟิลิส <<<<<
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ไม่บ่อย การติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็งไม่เจ็บที่อวัยวะเพศ ไม่ไม่รักษาจะกลายเป็นระยะที่สองที่เรียกว่าเข้าข้อหรือออกดอก หากทิ้งไว้นานจะติดเชื้อที่ระบบประสาท และหัวใจ
>>>>>แผลริมอ่อน <<<<<<
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากเชื้อ Haemophilus Ducreyi ลักษณะของโรคจะมีแผลที่อวัยวะเพศ บวมและเจ็บ บางคนมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบหรือที่ชาวบ้านเรียกไข่ดันบวม หากไม่รักษาหนองจะแตกออกจากต่อมน้ำเหลือง
>>>>>ตัวโลน <<<<<
เกิดจากแมลงตัวเล็กที่เรียกว่า pediculosis pubis อาศัยอยู่ที่ขนหัวเหน่า ดูดเลือดคนเราเป็นอาหาร ผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการคันเป็นหลัก เมื่อเกาจะทำให้เจ้าตัวเชื้อแพร่ไปยังบริเวณอื่น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยตาเปล่า จะพบไข่สีขาวเกาะตรงโคนขน ไข่จะมีลักษณะวงรี ส่วนตัวแมลงเมื่อกินเลือดเต็มที่จะออกสีน้ำตาล
หิด ตับอักเสบ หนองในเทียม อุ้งเชิงกรานอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ติดเชื้อtrichomonase ฝีมะม่วง การติดเชื้อราในช่องคลอด
การรักษาตัวโลนสามารถซื้อยาทาได้ตามร้านขายยา แต่คนท้องหรือเด็กควรจะปรึกษาแพทย์
การป้องกัน สมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท คู่นอนควรจะได้รับการดูแลพร้อมกันเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนควนจะนำไปต้มหรือซักแห้ง แล้วรีดด้วยเตารีด ตัวแมลงอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงเมื่อไม่ได้อยู่กับคน ส่วนไข่อยู่ได้นานถึง 6 วัน
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หากยังมีเพศสัมพันธ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
- ไม่เปลี่ยนคู่นอน ให้มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
- ใส่ถุงยางให้ถูกต้องหากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
- อย่ามีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยเพราะจากสถิติหากมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยจะมีโอกาสติดโรคสูง
- ให้ตรวจประจำปีเพื่อหาเชื้อโรคแม้ว่าจะไม่มีอาการ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการแต่งงานใหม่
- เรียนรู้อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- อย่าร่วมเพศขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เกิดโรคติดต่อได้ง่าย
- อย่ามีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
- อย่าสวนล้างช่องคลอดเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
สำหรับผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องปฏิบัติตัวอย่าง
- ให้รักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
- แจ้งให้คู่นอนทราบว่าคุณเป็นโรคเพื่อที่จะป้องกันโรคมิให้แพร่สู่คนอื่น และให้ได้รับการรักษา
- รักษาตามแพทย์สั่ง
- งดร่วมเพศ
อาการของโรคและเชื้อที่เป็นสาเหตุ
อาการ | เชื้อที่เป็นสาเหตุ |
ตกขาวมากผิดปกติ | clamydia herpes gonorrhea PID trichomonase yeast infection Bacterial vaginosis |
หนองไหลจากอวัยวะเพศ | clamydia gonorrhea trichomonase หนองในเทียม |
เลือดออกช่องคลอดผิดปกติ | clamydia gonorrhea PID |
เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ | clamydia herpes gonorrhea PID |
ปัสสาวะขัด | clamydia herpes gonorrhea trichomonase |
ปวดท้องน้อย | clamydia gonorrhea PID |
ปวด บวมอัณฑะ | clamydia gonorrhea |
คันบริเวณอวัยวะเพศ | trichomonase yeast infection Bacterial vaginosis herpes |
แผลบริเวณอวัยวะเพศ | herpes chancroid syphilis |
ก้อนเนื้อบริเวณอวัยวะเพศ | warts |
ตัวเหลืองตาเหลือง | heapatitis B heapatitis C |
โรคเกี่ยวกับอวัยเพศหญิง
บางครั้งอาจพบการติดเชื้อร่วมกันในหลายตำแหน่ง และเรียกรวมๆ กันว่า "อุ้งเชิงกรานอักเสบ" (pelvic inflammatory disease หรือ PID)
ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานเป็นการติด เชื้อบริเวณมดลูก รังไข่ และท่อรังไข่ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อผ่านขึ้นมาทางช่องคลอดและปากมดลูก หรือบางรายเกิดจากการติดเชื้อมาตามกระแสเลือด อาจจะมีแหล่งเชื้อโรคมาจากอวัยวะอื่นๆ เช่น ฟันผุ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ปีกมดลูกอักเสบส่วนใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนึ่ง เชื้อโรคที่พบบ่อยคือ เชื้อหนองใน รองลงมาคือเชื้อคลามัยเดีย ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการตกขาวและปวดท้องน้อย ถ้าอาการไม่มากแพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน แต่ถ้าเป็นมาก มีการติดเชื้อรุนแรง หรือมีอาการปวดรุนแรง จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้รับยาปฏิชีวนะชนิดยาฉีด
สาเหตุ
- โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงที่สำส่อนทางเพศ หรือมีสามีที่สำส่อนทางเพศ
- อาจพบภายหลังการคลอดบุตร แท้งบุตร ขูดมดลูก ใส่ห่วงคุมกำเนิด
- ส่วนหนึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ชอบสวนล้างช่องคลอด
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากเชื้อหนองใน Neisseria gonorrhea และเชื้อคลามัยเดีย Chlamydia trachomatis
- ในรายที่เกิดการติดเชื้อหลังคลอด สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยในช่องคลอด เช่น เชื้อสเตรปโตค็อกคัส, สแตฟฟีโลค็อกคัส หรือเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปในช่องคลอดและมดลูก มักเกิดขึ้นและปรากฎอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
- เกิดจากการทำแท้งที่ไม่สะอาด และมีเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าในมดลูกและปีกมดลูก
การติดเชื้อโดยทั่วไปจะเกิดขึ้น 2 ระยะ
- ระยะแรกเป็นการติดเชื้อที่ช่องคลอดและปากมดลูก
- ระยะที่สอง พบว่ามีการลุกลามเข้าไปในโพรงมดลูกและปีกมดลูก กลไกการเกิดโรดส่วนหนึ่งเป็นการจากไหลย้อนของระดู และการที่ปากมดลูกเปิดขณะที่มีประจำเดือน
อาการของโรค
- ผู้ป่วยมีอาการไข้ สูง หนาวสั่น ปวดท้องน้อย ตกขาวออกเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น อาจมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีประจำเดือนออกมาก และมีกลิ่นเหม็นในรายที่เกิดจากการติดเชื้อหนองใน อาจมีอาการขัดเบา ปัสสาวะปวดแสบขัดร่วมด้วย
- ถ้าเป็นการติดเชื้อหลังคลอด มักเกิดหลังคลอด 24 ชั่วโมง น้ำคาวปลาอาจออกน้อย หรืออาจออกมากและมีกลิ่นเหม็น
- ถ้าเกิดจากการทำแท้ง จะมีอาการแบบแท้งบุตรร่วมด้วย คือ ปวดบิดท้องเป็นพักๆ และมีเลือดออกจากช่องคลอดร่วมด้วย
- อาการปวดท้องน้อยเป็นอาการที่พบบ่อยในสตรี ต้องแยกโรคที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ เช่น อวัยวะระบบทางเดินอาหาร อาจเป็นลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ อวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นการเป็นโรคของกระเพาะปัสสาวะ หรือมีการอักเสบของท่อไต ปวดกล้ามเนื้อหน้าท้อง เส้นเอ็น ผิวหนัง
- การตรวจร่างกาย และ การตรวจภายใน พบว่ามีไข้สูง กดเจ็บมากตรงบริเวณท้องน้อยทั้ง 2 ข้าง มักจะได้กลิ่นของตกขาว เลือดประจำเดือน หรือน้ำคาวปลา ตรวบพบอาการซีด หรือภาวะช็อก
การวินิจฉัย
- จากประวัติอาการเจ็บป่วย ร่วมกับการตรวจร่างกาย และการตรวจภายในอย่างละเอียด การตรวจอัลตร้าซาวน์ ช่วยในการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ โพรงหนองในท่อนำไข่ และช่วยวินิจฉัยแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ถุงน้ำในรังไข่ ovarian torsion เป็นต้น
- รายงานการศึกษาวิจัยพบว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่ตรวจพบจากอัลตร้าซาวน์ ไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจทางหน้าท้องและการตรวจภายใน และร้อยละ 80 พบว่าการตรวจอัลต้าซาวน์ทางช่องคลอดได้ผลที่แม่นยำกว่า
- อาการปวดท้องน้อยอาจร้าวมาจากอวัยวะ อื่นๆ บริเวณใกล้เคียง แต่อาการปวดท้องน้อยอันเกิดจากอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน เกิดขึ้นบ่อยและมีหลายสาเหตุ เช่น พังผืดในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอก หรือเป็นการปวดประจำเดือนหรือภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ที่พบบ่อยคือการ แท้งบุตรหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น
- อาการปวดท้องน้อยอาจต้องแยกจากภาวะฉุก เฉินอื่นๆ เช่น โรคไส้ติ่งอักเสบ ตั้งครรภ์นอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่แตกหรือบิดขั้ว ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัด ภาวะอื่นๆ เหล่านี้บางทีอาการคล้ายคลึงกันมากแพทย์เองก็อาจจะตรวจแยกโรคได้ยากในเบื้อง ต้น การตรวจพิเศษและการเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องสามารถวินิจฉัยได้ในเวลา ต่อมา
การรักษา
- ในรายที่รุนแรง ควรพักรักษาในโรงพยาบาล แพทย์พิจารณาให้การรักษาภาวะติดเชื้อ ดูแลเรื่องสารน้ำและเกลือดแร่ในร่างกาย อาจให้เลือดถ้าถ้าข้อบ่งชี้ และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่ก่อโรค
- ยาปฏิชีวะที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ cephalosporin group, clindamycin, aminoglycosides, fluoroquinolones
- ปัจจุบันนี้ยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพดี สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างกว้างขวาง บางครั้งอาจมีการดื้อยาหรือยาที่ให้ไม่ได้ผล อาจจะเปลี่ยนยากลุ่มใหม่ให้ตรงกับชนิดของเชื้อ โดยได้ผลจากการเพาะเชื้อและทราบชนิดของเชื้อที่เป็นต้นเหตุก่อโรคตัวจริง แต่บางรายเป็นโพรงหนองหรือถุงหนองรังไข่ที่รักษาด้วยยาไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัดเพื่อกำจัดโพรงหนองหรือถุงหนองรังไข่ออก จากร่างกาย
- โรคปีกมดลูกอักเสบมักจะรักษาหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยบางรายที่มีการติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานชนิดเรื้อรังหรือเพราะ ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรืออาจจะเป็นเชื้อที่ก่อโรคในลักษณะเรื้อรังได้ อาจจำเป็นต้องรักษานาน
ภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ คือ พังผืดในอุ้งเชิงกราน ซึ่งพบได้บ่อยหลังการติดเชื้อ และมักพบด้วยกันเสมอกับการติดเชื้อชนิดเรื้อรัง ซึ่งการเป็นพังผืดแม้ว่าภาวะติดเชื้อจะหายไปแล้วแต่ก็อาจจะมีอาการปวดท้อง น้อยเนื่องจากพังผืดได้เป็นระยะๆ เวลาที่มีการรั้งบริเวณมดลูกหรือปีกมดลูก เช่น การเคลื่อนไหวทำงาน การมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่ปวดมากขณะมีประจำเดือน ผู้ป่วยบางรายอาจทรมานถึงกับต้องผ่าตัดเพื่อเลาะพังผืดออก แต่อย่างไรก็สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีกเพราะพังผืดเกิดจากการผ่าตัดภายในช่อง ท้อง หรือภายในอุ้งเชิงกรานได้ด้วย การผ่าตัดรักษาจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นในผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยที่เป็นมากหรือเรื้อรังจำเป็นต้องหาภาวะที่มีความอ่อนแอของร่างกาย หรือภูมิต้านทานต่ำร่วมด้วย เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคเอดส์ วัณโรค เป็นต้น
- เนื่องจากโรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานส่วน ใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นควรมีการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น การตรวจหาการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากคู่สมรสก็มีความจำเป็นเช่น เดียวกัน เพื่อจะได้รับการดูแลรักษาไปในขณะเดียวกันด้วย
- การทำแท้งเถื่อนอาจทำให้มีการติดเชื้อใน อุ้งเชิงกรานได้ สาเหตุจากเครื่องมือการทำแท้งไม่สะอาด และเชื้อที่ก่อโรคจากการทำแท้งด้วยเครื่องมือที่ไม่เหมาะสมอาจพบว่าเป็น เชื้อที่ร้ายแรง ผู้ป่วยเองมักจะมาพบแพทย์ช้า รักษาไม่ทันกาลถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน