โรคเกี่ยวกับปอด โรคเกี่ยวกับการหายใจ โรคเกี่ยวกับ ท่อทางเดินอากาศ


17,710 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับปอด โรคเกี่ยวกับการหายใจ โรคเกี่ยวกับ ท่อทางเดินอากาศ

Coolโรคปอดอักเสบ (Pneumonia)  Cool

 พอเข้าฤดูฝน หลายคนอาจรู้สึกไม่ค่อยสบาย หรืออาจเจ็บป่วยกันมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเชื้อโรคหลายตัวที่มากับฝน โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบไปจนถึงโรคที่เกี่ยวกับปอด

สถานการณ์ทั่วไปจากรายงานของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่เดือนมกราคม – 14 มีนาคม 2552 พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบของประเทศ จำนวน 22,827 ราย อัตราป่วยคิดเป็นร้อยละ 36.21 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 143 ราย

รายงานข้อมูลทางสถิติของโรงพยาบาลพญาไท 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2552 พบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจำนวน 112 ราย และเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 90 ราย ซึ่งเป็นอันดับสูงสุด

โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ปอดบวม หมายถึง การอักเสบของเนื้อปอด      มีหนองขัง บวม จึงทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่ ทำให้การหายใจสะดุด เกิดอาการหายใจหอบ เหนื่อย อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงนับว่าเป็นโรคร้ายเฉียบพลันชนิดหนึ่ง

 สาเหตุของโรค เกิดจาก
 1.เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อ Pneumococcus และที่พบน้อย   แต่ร้ายแรง ได้แก่ Staphylococcus และ Klebsiella
 2.เชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด สุกใส เชื้อไวรัสซาร์ส (SARS virus)
 3.เชื้อไมโคพลาสมา ทำให้เกิดปอดอักเสบชนิดที่เรียกว่า Atypical pneumonia เพราะมักจะไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน
 4.อื่นๆ เช่น สารเคมี, เชื้อ Pneumocystis carinii ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยเอดส์ , เชื้อรา พบน้อย แต่รุนแรง เป็นต้น

 การติดต่อ
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่ กระจายโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าไปในปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น

 อาการและอาการแสดง
อาการของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
 1.กลุ่มที่มีอาการชัดเจน อาการจะปรากฏภายในระยะเวลา 1-2 วัน และอาการจะแย่ลงเร็ว มีอาการไข้ หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเขียว สีเหลืองหรือไอมีเลือดปน เหนื่อยหอบและหายใจลำบาก เจ็บหน้าอกโดยเฉพาะเวลาไอ หรือหายใจเข้า-ออกลึกๆ
 2.กลุ่มที่มีอาการไม่ชัดเจน อาการจะค่อยเป็นอย่างช้าๆ และใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ ก่อนที่จะปรากฏอาการปอดอักเสบอย่างชัดเจน บางคนมีอาการคล้ายไข้หวัด จะมีไข้ต่ำๆ หรือ ไม่มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดตามข้อ อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

อาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้นถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว  เช่น  เบาหวาน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เช่น ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ     ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด  ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ  เป็นต้น

 การวินิจฉัย
สามารถทำโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะเพื่อหาเชื้อที่เป็นต้นเหตุ หรือเจาะเลือดไปเพาะเชื้อ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น

 โรคแทรกซ้อน
โรคนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น ปอดแฟบ, ฝีในปอด,  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, ข้ออักเสบเฉียบพลัน, โลหิตเป็นพิษ ที่สำคัญ คือ ภาวะขาดออกซิเจนและภาวะขาดน้ำ ซึ่งพบในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

 การดูแลรักษา
 1.สำหรับผู้ป่วยเริ่มเป็น ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวลดไข้หรือให้ยาลดไข้และยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการดีขึ้นใน 3 วัน ควรได้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือกลับมีอาการหอบ ควรแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์
 2.ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หากรักษาไม่ทันอาจถึงแก่ชีวิตได้

 การป้องกัน
 1.พักผ่อนให้เพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
 2.รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และอาหารเสริมสุขภาพในปริมาณที่พอเหมาะ
 3.ไม่ควรสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
 4.เด็กเล็กควรดูแลอย่างใกล้ชิดและคอยระวังไม่ให้เด็กสำลัก ควรแยกของเล่นชิ้นเล็กๆ ออกห่างจากมือเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนำเข้าปาก
 5.เมื่อเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด สุกใส ฯลฯ ควรดูแลรักษาเสียแต่เนิ่นๆ หากมีอาการไม่ดีขึ้นให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด

โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง แต่ก็สามารถรักษาให้หาย ขาดได้ ที่สำคัญเมื่อสงสัยว่าป่วยเป็นโรคนี้ ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์อย่างไรก็ตาม หากเราดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะเป็นกำแพงป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ, โรคระบบทางเดินหายใจ ; ข้อน่ารู้
• ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
www.vcharkarn.com
www.thaihealth.com
www.uptodateonline.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคระบบการหายใจ

 โดย นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล

          ระบบการหายใจ  คือ ส่วนของอวัยวะของร่างกายที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจและแลกเปลี่ยนก๊าซ ระบบการหายใจอาจแบ่งได้เป็น
         ก. ทางเดินหายใจส่วนบน  ซึ่งประกอบด้วยจมูกร่วมคอหอย (nasopharynx) คอหอย (pharynx) และกล่องเสียง (larynx)
         ข. ทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งประกอบด้วยหลอดคอ (trachea)  หลอดลม (bronchi) และปอดทั้งสองข้าง
         อาการที่พบบ่อยๆ ในโรคระบบการหายใจ มีดังนี้

ทางเดินหายใจส่วนบนติดต่อทางเดินหายใจส่วนล่าง

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

ไอ
          เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด อาการไอเกิดจากมีการกระตุ้นหรือการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ
ตั้งแต่ส่วนคอหอยจนถึงหลอดลมเล็กๆ อาการไอที่เกิดเนื่องจากการกระตุ้นที่คอหอย เช่น ในภาวะคอหอยอักเสบ มักจะมีลักษณะแห้งๆ และไอติดต่อกัน แต่อาจจะเป็นพักๆ ได้ ถ้ามีเสมหะไปเกาะติดที่คอหอยอาการไอจะมีเสียงดัง ถ้าหากการกระตุ้นหรือการระคายเคืองนั้นอยู่ที่บริเวณกล่องเสียง  เช่น  จากกล่องเสียงอักเสบ อาการไอจะมีลักษณะแห้ง เจ็บ คล้ายเสียงเห่า (barking) แต่ถ้าสายกล่องเสียง (vocal cord)เคลื่อนไหวไม่ได้ เสียงไอจะแหบ ถ้ามีอาการไอติดต่อกันหลายๆ ครั้งจนหายใจเข้าไม่ทัน  เช่น ไอกรน (whooping cough) เมื่อผู้ป่วยไอจนครบชุด จะมีเสียง "วู้บ" เพราะหายใจเข้าเร็วและเต็มที่ ในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ  อาการไอจะมีเสียงหยาบ (harsh) แห้ง เจ็บ และอาจมีเสมหะ ซึ่งมีลักษณะใสหรือขาวข้น  ปนหนองหรือเป็นหนองออกมาก็ได้  ถ้าหากมีการอุดกั้นของหลอดลมและมีอาการไอรุนแรง ผู้ป่วยอาจเป็นลม และมีมือเท้าเขียวคล้ำได้
          ไอเป็นเลือด มีหลายชนิด คือ
          ก. ไอเป็นเลือดสด พบในโรคหลอดลมพองวัณโรค เป็นต้น
          ข. ไอปนเลือด มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจพบได้ในโรคมะเร็งของหลอดลม ฝีในปอด เป็นต้น
          ค. ไอเป็นสายเลือด  มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะ  ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง มะเร็งของหลอดลม เป็นต้น
          ง. ไอมีเสมหะเป็นสีสนิม  เพราะมีเลือดเก่าๆ ปนมาด้วย พบในโรคปอดบวม เป็นต้น

          เจ็บหน้าอก

          มีลักษณะและบริเวณที่รู้สึกเจ็บแตกต่างกันตามสาเหตุดังนี้
          ก. เจ็บหน้าอกเพราะกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่ และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
          ข. เจ็บหน้าอกเพราะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ  และมักเจ็บมากเมื่อเวลาหายใจเข้าลึกๆ  หรือเวลาไอ ทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจตื้นๆ
          ค. เจ็บหน้าอกเพราะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บตลอดเวลา อาจมี ลักษณะในข้อ ข. ร่วมด้วย ถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
          ง. เจ็บหน้าอกเพราะหัวใจ   เช่น   ในภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (coronary artery)  ตีบมักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหรือหลังกระดูกสันอก(retrosternum)   โดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลาออกกำลังกาย  เช่น  เดิน ขึ้นบันได และอาการเจ็บจะหายไปเมื่อพัก อาจมีปวดร้าวไปถึงหัวไหล่ คอและแขน
          จ. เจ็บหน้าอกเพราะหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูก อาจเจ็บตลอดเวลาและเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
          ฉ. เจ็บหน้าอกเพราะประสาท  เช่น โรคของรากประสาทสันหลัง (posterior nerve root) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาทอินเทอร์คอสทัล (intercostal   nerve)   ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครง   และปวดตลอดเวลา พบในโรคงูสวัด (herpes zoster) เป็นต้น
          อาการหายใจลำบาก
          หมายถึงภาวะซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการหายใจ การหายใจลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของการหายใจ    กล่าวคือ อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยหายใจถี่ หรือหายใจช้าก็ได้ นอกจากนี้ คนที่หายใจเร็ว (tachypnoea)  ก็ไม่จำเป็นต้องมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย เช่น การหายใจเร็วจากการออกกำลังกาย  การหายใจเร็วในผู้ป่วยโรคปอดบวมและยูรีเมีย (uraemia) ถ้าอาการหายใจลำบากมีความรุนแรงมากผู้ป่วยอาจต้องนั่ง (orthopnoea) เพราะจะทำให้การหายใจสะดวกขึ้น 
          อาการหายใจลำบากอาจมีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายอย่างดังนี้
          ก. สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หน้าที่ของปอดถูกทำลาย เป็นต้น
          ข. สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ  เช่น  การทำงานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตายหรือลิ้นหัวใจรั่ว     ในผู้ป่วยที่มีอาการซีกซ้ายของหัวใจวายอาการหายใจลำบากอาจเกิดขึ้นในเวลา กลางคืน และเป็นพักๆ เป็นต้น
          ค. สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบ คุมการหายใจไม่ดี เช่น ในโรคไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น
          ผู้ป่วยที่หายใจลำบากอาจมีอาการหอบหืด (wheeze) ร่วมด้วย อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกไม่สะดวก เวลาหายใจอาจมีเสียงดัง "หวีดหวือ"ให้ได้ยินชัดเจนแม้ไม่ใช้เครื่องฟังช่วย  อาการนี้พบได้ในโรคหืด  หลอดลมอักเสบ เป็นต้น

          ภาวะการหายใจวาย

          ภาวะการหายใจวาย  คือ ภาวะซึ่งปอดไม่สามารถจะทำงานให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และมีผลทำให้มีการคั่งค้างของคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการขาดออกซิเจนในเลือด
          มีสาเหตุได้หลายประการ คือ
          ๑. หลอดลมตีบตัน เช่น โรคหืด โรคหลอดลมอักเสบรุนแรง เป็นต้น
          ๒. เนื้อปอดถูกทำลาย เช่น ปอดบวมมากมีสารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดมาก มีอากาศในเยื่อหุ้มปอดมาก เป็นต้น
          ๓. กล้ามเนื้อการหายใจเสียหน้าที่ เช่นโรคไขสันหลังอักเสบ โรคไมแอสทีเนียกราวิส (myasthenia gravis) เป็นต้น
          ๔. ศูนย์การหายใจในเมดัลลาเสียหน้าที่ เช่น เลือดออกในสมอง พิษยา และจากการขาดออกซิเจนโดยสาเหตุต่างๆ เป็นต้น
          การรักษามีหลักสำคัญๆ คือ
          ๑. รักษาสาเหตุ   เช่น  บรรเทาการตีบตันของหลอดลมโดยให้ยาขยายหลอดลม เจาะสารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดออกหากมีปริมาณมาก รักษาปอดบวมโดยยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ เป็นต้น
          ๒. ให้ออกซิเจน
          ๓. รักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะ หัวใจวาย เป็นต้น
          ๔. แนะนำการหายใจให้ถูกวิธี โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้ป่วยถุงลมพอง เป็นต้น

ภาพตัดขวางของปอดและหัวใจ


การรักษาด้วยการให้ออกซิเจน

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
         โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน  คือ ภาวะที่มีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างแรง  และรวดเร็วเนื่องจากเชื้อไวรัส  บัคเตรี หรือสิ่งระคายเคืองอื่นๆ มักเริ่มมีอาการแน่นอกและเจ็บร่วมกับไอแห้งๆในระยะแรกๆของโรค เมื่อการอักเสบลุกลามลงล่างมากขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการหอบหืดและหายใจลำบากเสมหะในระยะแรกๆจะมีสีขาวข้นเหนียว แต่เมื่อมีการติดเชื้อบัคเตรีร่วม  เสมหะจะมีลักษณะปนหนอง นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไป เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เบื่ออาหาร  คลื่นไส้และอาเจียน
          โรคนี้มักหายได้เองภายใน  ๒-๓ วัน แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกวิธีจะช่วยให้หายเร็วขึ้น  ในผู้ป่วยที่มีโรคของปอดหรือหลอดลมอยู่ก่อนแล้ว การที่มีโรคหลอดลมอักเสบซ้ำเติมและไม่ได้รับการรักษา   อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น เช่น เกิดภาวะการหายใจวายและถึงตายได้ เป็นต้น
          โรคแทรกที่อาจเกิดขึ้นได้  คือ โรคปอดบวมปอดแฟบจากการอุดกั้นของหลอดลม โดยเฉพาะในผู้ป่วยซึ่งเป็นเด็กหรือผู้ป่วยสูงอายุไม่แข็งแรงและผู้ป่วยที่มี โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว
          ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ  เช่น  นอนอยู่กับบ้าน  ในระยะแรกๆที่ผู้ป่วยมีอาการไอแห้งๆ อาจให้ยาระงับไอ ถ้าหากอาการไอนั้นทำให้ผู้ป่วยเจ็บแน่นหน้าอกมากหรือรบกวนการนอนหลับของผู้ ป่วยในเวลากลางคืน ในระยะหลังๆ ถ้าผู้ป่วยมีเสมหะเหนียว อาจให้ยาขับเสมหะเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไอเอาเสมหะออกมาง่ายขึ้น  ถ้าเสมหะมีลักษณะเป็นหนอง  ซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อจากบัคเตรี ผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะ การรักษาอย่างอื่นๆ เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้หากผู้ป่วยมีไข้สูง ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อบรรเทาอาการขาดน้ำ ให้อาหารทางหลอดเลือดถ้าจำเป็น และให้ออกซิเจน ถ้ามีอาการเขียวคล้ำ เป็นต้น
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคปอดบวม
          โรคปอดบวม คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเนื้อปอดทำให้มีหนอง โรคนี้มีหลายชนิด  แต่สามารถจำแนกออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่จำแนกตามบริเวณที่เป็นโรค และกลุ่มที่จำแนกตามชนิดของเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรค
         ก. กลุ่มที่จำแนกตามบริเวณที่เป็นโรคปอดบวมได้แก่
              ๑. โลบาร์นิวโมเนีย  (lobar  pneumonia)เป็นปอดบวมที่ปอดกลีบใดกลีบหนึ่ง มักเกิดจากเชื้อนิวโมค็อกไซ (Pneumococci)
              ๒. บรองโคนิวโมเนีย  (bronchopneumonia) เป็นรอบๆหลอดลมส่วนปลายและกระจัดกระจายไปมากกว่ากลีบใดกลีบหนึ่งของปอด
         ข. กลุ่มที่จำแนกตามชนิดของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ได้แก่
              ๑. บัคเตรี เช่น นิวโมค็อกไซ ฟรีดแลนเดอร์บะซิลไล (Friedlander's bacilli) สตาฟิโล- ค็อกไซ (Staphylococci) สเตร็ปโตค็อกไซ (Streptococci)และวัณโรค เป็นต้น
              ๒. ไวรัส เช่น คางทูม ไข้หวัดใหญ่ หัด
              ๓. ริกเก็ตต์เซีย (Rickettsia) เช่น ไทฟัส(typhus) เป็นต้น
              ๔. เชื้อรา  เช่น  ฮิสโทพลาสมา  แคปซูลาทุม(Histoplasma capsulatum) เป็นต้น
         นอกจากนี้ยังมีโรคปอดบวมที่เกิดจากการหายใจเอาสารติดเชื้อเข้าไป (aspirated pneumonia) และปอดบวมจากสารเคมี เช่น ดื่มน้ำมันก๊าด แล้วมักจะสำลักทำให้ปอดบวม
        โรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อบัคเตรีนิวโมค็อกไซ มัก เป็นทั้งกลีบของปอดและมักจะพบได้ทุกอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งพบได้บ่อยในวัย เด็ก และวัยชรา และในฤดูหนาวผู้ป่วยมักมีอาการเริ่มต้นทันทีโดยมีไข้ไข้อาจจะสูงติดต่อกัน ตัวร้อน   หน้าแดง   การหายใจมักเร็วกว่าธรรมดา  ผิวหนังอาจมีลักษณะเขียวคล้ำคลื่นไส้และอาเจียน  อาการไอมักทำให้ผู้ป่วยเจ็บหน้าอก  เสมหะเหนียวและมีสีสนิม
         โรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อบัคเตรีสตาฟิโลค็อกไซ มัก พบในเด็กและอาจเป็นโรคแทรกที่อันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่  อาการโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับปอดบวมชนิดนิวโมค็อกไซ เสมหะมักมีลักษณะเป็นหนองและอาจมีเลือดปน
         โรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อบัคเตรีฟรีดแลนเดอร์พบ ได้น้อย มักจะเป็นชนิดเป็นทั้งกลีบของปอดและมักมีอาการทั่วไปมาก  เสมหะเหนียว เป็นหนอง และมักมีสีเขียวจาง   โรคปอดบวมชนิดนี้จะดำเนินต่อไปเป็นฝีในปอดทำให้มีอัตราตายสูง
          การวินิจฉัยโรคอาศัยจากอาการ  อาการแสดงและการตรวจเสมหะ ทั้งโดยการย้อมสีดูเชื้อโดยตรง และโดยการเพาะเชื้อเพื่อแยกชนิดของจุลินทรีย์  ซึ่งจะช่วยในการเลือกยารักษาโรคได้ด้วย  การเอกซเรย์ทรวงอก จะช่วยบอกบริเวณที่มีปอดบวมและช่วยในการติดตามการดำเนินของโรค
         โรคแทรกที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้
         ๑. หายช้ากว่าธรรมดา ถ้าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้วหายช้ากว่าธรรมดา อาจเป็นเพราะยาปฏิชีวนะที่ให้ไม่ไวต่อเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ มีโรคแทรกอย่างอื่นร่วมด้วย   หรือมีโรคอื่นร่วมด้วย  เช่น  มะเร็งของหลอดลม เป็นต้น
         ๒. มีสารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
         ๓. มีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด
         ๔. มีการอักเสบของถุงหุ้มหัวใจด้านนอกถุงหุ้มหัวใจด้านใน  หัวใจวาย และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
          การรักษาทำได้ดังนี้
             ๑. การรักษาเฉพาะ โดยให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ และให้ในขนาดที่พอเพียง
             ๒. การรักษาทั่วไป  เช่น  การให้ยาลดไข้หากมีไข้สูง ยาแก้ปวดหากมีการเจ็บหน้าอกมาก ให้สารน้ำทางหลอดเลือดหากผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำ และให้ออกซิเจนหากผู้ป่วยมีอาการเขียวคล้ำ เป็นต้น
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคฝีในปอด
          โรคฝีในปอด คือ ภาวะที่มีหนองร่วมกับมีการตายเฉพาะที่เกิดขึ้นภายในเนื้อปอด มีสาเหตุดังนี้
          ๑. จากการหายใจเอาสารติดเชื้อเข้าทางหลอดลม  เช่น  จากสิ่งแปลกปลอมภายนอก   จากการถอนฟัน    และจากการผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsil) เป็นต้น
          ๒. จากการรักษาโรคปอดบวมไม่ดี
          ๓. จากการอุดกั้นของหลอดลม เช่น จากมะเร็งของหลอดลม เป็นต้น
          ๔. จากฝีในตับหรือฝีใต้กะบังลมแตกทะลุขึ้นมาในเนื้อปอด

ภาพเอกซเรย์ลักษณะฝีในปอด

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคอากาศในทรวงอก
          โรคอากาศในทรวงอกหรือโรคนิวโมทอแร็กซ์เกิดเอง (spontaneous  pneumothorax)  คือ ภาวะซึ่งมีอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด  ที่มิได้เกิดจากการถูกแทง หรือจากการใส่อากาศโดยแพทย์ทำ (artificial pneumothorax)
          สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือการแตกของเม็ดตุ่มพอง (vesicle) เล็กๆ ซึ่งอยู่ใต้เยื่อหุ้มปอดด้านที่ติดต่อกับเนื้อปอด  (visceral pleura) ทำให้อากาศในถุงลมถ่ายเทเข้าสู่เยื่อหุ้มปอด 
          การที่มีอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอดทำให้เนื้อปอดแฟบลง อาการของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับปริมาตรของอากาศและความเร็ว (หรือชนิด) ที่อากาศสะสมในโพรงเยื่อหุ้ม ปอด  ถ้ามีอากาศเพียงเล็กน้อยและเป็นชนิดปิด  ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ  หรือมีแต่เพียงเจ็บหน้าอกเล็กน้อยอาการเจ็บหน้าอกถ้ามีมักเกิดทันทีและอาจ เกิดภายหลังการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่มีปริมาตรของอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอดมากและสะสมอย่างรวดเร็ว   มักมีอาการแน่นหน้าอกและหายใจลำบาก  ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยทันท่วงที  อาจถึงแก่ความตายจากการหายใจวายได้
          ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการพักผ่อน  และกินยาระงับปวดหากมีอาการเจ็บหน้าอกมาก  การรักษาอื่นๆ   ขึ้นอยู่กับขนาดของอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอดและอาการของผู้ป่วย    ในผู้ป่วยที่เป็นเท็นชันนิวโมทอแร็กซ์ (tension  pneumothorax)  จำเป็นต้องเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอดทันทีเพื่อให้อากาศออกช่วยบรรเทาอาการ แล้วจึงใส่ท่อยางในโพรงเยื่อหุ้มปอดโดยมีอีกปลายหนึ่งอยู่ใต้น้ำ

Link  www.sanook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคปอดบวม

          โรค ปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen ทำให้ร่างกายขาด oxygen และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุของปอดบวม มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้ดังนี้

  • Bacteria
  • Viruses
  • Mycoplasma
  • เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา 
  • สารเคมี

            เชื้อ ที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายออกมา เวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย เหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม ปกติเชื้อโรคอยู่ในคอ เมื่อร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรค ภาวะต่างๆดังกล่าวได้แก่

1.      ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่นอายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

2.      การอักเสบติดเชื้อไวรัสของระบบการหายใจ

3.      การอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม

4.      การสำลัก น้ำลาย เศษอาหาร หรือสิ่งติดเชื้อในปอด

การติดต่อ ติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการไอ หรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน อาการของโรคปอดบวม

  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน 
  • บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น 
  • หายใจหอบเหนื่อย 
  • อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ 
  • อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

การวินิจฉัย หาก มีประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ และแพทย์สงสัยว่าจะเป็นปอดบวมแพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • ภาพจาก https://www.siamhealth.net/

    เจาะเลือดตรวจ CBC พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  • ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุของปอดบวม
  • นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
  • X-ray ปอด

การรักษา ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และให้การรักษา คือ

  • ให้ oxygen
  • ให้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้น้ำเกลือ

 

 

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

1.      น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) เกิด จากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำ ออก

2.      หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (empyema )ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับน้ำในช่องหุ้มปอดแต่จะมีไข้สูงและหอบเหนื่อย

3.      ปอดแตกและมีลมในช่องปอด (pneumothorax )มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอกและหายใจหอบเหนื่อย

4.      เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ( pericarditis ) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ( meningitis )ปัจจุบันพบน้อย

5.      หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน

การป้องกัน

  • ใช้วัคซีนสามารถป้องกันปอดบวมได้บางเชื้อ เช่น H.influenza,  Pertussisไอกรน,ปอดบวม Pneumococcal
  • ให้หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นปอดบวม
  • หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นหอบหืดให้แยกถ้วย และชาม สมาชิกในครอบครัวให้ล้างมือบ่อยๆ

โรควัณโรค

 

สาเหตุ     
          
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB) ย้อมติดสีแดง ซึ่งจะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการและอาการแสดง
            
ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อ จะไม่มีอาการของโรคเมื่อทดสอบทูเบอร์คิวลินได้ผลบวก (ซึ่งเป็นการแสดงว่าเด็กติดเชื้อวัณโรค) การตรวจ X-rays ของ ปอดก็จะไม่พบผิดปกติในระยะแรก ถ้าเด็กมีสุขภาพและภาวะโภชนาการดี โรคจะยังไม่เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับเชื้อ อาการที่จะพบได้เร็วที่สุดประมาณ 1-6 เดือนหลังติดเชื้อ ที่จะพบได้บ่อย คือ มีต่อมน้ำเหลืองโตที่ขั้วปอด ที่คอ และที่อื่นๆ แล้วจึงพบผิดปกติที่ปอดและอวัยวะอื่นๆ

การวินิจฉัยโรค
            ในผู้ที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรค การวินิจฉัยที่แน่นอนได้จากการเพาะแยกเชื้อ M. tuberculosis จากน้ำล้างกระเพาะ (gastric wash) ใน ตอนเช้า ทั้งนี้เพราะเด็กมักจะกลืนเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคลงในกระเพาะเวลากลางคืน หรือจากเสมหะ จากน้ำในเยื่อหุ้มปอด น้ำไขสันหลัง (ในรายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) เนื่องจากเชื้อวัณโรคเจริญเติบโตช้า ดังนั้นการเพาะเชื้อต้องใช้เวลานานถึง 10 สัปดาห์ ปัจจุบันมีวิธีที่อาจใช้เวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ หรือสั้นกว่านี้ การทดสอบทูเบอร์คิวลิน เป็นวิธี skin test ที่ทำได้ง่ายที่สุดในการตรวจสภาวะของการติดเชื้อวัณโรคในผู้ที่ไม่มีอาการ การทดสอบที่ให้ผลบวกแสดงว่ามีการติดเชื้อ M. tuberculosis โดย ทั่วไปแล้วในเด็กส่วนใหญ่หลังจากได้รับเชื้อแล้ว 3-6 สัปดาห์ จึงจะให้ปฏิกิริยาทูเบอร์คิวลินเป็นบวก บางรายอาจนานถึง 3 เดือนได้ และปฏิกิริยาบวกนี้จะคงอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะได้ยารักษาวัณโรคแล้วก็ตาม

การรักษา
           ปัจจุบัน มียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การ รักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโร

โรคหลอดลมอักเสบ

                เป็น โรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด

                โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ

สาเหตุ

  • สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อะดิโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย
  • ส่วน น้อยที่อาจเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมจนทำให้หลอดลมกิดการอักเสบ ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ป่วยโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน ผู้ที่มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ มีโอกาสเป็นโรคหลอดลมอักเสบมากขึ้น

อาการ

                ผู้ ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการ ไอ และมีเสมหะ อาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลืองหรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้ มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด

                ผู้ ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัด แล้วมีอาการไอ และมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วัน ต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบไว้ด้วย

                โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 20-30 หายภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้เวลาเป็นเดือน จึงจะหายจากโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน

การวินิจฉัยโรค

                การ วินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น บางครั้งแพทย์อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดเชื้ออื่นๆ ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งปอด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน

การ ตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ แพทย์จะพิจารณาในรายที่มีข้อบ่งชี้ และต้องเลือกเก็บเสมหะที่แท้จริง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษบางประการเพื่อช่วยในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ

หมายเหตุ การตรวจภาพรังสีทรวงอก ช่วยวินิจฉัยแยกโรคปอดอักเสบ

 แนวทางการรักษา

  • การ รักษาโรคหลอดลมอักเสบนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เป็นในขณะนั้น เช่น การให้รับประทานยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม หรือ ยาลดไข้ เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
  • ใน กรณีผู้ป่วยเด็ก ไม่นิยมให้ยาแก้ไอ เพราะอาจทำให้เสมหะค้างในหลอดลมจนกลายเป็นโรคอื่นๆ ที่รุนแรงอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ หรือโรคหลอดลมโป่งพองได้
  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างพอเพียง ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลม
  • หากตรวจพบว่าโรคหลอดลมอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ยาใหม่ที่ใช้ได้ผลดีชื่อ Telithromycin ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม ketolides จากการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาน้อยมาก


โรคหอบหืด

             โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผล จากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้

ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้

1.       Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก

2.       Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น

3.       Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก

4.       Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง

 
หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ

 
เมื่อ ร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

ภาพจาก https://www.siamhealth.net/

จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
  • แน่นหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจเสียงดัง

โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ

  • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
  • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
  • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
  • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน

ภาพจาก https://www.panyathai.or.th/

อัพเดทล่าสุด