โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับดวงตา โรคเกี่ยวกับสายตา


7,927 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับดวงตา โรคเกี่ยวกับสายตา

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อหิน


ภาพจากตาปกติ


ภาพจากอาการโรคต้อหิน


 โรคต้อหิน
ต้อหิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตาซึ่งเชื่อมระหว่างดวงตาและสมอง หากความดันภายในตาสูงกว่าระดับที่เส้นประสาทตาสามารถรับได้จะทำให้ขอบเขตใน การมองเห็นค่อยๆ แคบลง และมองไม่เห็นในที่สุดซึ่งเป็นผลให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีอาการ และ ไม่มีอาการ สำหรับต้อหินประเภทมีอาการ ความดันภายในตาจะ สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง หรือการมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต้อหินจะมีอาการเจ็บปวด แต่ต้อหินประเภทที่สองพบได้มากกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าจะมีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินประเภทที่สองนี้ในช่วงแรกจะไม่มีปัญหาในการมองเห็น เลย แต่สามารถตรวจพบได้ในการตรวจสุขภาพตา

     ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหิน

บาง ท่านอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนปกติ เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน ก่อนใช้ยาใดๆ จึงควรอ่านฉลากก่อน เพื่อให้ทราบผลข้างเคียงของการใช้ยา ปัจจัยการเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีสายตาสั้นปานกลางถึงสั้นมาก หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ

      การรักษาโรคต้อหิน

จุด มุ่งหมายของการรักษาโรคต้อหิน คือ การยับยั้งไม่ให้มีอาการมากขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมา แต่สามารถยับยั้งไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้ โดยลดระดับความดันตาให้อยู่ในระดับที่เส้นประสาทตาสามารถทนได้ มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถลดความดันตาได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดความดันตาให้อยู่ในระดับ ที่ต้องการได้ จึงต้องมีการผ่าตัดด้วย
การ ผ่าตัดรักษาโรคต้อหิน มีขั้นตอนซึ่งแตกต่างกันหลายวิธี รวมทั้งการใช้แสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการลดความดันตา อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคต้อหิน คือ การตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติในดวงตาหรือการมองเห็น

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคจอประสาทตาหลุดลอก


โรคจอประสาทตาหลุดลอก

  โรคจอประสาทตาหลุดลอก

โรคจอประสาทตาหลุดลอก เป็นอาการที่รุนแรงและส่งผลต่อการมองเห็น โดยเกิดขึ้นเมื่อจอประสาทตาแยกออกจากเนื้อเยื่อที่ยึดอยู่ภายใต้จอประสาทตา เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้แยกออกจากจอประสาทตา จะทำให้จอประสาทตาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
โรค จอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อมีรอยแยกในเนื้อเยื่อชั้นที่รับความรู้สึกของจอประสาทตา และของเหลวจึงไหลซึมออกมา ส่งผลให้ชั้นเนื้อเยื่อของจอประสาทตาหลุดออกจากกัน สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นมาก และเคยได้รับการผ่าตัดตาหรือเคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอก ผู้ที่มีสายตาสั้นมีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอกได้มากกว่า เนื่องจากผู้ที่มีสายตาสั้นจะมีความยาวของลูกตามากกว่าปกติ ทำให้จอประสาทตาบางและ เปราะกว่าปกติ โรคจอประสาทตาหลุดลอกอีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อเส้นของวุ้นในตาหรือเนื้อเยื่อแผลเป็นทำให้เกิดการดึงรั้งบนจอ ประสาทตา ทำให้เกิดการหลุดลอก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาชนิดนี้ได้

       อาการของโรคจอประสาทตาหลุดลอก
- มองเห็นแสงฟ้าแลบคล้ายไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป
- มีสิ่งบดบังในการมองเห็น
- มองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมามีลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุม
- การมองเห็นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
การ ตรวจพบในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีการรักษาการหลุดลอก และการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ดีที่สุด การทราบถึงคุณภาพของการมองเห็นของท่านเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะหากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น มีสายตาสั้น หรือเป็นโรคเบาหวาน หากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์โดยทันที

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคกระจกตาย้วย


โรคกระจกตาย้วย

 โรคกระจกตาย้วย (Keratoconus)

โรคกระจกตาย้วย เป็นความผิดปกติของดวงตาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างภายในกระจกตา ซึ่งทำให้กระจกตาบาง และมีรูปร่างผิดปกติ โรคกระจกตาย้วยส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ และความสามารถในการมองเห็นลดลง ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในช่วงวัยรุ่น และจะมีอาการรุนแรงที่สุดในช่วงอายุ 20-39 ปี ในบางรายอาจใช้เวลาหลายสิบปีจึงจะมีอาการรุนแรง แต่สำหรับรายอื่นๆ อาจมีอาการรุนแรงถึงระดับและหยุด
โรค กระจกตาย้วยสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี วิธีแรก คือ การใส่คอนแทคเลนส์ชนิด RGP และเมื่อการมองเห็นมีความผิดปกติจนถึงขั้นที่คอนแทคเลนส์ไม่สามารถช่วยให้ การมองเห็นดีขึ้นได้แล้ว อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา การวัดความโค้งและความหนาของกระจกตาทำให้แพทย์สามารถเห็นรูปร่างของกระจกตา และใช้ในการตรวจหาโรคกระจกตาย้วย และระดับอาการของโรคอีกด้วย

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อกระจก

โรคต้อกระจก
ลักษณะของโรคต้อกระจก

อาการต้อกระจก
ภาพจากอาการโรคต้อระจก

โรคต้อกระจก

ต้อกระจก เกิดจากเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ต้อกระจก ทำให้การมองเห็นแย่ลง ผู้ที่มีอาการของต้อกระจกมักจะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนปกติ บางครั้งมองเห็นได้ชัดเจนกว่าในที่มีแสงน้อย เนื่องจากอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่ เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลาง ในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยาย แสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ ต้อกระจกสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกเช่น ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไฟดูด หรือการติดเชื้อเรื้อรังที่ดวงตา และการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ด้วยเช่นกัน

      การรักษาโรคต้อกระจก
ต้อกระจก สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่มียาใดๆ ที่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคต้อกระจกได้ ในการผ่าตัดรักษาต้อกระจก จะมีการเปิดแผลเล็กๆ บริเวณกระจกตา และสอดเครื่องมือผ่านเข้าไปเพื่อสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวด์แล้วดูดออก ถุงหุ้มเลนส์ตามธรรมชาติจะถูกปล่อยทิ้งไว้เพื่อรองรับเลนส์แก้วตาเทียมซึ่งใส่เข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาธรรมชาติ

การผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีที่ได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูง มีโอกาสในการติดเชื้อน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ และผู้ที่ผ่าตัดรักษาต้อกระจกไปแล้ว สามารถมองเห็นได้ดีขึ้นมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทันทีหลังจากตรวจพบ ต้อกระจกสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้หลายปีหากยังไม่มีปัญหาการมองเห็นในชีวิต ประจำวัน

รายละเอียดเพิ่มเติมการรักษาต้อกระจก

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อเนื้อ


โรคต้อเนื้อ


โรคต้อลม

 โรคต้อเนื้อ

หากท่านสังเกตเห็นส่วนเล็กๆ ที่งอกบริเวณส่วนตาขาวซึ่งอยู่ติดกับตาดำ นั่นอาจเป็นอาการของ โรคต้อเนื้อ ซึ่งอาจมีสีเหลืองและมีสีแดงบ้างเล็กน้อย และมีเส้นเลือดอยู่รอบๆ ต้อเนื้อ เป็นโรคตาที่เกิดจาก การระคายเคืองอันเนื่องมาจากรังสีอัลตราไวโอเลท ฝุ่นและลม

โดยทางการแพทย์ หากเนื้องอกอยู่เฉพาะในส่วนที่เป็นตาขาว เรียกว่า “ต้อลม” หากเนื้องอกจากตาขาวลามเข้าไปในตาดำ เรียกว่า “ต้อเนื้อ” เนื้อ งอกดังกล่าวไม่ใช่มะเร็ง และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดกับดวงตา เนื้องอกนี้ทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองกับฝุ่น ลมได้มากขึ้นละทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และ น้ำตาไหลบ้างบางครั้ง การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองได้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการของโรคต้อเนื้อให้หายขาดได้

    การรักษาโรคต้อเนื้อ

การรักษาต้อเนื้อ ต้องทำการผ่าตัดเช่นเดียวกับ ต้อกระจก แต่เนื่องจากส่วนใหญ่ต้อเนื้อไม่เป็นอันตราย จึงสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ โดยใช้ยาหยอดตาหยอดเมื่อมีอาการระคายเคือง อย่างไรก็ตาม บางครั้งต้อเนื้ออาจลามเข้าไปถึงตาดำ และทำให้การมองเห็นพร่ามัวได้ ต้อเนื้ออาจมองเห็นได้ชัดและไม่สามารถใช้เครื่องสำอางปกปิดได้ ในกรณีนี้จึงแนะนำให้ผ่าตัดออก

 ใน ระหว่างการผ่าตัด ต้อเนื้อจะได้รับการผ่าตัดออกจากกระจกตา หรือตาดำ และส่วนฐานของต้อเนื้อจะปล่อยทิ้งไว้ หรือปิดทับด้วยเนื้อเยื่อซึ่งนำมาจากส่วนอื่นๆ ของดวงตา การปิดทับด้วยเนื้อเยื่อนี้ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดต้อเนื้อซ้ำอีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปหลังผ่าตัดจะปิดตาไว้ 2-3 วันหลังจากนั้นคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

         Link      www.lasikthai.com/th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับดวงตา

ตาแดง
โรคตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้ง่าย โดยการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรง เช่น เล่นกับเด็กที่เป็นตาแดง ว่ายน้ำหรืออาบน้ำร่วมกันในโรงเรียนประจำ หรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วยโรคตาแดง เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ยาหยอดตา แว่นตา เป็นต้น
เมื่อสงสัย ว่าจะเป็นโรคตาแดง ควรรีบมารับการตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็ว ใช้ยาหยอดตาตามแพทย์สั่ง และถ้าหลังการรักษาแล้ว ยังมีอาการตามัว เคืองตา น้ำตาไหลมาก แสดงว่าอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น ตาดำอักเสบหรือเป็นแผลให้กลับมาพบแพทย์อีกครั้งหนึ่ง
การป้องกันโรคตาแดงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
    โดยอย่าคลุกคลีหรือใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วยให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่ใกล้ชิดหรือจับต้องผู้ป่วยงดการว่ายน้ำในขณะที่เป็นตาแดงหรือมีโรคตาแดงระบาดควรแยกผู้ป่วยออกจากกลุ่มชน เพื่อหยุดยั้งการระบาดต่อๆไป

ปัญหาเรื่องตา ในผู้ป่วยเบาหวาน

imageเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็น โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่ควบคุมไม่อยู่ จะลุกลามไปที่ตา และจะทำให้เกิดอันตราย ตั้งแต่ตามัว เห็นภาพซ้อน มองภาพแคบลง ไปจนถึงมองไม่เห็นไปเลย อาจ ทำให้สูญเสียการมองเห็นโดยเป็นผลมาจากจอประสาทตาเสื่อม สถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบราวร้อยละ 35-40 ในประเทศไทยพบได้ประมาณร้อยละ 20-25

 


ในปัจจุบันนี้โดยที่การแพทย์เจริญขึ้นมาก ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีชีวิตที่ยืนยาวนานกว่าในสมัยก่อนๆ ทำให้พบว่า มี
การเปลี่ยนแปลงทางตาบ่อยขึ้นมากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นโรคเบาหวาน
มานี้มานาน คนไข้เบาหวานทุกคน ยิ่งเป็นเบาหวานนานเท่าไร โอกาสเกิดก็ยิ่งมากขึ้นพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้เบาหวาน เกิดเบาหวานขึ้นจอรับภาพ แต่ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไป

Diabetic-Retinopathy

โรคตาที่เกิดจากเบาหวาน

กลุ่มโรคตาที่เกิดจากเบาหวาน ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ซึ่งมีความรุนแรงตั้งแต่ทำให้ตามัว จนถึงตาบอประกอบด้วย

  1. Diabetic-Retinopathyเบาหวานขึ้นจอรับภาพ เกิดจากการทำลายของเส้นเลือดที่เลี้ยงจอรับภาพ เบา หวานขึ้นจอรับภาพพบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของตาบอดอันดับหนึ่ง เส้นเลือดที่เลี้ยงจอรับภาพจะบวม และรั่ว ทำให้จอรับภาพบวม และเกิดเส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอรับภาพ ทำให้มีเลือดออกในลูกตา เนื่องจากเส้นเลือดเหล่านี้เปราะและแตกง่ายต้อกระจก เกิดจากเลนส์แก้วตาเปลี่ยนสภาพจากใสเป็นขุ่น โอกาส เกิดต้อกระจกของผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงกว่าตาคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 2 เท่า และต้อกระจกก็เป็นตั้งแต่อายุยังไม่มากด้วย ต้อกระจกเองจะทำให้คนไข้ตามัวมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นโรคที่รักษาได้ผลดีมากด้วยการผ่าตัดต้อหิน เกิดจากความดันตาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำลายขั้วประสาทตา ทำให้ตาบอดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัว ต้อ หินในคนไข้เบาหวาน ก็พบบ่อยกว่าคนที่ไม่เป็นหวาน 2 เท่า และยิ่งเป็นเบาหวานนานขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีอัตราเสียงต่อการเป็นต้อหินสูงขึ้น เช่นเดียวกับ โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพ ต้อหินเป็นโรคที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่งเพราะมักไม่มีอาการเตือน ต้องตรวจจึงจะทราบ แต่รักษาได้ด้วยยาหยอด หรือแสงเลเซอร์ หรือ

  2. ผ่าตัด

Diabetic-Retinopathy

การเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน

  1. เมื่อเส้นเลือดผิดปกติจะทำให้น้ำเหลืองออกมานอกเส้นเลือด และทำให้จอประสาทตาบวม ในระยะแรกอาจจะไม่มีอาการตามัว แต่ถ้าเป็นมากขึ้น และบวมที่จอประสาทตาตรงกลาง ก็จะทำให้การมองเห็นลดลงไป

  2. ใน รายที่เป็นมากขึ้นจะมี เส้นเลือดใหม่งอกบนผิวจอประสาทตา เส้นเลือดใหม่เหล่านี้เปราะ และแตกง่าย อาจแตก และเลือดกระจายเข้าไปในวุ้นน้ำของตาทำให้มองไม่เห็น

  3. เส้น เลือดใหม่เหล่านี้ อาจทำให้เกิดแผลเป็น และดึงจอประสาทตาฉีกขาด และประสาทตาลอก ถ้าไม่รักษาตาจะบอดได้ ในขณะเดียวกันเส้นเลือดอาจงอกไปบนม่านตาทำให้เกิดต้อหินชนิดรุนแรงได้

อาการ

  1. Diabetic-Retinopathyผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะแรกของโรค ระยะแรกที่จอประสาทตาเสื่อมจะ

    ไม่ลุกลามเร็ว แต่จะค่อยๆ เป็น และไม่ค่อยมีอาการจนกว่าตาจะมัวต่อมาพบว่าการมองเห็นอาจปกติ หรือเริ่มมีอาการตามัวเนื่องจากจอประสาทตาบวม

  2. ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการตามัวโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อนใน รายที่เป็นมากขึ้นมี เส้นเลือดผิดปกติงอกมาก อาจจะแตกได้ง่าย จะเห็นเป็นจุดๆ หรือมองไม่เห็นเลยถ้าเลือดออกมามาก ระยะลุกลามของโรค พบว่าจอประสาทตาจะขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นจุดๆ เกิดหลอดเลือดขึ้นใหม่ หลอดเลือดที่เกิดขึ้นใหม่นี้ผนังจะบางและแตกง่าย หลอดเลือดที่แตกแล้วน้ำเหลืองจะออกที่จอประสาทตา และในน้ำวุ้นของลูกตา ทำให้เกิดอาการตามัวและมองไม่เห็น ถ้าเลือดออกมากและน้ำวุ้นที่เลือดอยู่นานก็จะเกิดพังผืด และดึงให้จอประสาทตาหลุดลอกได้ เป็นสาเหตุให้ตาบอดได้ตาบ อด จากเบาหวาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของประสาทตาทำให้มีเลือด น้ำเหลือง น้ำตา มาเกาะที่ประสาทตา ประสาทตาส่วนนั้นไม่สามารถจับภาพได้ เมื่อทิ้งไว้นานๆ ประสาทตาจะเสื่อมและมองไม่เห็น

Diabetic-Retinopathy

การวินิจฉัย

  1. การ ตรวจตาโดยจักษุแพทย์ ซึ่งจะครอบคลุมการตรวจทั้งต้อกระจก ต้อหินและจอรับภาพ ทั้งนี้ การตรวจจอรับภาพที่สมบูรณ์จำเป็น ต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตาช่วยด้วย ซึ่งอาจทำให้ตาคนไข้มัวตลอดทั้งวันนั้นจากฤทธิ์ยาขยายม่านตา เมื่อยาหมดฤทธิ์ตาจะกลับเห็นเหมือนเดิมตรวจ พบจอตาผิดปกติ โรคเบาหวานทำให้เส้นเลือดที่จอตาผิดปกติและไม่แข็งแรง มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ ฉีกขาดและแตกง่าย เป็นสาเหตุของเลือดออกในวุ้นตาและดึงรั้งจอตาให้หลุดลอก ทำให้

  2. ผู้ป่วยตาบอดได้

Diabetic-Retinopathy

การรักษา

  1. ในระยะที่เบาหวานขึ้นจอตาไม่มาก จักษุ แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมโรคเบาหวานให้ดี และนัดมาดูเป็นระยะๆ สำหรับระยะที่มีเบาหวานขึ้นจอตามากจนถึงระดับหนึ่ง จำเป็นต้องฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตาเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของหลอดเลือด และในกรณีที่เข้าสู่ระยะท้ายๆ จักษุแพทย์จะใช้การผ่าตัด

  2. จักษุแพทย์สามารถช่วยไม่ให้คนไข้เบาหวานตาบอดได้ด้วย การใช้แสงเลเซอร์ทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกติในจอรับภาพ ทั้งนี้การใช้แสงเลเซอร์ไม่สามารถช่วยให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับคืนได้ หลักการคือใช้เลเซอร์ฉายลงไปตรงเส้นเลือดงอกใหม่เพื่ออุดเส้นเลือดและฉายลง บนจอรับภาพทั่วไปเพื่อลดการเกิดเส้นเลือดใหม่ เพราะเส้นเลือดที่งอกใหม่มีผนังบางแตกง่าย และลดการเกิดจอประสาทตาลอก

  3. การผ่าตัดน้ำวุ้นตา ในกรณีที่มีเส้นเลือดแตกและเลือดคั่งอยู่ในน้ำวุ้นตา ทำให้มองไม่เห็น ถ้าเลือดไม่
    สามารถดูดซึมเองได้หมด จะต้องผ่าตัดเอาออก เพื่อทำให้มองเห็นดีขึ้นและสามารถฉายเลเซอร์รักษา
    เบาหวานขึ้นตาได้

  4. Diabetic-Retinopathyการรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่มีเลือดออกในวุ้นตา และจอตาหลุดลอก โรคในระยะนี้ แม้จะได้รับการรักษาแล้ว แต่สายตาอาจจะไม่กลับมาดีดังเดิมได้

  5. ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เจริญมากขึ้น มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาในระบบดิจิตอล ใน การตรวจคัดกรองผู้ป่วย แพทย์สามารถถ่ายภาพจอประสาทตาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตาและบันทึก ภาพออกมาได้ทันที ซึ่งช่วยในการเก็บข้อมูลและช่วยในการพิจารณาตัดสินให้การรักษาได้ทันที ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยในการป้องกันมิให้เกิดตาบอดหรือสายตาพิการ

การป้องกัน

  1. ผู้ ที่เป็นเบาหวานมา นานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่าร้อยละ 80 การดูแลตัวเองที่ดีจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระดับปกติออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะตรวจ กับจักษุแพทย์อย่าง น้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจตาอย่างละเอียด จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนหรือสามารถขจัดปัญหาทางตาได้ตั้งแต่เริ่มแรก และถ้าพบว่าเบาหวานขึ้นตาแล้ว ต้องกลับไปตรวจเป็นระยะๆถ้ามีอาการตามัว ควรไปพบจักษุแพทย์ทันที

โรคริดสีดวงตา (trachoma)


trachomaโรคริดสีดวงตา (trachoma) เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบมากในเด็กวัยก่อนเรียนที่ชอบเล่นสกปรกทั้งวัน คำว่าริดสีดวงตา โดยทั่วไปหมายถึง อาการเคืองตา คันตาเรื้อรัง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการแพ้ หรือจากการติดเชื้อก็ได้ ทั้งสองโรคมีสาเหตุอาการ ภาวะแทรกซ้อนและการรักษาต่างกัน

โรคริดสีดวงตามักจะเกิดในภูมิภาคที่มีอากาศร้อน และ เป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้ตาบอดสำหรับคนที่อยู่ในภูมิภาคดังกล่าว ได้แก่ แถบตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ อินเดีย เอเชียใต้ และประเทศจีน ส่วนในประเทศไทยพบมากทางภาคอีสาน ในที่ๆ แห้งแล้ง กันดารมีฝุ่นมาก และมีแมลงหวี่ แมลงวันชุกชุม โรคนี้ในบ้านเราถือเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนตาบอด

สาเหตุของโรค

โรคริดสีดวงตา เกิดจากการติดเชื้อคลามีเดีย ทราโคมาติส (chlamydia trachomatis) ซึ่ง เป็นจุลชีพที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ทำให้เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ไปเข้าตาของอีกคนหนึ่ง เชื้อโรคแพร่ไปยังผู้อื่นได้ โดยผ่านทางผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกัน หรือบางครั้งเกิดจากแมลงหวี่แมลงวันที่มาตอมตานำเชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน หนึ่ง การติดต่อมักจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันนานๆ จึงมักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน

เชื้อนี้จะเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุตาขาวและกระจกตา (ตาดำ) ระยะฟักตัว 5-12 วัน คน เป็นแหล่งเก็บเชื้อ ในผู้ใหญ่ที่เป็นเยื่อบุตาอักเสบ มักติดต่อกันโดยว่ายน้ำในสระร่วมกับผู้ติดเชื้อ การใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกันหรือการสัมผัสโดยตรงด้วยมือ

trachomaเชื้อ คลามัยเดียมีคุณสมบัติคล้ายกับเชื้อริกเกตเซีย โดยเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องเจริญเติบโตภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น เนื่องจากไม่สามารถสังเคราะห์สาร ATP ขึ้นเองได้ ต้องใช้จากเซลล์ที่อาศัยอยู่ เชื้อคลามัยเดียต่างจากริกเกตเซียในเรื่องของการสืบพันธุ์โดยที่มีวงจรชีวิต เฉพาะ ระยะที่อยู่นอกเซลล์จะมีรูปร่างคล้ายสปอร์ขนาดเล็ก เมื่อเข้าสู่เซลล์ที่เหมาะสมจากการถูกจับกิน จึงเปลี่ยนรูปร่างมีขนาดใหญ่ และเป็นระยะแบ่งตัว เชื้อ คลามัยเดียมี 2 เชื้อสาย C. psittaci ทำให้เกิดไข้นกแก้ว (psittacosis) และ C. trachomatis ทำให้เกิดโรคริดสีดวงตา (trachoma) โรคท่อปัสสาวะอักเสบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อหนองใน และกามโรคชนิด LGV

โรค ริดสีดวงตาเกิดจาก เชื้อคลามัยเดียชนิด serovars A, B, Ba และ C ซึ่งแตกต่างกันที่การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนบริเวณผิวนอก พบว่าสายพันธุ์ที่ก่อโรคเกิดการกลายพันธุ์ ทำให้หยุดยั้งการทำงานของยีนที่ควบคุมการสร้างเอ็นซัยม์ tryptophan synthase

อาการ

อาการของโรคริดสีดวงตา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา คันตา น้ำตาไหล ตาแดงเล็กน้อย อาจมีขี้ตา มักเป็นที่ตาทั้งสองข้าง อาการ จะคล้ายกับเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้ออื่นๆ จนบางครั้งแยกกันไม่ออก ระยะนี้ถึงแม้ไม่ได้รักษาบางคนจะหายเองได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพบว่ามีอาการเรื้อรังนาน 1-2 เดือน และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม หรือมีคนในบ้านเป็นโรคนี้อยู่ก่อน ก็อาจให้การรักษาแบบโรคริดสีดวงตาไปเลย ถึงแม้ไม่ได้รักษาในระยะนี้บางคนอาจหายได้เองแต่บางคนอาจเข้าสู่ระยะที่ 2
  2. ระยะที่สอง เป็น ริดสีดวงแน่นอนแล้ว การอักเสบจะลดน้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ ลดลงกว่าระยะแรก ผู้ป่วยจะรู้สึกอาการอักเสบลดน้อยลง แต่ถ้าพลิกเปลือกตาดู จะ พบเยื่อบุตาหนาขึ้น และเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ออกสีเหลืองๆ ที่ด้านในของผนังตาบน นอกจากนี้จะพบว่ามีแผ่นเยื่อบางๆ ออกสีเทาๆ ที่ส่วนบนสุดของตาดำ มีเส้นเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ แผ่นเยื่อสีเทาซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ด้วยนี้เรียกว่า "แพนนัส"
    (pannus)
    ซึ่ง เป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ แตกต่างจากโรคเยื่อบุตาขาวอักเสบจากการแพ้ ซึ่งอาจมีตุ่มเล็กๆ ที่เยื่อบุเปลือกตา แต่จะไม่มีแพนนัสที่ตาดำ ระยะที่สองนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นเดือนๆ หรือปีๆ
  3. trachomaต่อมาจะเข้าสู่ระยะเริ่มแผลเป็น ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตาเล็กน้อยจนเกือบไม่มีอาการเลย ตุ่มเล็กๆ ที่เยื่อบุเปลือกตาบนจะค่อยๆ ยุบหายไป แต่จะมีพังผืดแทนที่กลายเป็นแผลเป็น ส่วน แพนนัสที่ตาดำยังคงปรากฏให้เห็น แผลเป็นเกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวเหี่ยวย่น เซลล์สร้างเมือกตายไปเป็นจำนวนมาก และถูกแทนที่โดยสารคอลลาเจนชนิด type IV และ type V collagen ระยะแผลเป็นนี้อาจกินเวลาเป็นปีๆ เช่นกัน การใช้ยารักษาในระยะนี้ไม่ค่อยได้ผล
  4. ระยะของการหาย ระยะนี้โรคจะหายไปเอง แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่จะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นคือ แผล เป็นที่เปลือกตา ทำให้ขนตาเกเข้าไปตำถูกตาดำ เกิดเป็นแผล ทำให้สายตามืดมัว และแผลเป็นอาจอุดกั้นท่อน้ำตา ทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลาหรืออาจทำให้ต่อมน้ำตาไม่ทำงาน ทำให้ตาแห้ง หรือบางรายถ้ามีเชื้อแบคทีเรีย ซ้ำเติมทำให้ตาดำเป็นแผลมากขึ้น จนในที่สุดทำให้ตาบอดได้

อย่าง ไรก็ตาม โรคนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงทุกคน บางคนเป็นแล้ว อาจหายได้เองในระยะแรกๆ ส่วนคนที่มีภาวะแทรกซ้อน มักจะมีการติดเชื้ออักเสบบ่อยๆ ประกอบกับมีปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ แบคทีเรียซ้ำเติม ขาดอาหาร ขาดวิตามิน เป็นต้น

การวินิจฉัยโรค

สามารถ วินิจฉัยโรคได้จาก ประวัติอาการ และลักษณะทางคลินิก โรคนี้ควรแยกออกจากโรคเยื่อบุตาขาวอักเสบชนิดอื่นๆ ควรสงสัยเป็นริดสีดวงตา เมื่อมีการอักเสบเรื้อรังเป็นเดือนๆ และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม

แนวทางการรักษา

  1. พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะชนิด รับประทาน เช่น เตตราไซคลีน หรืออีริโทรไมซิน และใช้ยาปฏิชีวนะชนิดป้ายตาเตตราไซคลีน วันละ 4 ครั้งติดต่อกันทุกวันไปจนครบ 6 สัปดาห์ ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ เช่น อะซิโทรมัยซิน ใช้ได้ผลดีมาก
  2. ควรไปพบจักษุแพทย์ตั้งแต่ มีอาการเริ่มแรก การรักษาจึงจะได้ผลไม่ลุกลาม การรักษาริดสีดวงตา ตั้งแต่ในระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นระยะที่มีการติดเชื้อรุนแรง การใช้ยาปฏิชีวนะจะสามารถทำลายเชื้อ และป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในระยะที่ 3 และ 4 เป็นระยะที่การติดเชื้อเบาบางลงแล้ว และเปลือกตาเริ่มเป็นแผลเป็น การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะนี้ จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์ คือไม่สามารถลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้
  3. trachomaอาการขนตาเก นอก จากมีสาเหตุจากริดสีดวงตาแล้ว ยังอาจพบในคนสูงอายุ เนื่องจากหนังตาล่างหย่อนยาน ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวมากกว่าปกติ ดึงเอาขอบตาม้วนเข้าใน เรียกว่า อาการเปลือกตาหันเข้าใน (Entropion) ทำให้มีขนตาทิ่มตำถูกตาขาวและตาดำ มีอาการเคืองตา น้ำตาไหล เยื่อบุตาอักเสบ ถ้าปล่อยไว้ อาจทำให้มีแผลที่กระจาตาดำ สายตามืดมัวหรือตาบอดได้ สำหรับการรักษา ถ้ามีขนตาเกเพียงไม่กี่เส้น ก็อาจใช้วิธีถอนขนตา แต่ถ้ามีหลายเส้น แนะนำให้ไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล อาจต้องผ่าตัดแก้ไขเปลือกตาที่เป็นแผลเป็น ในรายที่เป็นแผลเป็นที่กระจกตา อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  4. หากมีผู้ป่วยหลายคนในบ้าน ต้องรักษาพร้อมกันจึงจะได้ผล
  5. สามารถป้องกันได้ โดย ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หมั่นล้างมือล้างหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด กำจัดขยะมูลฝอยในบริเวณบ้านด้วยวิธีเผา หรือฝังเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและเชื้อโรค และไม่ปล่อยให้เด็กเล่นฝุ่นละอองหรือให้แมลงหวี่แมลงวันตอมตา
  6. องค์การอนามัยโลกกำลังดำเนินโครงการกำจัดโรคริดสีดวงตา เรียกว่า Global Alliance for the Elimination of Trachoma by the year 2020 (GET 2020) เน้นหลักสำคัญ 4 ประการ คือ การผ่าตัด การใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม การล้างหน้าให้สะอาด และการดูแลจัดการสภาพแวดล้อม

โรคจอประสาทตาที่พบบ่อย


โรคจอประสาทตา จอประสาทตาเป็นรู จอ ประสาทตาเป็นชั้นบาง ๆ อยู่ในสุดของผนังลูกตาสัมพันธ์กับแสงช่วยในการมองเห็น เมื่อเกิดรูฉีกขาดที่จอประสาทตาชั้นของจอประสาทตาจะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดจอประสาทตาลอกหลุดเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้

อาการที่พบมัก เห็นแสงแว้บแว้บ เห็นใยลอยไปมาเมื่อมองผ่านในที่สว่าง ถ้าเพียงเป็นรูฉีกขาดที่จอประสาทตาก็สามารถรักษาสมานปิดรูได้ด้วยแสงเลเซอร์ ป้องกันจอประสาทตาลอกหลุดได้ ถ้าเกิดรูฉีกขาดที่จอประสาทตาแล้ว มีจอประสาทตาลอกหลุดก็ต้องทำผ่าตัด เพื่อให้จอประสาทตาเข้ามาติดกันเหมือนเดิม

กรณีที่จอประสาทตาลอกหลุดแบบธรรมดา การ ผ่าตัดก็พยายามให้ชั้นจอประสาทตาลอกหลุดกลับมาติดกัน โดยการจี้ความเย็นรอบ ๆ รูฉีกขาด แล้วเอาน้ำที่ซึมอยู่ใต้จอประสาทตาที่ลอกหลุดออกดันชั้นนอกของลูกตาด้วยสาย ซิลิโคน เรียกว่า Cryothreapy, Buckling & encircling

กรณีที่มีพังผืดหรือมีน้ำวุ้นตาขุ่นร่วมกับจอประสาทตาลอกหลุด การรักษาจะผ่าตัดน้ำวุ้นตาด้วยการสมานจอประสาทตาฉีกขาด อาจใช้ความเย็น Cryotherapy หรือใช้ endolaser ร่วมกับวิธี Buckling หรือจะใช้แก็ส C3 F8 หรือ silicone oil tamponade retina ให้ติดกัน

สายตามัวในผู้สูงอายุ


เมื่อ อายุใกล้ 40 เลนส์ตาจะแข็งตัวขึ้นไม่สามารถปรับระยะให้เห็นได้ชัดเจนเหมือนตอนอายุยัง น้อย ลักษณะเช่นนี้ชาว บ้านจะเรียกว่า สายตายาว หมายความว่า หากต้องการอ่านหนังสือให้ชัดต้องถือหนังสือออกไปห่างๆ ความจริงถ้าจะเรียกให้ถูกต้องตามสากลนิยม ควรเรียกว่า สายตาแก่

สายตาแก่

แก้ไข ได้โดยการใส่แว่นอ่านหนังสือ ปรับแว่นให้ชัดในระยะประมาณ 40 ซม. หรือระยะที่อาชีพแต่ละคนตามความเหมาะสมจะทำให้สามารถทำงานหรืออ่านหนังสือ ได้ในระยะใกล้

เส้นเลือดในตา ปริศนาภายใน


เส้นเลือดในตา ปริศนาภายใน ดวงตาของมนุษย์จัดว่ามีวิวัฒนาการในการมองเห็นได้สูงสุด ได้มากกว่าและดีกว่าสัตว์ทุกประเภท ลักษณะคล้ายลูกบอลลูกเล็กๆ สามในสี่ส่วนซ่อนอยู่ในเบ้าตา มีหนังตาคลุมไว้ มีขนตา และขนคิ้ว ช่วยเป็นกำแพงป้องกันฝุ่นละออง สิ่งแปลกปลอมและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนที่เปิดให้เห็น อยู่นอกเบ้าตาเป็นลักษณะโค้ง นูน ใส ประกอบด้วย ม่านตา มีเม็ดสีบรรจุอยู่ ทำให้สีตาของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนสีฟ้า บางคนสีน้ำตาล บางคนสีดำ ขึ้นอยู่กับ เชื้อชาติ และพันธุกรรม ม่านตาสามารถเล็กลงและขยายใหญ่ได้ โดยมีแสงเป็นตัวกระตุ้น แสงจะผ่านเข้าทางรูม่านตาไปยัง เลนส์ตา หรือ แก้วตา ลักษณะของเลนส์ตาเป็นเลนส์นูน ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์กล้องถ่ายรูป สามารถปรับเลนส์นูน ให้แบนลง เพื่อรวมแสงหรือกระจายแสง ผ่านของเหลวในลูกตาไปปรากฏบนจอรับภาพด้านหลังของลูกตา จอรับภาพนี้เรียกว่า "เรตินา" ทำหน้าที่เหมือนฟิล์มกล้องถ่ายรูป บันทึกภาพที่มองเห็นไว้โดยมีเส้นประสาทตา ซึ่งต่อโยงกับสมองที่เกี่ยวกับความจำส่งสัญญาณไปยังสมอง และแปรสัญญาณออกมาเป็นรูปภาพ

(1) โรคของเรตินาที่เกิดจากเบาหวาน

โรค เบาหวานเป็นภัยคุกคามผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะคนไทยซึ่งมีลักษณะการบริโภคที่นิยมอาหารแบบตะวันตก ที่มีพวกเนื้อสัตว์และไขมันสูงมากขึ้น โรคเบาหวานไม่ใช่โรคติดต่อหรือติดเชื้อ แต่เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรคซึ่งร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การที่ร่างกายจะนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยอินซูลินเป็นตัวพาน้ำตาลในเลือดเข้าไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะ ต่างๆ หากขาดฮอร์โมนอินซูลินแล้วจะทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ และทำให้มีน้ำตาลเหลืออยู่มากกว่าปกติ

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวานไม่ใช่โรคๆ เดียว แต่เป็นอาการของโรคร่วมกัน โรคนี้ถ้าเป็นนานๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังด้านในหลอดเลือดแดงหนาขึ้น และเกิดอุดตันทำให้เกิดโรคหัวใจจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน ซึ่งพบ 3-4 เท่าของคนปกติ หรือหลอดเลือดสมองอุดตันเกิดอัมพาต เส้นเลือดในตาบริเวณเรตินาเสียหายเกิดพยาธิสภาพ จนทำให้ตาบอดได้ พบว่า คนเป็นเบาหวานมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนปกติ 25 เท่า และเกิดโรคไตวายสูงกว่าคนปกติ 17 เท่า โรคของเรตินาที่เกิดจากเบาหวานเรียกว่า Diabetic Retinopathy (DR)

ผล ของเบาหวานที่มีต่อตานั้น มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทางตรงมีหลายอย่างที่พบบ่อยมากคือ การเปลี่ยนแปลงที่จอตา เนื่องจากจอตาเป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก เบา หวานจะมีผลทำให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว โป่งพอง ผนังเริ่มเปราะ รั่ว ทำให้สิ่งของบางอย่างในเลือด หรือเลือดออกมาโดยตรงที่จอตา ระบบหมุนเวียนของเลือดไม่ดี อาการขาดออกซิเจนจึงเกิดมีการเสื่อมการตายของจอตาขึ้น ร่างกายจะมีการซ่อมแซมเกิดพังผืด ต่อไปพังผืดตัวนี้ หดตัวรั่วเอาจอตาหลุดลอกออกมา ทำงานไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดทำให้ตาบอด นอกจากนี้โรคเบาหวานยังมีผลต่อตาโดยตรงดังที่กล่าวมาแล้ว และยังมีผลอื่นๆ อีกเช่น ตากุ้งยิง ตาแฉะ สายตาไม่คงที่ ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาอักเสบ ส่วนที่เป็นผลทางอ้อมนั้น เบาหวานจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเส้นประสาทสมองก่อน โดยเฉพาะประสาทส่วนที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณตา เมื่อประสาทสมองเสียไปจากโรคเบาหวานจะมีผลทำให้ หนังตาตก เห็นภาพซ้อน ตาเข

ถ้าจักษุแพทย์ตรวจจอประสาทตาแล้วไม่พบเบาหวานขึ้นตา จะนัดตรวจทุก 1 ปี หรือ 6 เดือน ถ้ามีเบาหวานขึ้นตา ในระยะที่เหมาะสมกับการรักษาด้วยเลเซอร์ ก็จะมีการรักษาด้วยเลเซอร์ เพื่อไม่ให้จอประสาทตาบวมมากขึ้น เส้นเลือดที่งอกใหม่ในจอประสาทตาจะลดน้อยลง เมื่อได้รับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์แล้ว หลังจากรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ พักผ่อนนอนสัก 2 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังมากในวันนั้น ตาข้างที่รักษาไม่จำเป็นต้องปิดตา ม่านตาที่หยอดยาขยายจะเล็กลงเป็นปกติภายใน 4 ชั่วโมง ถ้ามีอาการปวดตา ทานยาแก้ปวดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการปวดหรือบวมหลังทำการรักษาด้วยเลเซอร์ ถ้ามีอาการปวด หรือบวมใช้น้ำเย็นประคบสัก 10 นาที ก็จะรู้สึกสบายขึ้น รับประทานอาหารตามปกติ

เมื่อทำการรักษาด้วย เลเซอร์เสร็จแล้ว แพทย์จะนัดมาตรวจเป็นครั้งคราว การใช้แสงเลเซอร์รักษาอาจทำได้เพิ่มเติมเป็นครั้งคราว แล้วแต่อาการผิดปกติของเส้นเลือดในจอประสาทตาของผู้ป่วย การรักษาจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้ามาในระยะที่เริ่มเป็น การรักษาจะได้ผลดี ถ้าหากเป็นมากแล้ว มีเส้นเลือดงอดมากมาย เลือดออกในน้ำวุ้นตา ตาลอก การรักษาก็ยาก สายตาอาจไม่ดีขึ้น อาจต้องทำการผ่าตัดน้ำวุ้นตา และใช้แสงเลเซอร์ขณะทำการผ่าตัด ผ่าตัดจอประสาทตาลอก อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะทิ้งไว้นานไม่ได้รักษาแต่เริ่มเป็น

ในอนาคตอันใกล้ การรักษาโรคของเรตินาที่เกิดจากเบาหวาน จะพัฒนาไปอีกมาก เรื่องจากความรู้เรื่องกลไกการเกิดโรคดีขึ้นมาก การ ใช้แสงเลเซอร์รักษาด้วยความเข้มต่ำ เรียกว่า Minimum-intensity Photocoagulation ถือว่าเป็นมาตราฐานในประเทศตะวันตก ช่วยป้องกันไม่ให้ตาบอดได้ การใช้แสงเลเซอร์ความเข้มต่ำช่วยป้องกันไม่ให้เนื่อเยื่อรอบๆเกิดความเสีย หายได้มากขึ้น และสามารถใช้พลังแสงเลเวอร์อาร์กอนแทนได้ บางรายงานพบว่า เป็นวิธีที่ทำให้ผลสำเร็จของการรักษาดีขึ้น นอกจากนี้การตรวจวัดระดับของน้ำตาลกลูโคสภายในลูกตา ปัจจุบันสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์ฝังไปกับเลนส์เทียมที่ทำการผ่าตัดต้อกระจก ส่วนของวงจรอิเลคทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ฝังไว้ในเลนส์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถสแกนเพื่อตรวจระดับน้ำตาลได้เป็นอย่างดี ทำให้การควบคุมเบาหวานดีขึ้นมาก

ยา ใหม่ๆ ที่ออกฤทธิ์ระดับโมเลกุล ได้แก่ Ruboxistaurin Mesylate ซึ่งออกฤทธิ์โดยต้านสารจำเพาะชนิดหนึ่ง ช่วยให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงส่วนของเรตินาได้ดีขึ้น ขนาดที่ใช้คือ รับประทานวัน ละ 32 มิลลิกรัม ยาอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในขณะนี้ชื่อ Pegaptanib เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตีนก่อโรคหลายชนิด ในสัตว์ทดลองพบว่าป้องกันโรคของเรตินาจากเบาหวานได้ ขณะนี้ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐให้ใช้รักษาโรคตาบางชนิด แล้วเส้นเลือดในตา

(2) โรคของเรตินาที่เกิดจากความดันโลหิตสูง

อาการแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น เนื่องจากความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม เกิดภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งเกร็ง หลอดเลือดตีบตับ เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญประการหนึ่ง คือภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้าๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบตัน ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่เรตินา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้ ซึ่งสามารถให้เครื่องส่องตรวจตา (ophthalmoscope) ตรวจดูความผิดปกติภายในลูกตา

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นรุนแรงหรือรวดเร็วเพียงใดขึ้นกับความรุนแรงและระยะของโรค ถ้าความดันมีขนาดสูงมากๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้รวดเร็วและผู้ป่วยอาจตายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ถ้ารุนแรงมากอาจตายใน 6-8 เดือน ส่วนในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อย อาจกินเวลา 10-20 ปีกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อน

ตาเหล่

ในภาวะปกติตา ของคนเราทั้ง 2 ข้างจะทำงานร่วมกันให้การมองเห็นดียิ่งขึ้น ทำให้ลานสายตากว้างขึ้น และทำให้เกิดเห็นภาพได้เป็นแบบสามมิติ คือ เห็นทั้งความกว้าง ความยาว และความลึก

การที่ตามทั้ง 2 ข้าง ทำงานร่วมกันได้เพราะอาศัยกล้ามเนื้อตาที่เกาะรอบลูกตา กล้ามเนื้อตามีประสาทสมองมาเลี้ยงเวลากลอกตาไปมา เพื่อจ้องดูสิ่งต่าง ๆ สมองจะเป็นตัวควบคุมให้ตาทั้ง 2 ข้างทำงานพร้อมกัน และประสานกัน ภาวะใดที่มีอัมพาตของประสาทสมองที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตา จะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อตาด้วย

สาเหตุของตาเหล่จากอัมพาตของกล้ามเนื้อตา มีดังนี้

  1. อุบัติเหตุ จากการถูกกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะอย่างรุนแรง อุบัติเหตุชนิดมีของแปลมคมแทงทะลุหนังตาเข้าไปในเบ้าตา อาจะทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อตาโดยตรงได้

  2. โรคของหลอดเลือดโป่งพอง หรือ เนื้องอกภายในกระโหลกศีรษะ และเบ้าตาอาจจะกดประสาทสมองที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตา แล้วทำให้ตาเหล่ได้

  3. อาจเกิดร่วมกับโรคทางอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคของสื่อประสาทผิดปกติ

อาการของตาเหล่จากอัมพาตของกล้ามเนื้อตา

  1. ถ้าเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโต ซึ่งระบบประสาทตาทั้ง 2 ข้างเจริญเต็มที่แล้วมักจะมีอาการเห็นภาพซ้อน

  2. ถ้าเกิดในเด็กเล็กซึ่งระบบประสาทตาทั้ง 2 ข้าง ยังเจริญไม่เต็มที่ผู้ปกครองอาจสังเกตุได้เพียงว่าเด็กมีตาเหล่เท่านั้น

การรักษา

อาศัย ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจหน้าที่ของกล้ามเนื้อตา เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ถ้าพบสาเหตุก็จะให้การรักษาสาเหตุเลยทันที แต่ถ้าไม่พบสาเหตุที่แน่นอนจักษุแพทย์มักจะให้ผู้ป่วยปิดตาเสีย 1 ข้าง เพื่อป้องกันมิให้เห็นภาพซ้อน ร่วมกับการรักษาทางยาไปประมาณ 6 เดือน การรักษาดังกล่าวผู้ป่วยบางรายจะมีอาการทุเลาขึ้น และไม่มีอาการตาเหล่อีก ถ้าครบ 6 เดือน ผู้ป่วยยังมีอาการตาเหล่ และเห็นภาพซ้อนอยู่แพทย์อาจทำการผ่าตัดทำให้ตาตรงได้

 

คนสายตาสั้นจะเป็นสายตาแก่ได้หรือไม่

คน สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงทุกคน แม้แต่คนสายตาปกติเมื่ออายุใกล้ 40 ก็จะเป็นสายตาแก่กันทุกคน เป็นธรรมชาติที่เลนส์ตาจะเสื่อม การหดยืดตัวของเลนส์ตาไม่สามารถทำได้รวดเร็วเหมือนเมื่อครั้งเยาว์วัย การปรับสายตาในระยะต่างกันต้องใช้เวลา ทำให้รู้สึกตามัวเมื่อมองสิ่งของที่อยู่ห่างกันในระยะต่างๆ

การคำนวณแว่นสายตาแก่ จึงต้องวัดสายตาในระยะไกลก่อน แล้วจึงบวกลบกันมาทำแว่นระยะใกล้ โดยคำนึงถึงอายุของคนใส่แว่นเป็นหลัก ฉะนั้นการวัดแว่นอ่านหนังสือหรือแว่นสายตาแก่จะต้องทำทุกปี เพราะมักจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ การ ใช้สายตาอย่างไม่ถูกต้องจะทำให้สายตาแก่เร็ว เช่น การอ่านหนังสือในที่มืด การทำงานละเอียดเล็กๆ เช่น การเย็บปักถักร้อย การเพ่งสายตาดูอะไรเล็กๆ ฯลฯ

แว่นอ่านหนังสือ

  • แว่นเต็ม : เวลามองใกล้หรืออ่านหนังสือสะดวก ลานสายตากว้าง แต่เวลาเงยหน้ามองไกลจะไม่ชัด จะต้องถอดแว่นออกเมื่อมองไกล
  • แว่นครึ่ง : สามารถมองไกลได้ไม่มีแว่นบัง แต่เวลาดูใกล้ลานสายตาจะแคบ
  • แว่นตาสองชั้น : ส่วน บนจะใช้มองไกล ส่วนล่างใช้อ่านหนังสือ ไม่ต้องถอดแว่นตาเข้าออก เหมือนทำแว่นดูไกลอัน แว่นอ่านหนังสืออัน แต่มีปัญหาการปรับสายตาระยะกลาง
  • แว่นตาสามชั้น : ใช้ดูไกล ดูระยะใกล้ แต่การปรับสายตาจะยากกว่าการใช้แว่นสองชั้น แต่จะสะดวกขึ้นกับการดูระยะกลางได้ชัดขึ้น
  • แว่นดูไกลดูใกล้เส้นแบ่ง เรียก ว่า Progressive Lens ส่วนบนจะใช้ดูระยะไกล ระยะจะค่อยๆ สั้นลงมา ด้านล่างจะใช้ดูใกล้เพื่ออ่านหนังสือ จุดชัดจะอยู่ในแนวตรงกลาง และจะแคบในระยะแรกที่ใช้แว่นแบบนี้ จะปรับได้ลำบากเพราะเหมือนมีคลื่น ภาพโค้งเป็นคลื่นเมื่อเปลื่ยนมองระยะต่างๆ แต่เมื่อชินแล้วจะสามารถใช้ได้ดี คนที่มีสายตาายาว จะปรับสายตาเข้ากับแว่นแบบนี้ได้เร็วกว่าคนสายตาสั้น

การ ไม่มีเส้นบนบนเลนส์แว่นตา ทำให้ดูสวยงามและเพิ่มความมั่นใจให้กับบางท่านที่ชอบสิ่งใหม่ แต่คนที่ปรับตัวยาก การใช้แว่นเต็มจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีเมื่อต้องการใช้แว่นอ่านหนังสือ


โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตา

โรคเกี่ยวกับจอประสาทตา มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น การตรวจจอประสาทตาในปัจจุบัน นิยมใช้กล้องตรวจตาที่เรียกว่า ophthalmoscope และเครื่องมือที่มีกำลังขยายสูง (slit lamp) หรือใช้กล้องถ่ายรูปจอประสาทตาโดยไม่ต้องหยอดยาขยายม่านตา บางครั้งแพทย์จะพิจารณาฉีดสีเพื่อตรวจดูเส้นเลือดและภาวะต่างๆของจอประสาทตา และอาจพิจารณาตรวจวัดลานสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย

 

จอประสาทตา (retina) เป็นชั้นบางๆของเซลล์รับภาพที่อยู่ด้านหลังของดวงตา การที่คนเราจะสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน จำเป็นต้องมีจอประสาทตาที่ปกติ ถ้าหากเปรียบดวงตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์มของกล้อง ซึ่งถ้าฟิล์มเกิดความเสียหาย ภาพที่ถ่ายจากกล้องก็จะมีคุณภาพไม่ดี เช่นเดียวกับผู้ที่มีโรคของจอประสาทตา การมองเห็นก็จะไม่ชัดเจน จุดสำคัญกลางจอประสาทตาคือจุดรับภาพ หรือที่เรียกว่า macula ซึ่งเป็นบริเวณเล็กๆที่สำคัญมากในการมองตรงกลาง บริเวณอื่น ๆ ที่เหลือของจอประสาทตาจะช่วยในการมองภาพด้านข้าง

ดวงตาของมนุษย์จัดว่ามีวิวัฒนาการในการมองเห็นได้สูงสุด ได้มากกว่าและดีกว่าสัตว์ทุกประเภท ลักษณะคล้ายลูกบอลลูกเล็กๆ สามในสี่ส่วนซ่อนอยู่ในเบ้าตา มีหนังตาคลุมไว้ มีขนตาและขนคิ้วช่วยเป็นกำแพงป้องกันฝุ่นละออง สิ่งแปลกปลอมและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนที่เปิดให้เห็นอยู่นอกเบ้าตาเป็นลักษณะโค้ง นูน ใส ประกอบด้วยม่านตาซึ่งมีเม็ดสีบรรจุอยู่ ทำให้สีตาของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนสีฟ้า บางคนสีน้ำตาล บางคนสีดำ ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและพันธุกรรม ม่านตาสามารถเล็กลงและขยายใหญ่ได้โดยมีแสงเป็นตัวกระตุ้น แสงจะผ่านเข้าทางรูม่านตาไปยังเลนส์ตาหรือแก้วตา ลักษณะของเลนส์ตาเป็นเลนส์นูน ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์กล้องถ่ายรูป สามารถปรับเลนส์นูนให้แบนลง เพื่อรวมแสงหรือกระจายแสงผ่านของเหลวในลูกตาไปปรากฏบนจอรับภาพด้านหลังของ ลูกตา จอรับภาพนี้เรียกว่า "เรตินา" ทำหน้าที่เหมือนฟิล์มกล้องถ่ายรูป บันทึกภาพที่มองเห็นไว้โดยมีเส้นประสาทตา ซึ่งต่อโยงกับสมองที่เกี่ยวกับความจำส่งสัญญาณไปยังสมองและแปรสัญญาณออกมา เป็นรูปภาพ

โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตา

โรคเบาหวานเป็นภัยคุกคามผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อคนไทยมีความนิยมบริโภคแบบตะวันตกที่มีพวกเนื้อสัตว์และไขมัน สูงมากขึ้น โรคเบาหวานส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การที่ร่างกายจะนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยอินซูลินเป็นตัวพาน้ำตาลในเลือดเข้าไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะ ต่างๆ หากขาดฮอร์โมนอินซูลินแล้วจะทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ และทำให้มีน้ำตาลเหลืออยู่มากกว่าปกติ โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังด้านในหลอดเลือดแดง ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น และเกิดอุดตันทำให้เกิดโรคหัวใจจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน ซึ่งพบ 3-4 เท่าของคนปกติ หรือหลอดเลือดสมองอุดตันเกิดอัมพาต หากเกิดขึ้นกับเส้นเลือดในตาก็จะทำให้เกิดโรคของจอประสาทตา และทำให้ตาบอด ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนปกติถึง 25 เท่า

การป้องกันที่ดีกว่า

ตัดเลนส์สายตาคุณภาพ

ดูเหมือนตาเหล่

เด็กบางครั้งมองแล้วดูเหมือนตาเหล่ เป็นเพราะช่วงที่เด็กทารกยังเล็กมาก จมูกยังไม่มีดั้ง จมูกจะแบนกว้าง เมื่อทารกโตขึ้นเริ่มมีสันจมูกโด่งขึ้น หนังตาเริ่มเป็นสองชั้นขึ้น ลักษณะการเห็นที่ดูเหมือนตาเหล่ก็จะหายไป แต่คุณพ่อ คุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ถ้าพบว่าตาของลูกเราอาจมีตาเหล่ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้ามีตาเหล่จริงตาข้างนั้นจะไม่ได้ใช้งาน ทำให้สายตาไม่พัฒนาจะเกิดตาขี้เกียจขึ้นได้ ในระยะแรกเกิด 2-3 เดือนแรกของทารก บางครั้งเวลาทารกดูอะไรใกล้ตามจะเหล่เข้าหากันเหมือนปกติ แต่หลังจาก 4 เดือนไปแล้ว ตาควรจะตรงเสมอ ตาที่เหล่ออกด้านข้างไปทางหู เราเรียกว่าตาเหล่ออก ถ้าตาที่เหล่เข้ามาด้านจมูก เราเรียกว่าตาเหล่เข้า

การทดสอบง่าย ๆ

การทดสอบว่าลูกตาเหล่หรือเปล่า โดยการใช้ไฟฉายอันเล็กที่ไฟไม่จ้ามากส่องไปที่ตา ห่างประมาณ 30 เซนติเมตรแล้วสะท้อนบนกระจกตาจะตกลงบนกลางรูม่านตาทั้ง 2 ตา แสดงว่าตาไม่เหล่ ถ้าแสงสะท้อนบนกระจกตาของตาซ้ายตกมาเข้าทางขอบรูม่านตาทางใกล้จมูกจะเรียก ว่าตาเหล่ออก เช่นเดียวกันในทางตรงกันข้าม ถ้าแสงสะท้อนบนกระจกตาของตาซ้ายมาตกลงบนขอบรูม่านตาด้านข้างจะเรียกว่าตา เหล่เข้า

ถ้าลูกของเราตาเหล่ควรคิดถึงอะไรบ้าง

แน่นอนเมื่อพบว่าลูกตาเหล่ ท่านไม่ควรนิ่งนอนใจ มีหลายโรคที่ควรระลึกถึงที่สามารถทำให้ตาเหล่ได้ เช่น ต้อกระจก เนื้องอกในลูกตา กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพฤกษ์ โรคเหล่านี้ล้วนต้องการแก้ไขเร็วที่สุด เมื่อตาเหล่ไปเด็กมักพยายามใช้ตาข้างเดียวเพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน ฉะนั้น ตาข้างเหล่จะพัฒนาเป็นตาขี้เกียจไม่ใช้สายตาได้ และถ้าเนิ่นนานก็จะแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติไม่ได้

ท่อน้ำตาตันในเด็ก


เด็กทารกหลังคลอดท่อน้ำตาที่เปิดลงจมูกอาจตันได้ แต่ควรจะเปิดเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด ถ้า เด็กมีน้ำตาเอ่อที่ตาอยู่ตลอดวันลองเอานิ้วกดเบาๆ ที่หัวตาด้านล่าง แล้วเห็นมีขี้ตาหรือเมือกออกมาจากรูท่อน้ำตา ก็อาจแสดงว่ามีภาวะท่อน้ำตาตัน เด็กมักจะมีขี้ตามากเมื่อได้ยาหยอดปฎิชีวะสาร ถึงหลายสัปดาห์ก็ไม่ดีขึ้นควรพาไปพบจักษุแพทย์

ปกติเด็กจะถูกพามาจากอาการมีขี้ตาน้ำตาไหลตลอดวัน จักษุแพทย์จะให้ยาหยอดตาและแนะนำนวดหัวตาสัก 1 สัปดาห์

เมื่อไม่ดีขึ้น จะนัดล้างท่อตา การรักษาจะได้ผลดีคนไข้จะหายจากท่อน้ำตาตัน 90% ถ้ารักษาก่อนอายุ 4 เดือน หลัง 1 ขวบไปแล้วผลการรักษาจะค่อนข้างยากขึ้น 

ใน เด็กเล็กๆ ทางศูนย์จะทำการรักษา ด้วยการล้างท่อน้ำตา ควรงดนมก่อนมาหาแพทย์สัก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันมิให้สำลักเข้าหลอดลมเวลาเด็กร้อง เด็กเล็กๆ ไม่จำเป็นต้องดมยา ทางศูนย์จะดมยาเมื่อเด็กอายุมากกว่า 1 ปี รักษาแล้วกลับบ้านได้ ไม่ต้องค้างอยู่โรงพยาบาล

ในกรณีที่ไม่หายการผ่าตัดจะพิจารณาทำเมื่อกระดูกเบ้าตาเจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งขึ้นตามอายุเด็กและอาการติดเชื้อที่ท่อน้ำตา

ตาบอดสี


ตาบอดสี ตาบอดสี หรือ ที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไปจากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร


การมองเห็นสีของตามนุษย์

โดยปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่ม แรก เรียกว่า rods เป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือสว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้น แม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลทีทำหน้าที่มองเห็นสีต่างๆ เรียกว่า cones โดยจะแยกได้เป็นเซลอีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสงหรือสีที่กระตุ้น คือ เซลรับแสงสีแดง เซลรับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียว

ตาบอดสี

สำหรับแสงสีอื่นๆ เกิด จากการกระตุ้นเซลดังกล่าวนี้มากกว่าหนึ่งชนิด แล้วให้สมองเราแปลภาพออกมาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วง เกิดจากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดง และเซลรับแสงสีน้ำเงิน ในระดับที่พอๆ กัน การเกิดสีต่าง ๆ ที่มองเห็นเหล่านี้ ก็เช่นเดียวกับหลอดภาพของเครื่องรับโทรทัศน์นั่นเอง ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ

ดังนั้นในที่สลัวๆ เรา จึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้แต่ยังพอบอกรูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานของเซลในกลุ่มแรกอยู่ ต่อเมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้น เราจึงมองเห็นสีต่างๆ ขึ้นมา

ปัจจัยทางพันธุกรรม

สาเหตุของตาบอดสีที่เป็นมาแต่กำเนิด มี เรื่องของกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X ทำให้เพศชายถ้ามีหน่วยพันธุกรรม X ที่ทำให้เกิดตาบอดสี ก็จะแสดงอาการของตาบอดสีออกมา ในขณะที่เพศหญิงถ้าหน่วย X นี้ผิดปกติเพียงหนึ่งหน่วย ก็ยังสามารถมองเห็นได้ปกติเห็นปกติได้ ถ้าหน่วย X อีกตัวหนึ่งไม่ทำให้เกิดตาบอดสี

ตาบอดสี

ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ถูก ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย เพราะเหตุนี้ตาบอดสีส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา ในเพศหญิงพบน้อยกว่าเพศชายประมาณ 16 เท่า หรือคืดเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมด จะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร และเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณร้อยละ 5 ของประชากร

กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ตา ทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกัน คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติ จะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย

ส่วนความผิดปกติของเม็ดสี และเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย

ตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ตาบอดสีที่เป็นภายหลัง มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือโรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้

อาการ

ตาบอดสีมีหลายชนิด ชนิด ที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่า red/green colour blindness โดยจะแยกสีแดงและสีเขียวค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างนัก ส่วนน้อยลงมาของคนที่มีตาบอดสี คือพวกที่ไม่สามารถแยกสีน้ำเงินกับสีเหลือง จะมีบ้างเหมือนกันที่เป็นโรคตาบอดสีทุกสีเลย แต่เป็นส่วนน้อยมาก คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นตาบอดสีชนิดใด ล้วนจะมีสายตาหรือการมองเห็น (vision) ที่เป็นปกติ เพียงแต่ความสามารถในการแยกสีไม่ปกติเท่านั้นเอง

ตาบอดสี

กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มัก เกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตา เส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุ เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี

ผู้ป่วยมักจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม โดย มากพบความผิดปกติของการมองสีน้ำเงินเหลืองมากกว่าแดงเขียว ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ รวมทั้งมีความผิดปกติของสายตาด้านอื่น ๆ เช่น การมองเห็นและลานสายตาลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค

การวินิจฉัยโรค

สำหรับการตรวจและวินิจฉัย จักษุ แพทย์จะทำการซักประวัติอาการผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจการรับรู้ของสี และตรวจตาโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุแผนการรักษา การตรวจอาจใช้เครื่องมือช่วยการตรวจหลายอย่าง เช่น ให้อ่านสมุดภาพ Ishihara, ให้ทดสอบเรียงเม็ดสีตามแบบที่กำหนดไว้

ตาบอดสี

การทดสอบสมุดภาพ

โดยการให้อ่านกระดาษ ซึ่ง อาจจะเป็นตัวเลขหรือหนังสือ คนตาปกติจะบอกเลขได้ แบบทดสอบดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Ishihara test ส่วนใหญ่พื้นหลังจะเป็นจุดสีเขียว ส่วนเส้นสร้างจากจุดสีแดงหรือส้ม ปัจจุบันมีแบบทดสอบที่ดัดแปลงไปแล้วบ้าง แต่ก็ยังคงลักษณะเดิมไว้ทุกประการ

การรักษา

ในรายที่เป็นไม่รุนแรง ผู้ ป่วยจะไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนในรายที่เป็นรุนแรง ผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็ก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะ ถ้าเป็นแล้ว จะเป็นตลอดชีวิต โดยเฉพาะแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล

ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่างๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไปให้รีบมารับการตรวจรักษา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติถาวรได้

คำแนะนำบางประการ

  1. ใน ผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอด สีแต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และโอกาสหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีในหมู่ญาติ
  2. ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  3. การ ที่คนใดคนหนึ่งเกิด ตาบอดสีขึ้น คนๆ นี้ก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนปกติทั่วๆ ไปได้ เพียงแต่การแปรผลผิดไปจากความจริงเท่านั้น ถ้าตาบอดสีไม่มากนักสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นตา ทั้งนี้ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ซึ่งจะตรวจเช็คสายตาและให้คำแนะนำในการปรับตัว ตลอดจนแนวทางในการรักษาต่อไป
  4. บาง ครั้งคนตาบอดสี อาจถูกกีดกันจากสถาบัน หรืออาชีพบางประเภท ซึ่งจริงๆ แล้ว คนที่ตาบอดสีเพียงแต่เห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง ไม่ใช่มองไม่เห็นสีเลย
  5. คน ที่ตาบอดสีส่วนใหญ่ เรียกสีถูก บอกความแตกต่างของไฟจราจรได้ และก็ทำงานส่วนใหญ่ได้เหมือนคนปกติ เว้นเสียแต่จะมีสีในบางแถบสีที่ทำให้เขาสับสน
  6. ในแบบทดสอบอาจจะมีการออกแบบสีในช่วงของแถบสีที่ทำให้คนตาบอดสีดูสับสน ซึ่งโดยโดยปกติในชีวิตประจำวันคนตาบอดสีจะพบสีดังกล่าวน้อยมาก
  7. อาชีพ ที่คนตาบอดสีไม่ควร ทำ ได้แก่ นักเคมีที่ต้องทำงานกับสี จิตรกร อาชีพที่ต้องมีการใช้สีเป็นตัวแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น ในอุปกรณ์อิเลคโทรนิค ห้องนักบิน เป็นต้น
  8. พบ ว่าคนตาบอดสีมีความ สามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ดีกว่าคน ปกติ เช่น คนตาบอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อน เขียวอมเหลือง

ต้อกระจก

ต้อกระจก เป็นสาเหตุตาบอดอันดับแรกในประเทศไทยมีการผ่าตัดลอกต้อกระจก ในทวีปอเมริกาเหนือถึงปีละกว่าหนึ่งล้านราย ในเมืองไทยปีละประมาณห้าหมื่นราย

วิวัฒนาการการผ่าตัดลอกต้อกระจกได้ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน การผ่าตัดลอกต้อกระจกจะเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างจะได้ผลแน่นอนดีกว่าเป็นโรค ตาชนิดอื่น

ต้อกระจก คืออะไร

คือ ภาวะที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่นทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ตาจะมัวมากน้อยขึ้นอยู่กับต้อกระจกขุ่นมากน้อยแค่ไหน ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ติดจากตาข้างหนึ่งไปตาอีกข้างหนึ่ง บางครั้งเป็นพร้อมกันทั้งสองตา ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ ต้อกระจกไม่ใช่โรคมะเร็ง ต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อกระจกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน จักษุแพทย์จะให้คำแนะนำ และเลือกวิธีการผ่าตัดให้แก่ท่านได้ดีที่สุด

สาเหตุการเกิดต้อกระจก

สาเหตุ คือ การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่น และนิวเคลียสแข็งแรงขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในผู้สูงอายุ พบบ่อยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุอื่น เช่น จากกรรมพันธุ์ จากอุบัติเหตุตา จากการติดเชื้อ จากการติดเชื้อในครรภ์มารดา ถ้าพบตั้งแต่เกิดก็เรียกว่า “ต้อกระจกจากกำเนิด” เช่นในเด็กที่เกิดหลังจากมารดาติดหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในคนทีเป็นเบาหวานพบเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนธรรมดาถึง 10 เท่า

ต้อกระจก

ตาปกติเลนส์ตาใสแสงผ่านไปได้

ต้อกระจก

เลนส์ขุ่นเป็นต้อกระจกแสงผ่านเข้าไม่ได้

เมื่อ เริ่มเป็นต้อกระจก ผู้ป่วยจะรู้สึกตาข้างนั้นมัวคล้ายมองผ่านหมอง อาจมองเห็นภาพซ้อน ขับรถตอนกลางคืนลำบากขึ้น บางคนต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย แต่เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น แว่นตาก็ช่วยให้สายตาดีขึ้น จะสังเกตเห็นต้อสีขาวที่ม่านตา

การตรวจวินิจฉัย

เมื่อ มีอาการตามัวควรไปรับการตรวจจากจักษุแพทย์ ต้อกระจกจะทำให้สายตามัวไปทีละน้อย เมื่อต้อสุกจะมองเห็นแต่มือไหว ๆ หรือเห็นเพียงแสงไฟเท่านั้น

ปัจจุบันการแพทย์ทันสมัยขึ้น การผ่าตัดลอกต้อกระจกรักษาได้ผลดี มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นไม่มากนัก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลอกต้อกระจกควรไปตรวจกับแพทย์เป็นระยะ ๆ และระมัดระวังอย่าหกล้มตาถูกกระแทกโดยตรง

การรักษา

ต้อกระจก ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาต้อกระจกด้วยยาละลายต้อกระจก หรือแสงเลเซอร์ แสงเลเซอร์จะใช้ได้เมื่อเคยลอกต้องกระจกมาแล้ว แพทย์ใช้แย็กเลเซอร์ตัดเยื่องถุงเลนส์ที่ขุ่นเท่านั้น การรักษาผ่าตัดลอดต้อกระจกแล้วต้องใส่แว่นตาหนาจะเห็นภาพขยาย และด้านข้างภาพจะคดเบี้ยวใช้เวลาชินเป็นเดือน ลานสายตามแคบ

การผ่าตัดลอดต้อกระจกโดยใส่เลนส์เทียม

ต้อกระจก

เป็น การผ่าตัดที่นิยมกันมากเพราะเป็นการลอกต้อกระจกที่ขุ่นออกไปแล้ว เอาเลนส์เทียมใส่ไว้ในถุงเลนส์ การเห็นจะเหมือนเดิม ภายไม่ขยาย เช่น ใส่แว่นตาหนา ๆ หลังจากล้างเนื้อต้อกระจกที่ขุ่นออกแล้ว แพทย์ไดใส่เลนส์เทียมเข้าใจถุงเลนส์ หลังใส่เลนส์เทียมเข้าในถุงเลนส์ ผู้ป่วยจะเห็นเป็นปกติขนาดภาพไม่ขยายใหญ่

การผ่าตัดเอานิวเคลียส และเนื้อเลนส์ออก

การ เอานิวเคลียสออกแล้วใช้เครื่องมือซิมโก้ดูดเนื้อเลนส์ที่เหลืออก วิธีนี้ต้องเปิดปากแผลมากกว่า 8 มม. ค่าใช้จ่ายไม่มาก ไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ เป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดี การปรับสายตามีการตัดไหมบ้าง จึงใช้เวลาเป็นเดือนสายตามจะเข้าที่ ถ้านิวเคลียสหรือเนื้อเลนส์ตรงกลางแข็งก็สามารถทำผ่าตัดได้

การสลายต้อกระจก

การ เอานิวเคลียส และเนื้อเลนส์ออกด้วยวิธีใช้อัลตราซาวนด์ ขณะนี้บางแห่งใช้คำว่า “สลายต้อกระจก” วิธีการนี้เปิดปากแผลประมาณ 4.5-6 มม. ใช้เลนส์เทียมขนาดเล็ก หรือชนิดเลนส์พับได้ ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น ยาหล่อลื่น เครื่องดูดเลนส์อัลตราซาวนด์มีราคาสูง ทำให้ค่าผ่าตัดสูงขึ้น เมื่อไม่ต้องเย็บแผลก็ไม่ต้องตัดไหม การมองเห็นเร็วกว่าการลอกวิธีแรก

ใน กรณีที่เนื้อเลนส์แข็งมาก วิธีการสลายเลนส์ด้วยอัลตราซาวด์นั้นต้องใช้เวลานาน อาจทำให้ต้อกระจกตามีโรคแทรกซ้อนขุ่นได้ จักษุแพทย์ก็อาจจะเลือกลอกต้อกระจกด้วยเครื่องซิมโก้ซึ่งปลอดภัยกว่าการใช้ อัลตราซาวนด์เป็นเวลานานในลูกตาม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคตาอื่นอยู่ บางครั้งก็ไม่เหมาะสมที่จะใส่เลนส์เทียม เช่น กรณีมีการอักเสบบ่อยครั้งของม่านตา มีเบาหวานขึ้นตาในภาวะรุนแรง เมื่อลอกต้อกระจกแล้วก็ใช้คอนแท็กเลนส์ หรือใส่แว่นตา

ต้อกระจกไม่ ใช่โรคร้ายแรงอะไร เป็นเรื่องของคนอายุมากเสียส่วนใหญ่ เมื่ออายุมากขึ้นสายตาก็ขุ่นมัว เพราะเลนต์ตาที่เคยใสเห็นอะไรชัดก็ขุ่นมัวบังแสง ถ้าทิ้งไว้จนต้อแก่จัดมีโรคต้อหินแทรกซ้อน จะมีอาการปวดตา ตาแดง และบอดในที่สุด ในประเทศไทยต้อกระจกเป็นปัญหาคนตาบอดอันดับแรก และผู้ที่เป็นต้อกระจกแล้วยังไม่สามารถมารับการผ่าตัดได้ประมาณปีละ 150,000 คน

การรักษาต้อกระจก

ปัจจุบันยังไม่มียาดี ที่จะสลายต้อกระจกให้ใสเหมือนเลนส์เดิมได้ยาที่ใช้ อยู่ทั่วไปอาจจะช่วยชลอการขุ่นของเลนส์ได้บ้าง แต่ไม่ช่วยให้ใสขึ้น

การรักษาที่ได้ผลดี

การ ผ่าตัดลอกต้อกระจกเป็นวิธีที่ปลอดภัย และใช้ได้ผลดีมา 20 กว่าปีแล้ว ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดก็คือ “การสลายต้อกระจก” จักษุแพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ สลายเลนส์ที่ขุ่นมัวแล้วดูดออก จากนั้นจะใช้เลนส์เทียมใส่ เนื่องจากเครื่องสลายเลนส์มีขนาดเล็ก แผลที่เปิดเข้าไปจะเล็กมากไม่ต้องมีการเย็บแผล ผู้ป่วยไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน ไม่ต้องนอนนิ่งหลังสลายเลนส์เหมือนการผ่าตัดสมัยก่อนที่ต้องนอนนิ่งไม่ขยับ เขยื้อนเป็นเวลาหลายวันหลังการสลายเลนส์ การอักเสบของตาน้อยทำให้การเห็นฟื้นตัวเร็วกว่าวิธีอื่น ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน

ต้อเนื้อ

ต้อเนื้อ เป็นกลุ่มอาการเดียวกันกับต้อลมนะคะ

ต้อ ลมเกิดจากการระคายเคือง จากฝุ่นละออง สายลม แสงแดด มีผลให้เยื่อตาบริเวณนั้นหนาตัวขึ้น เส้นเลือดก็ขยายตัวมากขึ้น เมื่อถูกระคายเคืองนานเข้าเรื่อยๆ ต้อลมก็จะกลายไปเป็นต้อเนื้อ

การ แก้ไขและการป้องกัน ทำง่ายๆ โดยวิธีการพยายามหลีกเลี่ยงตัวระคายเคืองทั้งหลาย เช่น ใส่แว่นตากันแดด หลีกเลี่ยงการนอนดึก หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือการพอกหน้ามากๆ จะมีผลทำให้ผงฝุ่นตกเข้าไปในตาได้ง่าย

ในกรณีที่มีปัญหาใหญ่เกิดขึ้น หรือเคลื่อนเข้ามาใกล้ตาดำ และอาจบดบังสายตาไปบางส่วน การรักษาอาจต้องใช้วิธีผ่าตัดลอกต้อเนื้อออก เพื่อให้การมองเห็นภาพได้ปกติเหมือนเดิม

หากท่านสงสัยว่าจะเป็นต้อเนื้อ ควรรับคำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษาจากจักษุแพทย์นะคะ

โรคตาแห้ง (Dry Eyes)

ตาแห้งคืออะไร

ตาแห้ง คือ การที่ปริมาณน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื่นกับดวงตา เคลือบกระจกตาดำไม่พอ พบในผู้ป่วยทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบบ่อยมากในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน โดยปกติน้ำตาถูกสร้างจากต่อมน้ำตา 2 กลุ่ม ได้แก่

dry_eye01

ต่อมน้ำตาที่เป็นเซลล์เล็กๆ ซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเยื่อเมือกที่คลุมตาขาวและด้านในของเปลือกตา มีหน้าที่ผลิตน้ำตาออกมาหล่อลื่นตาตลอดทั้งวันในภาวะปกติเรียกว่า Basic Tear Secretion

ต่อมน้ำตาใหญ่ อยู่ใต้โพรงกระดูกเบ้าตาบริเวณหางคิ้ว มีหน้าที่ผลิตน้ำตาออกมาเฉพาะเวลาที่มีอารมณ์ต่างๆ เช่น อาการเจ็บปวด ระคายเคืองตา ดีใจหรือเสียใจ เรียกว่า Reflex Tearing

สาเหตุของโรคตาแห้ง

ส่วน ใหญ่ไม่พบสาเหตุ แต่มักพบในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งการสร้างน้ำตาจะค่อยๆ ลดลงเอง


โดยเฉพาะในวัยหลังหมดประจำเดือน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย และจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรค Sjogren's Syndrome ซึ่งมีอาการตาแห้งร่วมกับข้ออักเสบและปากแห้ง

ยา บางชนิดอาจจะทำให้กระบวนการสร้างน้ำตาลดลง เช่น ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ใช้รักษาหวัดและภูมิแพ้ ยากล่อมประสาท ยาทางจิตเวช ยาลดความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่ออกฤทธิ์โดยการขับปัสสาวะ เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ก็สามารถใช้ยาต่อไปได้ แต่ต้องรักษาอาการตาแห้งร่วมไปด้วย

ผู้ ป่วยที่มีเยื่อบุตาอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อ หรือจากการแพ้ยาที่เรียกว่า Stevens-Johnson Syndrome การอักเสบที่รุนแรงและเรื้อรัง อาจไปทำลายต่อมสร้างน้ำตาเล็ฏๆ ที่เยื่อบุตาขาว ทำให้ผู้ป่วยเกิดตาแห้งชนิดรุนแรงได้

จักษุ แพทย์จะวินิจฉัย "โรคตาแห้ง" โดยการซักประวัติ และบางครั้งอาจใช้วิธีทดสอบ โดยการวัดปริมาณน้ำตาที่เรียกว่า Schrimer's Test โดยการให้ผู้ป่วยหลับตา แล้วใช้แถบกระดาษกรองมาตรฐานสอดไว้ที่ซอกเปลือกตาด้านล่างค่อนไปทางหางตา ใช้เวลา 5 นาที  แล้วเริ่มวัดระยะความเปียกของกระดาษจากขอบตาออกมาบันทึกไว้ ซึ่งหากปริมาณน้ำตาปกติจะวัดแถบน้ำตาที่เปียกได้ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป

 

อาการของโรคตาแห้ง

ตา จะรู้สึกฝืด เคืองระคายคล้ายมีเศษผงเข้าตา แสบร้อน บางรายมีขี้ตาเป็นเมือกเหนียวยืดเป็ฯเส้น เพราะน้ำตามีส่วนประกอบของน้ำเมือกและน้ำมัน เมื่อโดนแดดและลม น้ำจะถูกระเหยไป เมือกข้นมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีขี้ตาซึ่งมีลักษณะเป็นเมือกสีขาว หรือสีเหลืองนวลมากกว่าปกติ ผู้ป่วยที่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่ ถ้ามีอาการตาแห้ง จะทำให้ระคายเคืองเพิ่มมากขึ้น

บาง ครั้งผู้ป่วยจะมีอาการน้ำตาไหล สาเหตุเนื่องจากนน้ำตาปกติลดน้อยลง มีอาการระคายเคือง ทำให้ต่อมน้ำตาใหญ่ (Reflex Tear) บีบน้ำตาออกมามากจนล้นไหล จนถึงน้ำตาแห้งวนกลับมาอีก ถึงระดับที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง น้ำตาก็จะไหลออกมามาก อาการจะสลับกันเช่นนี้เป็นระยะๆ ไป

Link     www.super-optical.com

ตาแดง

โรคตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้ง่าย โดยการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรง เช่น เล่นกับเด็กที่เป็นตาแดง ว่ายน้ำหรืออาบน้ำร่วมกันในโรงเรียนประจำ หรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วยโรคตาแดง เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ยาหยอดตา แว่นตา เป็นต้น

เมื่อสงสัย ว่าจะเป็นโรคตาแดง ควรรีบมารับการตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็ว ใช้ยาหยอดตาตามแพทย์สั่ง และถ้าหลังการรักษาแล้ว ยังมีอาการตามัว เคืองตา น้ำตาไหลมาก แสดงว่าอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น ตาดำอักเสบหรือเป็นแผลให้กลับมาพบแพทย์อีกครั้งหนึ่ง

การป้องกันโรคตาแดงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

  • โดยอย่าคลุกคลีหรือใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วยให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่ใกล้ชิดหรือจับต้องผู้ป่วยงดการว่ายน้ำในขณะที่เป็นตาแดงหรือมีโรคตาแดงระบาดควรแยกผู้ป่วยออกจากกลุ่มชน เพื่อหยุดยั้งการระบาดต่อๆไป

อัพเดทล่าสุด