โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ


185,019 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

โรคที่เกิดขึ้นในระบบหายใจ

            ระบบหายใจประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่จมูก คอหอย กล่องเสียง หลอดลม และปอด ระบบหายใจนี้ทำหน้าที่นำอากาศบริสุทธิ์ออกซิเจนจำนวนมากไปแลกเปลี่ยนกับ อากาศเสียซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์มากที่ปอด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดโรคขึ้นในระบบนี้ได้โดยอาจจะมีทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ ติดต่อ ดังนี้

1. ไข้หวัดธรรมดา

                  สาเหตุของโรค เชื้อโรคที่ ทำให้เกิดไข้หวัดธรรมดาเป็นเชื้อไวรัส และเชื้อไวรัสนี้มีหลายชนิด ดังนั้น ผู้ที่เป็นหวัดใหม่ ๆ  จากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งก็อาจเป็นหวัดอีกครั้งหนึ่งจากเชื้อไวรัสอีกชนิด หนึ่งได้

                  การติดต่อ เรามักจะได้รับ เชื้อไข้หวัดธรรมดาจากการไอ จาม ของผู้ที่เป็นไข้หวัดอยู่แล้ว หรืออาจได้รับเชื้อโรคจากการสัมผัสใกล้ชิดกับภาชนะสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ ไวรัสเข้าไปแล้ว ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอาการไข้หวัดเสมอไป ถ้าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ความต้านทานโรคของร่างกายดี ก็สามารถทำลายเชื้อไวรัสนั้นได้และไม่เจ็บป่วย แต่ถ้าร่างกายเราอ่อนแอ เช่น ทำงานหนัก อดนอนมากๆ ดื่มสุราจัด วิ่งเล่นหักโหมเกินไป เมื่อได้รับเชื้อไข้หวัด ก็จะเกิดอาการไข้หวัดได้

                  ระยะฟักตัว หมายถึง ระยะเวลานับตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคเข้าไปจนกระทั่งเริ่มมีอาการ ระยะฟักตัวของไข้หวัดธรรมดาโดยทั่วไปคือ 1-3 วัน

                  อาการ มี อาการจากการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ จมูก และลำคอ ระยะเริ่มแรกจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล คอแห้ง เจ็บคอ ต่อมาก็อาจมีอาการไอและจามร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจจะไม่มีไข้ หรือมีไข้ก็ไม่สูงมาก มีอาการปวดเมื่อยตามตัว แต่ไม่ปวดมากนัก อาจมีอาการเบื่ออาหาร ท้องผูก ร่วมด้วย อาการต่างๆ เหล่านี้มักจะหายไปเองภายใน 3-7 วัน แล้วแต่ความต้านทานโรคของร่างกาย แต่ถ้ามีโรคแทรกซ้อนบางอย่างอาจมีอาการต่อไปอีกหลายวัน

            โรคแทรกซ้อน

            ถ้าความต้านทานโรคของร่างกายไม่ดี หรือผู้ป่วยปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง อาจมีโรคแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ที่สำคัญคือ

            1. หลอดลมอักเสบ มีอาการไอ มีเสมหะ เสมหะอาจมีสีเขียวซึ่งแสดงว่ามีเชื้อบัคเตรีแทรกซ้อน ถ้าไม่รักษาให้ถูกต้องก็อาจเป็นเรื้อรัง หรือลุกลามเป็นปอดอักเสบได้

             2. ปอดอักเสบ มักลุกลามมาจากไข้หวัดแล้วมีอาการหลอดลมอักเสบด้วย โดยมากเป็นในผู้ที่มีความต้านทานน้อย เช่น เด็ก คนชรา ผู้ที่ชอบดื่มสุราจัด อาการจะมีไข้สูง เจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะสีเขียวหรือบางทีมีเลือดปน หายใจหอบ

             3. หูน้ำหนวก เป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัดธรรมดาอีกอย่างหนึ่งซึ่งมักพบในเด็ก มีอาการปวดหู ต่อมาแก้วหูอาจทะลุ มีน้ำมูกข้น ๆ คล้ายหนองไหลออกมาจากรูหูข้างที่เป็น ถ้าเป็นนานๆ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้หูหนวก และบางทีหนองอาจทะลุเข้าในสมองถึงแก่ชีวิตได้

                วิธีปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา ควรปฏิบัติดังนี้

            1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง อย่าให้ร่างกายอ่อนแอลงไปอีก ได้แก่ การนอนหลับพักผ่อนให้มากๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่น งดเว้นการออกกำลังกายหักโหม งดเว้นจากสิ่งที่เป็นพิษต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่

            2. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ

            3. ถ้ามีอาการไข้ ปวดตามตัว ก็อาจรับประทานยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาแก้ไข้ แก้ปวด

            4. ถ้ามีอาการมากขึ้น หรือสงสัยว่าจะมีโรคแทรกซ้อนก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้ๆ บ้าน

            ขณะนี้ยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสโรคหวัดโดยตรง การรักษามักจะรักษาตามอาการและให้การรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

                  การควบคุมและป้องกันโรค  สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดธรรมดาได้ ดังนี้

            1. ป้องกันก่อนจะเกิดโรค ได้แก่

                 1) เพิ่มความแข็งแรงและความต้านทานโรคให้แก่ร่างกายอยู่เสมอ ๆ โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาร่างกายให้อบอุ่นโดยเฉพาะเวลาอากาศเปลี่ยน

                 2) ป้องกันมิให้เชื้อไข้หวัดเข้าสู่ร่างกาย โดยการหลีกเลี่ยงจากการใกล้ชิดกับคนที่เป็นหวัด ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นหวัด ไม่เข้าไปในที่ที่แออัดมาก ๆ เช่น ในโรงภาพยนตร์ ขณะที่ร่างกายอ่อนแอ

            2. การป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว ได้แก่

                 1) ป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่กระจายออก ไป เช่น ไอหรือจามทุกครั้งต้องปิดปาก ปิดจมูกด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือมือ ทำลายเชื้อโรคที่ติดมากับภาชนะสิ่งของของผู้ป่วยด้วยการต้มหรือซักล้างด้วย สบู่ หรือผงซักฟอกแล้วตากให้แห้ง พักผ่อนอยู่กับบ้านไม่ไปโรงเรียนหรือทำงาน เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายแพร่ออกไปกว้างขวางมากขึ้น

                 2) ป้องกันโรคแทรกซ้อน โดยการทำให้ร่างกายแข็งแรงมิให้อ่อนแอลงไป ดื่มน้ำมากๆ และไปปรึกษาแพทย์โดยเร็วถ้ามีอาการสงสัยว่าจะมีโรคแทรกซ้อน

                 3) แจ้งให้ผู้ปกครอง หรือผู้อื่นทราบว่ากำลังเป็นหวัดอยู่จะได้ป้องกันตนเองมิให้ติดไข้หวัดต่อไปได้

2. ไข้หวัดใหญ่

             ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดาและ มักจะระบาดได้เร็ว บางทีระบาดไปทั่วประเทศหรือข้ามประเทศได้

             สาเหตุของโรค  ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีความรุนแรงต่างกันและความสามารถในการระบาดก็ต่างกัน

             ระยะฟักตัว  เช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา คือ 1-3 วัน

             อาการ  มีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดามาก คือ มีอาการไข้สูงอย่างรวดเร็ว บางทีอาจหนาวสั่นด้วย ปวดศีรษะและปวดตามเนื้อตามตัวมาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไอแห้งๆ อาจจะเจ็บคอได้ แต่มักจะไม่พบอาการน้ำมูกไหล บางคนอาจมีอาการหน้าแดง ตาแดง อาการไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน ก็ค่อย ๆ ลดลง อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามตัว มักจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน ก็จะหายเป็นปกติภายใน 2สัปดาห์

             โรคแทรกซ้อน ไข้หวัดใหญ่มีอาการของโรคแทรกซ้อนมากกว่าและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่

             1. ปอดอักเสบ อาการคล้ายปอดอักเสบจากไข้หวัดธรรมดา อาจเกิดจากเชื้อไวรัสของโรคเอง หรือจากเชื้อบัคเตรีแทรกซ้อนก็ได้ เป็นภาวะที่พบบ่อยและทำให้มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้

             2. สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยมากเกิดการอักเสบจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก และมักจะซึมลง อาจเสียชีวิตได้โดยง่าย

             3. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงตายได้จากหัวใจวาย

             วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ มี วิธีป้องกันเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่มีวิธีป้องกันเพิ่มอีกวิธีหนึ่ง คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งจะช่วยป้องกันโรค หรือทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง แต่เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีหลายชนิด เพราะฉะนั้นบางครั้งวัคซีนก็ใช้ไม่ได้ผลและราคาค่อนข้างแพงด้วย จึงมักฉีดวัคซีนให้เฉพาะผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอหรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อน ได้ง่าย เช่น คนชรา หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น และฉีดเฉพาะเวลามีการระบาดเท่านั้น

3. วัณโรค

             วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่สำคัญมากโรคหนึ่ง เพราะคนไทยยังเป็นกันมาก มีสาเหตุมาจากบัคเตรีชนิดหนึ่งเป็นแล้วรักษาหายยาก ต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ปัจจุบันวัณโรคยังเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในประเทศไทย วัณโรคส่วนมากจะเป็นที่บริเวณปอด ซึ่งจะมีอาการ ดังนี้

             อาการทั่วไป  ได้แก่ อาการไอเรื้อรัง มักไอแห้งๆ ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษา แผลในปอดจะลุกลามมากขึ้น ทำให้ไอมีเลือดปนออกมา เชื้อวัณโรคจะทำลายเนื้อปอดไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย ไอเป็นเลือดและอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

             หากมีอาการน่าสงสัยว่าอาจเป็นวัณโรค ได้แก่ อาการไข้ต่ำๆ เรื้อรัง ในตอนบ่ายหรือเย็น เบื่ออาหาร ผอมลง ไอเรื้อรังเกินกว่า 3-5 สัปดาห์ หรือไอเป็นเลือด ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโดยตรง วัณโรคอาจเป็นที่อวัยวะอื่น เช่น ที่ต่อมน้ำเหลืองรอบคอ เรียกว่า ฝีประคำร้อย ที่ลำไส้ ที่ไต ที่เนื้อเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจกระจายไปหลายๆ ส่วนของร่างกายได้

             หากพบว่าเป็นวัณโรค ต้องอดทนกินยาโดยสม่ำเสมอ ไม่ลดยา หยุดยา หรือเพิ่มยาโดยมิได้ปรึกษาแพทย์ และต้องให้ครบระยะเวลาตามที่แพทย์สั่งด้วย หากมีปัญหาจากการใช้ยา เช่น เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่นขึ้นตามตัว ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้หาทางแก้ไข อย่าหยุดกินยาเองโดยพลการ

             นอกจากนี้แล้วต้องบำรุงรักษาร่างกายให้ แข็งแรงด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งต้องระมัดระวังไม่แพร่เชื้อโรคให้แก่ผู้อื่น โดยใช้ผ้าปิดปากเวลาไอหรือจาม เสมหะหรือน้ำมูกน้ำลายควรถ่มลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำลายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเททิ้ง อย่าคลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กและคนชรา ซึ่งมักจะติดโรคได้ง่าย

             การฉีดวัคซีน บี.ซี.จีจะช่วยป้องกันโรคได้มาก ผู้ฉีดวัคซีน บี.ซี.จีแล้ว แม้จะเป็นโรคนี้ก็มักจะมีอาการไม่รุนแรง เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีน บี.ซี.จีตั้งแต่แรกเกิด และได้รับการฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง เมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ตาม ปกติโรงพยาบาลทุกแห่งจะฉีดวัคซีนนี้ให้แก่เด็กแรกเกิดทุกคนที่คลอดในโรง พยาบาล เด็กที่ไม่ได้คลอดในโรงพยาบาลควรพาไปให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือโรง พยาบาลฉีดวัคซีนนี้ให้โดยเร็ว

4. โรคหอบหืด

             โรคหอบหืดหรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคหืด เป็นโรคที่เกิดกับหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เมื่อป่วยเป็นโรคหอบหืดแล้วมักจะหายยาก อาจเป็นๆ หายๆ อยู่หลายปีจนตลอดชีวิต เพราะโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาให้ถูกต้องปล่อยให้ป่วยเรื้อรังอยู่เป็น เวลานานอาจกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตายได้

             โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่เด็กเล็กที่มีอายุไม่ถึง 1 ขวบ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนมากจะป่วยมาตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยมากเริ่มเมื่อมีอายุ 2-5 ปี และผู้ป่วยในวัยเด็กนี้จากสถิติพบว่าเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงถึง 2 เท่า แต่เมื่อโตเป็นวัยหนุ่มสาวแล้วกลับมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้พอๆ กันทั้งสองเพศ

             ปัญหาของโรคหอบหืด

             ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืดกันมาก และมีผู้ป่วยอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่เอาใจใส่ดูแล รักษา ทั้งยังนิยมไปซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งนอกจากอาจจะไม่มีผลในการรักษา และเท่ากับเป็นการปล่อยให้โรคทรุดโทรมมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้ป่วยยังอาจได้รับอันตรายจากยาที่รับประทานได้อีกด้วย

             สาเหตุของโรคหอบหืด

             โรคหอบหืดเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่สำคัญมีดังนี้

             1. สาเหตุจากการเป็นโรคภูมิแพ้ กล่าวคือ เมื่อร่างกายหายใจหรือรับประทานสิ่งที่แพ้เข้าไป ก็จะทำให้มีอาการหอบหืดขึ้นมาได้ โดยอาจจะเป็นการหายใจเอาสิ่งที่แพ้ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เช่น ควัน ฝุ่นละออง กลิ่นน้ำมัน ไอระเหยสารเคมี ละอองเกสรดอกไม้ ดอกหญ้า ขนสัตว์ต่างๆ เป็นต้น หรือรับประทานอาหารชนิดที่ทำให้แพ้เข้าไป เช่น กุ้ง ปู ปลา ไข่ นม มะเขือเทศ ถั่ว ยาบางชนิด เป็นต้น

             2. สาเหตุจากสิ่งอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการหอบหืดเกิดขึ้นเมื่อพบกับอากาศเย็น ความชื้นหรือเมื่อออกกำลังกายมากเกินไป หรือเมื่อหัวเราะ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายในขณะมีประจำเดือน ตลอดจนเมื่อมีอารมณ์เคร่งเครียด เช่น ตกใจ เสียใจ ดีใจ ตื่นเต้น เป็นต้น ซึ่งการเกิดอาการหอบหืดจากสิ่งเหล่านี้นั้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอมาก่อน ทั้งนี้เพราะหลอดลมของผู้ป่วยมีความไวกว่าคนปกติ การไอจะทำให้หลอดลมหดตัว จึงเกิดอาการหอบขึ้น ซึ่งในคนปกติจะไม่เป็นเช่นนี้ นอกจากนี้โรคหอบหืดอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมได้อีกด้วย

             อาการของโรคหอบหืด ผู้ ป่วยจะมีอาการหอบหืดที่เรียกว่าจับหืดเป็นระยะๆ โดยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ อยู่เป็นพักๆ อาจจับหืดทุกวันทุกคืนหรือจับหืดตลอดคืนตลอดวันก็ได้ ในขณะที่จับหืดอยู่นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบากเฉพาะในช่วงหายใจออก ซึ่งมักเกิดเสียงวี้ดๆ ขึ้น ส่วนการหายใจเข้านั้นยังทำได้เป็นปกติ ทั้งนี้เพราะช่วงหายใจออกนั้น เป็นการปล่อยอาการออกมาเอง ภายหลังจากที่มีอากาศอัดเต็มอยู่ในปอด แต่เนื่องจากกล้ามเนื้อที่อยู่ตามผนังของหลอดลมเกิดการเกร็งตัวรัดให้หลอดลม ตีบ อีกทั้งภายในหลอดลมมีเสมหะที่เหนียวข้นซึ่งหลั่งจากเซลล์ของเยื่อบุในหลอดลม มาคั่งอยู่ ลมหายใจออกจึงผ่านมาตามหลอดลมได้ลำบาก และอาจทำให้เกิดเสียงดังวี้ดๆ ได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ หอบ และมีเสมหะเหนียว อย่างไรก็ดีอาการหอบที่เกิดขึ้นนั้นอาจทุเลาลงได้เองหรือจากการรักษา และอาการมักเป็นซ้ำๆ มากน้อยเป็นรายๆ ไป ในขณะที่ไม่มีอาการหอบนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นปกติเช่นคนทั่วไป สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

             ผลที่มีต่อสุขภาพ

             โรคหอบหืดนอกจากทำให้ผู้ป่วยได้รับความ ทุกข์ทรมานแล้ว ถ้าเป็นอยู่เรื้อรังอาจทำให้เกิดโรคแทรกต่างๆ กับร่างกายได้ เช่น หลอดลมอักเสบ หลอดลมโป่งพอง ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและอาจเกิดหัวใจวายได้

             การป้องกันรักษา ปฏิบัติได้ดังนี้

             1. พยายามสังเกตว่าตนแพ้สิ่งใด แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น ถ้าแพ้นุ่นหรือขนเป็ดขนไก่  ก็ควรใช้หมอนที่ทำด้วยฟองน้ำแทน หรือถ้าแพ้ฝุ่นละออง ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก เป็นต้น

             2. พยายามจัดบ้านให้สะอาดเรียบร้อย โดยเฉพาะในห้องนอนควรจัดให้มีของใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อจะได้สะดวกต่อการทำความสะอาด และหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าห่มหรือเครื่องนอนที่ทำจากขนสัตว์ รวมทั้งควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดในขณะที่ไม่อยู่ในห้อง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเกสรดอกไม้และเชื้อโรคต่างๆ ปลิวเข้าไปในห้อง

             3. พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีควันไฟ มีละอองสารเคมีฆ่าแมลง หรือมีกลิ่นฉุนรุนแรง เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้หลอดลมผู้ป่วยเกิดการระคายเคืองได้ง่ายกว่าคนปกติ ทั่วไป

             4. พยายามทำจิตใจให้เบิกบาน หาเวลาออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อเป็นหวัดควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาให้หายโดยเร็ว ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรัง

             5. เมื่อเกิดอาการหอบหืด ควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาจะเป็นการดีที่สุด ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะยาแก้แพ้นั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ และยาแก้แพ้ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาอาการของโรคหอบหืดได้ เพราะอาการแพ้เป็นโรคหอบหืดนี้เป็นอาการแพ้ที่รุนแรง

             6. เมื่อมีโอกาสควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาโรคหอบหืดให้หายขาด แม้จะต้องใช้เวลานานก็ตาม ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง โอกาสที่จะหายจากโรคนี้มีสูงถึงร้อยละ 75 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีโอกาสหายมากกว่าผู้ใหญ่

             การปฏิบัติตนในขณะเกิดอาการแพ้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

             1. ควรรีบไปให้แพทย์ตรวจรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

             2. พยายามรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

             3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปใกล้สิ่งที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีอากาศไม่บริสุทธิ์

             4. พักผ่อนนอนหลับให้มากๆ และพยายามทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส

5. มะเร็งโพรงหลังจมูก

             มะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนเชื้อชาติจีนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

             ปัจจัยเสี่ยง

             - พบว่าเกี่ยวข้องกับไวรัสเอบสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus) และร่วมกับการรับประทานปลาเค็มเป็นประจำ

             - มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งโพรงหลังจมูก

             - หูอื้อ

             - มีก้อนที่คอ

             - คัดจมูก

             - เลือดกำเดาไหล

             - ปวดศีรษะ

             - หน้าชา มองเห็นภาพซ้อน

             การวินิจฉัย

             1. การตรวจร่างกายและตรวจโพรงหลังจมูก

             2. การตัดชิ้นเนื้อจากเนื้องอกในโพรงหลังจมูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา

             3. การเจาะเลือดตรวจ Anti : EBV IgA

             การรักษา

             - รังสีรักษา

             - เคมีบำบัด

             - การรักษาแบบผสมผสาน

             การรักษาจะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค

             หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรืออยู่ในครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก และมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรไปรับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็ง หรือแพทย์ทางหู คอ จมูก เพื่อตรวจค้นหามะเร็งโพรงหลังจมูกในระยะเริ่มแรก

6. มะเร็งกล่องเสียง

             มะเร็งกล่องเสียง เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะช่วงอายุประมาณ 60-70 ปี

             ปัจจัยเสี่ยง

             - การสูบบุหรี่

             - การดื่มสุรา

             ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น เคยได้รับรังสี หรือเคยได้รับการฉายแสงบริเวณคอ เป็นต้น

             อาการ

             - เสียงแหบ เสียงเปลี่ยนไปจากเดิม

             -  กลืนอาหารลำบาก สำลัก

             -  มีเสมหะปนเลือด

             -  หายใจลำบาก

             -  มีก้อนที่คอ

             การวินิจฉัย

             - การตรวจพบเนื้องอกบริเวณกล่องเสียง

             - การส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา

             ทั้งนี้แพทย์สามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้จากการตรวจเลือด เอกซเรย์ ฯลฯ

             การรักษา

             - การผ่าตัด

             - รังสีรักษา

             - เคมีบำบัด

             - การรักษาแบบผสมผสาน

             การรักษาจะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและความรุนแรงของโรค

     Link   https://www.maceducation.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

โรคปอดบวม

          โรค ปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen ทำให้ร่างกายขาด oxygen และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุของปอดบวม มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้ดังนี้

  • Bacteria
  • Viruses
  • Mycoplasma
  • เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา 
  • สารเคมี

            เชื้อ ที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายออกมา เวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย เหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม ปกติเชื้อโรคอยู่ในคอ เมื่อร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรค ภาวะต่างๆดังกล่าวได้แก่

1.      ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่นอายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

2.      การอักเสบติดเชื้อไวรัสของระบบการหายใจ

3.      การอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม

4.      การสำลัก น้ำลาย เศษอาหาร หรือสิ่งติดเชื้อในปอด

การติดต่อ ติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการไอ หรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน อาการของโรคปอดบวม

  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน 
  • บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น 
  • หายใจหอบเหนื่อย 
  • อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ 
  • อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

การวินิจฉัย หาก มีประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ และแพทย์สงสัยว่าจะเป็นปอดบวมแพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • ภาพจาก https://www.siamhealth.net/

    เจาะเลือดตรวจ CBC พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  • ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุของปอดบวม
  • นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
  • X-ray ปอด

การรักษา ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และให้การรักษา คือ

  • ให้ oxygen
  • ให้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้น้ำเกลือ

 

 

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

1.      น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) เกิด จากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำ ออก

2.      หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (empyema )ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับน้ำในช่องหุ้มปอดแต่จะมีไข้สูงและหอบเหนื่อย

3.      ปอดแตกและมีลมในช่องปอด (pneumothorax )มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอกและหายใจหอบเหนื่อย

4.      เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ( pericarditis ) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ( meningitis )ปัจจุบันพบน้อย

5.      หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน

การป้องกัน

  • ใช้วัคซีนสามารถป้องกันปอดบวมได้บางเชื้อ เช่น H.influenza,  Pertussisไอกรน,ปอดบวม Pneumococcal
  • ให้หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นปอดบวม
  • หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นหอบหืดให้แยกถ้วย และชาม สมาชิกในครอบครัวให้ล้างมือบ่อยๆ

โรควัณโรค

สาเหตุ     
          
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB) ย้อมติดสีแดง ซึ่งจะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการและอาการแสดง
            
ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อ จะไม่มีอาการของโรคเมื่อทดสอบทูเบอร์คิวลินได้ผลบวก (ซึ่งเป็นการแสดงว่าเด็กติดเชื้อวัณโรค) การตรวจ X-rays ของ ปอดก็จะไม่พบผิดปกติในระยะแรก ถ้าเด็กมีสุขภาพและภาวะโภชนาการดี โรคจะยังไม่เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับเชื้อ อาการที่จะพบได้เร็วที่สุดประมาณ 1-6 เดือนหลังติดเชื้อ ที่จะพบได้บ่อย คือ มีต่อมน้ำเหลืองโตที่ขั้วปอด ที่คอ และที่อื่นๆ แล้วจึงพบผิดปกติที่ปอดและอวัยวะอื่นๆ

การวินิจฉัยโรค
            ในผู้ที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรค การวินิจฉัยที่แน่นอนได้จากการเพาะแยกเชื้อ M. tuberculosis จากน้ำล้างกระเพาะ (gastric wash) ใน ตอนเช้า ทั้งนี้เพราะเด็กมักจะกลืนเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคลงในกระเพาะเวลากลางคืน หรือจากเสมหะ จากน้ำในเยื่อหุ้มปอด น้ำไขสันหลัง (ในรายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) เนื่องจากเชื้อวัณโรคเจริญเติบโตช้า ดังนั้นการเพาะเชื้อต้องใช้เวลานานถึง 10 สัปดาห์ ปัจจุบันมีวิธีที่อาจใช้เวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ หรือสั้นกว่านี้ การทดสอบทูเบอร์คิวลิน เป็นวิธี skin test ที่ทำได้ง่ายที่สุดในการตรวจสภาวะของการติดเชื้อวัณโรคในผู้ที่ไม่มีอาการ การทดสอบที่ให้ผลบวกแสดงว่ามีการติดเชื้อ M. tuberculosis โดย ทั่วไปแล้วในเด็กส่วนใหญ่หลังจากได้รับเชื้อแล้ว 3-6 สัปดาห์ จึงจะให้ปฏิกิริยาทูเบอร์คิวลินเป็นบวก บางรายอาจนานถึง 3 เดือนได้ และปฏิกิริยาบวกนี้จะคงอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะได้ยารักษาวัณโรคแล้วก็ตาม

การรักษา
           ปัจจุบัน มียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การ รักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโร

โรคหลอดลมอักเสบ

                เป็น โรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด

                โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ

สาเหตุ 

  • สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อะดิโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย
  • ส่วน น้อยที่อาจเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมจนทำให้หลอดลมกิดการอักเสบ ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ป่วยโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน ผู้ที่มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ มีโอกาสเป็นโรคหลอดลมอักเสบมากขึ้น

อาการ

                ผู้ ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการ ไอ และมีเสมหะ อาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลืองหรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้ มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด

                ผู้ ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัด แล้วมีอาการไอ และมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วัน ต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบไว้ด้วย

                โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 20-30 หายภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้เวลาเป็นเดือน จึงจะหายจากโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน

การวินิจฉัยโรค

                การ วินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น บางครั้งแพทย์อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดเชื้ออื่นๆ ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งปอด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน

การ ตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ แพทย์จะพิจารณาในรายที่มีข้อบ่งชี้ และต้องเลือกเก็บเสมหะที่แท้จริง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษบางประการเพื่อช่วยในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ

หมายเหตุ การตรวจภาพรังสีทรวงอก ช่วยวินิจฉัยแยกโรคปอดอักเสบ

 แนวทางการรักษา

  • การ รักษาโรคหลอดลมอักเสบนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เป็นในขณะนั้น เช่น การให้รับประทานยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม หรือ ยาลดไข้ เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
  • ใน กรณีผู้ป่วยเด็ก ไม่นิยมให้ยาแก้ไอ เพราะอาจทำให้เสมหะค้างในหลอดลมจนกลายเป็นโรคอื่นๆ ที่รุนแรงอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ หรือโรคหลอดลมโป่งพองได้
  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างพอเพียง ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลม
  • หากตรวจพบว่าโรคหลอดลมอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ยาใหม่ที่ใช้ได้ผลดีชื่อ Telithromycin ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม ketolides จากการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาน้อยมาก


โรคหอบหืด
 

             โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผล จากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้

ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 

เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้

1.       Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก

2.       Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น

3.       Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก

4.       Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง


หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ


เมื่อ ร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

ภาพจาก https://www.siamhealth.net/

จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
  • แน่นหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจเสียงดัง

โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ

  • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
  • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
  • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
  • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน

ภาพจาก https://www.panyathai.or.th/

อัพเดทล่าสุด