โรคเกี่ยวกับตา อาการของโรคเกี่ยวกับตา การรักษาโรคเกี่ยวกับตา


3,801 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับตา อาการของโรคเกี่ยวกับตา การรักษาโรคเกี่ยวกับตา

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อหิน


ภาพจากตาปกติ


ภาพจากอาการโรคต้อหิน


 โรคต้อหิน
ต้อหิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตาซึ่งเชื่อมระหว่างดวงตาและสมอง หากความดันภายในตาสูงกว่าระดับที่เส้นประสาทตาสามารถรับได้จะทำให้ขอบเขตใน การมองเห็นค่อยๆ แคบลง และมองไม่เห็นในที่สุดซึ่งเป็นผลให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีอาการ และ ไม่มีอาการ สำหรับต้อหินประเภทมีอาการ ความดันภายในตาจะ สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง หรือการมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต้อหินจะมีอาการเจ็บปวด แต่ต้อหินประเภทที่สองพบได้มากกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าจะมีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินประเภทที่สองนี้ในช่วงแรกจะไม่มีปัญหาในการมองเห็น เลย แต่สามารถตรวจพบได้ในการตรวจสุขภาพตา

     ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหิน

บาง ท่านอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนปกติ เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน ก่อนใช้ยาใดๆ จึงควรอ่านฉลากก่อน เพื่อให้ทราบผลข้างเคียงของการใช้ยา ปัจจัยการเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีสายตาสั้นปานกลางถึงสั้นมาก หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ

      การรักษาโรคต้อหิน

จุด มุ่งหมายของการรักษาโรคต้อหิน คือ การยับยั้งไม่ให้มีอาการมากขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมา แต่สามารถยับยั้งไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้ โดยลดระดับความดันตาให้อยู่ในระดับที่เส้นประสาทตาสามารถทนได้ มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถลดความดันตาได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดความดันตาให้อยู่ในระดับ ที่ต้องการได้ จึงต้องมีการผ่าตัดด้วย
การ ผ่าตัดรักษาโรคต้อหิน มีขั้นตอนซึ่งแตกต่างกันหลายวิธี รวมทั้งการใช้แสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการลดความดันตา อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคต้อหิน คือ การตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติในดวงตาหรือการมองเห็น

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคจอประสาทตาหลุดลอก


โรคจอประสาทตาหลุดลอก

  โรคจอประสาทตาหลุดลอก

โรคจอประสาทตาหลุดลอก เป็นอาการที่รุนแรงและส่งผลต่อการมองเห็น โดยเกิดขึ้นเมื่อจอประสาทตาแยกออกจากเนื้อเยื่อที่ยึดอยู่ภายใต้จอประสาทตา เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้แยกออกจากจอประสาทตา จะทำให้จอประสาทตาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
โรค จอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อมีรอยแยกในเนื้อเยื่อชั้นที่รับความรู้สึกของจอประสาทตา และของเหลวจึงไหลซึมออกมา ส่งผลให้ชั้นเนื้อเยื่อของจอประสาทตาหลุดออกจากกัน สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นมาก และเคยได้รับการผ่าตัดตาหรือเคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอก ผู้ที่มีสายตาสั้นมีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอกได้มากกว่า เนื่องจากผู้ที่มีสายตาสั้นจะมีความยาวของลูกตามากกว่าปกติ ทำให้จอประสาทตาบางและ เปราะกว่าปกติ โรคจอประสาทตาหลุดลอกอีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อเส้นของวุ้นในตาหรือเนื้อเยื่อแผลเป็นทำให้เกิดการดึงรั้งบนจอ ประสาทตา ทำให้เกิดการหลุดลอก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาชนิดนี้ได้

       อาการของโรคจอประสาทตาหลุดลอก
- มองเห็นแสงฟ้าแลบคล้ายไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป
- มีสิ่งบดบังในการมองเห็น
- มองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมามีลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุม
- การมองเห็นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
การ ตรวจพบในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีการรักษาการหลุดลอก และการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ดีที่สุด การทราบถึงคุณภาพของการมองเห็นของท่านเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะหากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น มีสายตาสั้น หรือเป็นโรคเบาหวาน หากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์โดยทันที

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคกระจกตาย้วย


โรคกระจกตาย้วย

 โรคกระจกตาย้วย (Keratoconus)

โรคกระจกตาย้วย เป็นความผิดปกติของดวงตาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างภายในกระจกตา ซึ่งทำให้กระจกตาบาง และมีรูปร่างผิดปกติ โรคกระจกตาย้วยส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ และความสามารถในการมองเห็นลดลง ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในช่วงวัยรุ่น และจะมีอาการรุนแรงที่สุดในช่วงอายุ 20-39 ปี ในบางรายอาจใช้เวลาหลายสิบปีจึงจะมีอาการรุนแรง แต่สำหรับรายอื่นๆ อาจมีอาการรุนแรงถึงระดับและหยุด
โรค กระจกตาย้วยสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี วิธีแรก คือ การใส่คอนแทคเลนส์ชนิด RGP และเมื่อการมองเห็นมีความผิดปกติจนถึงขั้นที่คอนแทคเลนส์ไม่สามารถช่วยให้ การมองเห็นดีขึ้นได้แล้ว อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา การวัดความโค้งและความหนาของกระจกตาทำให้แพทย์สามารถเห็นรูปร่างของกระจกตา และใช้ในการตรวจหาโรคกระจกตาย้วย และระดับอาการของโรคอีกด้วย

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อกระจก

โรคต้อกระจก
ลักษณะของโรคต้อกระจก

อาการต้อกระจก
ภาพจากอาการโรคต้อระจก

โรคต้อกระจก

ต้อกระจก เกิดจากเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ต้อกระจก ทำให้การมองเห็นแย่ลง ผู้ที่มีอาการของต้อกระจกมักจะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนปกติ บางครั้งมองเห็นได้ชัดเจนกว่าในที่มีแสงน้อย เนื่องจากอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่ เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลาง ในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยาย แสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ ต้อกระจกสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกเช่น ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไฟดูด หรือการติดเชื้อเรื้อรังที่ดวงตา และการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ด้วยเช่นกัน

      การรักษาโรคต้อกระจก
ต้อกระจก สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่มียาใดๆ ที่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคต้อกระจกได้ ในการผ่าตัดรักษาต้อกระจก จะมีการเปิดแผลเล็กๆ บริเวณกระจกตา และสอดเครื่องมือผ่านเข้าไปเพื่อสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวด์แล้วดูดออก ถุงหุ้มเลนส์ตามธรรมชาติจะถูกปล่อยทิ้งไว้เพื่อรองรับเลนส์แก้วตาเทียมซึ่งใส่เข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาธรรมชาติ

การผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีที่ได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูง มีโอกาสในการติดเชื้อน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ และผู้ที่ผ่าตัดรักษาต้อกระจกไปแล้ว สามารถมองเห็นได้ดีขึ้นมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทันทีหลังจากตรวจพบ ต้อกระจกสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้หลายปีหากยังไม่มีปัญหาการมองเห็นในชีวิต ประจำวัน

รายละเอียดเพิ่มเติมการรักษาต้อกระจก

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อเนื้อ


โรคต้อเนื้อ


โรคต้อลม

 โรคต้อเนื้อ

หากท่านสังเกตเห็นส่วนเล็กๆ ที่งอกบริเวณส่วนตาขาวซึ่งอยู่ติดกับตาดำ นั่นอาจเป็นอาการของ โรคต้อเนื้อ ซึ่งอาจมีสีเหลืองและมีสีแดงบ้างเล็กน้อย และมีเส้นเลือดอยู่รอบๆ ต้อเนื้อ เป็นโรคตาที่เกิดจาก การระคายเคืองอันเนื่องมาจากรังสีอัลตราไวโอเลท ฝุ่นและลม

โดยทางการแพทย์ หากเนื้องอกอยู่เฉพาะในส่วนที่เป็นตาขาว เรียกว่า “ต้อลม” หากเนื้องอกจากตาขาวลามเข้าไปในตาดำ เรียกว่า “ต้อเนื้อ” เนื้อ งอกดังกล่าวไม่ใช่มะเร็ง และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดกับดวงตา เนื้องอกนี้ทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองกับฝุ่น ลมได้มากขึ้นละทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และ น้ำตาไหลบ้างบางครั้ง การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองได้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการของโรคต้อเนื้อให้หายขาดได้

    การรักษาโรคต้อเนื้อ

การรักษาต้อเนื้อ ต้องทำการผ่าตัดเช่นเดียวกับ ต้อกระจก แต่เนื่องจากส่วนใหญ่ต้อเนื้อไม่เป็นอันตราย จึงสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ โดยใช้ยาหยอดตาหยอดเมื่อมีอาการระคายเคือง อย่างไรก็ตาม บางครั้งต้อเนื้ออาจลามเข้าไปถึงตาดำ และทำให้การมองเห็นพร่ามัวได้ ต้อเนื้ออาจมองเห็นได้ชัดและไม่สามารถใช้เครื่องสำอางปกปิดได้ ในกรณีนี้จึงแนะนำให้ผ่าตัดออก

 ใน ระหว่างการผ่าตัด ต้อเนื้อจะได้รับการผ่าตัดออกจากกระจกตา หรือตาดำ และส่วนฐานของต้อเนื้อจะปล่อยทิ้งไว้ หรือปิดทับด้วยเนื้อเยื่อซึ่งนำมาจากส่วนอื่นๆ ของดวงตา การปิดทับด้วยเนื้อเยื่อนี้ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดต้อเนื้อซ้ำอีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปหลังผ่าตัดจะปิดตาไว้ 2-3 วันหลังจากนั้นคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

   Link   www.lasikthai.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ริดสีดวงตา-Trachoma
ริดสีดวงตา เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในบ้านเรา พบมาก
ทางภาคอีสาน และในที่ ๆ แห้งแล้ง กันดารมีฝุ่นมาก และมีแมลงหวี่ 
แมลงวันชุกชุม พบได้ในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กวัยก่อนเรียน
ที่พ่อแม่ปล่อยให้เล่นสกปรกทั้งวัน  การอักเสบจะเป็นเรื้อรังเป็นแรม
เดือนแรมปี และอาจติดเชื้ออักเสบซ้ำ ๆ หลายครั้ง เนื่องจากภูมิต้าน
ทานต่อโรคนี้มักมีอยู่เพียงชั่วคราว
โรคนี้ในบ้านเราถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้คนตาบอด


สาเหตุ
มักเกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส (ที่
พบบ่อย คือ เริม และงูสวัด) โดยอาจมีประวัติได้รับการกระทบกระ
เทือน ทิ่มแทง หรือเสียดสีถูกกระจกตา หรือมีสารเคมี หรือสิ่งแปลก
ปลอมเข้าตา แล้วเชื้อโรคเข้าไปแบ่งตัวในเนื้อของกระจกตาเกิดการ
อักเสบเป็นแผลขึ้น
หรือไม่อาจเป็นเพราะกระจกตามีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำ เช่น การ
ใช้ยาหยอดตาสเตอรอยด์นาน ๆ, โรคขาดวิตามินเอ, หนังตาหลับไม่
มิด เนื่องจากเป็นอัมพาตปากเบี้ยว ทำให้ผิวของกระจกตาดำแห้งติด
เชื้อง่ายนอกจากนี้    อาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคริดสีดวงตา 
หรือโรคขนตาเก , เยื่อตาขาวอักเสบ
อาการ
ในระยะที่ติดเชื้ออักเสบใหม่ ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา เคืองตา กลัว
แสง น้ำตาไหล ตาแดง ตาพร่ามัว  อาจมีขี้ตาสีเหลืองเขียว   ในรายที่
การอักเสบทุเลาลงแล้ว และเหลือแต่แผลเป็นที่กระจกตาดำจะทำให้
ผู้ป่วยมีอาการตามัว หรือฝ้าฟางจะตรวจพบแผลเป็นขุ่นขาวที่กระจก
ตาดำ เรียกว่า ต้อลำไย ซึ่งจะบดบังแสงไม่ให้เข้าตา ทำให้มีอาการ
ตาบอดได้ ส่วนมากมักเป็นที่ตาเพียงข้างเดียว
สิ่งตรวจพบ
ตาแดง มีขี้ตาสีเหลืองเขียวและตรวจพบแผลที่กระจกตา เห็นเป็น
รอยฝ้าสีเทา ๆ หรือสีขาว ในระยะการอักเสบทุเลาแล้ว จะพบแผล
เป็นขุ่นขาว (ต้อลำไย)
อาการแทรกซ้อน
ในระยะที่มีการติดเชื้ออักเสบ เชื้อโรค อาจกินทะลุชั้นของกระจกตา
เข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบภายในลูกตา อาจกลายเป็นม่านตา
อักเสบ, มีหนองขังอยู่ในช่องลูกตาหน้า (hypopyon), ลูกตาอักเสบ
ทั่วไป (panophthalmitis) จนตาเสียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิด
จากเชื้อรา มักจะมีความรุนแรงมาก
ในรายที่กลายเป็นแผลเป็นที่กระจกตา (ต้อลำไย) ทำให้ตามองเห็น
ไม่ถนัด ถ้าแผลเป็นมีขนาดใหญ่และอยู่ตรงกลางตาดำก็จะทำให้ตา
มองไม่เห็น
การรักษา
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลด่วน ควรให้ขี้ผึ้งป้ายตาเจนตาไมซิน
แล้วปิดตาด้วยผ้ากอซ ควรตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตาม
สาเหตุพร้อมกับให้ยาหยอดตาอะโทรพีน ขนาด 1% เช่นเดียวกับการ
รักษาโรคม่านตาอักเสบ 
ถ้าเป็นแผลที่กระจกตา และประสาทตายังเป็นปกติ อาจต้องทำการ
ผ่าตัดปลูกถ่าย (หรือเปลี่ยน) กระจกตา (corneal transplantation) 
โดยตัดเอาส่วนที่เป็นแผลเป็นออกไป แล้วเอากระจกตาที่ปกติของ
ผู้เสียชีวิตใหม่ ๆ มาใส่แทน จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับเห็นเหมือนปกติได้ 
(การผ่าตัดเปลี่ยนตา ก็หมายถึง การผ่าตัดชนิดนี้ ไม่ใช่หมายถึง
เปลี่ยนลูกตาทั้งลูก ซึ่งยังเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้)
ข้อแนะนำ
โรคนี้ถือว่าเป็นภาวะร้ายแรง ถ้าพบขณะที่มีอาการอักเสบรุนแรงควร
ส่งโรงพยาบาลด่วน หากปล่อยไว้อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
การป้องกัน
ควรหาทางป้องกัน ด้วยการระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมเข้าตา (ถ้าทำ
งานในโรงงานที่เสี่ยงต่อปัญหานี้ควรสวมหน้ากากหรือแว่นตาป้องกัน
โดยเฉพาะ)   หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาที่เข้าสเตอรอยด์โดยไม่จำ
เป็น และพยายามรักษาโรคตาต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุ ของโรคนี้
รายละเอียด
ห้ามใช้ยาหยอดตาสเตอรอยด์นาน ๆ อาจทำให้เป็นแผลที่กระจก
ตาดำ และต้อหินได้

ริดสีดวงตา-Trachoma ริดสีดวงตา เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในบ้านเรา พบมาก
ทางภาคอีสาน และในที่ ๆ แห้งแล้ง กันดารมีฝุ่นมาก และมีแมลงหวี่ 
แมลงวันชุกชุม พบได้ในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กวัยก่อนเรียน
ที่พ่อแม่ปล่อยให้เล่นสกปรกทั้งวัน  การอักเสบจะเป็นเรื้อรังเป็นแรม
เดือนแรมปี และอาจติดเชื้ออักเสบซ้ำ ๆ หลายครั้ง เนื่องจากภูมิต้าน
ทานต่อโรคนี้มักมีอยู่เพียงชั่วคราว
โรคนี้ในบ้านเราถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้คนตาบอด
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อริดสีดวงตาที่มีชื่อว่า คลามีเดีย ทราโคมาติส 
(Chlamydia trachomatis) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างไวรัสกับ
แบคทีเรีย ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ทำให้เชื้อจากคนที่
เป็นโรคแพร่ไปเข้าตาของอีกคนหนึ่ง บางครั้งอาจติดต่อผ่านทางผ้า
เช็ดตัว เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกัน หรือผ่านทางแมลงหวี่แมลงวัน
ที่มาตอมตา นำเชื้อจากคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่ง การติดต่อมักจะต้อง
อยู่ใกล้ชิดกันนานๆ จึงมักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในครอบครัวเดียว
กัน  เชื้อนี้จะเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุตาขาวและกระจกตา 
(ตาดำ) ระยะฟักตัว 5-12 วัน
อาการ
แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่
1. ระยะแรกเริ่ม มี อาการเคืองตา คันตา น้ำตาไหลตาแดงเล็กน้อย
และอาจมีขี้ตา ซึ่งมักจะเป็นที่ตาทั้งสองข้าง อาการจะคล้ายกับเยื่อ
บุตาอักเสบจากเชื้ออื่น ๆ จนบางครั้งแยกกันไม่ออก แต่อย่างไรก็
ตาม ถ้าพบว่ามีอาการเรื้อรังนาน 1-2 เดือน และอยู่ในท้องถิ่นที่มี
โรคนี้ชุกชุม หรือมีคนในบ้านเป็นโรคนี้อยู่ก่อน ก็อาจให้การรักษา
แบบโรคริดสีดวงตาไปเลย ถึงแม้ไม่ได้รักษาในระยะนี้บางคนอาจ
หายได้เองแต่บางคนอาจเข้าสู่ระยะที่ 2
2. ระยะที่เป็นริดสีดวงแน่นอนแล้ว การอักเสบจะลดน้อยลง ผู้ป่วยจะ
มีอาการต่าง ๆ ลดลงกว่าระยะที่ 1 แต่ถ้าพลิกเปลือกตาดูจะพบเยื่อบุ
ตาหนาขึ้น และเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ที่เยื่อบุตาบน (ด้านในของผนังตา
บน) นอกจากนี้จะพบว่ามีแผ่นเยื่อบางๆ ออกสีเทา ๆ ที่ส่วนบนสุดของ
ตาดำ (กระจกตา) ซึ่งจะมีเส้นเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ แผ่นเยื่อสี
เทาซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ด้วยนี้ เรียกว่า แพนนัส (pannus) ซึ่งเป็น
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้ (เยื่อตาขาวอักเสบจากการแพ้ อาจมีตุ่มเล็ก ๆ 
ที่เยื่อบุเปลือกตา แต่จะไม่มีแพนนัสที่ตาดำ) ระยะนี้อาจเป็นอยู่
นานเป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ
3. ระยะเริ่มแผลเป็น ระยะนี้อาการเคืองตาลดน้อยลง จนแทบไม่มี
อาการอะไรเลย ตุ่มเล็กๆ ที่เยื่อบุเปลือกตาบนเริ่มค่อย ๆ ยุบหายไป 
แต่จะมีพังผืดแทนที่กลายเป็นแผลเป็น ส่วนแพนนัสที่ตาดำยังคง
ปรากฏให้เห็นระยะนี้อาจกินเวลเป็นปี ๆ เช่นกัน การใช้ยารักษาใน
ระยะนี้ไม่ค่อยได้ผล
4.ระยะของการหายและเป็นแผลเป็น ระยะนี้เชื้อจะหมดไปเองแม้จะ
ไม่ได้รับการรักษา แพนนัสจะค่อยๆ หายไป แต่จะมีภาวะแทรกซ้อน
เกิดขึ้น ที่พบได้คือ แผลเป็นที่เปลือกตา ทำให้ขนตาเกเข้าไปตำถูก
ตาดำ เกิดเป็นแผลทำให้สายตามืดมัว และแผลเป็น อาจอุดกั้นท่อ
น้ำตา ทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลา หรือไม่อาจทำให้ต่อมน้ำตาไม่ทำ
งาน ทำให้ตาแห้ง นอกจากนี้ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ตาดำ
เป็นแผลเป็นมากขึ้น จนในที่สุด ทำให้ตาบอด
แต่อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงทุกคน บางคนเป็น
แล้ว อาจหายได้เองในระยะแรก ๆ ส่วนคนที่มีภาวะแทรกซ้อน มักจะ
มีการติดเชื้ออักเสบบ่อย ๆ ประกอบกับมีปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น การติด
เชื้อ แบคทีเรียซ้ำเติม ขาดอาหาร ขาดวิตามิน เป็นต้น
การรักษา
1. หากสงสัยเป็นริดสีดวงตา ให้กินเตตราไซคลีน  หรืออีริโทรไมซิน 
และใช้ยาป้ายตาเตตราไซคลีน (ย25.9) วันละ 4 ครั้ง นาน 14 วันถ้า
ไม่ดีขึ้นควรส่งโรงพยาบาล
2. ถ้าดีขึ้น อาจให้การรักษาแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
2.1 ใช้ยาป้ายตาเตตราไซคลีน วันละ 4 ครั้งติดต่อกันทุกวันไปจน
ครบ 6 สัปดาห์ หรือ
2.2 ใช้ยาป้ายตา โดยเว้นช่วงเป็นพัก ๆ กล่าวคือ ป้ายตาทุก ๆ เดือน 
เดือนละ 5 วันติดต่อกัน วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น แล้วเว้นไปจนครบรอบ 
1 เดือน จึงป้ายใหม่ เช่น ถ้าเดือนแรกป้ายตาวันที่ 6 ถึงวันที่ 10  ต่อ
ไปทุก ๆ เดือน ก็ป้ายตาในที่ 6 ถึง 10 เป็นต้น ทำเป็น เวลา 6 เดือน
3. ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องผ่าตัดแก้ไข
เปลือกตาที่เป็นแผลเป็น อันเป็นต้นเหตุของภาวะแทรกซ้อนในราย
ที่เป็นแผลเป็นที่กระจกตา (cornea) อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ควรแยกออกจาก เยื่อตาขาวอักเสบชนิดอื่น ควรสงสัยเป็น
ริดสีดวงตา เมื่อมีการอักเสบเรื้อรังเป็นเดือน ๆ และอยู่ในท้องถิ่นที่
มีโรคนี้ชุกชุม
2. คำว่าริดสีดวงตา ชาวบ้านหมายถึง อาการเคืองตา คันตาเรื้อรัง ซึ่ง
อาจมีสาเหตุจากการแพ้ หรือจากการติดเชื้อริดสีดวงตา
(Trachoma) ก็ได้ ทั้ง 2 โรคนี้มีสาเหตุอาการ ภาวะแทรกซ้อนและ
การรักษาต่างกัน
3. การรักษาริดสีดวงตา ต้องลงมือรักษาตั้งแต่ในระยะที่ 1 และ 2 ซึ่ง
เป็นระยะที่มีการติดเชื้อรุนแรง การใช้ยาปฏิชีวนะจะสามารถทำลาย
เชื้อ และป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในระยะที่ 3 และ 4 เป็น
ระยะที่การติดเชื้อเบาบางลงแล้ว และเปลือกตาเริ่มเป็นแผลเป็น การใช้ยา
ปฏิชีวนะในระยะนี้ จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์ คือไม่สามารถ
ลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ควรรักษาผู้ป่วยที่มีอยู่ในบ้าน
พร้อมกันทุกคน
4. อาการขนตาเก (ตาน้ำ ก็เรียก) นอกจากมีสาเหตุจากริดสีดวงตา
แล้ว ยังอาจพบในคนสูงอายุ เนื่องจากหนังตาล่างหย่อนยาน ทำให้
กล้ามเนื้อมีการหดตัวมากกว่าปกติ ดึงเอาขอบตาม้วนเข้าใน เรียกว่า 
อาการเปลือกตาหันเข้าใน (Entropion) ทำให้มีขนตาทิ่มตำถูกตา
ขาวและตาดำ มีอาการเคืองตา น้ำตาไหล เยื่อบุตาอักเสบ ถ้าปล่อย
ไว้ อาจทำให้มีแผลที่กระจาตาดำ สายตามืดมัวหรือตาบอดได้
การรักษา ถ้ามีขนตาเกเพียงไม่กี่เส้น ก็อาจใช้วิธีถอนขนตา แต่ถ้ามี
หลายเส้น ควรแนะนำไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล

การป้องกัน
การป้องกันริดสีดวงตา สามารถทำได้ดังนี้
1. ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นฝุ่นละออง หรือให้แมลงหวี่ แมลงวันตอมตา
2. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
3. หมั่นล้างมือล้างหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ
4. กำจัดขยะมูลฝอยในบริเวณบ้านด้วยวิธีเผา หรือฝังเพื่อป้องกันมิให้ 
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงและเชื้อโรค

1.ตากุ้งยิง (stye หรือ hordeolum)
 
     ตากุ้งยิง (stye หรือ hordeolum) คือการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณฐานของขนตา (ใต้เปลือกตา) โดยมีอาการบวม แดง ร้อน และอาจมีอาการปวด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อนัยน์ตา รักษาได้ด้วยยาหยอดตาหรือยาป้ายตา หรือรับประทานยาปฏิชีวนะ
     สมัยก่อนถ้าใครตาบวมแดง และมีตุ่มเล็กๆขึ้นที่ตา มักจะถูกล้อว่าเป็น “ตากุ้งยิง” และคาดเดาสาเหตุต่างๆของการเกิดตากุ้งยิง บริเวณขอบเปลือกตาของคนเราจะมีต่อมขนาดเล็กๆ เป็นจำนวนมาก ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้อักเสบเป็นฝีที่เปลือกตาเรียกว่า “กุ้งยิง” (Hordeolum,Stye) ทำให้มีก้อนที่เปลือกตา มีอาการบวม เจ็บ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ต่อไปก้อนนี้จะเป็นหนองและแตกเองได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดกุ้งยิง
     กุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บางรายเกิดเนื่องจากมีการอุดตันของต่อมเปลือกตานำมาก่อน แล้วเกิดการติดเชื้อมีอยู่ปกติในบริเวณนั้นตามมา เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกุ้งยิงส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อสแตพไฟโลคอคคัส ต้นเหตุที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ได้แก่
•   เปลือกตาไม่สะอาด มักเกิดจากการขยี้ตาบ่อยๆ
•   ใช้เครื่องสำอาง แล้วล้างออกไม่หมดหรือล้างไม่สะอาด
•   ใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือไม่สะอาด
การรักษา
     กุ้งยิงในระยะแรก ซึ่งมีลักษณะแบบเปลือกตาอักเสบ ยังไม่มีหนอง รักษาโดยการประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-20 นาที เป็นเวลา 3-4 วัน เพื่อช่วยลดอาการบวม เจ็บ และเป็นการทำให้รูเปิดของต่อมเปลือกตาไม่อุดตัน ในขณะทำการประคบให้หลับตาไว้ การใช้ยา ควรได้รับการตรวจตาและสั่งยาโดยแพทย์ ยาที่ใช้มักเป็นยาปฏิชีวนะหยอดตา ป้ายตา และบางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะรับประทานร่วมด้วย กุ้งยิงที่เป็นประมาณ 2-3 วันขึ้นไป ถ้ายังไม่ดีขึ้น มักจะมีหนองอยู่ภายในก้อน จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเจาะและขูดเอาหนองออกและใช้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 3-5 วัน หรือจนกว่าจะหายอักเสบ ในบางรายอาจเป็นซ้ำได้ถ้าหนองออกไม่หมด หรือการอักเสบยังไม่หายดี หลังจากเจาะกุ้งยิง แพทย์มักปิดตาข้างนั้นไว้ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยลดอาการบวมประมาณ 4-6 ชั่วโมง ท่านไม่ควรขับรถในช่วงนั้น เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้ามีอาการปวดเจ็บบริเวณที่เป็น ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเอง เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้นได้
การป้องกัน
•      ดูแล รักษาความสะอาดบริเวณเปลือกตาและใบหน้า
•   หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณเปลือกตาหรือขยี้ตาบ่อยๆ
•   ทำการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นเพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้การอักเสบเป็นมากขึ้น
     กุ้งยิง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ ถ้าระมัดระวังในเรื่องของสุขอนามัย กุ้งยิงไม่ใช่โรคร้ายแรง โดยทั่วไป มักรักษาให้หายได้ภายใน 1 สัปดาห์ ในกรณีที่กุ้งยิงเป็นนานผิดปกติหรือเป็นซ้ำบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 2. โรคตาแดง
     โรคตาแดง (Conjunctivitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส การติดเชื้อไวรัสตาแดงมีทั้งหมด 3 ชนิด คือ
     1.ชนิดคออักเสบร่วมด้วย
     2.ชนิดตาอักเสบไม่มาก
     3.ชนิดตาอักเสบรุนแรง ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าทุกชนิด
 
     อาการติดเชื้อไวรัสตาแดงชนิดมีเลือดออก (Acute hemorrhagic Conjunctivitis) นี้ ระยะเวลาของโรคตาแดงนี้จะนาน 10-14 วัน
     โรคตาแดง สามารถติดต่อได้ง่ายๆ โดย
     1.การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือและแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตา โดยตรง
     2.ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
     3.ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
     4.แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
     5.ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า
     ทั้งนี้ โรคตาแดง จะไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่างๆ จะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน และระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน
     อาการของ โรคตาแดง
     ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อๆ น้ำตาไหลเจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไวรัสมาถูกตาข้างที่ดีจะไม่เป็นตา แดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว
     ฤดูกาล โรคตาแดง
     มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น
     โรคแทรกซ้อน โรคตาแดง
     มีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3 สัปดาห์ หรือบางรายเป็น 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน
    การรักษา โรคตาแดง
     จะรักษา โรคตาแดง ตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามากก็หยอดยาปฎิชีวนะ มีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด
     ผู้ป่วย โรคตาแดง ต้องพยายามรักษาสุขภาพพักผ่อนมากๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึกควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว และควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสง
     ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้
     หากรักษาด้วยยาป้ายตา หรือยาหยอดตานานเกิน 7 วัน แล้วอาการยังไม่ทุเลา หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น ปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเป็นหนอง ลืมตาไม่ขึ้น มีไข้สูง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะหากทิ้งไว้นานถึงขั้นตาบอดได้
     การป้องกัน โรคตาแดง
     1.ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
     2.ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
     3.ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
     4.อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
     5.หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ     
     6.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน เพื่อป้องกันการกระจายของโรค
     ทั้งนี้หากมีอาการตาแดง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดอาการตาแดง ซึ่งนอกจากจะเกิดจากเชื้อไวรัสแล้ว อาจเกิดจากสารเคมี หรือรังสี โดยเฉพาะรังสีอุลตราไวโอเลตได้     
     ที่สำคัญ ผู้ป่วยโรคตาแดงควรหยุดเรียนหรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลามหรือติดต่อสู่คนอื่น.

3.โรคตาเป็นต้อกระจก (cataract)
     โรคต้อกระจกเป็นโรคตาที่พบบ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ ทำให้ตาฝ้าฟางมองอะไรไม่ค่อยเห็นคล้ายกับมีเยื่อขาวบาง ๆ มาขวางกั้นสายตาไว้ โรคตาเป็นต้อกระจก (cataract) เป็นอาการทางสายตาที่เกิดจากเลนส์ตาขุ่นขาว ในสมัยก่อนไม่ทราบว่าโรคนี้เกิดจากอะไรทราบเพีย งว่าเป็นโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ แต่บางครั้งอาจพบในคนหนุ่มสาวได้บ้างและในระยะ หลัง ๆ พบว่าคนหนุ่มสาวเป็นต้อกระจกกั นมากขึ้น
     ต่อมามีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค พบว่า สาเหตุของต้อกระจกส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด จึงทราบว่าเห ตุใดคนหนุ่มสาวยุคใหม่จึงเป็นต้อกระจกกันเพิ่มมากขึ้น เพราะแสงแดดในสมัยนี้มีรังสีอัลตราไวโอเลตมากขึ้นนั่นเอง เนื่องจากม่านที่ใช้ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตบนฟากฟ้าหรือชั้นของโอโซนใน บรรยากาศ ถูกมลพิษจากพื้นผิวโลกลอยฟุ้งขึ้นไปทำลายจนเกิดเป็นช่องโหว่ให้รังสีอัลตรา ไวโอเลตลอดผ่านลงมาได้
ปกติในเลนส์ตาของมนุษย์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง อยู่เป็นจำนวนมาก กรดไขมันเหล่านี้อ่อนไหวต่อออกซิเจน เมื่อสัมผัสกับออกซิเจน โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตช่วยกระตุ้นบ่อย ๆ ก็เกิดปฏิกิริยาสร้างอนุมูลอิสระ (free-radical) ขึ้น อนุมูลอิสระที่ถูกสร้างขึ้นมาจากปฏิกิริยาออ กซิเดชันจะก่อปัญหาให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุด สร้างปัญหาให้เซลล์เปลี่ยนสภาพถ้าเกิดขึ้นกับเลนส์ตา ทำให้เลนส ์ตารับแสงได้น้อยลงจากการที่เคยเห็นภาพต่าง ๆ ได้ชัดเจนกลายเป็นเห็นภาพขุ่นมัว นี่คืออาการเกิดเป็นต้อกระจกของดวงตา ต้อกระจกกับอนุมูลจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ยิ่งมีอายุเพิ่มมากขึ้นปัญหาจากอนุมูลอิสระจะยิ่งสะสม เลนส์ตายิ่งมีลักษณะขุ่นมัวเพิ่มขึ้นตามอายุนักวิชาการทางการแพทย์ได้ให้ข้อ สรุปที่ค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับการเกิดอนุมูลอิสระประเภท Oxy บริเวณเลนส์ตาเป็น ต้นตอสำคัญทำให้เกิดต้อกระจก แพทย์และนักโภชนาการจึงเชื่อว่าถ้ารับประทานอาหารประเภทที่ให้สารแอนตีออกซิ แดนซ์ ( antioxidant) จะช่วยแก้ปัญหาการเกิดต้อกระจกได้ สารแอนตีออกซิแดนซ์จะเข้าไปทำงานโดยไปรับอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลอิสระไม่สามารถทำปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไปได้ จึงไม่สามารถสร้างสารอื่น ๆ ต่อไปได้อีก
     สารที่ทำหน้าที่เป็นตัวแอนตีออกซิแดนซ์มีหลายชนิด แต่ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายคือ วิตามินอี วิตามินซี และแคโรทีนอยด์ นักวิจัยทางการแพทย์พบว่าผู้เป็นต้อกระจกจะมีปริมาณอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก แต่มีสารแอนติออกซิแดนซ์ต่ำรวมทั้งปริมาณวิตาม ินอี และวิตามินซีก็มีน้อยด้วย และการรักษาต้อกระจกต้องใช้วิธีการผ่าตัดทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงและมีความ เสี่ยงสูงด้วย แพทย์จึงเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดควรใช้วิธีป้องกัน โดยรับประทานอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนซ์ในปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีสารดังกล่าวมากคือผักและผลไม้ไทย มีหลายชนิดที่มีสารวิตามินซีสูง ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยวพวกมะนาว ส้มเขียวหวาน มะม่วง ม ะปราง มะกอก มะม่วง ฝรั่ง และกล้วย เป็นต้น โดยเฉพาะฝรั่งปรากฏว่ามีวิตามินซีสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น ส่วนผักได้แก่ผักใบเขียวเข้มซึ่งจะมีทั้ง วิตามินซีและสารแคโรทีนอยด์สูง เช่น ใบและดอกขี้เหล็ก ยอดผักใบเขียวพวกคะน้า บล็อคโคลี ใบย่านาง มะระ มะรุม พริก เป็นต้น
     จากงานวิจัยของ ดร.พอล จาคส์ (Paul Jacques) กรรมการเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่า คนอเมริกันที่รับประทานผักและผลไม้บ่อย ๆ มีโอกาสเกิดต้อกระจกน้อย กว่าผู้ไม่บริโภคผักและผลไม้ถึง 4 เท่าครึ่ง และผู้ที่ไม่รับประทานผักและผลไม้เลยจะเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกมากขึ้นถึง 6 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีระดับวิตามินซีในเลือดต่ำ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกมากขึ้นถึง 11 เท่า ส่วนผู้ ที่มีระดับสารแคโรทีนอยด์ในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปถึง 7 เท่า เรื่องมีวิตามินซีในเลือดและในเลนส์ตาต่ำนี่ เองที่ ดร.โลมานน์ (W. Lohmann) พบเช่นกันว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจก
     นอกจากผักและผลไม้แล้วน้ำมันพืชก็มีความสำคัญ น้ำมันพืชหลายชนิดที่มีวิตามินอีสูงก็น่าจะเป็นตัวเลือก อย่าเลื อกน้ำมันพืชชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะกรดไขมันกลุ่มนี้เกิดอนุมูลอิสระได้ง่ายจึงต้อง การวิตามินอีเพื่อป้องกันตัวมันเอง วิตามินอีในน้ำมันพืชกลุ่มที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงจึงให้ประโยชน์กับร่าง กายน้อยเพราะ น้ำมันพืชเองต้องเอาวิตามินอีไปใช้เป็นสารกันหืนธรรมชาติเสียเกือบหมด น้ำมันพืชที่น่าจะเหมาะสมเพราะมีวิตามินอีสูงและมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เกินไปนัก ได้แก่ น้ำมันปาล์มโอเลอินและน้ำมันรำข้าว ซึ่งต่างเป็นน้ำมันจากพืชเมือง ร้อน และในกรณีน้ำมันรำข้าวยังมีสารแอนติออกซิเดนซ์ตัวอื่น ๆ ที่ไม่ใช้วิตามินอีอยู่ด้วย เช่น ออริซานอล (oryzanol) ปนอยู่ย่อมให้ประโยชน์มากขึ้น ขณะเดียวกันในน้ำมันปาล์มโอเลอินเองยังมีสารแคโรทีนอยด์อยู่ด้วยไม่น้อยซึ่ง เป็นสารแอนติออกซิเดนซ์ เช่นกันการรับประทานน้ำมันพืชกลุ่มดังกล่าวนอกจากจะให้ไขมันซึ่งให้พลังงาน และได้กรดไขมันจำเป็นในปริมาณที่พอเหมาะแล้ว ร่างกายยังได้รับสารแอนติออกซิเดนซ์ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดเป็นโรคต้อกระจกได้

4.โรคตาแดง
 
     โรคตาแดงเป็นการอักเสบของเยื่อบุตาขาวที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย รวดเร็ว และทำให้เกิดอาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะพบมีการระบาดเป็นช่วงๆ มักเป็นในฤดูฝน การติดต่อของโรคเกิดโดยตรงจากการสัมผัส การใช้ของร่วมกัน การไอ หรือการหายใจรดกัน หลังจากได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการภายใน 1-2 วัน และเมื่อเกิดเป็นขึ้นมาแล้วจะมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นนานถึง 2 สัปดาห์
     ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว เคืองตา เจ็บตา น้ำตาไหล ไม่มีขี้ตานอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตา บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บ ผู้ที่เป็นมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วัน ก็จะลุกลามไปกับตาข้างหนึ่งระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
     ในบางรายเมื่อตาแดงดีขึ้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อนคือตาดำอักเสบ โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการมัวลงทั้งๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว มักเกิดขึ้นในวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง ตาดำอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเป็นอยุ่นานหลายๆ เดือนกว่าจะหาย
การรักษา
     เนื่องจากโรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขณะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา ถ้ามีอาการเจ็บตาให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ถ้ามีอาการเคืองตา แพทย์จะแนะนำให้ใส่แว่นกันแดด ไม่ควรปิดตา และไม่จำเป็นต้องล้างตา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตา ระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์
การป้องกัน
     โรคตาแดงเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรง มีการระบาดอย่างรวดเร็ว และติอต่อกันง่ายมาก การป้องกันระมัดระวังไม่ให้ติดโรคนี้ ทำได้โดยการแยกผู้ป่วย เช่น หยุดงาน หยุดเรียน ไม่พูด ไอ หรือจามรอผู้อื่น ไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตาเพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกัน ในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนอีกตาข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะตาข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องหยอดตาข้างปกติด้วย เพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็นไปยังตาข้างปกติ
     อาการตาแดงนอกจากจะเกิดจากโรคตาแดง ซึ่งมีการระบาดกันอยู่บ่อยๆ แล้วยังอาจพบได้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค และบางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง คือทำให้มีการสูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาดำอักเสบ ดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้

อัพเดทล่าสุด