โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับตามีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับตาในเด็ก


4,536 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับตามีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับตาในเด็ก

โรคเกี่ยวกับตา
โรคเกี่ยวกับตา
     1. กุ้งยิง

      2. ต้อ

      3. ป้องกันตาเป็นต้อ

      4. ปวดตา

      5. ตาอักเสบจากไม้หรือของแข็งดีดเข้าตา

      6. แสบตาเนื่องจากถูกแสงจ้ามากเกินไป

      7. ตาอักเสบเนื่องจากโดนลมหรือแดดมาก

      8. ของแข็งเข้าตา

      9. ตาแดง

     10. ตาแดงในเด็กเล็ก

     11. ตาบอดกลางคืน

     12. น้ำตาไหลมาก

     13. คันตา

     14. เกล็ดกระดี่ขึ้นตา

--------------------------------------------------------------------------------

๑. กุ้งยิง

ขนานที่ ๑

กุ้ง ยิงเป็นฝีชนิดหนึ่ง เวลาเป็น ให้เอาหม้อต้มน้ำให้เดือดแล้วยกลงจากเตา เอาผ้าขาวมาคลุมหัวกับหม้อน้ำไว้ ลืมตารมไอน้ำจนหมดไอ กะระยะให้พอดี อย่าให้ตาร้อนเกินไป ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่รู้สึก ปวดหรือเคืองตาวันละ ๔ ครั้งทำแล้วตาจะรู้สึกหายเจ็บปวดและหัวกุ้งยิงจะค่อยๆ ยุบไป

ขนานที่ ๒

ใช้ยอดตำลึงเขี่ยที่เป็นกุ้งยิงให้ยางตำลึงติดอยู่ ทำวันละ ๓ ครั้ง กุ้งยิงจะยุบลง

 ขนานที่ ๓

 ถ้าเริ่มเป็นใช้เนื้อขมิ้นอ้อยเขี่ยและลูบตรงที่เป็นหัว กุ้งยิงจะยุบทันที

--------------------------------------------------------------------------------

 ๒. ต้อ

ขนานที่ ๑

เอา ดอกมะลิลา ๑ กำมือ ตำให้ละเอียดผสมพิมเสนแท้ ๒ เกล็ด คั้นเอาน้ำหยอดตาวันละ ๔-๕ ครั้ง (ดอกมะลิควรใช้ที่ปลูกเอง อย่าซื้อ เพราะที่เขาปลูกอาจมียาฆ่าแมลงเป็นอันตรายได้)

ขนานที่ ๒
เอาต้น อัญชันดอกขาวทั้ง ๕ ต้มพอเดือดเอาไอน้ำมารมตา ก่อนจะโรยตาให้โรยพิมเสนอย่างดี สัก ๔-๕    เกล็ด ลงไปในหม้อก่อนแล้วค่อยๆ เปิดฝาหม้อให้ควันรมตาทีละน้อย ทำวันละ ๑ ครั้ง ยาหม้อหนึ่งใช้ได้   ๓ วัน ทำติดต่อกันราว ๑-๒ เดือน

--------------------------------------------------------------------------------
 ๓. ป้องกันตาเป็นต้อ

 เอาดอกมะลิลาลอยน้ำในขัน ๑ คืน เอาน้ำมาล้างหน้าล้างตา เป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคต้อได้

--------------------------------------------------------------------------------

 ๔. ปวดตา

รู้สึกตาช้ำทั้งๆ ที่ไม่ได้โดนอะไร มักเกิดจากอ่านหนังสือย้อนแสงหรืออ่านในที่มีแสงไม่พอ ให้เปลี่ยนที่อ่านหนังสือ

--------------------------------------------------------------------------------

 ๕. ตาอักเสบจากไม้หรือของแข็งดีดเข้าตา

 ขนานที่ ๑

เอา ถุงพลาสติกเล็กๆ ใส่น้ำและน้ำแข็งท่อนห่อด้วยผ้าหนาๆ ประคบที่ตา น้ำแข็งอย่าใส่มากไป เพราะ  ก้อนน้ำแข็งจะไปกดตา และอย่าใช้น้ำมากเพราะน้ำจะกดตาเช่นเดียวกัน ประคบจนน้ำหายเย็นทำบ่อยๆ  หรือทุกๆ ๑-๒ ชั่วโมงในวันแรก หลังจากนั้นทำวันละ ๓-๔ ครั้ง


ขนานที่ ๒

เอา หัวขมิ้นอ้อยตรงที่เป็นแท่งกลางใหญ่ๆ มาตัดให้เป็นท่อนยาวๆ ขุดตรงกลางของด้านที่เล็กกว่าให้  เป็นหลุมลึกลงไป เอาน้ำนมคนใส่ลงไปในหลุมนั้นให้เต็มนำไปนึ่งให้ร้อน ทิ้งให้เย็นเอาน้ำนมที่มีสีเหลือง จากขมิ้นอ้อยหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 

ขนานที่ ๓

เอาวุ้นว่านหางจระเข้ล้างยางออกให้หมดปิดเปลือกตา
 

ขนานที่ ๔

เอาขมิ้นผงโรยไปบนถ่านไฟก้อนใหญ่ที่กำลังแดงๆ ให้มีควันขมิ้นลอดขึ้นมา ให้ผู้ป่วยลืมตารมควันขมิ้นวันละ  ๒ ครั้ง เช้า-เย็น


--------------------------------------------------------------------------------

 ๖. แสบตาเนื่องจากถูกแสงจ้ามากเกินไป

 ขนานที่ ๑

เอา สำลีสะอาดๆ มา ๒ ก้อน ชุบน้ำฝนหรือน้ำเย็นพอหมาดๆ แล้วนอนหลับตา เอาสำลีที่ชุบแล้วมาประคบ ลงบนเปลือกตาทั้งสอง น้ำยิ่งเย็นมากยิ่งดี ชุบน้ำใหม่เมื่อสำลีหายเย็นแล้วนอนพักสักครู่ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสบายขึ้น

 ขนานที่ ๒

เอา แตงกว่าดิบๆ ลูกประมาณไข่เป็ด ใช้มีดฝานตามยาวของลูกให้โค้งเหมือนรูปปากถ้วย ล้างตาแล้วนำ ส่วนที่โค้งมาคว่ำไว้บนเปลือกตาข้างที่เจ็บสักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ยิ่งนานยิ่งดี แล้วนอนพักสักครู่ตื่นขึ้นมาจะ รู้สึกสบายขึ้น


--------------------------------------------------------------------------------

 ๗. ตาอักเสบเนื่องจากโดนลมหรือแดดมาก

ให้ต้มน้ำชาจีนแก่ๆ ทิ้งไว้จนเย็นสนิทใช้สำลีชุบน้ำยานี้ปิดตาไว้สักครู่ จะคลายอักเสบลงได้

--------------------------------------------------------------------------------

 ๘. ของแข็งเข้าตา

เอาน้ำมันละหุ่ง ใช้หยอดตาครั้งละ ๒ หยด เมื่อเวลาของแข็งเข้าตา เช่นทราย กรวด หิน ผงเหล็ก กันมิให้บาดตาแล้วรีบเอาของที่เข้าตาออก

--------------------------------------------------------------------------------

 ๙. ตาแดง

ขนานที่ ๑

เอา ผักบุ้งสด ๑ ต้น ล้างน้ำให้สะอาดตำในครกสะอาดให้ละเอียด คั้นน้ำใส่ถ้วยไว้ใช้หยอดตาทั้งสองข้าง  (ถึงแดงข้างเดียวก็ต้องหยอดทั้งสองข้าง)

ขนานที่ ๒

เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้หยอดตาบ่อยๆ หรือวันละ ๒ ครั้ง เช้าและก่อนนอน (คนที่แพ้ห้ามหยอด)


ขนานที่ ๓

เอา ผ้าชุบน้ำอุ่นค่อนข้างร้อน บิดพอหมาดๆ วางทับหนังตาเอาไว้จนผ้าหายอุ่น แล้วจึงทำใหม่อีกที ทำ   เช่นนี้ทุกครั้งที่ปวดตาหรือเคืองตา หรือวันละ ๔ ครั้ง

ขนานที่ ๔

เอาสารส้มสะตุใหม่ๆ โดยใช้สารส้มก้อนขนาดเท่าเม็ดมะขามใหญ่ๆ ๑ ก้อนเอาไปสะตุแล้วละลายน้ำสุก ที่เพิ่งเย็น ละลายเข้าด้วยกันแล้วหยอดตา แก้ตาแดง ตาเจ็บ เยื่อตาเป็นแผล หยอดวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน ยานี้ไม่ควรใช้ข้ามวัน
 

ขนานที่ ๕

เอา ขมิ้นผง ๑ ช้อนแกง (ใช้ช้อนแกงแบบช้อนสังกะสีตักผงขมิ้นแล้วใช้มือปาดผงขมิ้นที่ล้นออกต้มกับ น้ำ ๒  แก้ว ต้มจนเหลือน้ำ ๑ แก้ว ใช้น้ำยานี้ล้างตาและหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้ง เช้าและก่อนนอนยานี้ห้าม  ใช้ข้ามวัน

 ขนานที่ ๖

เอาแก่น ฝานหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดสัก ๕-๑๐ นาที ใส่พิมเสนลงไปสักเล็กน้อย    (ใส่จนพิมเสนไม่ละลาย) เอาน้ำยาที่ได้ใช้ล้างตาและหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน ห้าม  ใช้ยาข้ามวัน

ขนานที่ ๗

เอาชาจีนชงด้วยน้ำเดือดให้แก่ๆ แล้วรมตาด้วยน้ำชาจนหมดไอ ทำวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน

ขนานที่ ๘
เอา หัวขมิ้นอ้อยตรงที่เป็นแท่งกลางใหญ่ๆ มาตัดให้เป็นท่อนยาวๆ ขุดตรงกลางของด้านที่เล็กกว่าให้  เป็นหลุมลึกลงไป เอาน้ำนมคนใส่ลงไปในหลุมนั้นให้เต็มนำไปนึ่งให้ร้อน ทิ้งให้เย็นเอาน้ำนมที่มีสีเหลือง จากขมิ้นอ้อยหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้ง


--------------------------------------------------------------------------------

 ๑๐. ตาแดงในเด็กเล็ก

ใช้ น้ำนมหยอดตา ให้ไปขอน้ำนมหญิงแม่ลูกอ่อน จับตัวเด็กนอนบนตัก หงายหน้าให้หญิงบีบเต้า ให้น้ำนม หยดใส่นัยน์ตาข้างละหนึ่งหยดหรือสองหยด วันละ ๒ ครั้ง วันเดียวหรือสองวันก็หาย (ต้องบีบออกจากเต้าโดยตรงจะได้สะอาด)


--------------------------------------------------------------------------------

 ๑๑. ตาบอดกลางคืน

เกิดเพราะขาดไวตามินเอ ให้กินผักบุ้งหรือตับสัตว์หรืออาหารที่มีไวตามินเอมากๆ เช่น มะละกอ ข้าวโพด


--------------------------------------------------------------------------------

 12. น้ำตาไหลมาก

 เอา สารส้มสะตุใหม่ๆ โดยใช้สารส้มก้อนขนาดเท่าเม็ดมะขามใหญ่ๆ ๑ ก้อนเอาไปสะตุแล้วละลายน้ำสุก ที่เพิ่งเย็น ละลายเข้าด้วยกันแล้วหยอดตา แก้ตาแดง ตาเจ็บ เยื่อตาเป็นแผล หยอดวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน ยานี้ไม่ควรใช้ข้ามวัน

--------------------------------------------------------------------------------

 13. คันตา

ถ้า คันตาเฉยๆ โดยตาไม่แดง ไม่มีขี้ตา ตาไม่ปวด ไม่โดนกระทบกระเทือน แสดงว่าตาแพ้อะไร อย่างหนึ่ง เช่น สบู่ที่ใช้ ควันไฟ ให้หลีกเลี่ยงเสีย

--------------------------------------------------------------------------------

 14. เกล็ดกระดี่ขึ้นตา

เกิดจากขาดวิตามินเออย่างรุนแรง ให้กินตับสัตว์มากๆ และให้ถ่ายพยาธิด้วย หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ ตาเสีย

                (๑) อย่าดูโทรทัศน์ในห้องมืด ถ้าดูในห้องมืดแสงโทรทัศน์จะจ้าไป ทำลายดวงตาได้

                (๒) อย่าอ่านหนังสือย้อนแสง

                (๓) อย่าอ่านหนังสือในที่ที่แสงไม่พอ

                (๔) อย่าอ่านหนังสือบนรถ

ข้อมูลจาก https://www.thaipun.com

++++++++++++++++++++++++++++

เปิดตาดูโรคที่มากับตา : kapook.com

ดวงตา

เปิดตาดูโรคที่มากับตา (Health Plus)
          มีวิธีมากมายที่จะช่วยหยุดการเสื่อมของสายตา อันเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ลองดูแผนปกป้องดวงตาจากผู้เชี่ยวชาญของเราดังต่อไปนี้ เพื่อสุขภาพตาที่ดี ซึ่งจะอยู่คู่กับคุณไปตลอดกาล
          สายตาเสื่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เมื่ออายุมากขึ้น นั่นหมายความว่าไม่มีทางรักษาใช่หรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ ดวงตาของเราก็เช่นเดียวกับผิวที่ต้องพึ่งกลวิธีชะลอความเสื่อม
          ในบรรดาอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความอ่อนไหว ต่อการถูกอนุมูลอิสระทำลายมากที่สุด อนุมูลอิสระคืออะตอมตัวร้ายที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสื่อมและโรคภัยไข้เจ็บ แต่ข่าวดีคือสิ่งนี้ป้องกันได้
          ผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับตา หรืออย่างน้อยที่สุดก็ช่วยชะลอการเกิดโรค ดังกล่าวได้
          มาดูวิธีปกป้องสมบัติเปล่งประกายที่มีค่าที่ สุดคู่นี้กัน ตลอดจนวิธีตรวจสอบอาการผิดปกติของดวงตา รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับตาของคุณ
โรคจอ ประสาทตาเสื่อม
          ในโลกที่พัฒนาแล้วโรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอด และยังไม่มีทางรักษา โดยความผิดปกติเกิดขึ้นที่ตรงกลางของเรตินา หรือจอประสาทตา (macular) เป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็นบริเวณส่วนกลาง
จอ ประสาทตาเสื่อมมี 2 ชนิด แบบแห้งและแบบเปียก คนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้งพบมากที่สุดประมาณ 85-90% เกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของก้อนไขมันเล็ก ๆ ใต้จอประสาทตา ซึ่งทำให้สูญเสียการมองเห็นตรงบริเวณจุดกึ่งกลางของจอประสาทตา ส่วนจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นรุนแรงมากกว่า สาเหตุเกิดจากเส้นเลือดใต้จอประสาทตาผิดปกติ มีเลือดและของเหลวไหลออกมา
          "จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นค่อย ๆ ลดลงจนมองอะไรไม่ชัดเจน โดยเฉพาะตรงกลางภาพ แต่ยังมองเห็นขอบด้านข้างของภาพได้อยู่"  ดร.ซูซาน เบล็กนี่ย์ ที่ปรึกษาด้านการตรวจวัดสายตาแห่ง the Royal College Optometrists กล่าว "ขณะที่จอประสาท ตาเสื่อมแบบเปียก จะมองเห็นภาพบิดเบี้ยวเวลามองดูเส้นตรง" หรืออาจมองเห็นเป็นวงสีเทาดำตรงกลางหรือเห็นเป็นแสงระยิบระยับ "การรักษาด้วยแสงเลเซอร์สามารถใช้ได้กับโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกในการ เชื่อมต่อเส้นเลือด" ดร.เบล็กนี่ย์บอก "แต่ต้องทำในช่วงที่ปรากฏอาการเท่านั้น"
สาเหตุ
          สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดกับผู้หญิงผิวขาว ชาวตะวันตกที่มีอายุมากกว่า 60 ปีและมีตาสีฟ้า อีกสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากการที่ตาถูกรังสียูวีมากเกินไป การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังสรุปด้วยว่าคนที่มีญาติใกล้ชิด (เช่น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง) เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นถึง 3 เท่า
ป้องกันได้อย่างไร
          งดบุหรี่ คนสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนไม่สูบ 2-3 เท่า
          ทานเบต้าแคโรทีน "ผลการศึกษาพบว่าช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้" ซูซานนาห์ โอลิเวียร์ นักโภชนาการกล่าว "ดังนั้นควรรับประทานผักที่มีสีเขียวเข้มและสีส้มมาก ๆ บลูเบอร์รี่เป็นแหล่งแอนตี้ออกซิแดนท์ชั้นยอดที่ดีต่อสุขภาพดวงตา"
          ตรวจสายตา โดยเฉพาะเมื่ออายุ 60 สำหรับโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งเวลาเป็นแล้วมักไม่รู้ตัวหากไม่สังเกต เนื่องจากส่งผลกระทบกับตาเพียงแค่ข้างเดียว
วิธีปฏิ บัิติตน
          เลิกบุหรี่
          นอกจากแอนตี้ออกซิแดนท์ในอาหารแล้ว ผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ในสหรัฐฯ ชี้ว่าการรับประทานวิตามินเอ ซี อี และสังกะสีมาก ๆ ช่วยลดชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา
          คนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง ควรหมั่นไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจ เพื่อป้องกันการพัฒนาไปสู่โรคจอประสาทตาแบบเปียก
ต้อหิน
          ต้อหินเป็นภาวะที่มีน้ำคั่งภายในลูก ตา ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำภายในลูกตาได้ หรือมีน้ำในตามากเกินไป ความดันลูกตาสูงจนทำให้เกิดจุดบอด และในที่สุดจะมองเห็นภาพเฉพาะจุดศูนย์กลาง แต่ไม่สามารถเห็นบริเวณรอบข้างได้ชัดเจน (tunnel vision)
          ต้อหินมี 2 ประเภทได้แก่ต้อหินเรื้อรังไม่แสดงอาการ ซึ่งจะพัฒนาอาการอย่างช้า ๆ และต้อหินชนิดเฉียบพลันซึ่งมักมีอาการปวดตา ปวดศีรษะ
สาเหตุ
          สาเหตุที่เกิดยังไม่ทราบชัดเจน แต่ตามปกติพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี (ประมาณว่าคนอายุ 40 ปีขึ้นไป 100 คนจะเป็นต้อหิน 2 คน) จะมักพบในคนที่มีเชื้อสายแอฟริกา และถ้ามีญาติใกล้ชิดเป็นต้อหิน คุณก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
ป้องกัน ได้อย่างไร
          คนอายุ 40 ปีขึ้นไปควรไปตรวจตาปีละครั้ง และถ้ามีญาติใกล้ชิดเป็นต้อหิน ยิ่งควรตรวจให้บ่อยขึ้น
          ยังไม่มีข้อแนะนำในการบริโภคอาหารใดเป็นพิเศษ แต่ดร.มาร์ค แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus แนะให้ดูแลตับของคุณเป็นพิเศษ "การแพทย์แผนจีนกล่าวว่าตาเกี่ยวข้องกับกับสุขภาพตับ ดังนั้นจึงต้องเสริมสร้างการทำงานของตับ ควรทานอาหารเสริมจำพวกโคลีน (350 มิลลิกรัม) วันละ 2 ครั้งจะช่วยให้ตับเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น   และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปขัดขวางการทำงานของตับ"
วิธีปฏิบัิติตน
          หากพบว่าเป็นต้อหิน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที เนื่องจากดวงตา หากถูกทำลายแล้วจะไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาแต่เนิ่น ๆ ช่วยได้
          แพทย์ที่กล่าวถึงคือจักษุแพทย์ เพราะจะมีความเชี่ยวชาญในการรักษาต้อหิน "โดยแพทย์จะหยอดตาเพื่อวัดความดันตา" ดร.เบล็กนี่ย์กล่าว "ในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อเปิดทางเดินน้ำเลี้ยงตา ซึ่งกรณีนี้พบได้น้อยมาก"
สายตายาว ตามอายุ
          นี่คือสายตายาวซึ่งเป็นผลมาจากการเสื่อมของสายตาตามธรรมชาติ โดยไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ "ถ้าคุณสายตาปกติ ไม่เคยสวมแว่นมาก่อน จู่ ๆ ก็ต้องสวมแว่นเวลาที่ต้องมองใกล้" เดวิด คาร์ทไรท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดสายตาของ Boots บอก "หรือหากคุณสายตาสั้นหรือยาวอยู่แล้ว คุณต้องมีแว่นอันที่สองสำหรับใช้อ่านหนังสือ หรือใช้แว่นสองเลนส์ หรือคอนแท็กเลนส์ที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความยาวโฟกัส (vari-focals) ซึ่งใช้ได้ทั้งมองไกลและอ่านหนังสือ"
สาเหตุ
          เกิดจากเลนส์ตาแข็งตัวขึ้นและสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ผิวของเลนส์ตาเพิ่มความนูนโค้งได้น้อยลง จึงลำบากในการปรับโฟกัสการมองวัตถุที่อยู่ไกลมายังวัตถุที่อยู่ใกล้
ป้องกันได้อย่างไร
          ไม่มีวิธีป้องกัน แต่ไม่ต้องกังวลเพราะสายตายาวเกิดกับคนทุกคน "สายตายาวตามอายุ" หมายถึง "สายตาของคนสูงอายุ" เดวิด คาร์ทไรท์บอก ซึ่งเกิดกับทุกคนเมื่ออายุขึ้นเลข 4
          ดร.แอตคินสันแนะให้ทานกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า 6 (พบในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส) และโอเมก้า 3 (พบในน้ำมันแฟล็กสีด) ซึ่งจะช่วยลดความแข็งตัวของโคเลสเตอรอลบนเซลล์เมมเบรน ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อของสายตาให้นานขึ้น
วิธีปฏิ บัิติตน
          ไปตรวจสายตาเพื่อจะได้สวมแว่น ปัจจุบันมีทั้งแว่นสองเลนส์ รวมถึงคอนแท็กเลนส์ที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความยาวโฟกัสให้เลือก "อย่าตกใจหากจู่ ๆ คุณเกิดไม่สามารถอ่านหนังสือตัวอักษรขนาดเล็กได้" เดวิด คาร์ทไรท์บอก "สายตายาวไม่ทำให้คุณ ตาบอด หลายคนไม่ยอมไปตรวจสายตา เพราะกลัวสิ่งที่จักษุแพทย์จะวินิจฉัยพบ แต่สำหรับสายตายาวตามอายุถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดกับทุกคน"
ต้อ กระจก
          ต้อกระจกคืออาหารตามัวเหมือนมีหมอกบัง ความขุ่นของเลนส์ตาทำให้แสงไม่สามารถเข้าสู่ลูกตาและมองเห็นฝ้าฟาง "ต้อกระจกไม่น่ากลัว โดยทั่วไปเราจะสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้" ดร.เบล็กนี่ย์กล่าว "เริ่มจากจากมีปัญหาในการขับรถตอนกลางคืนหรือถูกแสงสว่าง จะรู้สึกตาพร่ามัว สู้แสงไม่ได้"
สาเหตุ
          ต้อกระจกเกิดจากการเสื่อมของโปรตีนในเลนส์ตา จึงทำให้ตาพร่ามัว "อายุที่มากขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญ" ดร.เบล็กนีย์กล่าว "อย่างไรก็ตาม เบาหวานและยาบางชนิดเช่น สเตียรอยด์เป็นสาเหตุหนึ่งของต้อกระจก"
ป้องกันได้อย่างไร
          ทานอาหารที่อุดมด้วยแอนตี้ออกซิแดนท์ "ตาเป็นหนึ่งในอวัยวะของร่างกายที่เก็บสะสม วิตามินซี และมีหลักฐานยืนยันว่าการทานวิตามินซีติดต่อกัน 10 ปีขึ้นไปจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจก" ซูซานน่าห์ โอลิเวียร์บอก (ทานวันละ 1 กรัม) และควรทานอาหารเสริมอื่น ๆ ด้วยเช่น สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ (ทานวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 80 กรัม) และวิตามินอี (อย่างน้อยวันละ 400 iu)
          ทานอาหารที่อุดมด้วยด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนวิตามินเอเป็นเรตินอลที่จำเป็นต่อสายตา
          รังสียูวีมีส่วนให้เกิดต้อกระจก ดังควรสวมแว่นกันแดดคุณภาพดีเป็นประจำเวลาอยู่กลางแจ้ง
วิธีปฏิ บัิติตน
          "อย่าตกใจหากเป็นต้อกระจก" ดร.เบล็กนี่ย์บอก "แค่ครึ่งชั่วโมงก็สามารถผ่าตัดใส่เลนส์เทียมพลาสติกได้"
เบาหวาน ในจอประสาทตา
          หรือเบาหวานขึ้นตาทำให้ตามัว ซึ่งอาจเกิดได้กับตาข้างเดียวหรือสองข้าง สาเหตุเกิดจากเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องใช้เวลา 1-2 ปีโรคจึงจะลุกลาม และอาจไม่แสดงอาหารรุนแรง
สาเหตุ
          เบาหวานเป็นต้นเหตุของความผิดปกติของหลอดเลือดในจอประสาทตา ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังตา หากมีเลือดออกก็จะทำให้การมองเห็นฝ้าฟาง
ป้องกันได้อย่างไร
          ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คุณควรเข้ารับการตรวจหาเบาหวานจอประสาทตาปีละครั้ง คนที่เป็นโรคนี้จะรู้ตัวว่าป่วยเป็นเบาหวาน ก่อนจะรู้ว่าเป็นเบาหวานจอประสาทตา แต่ประมาณกันว่ามีคนหนึ่งล้านคนในอังกฤษเป็นเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานจอประสาทตา อาการทั่วไปของเบาหวานได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน อ่อนเพลียมาก น้ำหนักลด
          "หากคุณเป็นเบาหวาน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการป่วยรุนแรง" โรเจอร์ เลวิส ที่ปรึกษาด้านจักษุศัลยกรรมและหัวหน้าหน่วยงาน the diabetic eye unit at lpswich NHS Trust กล่าว "นอกจากนี้ ยังต้องควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง"
          ทานสารสกัดจากใบบลูเบอร์รี่ เพื่อช่วยให้การควบคุมอินซูลินดีขึ้น และกระเทียม (กระเทียมสดหรือสารสกัดจากกระเทียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม) เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
วิธีปฏิ บัิติตน
          "การบำบัดด้วยแสงเลเซอร์ใช้รักษาความผิดปกติของหลอดเลือด" โรเจอร์ เลวิสกล่าว "แต่การป้องกันย่อมดีกว่าแก้ไข"
          ผลการศึกษาพบว่าโครเมี่ยมช่วยต่อกรเบาหวานในจอประสาทตา ดร.แอตคินสันแนะให้ทานโครเมี่ยม (200 mogs) วันละ 2 ครั้ง
เป็นโรค ตาควรปรึกษาใึคร
          ผู้เชี่ยวชาญการตรวจวัดสายตา คือเจ้าหน้าที่ตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นที่อยู่ตามร้านแว่นตา หากคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับตาของตัวเอง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะแนะนำให้คุณไปพบจักษุแพทย์ ในกรณีที่สงสัยว่าคุณจะเป็นต้อหิน ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อม
          จักษุแพทย์ เป็นแพทย์ที่อยู่ตามโรงพยาบาล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวกับตา และควรปรึกษาจักษุแพทย์เวลาที่ต้องพึ่งวิธีรักษาด้วยการผ่าตัด

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน  

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 

+++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคเกี่ยวกับตาในเด็ก

โรคตาที่พบบ่อยในเด็ก

โรคตาที่พบบ่อยในเด็ก

 

  • เยื่อบุตาอักเสบ
  1. การอักเสบจากสารเคมี เช่น จาก 1%silver nitrate ซึ่งใช้หยอดในเด็กแรกเกิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อหนองในจากมารดา    เกิดจากการปล่อยให้ยา 1%silver nitrate สัมผัส กับเยื่อบุตาขาวนานเกินไป หรือใช้ยาหมดอายุ หรือยาที่เข้มข้นเกินไป จะทำให้เริ่มมีอาการเยื่อบุตาอักเสบแบบไม่มีหนอง ตั้งแต่ 24-36 ชั่วโมง และจะหายได้เองใน 2-3 วัน การรักษาโดยการล้างตาด้วยน้ำเกลือที่สะอาด และอาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะหยอดตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ 
  2. เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อหนองใน เกิดจากการติดเชื้อหนองใน จากช่องคลอดมารดา เด็กเริ่มมีตาแฉะ หนังตาบวมมาก มีหนองไหลบริเวณหนังตาและแก้ม เด็กไม่ลืมตา โดยเริ่มมีอาการในวันที่ 2-3
    การ รักษา ควรรับไว้รักษาแบบผู้ป่วยในเสมอ(ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) เพราะเป็นภาวะที่รุนแรงอาจทำให้กระจกตาทะลุได้ โดยใช้น้ำเกลือที่สะอาดล้างขี้ตาบ่อยๆ และยาปฏิชีวนะหยอคตาทุกชั่วโมง ร่วมกับยาปฏิชีวนะชนิดฉีด แต่เนื่องจากเชื้อนี้เป็น เชื้อแบคทีเรียที่มีความรุนแรงมากอาจทำให้เกิดกระจกตาดำทะลุได้ ดังนั้นหากสงสัยว่าเด็กเป็นเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อหนองใน ควรส่งต่อให้จักษุแพทย์โดยเร็วจะเหมาะสมกว่า
  • · ท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิด  พบได้ประมาณ 15% ของเด็กเกิดใหม่ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา (ตำแหน่งอุดตัน อยู่บริเวณใกล้ปลายเปิดในจมูก) มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ > 3 สัปดาห์ เนื่องจากเริ่มมีการสร้างน้ำตา เด็กจะมีอาการตาแฉะหรือน้ำตาไหล ตรวจโดยการกดเบาๆบริเวณข้างจมูกหัวตา จะมีของเหลวเหนียวอาจเป็นหนองออกมาทางรูน้ำตาบริเวณใกล้หัวตา มักหายเองภายในอายุ 6 เดือน - 1 ปี
                                               
ข้อเสนอแนะในการให้การดูแลรักษา
  • อายุ< 1 ขวบ : แนะนำนวดหัวตาโดยนวดไล่จากบริเวณหัวตาลงมาถึงด้านข้างจมูก(Creiger maneuver)วันละหลายๆครั้ง(เช่นวันละ 4 รอบ รอบละ 20 ครั้ง) และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ หยอดตาวันละ 1-4 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน (ช่วงมีขี้ตามากควรหยอดวันละ 4 ครั้ง ส่วนช่วงไม่มีขี้ตาอาจให้หยอดวันละครั้งก่อนนอน)
  • อายุ > 1 ขวบ : แนะนำพบจักษุแพทย์  อายุระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปีอาจทำการแยงท่อน้ำตา(probing),ถ้าอายุ > 3 ขวบต้องทำการผ่าตัดทำทางเชื่อมต่อใหม่ระหว่างถุงน้ำตาและจมูก

                สิ่งที่ต้องระวังคือ อาการน้ำตาไหลในเด็กเล็กอาจเป็นอาการแสดงของโรคต้อหินแต่กำเนิด ดังนั้นหากดูลักษณะลูกตาเด็กใหญ่ผิดปกติ และคลำลูกตาผ่านเปลือกตาบนแล้วรู้สึกว่าตาข้างนั้นแข็งกว่าตาอีกข้าง ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที

  •  เส้นเลือดโป่งพองที่ผิวหนัง  ลักษณะผิวหนังที่เป็นโรคจะมีสีแดงเมื่อกดเบาๆสีจะจางและเวลาเด็กร้องไห้จะ เห็นโป่งชัดขึ้น มักเริ่มเห็นและโตขึ้นในช่วง 1 ขวบแรกและหายได้เองประมาณ 75% ภายในอายุ 7 ปี, อาจทำให้เกิดสายตาขี้เกียจได้ เมื่อเป็นที่หนังตาบนทำให้เกิดหนังตาตกบังการมองเห็นได้ (ตรวจโดยใช้ไฟฉายส่องถ้าเงาแสงไฟกลางตาดำถูกบังโดยเปลือกตา แสดงว่าบังการมองเห็น)

ข้อเสนอแนะในการให้การดูแลรักษา

  • อายุ < 4-5 ขวบและไม่บังการมองเห็น: แนะนำรอให้หายเอง
  • อายุ > 4-5 ขวบ หรืออาจบังการมองเห็น: รักษาโดยฉีดยาสเตียรอยด์เข้าผิวหนังบริเวณที่เป็น
  •  ภาวะตาเข แบ่งเป็นตาเขจริง และตาเขซ่อนเร้น อาจเขเข้าใน หรือเขออกนอก โดยอาจเกิดได้หลายสาเหตุทั้งจากความผิดปกติของสายตา, กล้ามเนื้อกลอกตา หรือเส้นประสาทควบคุมการกลอกตา
การรักษาเด็กตาเข ขึ้นกับสาเหตุของตาเข กรณีเกิดจากสายตาผิดปกติ
มักเริ่มการรักษาโดยการแก้ไขสายตาผิดปกติโดยการใส่แว่นตา ส่วนจาก
สาเหตุอื่นๆอาจต้องพิจารณาผ่าตัดแก้ไข อย่างไรก็ตาม พึงระลึกเสมอว่าตาเข
อาจ เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของมะเร็งจอประสาทตาได้ ดังนั้นเมื่อพบเด็กตาเข ควรแนะนำไปพบจักษุแพทย์ซึ่งนอกจากจะเพื่อรับการรักษาตาเขและสายตาขี้เกียจ
แล้วยังเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นจากมะเร็งจอประสาทตาด้วย
(โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ)
  • ตาขี้เกียจ คือภาวะที่การมองเห็นลด ลงแม้แก้ไขสายตาที่ผิดปกติด้วยแว่นตาแล้ว โดยไม่มีโครงสร้างที่ผิดปกติของตา  สาเหตุเกิดจากในช่วงที่ตามีการพัฒนาของการมองเห็น(8-10ขวบแรก) ตาข้างนั้นหรือทั้ง 2 ข้างไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม มีได้หลายสาเหตุดังนี้
    • ตาขี้เกียจจากตาเขซึ่งพบได้บ่อยสุด
    • ตาข้างใดข้างหนึ่งมีสายตาผิดปกติมาก ทำให้ตาข้างนั้นไม่ถูกใช้งาน จึงกลายเป็นตาขี้เกียจ
    • ตาทั้ง 2 ข้างมีสายตาผิดปกติมาก ทำให้กลายเป็นตาขี้เกียจทั้ง 2 ตา
    • ตาที่ไม่ได้รับแสงกระตุ้นจอประสาทตาเลยจากการถูกบังแสง เช่น จากต้อกระจกแต่กำเนิด หรือหนังตาตกแต่กำเนิด                  

การเกิดตาขี้เกียจ จะเป็นเฉพาะเมื่อสาเหตุที่กล่าวมานี้เป็นในช่วง 8-10 ขวบแรก และการรักษาต้องทำภายใน 8-10 ขวบ โดยต้องรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น แก้สายตาที่ผิดปกติ,ผ่าตัดแก้ตาเขหรือต้อกระจก และพยายามให้เด็กใช้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจ โดยการปิดตาที่ดี(occlusive therapy) โดยควรแนะนำให้นำเด็กไปรับคำแนะนำรักษากับจักษุแพทย์ เพราะเมื่ออายุเกิน 8-10 ขวบแล้วจะไม่สามารถรักษาโรคตาขี้เกียจให้ดีขึ้นได้ตลอดไป   

  • ภาวะรูม่านตามีสีขาว คือการมองเห็นภายในรูม่านตาเป็นสีขาว ซึ่ง เกิดจากพยาธิสภาพทางตาได้หลายโรค ที่ควรทราบได้แก่                       
    • ภาวะจอประสาทตาเสื่อมในเด็กคลอดก่อนกำหนด   พบได้ทั้งในเด็กที่ต้องได้หรือไม่ได้อ็อกซิเจนหลังคลอดก็ตาม  เด็กในกลุ่มเสี่ยงคือเด็กที่คลอดขณะอายุครรภ์น้อยกว่า 36 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2000 กรัมและได้รับอ็อกซิเจน  โดยเฉพาะเด็กอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1500 กรัม ควรส่งพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะจอประสาทตาเสื่อมนี้ เมื่ออายุ 4-6 สัปดาห์(น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1251 กรัม พบเป็นโรคนี้ 66%,น้อยกว่า 1000 กรัม พบ 82%)การรักษา : 85% ของโรคในระยะต้นๆอาจมีการหายเองได้ การจี้ด้วยเลซอร์หรือความเย็นจะทำในโรคที่เป็นรุนแรงระดับหนึ่ง    
    • ภาวะต้อกระจกที่เป็นแต่กำเนิด อาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ 
      จากการ ติดเชื้อหัดเยอรมันในครรภ์  อุบัติเหตุ หรืออื่นๆก็ได้ อาการที่ตรวจพบเช่น เห็นสีขาวในลูกตาดำ ซึ่งการรักษาที่สำคัญคือการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิด ตาขี้เกียจ ดังนั้นจึงควรพาเด็กพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อได้รับการผ่าตัดเร็วสุดเท่าที่เด็กสามารถรับการผ่าตัดและดมยาได้
    • มะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)
      มะเร็งใน ลูกตาชนิดนี้เด็กอาจมาด้วยอาการตาเขหรือรูม่านตามีสีขาว ซึ่ง 94% เป็นแบบเกิดเองไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ แต่พบมี 6%ถ่ายทอดทางพันธุกรรม อายุเฉลี่ยในช่วงวินิจฉัยโรคประมาณ 1 1/2 ขวบ (90%วินิจฉัยได้ก่อน 3 ขวบ) การรักษาขึ้นกับระยะของโรคมักต้องผ่าตัดเอาลูกตาออกและอาจพิจารณาให้เคมี บำบัดและฉายรังสีร่วมด้วย  

                อาการแสดงมาด้วยมีรูม่านตาสีขาว(50-60%),ตาเข(30%) ดังนั้นในเด็กที่มาด้วยอาการตาเขต้องนึกถึงจากสาเหตุนี้ด้วย และควรส่งพบจักษุแพทย์เพื่อการตรวจโดยละเอียดเสมอ

  • การให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม  การแนะนำโอกาสเกิดโรคในบุตรคนต่อๆไป
    ถ้ายังไม่เคยมีบุตรเป็นโรค โอกาสมีบุตรเป็นโรค <<< 1%
    ถ้ามีบุตรคนที่ 1 เป็นโรค โอกาสเป็นในคนที่ 2 ประมาณ 6%
    ถ้ามีบุตรเป็นโรคแล้ว 2 คน โอกาสบุตรคนต่อไปเป็นโรคประมาณ 50% 
  • ภาวะเยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
    • โรคภูมิแพ้  ทำให้มีอาการคันตา,เยื่อบุตาบวม มักเป็นๆหายๆ 2 ตา การรักษาควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้มีอาการ,ประคบเย็น,ให้หยอดยาแก้แพ้(เช่น Hista-OphÒ eye drop) ครั้งละ 1 หยดวันละ 3-4 ครั้งเมื่อมีอาการ,อาจพิจารณาให้ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ร่วมทั้งแก้แพ้และกัน แพ้ ( mast cell stabilizers)(เช่น PatanalÒ หรือ ZaditenÒ eye drop)ครั้งละ 1 หยดวันละ 2  ครั้งจะเริ่มได้ผลหลังการใช้ประมาณ 15 นาที แต่ออกฤทธิ์ได้เต็มที่ที่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ,ควรหลีกเลี่ยงการให้สเตียรอยด์หยอดตายกเว้นในรายที่รุนแรงจริงๆเพราะอาจทำ ให้เกิดต้อหินทำให้ตาบอดได้
    • ติดเชื้อไวรัส มักเกิดจาก Adenovirus มักมีการระบาดเพราะติดต่อกันง่าย ทำให้มีอาการตาแดง,มีน้ำตาไหล, ขี้ตาเป็นเมือก,อาจมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต มักเป็น 2 ตา การรักษาต้องแนะนำระวังการกระจายเชื้อ ,ให้รักษาตามอาการ เช่นยาหยอดตาแก้แพ้เพื่อลดเคืองคันตาเป็นต้น อาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 7-10 วัน
    • ติดเชื้อแบคทีเรีย  ทำให้มีอาการตาแดง ขี้ตามาก เหนียว สีเขียวเหลือง อาจเป็น 1 หรือ 2 ตา การรักษาให้ยาปฏิชีวนะหยอดตา(เช่น Poly-ophÒ eye drop)ครั้งละ 1 หยดวันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน และอาจให้ยาหยอดตาแก้แพ้ร่วมด้วยเพื่อลดอาการไม่สบายตา
  • ตากุ้งยิง  เป็นการอักเสบของต่อมน้ำตาที่เปลือกตา มีชนิดติดเชื้อกับชนิดไม่ติดเชื้อชนิดติดเชื้อจะแบ่งเป็นแบบด้านนอกทำให้ เห็นการอักเสบบริเวณเปลือกตา และแบบด้านใน ทำให้การอักเสบจะเห็นได้ชัดเมื่อปลิ้นเปลือกตาด้านในดู 

    การรักษา

    • โดยการใช้ยา ให้ยาปฏิชีวนะ หยอดตาวันละ 4 ครั้ง,ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน
      นั้นจะพิจารณาให้เมื่อมีการอักเสบติดเชื้อของเปลือกตาบริเวณรอบๆร่วมด้วย,
      ประคบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละ 4ครั้ง,นวดเบาๆที่เปลือกตาบ่อยๆ
    • โดยการกรีดรักษา เมื่อใช้การรักษาข้างต้นแล้วไม่หายใน 3-4 สัปดาห์ (หรือกรีดเลยแต่แรกก็ได้)
      โดยจะร่วมกับการให้ยาปฎิชีวนะหยอดตาและประคบอุ่นวันละ 4 ครั้งนาน 7 วัน

                สิ่งสำคัญนอกจากการรักษาคือการให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของตากุ้ง จริง เนื่องจากในเปลือกตาแต่ละข้างมีต่อมน้ำตาที่อาจอักเสบเป็นตากุ้งยิงได้ มากกว่าข้างละ 40-50 ต่อม ดังนั้นจึงควรแนะนำการหลีกเลี่ยงฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าตาและการใช้มือที่ไม่ สะอาดขยี้ตา เพราะอาจทำให้เป็นตากุ้งยิงซ้ำได้บ่อยๆ


 โดย : คณะอนุกรรมการวิชาการ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย

อัพเดทล่าสุด