อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หมายถึง อาการของโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แนวทางปฏิบัติ


1,264 ผู้ชม


5 อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง


           ด้วยไลฟ์สไตล์ยุ่งเหยิงของคนเมืองในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าโรคหลอดเลือดสมองจะเขยิบเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกทีๆ โรค ดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต (แขนและขาอ่อนแรงครึ่งซีก) มีปัญหาทางด้านความคิด สูญเสียความจำ มีปัญหาทางด้านการพูด และอารมณ์แปรปรวน...น่ากลัวไหมล่ะ

    การเกิดภาวะสมองขาดเลือด   
          ภาวะสมองขาดเลือดที่มีเนื้อสมองตาย มักเกิดจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง โดยทั่วไปเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมองหรือหลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid) ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาวะสมองขาดเลือดมักเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งเกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแตกทำให้มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมักมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวนำมาก่อน ลักษณะดังกล่าวมักเป็นเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อเลือดและออกซิเจนไหลเวียนลดลงชั่วคราว ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเรียกว่า ‘มินิ-สโตรก’ มีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่ 2-3 นาทีถึงเป็นชั่วโมง เป็นสัญญาณเตือนบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้นใน อนาคต 

  ดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง? 

      1. รักษาความดันโลหิตให้ดีและสม่ำเสมอ คนทั่วไปควรต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท ใน ผู้ป่วยเบาหวานหรือไตวายเรื้อรัง ให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท 
      2. งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ การหยุดสูบบุหรี่ 1 ปี สามารถลดอัตราความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลงกว่าครึ่ง 
      3. หากเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ ระดับน้ำตาลหลังงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 8 ชม. ควรต่ำกว่า 140 มก./เดซิลิตร และน้ำตาลสะสมควรต่ำกว่า ร้อยละ 7 
      4. หากมีภาวะไขมันในเลือดสูง ต้องควบคุมให้ระดับไขมันที่ไม่ดีให้ต่ำลงถึงเป้าหมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละราย และระดับไขมันที่ดี ผู้ชายควรสูงกว่า 40 มก./เดซิลิตร และผู้หญิงควรสูงกว่า 50 มก./เดซิลิตร 
      5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัว 
      6. หากเป็นโรคหัวใจหรือลิ้นหัวใจผิดปกติ โดยเฉพาะในรายที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้ยาป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ 

      7. ให้แพทย์ตรวจดูหลอดเลือดที่คอเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในรายที่ทราบว่าเริ่มมีการตีบแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดหลอดเลือดสมอง 
      8. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
         โดยลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล หรือไตรกลีเซอไรด์สูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง เนย ครีม เครื่องในสัตว์ น้ำมันจากสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำหวาน ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
          หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารรสหวานจัด รวมทั้งทุเรียน ลำไย มะม่วงสุก ลองกอง กล้วยสุก
          ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนย
          ผักผลไม้ที่ไม่มีรสหวานมาก อาทิ ส้ม ฝรั่ง แคนตาลูป แอปเปิ้ล มะละกอสุก กินไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน น้ำมันพืช รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
          อาหารประเภทธัญพืช ซึ่งช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก รวมทั้งจับกับน้ำดีและขับออกไปกับอุจจาระ ทำให้ร่างกายต้องนำคอเลสเตอรอลมาสร้างเป็นน้ำดีเพิ่มขึ้น ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดจึงลดลง ทั้งยังป้องกันภาวะท้องผูกได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มเกินไป หรือผ่านกระบวนการปรุงด้วยเกลือ เช่น อาหารหมักดอง ตากแห้ง อาหารกระป๋อง ฯลฯ


แนวทางการรักษา
มี 2 วิธีคือการรักษาทางยาและการผ่าตัด ประสาทแพทย์และประสาทศัลยแพทย์ของคุณจะทำงานร่วมกันโดยพิจารณาจาก
·     อาการของผู้ป่วยเอง โดยพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ป่วยมีอาการหนักมากหรือน้อยแค่ไหน คือพิจารณาระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมักจะไม่รู้สึกตัว ซึม หรือหลับมาก นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้จะมาจากการสอบถามญาติผู้ป่วยและเริ่มการตรวจร่างกายอื่น ๆ ต้องนำมาประกอบการเพื่อใช้เป็นแนวทางตัดสินการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยต่อไป
·     ขนาดของก้อนเลือด ยิ่งก้อนเลือดที่ไหลและแตกออกมามีขนาดใหญ่มาก ก้อจะส่งผลให้มีอาการหนักมาก หากมีขนาดเล็กก็มักจะมีอาการไม่มาก ถ้าอาการของผู้ป่วยไม่หนักและก้อนเลือดมีขนาดไม่ใหญ่นัก แพทย์อาจจะพิจารณาให้การรักษาทางยา แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักและก้อนเลือดขนาดใหญ่ อาจจะต้องพิจารณาเรื่องการทำผ่าตัดต่อไป
การให้การรักษาในรายที่มีอาการเฉียบพลัน
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน คือ การทำให้เซลล์ของสมองยังอยู่รอดให้ได้นานที่สุด ถ้าเราสามารถทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอ ก็สามารถทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งการรักษานี้จะต้องทำภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis) เพื่อละลายลิ่มเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ แต่ยานี้จะใช้ได้ในบางรายเท่านั้น หลังจากนั้นแพทย์อาจจะรับตัวไว้รักษาในห้องรักษาผู้ป่วยหนัก เพื่อให้ยาและสังเกตอาการรวมทั้งการหลับ ตื่น การตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การกลืนอาหาร เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้ว 4 - 5 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปรักษาในหอผู้ป่วยหลอดเลือดต่อไป

การรักษาในโดยการให้ยา

ระหว่าง ที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลอาการในห้องรักษาผู้ป่วยหนัก จะได้รับยาเพื่อให้เซลล์สมองเสียน้อยที่สุด พร้อมไปกับเพื่อสังเกตอาการแทรกซ้อน จากโรคอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคไต ปอดบวม กลืนลำบาก ถ้ารอดไปได้แล้วในรายที่เป็นอัมพาต ก้อต้องเพิ่มการรักษาโดยใช้กายภาพบำบัดเพื่อฝึกนั่ง ยืน เดิน การฝึกกลืน ทุกอย่างที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตัวเองได้

อย่าง ที่เคยเล่าไว้ในตอนแรกๆ คนไข้ที่เคยเดินเหินใช้ชีวิตปกติดีพอมีอาการเช่นหลังนี่ก้อมักจะมีอาการซึม เศร้า ควรให้การรักษาโดยใช้จิตบำบัดร่วมด้วยความเอาใจใส่ของสมาชิกในครอบครัวตอน หน้าน่ากลัวแน่น่ารู้คือทำไมคนไข้บางรายของโรคหลอดเลือดสมอง ต้องผ่าตัดด้วย

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด

ข้อมูลจาก : women.thaiza.com

อัพเดทล่าสุด