โรคกระเพาะอาหาร อาการของโรคกระเพาะอาหาร สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร สาเหตุ อาการของคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารกับการปฏิบัติตัว วิธีการป้องกันโรคกระเพาะอาหาร การรักษาโร


2,355 ผู้ชม



โรคกระเพาะอาหารคืออะไร
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง หรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมาก จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
1.สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจาก   
•กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์   
•การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง     
•การดื่มกาแฟ   
•การสูบบุหรี่   
•การกินอาหารไม่เป็นเวลา
     
2.มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก   
•การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆ   
•การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู   
•การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
อาการที่พบ   
1.ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ   
•ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี   
•ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้    
2.จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน   
3.อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่   
    •อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น   
    •ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ     
    •ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
ข้อควรจำ
อาการของโรคกระเพาะอาหาร จะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพราะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นกระเพาะอาหาร
การตรวจเพื่อให้รู้ว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร ทำได้ดังนี้   
1.แพทย์จะวินิจฉันได้ถูกต้องจากการซักประวัติ
อาการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายโรคกระเพาะ เช่น โรคถุงน้ำดี โรคตับ   
2.จากการเอ็กซเรย์ โดยการกลืนแป้งดูกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น สามารถตรวจพบว่า
มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หรือไม่ อาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น สามารถตรวจพบว่ามีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กหรือไม่     
3.การส่องกล้อง เพื่อตรวจดูกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจะสามารถมองเห็นเยื่อบุกระเพาะอาหาร
และลำไส้เล็กว่ามีการอักเสบมีเลือดออก หรือมีแผลหรือไม่ ตลอดจนสามารถตัดเนื้อเยื่อออกมาตรวจพิสูจน์ได้ด้วย
การรักษา   
1.กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่   
•กินอาหารให้เป็นเวลา   
•งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด   
•งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง   
•งดดื่มน้ำชา กาแฟ   
•งดสูบบุหรี่   
•งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร     
•พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด   
2.การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลา ที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะ ลดยาหรือหยุดยาวได้   
3.การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่
•เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้   
•แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ    
•กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ     
1.กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้   
2.หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู   
3.งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง   
4.งดการสูบบุหรี่   
5.หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ   
6.ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดอารมณ์เสียง่าย   
7.กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก   
8.ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป   
9.อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์
     
           

อัพเดทล่าสุด