โรคซึมเศร้า การรักษาโรคซึมเศร้า สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า การรักษา การช๊อตไฟฟ้า รักษาโรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคซึมเศร้า เป็นโรคซึ


3,417 ผู้ชม


 

โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทัวๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ9จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัย หากพบว่าคนที่รู้จักมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้ารีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์
โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน
โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด
    Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
    dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
    bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก  กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต
อาการของโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น
อาการซึมเศร้า depression
   การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
        รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
        หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
        อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
    การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
        รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
        รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
        มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
    การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
        ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
        รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
        ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
    การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
        นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
        บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
        มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
        ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง
อาการ Mania
    มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
    หงุดหงิดง่าย
    นอนน้อยลง
    หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
    พูดมาก
    มีความคิดชอบแข่งขัน
    ความต้องการทางเพศเพิ่ม
    มีพลังงานมาก
    ตัดสินใจไม่ดี
    มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

ในปัจจุบันมีผู้ป่วย ด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ซึ่งเว็บไซต์ เฮลท์ ดอท คอม ได้ทำการสำรวจอาชีพที่มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ ไว้ทั้ง หมด 10 อาชีพ ได้ผลดังนี้

1. พยาบาลตามบ้านและผู้ดูแลเด็ก
     คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส กล่าวว่า ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้อื่นเป็นการส่วนตัว อย่างเช่น พยาบาลตามบ้านและผู้ดูแลเด็ก มีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคซึมเศร้าสูงมากที่สุด เพราะพวกเขาต้องคอยดูผู้อื่นอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการป้อนอาหาร หรืออาบน้ำ แต่กลับไม่ได้รับคำแสดงความขอบคุณ หรือแสดงความซาบซึ้งใจกลับมา เพราะคนผู้ที่ถูกดูแลมักจะป่วยหรือเด็กเกินไป หรือไม่ก็รู้สึกว่า สิ่งที่พวกเขาทำเป็นหน้าที่ เป็นการทำงานแลกกับเงินอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขอบคุณแต่อย่างใด

2. พนักงานเสิร์ฟอาหาร
     นั่นเป็นเพราะพนักงานเสิร์ฟจะต้องคอยก้มหน้ารับฟังคำสั่งของทุกคนในร้านตลอด เวลา ไม่ว่าจะเป็นจากลูกค้า จากพ่อครัวและจากพนักงานร้าน ทั้งหมดเพื่อแลกกับเงินค่าจ้างที่ค่อนข้างต่ำ โดยจากการสำรวจพบว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานเสิร์ฟที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง และ 15 เปอร์เซ็นต์ในนั้นเป็นผู้หญิง

     "นี่เป็นอาชีพที่คนจะรู้สึกขอบคุณพวกเขาน้อยมาก ผู้คนมักแสดงความไม่สุภาพกับพวกเขาทั้งคำพูดและท่าทาง ซึ่งเมื่อคนเราเกิดความรู้สึกเครียดมันก็คงจะเป็นเรื่องยากที่จะมีแรงจูงใจ ในการทำงาน" เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว

3. นักสังคมสงเคราห์
     หลายคนคงรู้สึกประหลาดใจที่นักสังคมสงเคราะห์เป็นอาชีพเสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึมเศร้าสูงในอันดับต้นๆ เพราะเรามักมีภาพของความเป็นผู้ให้และเสียสละของพวกเขาอยู่ในใจ จนลืมคิดไปว่า งานของพวกเขาเป็นงานที่ต้องติดต่อกับผู้คน ซึ่งมีหลายรูปแบบและมีหลายปัญหาให้ต้องแก้ไข

     นักสังคมสังเคราะห์มักต้องทำงานกับคนที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ จึงจำเป็นต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และหากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ก็จะสร้างความผิดหวังให้กับทั้งตัวนักสังคมสงเคราะห์และผู้ต้องการความช่วย เหลือเอง ซึ่งก็จะต้องนำมาซึ่งความเครียดอย่างเลี่ยงไม่ได้

     "เรามักจะมองว่ามันเป็นงานที่ดี แต่คุณต้องทำงานอย่างหนักและทุ่มเทมาก นักสังคมสงเคราะห์ต้องทำงานกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะทำงานแบบผ่านๆ ผมเห็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องเลิกทำงานนี้ไปในเวลาอันรวดเร็วบ่อยมาก" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส กล่าว

4. แพทย์ พยาบาลและนักบำบัดโรคต่างๆ
     ธรรมชาติของการประกอบอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของผู้อื่น อย่าง  แพทย์ พยาบาลและนักบำบัดโรคต่างๆ ก็คือการต้องทำงานโดยแบกรับความหวังหรืออาจจะหมายถึงการมีชีวิตรอดของผู้ อื่นเอาไว้ คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคนเหล่านี้จะรู้สึกเครียดกับงานที่ทำ

     "คุณต้องเจอคนป่วย คนตายและต้องเผชิญหน้ากับญาติของพวกเขาทุกวัน มันเหมือนกับว่าโลกทั้งใบมันมีแต่เรื่องเศร้า" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส กล่าว

5. ศิลปินและนักเขียน
     อาชีพศิลปินและนักเขียนดูผิวเผินเหมือนจะเป็นอาชีพที่ปราศจากความเครียด นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้มองไปที่ขั้นตอนการทำงานของพวกเขา ว่ากว่าที่จะมีผลงานออกมาให้เราได้ชื่นชม พวกเขาต้องผ่านอะไรมาบ้า

    "สิ่งหนึ่งที่ฉันเห็นมากในกลุ่มศิลปินหรือนักเขียนก็คือ พวกเขามักป่วยด้วยโรคอารมณ์แปรปรวน คนกลุ่มนี้มักไม่รู้และไม่ได้รับการรักษาเรื่องอารมณ์ที่แปรปรวน เพราะความเชื่อที่ว่าศิลปินก็ต้องมีอารมณ์ขึ้นลงเป็นธรรมดา" เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว

6. ครู
     พวกเขาต้องทำงานอย่างหนัก นอกจากงานสอนเด็กๆ แล้วก็ยังมีอย่างอื่นให้ต้องทำอีก ซึ่งทำให้หลายๆ ครั้งต้องเอางานกลับไปทำที่บ้าน แค่นึกถึงการต้องรับมือกับลูกศิษย์หลาย 10 คนในแต่วันก็เหนื่อยแล้ว เพราะฉะนั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลก หากครูจะเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าสูง

     "พวกเขามีความกดดันในหลายด้าน ทั้งจากนักเรียน จากผู้ปกครอง จากการพยายามทำตามมาตฐานของโรงเรียน" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์สกล่าว

7. เจ้าหน้าที่สนับสนุนการขาย
     เจ้าหน้าที่สนับสนุนการขายมักต้องปวดหัวกับความต้องการที่มากมายของผู้อื่น แต่ตัวเองกลับควบคุมอะไรต่างๆ ได้น้อยมาก พวกเขาเป็นเหมือนหน้าด่านในการรับออร์เดอร์จากลูกค้าทั่วทุกสารทิศ แต่กลับเป็นอันดับล่างสุดในสายงานการขาย

     "ไม่ต่างอะไรจากถังขยะ พวกเขาไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าต้องเจออะไรในแต่ละวัน แต่พวกเขาต้องทำให้การทำงานของคนอื่นง่ายขึ้น"  เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว

8. เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง
     เพราะทุกครั้งเราจะเจอพวกเขาก็ต่อเรามีปัญหาหรือมีความผิดพลาดบางอย่างเกิด ขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราคาดหวังว่าได้รับคำตอบที่น่าพอใจ หรือต้องการให้ปัญหาที่มีอยู่ละล่วงไปด้วยดี ความคาดหวังของผู้อื่น การต้องทำงานไม่เป็นเวลา ทำให้อาชีพเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงกลายเป็นอาชีพที่มีความเครียดสูง

     "อาชีพนี้อาจจะมีรายได้สูง แต่พวกเขาก็มักถูกโดดเดี่ยวและในบางครั้งก็อาจจะเป็นอันตรายได้ง่ายได้ด้วย" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์สกล่าว

9. นักบัญชีหรือที่ปรึกษาด้านการเงิน
     แค่ได้ยินชื่อก็มองเห็นความเครียดลอยมาตรงหน้าแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากจะจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ หลังการเกษียณของตัวเอง นั่นหมายความว่าคนที่ประกอบอาชีพนี้ต้องดูแลเงินของคนมากมายมหาศาล

     "คนพวกนี้ต้องดูแลรับผิดชอบกับเงินของคนอื่นๆ มันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากคุณทำงานของลูกค้าหายไป คนพวกนี้มักถูกลูกค้าตะโกนใส่หน้าเป็นประจำ" เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว


10. เซลล์
     อาชีพเซลล์เป็นอาชีพที่เต็มไปด้วยความเครียดอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนอกจากต้องรับมือกับลูกค้ามากมายหลายสไตล์แล้ว พวกเขายังต้องเครียดกับเรื่องยอดขายที่มันหมายถึงเงินค่าคอมมิสชั่นอีกด้วย

     แม้ทั้ง 10 สายงานที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะเป็นอาชีพที่มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้หรือสนใจอยากจะประกอบอาชีพ เหล่านี้ควรจะเปลี่ยนความคิดหรือเปลี่ยนสายงาน  เพียงแค่ทำความเข้าใจว่า อาชีพที่ท่านสนใจหรือทำอยู่นั้น มีความเสี่ยงมากกว่าอาชีพอื่น แล้วหาทางผ่อนคลายความตึงเครียดที่อาจจะต้องเจอในแต่ละวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าลง เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว

     เพราะหากจะว่ากันจริงๆ คงไม่มีอาชีพไหนที่ไม่มีปัญหาและไม่มีความเครียดอยู่เลย

วิธีการรักษา

          ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้รักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเล่าข้อขัดแย้งในจิตใจ ออกมา เรียกกระบวนการนี้ว่าการโอนถ่ายข้อมูล (Transference) ซึ่งผู้รักษาจะสะท้อนพฤติกรรม ของผู้ป่วยออกมาให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาในตัวเอง และเข้าใจพฤติกรรมของตนเองอย่างลึกซึ่ง เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริง ๆ
        + จิตบำบัดแบบเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล – มีพื้นฐานจากความเชื่อที่ว่า โรคซึม เศร้าเกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือจากความสัมพันธ์ในสังคมไม่ดี
        การบำบัดแบบนี้จะเน้นสาเหตุที่เป็นปัจจุบันและแก้ไขง่ายกว่าการสืบสาวหาต้นตอปัญหา ผู้ รักษาจะช่วยปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น
        + จิตบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความสึกคิด และพฤติกรรมบำบัด – การรักษาแบบนี้จะเน้น การที่ทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความคิดเพื่อที่จะเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้าได้
        + การบำบัดอารมณ์ด้วยเหตุผล – วิธีการบำบัดด้วยความคิดที่มีเหตุผลนี้เชื่อว่า จิตใต้ สำนึกของเรานั้นสามารถสร้างปัญหาทางอารมณ์ได้โดยผ่านความคิดที่ไม่มีเหตุผล หรือความเชื่อ ที่ไร้เหตุผล ไม่ว่าจะเกิดจากพันธุกรรม หรือการเลี้ยงดู แต่ความคิดแบบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การบำบัดวิธีนี้จะใช้วิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์มาก ๆ นั้นคือใช้การตั้งสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐานนั้น
        อย่างไรก็ดีจุดประสงค์หลักของการรักษาแบบนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น ต้อง พยายามเปลี่ยนความเชื่อของตนอย่างต่อเนื่อง และอย่างสม่ำเสมอ
        + จิตบำบัดแบบสตรีนิยม – เน้นมุมมองที่ผู้หญิงถูกแยกแยะบทบาทางเพศ ให้รู้สึกด้อยค่า การรักษาแบบนี้จะทำให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าตัวเอง และแสดงออกในการรักษาด้วยตนเอง ความ คิดเห็นของผู้ป่วยจะไดรับการยอมรับอย่างเต็มที่ ประหนึ่งว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ที่สำคัญคือ ผู้ ป่วยจะถูกกระตุ้นให้มองเห็นบทบาทของความแตกต่างทางเพศที่สังคมกำหนด ให้และเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาของผู้ป่วยขึ้น
        + การบำบัดแบบคู่สมรส และการบำบัดครอบครัว – การบำบัดนี้จะใช้ความร่วมมือของ สมาชิกในครอบครัวให้มาบำบัดร่วมกัน
        + การใช้ยาแก้เศร้า – ยาแก้เศร้าคือยาที่ป้องกันอารมณ์ซึมเศร้า หรือลดอารมณ์ซึมเศร้า ยานี้จะช่วยให้การทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับมาเป็นอย่างเดิม โดยการช่วยให้สารสื่อ สมองที่ขาดหายไปกลับมาทำงานตามปกติ ยาแก้เศร้ามีหลายตัวซึ่งจะต้องจัดแตกต่างกันตาม ลักษณะอาการ อายุ และเพศของผู้ป่วยด้วย
        + เครื่องช็อตฟฟ้า – เป็นวิธีที่นำมารักษาโรคซึมเศร้าอย่างได้ผล โดยการปล่อยกระแส ไฟฟ้าอ่อน ๆ ส่งผ่านขั้วไฟฟ้าซึ่งติดไว้ที่ศรีษะบริเวณขมับทั้งสองข้าง และปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่าน ขั้วไฟฟ้าเข้าไปในสมอง และหลังจากหายแล้วผู้ป่วยยังต้องกินยารักษาอย่างต่อเนื่องอีกหลายเดือน หรืออาจเป็นปี
        + การบำบัดด้วยแสงสว่าง – วิธีการรักษาโดยทั่วไปจะให้แสงสว่างผ่านกล้องที่มีไฟฟ้า และวางไว้บนโต๊ะในแนวราบ หรือตั้งฉากกับพื้น การรักษาด้วยแสงสว่างนี้เหมาะกับโรคซึมเศร้า ประเภทซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งจะเกิดขึ้นในบางช่วงเวลาที่แสงแดดอ่อน ๆ เช่น ในช่วงฤดูหนาว เวลาเย็น ๆ หรือช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน
        + สารอาหารแก้เครียด – สำหรับอาหารที่ช่วยคลายเครียดได้อย่างดี ต้องมีคุณค่าทาง อาหารครบประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การ ทำงานของร่างกาย และจิตมีประสิทธิภาพ
        + วิตามินบี คอมเพล็กซ์ หรือวิตามินบีรวม – เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นวิตามินที่ต่อต้าน ความเครียดได้
        + การออกกำลังกาย – คนที่มีอาการซึมเศร้าเมื่อไปพบแพทย์ นอกเหนือจากการได้รับ ยาต้านอารมณ์เศร้าแล้ว ยังมักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย
        + ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ – โดยน้ำที่เหมาะแก่การดื่มคือ น้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป ถ้าเป็นน้ำอุ่นควรดื่มตอนเช้า เพื่อช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด และช่วยในการขับถ่ายของเสีย
        + การนอนหลับ – การควบคุมการนอนให้ได้เหมาะสม ทำให้ร่างกายพักผ่อนได้เต็มที่จน เป็นเรื่องปกติ
        + ดนตรีบำบัด – ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมอง ในหลาย ๆ ด้าน
        + ประโยชน์ของการสัมผัส – การสัมผัสไม่ใช่มีเฉพาะการกอดเท่านั้น แต่เพียงแค่สัมผัสมือ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ส่วนในคนที่อาศัยอยู่ตามลำพัง หรือ ขาดการสัมผัสจากผู้อื่นหรือคนในครอบครัวที่คุ้นเคย อาจหาวิธีอื่นที่ง่ายและได้ผลดี เช่น การนวด วิธีต่าง ๆ
        + การกระตุ้นทางสายตา – การได้มองสิ่งที่สวยงามสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณได้ เช่น มองธรรมชาติที่สวยงาม สีสบายตา เป็นต้น
        + การกระตุ้นโดยการใช้กลิ่น – ตัวอย่างกลิ่นที่มีผลต่อการผ่อนคลายอารมณ์ซึมเศร้า ได้แก่ กระเพรา, มะกรูด, อบเชย, มะลิ, ตะไคร้, ส้ม, กระดังงา, ใบสะระแหน่, ลาเวนเดอร์, มะนาว เป็นต้น
        + ประโยชน์จากการฟัง – การที่ได้ยินเสียงที่รื่นรมย์ทุกวันทำให้ชีวิตของเรามีคุณภาพ เสียงจากธรรมชาติ เช่น นกร้อง น้ำไหล จะช่วยทำให้จิตใจสงบได้
        + ประโยชน์จากการเขียน – การเขียนนอกจากจะเป็นวิธีที่แพทย์ใช้ตรวจสอบกระแส ความคิดผู้ป่วยเหล่าแล้วนั้น ยังช่วยหันเหความสนใจของผู้ป่วยต่ออาการซึมเศร้า ทำให้ผู้ป่วยไม่ยึด ติดกับความเชื่อที่ว่าตัวเขาไม่สามารถทำอะไรได้ ผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นฟูระบบความคิด ความจำและเรียนรู้ จนนำไปสู่การเปิดตัวเองสู่โลกภายนอกในที่สุด
        + ศิลปะบำบัด – ประโยชน์ของการวาดภาพนั้นช่วยให้คุณได้ระบายออกทางอารมณ์ ในยาม ที่คุณรู้สึกเศร้า โดยไม่ต้องกังวลว่าเราต้องเป็นศิลปินหรือมีฝีมือแค่ไหน
        + การบำบัดด้วยการหัวเราะ – การหัวเราะนับว่าเป็นวิธีการบำบัดที่สามารถช่วยกระตุ้น ภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงขึ้นได้
        + พลังบำบัดจากผองเพื่อน – เพื่อน ๆ อาจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา แต่ในแง่ของการให้กำลังใจก็สำคัญเช่นกัน เพื่อน ๆ สามารถสร้างกำลังใจ และสร้างความ ภาคภูมิใจให้ได้ ซึ่งสามารถส่งผลดีในเชิงจิตวิทยาได้
        + การเข้าสังคม – การเข้าสังคมเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ในทันทีทันใด แต่ต้องอาศัยการยอมรับ และความรู้สึกสนุกจากกิจกรรมนั้นจริง ๆ
        + การกำหนดเป้าหมายของชีวิต – การมีชีวิตอยู่โดยปราศจากเป้าหมาย ก็เปรียบเสมือน การเดินทางโดยปราศจากจุดหมายปลายทาง
        ไม่ว่าจะทำการบำบัดรักษาด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือกำลังใจของ คนรอบข้างต่อผู้ป่วย เพราะแม้เข้าจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตัวเองมากแค่ไหน แต่หากครอบครัว เพื่อนฝูงไม่สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับไปเป็น โรคซึมเศร้าก็ย่อม เกิดขึ้น อย่างที่ทราบว่าโรคซึมเศร้านั้นรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลา และความเข้าใจอย่างมาก

อัพเดทล่าสุด