ขวดพลาสติกคืออะไร อันตรายจากขวดพลาสติก ขวดพลาสติกใช้ซ้ำอันตรายอย่างไร


48,367 ผู้ชม


ขวดน้ำพลาสติก

        ใน ปัจจุบันพลาสติกเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามาก ทั้งของเล่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ รวมถึงภาชนะบรรจุสินค้า ต่างๆมากมาย พลาสติกที่นำมาใช้เหล่านี้มีหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ในบรรดาของที่ทำด้วยพลาสติกดังกล่าว พลาสติกเพื่อการ บรรจุหีบห่อ นับว่าได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ทั้งในเชิงการค้า การตลาด และอุตสาหกรรม มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นสูงมาก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ภาชนะบรรจุชนิดแข็ง (rigid container) เช่น ขวดน้ำมันพืช ขวดนม กล่องโฟม
และถาดพลาสติก
2. ภาชนะบรรจุชนิดอ่อนตัวได้ (flexible container) เช่น ถุงใส่น้ำแข็ง ถุงขนม ถุงหิ้วทั้งหลาย รวมทั้งฟิล์มห่ออาหาร สกีนแพค (skin pack) และบริสเตอร์แพค(blister pack)เป็นภาชนะพลาสติกที่ทำจากแผ่นพลาสติก ที่ขึ้นรูปด้วยความร้อนแล้วนำมาประกบหรือประกอบกระดาษแข็ง ซึ่งแผ่นพลาสติกดังกล่าวทำมาจากพอลลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ตัวอย่างเช่นเครื่องเขียน แปรงสีฟันเป็นต้น

ชนิดของขวดพลาสติกแบ่งได้ดังนี้
1. ขวดทำจากพอลิไวนิลคลอไรด์ คุณสมบัติทั่วไปจะใส สามารถป้องกันก๊าซซึมและไขมันซึมผ่านได้ดี ทนความเป็นกรดได้ดี ไม่ทนความร้อนและความเย็น จึงเหมาะสำหรับใช้ที่อุณหภูมิ ตามปกติ มักจะใช้ในการบรรจุเครื่องสำอาง น้ำผลไม้ น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู และผลิตภัณฑ์ทางเคมี ขวดน้ำพลาสติกนั้นเวลานำมาใช้ซ้ำๆ จะมีสารเคมีที่สามารถละลายออกมาได้ โดยเฉพาะเมื่อขวดมีการยุบตัว รวมถึงขวดเพท และขวดขาวขุ่นด้วย(ขวดขาวขุ่นจะละลายออกมามากกว่าโดยเฉพาะเมื่อเก็บไม่ถูก วิธี)
2. ขวดทำจากพอลลิสไตรีน ป้องกันก๊าซและไอน้ำได้ไม่ดีนัก ทนความเป็นกรดได้ปานกลาง ไม่ทนความร้อนและความเย็น เหมาะสำหรับใช้ที่อุณหภูมิปกติ โดยทั่วไปนิยมใช้บรรจุ ยาเม็ด วิตามิน เครื่องเทศ และทำให้มีขนาดใหญ่สำหรับใช้บรรจุนมเพื่อการขนส่ง แต่ไม่นิยมใช้ในบ้านเรา
3. ขวดทำจากพอลลิเอทีลีน มีการใช้ในสองลักษณะคือ พอลลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ และพอลลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูง โดยทั่วไปขวด ชนิดนี้จะยอมให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อย แต่จะยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ ทนความเป็นกรดได้ปานกลาง ทนความร้อนได้ไม่ดี มากนัก แต่จะทนความเย็นได้ดีมาก สำหรับขวดที่มีชนิดความหนาแน่นสูง มักจะใช้บรรจุนม ผงซักฟอก น้ำดื่ม สารเคมีและเครื่องสำอาง
4. ขวดทำจากพอลลิโพรพีลีน คุณสมบัติโดยทั่วไปแล้วจะยอมให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อยแต่จะยอมให้ก๊าซซึมผ่าน ได้ดี ทนความเป็นกรดได้ปานกลาง ทนความร้อนได้ดี แต่จะไม่ทนความเย็น จึงไม่เหมาะแก่การแช่เย็น โดยทั่วไปใช้ในการบรรจุยา น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม เครื่องสำอาง แชมพู
5. ขวดทำจากพอลลิเอทีลีนเทอร์ฟะทาเลตหรือพอลลิเอสเธอร์ ขวดเพท คุณสมบัติโดยทั่วไปจะแข็งใส ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ปานกลาง แต่ป้องกันการซึมผ่านก๊าซได้ดีมาก ทนความเป็นกรดได้และความเย็นได้ดี มักนิยมใช้บรรจุเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม เบียร์ นอกจากนี้ยังบรรจุของเหลวมีแอลกอฮอล์ได้ เช่น แชมพูน้ำ โคโลญจ์ โลชั่น เป็นต้น

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง"

คุณๆ รู้หรือไม่ว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง" วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) เลยขอนำเรื่อง ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก ที่เสี่ยงต่อสุขภาพของคนรักษาสุขภาพอย่างคุณๆ มาฝากให้ได้รู้กันค่ะ เพราะเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) เชื่อว่า มีคนจำนวนไม่น้อยและหลายบ้านเลยทีเดียวที่มักจะนำ ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่เรื่อยๆ แต่อาจจะมีบางท่านที่ลืมนึกถึงความสะอาดไป หรือลืมทำความสะอาดไปบ้าง และเพื่อให้ทุกคนที่รักในสุขภาพได้ใส่ใจในเรื่อง ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก นั้น ควรจะมาทำความรู้จักเรื่องนี้กันให้มากยิ่งขึ้นค่ะ และวันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็นำเรื่อง ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง" ให้ได้เป็นประโยชน์ความรู้แด่ทุกท่านที่รักในสุขภาพกันอีกด้วยค่ะ

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง"

ปัจจุบันเห็นหลายครอบครัวนำขวดน้ำอัดลมหรือขวดน้ำเปล่าที่ทำจากพลาสติกมากรอกน้ำแช่ตู้เย็นเอาไว้ดื่มซ้ำแล้วซ้ำอีก จากข้อมูลที่ส่งต่อกันทางอินเทอร์เน็ตบ้างก็ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง บ้างก็ว่าไม่เป็นอันตรายอะไรหรอก เพราะหลายสถาบันในต่างประเทศก็ออกมาการันตีว่ามีความปลอดภัย ก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี
นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบายว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก อันตรายจริง โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติกแบบโพลีคาร์บอเนต เมื่อโดนความเย็นจัดหรือร้อนจี๋ หรือ การขบกัดขูดขีดกระแทก จะทำให้มีสารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bis-phenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติกออกมา ซึ่งจากงานวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่าเพียง 3-4 ส่วนในล้านส่วนก็ก่อมะเร็งในหนูทดลองได้ ที่ซุปเปอร์มาร์เกตในแคนาดาจึงออกกฎเตือนว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องปิดฉลากเตือนไว้และถ้าเป็นเครื่องบริโภคบางอย่างถึงขนาดห้ามใช้พลาสติกเลยทีเดียว
แต่ที่ทางการบ้านเรายังไม่ตื่นเต้นก็เพราะว่า ยังเป็นผลการวิจัยว่าเกิดมะเร็งในระดับสัตว์ทดลองและมีปริมาณสารพิษไม่มาก แต่อย่าลืมว่าถ้าเลี่ยงๆ ไว้ก่อนได้ก็จะดีกว่ารออีก 10 ปี มีงานวิจัยออกมาบอกว่าคนก็เป็นมะเร็งได้ซึ่งไม่มีประโยชน์เสียแล้ว
และอย่าลืมอีกข้อที่สำคัญคือถึงแม้มี BPA ปริมาณน้อยจากขวดพลาสติก แต่อย่าลืมว่าวันหนึ่งเราดื่มน้ำจากขวดพลาสติกกันหลายรอบทีเดียว เวลาเบรกจากประชุมหรือสัมมนาแต่ละทีก็ดื่มกันอึกอัก ไปแวะกินข้าว ก่อนกลับบ้านก็ดื่มอีกขวดหนึ่ง วันหนึ่ง 3-4 รอบบ่อยๆ เข้าก็มี BPA สะสมได้นะค่ะ ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้ตื่นตระหนกจนห้ามใช้พลาสติก เพียงแต่ให้ตระหนักไว้ก่อนและพยายามลดการใช้ไว้ก่อนจะดีกว่า

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก

ลักษณะการใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ทำให้ตายเร็วมีดังนี้

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก

วิธีหนีให้ไกลมัจจุราชเงียบในพลาสติก คือ

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก

อัพเดทล่าสุด