น่ารู้! โรคอัลไซเมอร์ สาเหตุ วิธีป้องกัน
โรคอัลไซเมอร์ หรือก็คือ โรคขี้หลงขี้ลืม ที่หลายคนมันคุ้นเคยกับคำนี้ วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มีเรื่องน่ารู้ของ โรคอัลไซเมอร์ สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ และ วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ มาฝากกันด้วยค่ะ ยิ่งคุณอายุมากขึ้นเท่าไรโรคอัลไซเมอร์ก็ดูเหมือนจะเข้าคุกคลามมากขึ้นทุก ครั้ง คุณเคยลองสำรวจตัวเองบ้างหรือไม่ว่า มีอาการโรคอัลไซเมอร์กันบ้างรึเปล่า เช่น ลืมนู้นนี่นั้น หรือคนใกล้ตัวของคุณเช่น คุณแม่ คุณพ่อ คุณยาย คุณตา คุณปู่ หรือ คุณย่า ฯลฯ มีอาการเหล่านี้กันบ้างไหม หรือใครไม่อยากเป็นโรคอัลไซเมอร์กันก่อนวัยเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็มีคำแนะนำดีๆ ถึงวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสารเหตุโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงอาการโรคอัลไซเมอร์ มาบอกให้คนรักสุขภาพอย่างคุณได้ฟังกันด้วยค่ะ ฉะนั้นแล้วใครอยากรู้เรื่อง โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร สาเหตุโรคอัลไซเมอร์ วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และอาการโรคอัลไซเมอร์ ว่าเป็นอย่างไร มาดูเรื่องเหล่านี้ไปพร้อมกับเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) กันเลยดีกว่าค่ะโรคอัลไซเมอร์ สาเหตุ วิธีป้องกัน
พ.อ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ หัวหน้ากองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ให้ความรู้ว่า โรคสมองเสื่อม คือ การที่สูญเสียความจำระยะสั้นร่วมกับมีความผิดปกติทางวุฒิปัญญา สูญเสียทักษะ โดยที่มีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม และอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ "โรคอัลไซเมอร์" พบได้ร้อยละ 50-60 รองลงมาได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองพบได้ร้อยละ 15-20 สำหรับในประเทศไทยเริ่มพบว่ามีจำนวนมากขึ้นโรคอัลไซเมอร์ คือ
โรคที่เกิดจากการตายของเซลล์สมองโดยไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ใน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่จากการตรวจพบทางพยาธิวิทยาพบว่ามีสมองฝ่อและตรวจพบนิวโรฟิบริวลารี่ แทงเกิลส์ (neurofibrillary tangles) เป็นโครงสร้างที่พันกัน ยุ่งเหยิงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นประสาท มีการสะสมโปรตีนอมัยลอยด์ (amyloid) ในสมองซึ่งเป็นสารเหนียวๆ จับกันเป็นก้อนที่เรียกว่า พลัค (plaque) ซึ่งทั้ง 2 ตัวต่างทำลายเซลล์สมองที่ดีที่อยู่รอบๆ ให้เสียหายและลักษณะอีกอย่างหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์ คือ เซลล์สมองสร้างสารส่งผ่านประสาทที่เกี่ยว ข้องกับความจำลดลง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์มีความผิดปกติทางพันธุ กรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นด้วย
ปัจจัยเสี่ยง และ สาเหตุโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
อาการโรคอัลไซเมอร์
อาการต่างๆ ที่อาจจะพบ พ.อ.นพ.สามารถ อธิบายว่า ได้แก่ อาการหลงลืมซึ่งเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ ชอบถามคำถามซ้ำๆ นึกคำหรือประโยคที่จะพูดไม่ออก หลงลืมสิ่งของที่ใช้เป็นประจำ สับสนเรื่องเวลา สถานที่ จำบุคคลที่เคยรู้จักไม่ได้ มีอารมณ์หงุดหงิด หวาดระแวง ซึมเศร้า อาการเหล่านี้เป็นมากขึ้นจนไม่สามารถทำ กิจวัตรประจำวันได้ โดยผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะแรกใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ญาติมักจะไม่สังเกตเห็นความผิดปกติมากนัก อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นตามลำดับในผู้ป่วยระยะกลางใช้เวลาประมาณ 2-10 ปี ผู้ป่วยบางรายยังพอรู้ตัวว่าหลงลืมง่ายโดยเฉพาะเรื่องวัน เวลา สถานที่ ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการด้านอารมณ์ เช่น ก้าวร้าว หวาด ระแวง ซึมเศร้า ทำให้ความสนใจต่อตนเองลดลง ญาติมักจะสังเกตเห็นความผิดปกติจึงควรรีบนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ หากปล่อยไว้จนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะที่ 3 ความ จำจะเลวลงมาก พูดน้อยลง ปัสสาวะหรืออุจจาระโดยไม่บอก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ สับสน เอะอะอาละวาด หรือมีอาการทางจิตประสาท เช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว หวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย
ในปัจจุบันแม้จะยังไม่มียารักษาโรคนี้ให้หายได้ แต่จากการศึกษาทั้งในและต่างประเทศพบว่า มีตัวยาที่สามารถช่วยให้ความจำ พฤติกรรม และการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น ทั้งในโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระยะปานกลางจนถึงรุนแรงได้ และความจำเสื่อมที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองมี ผลข้างเคียงที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ ปวดท้อง นอนไม่หลับ วิงเวียน ปวดศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อเริ่มรับประทานยาครั้งแรก ดังนั้นหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และทำการรักษาอาการจะทุเลาลง
วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ถึงแม้ว่าโรคอัลไซเมอร์มีอาการไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตและใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน แต่กว่าจะทราบก็สายไปแก้ไขสิ่งใดไม่ได้แล้ว ดังนั้นเราควรหันมาดูแลเอาใจใส่ พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติหรือผู้สูงอายุรวมทั้งหมั่นสังเกตอาการเพื่อพามารักษาความทรงจำให้ดีขึ้นอย่าให้ท่านจากเราไปโดยที่จดจำเราไม่ได้เลย