อัมพฤกษ์ อัมพาต อาหารผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อาหารคนเป็นอัมพาต อาหารลดเสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาต+สโตรค
- เปลี่ยนเป็นสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ ลดเสี่ยง 27%
- เปลี่ยนเป็นนัท-เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ หรือปลาที่ไม่ผ่านการทอด ลดเสี่ยง 17%
- เปลี่ยนเป็นนม-ผลิตภัณฑ์นม ลดเสี่ยง 10-11%
อาหารแลกเปลี่ยนโปรตีนมาตรฐาน 1 ส่วนบริโภค = 1 เสิร์ฟ = ไข่ 1 ฟอง = ปลา 1 ฟายมือผู้หญิง ประมาณ 90 กรัม = อัลมอนด์ 10 เมล็ด [ MIT ]
การศึกษานี้กำหนดให้หน่วยบริโภคของเนื้อแดงค่อนข้างมาก คือ 4-6 ออนซ์ = 120-180 กรัม = ประมาณเท่าเนื้อในแฮมเบอร์เกอร์ขนาดใหญ่ของฝรั่ง, และให้เนื้อสัตว์ปีก = 113 กรัม
การศึกษานี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินไก่ประมาณ 1/2 ส่วน/วัน ผู้หญิง) หรือ 3/4 ส่วน/วัน (ผู้ชาย) ลดเสี่ยงสโตรค-อัมพฤกษ์อัมพาตลง 13% เมื่อเทียบกับคนที่กินสัตว์ปีกน้อยมาก
กลไกที่เนื้อแดงเพิ่มสโตรค-อัมพฤกษ์อัมพาต อาจเป็นจากไขมันอิ่มตัว หรือธาตุเหล็กขนาดค่อนข้างสูง
การศึกษาก่อนหน้าทำโดยอาจารย์ซูซานนา ลาร์สซัน และคณะ จากสถาบันกาโรลินสกา สวีเดน พบว่า การกินเนื้อแดงเพิ่มเสี่ยงสโตรค-อัมพฤกษ์อัมพาต
สัตว์ปีกและปลานับเป็นอาหารประเภท "เนื้อขาว (white meat)" คือ มีไขมันอิ่มตัวค่อนไปทางต่ำ, สัตว์ปีกมีจุดเด่น คือ ไขมันจะพบมากที่หนัง ถ้านำหนังออกจะลดไขมันอิ่มตัวได้มาก
การศึกษาจากสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้พบว่า การกินปลาทอดไม่ดีกับสุขภาพ เนื่องจากน้ำมันปลาส่วนหนึ่งจะเสื่อมสภาพ อีกส่วนหนึ่งจะซึมออก น้ำมันที่ใช้ทอดจะซึมเข้าไปในเนื้อปลา
การทอดทำให้คุณค่าจากน้ำมันปลาน้อยลง (เสื่อมสภาพไปบางส่วน), ทำให้ปลาซึ่งเดิมเป็นอาหารที่ให้กำลังงานค่อนข้างต่ำ กลายเป็นอาหารที่ให้กำลังงาน หรือแคลอรีสูง (เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเกิน อ้วน)