เสริมเต้า เสริมเต้านม อุปกรณ์เสริมเต้านม ข้อคิดเกี่ยวกับการเสริมเต้านม รู้ไว้ก่อนไปเสริมเต้า


848 ผู้ชม


เสริมเต้า เสริมเต้านม อุปกรณ์เสริมเต้านม ข้อคิดเกี่ยวกับการเสริมเต้านม รู้ไว้ก่อนไปเสริมเต้า
สำนักข่าวรอยเตอร์นำเสนอข้อมูลเรื่อง 'Implant Implants Concern' = "ใส่ใจเต้านมเสริม (เต้านมเทียม)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ (ลิ้งค์ของเรื่องนี้เป็นลิ้งค์ลอย เนื่องจากนำเสนอเรื่องซ้ำหลายวัน ถ้าเลยช่วงเวลานำเสนอ, อาจทำให้คลิกกลับไปที่ภาพไม่ได้ - แนะนำให้ก๊อปปี้หัวเรื่อง และหาด้วย Google โดยบวกคำ 'Reuters' เข้าไป)
.
.
กราฟ: 9 ประเทศที่มีผู้ผ่าตัดเต้านม PIP / Poly Implant Prosthesis จากฝรั่งเศสมากที่สุด, บริษัทนี้ผลิตเต้านมเทียมใส่เจลที่ต่ำกว่ามาตรฐาน มีคนที่เสริมเต้านมของบริษัทนี้กว่า 400,000 ราย, ส่งขายทั่วโลก รวมทั้งส่งมาไทยด้วย [ Source: Thomson Reuters ]
.
เต้านมเสริมในโลกแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ ชนิดใส่น้ำเกลือ และชนิดใส่เจลซิลิโคน, บางคนเสริม 2 ข้าง, บางคนเสริมข้างเดียว เช่น หลังผ่าตัดมะเร็ง-เนื้องอกเต้านม ฯลฯ
.
เต้านม PIP ทำจากซิลิโคน ซึ่งมีคุณสมบัติคงรูปได้ดี (ไม่เหลว-ห้อย-ย้อยง่ายเท่าชนิดใส่น้ำเกลือ), ปัญหา คือ ซิลิโคนที่ใช้เป็นเกรดต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้แตกหรือรั่วง่าย
.
การผ่าตัดเสริมเต้านมทำโดยการสอดเต้าเสริม หรือเต้าเทียมเข้าไประหว่างชั้นของกล้ามเนื้อหน้าอกด้านหน้า หรืออาจใส่แทรกเข้าไปส่วนกลางของเต้านม โดยสอดผ่านรอยผ่าตัดรอบๆ หัวนม หรือรักแร้, ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง
.
สมาคมศัลยกรรมตกแต่งสเปนรายงานว่า ปีนี้ (2555) สหรัฐฯ ประกาศเตือนให้ผู้ที่จะรับการเสริมเต้านมได้รับข้อมูลที่สำคัญก่อนผ่าตัด คือ เต้านมเสริมไม่ใช่ของที่จีรังยั่งยืนไปชั่วชีวิต
.
เต้านมเสริมเกือบทั้งหมดจะมีปัญหาที่พบบ่อยได้แก่ การรั่ว (leakage) หรือแตก (rupture) ภายใน 10 ปี ซึ่งถ้ารู้ล่วงหน้าจะได้ "ทำใจ" ว่า อาจต้องผ่าตัดเสริมใหม่ได้ในอนาคต (ถ้าประมาณการณ์อายุที่เหลือเกิน 10 ปี)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

อัพเดทล่าสุด