โรคกาฬโรค สาเหตุที่มาของกาฬโรค อาการโรคกาฬโรค การติดต่อโรคกาฬโรค กาฬโรค วิธีรักษา


2,738 ผู้ชม


โรคกาฬโรค สาเหตุที่มาของกาฬโรค อาการโรคกาฬโรค การติดต่อโรคกาฬโรค กาฬโรค วิธีรักษา

กาฬโรคเป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกว่า 2000 ปี มีการบันทึกไว้ว่ามีการระบาด ครั้งใหญ่ในโลกหลายครั้ง การระบาดใหญ่ที่มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมากเกิดขึ้นในยุโรปในปี พ.ศ. 1890-1894 โดยมีการเรียกว่า Black Death ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 17-28 ล้านคน คิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรในยุโรปที่เสียชีวิต หลังจากนั้นก็มีการระบาดในประเทศจีนและฮ่องกงในช่วงปี พ.ศ. 2403-2433 ในปี พ.ศ. 2437 Alexandre Emile Jean Yersin แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้พบเชื้อก่อโรค และได้ตั้งชื่อเชื้อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบว่า " Yersinia" หลังจากนั้นได้มีการระบาดอีกหลายครั้งในทวีปอเมริกา แอฟริกาและเอเชีย1   หลังจากนั้นในช่วงสงครามเย็นได้มีการนำเชื้อนี้มาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพ ซึ่งมีความอันตรายสูง และจำเป็นจะต้องมีการเตรียมพร้อมทางด้านสาธารณสุข2 การเรียกชื่อกาฬโรค, ไข้ดำ หรือการตายสีดำ (black death) เพราะโรคดังกล่าวเป็นการติดเชื้อแกรมลบ เมื่อมีการติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดจะทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอด เลือดทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทำให้มีสีดำ.
กาฬโรคเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอยู่ใน genus Yersinia เป็นโรคติดเชื้อที่รุนแรงมีการระบาดมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล ทำให้มีผู้ป่วยล้มตายเป็นจำนวน มากนอกจากนี้ genus Yersinia ยังพบเชื้อที่ก่อโรคในคนชนิดอื่นอีกได้แก่ Yersinia   enterocolitica และ Yersinia pseudotuberculosis มักจะทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ (enteritis) รวมไปถึงภาวะต่อมน้ำเหลือง ในช่องท้องอักเสบ (mesenteric lymphadenitis) โดยที่บางครั้งทำให้มีอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบได้.


เชื้อ Yersinia pestis เป็นแบคทีเรีย แกรมลบ รูปแท่งมีการติดสีเข้มที่ปลายเชื้อทั้ง 2 ข้างจัดอยู่ในตระกูล Enterobacteriaceae โดยมี 3 biovars ได้แก่ Antiqua, Medievalis และ Orientalis การตั้งชื่อสัมพันธ์กับการระบาดและการกระจายตัวในพื้นที่.


ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2541 ได้มีการรายงานการระบาดของกาฬโรคในหลายประเทศ (ภาพที่ 1)3การระบาดของโรคเกิดขึ้นในประเทศโลกที่สาม ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2544 มีการรายงานผู้ป่วย 36,876 รายใน 25 ประเทศ โดยมีผู้เสียชีวิต 2,847 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 8 ของผู้ป่วย4 ในปี พ.ศ. 2549 มีการระบาดของกาฬโรคปอดและต่อมน้ำเหลือง ที่ประเทศอูกันดา มีผู้ป่วย 127 ราย เสียชีวิต 28 ราย (คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 22) ทำให้มีการตื่นตัวมากขึ้นถึงโรคอุบัติซ้ำนี้5  


การ ระบาดครั้งล่าสุดของกาฬโรคปอดเกิดขึ้นที่เมืองจื่อเคอทัน (Ziketan) มณฑลชิงไห่ (Qinghai) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ทำให้มี ผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ป่วย 9 รายในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีผู้ป่วย อาการหนัก 1 ราย (ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552) และมีการกักกันคนในท้องที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายกว่า 10,000 คน. ผู้ป่วยที่เสียชีวิตรายแรกเป็นผู้ป่วยชาย อายุ 32 ปี อาชีพเลี้ยงสัตว์ โดยการติดเชื้อของผู้ป่วยรายแรกนี้ได้สันนิษฐานว่าอาจติดจากสุนัขของผู้ป่วย โดยสุนัขของผู้ป่วยตายหลังจากกินตัวมาเมิต (Marmot) (ภาพที่ 2) ที่เป็นพาหะกาฬโรค โดยสุนัขน่าจะเสียชีวิตจากกาฬโรคและผู้ป่วยรายนี้ได้ทำการฝังสุนัขที่ติด เชื้อโดยปราศจากการป้องกัน จึงคาดว่าน่าจะมีการติดเชื้อจากการถูกหมัดกัดขณะดูแลและฝังสุนัขที่ติด เชื้อ. ผู้ป่วยรายแรกนี้เสียชีวิตในอีก 3 วันต่อมาหลังจากติดเชื้อ6 อย่างไรก็ตาม สุนัขเป็นสัตว์ที่ติดเชื้อได้ยากกว่าสัตว์ตระกูลแมว (Feline)9


การ ติดต่อของเชื้อกาฬโรค (ภาพที่ 3) มักติดต่อ กันในสัตว์ที่นำเชื้อได้ เช่น สัตว์ตระกูลหนู แมว ผ่านทางพาหะคือ หมัด (Xenopsylla cheopis) และการกินสัตว์ที่ติดเชื้อ. ส่วนการติดต่อมาสู่คนเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ได้แก่ การถูกหมัดที่มีเชื้อกัด การสัมผัสเนื้อเยื่อ ของสัตว์ที่ติดเชื้อ และการสูดดมสัมผัสสารคัดหลั่งจาก ทางเดินหายใจของสัตว์ที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นจึงเกิดการติดเชื้อจากคนสู่คนโดยการสูดดมหรือสัมผัสละอองที่มี สารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อ.7 การติดเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจดังกล่าวจึงจัดอยู่ในประเภท droplet infection กาฬโรคปอดมีอำนาจในการกระจายโรคจากคนสู่คน (R0, Reproductive number) มีค่า 1.3 กล่าวคือผู้ป่วยกาฬโรคปอด 1 คนสามารถกระจายไปยังผู้อื่นได้ประมาณ 1.3 คน.10
 
อาการแสดงของกาฬโรค
โดยทั่วไปกาฬโรคมีระยะฟักตัว 2-6 วัน แต่สำหรับกาฬโรคปอดจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 วัน11อาการและอาการแสดงมีหลากหลายดังนี้
กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) 
 เป็น ภาวะที่พบบ่อยที่สุด เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อ 2-7 วัน เชื้อจะแบ่งตัวบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการติดเชื้อ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไข้สูงหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดบริเวณต่อมน้ำเหลือง ร่วมกับมีต่อมน้ำเหลืองอักเสบอย่างรวดเร็ว. ในบางรายมีอาการปวดมากจนขยับตัวในบริเวณนั้นไม่ได้ ต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบจะโตขึ้นมีขนาด 1-10 ซม. บวม ตึง แดง ร้อน ผิวหนังบริเวณตำแหน่งที่เป็นทางเข้าของเชื้อมักจะมีร่องรอยเป็น ตุ่มนูนแดงเล็กๆ, ตุ่มน้ำใส ซึ่งเกิดเป็นภาวะผิวหนังอักเสบหรือเป็นหนองได้ในภายหลัง ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อทางกระแสเลือดและ เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว.


กาฬโรคในกระแสเลือด (septicemic plague) 
 เป็น ภาวะที่รุนแรงมากขึ้น มีการแพร่กระจายของเชื้อในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว โดยอาจไม่พบลักษณะต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่ชัดเจน แต่มีอาการรุนแรง ทำให้เกิดภาวะช็อกและมีการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดทั่วร่างกาย (disseminated intravascular coagulation) ทำให้เกิดภาวะเลือดออกและมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ทำให้เนื้อเยื้อบริเวณ ส่วนปลายของร่างกายที่ขาดเลือดมีสีดำคล้ำ (gangrene) จึงเป็นที่มาของคำว่า

ที่มา : blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด