โรคหัวใจ คือ โรคหัวใจในเด็ก สาเหตุโรคหัวใจ อาการโรคหัวใจในเด็ก วิธีป้องกันโรคหัวใจ วิธีรักษาโรคหัวใจ


1,498 ผู้ชม


โรคหัวใจ คือ โรคหัวใจในเด็ก สาเหตุโรคหัวใจ อาการโรคหัวใจในเด็ก วิธีป้องกันโรคหัวใจ วิธีรักษาโรคหัวใจ

โรคหัวใจในเด็ก

เจอกันอีกครั้งกับความรู้เรื่อง โรคภัยและการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ ก่อนจะเข้าเรื่องคงจะต้องสวัสดีกันก่อนผ่านปีใหม่มา 1 เดือน ก็ขอให้ทุกท่านพบแต่สิ่งที่ดีสุขภาพแข็งแรงทั้งกาย ใจ เมื่อกล่าวถึงเรื่อง "ใจ" วันนี้เรามีเรื่องของหัวใจมาฝากแต่เป็นเรื่อง หัวใจของเด็กกันบ้าง

โรคหัวใจในเด็ก โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด2.โรคหัวใจที่เกิดภายหลังโรคหัวใจพิการตั้งแต่ กำเนิดเป็นโรคหัวใจที่มีความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา แต่สามารถเกิดแสดงอาการได้ทุกอายุ แต่ที่พบมากมักอยู่ใน 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี และช่วงหลังคือหลังจากอายุ 5 ปีขึ้นไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือชนิดที่เขียวและชนิดที่ไม่เขียว

ชนิดที่เขียว จะมีลักษณะเขียวคล้ำและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อเด็กร้องไห้จะเห็นเด่นชัดมากขึ้นส่วนใหญ่จะมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย และเมื่อเด็กโตขึ้นจะพบว่าบริเวณนิ้วมือและเท้าโป่งพอง เป็นปุ่ม คล้ายกระบอง

ชนิดที่ไม่เขียว เด็กจะไม่มีอาการเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลาดูดนมหรือวิ่งเล่นจะหายใจแรง หัวใจเต้นรั่วดื่มนมได้น้อย น้ำหนักขึ้นช้าและส่งผลให้เด็กตัวเล็กและสุขภาพจะไม่แข็งแรง เป็นหวัดบ่อยๆ และเมื่อเป็นหวัดก็จะไม่ค่อยหายและมีโรคแทรกซ้อนบ่อยๆ

โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง ชนิดที่ทำให้เกิดอาการตั้งแต่วัยเด็กและพบบ่อย คือ "โรคหัวใจรูมาติก"เป็นโรคลิ้นหัวใจพิการที่เกิดจากการอักเสบ ของคอ หรือมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่หัวใจ โดยเฉพาะตำแหน่งของลิ้นหัวใจ มักพบภายหลังการอักเสบของ คอ และต่อมทอนซิล ประมาณ2-3 สัปดาห์ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวกสเตรปโตคอคคัสเมื่อเชื้อโรคนี้ทำอันตรายต่อ ร่างกายแล้ว กลับทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของตนเองทำให้ เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และหากได้รับการรักษาในระยะแรกไม่ดีพอ ต่อมาอาจกลายเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ และเป็นสาเหตุใหญ่ของการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจภายหลังเมื่อโต เป็นผู้ใหญ่

วิธีการตรวจ

วิธีการตรวจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ประวัติ อาการของเด็ก การตรวจร่างกายด้านหัวใจโดยละเอียด การ X-ray ดูเงาหัวใจและเส้นเลือดในปอดและตรวจคลื่นหัวใจ การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ จะทำให้เห็นภาพในช่องหัวใจ ช่องเส้นเลือดและลิ้นหัวใจ ซึ่งสามารถวัดขนาดของรูรั่วภายในหัวใจได้และสามารถวินิจฉัยได้ทุกอายุ ตั้งแต่ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาประมาณ 18-20 สัปดาห์โดยคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้องมารดา

การรักษา

การรักษาโรคหัวใจในเด็กขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติและความรุนแรง ในโรคหัวใจบางชนิดอาจไม่ต้องรับการรักษาเลย เช่น รูรั่วของผนังหัวใจช่วงล่างเล็กๆ จะไม่มีอาการและหายเป็นปกติได้เมื่อเด็กโตขึ้น แต่ถ้าหากมีอาการก็จะให้รักษาทางยาเพื่อควบคุมอาการและดูแลอย่างใกล้ชิด หรือถ้ามีอาการมากขึ้น ในปัจจุบันสามารถรักษาโดยใช้ลูกโป่งสอดไปตามเส้นเลือด และหากจำเป็นต้องมีการผ่าตัดก็สามารถทำได้เพราะปัจจุบันมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ทางด้านการผ่าตัดหัวใจเด็กอย่างครบถ้วน

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

อัพเดทล่าสุด