ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ น้ำมิใช่เป็นเพียงสารประกอบที่เกิดจากไฮโดรเจนกับออกซิเจนเพียงอย่างเดียว ยังมีสารประกอบของไฮโดรเจนกับออกซิเจนอีกตัวหนึ่งคือ H2O2 -ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่อยู่ตัว สามารถสลายตัวให้ออกซิเจนกับน้ำ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ คล้ายโอโซน (O3) มากในบางกรณีเช่นใช้เป็นตัวฟอกจางสีใช้ฆ่าแบคทีเรีย สลายตัวให้ออกซิเจน ได้เหมือนกับน้ำ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีขายตามร้านขายยานั้น มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อยู่ 3% อีก 97% เป็นน้ำ นับว่าเป็นส่วนผสมพอเหมาะสำหรับการนำมาใช้ แสงและความร้อนทำให้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สลายตัวกลายเป็นน้ำได้อย่างดี ด้วยเหตุนี้ร้านเครื่องยาเขาจึงบรรจุไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ไว้ในขวดทึบแสง และเขายังเติมสารบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ ลงไปเล็กน้อยเพื่อกันมิให้ H2O2 สลายตัวเร็วเกินไปและมีป้ายติดไว้ข้างขวดเตือนให้ผู้ตั้งเก็บไว้ในที่เย็น
สรุป
สัญลักษณ์ของไฮโดรเจนคือ H อะตอมมิคนันเบอร์ 1 น้ำหนักอะตอม 1.00797 จุดหลอมเหลว 259.2 องศาเซลเซียส จุดเดือด 252.7 องศาเซลเซียส ความหนาแน่น 0.071 gm/ml เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายในน้ำได้น้อยมาก และอุณหภูมิมีผลต่อการละลายน้อยมากไฮโดรเจนไม่ช่วยในการหายใจ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นพิษก็ตามแต่เมื่อรวมกับธาตุอื่น เกิดสารประกอบได้มากมาย และเนื่องจากอะตอมของไฮโดรเจนมีขนาดเล็กมาก สามารถแทรกเข้าไปตามช่องว่างระหว่างอะตอมของโลหะได้กลายเป็นสารไฮโดรด์ของโลหะ เราเรียกสารประกอบที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้ว่า Interstitial compound.
Source: https://www.rmutphysics.com
ไฮโดรเจนเปอร์ ออกไซด์ เป็นสารใช้ฟอกสีผมและฆ่าเชื้อโรค โดยปกติจะสลายตัวไปเองอย่างช้า ๆ ให้น้ำและออกซิเจนเกิดขึ้น ดังสมการ แสงสว่างและความร้อนจะช่วยเร่งให้เกิดการสลายตัวเร็วขึ้น ดังนั้นจึงต้องเก็บไว้ในที่มืด หรือในภาชนะสีน้ำตาลเข้ม และในที่เย็น
การนำไปใช้ สารละลายเข้มข้น 90 % ใช้ขับเคลื่อนจรวด (rocket propulsion) สารฟอกสีในอาหาร เป็นตัว oxidizer
เป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง ใช้ในทางเภสัชกรรม ทำน้ำยาบ้วนปาก น้ำยาฆ่าเชื้อ (sanitary lotion)
ใช้ขับเคลื่อนจรวด (rocket propulsion)
สารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง ใช้ในทางเภสัชกรรม ทำน้ำยาบ้วนปาก น้ำยาฆ่าเชื้อ (sanitary lotion)
กระบวนการฟอกสีฟัน
เป็นกระบวนการทางเคมีโดยสารที่เป็น ตัวออกฤทธิ์คือ สารเพอร์ออกไซด์ (Peroxide)
กลไกที่ทำให้ ฟันมีสีขาวขึ้นคือ สารพวกเพอร์ออกไซด์จะแตกตัวให้ออกซิเจนที่มี อิเลคตรอนอิสระ ซึ่งจะซึมผ่านชั้นของเคลือบฟันและเนื้อฟัน เข้าไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเชิงซ้อนที่มีขนาดใหญ่ และสีเข้มให้เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลงและมีสีจางลง ผลก็คือทำให้สีของฟันขาวขึ้น
ข้อควรระวังในสำหรับการฟอกสีฟัน
ไม่แนะนำให้ทำการฟอกสีฟันในรายที่มีฟันสึกทั้งปากหรือมีอาการเสียวฟันทั้ง ปากอยู่แล้ว
เนื่องจากอาจจะ มีอาการเสียวฟันมากขึ้น หรือในรายที่มี วัสดุอุดฟันหน้าหลายซี่ ซึ่งถ้าจะฟอกสีฟันจะต้องอุดฟันหน้าใหม่หลังการฟอกสีแล้ว
เนื่องจากวัสดุ อุดฟันหน้าจะไม่ถูกฟอกสีไปด้วย หรือในรายที่ทราบว่ามีอาการแพ้สารพวกเพอร์ออกไซด์ รวมทั้งไม่แนะนำในรายที่คนไข้ตั้งครรภ์
น้ำยาโกรก (Developer) หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
มีลักษณะเป็นครีมหรือของเหลวใส ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ขนาด 6% เพราะหากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มากกว่า 6% จะทำให้ผมแห้ง
อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่หนังศีรษะ แต่ถ้าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์น้อยกว่า 6% ก็จะไม่สามารถออกซิไดซ์สีอย่างมีประสิทธิภาพ
สารฟอกสีผมมีอยู่มากมาย ได้แก่ กลุ่มไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ต้องใช้ร่วมกับสารตัวอื่น เช่นแอมโมเนีย
เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นด่างก่อนที่ให้ฟอกสีผมได้เร็วขึ้น เพราะถ้าใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อย่างเดียวจะฟอกสีได้ค่อนข้างช้า
ข้อควรระวังเมื่อเกิดการแพ้สารฟอกสี
ควรจะทดสอบก่อน ถ้าพบว่ามีอาการระคายเคืองควรเลือกใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เข้มข้นน้อยลง และลดระยะเวลาลง
นอกเหนือจากอาการแพ้ระคายเคืองแล้ว ไม่ควรย้อมผมหรือฟอกสีผมขณะที่หนังศีรษะ ใบหน้า คอมีแผล รอยถลอก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
และถ้าจะทำเองอย่าให้ครีมย้อมผมเข้าตา
แหล่งอ้างอิง
https://www.siamdental.com/bleaching.htm
https://learners.in.th/blog/chem21
https://www.hifulla.com/-ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์-hydrogenperoxide.html