ไฮโดเย่นเปอร์ออกไซต์ใช้หยอดหูได้หรือไม่- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ คือ


1,535 ผู้ชม


หูหนวกหูตึงในไทย จากการสำรวจของ นายแพทย์สุนทร อันตราเสน และคณะในปี 2529 พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคหูหนวก หูตึง ร้อยละ 6.7 อัตราส่วนนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 2533 ศูนย์โสตประสาทการได้ยิน กรุงเทพฯ พบว่าอัตราส่วนสูง ถึงร้อยละ 13.6 สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเกิดจาก
  • ความผิดปรกติแต่กำเนิด
  • การรับเสียงดังมากกว่าปรกติเป็นระยะเวลานาน
  • การบาดเจ็บบริเวณหู ใบหน้า และ ศีรษะ จากอุบัติเหตุ
  • ผลข้างเคียงจากการรับยารักษาโรค โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะแบบฉีด
  • การได้ยินเสื่อมตามวัย

อุบัติการณ์ผู้พิการหูหนวก หูตึง ในเขตกรุงเทพมหานครจะสูงมากขึ้นใน กลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษทางเสียง ริมถนนที่มีการจราจร คับคั่ง สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์โรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ในกลุ่ม อาชีพ เสี่ยง เช่น ตำรวจจราจร ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่อง ขับขี่เรือหางยาวผู้ค้า หาบเร่ แผงลอยริมทางเท้า ผู้ที่ประกอบธุรกิจในสถานบันเทิง นักร้อง นักดนตรี

ผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากเกิดกับตัวผู้ป่วยเองแล้ว ยังมีผลต่อครอบครัวและผู้ใกล้ชิด นอกจากนี้ประเทศชาติ ยังต้อง เสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการรักษาพยาบาล ฟื้นฟู สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุในประเทศไทยมีอายุยืนยาวขึ้น จึงพบผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามวัยมากขึ้น ผู้สูงอายุที่ได้ยินลดลง บางท่านจะมีความรู้สึกท้อแท้ในชีวิต แยกตัวจากสังคม ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง กลัวว่าจะพูดกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง จึงพูดน้อยลงโดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า

Top

1. การบาดเจ็บจากแรงกระแทก ซึ่งเป็นผลจากแรงอัดขณะที่ช่องหูปิด ส่วนใหญ่เกิดจากถูกตบบริเวณหูด้วยฝ่ามือ บางครั้งแก้วหูก็อาจจะทะลุจากการถูกจูบอย่างรุนแรงที่หู ซึ่งอาจจะมีเลือดออกจากหูเล็กน้อยร่วมกับอาการปวดหูชั่วคราวและมีอาการหูอื้อตามมา

2. แก้วหูทะลุจากการที่ไม้แคะหูถูกดันลึกเข้าไปในช่องหูจน กระแทกแก้วหูฉีกสำหรับเด็กเล็กๆก็อาจจะเกิดจากใช้ไม้แยง รูหูด้วยความอยากรู้อยากเห็น หรืออาจเกิดจากผู้ปกครองพยายามแคะขี้หูให้ นอกจากนี้แก้วหูยังอาจทะลุจากการล้างหู การฉีดน้ำเข้าหูจากการเล่นสงกรานต์ การเล่นสกีน้ำ

3. การบาดเจ็บจากแรงระเบิด จากลูกระเบิด ประทัด หรือเครื่องยนต์ ฯลฯ เสียงและแรงระเบิดอาจทำให้แก้วหูทะลุ เกิดอันตรายต่อหูชั้นในจนอาจทำให้หูหนวก ได้เหมือนกัน

Top

สารที่เป็นพิษต่อหูชั้นในส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยาฉีดเพื่อรักษาการติดเชื้อ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจาก การรับประทานยาเพื่อรักษารักษาโรค เช่นยาควีนนินรักษาโรคมาเลเรีย หรือการใช้ยาหยอดหู ยาฉีด ที่สามารถทำอันตรายแก่หูชั้นใน ที่พบบ่อย ได้แก่ ยาปฎิชีวนะในกลุ่มอมิโนกลัยโคไซด์ ได้แก่ สเตรปโตมัยซิน ไดไฮโดรสเตรปโตมัยซิน คานามัยซิน เจนตามัยซิน โทบรามัยซิน บางครั้งใช้เพียง เล็กน้อย ก็อาจเกิดพิษได้ไม่ขึ้นกับขนาดของยาที่ได้รับ

ยาบางชนิดเริ่มมีผลต่อหูชั้นในที่ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการทรงตัว หรือ เกี่ยวกับการได้ยิน บางชนิดทำให้มีเสียงในหูก่อนที่ประสาทจะเสื่อม แต่ส่วนใหญ่พิษของยาจะทำให้หูหนวกหรือเสื่อมแบบถาวร นอกจากยาในกลุ่มนี้ แล้วยาแก้ไข้ แก้ปวด จำพวก ซาลิซิเลท (salicylates) หรือยารักษาโรค มาเลเรีย จำพวกควินิน และคลอโรควิน ก็ทำให้เกิดเสียงในหู และหูหนวก หูตึงได้เช่นกัน ยาหยอด หู ก็อาจมีพิษต่อประสาทหูเช่นกัน แต่พบน้อยกว่ายาฉีดมาก
Top

ยาหยอดหูส่วนใหญ่เป็นยาน้ำแต่ก็มีบ้างที่เป็นยาผง ส่วนประกอบของยาหยอดหูที่เป็นน้ำ อาจจะเป็นยาลดอาการปวด เพียงอย่างเดียว หรือมียาต้านจุลชีพที่มีสเตียรอยด์ร่วมด้วย ส่วนยาผงมักจะเป็นพวกยาต้านจุลชีพเป็นหลัก อันตรายจากการใช้ยาดังกล่าวที่อาจพบได้ คือ

1. เกิดเชื้อราในช่องหู เกิดจากการใช้ยาหยอดหูที่มียาปฎิชีวนะและสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม เมื่อหยอดยาเป็นเวลาหลายวัน จะมีการทำลายเชื้อแบคทีเรียธรรมดาที่มีอยู่ในช่องหู ทำให้มีการเจริญของเชื้อราขึ้นมาแทน เกิดอาการคันและปวดในช่องหูร่วมกับการมีน้ำหนวกที่มีลักษณะเป็นเมือกใส ๆ

2. การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หยอดหรือล้างหูอาจทำให้แก้วหูทะลุได้

3 . การใช้ยาผง หรือด่างทับทิมใส่หูในรายที่แก้วหูทะลุ ในระยะแรกยาผงจะดูดน้ำหนอง ในหูจับตัวเป็น ก้อนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าหูแห้งดี แต่กลับไปอุดกั้นน้ำหนวกไม่ให้ไหลออกนอกหู หนองอาจไหลย้อนเข้าไป ในหูชั้นในและขึ้นสมองได้

4 . การแพ้ยา หากเกิดอาการคันและอักเสบของผิวหนังบริเวณหู ควรหยุดใช้ยาชนิดนั้นทันที

Top

ภัยอันตรายของเสียงที่ดังเกินขนาดที่อาจทำอันตรายต่อประสาทหูจำแนกได้คร่าว ๆ เป็น 2 ประเภท คือ

1. การที่หูได้รับเสียงที่ดังมากเพียงครั้งเดียว อันตรายนี้อาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้แก่ การ ยิงปืนระเบิด การจุดพลุ จุดประทัด หรือฟ้าผ่า เป็นต้น

2. การที่หูได้รับเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล (ระดับเสียงสนทนาดังประมาณ 60 เดซิเบล และเสียงจาก เครื่อง เจาะถนนประมาณ 120 เดซิเบล ) ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อันตรายนี้อาจจะเกิดจากการงานที่ทำ เช่น เสียง ดังจากเครื่องจักร เสียงเพลง หรือดนตรีที่ดังเกินควร ซาวด์อะเบาท์ คอมพิวเตอร์ และเสียงดังจาก ยวดยาน ต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องได้รับเสียงดังเป็นประจำ ได้แก่ คนงานในโรงงานที่มีเสียงดัง เกินควร หรือ ทหาร ตำรวจ ที่ต้องการฝึกซ้อมยิงปืนควรใช้เครื่องป้องกันเสียงเสมอ
Top

ในกรณีที่ประสาทหูเสื่อมแบบเฉียบพลันที่ไม่พบสาเหตุ อาจมีโอกาสรักษาให้คืนสู่ปรกติได้ในช่องเดือนแรกๆ แต่หากไม่ฝื้นคืนปรกติภายใน สามเดือนแรกโอกาสน้อยมากที่จะหายเป็นปรกติ ในผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมเกินหกเดือนควรพิจารณาใส่เครื่องช่วยฟัง

Source: https://www.eartone.co.th

อัพเดทล่าสุด